[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 08 สิงหาคม 2564 19:04:07



หัวข้อ: พระปิ่นเกล้า วังหน้าสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาไสยศาสตร์ ลือกันถึงขั้นหายตัวได้ !
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 08 สิงหาคม 2564 19:04:07

   พระปิ่นเกล้า วังหน้าสมัยรัชกาลที่ 4
          ทรงศึกษาไสยศาสตร์วิทยาคม ลือกันถึงขั้นหายตัวได้!?


     (https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2020/04/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7-696x364.jpg)
         พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว


ไสยศาสตร์วิทยาคม จำพวกวิชาคงกระพันชาตรี เป็นที่รู้จักกันดีว่านิยมมากในหมู่ทหาร โดยเฉพาะในสมัยโบราณที่ต้องรบทัพจับศึกกันอยู่เสมอ
จึงมักเสาะหา “ของดี” มาไว้คุ้มครองรักษาบ้าง หรือศึกษาเล่าเรียนจนมี “ของดี” ไว้ป้องกันตัวบ้าง

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอนุชาและวังหน้าในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ก็ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ทรงศึกษาไสยศาสตร์วิทยาคม รายละเอียดมีในหนังสือ พระปิ่นเกล้าเจ้ากรุงสยาม (วัชรินทร์การพิมพ์, 2542)
ที่เสทื้อน ศุภโสภณ รวบรวมเรียบเรียงพระราชประวัติเอาไว้ ดังนี้




อ้างถึง

    “‘วังหน้าเป็นหนุ่มแข็งแรง ขี่ช้างน้ำมัน ขี่ม้าเทศสูงสามศอกเศษ ยิงปืนทุกวัน

          ชอบการทหารมาก มีวิทยาอาคมดี ฤๅษีมุนีแพทย์หมอมีวิทยานับถือเข้าอยู่ด้วยมาก

               ผู้หญิงก็รักมากเลี้ยงลูกเมียดี เจ้ากลีบเป็นพระ มเหสี เฮอมายิสตีข้างใน

     ข่าวฦๅดังนี้ตลอดทั่วเมืองไทย เมืองลาวแลจีน ฝรั่งอังกฤษทั้งปวงมิใช่ฤๅ

          ฦๅมาดังนี้ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังอ่อนกว่าวังหน้าเดียวนี้อยู่…’






ความที่ยกมาข้างต้นนี้ มีปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีไปถึงพระยามนตรีสุริยวงศ์ และเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี
ที่เป็นราชทูตเดินทางออกไปเจริญทางพระราชไมตรียังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2401

พระราชหัตถเลขาฉบับนี้ เป็นเครื่องชี้แสดงให้เห็นถึงคุณวิเศษของพระปิ่นเกล้าฯ ‘พระเจ้าแผ่นดินวังหน้า’ ในเวลานั้น ว่าทรงเพรียบพร้อม
ด้วยความเป็นนักกีฬา นักการทหาร ที่เปรื่องปราดสามารถยิ่ง จนเป็นที่ล่วงรู้เลื่องลือกันทั่วไป ตลอดทั่วทั้งเมืองไทย เมืองลาว ประเทศใกล้เคียง
จนกระทั่งถึงประเทศอังกฤษ…

ในพระราชหัตถเลขาของพระจอมเกล้าฯ ฉบับนี้ ยังแจ้งให้ทราบด้วยว่า พระปิ่นเกล้าฯ นั้นทรงมี ‘วิทยาอาคมดี’ มีผู้ทรงคุณในทางวิทยาคมร่วมสวามิภักดิ์
อยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทรงเป็นผู้มีเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นที่นิยมหลงใหลของเหล่าบรรดาอิสตรีทั้งหลายในสมัยนั้นเป็นอันมาก…

นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ‘พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์’ ก็ยังได้ทรงพระนิพนธ์เล่าถึงคำเล่าลือเรื่องดังกล่าวนี้ไว้ใน ‘ตำนานวังหน้า’
ประชุมพงศวดารภาคที่ 13 มีความสำคัญตอนหนึ่ง ดังนี้

‘…เห็นจะเป็นเพราะเหตุที่โปรดการทแกล้วทหาร และสนุกคะนองต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ จึงเกิดเสียงกระซิบลือกันว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงวิชาอาคม บางคนว่าหายพระองค์ได้ บ้างว่าเสด็จลงเหยียบเรือกำปั่นฝรั่งเอียงก็มี กระบวนทรงช้างก็ว่าแข็งนัก…’


ในพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่ง ม.ร.ว.จันทร์เพ็ญ กาญจนะวิชัยเรียบเรียงพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
หม่อมเจ้า รัตโนภาศ กาญจนะวิชัย เมื่อปี พ.ศ. 2521 แม้จะเป็นฉบับที่มีข้อความสั้นมาก แทบจะมิให้รายละเอียดใด ๆ เลย แต่ก็มีกล่าวถึงเรื่องพระปิ่นเกล้าฯ
ทรงเป็นผู้อุดมด้วยวิทยาคมไว้ในตอนหนึ่ง ดังนี้



อ้างถึง

    ‘พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถมาก

          และขณะนั้นก็มีกำลังทหารอยู่ในมือมาก ผู้คนเคารพเกรงกลัว

               ถึงกับมีเสียงล่ำลือกันว่า ทรงมีวิชาอาคมขลังถึงกับหายตัวได้

          บ้างก็ว่าทรงมีพระชิวหาดำเหมือนพระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ  

     บ้างก็ว่าทรงมีฤทธิ์อำนาจถึงกับเหยียบเรือรบฝรั่งเอียง’

          หมายความว่า นอกเหนือไปจากทรงมีวิชาอาคมดีแล้ว
  
     ยังทรงมีพระชิวหาดำ เหมือนดังพระเจ้าหงสาวดีที่มาตีกรุงศรีอยุธยา

          ก่อนรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอีกด้วย
  
               ซึ่งเป็นที่เชื่อถือกันว่าเป็นคุณลักษณะวิเศษ

          ของท่านผู้แก่กล้าในทางวิทยาคมมาแต่กำเนิดอย่างแท้จริง

     เป็นที่ยำเกรงของมหาชนทั่วไป













ขอขอบคุณที่มา:
เว็บไซท์ศิลปวัฒนธรรม (https://www.silpa-mag.com/history/article_72636) เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 สิงหาคม 2564