[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
21 พฤษภาคม 2567 18:00:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “คลุมถุงชน” มาจากไหน? การแต่งงานที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรัก  (อ่าน 151 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2337


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2566 14:53:34 »



ภาพเขียนชื่อ “ก่อนพิธีวิวาห์” โดย Firs Sergeyevich Zhuravlev
ศิลปินรัสเซียในศตวรรษที่ 19 ซึ่งยังเป็นสมัยที่การคลุมถุงชนยังเป็นที่แพร่หลายในสังคมรัสเซีย


“คลุมถุงชน” มาจากไหน? การแต่งงานที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรัก

ผู้เขียน - ผิน ทุ่งคา
เผยแพร่ - เว็บไซต์ ศิลปวัฒนธรรม วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2566


คลุมถุงชน หรือการแต่งงานด้วยการจัดแจงจากพ่อแม่ หรือผู้อาวุโสของบ่าวสาว โดยที่คู่สมรสไม่จำเป็นต้องสมัครใจยินยอมกับการแต่งงานนั้นๆ ถือว่าเป็นธรรมเนียมการแต่งงานที่มีมานานแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่จะค่อยๆ เสื่อมความนิยม (และไม่ได้รับการยอมรับ) เมื่อสังคมนั้นๆ เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่รัฐจะกำหนดให้ การแต่งงาน ต้องเกิดจากความยินยอมของบ่าวสาวเท่านั้น (และปัจจุบันก็มีหลายรัฐยอมรับการแต่งงานของ บ่าว-บ่าว, สาว-สาว แล้วด้วย)

เดิมทีชาวบ้านทั่วไปในอุษาคเนย์คงมิได้เข้มงวดกับการแต่งงานเท่าใดนัก เห็นได้จากบันทึกของ โจวต้ากวาน ทูตจีนที่เดินทางไปยังดินแดนเขมรเมื่อกว่า 700 ปีก่อน ได้เล่าว่า

“เกี่ยวกับการมีสามีและการมีภรรยา แม้จะมีประเพณีรับผ้าไหว้ ก็เป็นเพียงแต่การกระทำลวกๆ พอเป็นพิธี หญิงชายส่วนมากได้เสียกันมาแล้วจึงได้แต่งงานกัน ตามขนบธรรมเนียมและประเพณีของเขาไม่ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายและก็ไม่ถือเป็นเรื่องประหลาดด้วย”

ในเมืองไทยสมัยก่อนก็เช่นกัน การแต่งงานที่มีการควบคุมแบบเข้มงวดจากพ่อแม่ มักจะเกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีหน้ามีตามีฐานะดีเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านชาวช่องทั่วๆ ไป ไม่ค่อยจะมาใส่ใจควบคุมว่าลูกหลานตัวเองจะไปหาคนแบบไหนมาเป็นคู่สมรส เหมือนอย่างที่ โยส เซาเต็น พ่อค้าฮอลันดาที่เดินทางมาอยุธยาตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ได้เล่าถึงธรรมเนียมการแต่งงานของคนไทยสมัยนั้นเอาไว้ว่า

“ชาวสยามมีพิธีแต่งงานหลายอย่าง สำหรับผู้มั่งมีมีหน้ามีตาการแต่งงานจะต้องได้รับความเห็นชอบจากพ่อแม่ เพื่อนฝูง และต้องมีการแลกของมีค่ากัน พิธีแต่งงานนั้น ไม่มีพิธีศาสนามาเกี่ยวข้อง แต่มีการละเล่นสนุกสนาน และมีการเลี้ยงดูกันอย่างครึกครื้นคู่สมรสย่อมมีสิทธิ์จะแยกจากกันได้ทุกเมื่อถ้ามีเหตุผลเพียงพอ”

การคลุมถุงชนจึงเกิดขึ้น เมื่อสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ครอบครัวต่างๆ ใช้กลไกการแต่งงานเพื่อประโยชน์ในการรักษาสถานะทางสังคมหรือการเมือง เป็นธรรมเนียมที่ปรากฏอยู่ในบรรดาชนชั้นสูง และผู้มีฐานะเป็นส่วนใหญ่ ก่อนที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปจะเอาอย่างบ้าง

