[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 10:30:04



หัวข้อ: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 10:30:04
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)

http://www.watnyanaves.net/uploads/File/sounds/leading-thailand/leading-thailand_01.mp3





.............................เริ่มต้นดีด้วยสามัคคีในบุญกุศล...........................




.....................................ความพร้อมเพรียงกันในวันนี้มีหลายแง่................................




๑. พร้อมเพรียงในแง่ที่มีวันเกิดใกล้ๆกัน เรียกว่า ร่วมกันในแง่วันเกิด
๒. พร้อมเพรียงในแง่ของจิตใจ คือ ทุกท่านมีจิตใจที่จะทำบุญทำกุศล โดยมีบุญกุศลเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมใจ
๓. พร้อมเพรียงในแง่ว่าทุกท่านเป็นญาติโยมที่ได้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้มา แม้กระทั่งบวชที่นี่ แต่พูดง่าย ๆ ก็เป็นโยมวัดนั่นเองรวมแล้วก็มีความหมายว่าทุกท่านได้ร่วมกัน ในความสามัคคีพร้อมเพรียงทุกด้านที่ว่ามานั้นความพร้อมเพรียงสามัคคีนี้เป็นธรรมสำคัญ ทั้งทำให้เกิดกำลังและทำให้มีบรรยากาศ
แห่งความสุข เมื่อคนเรามีใจพร้อมเพรียงกันดี ก็คือมีมิตรไมตรี มีเมตตา จิตใจก็มีความสุข และบรรยากาศก็ดีไปตามนอกจากตัวเจ้าของวันเกิดเองแล้ว ยังมีญาติมิตรหลายท่านมาร่วมทำบุญด้วย ก็ถือว่ามีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันทั้งสิ้นนอกจากพร้อมเพรียงกันทางใจแล้ว ยังมาพร้อมเพรียงกันทาง
กายด้วย ใจนั้นพร้อมเพรียงกันด้วยบุญกุศล ส่วนกายก็พร้อมเพรียงด้วยการมาร่วมพิธี มาประชุมนั่งอยู่ด้วยกันเมื่อบรรยากาศและกิจกรรมเป็นบุญเป็นกุศล เป็นการเริ่มต้นที่ดีอย่างนี้ ก็เป็นเครื่องส่งเสริมชีวิต โดยเป็นเครื่องปรุงแต่งที่ดี หรือเป็นปัจจัยอันดีที่จะส่งเสริมให้ชีวิตเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไปอายุ ๖๐ ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่สำคัญ และนิยมกันว่าเป็นกาละพิเศษคือพิเศษทั้งในแง่ของการครบรอบใหญ่ถึงห้ารอบ และในแง่ของผู้ทำงานราชการก็เป็นวาระเกษียณอายุราชการวันเกิดครบห้ารอบเป็นเรื่องเกี่ยวกับอายุที่สำคัญ และว่าที่จริงทุกท่านที่เป็นเจ้าของวันเกิดมาทำบุญวันนี้ ก็มีอายุใกล้ๆ กัน คือมีอายุ
อยู่ในช่วงหกสิบปี


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 10:37:33
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)




.......................................ถ้ารู้เข้าใจจะอยากให้อายุมาก.................................



