[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 พฤษภาคม 2567 06:48:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง  (อ่าน 134 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 23 เมษายน 2567 14:07:49 »


เว็บไซต์ กรมศิลปากร (ที่มาภาพ)


คำนำ

​ด้วยนายพลตรี พระยาเทพาธิบดี (เจิ่น บุนนาค) จ.ม, ท.จ, ภ.ช, ว.ป.ร, ๓ ร.จ.ม. ตำแหน่งสมุหพระธรรมนูญทหารบก จะทำการปลงศพสนองคุณ นายพันตรี หลวงพิทักษ์นฤเบศร์ (จร บุนนาค) ผู้บิดา มาแจ้งความต่อกรรมการหอพระสมุดวชิรญาณว่า มีความศรัทธาจะสร้างหนังสือในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เปนของแจกในงานศพเรื่องหนึ่ง ขอให้กรรมการช่วยเลือกเรื่องให้ แลพอใจจะให้เปนเรื่องข้างโบราณคดี เมื่อข้าพเจ้ารับเลือกเรื่องหนังสือนึกได้ถึงเรื่องโบราณคดีเรื่องหนึ่งซึ่งกรรมการหอพระสมุดฯ อยากจะให้พิมพ์มานานแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาศ คือหนังสือเก่าเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัด หนังสือเรื่องนี้เปนที่นับถือของท่านผู้ศึกษาโบราณคดีมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ว่า เปนถ้อยคำของท่านผู้รู้แบบแผนการงานครั้งกรุงเก่าได้บอกให้จดไว้ ต้นฉบับเดิมจะมีกี่เล่มทราบไม่ได้ ได้พิมพ์ที่โรงพิมพ์หมอสมิธเปนครั้งแรก เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๔๒๖ ฉบับที่หมอสมิธพิมพ์นั้น เปนที่นิยมนับถือกันครั้งหนึ่งเมื่อในรัชกาลที่ ๕ ด้วยยังไม่มีใครได้เห็นฉบับเดิมอยู่โดยมาก แต่ครั้นล่วงกาลนานมา เมื่อมีผู้ศึกษาโบราณคดีชั้นใหม่เอาใจใส่สอบสวนหนังสือมากขึ้น จึงตรวจเห็นว่า หนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดฉบับที่หมอสมิธพิมพ์นั้น มีผู้อื่นได้แต่งเติมแทรกแซงลงใหม่มาก ไม่ใช่ตัวฉบับเดิมครั้งรัชกาลที่ ๔ แลยังมีข้อปัณหาต่อไปถึงเรื่องหนังสือที่เรียกว่า คำให้การขุนหลวงหาวัดนั้นเอง ได้เคยวินิจฉัยกันในโบราณคดีสโมสร ข้าพเจ้าเองเปนผู้นำปัณหาขึ้นกราบบังคมทูลแด่​พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า สงไสยว่าหนังสือเรื่องนี้จะเปนหนังสือที่แต่งขึ้นในเมืองไทย มิใช่คำของขุนหลวงหาวัด (คือพระเจ้าอุทุมพรราชา ที่ได้รับรัชทายาทครองกรุงศรีอยุทธยาต่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ) ไปให้การแก่พม่า เหตุที่ทำให้สงไสยนั้น

ข้อ ๑ คือ เรื่องราวทั้งพงษาวดารแลทำเนียบต่างๆ ที่เล่าในหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดฉบับที่หมอสมิธพิมพ์ เมื่อมาสอบสวนดูในชั้นนี้ รู้ได้เปนแน่ว่า ผิดความจริงในที่สำคัญหลายแห่งมาก ถ้าเปนคำให้การขุนหลวงหาวัด พระองค์ย่อมทรงทราบราชการบ้านเมือง จะเล่าผิดอย่างนั้นไม่ได้

ข้อ ๒ ลักษณถามคำให้การชาวต่างประเทศถึงการบ้านเมืองนั้นๆ เปนประเพณีที่มีมาแต่ก่อนเหมือนกันทุกประเทศ คือถ้าได้ชนต่างชาติมาไว้ในอำนาจก็ดี ฤๅแม้ชนชาติเดียวกันเองได้ไปเมืองต่างประเทศใดมาก็ดี ถ้าเห็นว่าได้รู้เห็นการงานบ้านเมืองนั้น ๆ ก็เรียกตัวมาให้ข้าราชการซึ่งเปนเจ้าน่าที่หลาย ๆ คนพร้อมกันเปนทำนองกรรมการซักไซ้ไต่ถาม แลจดคำให้การไว้เปนความรู้ในราชการ ในเมืองไทยเราก็เคยถามคำให้การอย่างนี้ เช่นถามแม่ทัพนายกองพม่าที่เราจับตัวมาได้เปนต้น เรื่องพงษาวดารพม่าที่ปรากฎอยู่ในหนังสือพระราชพงษาวดาร โดยมากรู้ได้ด้วยกระบวนถามคำให้การอย่างว่านี้ ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่ากรุงธนบุรีตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร เมื่อพม่าได้ไทยไป พระเจ้าอังวะก็คงจะตั้งข้าราชการ​พม่า ซึ่งรู้แบบแผนขนบธรรมเนียมเปนกรรมการถามคำให้การทำนองเดียวกัน แต่การถามคำให้การอย่างนี้ ผู้ถามกับผู้ตอบพูดไม่เข้าใจภาษากัน ต้องใช้ล่ามแปลทั้งคำถามแลคำตอบ แล้วแต่ล่ามจะแปลว่ากะไร เมื่อล่ามแปลได้ความอย่างไร ก็จดลงเปนภาษาพม่าอย่างเราจดคำให้การพม่าลงเปนภาษาไทย เพราะฉนั้นหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด ถ้ามีจริงต้นฉบับเดิมคงเปนภาษาพม่า มิใช่ภาษาไทยที่หมอสมิธเอามาพิมพ์

ข้อ ๓ ต้นฉบับคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้น ถ้ามีคงจะมีอยู่ในหอหลวงเมืองพม่า ถ้าจะมีนอกจากฉบับหอหลวง ก็คงจะมีสำเนาอยู่ในกระทรวงเสนาบดีที่ได้มีน่าที่ถามคำให้การ เช่นกระทรวงมหาดไทยฤๅกระทรวงกระลาโหมของพม่า ว่าอย่างมากจะมีไม่เกิน ๔-๕ ฉบับ ทำไมจึงจะเข้ามาได้ถึงเมืองไทย แลมากลายเปนภาษาไทยอย่างวิปลาศเลอะเทอะเช่นหมอสมิธพิมพ์ ด้วยเหตุเหล่านี้จึงสงไสยว่า หนังสือที่เรียกว่า “คำให้การขุนหลวงหาวัด” นี้ น่าจะเปนเรื่องราวที่ชาวกรุงเก่าผู้มีอายุอยู่มาจนในกรุงรัตนโกสินทร เรียบเรียงขึ้นไว้ตามรู้ตามเห็น ต่อมาเมื่อไม่รู้ว่าใครแต่ง จึงไปเหมาให้เปนคำให้การของขุนหลวงหาวัดดอกกระมัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายในเรื่องนี้ว่า หนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้น ฉบับเดิมจะได้มาอย่างไรแลได้มาเมื่อไรไม่ทรงทราบ แต่ฉบับหอหลวงของเรามีจริง ได้เคยทอดพระเนตรเห็นมาแต่ก่อน แต่ไม่​เหมือนฉบับที่หมอสมิธพิมพ์ แลทรงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่าเปนหนังสือมีหลักฐาน ในพระราชนิพนธ์หลายแห่ง คือในจาฤกฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งทรงพระราชอุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่าเปนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงใช้พระนามพระเจ้าแผ่นดินตามที่เรียกในหนังสือคำให้การของขุนหลวงหาวัดหลายพระองค์ หนังสือเรื่องนี้ทรงพระราชดำริห์ว่า ฉบับเดิมคงมีหลักฐานอยู่อย่างไรเปนแน่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเชื่อถือ แต่ฉบับที่หมอสมิธพิมพ์ มีผู้ใดได้แทรกแซงเพิ่มเติมจนเลอะเทอะเต็มทีเสียแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดไว้ดังนี้