ส่วนคำว่า “คลุมถุงชน” จะถูกใช้แทนการแต่งงานด้วยการจัดแจงของผู้ใหญ่ตั้งแต่เมื่อไหร่นั้น ผู้เขียนก็ไม่รู้แน่เหมือนกัน แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อมันกลายเป็นธรรมเนียม “ตลาดๆ” ที่คนทั่วๆ ไปคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว เนื่องจากคำว่าคลุมถุงชนนั้นน่าจะมีที่มาจาก “บ่อนไก่” ดังที่ ภาษิต จิตรภาษา [1] นักเขียนผู้รอบรู้ด้านภาษาไทย เคยอธิบายไว้ว่า

“คลุมถุงชน มาจากการชนไก่. แต่ก่อนการเอาไก่ไปบ่อนเพื่อไปชนนั้น เขาจะเอาถุงคลุมไปแต่บ้านเพื่อกันไก่ตื่น, เมื่อถึงบ่อนก็เปิดถุงออกเอาไก่เปรียบแล้วชนกัน. แต่เจ้าของไก่บางคนกระสันมาก เห็นเพื่ออุ้มไก่มายังไม่ทันเปิดถุงดูรูปร่างหน้าตาก็ท้าชนเลย. เมื่อตกลงกันก็เปิดถุงปล่อยเข้าสังเวียนชนกันเลย ไม่มีข้อแม้เล็ก-ใหญ่. หนุ่ม-สาว ที่ไม่เคยรู้จัก-รักใคร่กันมาก่อน, พ่อ-แม่จัดให้อย่างไรก็เอาอย่างนั้น มันเหมือนกับการชนไก่แบบนี้ จึงเรียก ‘คลุมถุงชน’.”

ในเมืองไทยแม้การคลุมถุงชนจะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไรแล้ว แต่ที่อินเดีย [2] ประเพณีนี้ยังคงเข้มแข็ง การสำรวจในปี 2013 พบว่า คนอินเดียรุ่นใหม่กว่า 74% เห็นดีเห็นงามกับการแต่งแบบคลุมถุงชน และการสำรวจอีกอันบอกว่า การแต่งงานในอินเดียกว่า 90% เป็นการคลุมถุงชนกันทั้งนั้น

ที่น่าแปลกใจก็คือ การแต่งงาน ที่ไม่ได้เริ่มต้นด้วยความรัก คู่สมรสกลับใช้ชีวิตคู่กันอย่างยืนยาว โดยในอินเดียการสมรสที่จบลงด้วยการหย่าร้างมีสัดส่วนเพียง 1% เท่านั้น

แต่จะเอาตัวเลขนี้มาบอกว่า การแต่งงานแบบคลุมถุงชนคือสาเหตุที่ทำให้คู่สมรสประสบความสำเร็จกับชีวิตคู่ คงเป็นการด่วนสรุปเกินไป โดยมิได้คำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ หนึ่งในนั้นก็คือ ทัศนคติต่อการหย่าร้าง ซึ่งในสังคมแบบอนุรักษนิยมอย่างอินเดีย ยังคงไม่ยอมรับการหย่าร้าง การหย่าร้างจึงมักจะเกิดขึ้นในบรรดาคู่สมรสหัวสมัยใหม่ที่แต่งงานโดยสมัครใจเป็นหลัก (ซึ่งก็มีน้อยอยู่แล้ว)

ส่วนคนที่ยอมรับการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ส่วนใหญ่ก็จะมาจากครอบครัวอนุรักษนิยม ซึ่งแม้ว่าพวกเขาจะไม่ชอบใจคู่สมรส ก็ไม่กล้าที่จะหย่าด้วยแรงกดดันทางสังคม รวมถึงความยากลำบากที่จะตามมาหลังการหย่าร้าง โดยเฉพาะคู่สมรสฝ่ายหญิงที่มักจะต้องพึ่งพาด้านการเงินจากสามี หลายๆ คู่จึงจำยอมรับสภาพการสมรสที่ขมขื่น มากกว่าจะเลือกการหย่าร้าง



อ้างอิง :
[1] “ภาษาประวัติศาสตร์”. ภาษิต จิตรภาษา. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2538
[2] “Why Are So Many Indian Arranged Marriages Successful?”. Psychology Today. <https://www.psychologytoday.com/blog/the-science-behind-behavior/201511/why-are-so-many-indian-arranged-marriages-successful>.




Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 พฤศจิกายน 2566 14:55:38 โดย ใบบุญ » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.478 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 10:55:51