อายุในช่วงหกสิบปี เป็นกาลเวลาสำคัญที่ชีวิตก้าวเดินหน้ามา เราพูดกันว่าชักจะมีอายุมากแล้วที่จริงนั้น คำว่า อายุมาก ในภาษาพระนี้ดี
แต่ในภาษาไทยเราอยากจะให้อายุน้อย ในภาษาพระกลับกัน ถ้าอายุน้อยไม่ดี อายุมากจึงจะดี ทำไมจึงว่าอย่างนั้นขอให้ดูในคำให้พรว่า อายุ วัณโณ
สุขัง พลัง ซึ่งเริ่มที่อายุ บอกว่าให้มีทุกอย่างมากๆ มีสุขมากๆ มีกำลังมากๆ มีวรรณะก็มาก แล้วก็ต้องมีอายุมากด้วยที่ว่าให้พร อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ก็คือบอกว่าให้มีอายุมาก ๆ มีวรรณะมาก ๆ คือสวยงามมาก มีสุขมาก และมีพละกำลังมาก แล้วทำไมเราไม่ชอบล่ะ อายุมาก ๆ เราน่าจะชอบทำไมว่าอายุมากดีก็ต้องมาดูคำแปลก่อนว่าอายุแปลว่าอะไร อายุในภาษาพระนั้น มีความหมายที่ดีมากญาติโยมต้องเข้าใจอายุนี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยง่าย ๆ
ก็แปลว่า พลังหล่อเลี้ยงชีวิตหรือปัจจัยส่งเสริมที่จะหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมีความเข้มแข็ง และดำรงอยู่ได้ดีอย่างมั่นคง เพราะฉะนั้นอายุยิ่งมากก็ยิ่งดีไม่ได้หมายความว่าเป็นช่วงเวลาของการเป็นอยู่ว่าอยู่มานาน แต่หมายถึงขณะนี้แหละ ถ้าเรามีอายุมากก็คือ มีพลังชีวิตมากแสดงว่าเราต้องแข็งแรงเราจึงมีอายุมากเพราะฉะนั้น ทุกคนในแต่ละขณะนี้แหละ สามารถจะมีอายุน้อยหรืออายุมากได้ทุกคนคนที่เรียกในภาษาไทยว่าอายุมาก ก็อาจจะมีอายุของชีวิตน้อย
คือมีพลังชีวิตน้อยนั่นเองแต่เด็กที่เราเรียกว่าอายุน้อยก็อาจจะมีอายุมาก หมายความว่าแกมีพลังชีวิตเข้มแข็ง หรือมีปัจจัยเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างดี
เพราะฉะนั้น ในภาษาพระ ความหมายของการมีอายุน้อย และอายุมาก จึงไม่เหมือนในภาษาไทยเป็นอันว่า ในที่นี้เราพูดตามภาษาพระว่าอายุมากดี แสดงว่าชีวิตแข็ง เมื่ออายุมีความหมายอย่างนี้แล้ว เราก็ต้องพยายามส่งเสริมอายุ เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนวิธีปฏิบัติ คือธรรมะ ที่จะทำให้เรามีอายุมาก หรือมีพลังชีวิตเข้มแข็งถ้าพูดเป็นภาษาไทยว่าอายุมาก ก็อาจจะรู้สึกขัดหู ก็เปลี่ยนเสียใหม่ว่า มีพลังอายุหรือพลังชีวิตเข้มแข็ง


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 10:45:56
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)





.................................หาคำตอบให้ได้ว่าพลังชีวิตอยู่ที่ไหน..................................