ครั้นต่อมาถึงรัชกาลปัตยุบันนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๔ หอพระสมุดวชิรญาณได้หนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดที่เปนตัวฉบับหลวงมาเล่มสมุดไทย ๑ ลายมืออาลักษณเขียนตัวรงรู้ได้เปนแน่ว่าเขียนในรัชกาลที่ ๔ ชื่อเรื่องก็ไม่ได้เรียกว่า “คำให้การขุนหลวงหาวัด” เรียกว่า “พระราชพงษาวดารแปลจากภาษารามัญ” ต่อมาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ประทานสมุดหนังสือเรื่องต่าง ๆ อันเปนของพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดอยู่ในหนังสือพวกนั้น ๔ เล่ม มีรอยตกแก้ เข้าใจว่าเปนลายพระหัดถ์กรมหลวงวงษา ฯ ได้เอาฉบับซึ่งหอพระสมุดฯ ได้มาเหล่านี้สอบกับฉบับที่​หมอสมิธพิมพ์ ก็ปรากฎแน่นอนว่า ฉบับพิมพ์นั้นมีผู้ใดแทรกแซงข้อความลง ตรงตามที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรับสัง ในชั้นแรกจึงรู้ความได้เพียงว่าหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้นมีฉบับเดิมจริง แลฉบับเดิมแปลมาจากภาษารามัญ

ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ กรรมการหอพระสมุดฯ ได้ทราบความว่า มีหนังสือพงษาวดารไทยภาษาพม่าอยู่ในหอสมุดของรัฐบาลที่เมืองร่างกุ้งฉบับ ๑ ได้ขอคัดมาแปลออกเปนภาษาไทย ได้ความว่าหนังสือเรื่องนั้น เปนเรื่องเดียวกับคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้นเอง ได้ความมาจากเมืองพม่าว่า เมื่อเสียกรุงเก่า พระเจ้าอังวะจับพระเจ้าอุทุมพรแลข้าราชการไทยไปได้ ให้ถามคำให้การถึงพงษาวดารแลขนบธรรมเนียมเมืองไทย จดเก็บรักษาไว้ในหอหลวง อังกฤษได้ต้นฉบับมาเมื่อตีเมืองมันดะเล หนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับแปลจากภาษาพม่า พระยาโชดึกราชเศรษฐี (มิ้น เลาหเศรษฐี) ได้พิมพ์แจกในงานศพท่านอิ่มผู้มารดาแล้ว เปนอันได้ความอิกชั้น ๑ ว่า เรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดนั้นมีมูลเปนความจริง แลรู้ได้ว่าเหตุใดฉบับเดิมเรื่องราวจึงคลาศเคลื่อน เพราะพวกไทยที่พม่าได้ตัวไปให้การได้ไปแต่ตัว ให้การเพียงเท่าที่จำได้ ทั้งเรื่องพระราชพงษาวดารแลขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ให้การหลายคนด้วยกัน รู้มากบ้างน้อยบ้าง ซ้ำขุนนางพม่าซึ่งไม่รู้อะไรเลย เอาไปรวบรวมเข้าเรื่องอิกชั้น ๑ กรรมการจึงได้ให้เรียกชื่อหนังสือฉบับที่พระยาโชดึก ฯ พิมพ์ว่า “คำให้การชาวกรุงเก่า”

​เดี๋ยวนี้ในเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัด เปนอันได้พิมพ์แล้ว ๒ ฉบับ คือฉบับที่แปลจากภาษาพม่าฉบับ ๑ กับฉบับที่แปลจากภาษารามัญ แต่ผู้ใดในไทยเราได้เอาไปแก้ไขแทรกแซงเสียจนเลอะเทอะนั้นฉบับ ๑ แต่ฉบับที่ถูกต้องตามที่แปลจากภาษารามัญยังหาได้พิมพ์ไม่ จึงเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ แลอยากจะให้พิมพ์ให้บรรดาผู้ศึกษาโบราณคดีเวลานี้ได้สอบสวนทั่วกัน ถ้าหากพระยาเทพาธิบดีพิมพ์หนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดฉบับหลวงในรัชกาลที่ ๔ จะเปนการให้เกิดประโยชน์ในทางโบราณคดีถึง ๒ ประการ คือ ทำหนังสือซึ่งยังไม่เคยพิมพ์ให้ได้พิมพ์รู้กันแพร่หลาย แลรักษาฉบับไว้ให้ถาวรประการ ๑ ช่วยโบราณคดีสโมสร ที่ทำให้การวินิจฉัยหนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดสำเร็จบริบูรณ์ประการ ๑ ข้าพเจ้าได้ชี้แจงความเห็นทั้งนี้แก่พระยาเทพาธิบดี พระยาเทพาธิบดีเห็นชอบด้วย จึงได้รับพิมพ์สมุดเล่มนี้

กรรมการมีความเสียดายอยู่น่อย ที่หาหนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัด ความฉบับหลวงครั้งรัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ครบทีเดียว เพราะหนังสือเดิมมีน้อย แลแตกกระจัดกระจายไปเสียหมด ตรงไหนขาด ได้เอาความที่แปลจกฉบับหลวงภาษาพม่ามาลงไว้แทน แลได้บอกไว้เปนสำคัญทุกแห่ง

ข้าพเจ้ามีความยินดีเปนส่วนตัวที่ได้โอกาศจัดการพิมพ์หนังสือเรื่องนี้ ช่วยในงานศพหลวงพิทักษ์นฤเบศร์ ด้วยได้เปนเพื่อนทหารมากับข้าพเจ้า ตั้งแต่รับราชการอยู่ในกรมทหารมหาดเล็กด้วยกัน ​ได้คุ้นเคยแลชอบอัชฌาไศรยกันมาแต่ครั้งนั้น หลวงพิทักษ์นฤเบศร์มีประวัติดังนี้

หลวงพิทักษ์นฤเบศร์ ชื่อจร บุนนาค เปนบุตรพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ แย้ม เปนหลานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เกิดวัน ๕ เดือน ๑๐ แรม ๘ ค่ำ ปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๒๑๖ ตรงกับวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๓๙๗ ที่บ้านบิดาตำบลปากคลองขนอน จังหวัดธนบุรี

เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ได้ศึกษาวิชาหนังสือไทยกับนายสิน ต่อมาได้ศึกษาวิชาเลขแลวิชาหนังสือไทยในสำนักพระสมุห์หลำวัดพิไชยญาติการาม

ปีฉลูสัปตศก พ.ศ.๒๔๐๘ ได้ถวายตัวเปนมหาดเล็กวิเศษในรัชกาลที่ ๔ อยู่เวรฤทธิ

ถึงรัชกาลที่ ๕ ปีมะเมียโทศก พ.ศ.๒๔๑๓ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้เปนพลทหารอยู่ในหมวดที่ ๓ ได้ศึกษาวิชาทหารในสำนักนายพันตรี หลวงรัตนรณยุทธ (เล็ก)

ปีมะแมตรีศก พ.ศ.๒๔๑๔ ได้รับยศทหารเปนนายสิบโท ในกองร้อยที่ ๕

ปีวอกจัตวาศก พ.ศ.๒๔๑๕ ได้เลื่อนยศทหารเปนนายสิบเอก คงรับราชการอยู่ในกองนั้น

ปีจอฉศก พ.ศ.๒๔๑๗ ได้กราบถวายบังคมลาอุปสมบทเปนภิกษุ สมเด็จพระวันรัต (ทับ) แต่เมื่อยังดำรงสมณะศักดิในที่​พระพิมลธรรม วัดโสมนัศวิหาร เปนพระอุปัชฌาย์ พระพรหมมุนี (เหมือน) แต่ยังเปนพระอริยมุนี วัดบรมนิวาศ พระพุทธวิริยากร (น้อย) วัดพิไชยญาติการาม เปนพระกรรมวาจาจารย์ อยู่ในสำนักวัดพิไชยญาติการามพรรษาหนึ่ง

ปีขาลสัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเปนนายร้อยตรีประจำกองร้อยที่ ๕ แลได้ไปศึกษาวิชาแผนที่ในสำนักพระวิภาคภูวดล (แมกกาตี) ณพระราชวังบางปอิน

ปีมะเมียจัตวาศก พ.ศ.๒๔๒๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเลื่อนขึ้นเปนนายร้อยโท ประจำกองร้อยที่ ๕ ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์นั้น

ปีชวดสัมฤทธิศก พ.ศ.๒๔๓๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเลื่อนขึ้นเปนนายร้อยเอกในกรมทหารบก แลย้ายมารับราชการในตำแหน่งปลัดกอง ๆ ทหารราบนอก “รักษาพระองค์”

วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบันดาศักดิเปนหลวงพิทักษ์นฤเบศร์ ศักดินา ๖๐๐

ปีมะเสง พ.ศ.๒๔๓๖ ได้ว่าที่นายพันตรี แลย้ายไปรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกองทหารเมืองนครนายก

ณเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ นั้น ได้ไปราชการทัพ แลรับราชการในตำแหน่งปลัดกองทัพในกองทัพพระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงห์เสนี) แต่ยังเปนนายพลจัตวา พระพิเรนทรเทพ ยกไปทางเขตรลาวกาว

​ณวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๗ กองทัพกลับมาถึงกรุงเทพฯ คงมียศเปนว่าที่นายพันตรี รับราชการในตำแหน่งปลัดกอง ๆ ทหารราบนอก “รักษาพระองค์” ตามเดิม

ณวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๗ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ เหรียญชื่อจักรมาลา แลเหรียญรัชฎาภิเศกมาลา

ปี พ.ศ.๒๔๓๘ ย้ายไปรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกองทหารมณฑลพิศณุโลก

ปี พ.ศ.๒๔๔๐ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๕ ทิพยาภรณ์ แลเหรียญประพาศมาลา

วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๑ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเปนนายพันตรี

ปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ออกจากประจำการเปนกองหนุน

ปี พ.ศ.๒๔๔๗ ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ ชั้นที่ ๕

ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ได้รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ

ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๕๔ ป่วยเปนลมอำมพาต มีอาการเรื้อรัง ทรุดบ้าง ทรงบ้าง

วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๘ ถึงแก่กรรม อายุได้ ๖๒ ปี หลวงพิทักษ์นฤเบศร์มีบุตรชายคน ๑ คือ นายพลตรี พระยาเทพาธิบดี ที่เปนเจ้าภาพงานศพแลพิมพ์หนังสือนี้

​ข้าพเจ้าขออนุโมทนากุศลบุญราษี ซึ่งพระยาเทพาธิบดี ผู้อยู่ในฐานะที่โบราณบัณฑิตนับว่าเปนอภิชาตบุตร บำเพ็ญสนองคุณบิดาด้วยความกตัญญูกตเวที ตามสมควรแก่วิไสยแห่งสาธุชนผู้เปนสัปปรุส แลเชื่อว่าท่านทั้งหลายผู้ได้รับแลอ่านหนังสือนี้คงจะอนุโมทนาเหมือนกันทั่วไป


               
                 จังหวัดพิศณุโลก
                 วันที่ ๒๔ มกราคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๙



คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ พระเจ้าหงษาเอาแต่คนดี อันพระยาจักรีนั้นพระเจ้าหงษาปูนบำเหน็จรางวัลหนักหนา เพราะว่ามีความชอบจึ่งตั้งทวีให้เกินแต่ก่อนมา ครั้นเลี้ยงไว้ได้ครบเจ็ดวันแล้ว พระเจ้าหงษาจึ่งสั่งให้บั่นเกล้าเกษาเสียแล้ว จึ่งสั่งให้เสียบไว้ที่กลางเมืองตามบทพิพากษาที่มีมา แล้วจึ่งเรียกเอาพระมหินทรซึ่งเปนพระราชโอรสของพระมหาจักรพรรดิ พระปกพระพี่นางพระนเรศร์ อันชื่อนางสุวรรณกัลยานั้นขึ้นมาหงษา กับองค์พระนเรศร์อันเปนพระราชโอรสของพระสุธรรมราชา อันพระเอกาทศรถนั้นให้ไว้เปนเพื่อนพระบิดา แล้วจึ่งเอาช้างเผือกทั้งห้าช้างนั้นมา กับนายช่างต่าง ๆ ที่ชำนาญในการช่างใหญ่ กับฝีพายสกรรจ์สรรเอาห้าร้อยที่มีฝีมือ กับช้างใหญ่คัดกวาดแล้ว แต่ที่ใหญ่กว่ากัน อันหนึ่งกับรูปสิบสองนักษัตรที่ไว้ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์อยู่นั้น อันรูปเหล่านี้เมื่อครั้งพระเจ้าอู่ทองตั้งกรุงแล้ว จึ่งสั่งให้ช่างพราหมณ์ปั้นรูปแล้วจึ่งหล่อไว้ด้วยทองสำริดเปนรูปสิบสองนักษัตร ทั้งรูปมนุษย์เปนรูปพราหมณ์ มีรูปช้างเอราวรรณ รูปม้าสินธพ รูป​คชสีห์ รูปราชสีห์ รูปนรสิงห์ รูปสิงโต รูป โคอุศุภราชรูปกระบือ รูปกระทิง รูปหงษ์ รูปนกยูง รูปนกกะเรียน อันสัตว์เหล่านี้สิ่งละคู่ พระเจ้าอู่ทองทำถวายไว้ที่ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ พระเจ้าหงษาเห็นรูปเหล่านี้ก็ชอบพระไทย จึ่งแบ่งเอามาตามที่ชอบพระไทย คือรูปช้างเอราวรรณ รูปม้าสินธพ รูปราชสีห์ รูปคชสีห์ รูปสิงห์ รูปมนุษย์ อันนอกนี้มิได้เอาสิ่งใดมา แล้วพระเจ้าหงษาจึ่งสร้างพระเจดีย์ไว้ที่ทุ่งภูเขาทอง จึ่งสมมุตินามเรียกพระภูเขาทอง แล้วจึ่งทำการฉลองเปนการใหญ่หนักหนา แล้วพระเจ้าหงษาจึ่งยกทัพกลับไป

ครั้นกลับไปยังมิทันถึงเมือง อันพระมหินทรราชานั้นไม่สุภาพดั่งพระยาราชสีห์ ไม่มีความครั่นคร้ามขามใจ เจรจาทำนององอาจ รามัญนั้นจับคำประหลาดได้ จึ่งทูลกับพระเจ้าหงษา พระเจ้าหงษาจึ่งให้ล้างเสียแล้ว จึ่งถ่วงน้ำเสียที่หน้าเมืองสถัง แล้วจึ่งยกทัพกลับมาเมืองหงษา อันพระพี่นางพระนเรศร์นั้น พระองค์ก็เอาไว้ในปราสาทเปนที่มเหษี จึ่งมีพระราชโอรสองค์หนึ่งเปนกุมาร อันพระนเรศร์นั้น พระเจ้าหงษาประทานที่บ้านแลตำหนักให้อยู่ตามที่ อันองค์พระเจ้าหงษานั้นรักใคร่พระนเรศร์เหมือนหนึ่งพระราชโอรส เลี้ยงไว้จนจำเริญไวยใหญ่มา ๚

​๏ ส่วนพระสุธรรมราชานั้น วันพุฒได้ครองกรุงทวาราวดีศรีอยุทธยามาแต่เมื่อจุลศักราชได้ ๙๒๕ ปี พระชนม์ได้ ๒๐ ปีอยู่ในราชสมบัติได้ ๑๕ ปี เปน ๓๕ ปีสำเร็จ เมื่อสำเร็จนั้นจุลศักราชได้ ๙๔๐ ปี ๚

