[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 04:09:49



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 10 ปีผลสะเทือน 'ขบวนการดอกทานตะวัน' กับคนรุ่นใหม่ที่ไต้หวัน
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 04:09:49
10 ปีผลสะเทือน 'ขบวนการดอกทานตะวัน' กับคนรุ่นใหม่ที่ไต้หวัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-03-25 20:36</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ที่ไต้หวันเคยมีการประท้วงที่ชื่อ 'ขบวนการดอกทานตะวัน' เพื่อประท้วงการตัดสินใจของรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง ที่เร่งรัดการพิจารณา "ข้อตกลงการค้าด้านบริการข้ามช่องแคบ" หรือ CSSTA ซึ่งผู้ประท้วงเกรงว่าจะเป็นการสร้างอิทธิพลให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ เวลาผ่านไป 10 ปี มีการมองย้อนไปว่าขบวนการนี้ได้ส่งผลต่อคนรุ่นใหม่ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองไต้หวันในยุคปัจจุบันอย่างไรบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/3767/13302003583_eb6292d340_h.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ผู้ชุมนุมประท้วงที่ไต้หวันในนาม "ขบวนการดอกทานตะวัน" เมื่อ 20 มี.ค. 2557 (ที่มา: แฟ้มภาพ/</span><span style="color:#e67e22;">普魯 普魯/Flickr</span> (https://www.flickr.com/photos/pulu_tw/13302003583/)<span style="color:#e67e22;">/CC BY 2.0)</span></p>
<p>10 ปีที่แล้วมีขบวนการเคลื่อนไหวในไต้หวันที่เรียกว่า 'ขบวนการดอกทานตะวัน' ที่คนรุ่นใหม่ในยุคนั้นเข้าร่วมการประท้วง ในตอนนี้พวกเขาต่างก็โตขึ้นกันหมดแล้ว มีเส้นทางในหน้าที่การงานต่างกันออกไป แต่คนจำนวนมากก็ยังคงมีความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยและต้านอิทธิพลของแผ่นดินใหญ่ด้วยการยึดอาคารสภานิติบัญญัติเป็นเวลา 24 วัน</p>
<p>ขบวนการดอกทานตะวันเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2557 ในตอนนั้นมีนักศึกษาและนักกิจกรรมหลายร้อยคนที่พากันบุกเข้าไปและยึดสภานิติบัญญัติของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นเวลา 24 วัน พวกเขาทำไปเพื่อประท้วงการตัดสินใจของพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ที่ทำการเร่งรัดกระบวนการพิจารณาและอนุมัติ "ข้อตกลงการค้าด้านบริการข้ามช่องแคบ" (CSSTA) กับจีนแผ่นดินใหญ่</p>
<p>การตัดสินใจของพรรคก๊กมินตั๋งทำให้เกิดความกังวลจากผู้ประท้วงจำนวนมากที่มองว่าการบูรณาการทางเศรษฐกิจร่วมกับจีนมากขึ้นอาจจะเปิดทางให้จีนปักกิ่งมีอำนาจเหนือไต้หวันได้</p>
<p>ขบวนการดอกทานตะวันของไต้หวันได้รับการสนับสนุนจากสังคม จนทำให้มีคนหลายแสนคนร่วมออกมาชุมนุมบนท้องถนนในวันที่ 30 มี.ค. 2557 เพื่อแสดงการสนับสนุนต่อการประท้วงต้านข้อตกลง CSSTA</p>
<p>หลังจากที่ หวังจินผิง โฆษกสภาในยุคสมัยนั้นแถลงว่าจะทำการเลื่อนพิจารณาเรื่องข้อตกลง CSSTA ออกไปจนกว่าจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงนี้ครบแล้ว ผู้ประท้วงก็พากันออกจากอาคารรัฐสภาของไต้หวันโดยสันติ</p>
<p>จนถึงตอนนี้ข้อตกลง CSSTA กับจีนก็ยังคงติดอยู่ในส่วนของสภานิติบัญญัติ โดยที่ได้รับความสนใจจากประชาชนน้อยลงเรื่อยๆ</p>
<p>ในขณะเดียวกัน นักกิจกรรมจากขบวนการดอกทานตะวัน กลับมีบทบาทในเวทีการเมืองของไต้หวันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ชื่อของขบวนการดอกทานตะวันนี้ เป็นชื่อที่ตั้งตามดอกไม้ที่มีคนมอบให้เป็นของขวัญให้กับผู้ประท้วงในสมัยนั้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความหวัง</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ขบวนการดอกทานตะวัน เพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่</span></h3>