การที่จะมีพลังอายุเข้มแข็ง ทำได้อย่างไร ก็ต้องมีวิธีปฏิบัติ และวิธีทำก็มีหลายอย่าง หลักอย่างหนึ่งทางพระบอกไว้ว่าจะทำให้มีอายุยืน
การที่จะมีอายุยืนก็เพราะมีพลังชีวิตเข้มแข็ง เริ่มด้วย
๑. มีความใฝ่ปรารถนา หมายถึงความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรที่ดีงามคนเรานั้นชีวิตจะมีพลังที่เข้มแข็งได้ ต้องมีความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรบางอย่าง
ถ้าเรามีความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรที่ดีงาม หรือคิดว่าสิ่งนี้ดีงามเราจะต้องทำ ฉันจะต้องอยู่ทำสิ่งนี้ให้ได้ ความใฝ่ปรารถนานี้จะทำให้ชีวิตเข้มแข็งขึ้นมาทันที พลังชีวิตจะเกิดขึ้นเพราะฉะนั้นในสมัยโบราณ เขาจึงมีวิธีการคล้าย ๆ เป็นอุบายให้คนแก่หรือท่านผู้เฒ่าชรามีอะไรสักอย่างที่มุ่งหมายไว้ในใจว่าฉันอยากจะทำนั่นทำนี่ และมักจะไปเอาที่บุญกุศล อย่างเช่นในสมัยก่อนยังไม่มีพระพุทธรูปมากเหมือนในสมัยนี้ ท่านมักจะบอกว่าต้องสร้างพระ แล้ว
ใจก็ไปคิดอยู่กับความปรารถนาที่จะสร้างพระนั้นหรือว่าญาติโยมคิดจะทำอะไรที่ดี ๆ งาม ๆ แม้แต่เกี่ยวกับลูกหลานว่าจะทำให้เขามีความเจริญก้าวหน้า
จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ใจที่ใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงามนั้น จะทำให้ชีวิตมีพลังขึ้นมาทันทีนี้เป็นตัวที่หนึ่ง เรียกว่า ฉันทะ คือความใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรสักอย่างที่ดีงาม ซึ่งควรจะให้เข้มแข็งหนักแน่น จนกระทั่งว่า ถ้านึกว่าสิ่งนั้นดีงามควรจะทำแท้ ๆ อาจจะบอกกับใจของตัวเองว่า ถ้า้งานนยีั้งไมเ่สร็จ
ฉันตายไม่ได้ ต้องให้แรงอย่างนั้นถ้ามีใจใฝ่ปรารถนาจะทำอะไรที่ดีงามแรงกล้า แล้วมันจะเป็นพลังที่ใหญ่เป็นที่หนึ่ง เป็นตัวปรุงแต่งชีวิต เรียกว่าอายุสังขารเหมือนอย่างพระพุทธเจ้า แม้จะทรงพระชรา เมื่อยังทรงมีอะไรที่จะกระทำ เช่นว่าทรงมีพระประสงค์จะบำเพ็ญพุทธกิจ ก็จะดำรงพระชนม์อยต่อไป ตอนที่ปลงอายุสงัขารทรงวางแล้วไม่ปรุงแต่งอายุต่อแล้วอายุสังขาร แปลว่า เครื่องปรุงแต่งอายุ คือ หาเครื่องช่วยมาทำ
ให้อายุมีพลังเข้มแข็งต่อไป ว่าฉันจะต้องทำโน่นต้องทำนี่อยู่ ถ้าอย่างนี้ละก็อยู่ได้ต่อไปข้อที่ ๑ นี้สำคัญแค่ไหน ขอให้ดูเถิด พระพุทธเจ้าพอตกลงว่าพระ
พุทธศาสนามั่นคงพอแล้ว พุทธบริษัท ๔ เข้มแข็งพอแล้ว เขารับมอบภาระได้แล้ว พระองค์ก็ทรงปลงอายุสงัขาร บอกว่าพอแล้ว พระองค์ก็เลยประกาศว่า จะปรินิพพานเมื่อนั้น - เมื่อนี้หลักข้อนี้ใช้ได้กับทุกคน ข้อที่ ๑ คือ ต้องมีใจใฝ่ปรารถนาที่จะทำอะไรที่ดีงาม แล้วตั้งมั่นไว้ แต่มองให้ชัดว่า อันนี้ดีแน่ และคิดจะทำจริง ๆ


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 10:53:02
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)



..................................พอจับแกนอายุได้ก็พัฒนาต่อไปให้ครบชุด.............................