๏ จึ่งพระราชบุตรน้อย พระนามชื่อพระเอกาทศรถนั้น ขึ้นว่าราชการงานกรุงแทนที่พระบิดา เปนแต่ที่มหาอุปราชรักษาธานีไว้ ด้วยพระนเรศร์เชษฐายังมีอยู่พระองค์หนึ่ง จึ่งไม่ภิเศกศรี ด้วยพระองค์นั้นรักใคร่พระเชษฐายิ่งนัก จึ่งว่าราชการงานกรุงทั้งปวงแทนที่แล้วรักษาธานีเขตรขัณฑ์ไว้ท่าพระเชษฐาธิราช ๚

๏ ส่วนพระเจ้าหงษานั้น อยู่นานมาพระองค์ก็ได้ยินข่าวเลื่องฦๅมาว่า ยังมีพระมหามุนีองค์หนึ่งเสด็จอยู่เมืองพม่าใหญ่ เรียกเมืองยะไข่ เปนพระพุทธรูปสร้างไว้แต่เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังเสด็จอยู่นั้น มีพุทธานุภาพยิ่งนัก ปาฏิหารได้ ให้มีพระรัศมีนั้นเปนต่างๆ ถ้าแลบุคคลผู้ใดจะปราถนาสิ่งใดๆ ก็ดี ทูลขออธิฐานแล้วก็ได้ดั่งใจปราถนา อันพระมหามุนีองค์นี้มีพุทธานุภาพยิ่งนัก พระเจ้าหงษาจึ่งมีพระไทยศรัทธาขึ้นมาตั้งพระมหามุนีเปนหนักหนา จึ่งสั่งให้จัดแจงแต่งเครื่องสักการบูชาเปนอันมาก มีทั้งผ้าทรงแลไตรจีวรทอง ทั้งธูปเทียนทอง แลเข้าตอกดอกไม้ทอง แลมีทั้งฉัตรวงแลธงทองทั้งปวงต่างๆ เปนอันมาก กับรูปสิบสองนักษัตรที่พระเจ้าหงษาแบ่งเอามาแต่เมืองกรุงศรีอยุทธยานั้น คือรูปมนุษย์ รูปช้างเอราวรรณ รูปม้าสินธพ รูปราชสีห์ รูปคชสีห์ รูปนรสิงห์ ครุธ โคอุศุภราช แต่บรรดารูปทองหล่อเหล่านี้กับเครื่องสักการบูชาทั้งปวง​เปนอันมาก พระเจ้าหงษาจึ่งบูชาแล้วก็ทำการฉลองเปนอันมาก แล้วจึ่งหลั่งน้ำทักษิโณทก แล้วก็ให้อำมาตย์คุมเครื่องบูชาเหล่านี้ลงสำเภาแล้วก็ไปถวายไว้กับพระมหามุนีเมืองยะไข่ เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๙๓๐ ปีตั้งแต่ครั้งนั้นมา ๚

๏ ส่วนพระนเรศร์นั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าหงษามีรับสั่งให้หาพระนเรศร์เข้ามาในพระราชวัง พระนเรศร์ก็เข้าไปตามรับสั่งพระเจ้าหงษา ครั้นพระนเรศร์ขึ้นไปบนปราสาทใหญ่ปราสาทไหว ครั้นเสนาเห็นเปนอัศจรรย์จึ่งทูลกับพระเจ้าหงษา พระเจ้าหงษาจึ่งทำนายทายไว้ว่านานไปเบื้องน่า มอญเมืองหงษาจักได้ไปเกี่ยวหญ้าช้างเมืองกรุงไทย ครั้นตรัสทำนายดังนั้นแล้ว ก็มิได้มีพจมานประการใด พระนเรศร์ก็เข้าไปเฝ้าพระเจ้าหงษา แล้วก็กลับมาสู่ยังบ้านเรือนหลวงดังเก่า ๚

๏ ครั้นอยู่มาพระนเรศร์คิดจะสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จึ่งสั่งให้หานายช่างได้แล้ว จึ่งให้ช่างนั้นทำพระพุทธรูปเปนอย่างที่พระไทยแล้วก็ทำเปนพิหารแลอารามแล้ว จึ่งเชิญพระพุทธรูปไว้ในนั้น อันพระพุทธรูปที่พระนเรศร์สร้างนี้อยู่ที่ในป่าเมืองสราง ก็ยังปรากฎอยู่ทุกวันนี้ อันพระนามนั้นมิได้ปรากฎ ๚

๏ อันพระนเรศร์กุมารกับพระประทุมราชาอันเปนที่มหาอุปราชนั้นชอบพอรักใคร่ต่อกัน สัญญาว่าพี่น้องพระครรภ์เดียวกัน มิได้มีความรังเกียจเดียดฉันต่อกัน เปนที่ปรึกษาหารือต่อกัน เล่นชนไก่กันอยู่อัตรา พระนเรศร์เมื่อแรกมาแต่กรุงไทยนั้นพระชนม์ได้ ๑๐ ปี ​มาอยู่หงษาได้ ๕ ปี เปน ๑๕ ปี มาเมื่อจะมีเหตุใหญ่นั้น พระนเรศร์กับอุปราชาชนไก่กัน ไก่ข้างอุปราชานั้นแพ้ไก่พระนเรศร์ ในเพลานั้นมิได้มีไชย ฝ่ายข้างอุปราชานั้นทั้งอายทั้งขัดอัชฌาไศรย จึ่งทำจริตแกม จึ่งจับไหล่พระนเรศร์สั่นพลาง จึ่งว่ามาว่าไก่ขุนชเลยนี้มีไชยกับเราหนักหนา พระนเรศร์จึ่งอัชฌาไศรย เพราะว่าตัวนี้พลัดมาต่างเมืองจึ่งทำกันได้ที่กลางสนาม แล้วจึ่งจำใจพูดไปตามเรื่องว่าไก่นี้ราคาค่าเมือง ก็คุมเคืองแค้นกันมาแต่วันนั้น จึ่งคิดว่าเปนชายเหมือนกัน จักได้เห็นกัน พระนเรศร์จึ่งหมายมั่นกับอุปราชาหงษามาแต่ครั้งนั้น แล้วก็หาพลโยธา จึ่งได้โจรป่ากับหมอเฒ่าเหล่าพรานป่า ๆ จึ่งถวายช้าง ชื่อมงคลคชานั้น มีฝีเท้าฝีงากล้าหาญหนักหนา ถวายทั้งพวกพลเหล่าพรานล้วนกล้าหาญชาญไชย ครั้นเตรียมพลพร้อมแล้ว พระนเรศร์จึ่งลอบส่งสารลับให้เข้าไปถึงพระพี่นางข้างใน จึ่งบอกความว่าน้องจักหนีไปภารา ฝ่ายพระพี่นางนั้นกลัวพระเจ้าหงษาจักรู้ จึ่งว่าถ้าหนีได้ก็จักไม่มรณา ถ้าไม่พ้นก็จักพากันบรรไลย จึ่งตรัสว่าอย่าเปนห่วงด้วยพี่เลย เจ้าจักไปก็ตามอัชฌาไศรยเถิด จึ่งอธิฐานแล้วประทานพรให้เจ้าจงไปดี ให้พ้นมือไพรีเถิด ครั้นพระนเรศร์ได้ฟังพระพี่นางว่าดังนั้น ก็ตรอมพระไทยหนักหนา ถ้าแม้นมิได้เตรียมการแล้วก็ทำเนาเถิด นี่เตรียมพร้อมแล้ว เราจักไม่หนีก็เกลือกความจักรู้ไปเมื่อภายหลัง ดั่งแกล้งสังหารตัวเสียให้บรรไลย จำเปนก็จำจักต้องไป จำใจจำจักจากกัน แล้วพระองค์จึ่งกำหนดเพลากับพรานป่าทั้งปวง กับพลของพระองค์​ด้วยกันได้หกร้อยเศษ ครั้นเพลาพลบลงแล้วก็ลอบหนี แล้วออกจากเมืองหงษา จึ่งกวาดต้อนทั้งมอญแลลาวไป ทั้งพลเก่าพลใหม่ได้เก้าพัน แล้วจึ่งยกมาทางเมืองจิตตอง แล้วมาทางเมืองมัตตมะ แล้วจึ่งมาถึงท่าข้ามน้ำพลัน จึ่งยกมาทางอัทรัญ ครั้นถึงสะมิแล้ว ก็รีบมาจนถึงพระเจดีย์สามองค์ แล้วจึ่งยกมาตั้งคอยท่าอยู่ที่ซอยหน้าภูม ๚

