[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 06:31:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมา ‘สังฆราช’ แห่งสยาม  (อ่าน 1317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1021


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 56.0.2924.87 Chrome 56.0.2924.87


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2560 14:44:11 »




ความเป็นมา ‘สังฆราช’ แห่งสยาม

สังฆราชมีชื่อตำแหน่งอย่างเต็มว่า “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก” เป็นตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายพุทธจักร นับเป็นประมุขของคณะสงฆ์ทั้งปวงในประเทศไทย เป็นพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล ความหมายตามรากศัพท์ แปลว่า “ราชาของสงฆ์”

หลักฐานเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราชนั้น ปรากฏในจารึกสมัยสุโขทัย อาทิ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดให้ราชบุรุษไปอาราธนา “พระมหาสวามีสังฆราชมาแต่ลังกาทวีป” พงศาวดารเหนือ ก็กล่าวถึงการปกครองคณะสงฆ์แบ่งเป็นฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย โดยฝ่ายขวา ปรากฏข้อมูลระบุว่า “พระสังฆราชา อยู่วัดมหาธาตุ”

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ใน “ตำนานคณะสงฆ์” ตอนหนึ่งว่า

“ทำเนียบคณะสงฆ์ที่ปรากฏในหนังสือพงศาวดารเหนืออาจจะเป็นการจัดขึ้นในครั้งพระมหาธรรมราชาลิไท ถ้าจริงดังนั้น เห็นได้ว่าในชั้นหลังลงมา วิธีปกครองคณะสงฆ์ครั้งสุโขทัยแปลกกว่าเดิมสองอย่างคือ แยกการปกครองออกเป็น 2 คณะอย่างหนึ่ง เกิดประเพณีมีราชทินนามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งสังฆนายกขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่างนี้เป็นต้นเค้าของลักษณะปกครองคณะสงฆ์ซึ่งมีสืบมาในสยามประเทศจนตราบเท่าทุกวันนี้”

ที่มาของตำแหน่งพระสังฆราช มีข้อสันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากลังกา ทำเนียบสมณศักดิ์ยุคกรุงศรีอยุธยามีตำแหน่งสังฆปริณายก มีอำนาจไปถึงหัวเมือง 2 องค์ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวา และสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาล(อาวุโส)กว่า ก็ได้เป็น “พระสังฆราช”



ทั้งนี้ หากสังเกตการเรียกพระนามสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์ของไทยจะพบว่ามีความแตกต่างกัน โดยมีคำเรียก 3 อย่าง คือ ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ จะใช้เป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” และมีพระนามโดยเฉพาะ ทรงฉัตร 5 ชั้น เช่น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

หากเป็นพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ใช้ว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น เพิ่งใช้ครั้งแรกในรัชกาลที่ 6

ถ้าเป็นชั้นสามัญจะใช้ว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” แล้ววงเล็บชื่อเดิมไว้ตอนท้าย แต่โดยทั่วไปมักเรียกอย่างลำลองโดยใช้พระนามเดิม เช่น พระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นต้น โดยทรงฉัตร 3 ชั้น

คำว่าสมเด็จพระอริยวงศ์นี้ปรากฏใช้มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงนิมนต์พระอุบาลีและพระอริยมุนีไปเผยแผ่ศาสนาที่ลังกา เมื่อกลับมาแล้วมีการแต่งตั้งให้พระอริยมุนีขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช นามว่า “สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาบดี” หรือที่เรียกสืบมาว่า “สมเด็จพระอริยวงษญาณ” ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ มีการเติมคำว่า “คต” เข้าไป กลายเป็น “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” จวบจนทุกวันนี้

สำหรับ “พัดยศ” ประจำตำแหน่งพระสังฆราชนั้นมีมาตั้งแต่ยุคกรุงเก่า ปรากฏหลักฐานจากจดหมายเหตุสมณทูตชาวลังกาเดินทางเข้ามาในอยุธยาในช่วงเวลาดังกล่าว มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช มีบัลลังก์ตั้งสองข้าง บนบัลลังก์มีพัดยศสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชข้างละเล่ม พัดสองเล่มนี้ด้ามทำด้วยงา ส่วนตัวพัดเล่มหนึ่งพื้นกำมะหยี่สีแดง ประดับด้วยลายทอง และเงิน สมเด็จพระสังฆราชประทับอยู่บนแท่นนั้น ทรงถือพัดขนนกบังพระหัตถ์”

พัดยศของพระสังฆราชมีความแตกต่างกันตามชาติกำเนิด กล่าวคือ หากไม่ใช่ราชวงศ์ เป็นพัดพื้นตาดเหลืองสลับตาดขาว ปักดิ้นเลื่อม ส่วนชั้นราชวงศ์ เป็นพัดพื้นตาดเหลืองสลับตาดขาว ปักดิ้นเลื่อม ใจกลางปักตราเครื่องหมายประจำรัชกาลนั้นๆ



สมเด็จพระสังฆราชนับแต่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลที่ 9 มีทั้งสิ้น 19 องค์ การสถาปนาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2505 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนามสมเด็จพระราชาคณะที่มีพระอาวุโสสูงสุดโดยพรรษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จากนั้นนำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ 4 รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย โดยจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป

ต่อมา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้มีประกาศเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ให้เรียกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 โดยในมาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ระบุว่า “มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

เป็นที่มาที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2556



สำหรับพระราชพิธีสถาปนาในสมัยโบราณกาลไม่ได้กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ แต่จะถือเอาวันเฉลิมพระชนมพรรษาหรือวันฉัตรมงคล เป็นวันประกอบพระราชพิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใกล้กับวันใด ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2508 เมื่อครั้งจะมีการสถาปนาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เป็นครั้งแรกของการจัดพิธีสถาปนาขึ้นเป็นพิเศษ

ลำดับพิธีการที่สืบมาแต่เดิมนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สำนักพระราชวังจัดพิธีการ กำหนดวันเวลา และรายการตามพระราชประเพณี ท่ามกลางสังฆมณฑล อันประกอบด้วย กรรมการมหาเถรสมาคม พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการจารึกพระสุพรรณบัฏ พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินมายังพระอุโบสถเพื่อทรงประกอบพระราชพิธี



ทรงรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ.2448

สำหรับอำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช เดิมเมื่อยังไม่มีกฎหมายคณะสงฆ์ มีหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ตามพระธรรมวินัย ในฐานะเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 สมเด็จพระสังฆราชมีอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ แต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่พระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมามีการประกาศใช้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 อำนาจหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชเด่นชัดขึ้นอย่างมาก

สามารถวินิจฉัยอธิกรณ์ทางคณะวินัยธร บริหารกิจการทั้งหมดในพระพุทธศาสนาโดยไม่ขัดกับพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม และกฎหมายบ้านเมือง



สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทวมหาเถร) ทรงฉายร่วมกับคณะกรรมการพุทธสมาคม

มติชนออนไลน์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.362 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 08:16:59