๒. มีความเพียรมุ่งหน้า้ก้า้วไปพอมีใจใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงามนั้นแล้วก็มุ่งหน้าไป คือมุ่งที่จุดเดียวนั้น เดินหน้าต่อไปในการเพียร
พยายามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ก็ยิ่งมีพลังแรงมากขึ้น ความเพียรพยายามมุ่งหน้าก้าวไปนี้เป็นพลังที่สำคัญ ซึ่งจะไปประสานสอดรับกับข้อที่ ๓
๓. มีใจแน่วแน่ อยู่กับสิ่งที่อยากทำนนั้นเมื่อแน่วแน่แล้วก็จดจ่อจนอาจจะถึงขั้นที่เรียกว่าอุทิศตัวอุทิศใจให้คนแก่ หรือคนที่มีอายุมากนั้น
ถ้าไม่มีอะไรทำ
๑) มักจะนั่งคิดถึงความหลังหรือเรื่องเก่า
๒) รับกระทบอารมณ์ต่าง ๆ ลูกหลานทำโน่นทำนี่ ถูกหูถูกตาบ้างขัดหูขัดตาบ้าง ก็มักเก็บมาเป็นอารมณ์ ทีนี้ก็บ่นเรื่อยไปใจคอก็อาจจะเศร้าหมอง
แต่ถ้ามีอะไรจะทำชัดเจน ใจก็จะไปอยู่ที่นั่น คราวนี้ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรเข้ามา หรือมีอารมณ์มากระทบ ก็ไม่รับ หรือเข้ามาเดี๋ยวเดียวก็ผ่าน
หมด ทีนี้ก็สบาย เพราะใจไปอยู่กับบุญกุศล หรือความดีที่จะทำนี้คือได้ข้อ ๓ แล้ว ใจจะแน่วตัดอารมณ์กระทบออกไปหมดเลยคนที่มีอายุสูงมักจะมี
ปัญหานี้คือรับอารมณ์กระทบที่เข้ามาทางตา ทางหู จากลูกหลานหรือคนใกล้เคียงนั่นแหละแต่ถ้าทำได้อย่างที่ว่ามานี้ก็สบายตัดทุกข์
ตัดกังวลตัดเรื่องหงุดหงิดไปหมด
๔.มีการคิดพิจารณาใช้ปัญญา เมื่อมีอะไรที่จะต้องทำแล้วและใจก็อยู่ที่นั่นคราวนี้ก็คิดว่าจะทำอย่างไรมันบกพร่องตรงไหน จะแก้ไขอย่างไรก็วางแผนคิดด้วยปัญญาตอนนี้คิดเชิงปัญญา ไม่คิดเชิงอารมณ์แล้ว เรียกว่าไม่คิดแบบปรุงแต่ง แต่คิดด้วยปัญญา คิดหาเหตุหาผล คิดวางแผน คิดแก้ไข คิดปรับปรุง โดยใช้ปัญญาพิจารณา สมองก็ไม่ฝ่อ เพราะความคิดเดินอยู่เรื่อยสี่ข้อนี้แหละ พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว บางทีเราก็ไม่ได้คิดว่า
ธรรม ๔ ข้อนี้จะทำให้อายุยืน เพราะไม่รู้จักว่ามันเป็นเครื่องปรุงแต่งชีวิตหรือปรุงแต่งอายุ ที่เรียกว่าอายุสังขารพระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ถ้ามีธรรม ๔ ประการนี้แล้ว อยู่ไปได้จนอายุขัยเลย หมายความว่า อายุขัยของคนเราในช่วงแต่ละยุคๆ นั้น สั้นยาวไม่เท่ากัน ยุคนี้ถือว่าอายุขัย ๑๐๐ ปี เราก็อยู่ไปให้ได้ ๑๐๐ ปี ถ้าวางใจจัดการชีวิตได้ถูกต้องแล้วและวางไว้ให้ดี ก็อยู่ได้ธรรม ๔ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า อิทธิบาท ๔ ทีนี้ก็บอกภาษาพระให้ คือ..............................................................................


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 11:07:25
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)