๏ ฝ่ายมอญก็อื้ออึงคนึงกันขึ้น จึ่งรู้ไปถึงอุปราชา พระอุปราชาจึ่งเข้าไปในพระราชวัง แล้วก็กราบทูลกับพระบิดาว่า บัดนี้พระนเรศร์ยกพลหนี ไป ลูกจักยกทัพไปจับให้ทันที จักเอาตัวไพรีมาจงได้ พระเจ้าหงษาวดีจึ่งตอบพระราชโอรสว่า อันว่านเรศร์กุมารนี้ไชยชาญยิ่งนัก เจ้าอย่าทนงใจ วันหนึ่งพ่อนี้ให้หาขึ้นมาบนปราสาทปราสาทไหว พ่อทำนายไว้ว่าเขาจักได้เปนใหญ่ในโลกา จักมีฤทธิยิ่งกว่าอุปราชา ถึงรามัญที่ในหงษาก็จักได้ไปเลี้ยงช้างที่เมืองกรุงศรีอยุทธยา เจ้าอย่าไปตามเลย จงฟังคำพระบิดาเถิด แม้นเจ้ามิฟังคำพ่อห้ามดีร้ายจักเกิดสงครามใหญ่ อุปราชาจึ่งทูลทัดขัดไว้ มิได้ฟังในพระโองการ ว่าเปนชเลยมาอยู่ในเนื้อมือแล้ว ควรฤๅจักให้มันโวหาร ดั่งเรานี้มิใช่ชายชาญ ลูกจักขอยกพลตามไป ส่วนพระเจ้าหงษาจึ่งอนุญาตแล้ว จึ่งมีคำบังคับกับเสนาผู้ใหญ่ ว่าลูกกูจักยกทัพไปอย่าให้มีอันตรายมา ถ้าแม้นอุปราชามีเหตุเภทไภยสิ่งใด มึงจักบรรลัยทั้งวงษา จึ่งเกณฑ์ทัพสรัพสรรพโยธาก็ได้แสนหนึ่งแต่ในตาทัพ อุปราชาจึ่งเร่งยกทัพขับพลมา จึ่งทันที่ในป่าใหญ่ที่​ในแดนพระเจดีย์สามองค์เข้ามา ก็ไล่รุกบุกบันกันเปนหนักหนา พระนเรศร์จึ่งถอยพลางสู้รบไม่ต้านทานอยู่ได้ ด้วยพลรบข้างหงษานี้มากนัก หักโหมกระโจมแล้วไล่มา ฝ่ายไทยนั้นรบรามาในไพร ส่วนพระนเรศร์จึ่งมึสิงหนาทกับเหล่าอาทมาตทหารใหญ่ทั้งหกร้อยอันร่วมพระไทย ว่ากูจักเข้าโจมทัพในบัดนี้ ให้ เร่งกะเกณฑ์กันให้ครบทั้งช้างแลพลทหารตามที่ ส่วนพระนเรศร์จึ่งแต่งองค์แล้วก็เสด็จขึ้นยืนอยู่บนเกยไชย อันช้างพระที่นั่งอยู่ที่ริมเกยกับนายควาญช้าง เมื่อจักมีบรมโพธิสมภาร จึ่งบันดาลให้ประจักษ์ในทัพขันธ์ ในเวลากลางวันก็บันดาลให้มีอัศจรรย์มา พระอาทิตย์นั้นก็ทรงกลด อันแดดนั้นก็มิได้ต้องพระองค์ ร่มอยู่สักศอกปลาย ส่วนที่นอกนั้นก็สว่างเปนแสงแดดอยู่ ก็เห็นเปนอัศจรรย์ทั่วกันไปสิ้นทั้งทัพ แล้วแลเห็นพระบรมธาตุเสด็จมาบนกลางอากาศ มีพระรัศมีเปนอันมาก ปาฏิหารแล้วผ่านมาที่น่าพลับพลาไป ก็เห็นเปนมหาพิไชยฤกษ์ใหญ่หนักหนา พระองค์จึ่งตัดปลอกคชสาร แต่กลางช้างกับควาญนั้นขึ้นได้ทันเปนสามทั้งพระองค์ด้วยกัน ก็เข้าไปโจมทัพไล่ไพรี จัตุลังคบาทสี่คนนั้นวิ่งมาพอทันช้างพระที่นั่ง อันว่าพหลมนตรีนอกนี้มิได้ทันพระองค์ แต่ช้างพระองค์เข้าหักโหมกระโจมตี ทัพมอญก็ยับย่อยพ่ายพังไปไม่นับได้ บ้างก็ล้มตายเจ็บปวด บ้างก็วิ่งหนีซอกซอนไปในป่า อันทัพรามัญนั้นไม่เปนสมฤดี บ้างซมซานกราบไหว้ บ้างก็บรรไลยลำบากแตกหนี พระองค์ก็ไสช้างเข้าไล่หักโหมกระโจมแทงแล้วเหยียบค่ายให้พังไปทั้งสิ้น ฝ่ายข้างทหารพลรามัญก็เข้มแขง ฟันแทงแย้งยิง​ด้วยปืนน้อยแลปืนใหญ่เปนนักหนา อันควันปืนนั้นมืดไปทั้งในป่า พระองค์เข้าไล่หักค่ายประทุมราชา ทั้งทัพปีกซ้ายปีกขวาก็พังไปทั้งสิ้น ทั้งทัพหนุนทัพน่าก็แตกแพ้อปราไชยไป อันเหล่ามอญนั้นครั้นคุมกันเข้าได้แล้ว ก็กลับคืนเข้ามารุมกันรบกันเปนหนักหนา แล้วก็กลับคืนตระหลบแตกไปเปนหลายครั้ง ครั้นเต็มพักช้างแล้วก็ถอยมา พระองค์ก็คืนเข้าในค่าย ทั้งกลางช้างแลท้ายช้าง จักได้เปนอันตรายก็หามิได้ ทั้งแรงเชิงสารทหารในก็มิได้มีอันตรายสิ่งใด แต่โลหิตรามัญที่บรรไลยนั้นติดแดงไปทั้งพลแลช้างก็เห็นเปนยิ่งนัก ๚

---------------------------

เดี๋ยวนี้อยู่ที่พระพุทธบาท
รูปนี้ว่ายังอยู่ที่วัดพระมหามัยมุนี ณเมืองอมรบุระ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2567 11:16:22 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 23 เมษายน 2567 14:16:12 »