<p>เหมียวป๋อหย่า สมาชิกสภาไทเป ผู้ที่เป็นนักกิจกรรมขบวนการดอกทานตะวัน บอกว่าหนึ่งในผลลัพธ์ที่มีความสำคัญที่สุดสืบเนื่องมาจากขบวนการดอกทานตะวันคือการที่มันทำให้คนรุ่นใหม่เน้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น</p>
<p>เหมียวป๋อหย่า ผู้ที่ปัจจุบันอายุ 36 ปี บอกว่า ในทุกๆ การเลือกตั้งของไต้หวัน จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นผู้ที่ส่งอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในนั้น เพราะการเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ในยุคขบวนการดอกทานตะวันเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คนรุ่นใหม่ในไต้หวันมีส่วนร่วมทางการเมือง เหมียวป๋อหย่าบอกว่า เมื่อเทียบกันแล้ว ยุคก่อนหน้าปี 2557 มีคนรุ่นใหม่ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยกว่ายุคหลังจากนั้น</p>
<p>เหมียวบอกว่าถึงแม้ว่าขบวนการดอกทานตะวันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเข้าสู่เส้นทางการเมือง แต่เธอก็เล็งเห็นว่าขบวนการทางสังคมอย่างเดียวยังมีความสำเร็จที่จำกัดและต้องการความร่วมมือจากภาคส่วนในวงการการเมืองด้วย</p>
<p>เหมียวเป็นผู้แทนของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในปี 2561 และ 2565 ในการเลือกตั้งท้องถิ่นและได้รับเลือกตั้งให้เป็น ส.ส. ไทเปทั้งสองครั้ง แต่เธอก็ไม่สามารถชนะที่นั่งในรัฐสภาได้ในการเลือกตั้งปี 2567</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">สส. พรรค DPP มองว่า ขบวนการดอกทานตะวัน ให้ผลดีต่อไต้หวันทางเศรษฐกิจ</span></h3>
<p>จิโฮ เตียว (Jiho Tiun) ส.ส. ท้องถิ่นเมืองจีหลง จากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) กล่าวว่าการเข้าร่วมขบวนการดอกทานตะวันมาก่อนทำให้เขามีแต้มต่อทางการเมือง แต่ก็แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขาลงสมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อปี 2561 และ 2565 และได้รับเลือกเป็น ส.ส. ท้องถิ่นทั้งสองครั้ง</p>
<p>เตียวเคยร่วมยึดรัฐสภาในช่วงการประท้วงต่อต้านอิทธิพลจีนเช่นกัน เขาเปรียบเปรยวงการการเมืองกับวงการบันเทิงว่า "ขบวนการดอกทานตะวันไม่ได้ช่วยให้คุณออกอัลบั้มเดี่ยวได้ แต่มันเป็นเสมือนการที่คุณได้เข้าไปอยู่ในรายการวาไรตี้ที่มีชื่อเสียงและได้ยืนยิ้ม(ข้างพิธีกร)มากกว่า"</p>
<p>ทั้งนี้ เตียว ยังแก้ความเข้าใจผิดที่ว่า ขบวนการดอกทานตะวันแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่มีความทุ่มเทให้กับการเมืองมากแค่ไหน เตียวมองว่าความเป็นจริงแล้วคนที่เข้าร่วมขบวนการจำนวนมากในตอนนี้ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมอะไรทางการเมือง แต่ผลพวงทางบวกที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวนั้นเตียวมองว่าเป็นเรื่องทางเศรษฐกิจมากกว่า เพราะมันทำให้ไต้หวันประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องไปอยู่ฝ่ายเดียวกับจีน</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">การมีส่วนร่วมทางการเมืองคนละแบบ</span></h3>
<p>ในขณะที่เหมียวและเตียวเข้าสู่วงการการเมืองในระดับวิชาชีพ หงจุ้นจื้อ หนึ่งในขบวนการดอกทานตะวันหันก็ไปหาแนวทางที่ต่างออกไป หงจุ้นจื้อเคยเผชิญกับความรุนแรงของตำรวจในช่วงการประท้วงเช่นเดียวกับคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก</p>