๑) ฉันทะ ความใฝ่ปรารถนาที่จะทำ คือความอยากจะทำนั่นเองเป็นจุดเริ่มว่าต้องมีอะไรที่อยากจะทำ ที่ดีงามและชัดเจน
๒) วิริยะ ความมีใจเข้มแข็งแกร่งกล้ามุ่งหน้าพยายามทำไป
๓) จิตตะ ความมีใจแน่ว จดจ่อ อุทิศตัวต่อสิ่งนั้น
๔) วิมังสา การไตร่ตรองพิจารณา ใช้ปัญญาใคร่ครวญในการที่จะปรับปรุงแก้ไขทำให้ดียิ่งขึ้นไป จนกว่าจะสมบูรณ์สี่ข้อนี้เป็นหลักความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ ถ้าญาติโยมที่สูงอายุนำไปใช้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และรับรองผลได้มากวันนี้จึงยกหลักธรรมนี้ขึ้นมา
แม้แต่ลูกหลาน หรือท่านที่อายุยังไม่สูง ก็ใช้ประโยชน์ได้ และควรเอาไปช่วยท่านผู้ใหญ่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายด้วยแม้เพียงแค่ข้อที่ให้ใจแน่วอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นบุญกุศล เช่นระลึกนึกถึงสิ่งที่ทำไปแล้ว ว่าท่านได้ทำบุญทำกุศลทำความดีอะไรไว้ ลูกหลานก็คอยยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาพูด ทำให้ใจของปู่ย่าตายายอยู่กับสิ่งนั้นที่ดีงาม ไม่ให้ใจท่านไปอยู่กับเรื่องที่วุ่นวาย เดือดร้อน ขุ่นมัวเศร้าหมองส่วนอะไรที่ทำให้ใจขุ่นมัวเศร้าหมอง พอมันจะเกิดขึ้น เราก็ใช้สติกันออกไปหมดเลย แล้วก็หยุดสติเป็นตัวจับ เหมือนเป็นนายประตู พอมีอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีไม่งาม เราจะให้ตัวไหนเข้าตัวไหนไม่เข้า เราก็ใช้สตินั้นแหละจัดการพอตัวไหนจะเข้ามา สติก็เจอก่อนเพราะเป็นนายประตู ตัวนี้ไม่ดีก็กันออกไปเลย ไม่ให้เข้ามาสู่จิตใจ ส่วนอันไหนที่ดี ทำให้จิตใจดีงามเบิก
บานผ่องใส ก็เอาเข้ามา สติก็เปิดรับ อย่างนี้ก็สบาย ชีวิตก็มีความสุขความเจริญงอกงาม




.................................เมื่ออายุคืบหน้าเราก็เติมพลังอายุไปด้วย..............................



วันเกิดเป็นวันที่เราเริ่มต้น วันเกิดคือวันเริ่มต้นของชีวิต และในแต่ละปีถือว่าเป็นการเริ่มต้นในรอบอายุของปีนั้นๆ ที่สำคัญก็คือ ให้นำ
คติและความหมายของการเกิดนี้มาใช้ประโยชน์ ว่าการเกิดของชีวิต ที่เราเรียกกันว่าเกิดเมื่อวันนั้นปีนั้น อย่างนี้เป็นการเกิดครั้งเดียวของชีวิต
แต่ที่จริงนั้น ถ้าว่าทางธรรมแล้ว การเกิดมีอยู่ทุกเวลา และเราก็เกิดอยู่ตลอดเวลา ทั้งร่างกายของเรา และจิตใจของเรา หรือทั้ง
รูปธรรมและนามธรรมหมดทั้งชีวิตนี้ เกิดอยู่ทุกขณะในทางร่างกาย เราก็มีเซลล์เก่าและเซลล์ใหม่ มันเกิดต่อกันแทนกันอยู่ตลอดเวลาทางจิตใจนี่ทุกขณะก็มีความเกิด ทั้งเกิดดีและเกิดไม่ดี เมื่อโกรธขึ้นมา ที่เรียกว่าเกิดความโกรธ ก็เป็นการเกิดไม่ดี ถ้าเกิดความอิ่มใจขึ้น
มาก็เป็นเกิดดี เรียกว่าเกิดกุศล เกิดเมตตาขึ้นมา เกิดมีไมตรี เกิดศรัทธา เกิดเยอะแยะไปหมด ในใจของเรามีการเกิดตลอดเวลา เรียกง่าย ๆ ว่า เกิดกุศล และเกิดอกุศลในเมื่อการเกิดโดยทั่วไปมี ๒ แบบอย่างนี้ เราจะเลือกเกิดแบบไหน เราก็ต้องเลือกเกิดกุศล คือต้องทำใจให้มีการเกิดที่ดีตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น วันเกิดจึงมีความหมายที่โยงมาใช้ปฏิบัติได้ คือทำให้มีการเกิดของกุศลถ้าทำใจของเราให้เกิดกุศลได้ทุกเวลาแล้ว ชีวิตก็เจริญงอกงาม
เพราะการที่ชีวิตของเราเจริญเติบโตมานี้ ไม่ใช่ว่าเกิดครั้งเดียวในวันเกิดที่เริ่มต้นชีวิตเท่านั้น แต่มันต้องมีการเกิดทุกขณะต่อจากนั้น ชีวิตจึง
เจริญงอกงาม เติบโตขึ้นมาได้กุศลคือความดีงามต่าง ๆ เริ่มต้นขึ้นในใจ เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว มันก็เข้าสู่ความคิด และออกมาสู่การพูดการทำ แล้วก็เจริญงอกงามต่อไปการที่มันเจริญงอกงาม ก็คือเกิดบ่อย ๆ เช่นให้ศรัทธาเกิดบ่อย ๆ หรือเมตตาเกิดบ่อยๆ ต่อมาศรัทธา หรือเมตตานั้นก็เจริญ ขยาย
งอกงามยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อทำให้เกิดบ่อยๆ ก็เจริญงอกงามพอเจริญงอกงามแล้ว ความเกิดของกุศลตัวนั้นก็จะมีการส่งต่อไปให้ตัวอื่นรับช่วงอีก เช่นเมื่อเราเกิดศรัทธาขึ้นมา เราก็อาจจะนึกอยากจะทำบุญทำกุศลอย่างนั้นอย่างนี้ต่อไปอีก เรียกว่ามันเป็นปัจจัยแก่กัน ก็หนุนเนื่องกัน