               
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ซึ่งพระนเรศร์กลับมานี้ เหตุรู้ถึงกรุงศรีอยุทธยา จึ่งพระเอกาทศรถอันเปนพระอนุชานั้น ก็แต่งพลทัพแล้วยกหนุนมา แต่เสบียงลำเลียงนั้นให้ไปก่อน ด้วยเปนการร้อนจักได้ช่วยพระเชษฐา แล้วพระองค์จึ่งยกพลโยธาเร่งรีบมาให้ทันทัพ อันเสบียงลำเลียงที่ล่วงมานั้นหลงทางไป ฝ่ายมอญนั้นจับได้ อันพระเอกาทศรถนั้น ก็ยกไปทันพระพี่ยาที่ตำบลเล่นแต่เขางาม ทั้งสองพระองค์โสมนัศาทรงพระยินดียิ่งนัก พระเอกาทศรถจึ่งกราบลงกับพระบาทพระพี่ยา พระเชษฐานั้นก็สร้วมกอดเอาทันใจ ทั้งสององค์ปรีดิ์เปรมเกษมศรี แล้วมีพระไทยยินดียิ่งนัก ไม่มีสิ่งจักเปรียบได้ แล้วพระเอกาทศรถจึ่งถามถึงพระพี่นาง พระพี่ยาจึ่งเล่าไปตามความคดีที่มีมาทั้งสิ้น พระเอกาทศรถจึ่งกราบลงแล้วก็ทูลอาสา พระนเรศร์จึ่งตรัสว่าพระน้องยานี้ยังเยาว์อยู่นัก อันประทุมราชานั้นเขากล้าหาญหนักหนา แลชัณษานั้นก็แก่กว่าเจ้า ​พี่เองจักหักอุปราชา แต่น้องยาจงช่วยหนุนรองป้องกันเถิด พลขันธ์พี่นี้บอบมาหนักหนา ครั้นตรัสดังนั้นแล้วก็จัดแจงโยธาทัพให้เปนปีกซ้ายขวากัน ทั้งทัพหนุนทัพรองก็แน่นหนา ด้วยได้พลโยธามาใหม่ ครั้นเกณฑ์สำเร็จแล้ว ทั้งสองพระองค์ก็ทรงช้างพระที่นั่ง แล้วยืนอยู่กลางพล แล้วก็ยกพลทัพตีรุกเข้าไป เหล่าโยธาก็โห่ร้องเอาไชย ทั้งเสียงฆ้องไชยกลองไชยก็ดังครื้นเครงไปทั้งป่าใหญ่ ก็เข้ารบพุ่งประจันกันเปนหนักหนา จึ่งเหล่าทัพน่าเสนารามัญก็ประจันสู้ พระนเรศร์จึ่งเอาช้างเข้าไล่แทง ช้างข้างรามัญก็หนี พระองค์จึ่งตีด้วยพระแสงขอ ก็ถูกท้ายช้างมอญเข้า ก็ล้มตะแคงอยู่ทับที่ พระเอกาทศรถก็ไล่มาทันเสนามอญผู้หนึ่งเข้าไม่ถอยหนี ก็กลับหน้ามาสู้กันกับพระองค์ ก็หักโหมกระโจมสู้กันเปนหนักหนา พระเอกาทศรถจึ่งแทงด้วยทวน ก็ถูกกลางช้างข้างมอญนั้นก็ตายตกช้างลงมาอยู่กับที่ ฝ่ายช้างพระนเรศร์นันก็มาทันเข้า ทั้งสองพระองค์ก็ประจันกันเข้าเหยียบค่าย ฝ่ายทัพข้างมอญก็ล้มตายหน่ายหนีเปนหนักหนา จนถึงน่าช้างอุปราชา อุปราชาครั้นเห็นช้างพระนเรศร์ จึ่งจับเอาลูกคลีจักทิ้งเอาพระนเรศร์ พระนเรศร์จึ่งสรวลพลางแล้วก็ร้องว่ามา ว่าดูกรอุปราชา ท่านก็เปนเชื้อกษัตร ฝ่ายเราก็เปนเชื้อขัติยวงษา จักทิ้งกันด้วยลูกคลีนั้นดูเหมือนเด็กเล่น ควรที่ท่านกับเราจักชนช้างชิงไชยกัน ให้เสนาทั้งปวงดูเล่นเปนขวัญตาจึ่งจักสมควรกับเรา​ทั้งสอง จักให้เสนาแลอาณาราษฎรมาพลอยตายด้วยไม่ต้องการ ควรแต่ท่านกับเราเปนชายขัติยะเชื้อกษัตรต่อกษัตร จักชนช้างชิงไชยกันจึ่งจักสม นานไปเบื้องน่านี้ไม่มีกษัตรองค์ใดแล้วที่จักชนช้างชิงไชยกันดังนี้ ส่วนอุปราชาครั้นได้ยินพระนเรศร์ว่าดังนั้นก็ชอบอัชฌาไศรย จึ่งว่าเจ้าว่ามานี้เราชอบใจเปนหนักหนา ครั้นสององค์ตรัสดังนั้นแล้ว จึ่งห้ามทหารโยธาทั้งปวงว่าอย่าให้รบพุ่งกันทั้งสิ้น จึ่งตั้งเปนกระบวนปีกซ้ายปีกขวา แล้วจึ่งปักธงไชยลงด้วยกันทั้งสองฝ่าย แล้วก็ตีฆ้องไชยกลองไชยทั้งสองฝ่าย อันเหล่าทหารก็รำแพนอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ส่วนพระนเรศร์กับอุปราชาก็เข้าชนช้างชิงไชย แล้วสู้รบฟันแทงกันด้วยพระแสงของ้าวตามกระบวนเพลงขอ ก็รำรอรับกันประจันสู้กันไปตามเพลง ส่วนช้างพระนเรศร์นั้นเล็ก ก็ถอยทางพลางสู้ชน ครั้นถอยไปอุปราชาจึ่งฟันพระนเรศร์ด้วยพระแสงของ้าว พระนเรศร์จึ่งหลบ ก็ถูกพระมาลาบี้ไปประมาณได้สี่นิ้ว ครั้นช้างพระนเรศร์ถอยไป จึ่งได้ที่ประจันหนึ่ง เรียกว่าหนองขายันแลพุดทรากะแทก ก็ยังมีที่ที่อันนั้นจนทุกวันนี้ ช้างพระนเรศร์นั้นยันต้นพุดทราอันนั้นเข้าได้แล้วจึ่งชนกะแทกขึ้นไป ก็ค้ำคางช้างอุปราชาเข้า ฝ่ายข้างช้างอุปราชาก็เบือนหน้าไป พระนเรศร์ได้ทีก็ฟันด้วยพระแสงของ้าว ชื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่าย ก็ถูกอุปราชาพระเศียรก็ขาดออกไปกับที่บนฅอช้าง กลางช้างจึ่งเข้าประคองไว้ ฝ่ายไทยก็โห่เอาไชยสามลา ก็ดังครื้นเครงอื้ออึงสนั่นไปทั้งป่า ฝ่ายมอญก็กราบถวาย​บังคมอยู่สลอน พระนเรศร์จึ่งชักช้างพระที่นั่งแล้วก็ยืนอยู่ในกลางพล แล้วพระนเรศร์จึ่งกรายกรกวักเรียกเสนารามัญ จึ่งตรัสว่าดูกรสมิงพลรามัญทั้งปวง จงชวนกันกลับไปหงษาเถิด เราไม่เอาโยธา ด้วยธรรมยุทธสัญญากันไว้ ถึงอุปราชากับเราก็ชอบอัชฌาไศรยกันอยู่ ตัวท่านก็ย่อมแจ้งอยู่ในใจ ควรฤๅมาดูหมิ่นกันได้ แต่เรียกว่าขุนชเลยน้อยแล้วมิสา ยังมาจับบ่าสั่นกันได้ เปนเชื้อชาติชายเหมือนกัน เพราะสำคัญว่าเปนชเลย เราเจ็บใจจึ่งคิดการทั้งนี้ จักมาลองฝีมือกันให้ได้ ซึ่งอุปราชาตามมาชิงไชย ก็ตายไปด้วยฝีมือเรา ก็สมดังใจที่เราปราถนาแล้ว เราก็จักกลับคืนไปกรุงศรีอยุทธยาดังเก่า อันเปนที่ถิ่นฐานบ้านเมืองของเรา ท่านจงเอาความทั้งนี้ไปทูลกับพระเจ้าหงษาเถิด แล้วพระนเรศร์ก็กรีพลมายังกรุงศรีอยุทธยา ๚

๏ ฝ่ายรามัญจึ่งเชิญพระศพอุปราชานั้นใส่บนราชยานแล้ว ก็กลับมาสู่ยังเมืองหงษา แล้วก็เข้าไปกราบทูลเรื่องราวซึ่งข้อที่อุปราชากับพระนเรศร์ได้รบกันจนบรรไลยนั้น ส่วนพระเจ้าหงษาก็มิขอฟังความที่เสนามาทูลดังนั้นได้ จึ่งมีพระโองการตรัสสั่งกับนายเพชฌฆาฏ ให้เอาเสนามอญเหล่านี้กับทั้งเจ็ดชั่วโคตรด้วยกันทั้งสิ้น ให้เอาไม้ลำทำตับเข้าแล้วให้ปิ้งเพลิงเสียทั้งเจ็ดชั่วโคตร แล้วให้ทำพลีกรรมเทวดา นายเพชฌฆาฏก็เอาตัวเสนาทั้งปวงไปแล้วก็ทำตามมีรับสั่งทั้งสิ้น ส่วนพระเจ้าหงษาก็ทรงพระโกรธยิ่งนัก ก็เสด็จเข้าไปในพระราชฐาน จึ่งเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศร์นั้นประธม​อยู่ให้พระราชโอรสเสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงษาจึ่งฟันด้วยพระแสงก็ถูกทั้งพระมารดาแลพระราชโอรสทั้งสององค์ ก็ถึงแก่ความพิราไลยไปด้วยกันทั้งสององค์ ด้วยพระเจ้าหงษาทรงพระโกรธยิ่งนัก มิทันที่จะผันผ่อนได้ ๚