<p>ในตอนที่เกิดเหตุนั้น หงจุ้นจื้อกำลังศึกษาอยู่ปีแรกของปริญญาโท ตอนนั้นตำรวจทำการผลักและทุบตีเขา รวมถึงใช้รถฉีดน้ำฉีดใส่พวกเขาเพื่อสลายการชุมนุม</p>
<p>"การถูกสลายการชุมนุมไม่ได้ทำให้ความมุ่งมั่นที่จะประท้วงของผมมอดลงไปด้วย มันยิ่งทำให้ผมอยากช่วยเหลือคนที่ถูกทุบตีทำร้ายแบบเดียวกัน" หงจุ้นจื้อกล่าว</p>
<p>ถึงแม้ว่าในตอนนี้หงจะทำงานกับบริษัทไอทีในกรุงไทเปแต่เขาก็มักจะกลับบ้านเกิดที่หนานโถวเพื่อไปเลือกตั้งทุกครั้ง และสนับสนุนให้คนที่อยู่รอบตัวเขาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วย</p>
<p>หงบอกว่า สิ่งที่ขบวนการดอกทานตะวันส่งผลมากที่สุดต่อตัวเขาคือมันทำให้เขาสนใจถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาสังคมประชาธิปไตยในไต้หวัน และทำให้เขามีสำนึกในอัตลักษณ์ความเป็นชาวไต้หวันที่หนักแน่นขึ้นด้วย</p>
<p>เจิ้งเหรินเหา ก็เป็นหนึ่งที่คนที่เคยถูกตำรวจทุบตีในที่ชุมนุมของขบวนการดอกทานตะวัน และในตอนนั้นเขาก็เป็นนักศึกษา ป.โท ปีแรก เช่นเดียวกับหง</p>
<p>ในตอนนี้เจิ้งทำงานในสายวัฒนธรรม เขาบอกว่าในยุคสมัยที่มีขบวนการดอกทานตะวันนั้น เว็บกระดานข่าวไต้หวันเต็มไปด้วยการถกเถียงอภิปรายในเรื่องต่างๆ หลากหลายประเด็น ต่างจากในยุคสมัยปัจจุบันที่คนไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นในเรื่องการหารือกันในประเด็นทางสังคมเท่าใดนัก</p>
<p>เจิ้งมองว่าอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนั้น การเขียนอะไรในโซเชียลมีเดียทำให้คุณถูกชาวเน็ตแปะป้ายว่าเป็นสิ่งต่างๆ ได้ง่ายๆ และมีความคิดเห็นออนไลน์จำนวนมากถูกชักใยโดย "กองทัพอินเทอร์เน็ต" หรือบริษัทสร้างภาพประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการทำลายพื้นที่สำหรับการหารือกันอย่างมีเหตุผล</p>
<p>เจิ้งระบุอีกว่า ในแง่ของการเมืองแล้ว ขบวนการดอกทานตะวันได้สร้างพลังทางการเมืองใหม่ที่ดูเหมือนในตอนนี้จะหายไปแล้ว เช่นความล้มเหลวของพรรคอำนาจใหม่ (NPP) ที่มีพื้นเพมาจากขบวนการดอกทานตะวัน ไม่สามารถทำตามความคาดหวังที่ประชาชนเคยให้ไว้ได้สำเร็จ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เจิ้ง ก็บอกว่ามีเพื่อนเขาจากขบวนการดอกทานตะวันบางคนที่เข้าสู่เส้นทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น สส., สมาชิกเทศบาลเมือง หรือผู้ใหญ่บ้าน แสดงให้เห็นว่าการตัดสินใจที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างลึกซึ้งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้</p>
<p><span style="color:#2980b9;">เรียบเรียงจาก</span></p>
<p><span style="color:#2980b9;">Sunflower Movement participants reflect on its 10th anniversary, </span><span style="color:#2980b9;">Focus Taiwan,</span> (https://focustaiwan.tw/politics/202403170012)<span style="color:#2980b9;"> 17-03-2024</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ต่างประเทศ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ไต้หวัน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">จีน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขบวนการดอกทานตะวัน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/cssta" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">CSSTA[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9A" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข้อตกลงการค้าด้านบริการข้ามช่องแคบ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การมีส่วนร่วมทางการเมือง[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108573