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 11:16:49
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)




ฉะนั้นกุศลก็ตามอกุศลก็ตามจึงมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นปัจจัยต่อกัน พอตัวหนึ่งมาแล้ว เราก็ทำให้มันเป็นปัจจัยต่อไปยังอีก
ตัวหนึ่ง อีกตัวหนึ่งก็ตามมา แล้วก็หนุนกันไป ๆ คนที่ฉลาดในกระบวนเหตุปัจจัย จึงสามารถทำสิ่งที่ดีงามให้ขยายเพิ่มพูนได้มากมาย ทั้งหมด
นี้รวมแล้วก็อยู่ในคำว่าเจริญงอกงามเมื่อวันเกิดเป็นนิมิตในคติว่าเราจะต้องทำให้เกิดกุศลในใจอย่างนี้ใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงามแล้วก็เกิดวิริยะคือมีความเพียรมุ่งหน้าจะไปทำสิ่งนั้น และจิตตะ คือความมีใจแน่วจ้องจะทำสิ่งนั้น พร้อมทั้งวิมังสา ได้แก่การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองในเรื่องที่ทำนั้น
เราจึงควรพยายามทำให้เกิดธรรมะเหล่านี้ เริ่มด้วยเกิดฉันทะ คือความใฝ่ปรารถนาจะทำสิ่งที่ดีงาม แล้วก็เกิดวิริยะ คือมีความเพียรมุ่งหน้าจะไปทำสิ่งนั้น และจิตตะ คือความมีใจแน่วจ้องจะทำสิ่งนั้น พร้อมทั้งวิมังสา ได้แก่การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองในเรื่องที่ทำนั้นพร้อมกันนั้น ควรจะมีอีก ๕ ตัว ให้เป็นเครื่องหมายของธรรม ๕อย่าง ที่จะเข้าคู่กับอายุ ๕ รอบ เป็นตัวอย่างของการทำให้เกิดกุศลขึ้นใน
ใจตลอดไปทุกขณะ ถ้าใครทำได้ ก็เอามารวมกับอิทธิบาท ๔ เมื่อกี้คราวนี้จะดีใหญ่เลยธรรม ๕ ตัวนี้พระพุทธเจ้าตรัสเสมอ ถือว่าเป็นธรรมะคู่ชีวิตของทุกท่าน เหมือนอยู่ในใจตั้งแต่ท่านเกิดขึ้นมา ถ้าใครทำได้ ชีวิตจะเจริญงอกงาม มีความสุขทุกเวลา และอายุก็จะยืนด้วย ๕ อย่างอะไรบ้าง
๑. ท่านให้มีความร่าเริงเบิกบานใจตลอดเวลา เรียกว่าปราโมทย์เป็นธรรมที่สำคัญมาก ถือว่าเป็นธรรมพื้นจิต ถ้าใครอยากเป็นชาวพุทธ
ที่ดี ต้องพยายามสร้างปราโมทย์ไว้ประจำใจให้ได้
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสไว้ในธรรมบทว่า ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ จักกระทำความสิ้นทุกข์
ได้ใครที่ใจมีปราโมทย์อยู่เสมอ จะหมดความทุกข์ บรรลุนิพพานได้ชาวพุทธบางทีก็ไม่ได้นึกถึง มัวไปคิดอะไร จะทำโน่นทำนี่ที่ยาก
เย็น แต่ไม่ได้ทำของง่าย ๆ คือปราโมทย์ในใจของเรานี้ใจที่จะไปนิพพานได้ต้องมีปราโมทย์ ถ้าไม่มีปราโมทย์ก็จะไม่ได้สร้างสรรค์ข้างใน ให้สอดคล้องกันกับสร้างสรรค์ข้างนอก