๏ ส่วนพระนเรศร์นั้นก็เข้าไปกรุงศรีอยุทธยา ก็เสด็จขึ้นสู่บนพระราชฐาน อันอรรคมหาเสนาบดีแลมหาปโรหิตทั้งปวง จึ่งทำการปราบดาภิเศก แล้วเชื้อเชิญขึ้นให้เสวยราชสมบัติ จึ่งถวายอาณาจักรเวนพิภพแล้ว จึ่งถวายเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์ทั้งห้า แล้วเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้งห้า ทั้งเครื่องราชาอุปโภคทั้งปวงอันครบครัน แล้วจึ่งถวายพระนามใส่ในพระสุพรรณบัตรสมญา แล้วฝ่ายกรมในจึ่งถวายพระมเหษีพระนามชื่อนั้น พระมณีรัตนา แล้วถวายพระสนมกำนัลทั้งสิ้น แล้วครอบครองราชสมบัติเมื่อจุลศักราชได้ ๙๕๒ ปี อันพระเอกาทศรถนั้นก็เปนที่มหาอุปราช อันพระนเรศร์นั้นมีบุญญาธิการแลเดชาอานุภาพกล้าหาญ มีตะบะเดชะเข้มแขงเรี่ยวแรงยิ่งนัก พระนเรศร์จึ่งให้ตกแต่งบ้านเมืองแล้วก็ให้ยกกำแพงก่อออกมา ให้ถึงขอบริมน้ำทั้งรอบกรุง แล้วพระนเรศร์จึ่งสร้างพระองค์หนึ่ง จึ่งถวายนามเรียก พระบรมไตรโลกนารถ สมาธิน่าตัก ๒ ศอก ทำด้วยทองเหลืองหล่ออยู่วัดเจ้าพระแนงเชิง พระนเรศร์ให้ช่างรามัญทั้งปวงทำฝีมือมอญ ฝ่ายมอญจึ่งเรียกวัดพระแนงเชิงอยู่ทางทิศใต้เมือง แล้วจึ่งทำการฉลองเปนหนักหนา ครั้นแล้วพระนเรศร์จึ่งซ่องสุมทำนุบำรุงทหารแลโยธาบรรดาที่มาแต่หงษา อันมีความชอบจงรักภักดี​ต่อพระองค์นั้น พระนเรศร์ก็ประทานบำเหน็จรางวัลทั้งไพร่แลผู้ดีทั้งสิ้น บ้างก็ได้เลื่อนที่เลื่อนทาง แล้วประทานชื่อเสียงเรียงตัวกันทั้งสิ้น อันเหล่าทหารแลพลรบเมื่อครั้งนั้นดั่งหมู่มาร เก่าใหม่หักสท้านทุกบ้านเมือง อันพระแสงของ้าวเล่มนั้นที่ฟันอุปราชหงษา แล้วใช้กลางโยธาแสนหนึ่งนั้น จึ่งตรานามกรชื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่าย กับพระมาลาเบี่ยงบิ่นของพระองค์ อันพระแสงที่ตีช้างมอญล้มลงนั้น จึ่งเรียกว่า (พระแสงขอตีช้างล้ม) พระแสงที่คาบปีนค่ายขึ้นไปนั้น เรียกพระแสงขึ้นค่าย อันพระมาลาแลพระแสง สามองค์นี้อยู่จนเสียกรุง อันช้างทรงที่พระองค์ชนมีไชยกับอุปราชานั้น ชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ เปนมหาคชสาร อันยันคันหนองเมื่อชนช้างกันนั้น เรียกว่าหนองขายันมาจนบัดนี้ อันถิ่นฐานนั้นก็มีอยู่จนทุกวัน อันที่ที่ช้างชนกันที่ต้นพุดทรานั้น เรียกพุดทรากะแทก ก็ยังมีอยู่จนทุกวันนี้ ๚