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 11:32:39
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)



๒. ปีติ ความอิ่มใจ ปลาบปลื้ม ข้อนี้เจาะลงไปในแต่ละเรื่องแต่ละกิจ เวลาทำอะไร เช่นอย่างโยมทำครัว เรารู้อยู่แล้วว่ากำลังทำบุญทำ
กุศล เดี๋ยวอาหารเสร็จก็จะได้ถวายพระ เลี้ยงพระ พระท่านก็จะได้ฉันฉันแล้วท่านก็จะได้มีกำลังไปทำหน้าที่การงาน ทำศาสนกิจ ได้เล่าเรียน
ศึกษาปฏิบัติ แหม เราได้มีส่วนช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาเสริมกำลังพระ ให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรือง มองเห็นโล่งไปหมด การที่เราทำ
ทุกอย่างนี่ ก็จะเป็นไปเพื่อผลดีอย่างนั้นนึกขึ้นมาก็อิ่มใจ ปลื้มใจตอนนี้ปัญญาก็มาด้วย คือเวลาทำอะไรเราก็มองเห็นว่าผลดีจะเกิดอย่างนั้น ๆ แม้แต่กวาดบ้าน ทำครัว หรือล้างจาน หรือหุงข้าวทุกขณะโยมนึกอย่างนี้แล้วก็อิ่มใจ ปลื้มใจ เรียกว่ามีปีติแม้แต่ทำงานทำการ
อย่างคุณหมอรักษาคนเป็นโรค ทำให้คนเจ็บไข้หายป่วยแข็งแรงพอนึกถึงภาพของเขาที่จะแข็งแรง เขาหายป่วยสบายแล้ว ก็นึกไปถึง
สังคมที่ดีเข้มแข็ง นึกไปอย่างนี้ไปปลูกต้นไม้ ก็มองเห็นว่าจะได้ช่วยประเทศชาติ หรือมาช่วยวัดให้เป็นที่รื่นรมย์ร่มรื่น เป็นที่เชิดชูจิตใจคน ให้เขามีความสุข
เวลาทำงาน ใจของเราอาจจะเครียดได้ ใจไม่สบาย แต่ถ้าเรานึกไปไกลโดยมองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นในทางที่ดี ปีติจะเกิด พอปีติอิ่มใจมา
แล้ว ก็ได้เครื่องบำรุงตัวที่ ๒

๓. ปัสสัทธิ แปลว่าความผ่อนคลาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ต้องการกันมากมันตรงข้ามกับความเครียด คนเดี๋ยวนี้ทำงานแล้วเครียด เพราะมีความ
กังวล เพราะมีโลภะ มีโทสะ มีความกระวนกระวาย อะไรต่าง ๆ มากแต่ถ้าใจนึกถึงผลดีที่จะเกิดขึ้น ก็จะทำให้สบายใจ ไม่เครียด
ทำงานด้วยความผ่อนคลาย ใจก็สงบเย็น เป็นปัสสัทธิ พอใจผ่อนคลายกายก็ผ่อนคลายด้วยกายกับใจนี่มีจุดบรรจบกันที่ปัสสัทธิถ้ากายเครียดใจก็เครียด
ถ้าใจเครียด กายก็เครียด ทีนี้พอใจผ่อนคลาย กายก็ผ่อนคลายด้วยเรียกว่ามีปัสสัทธิ


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 11:36:44
(http://seesod.com/storage33/oHrowoyOLI1274417547/o.jpg)



๔. สุข พอมีปราโมทย์ มีปีติ มีปัสสัทธิแล้ว ก็มีความสุข ซึ่งแปลง่าย ๆ ว่าความฉ่ำชื่นรื่นใจ คือใจมันรื่นสบาย ไม่ติดขัด ไม่มีอะไรบีบคั้น
มันโล่ง มันโปร่ง มันคล่อง มันสะดวก ตรงข้ามกับทุกข์ที่มันติดขัด บีบคั้น ขัดข้อง
๕. ถึงตอนนี้ใจก็อยู่ตัว และตั้งมั่น ไม่มีอะไรมารบกวน ไม่กระสับกระส่าย ไม่พลุ่งพล่าน ไม่กระวนกระวาย ที่ว่าอยู่ตัว คือใจกำลังคิดกำลังทำอะไร ก็อยู่กับสิ่งนั้น การที่ไม่มีอะไรมารบกวนได้เลย ใจอยู่พอใจเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของสิ่งที่ดีงาม ธรรมที่เป็นบุญกุศลก็มาบรรจบรวมกันที่นี่หมด
เป็นอันว่าธรรม ๕ ตัวนี้ เข้ากับอายุ ๕ รอบ ก็เอารอบละตัว แล้วก็มาบรรจบตอนนี้ให้ครบ ๕ พอใจเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของสิ่งที่ดีงาม ธรรมที่เป็นบุญขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่าขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่าตัวตั้งมั่นอย่างนี้ เรียกว่าสมาธิ
ขอทวนอีกครั้งหนึ่งว่า
๑) ปราโมทย์ ความร่าเริงแจ่มใสเบิกบานใจ
๒) ปีติ ความเอิบอิ่มใจปลื้มใจ
๓) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบเย็นกายใจ
๔) สุข ความฉ่ำชื่นรื่นใจ
๕) สมาธิ ความอยู่ตัวของจิตใจ ที่ตั้งมั่นสงบแน่วแน่
พอได้ ๕ ตัวนี้แล้ว ก็สบายแน่เลย ห้าตัวนี้ ท่านเรียกว่าธรรมต่อจากนี้ก็เกิดจิตตสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิแล้วก็เอามาใช้ชวนเชิญปัญญาให้มาทำงานได้ คือเอามาใช้เป็นบาทฐานของการคิดเมื่อจิตใจผ่องใส ก็คิดโล่ง คิดโปร่ง คิดได้ผลดี พระพุทธเจ้าจึงให้ใช้สมาธิเป็นฐานของปัญญาต่อไป หรือแม้จะทำงานทำการอะไร ใจเป็นสมาธิแล้วก็ทำได้ผลดีถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็จะเป็นการสร้างสรรค์อย่างครบวงจร ทั้งสร้างสรรค์ชีวิตจิตใจ และสร้างสรรค์สังคมไปด้วยกัน พร้อมกัน สร้างสรรค์ข้างในสอดคล้องกันไปกับการสร้างสรรค์ข้างนอก


....................................THE END..................................



คัดลอก(พิมพ์)จากข้อธรรมคำสอนของ พระพรหมคุณาภรณ์ วัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม



หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 21 พฤษภาคม 2553 14:11:19




(http://www.sutthawong.com/images/wiharn13.png)
ขอบคุณค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: power for life
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 21 พฤษภาคม 2553 14:15:49





(:88:) (:88:) (:88:)