๏ ครั้นอยู่มาพระนเรศร์ จึ่งให้ซ่องสุมทหารโยธาแลช้างมันคชสารอาสา แลทหารถืออาวุธเปนอันมาก แล้วพระนเรศร์จึ่งยกทัพไปรบเมืองน้อยใหญ่ จึ่งไปรบเมืองล้านช้าง เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงตุง เมืองเชียงแสน เมืองจำปาศักดิ อันเมืองลาวเหล่านี้ ฝ่ายทิศเหนือ ยังเมืองปากใต้ เมืองนคร ไชยา ตานี พัทลุง สงขลา ออกไปจนกระทั่งเกาะเมืองเรียก (เรียว?) แดนชวา แลได้เมืองน้อยใหญ่นอกนี้เปนอันมาก ครั้นมีไชยกลับมาแล้ว พระองค์จึ่งตั้งหมู่ทหารต่างๆ คือหมู่ทศโยธา จตุรงคเสนา แลหมู่องครักษ์​จักรนารายน์ แลอาสาหกเหล่า แลอาสายี่ปุ่น อาสาจาม แลอาสาต่างๆ มีกระบวนช้างพิไชยสงคราม แล้วธงไชยกระบี่ธุชครุธธวัช แลพระเสมาธิปัติฉัตรไชยเกาวพ่าย สำหรับกระบวนมหาพิไชยสงคราม ครั้นตั้งพร้อมแล้วจึ่งเกณฑ์ช้างที่นั่งเอก ที่นั่งรอง แลช้างระวางนอกระวางในทั้งข้างซ้ายขวา ทั้งดั้งทั้งกัน มีทั้งช้างเขนช้างแพน อันช้างเหล่านี้มีชื่อต่างๆ จึ่งผูกเครื่องพระที่นั่งนั้นก็ต่างๆ ทั้งช้างพังช้างพลายมีทั้งเขนแลแพน ทั้งปืนน้อยแลปืนใหญ่ ทั้งหอกแลทวนหลังช้างก็ครบตัวช้างทั้งสิ้น อันช้างตัวหนึ่ง มีคนขี่สามคนมีอาวุธครบตัวคน ยังเหล่าม้าพระที่นั่งเอก ที่นั่งรอง โรงนอกโรงใน ม้าซ้ายม้าขวา ทั้งม้าอาสาเกราะทอง ทั้งม้าหอกม้าทวนแลม้าไชย อันม้าเหล่านี้ผูกเครื่องต่างๆ กัน มีทวนธนูแลน่าไม้ทั้งหอกซัดแลเขน อันคนขี่นั้นใส่หมวกใส่เสื้อเสนากุฏ มีอาวุธครบมือกันต่างๆ ทั้งสิ้น แล้วจึ่งถึงเหล่าทหารขี่รถต่างๆ มีทั้งรถดั้งรถกันรถเขนรถแทงแพน อันคนเดินถืออาวุธต่างๆ กัน ยังเหล่าปืนใหญ่เกณฑ์มีชื่อต่าง ๆ อันเหล่าทหารปืนใหญ่นั้นล้วนเหล่าฝรั่งเศสเกณฑ์มีชื่อแลมีอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วจึ่งเกณฑ์ทหารใหญ่ให้เปนยกรบัตร เกียกกาย ปีกซ้าย ปีกขวา ทัพน่า ทัพหลัง ทัพหนุน ทัพรอง ทัพเสือป่าแมวเซา แต่บรรดาอาทมาตแลทหารพลทัพเหล่านี้มีอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้น เปนคนสี่แสน จึ่งให้พระเอกาทศรถเปนแม่ทัพน่า อันองค์พระนเรศร์นั้นเปนทัพหลวง แล้วจึ่งขึ้นไปจักรบเมืองหงษา จึ่งยกทัพไปทางเมืองพิศณุโลก จึ่งหยุดทัพพล​ไปในป่า แล้วจึ่งตัดไม้ข่มนามตามที่พิไชยสงคราม ครั้นยกไปถึงเมืองเรียว จึ่งเข้ารบลาวเมืองเรียว ฝ่ายลาวเมืองเรียวก็ออกสู้รบต้านทานเปนหนักหนา แล้วตั้งค่ายคูเปนมั่นคง ฝ่ายลาวก็ออกสู้รบประจันกันเปนอันมาก ฝ่ายไทยก็เข้าโจมทัพรุกรบกันกลางแปลง แต่ไทยกับลาวเมืองเรียวนั้นสู้รบกันอยู่เปนหลายวัน ฝ่ายลาวเมืองเรียวนั้นยกทัพมาช่วยเมืองเรียว แต่รบพุ่งกันอยู่นั้นเปนหนักหนา พระนเรศร์กับโยธาทั้งปวง จึ่งเข้าตีประดากันเข้าไป แล้วพระองค์จึ่งจับพระแสงแล้วก็ปีนค่ายขึ้นไป พระเอกาทศรถจึ่งปีนขึ้นไปกับเหล่าโยธาทหารทั้งปวง ก็เข้าได้ในค่ายลาว ก็ฟันแทงลาวล้มตายพ่ายพังไปทั้งสิ้น ครั้นพระนเรศร์มีไชยกับลาวได้เมืองเรียวทั้งสองเมืองแล้ว จึ่งยกทัพไปตีเมืองกงศรีละลายก็ได้ง่ายงาม ครั้นได้เมืองกงศรีละลายแล้ว พระนเรศร์จึ่งยกทัพไปรบเมืองห่าง ฝ่ายลาวเมืองห่างก็ทานสู้รบมิได้ก็แตกหนี พระนเรศร์ก็มีไชยกับเมืองห่าง อันว่าเมืองห่างนี้เปนเมืองบุรีบุราณเขามาช้านานหนักหนา แต่นับกษัตรได้ถึงร้อยชั่ว แต่คราวเมืองปาตลีบุตรนั้นมา มีรอยพระพุทธบาทอยู่บนยอดเขา เรียกเขารังรุ้ง แต่ก่อนตั้งพระสาสนา พร้อมด้วยพระรัตนไตรย พระนเรศร์จึ่งทำพิธีเข้าเหยียบกรุงจักให้รุ่งเรืองเดชา อันที่พระพุทธบาทนั้นก็เสด็จไปนมัสการ พระองค์จึ่งเปลื้องเครื่องทรงทั้งสังวาลแลภูษา แลทรงไว้ในรอยพระพุทธบาท แล้วทำสักการบูชาธงธูปเทียนเข้าตอกดอกไม้ มีเครื่องทั้งปวงเปนอันมาก แล้วจึ่งทำการพิธีสมโภชอยู่เจ็ดราตรี จึ่ง​ให้มหาอุปราชเปนทัพน่ายกไปเมืองหงษาก่อน อันองค์พระนเรศร์นั้นเสด็จอยู่เมืองห่าง เพราะเหตุฉนี้จึ่งถวายพระนามเรียกองค์พระนารายน์เมืองห่าง เปนกรุงหยุดพักอยู่กลางทางของพระองค์ ครั้นเสร็จการมงคลพิธีแล้วพระองค์ก็ยกไปเมืองหงษา จึ่งทรงช้างพระที่นั่งสุวรรณปฤษฎางค์ ก็พ้นเมืองทางไกลได้เจ็ดวัน จึ่งพ้นไปน่าเขาเขียวดงตะเคียนใหญ่ จึ่งมีศาลนางเทพารักษ์อยู่ที่ต้นตะเคียนใหญ่ มีอานุภาพศักดิสิทธิยิ่งนัก เสนาจึ่งทูลเชิญเสด็จให้ลงจากช้างพระที่นั่ง เมื่อจักมีเหตุมานั้น พระนเรศร์จึ่งถามเสนาว่า เทพารักษ์นี้เปนเทพารักษ์ผู้ชายฤๅผู้หญิง เสนาจึ่งทูลว่า อันเทพารักษ์เปนนาง ศักดิสิทธิยิ่งนัก พระนเรศร์จึ่งตรัสว่าอันเทพารักษ์นี้เปนแต่นางเทพารักษ์ดอก ถ้าจักเปนเมียเราก็จักได้ เราไม่ลงจากช้าง ครั้นพระนเรศร์ตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงช้างพระที่นั่งผ่านน่าศาลนางเทพารักษ์นั้นไป จึ่งเห็นเปนตัวแมลงภู่บินตรงมาน่าช้างแล้วก็เข้าต่อยเอาที่อุณาโลม องค์พระนเรศร์นั้นก็สลบอยู่กับหลังช้างพระที่นั่ง แล้วก็เสด็จสู่สวรรคตที่ตรงน่าเขาเขียว เสนาทั้งปวงจึ่งเชิญพระศพ แล้วก็กลับมายังพลับพลาเมืองห่าง ส่วนพระเอกาทศรถนั้นก็ยกพลไปถึงแดนเมืองหงษา จึ่งตีบ้านกว้านกวาดได้มอญลาวหญิงชายเปนอันมาก แล้วจักยกเข้าตีเมืองหงษา ก็พอเสนาอำมาตย์ให้ม้าใช้เร่งรีบไปทูลความพระนเรศร์สวรรคต พระองค์ครั้นทราบดั่งนั้นก็เร่งรีบยกพลโยธาทัพกลับมายังเมืองห่าง ครั้นถึงแล้วก็เสด็จเข้าไปสู่ยังสถานพระเชษฐา จึ่งกอดพระบาทพระพี่ยาเข้าแล้ว ก็ทรงพระ​กรรแสงโศกาอาดูรร่ำไรไปต่าง ๆ พระองค์ก็กอดพระเชษฐาเข้าแล้วก็สลบลงอยู่กับที่ แต่ทรงพระกรรแสงแล้วสลบไปถึงสามครั้ง ครั้นพระองค์ก็ได้สมฤดีคืนมาแล้ว พระองค์จึ่งมีพระบัณฑูรตรัสสั่งให้หาพระโกษฐทองทั้งสองใบที่ใส่พระศพ แล้วจึ่งเชิญขึ้นสู่บนพระราชรถ แล้วก็แห่แหนเปนกระบวนมหาพยุหบาตราอย่างใหญ่มาจนถึงกรุงอยุทธยาธานี แล้วจึ่งสั่งให้ทำพระเมรุทองอันสูงใหญ่ยิ่งนัก อันการพระบรมศพครั้งนั้นเปนการใหญ่หลวงหนักหนา เกินที่เกินทางแต่ก่อนมา ทั้งเครื่องไทยทานก็มากมายหนักหนา แล้วให้ชุมนุมกษัตรทุกประการอันน้อยใหญ่ทั้งสิ้น จึ่งเชิญพระศพแห่แหนไปแล้ว จึ่งถวายพระเพลิงที่วัดสบสวรรค์ ๚

๏ อันพระนเรศร์นั้นวันพฤหัศบดีได้ครองกรุงมาเมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๙๖๐ ปี พระชนม์ได้ ๑๕ ปี อยู่ในสมบัติได้ ๒๐ เปน ๓๕ ปี สวรรคต เมื่อสวรรคตนั้นจุลศักราชได้ ๙๖๐ ปีสัมฤทธิศก ๚

๏ ครั้นพระนเรศร์สวรรคตแล้ว พระเอกาทศรถจึ่งครอบครองกรุงฉลองพระเชษฐาสืบไป จึ่งทำการราชาภิเศกอันครบครัน จึ่งถวายพระมเหษี พระนามชื่อพระสวัสดี พระองค์จึ่งสร้างวัดไว้ที่ถวายพระเพลิงพระนเรศร์ แล้วจึ่งสมมุตินามเรียกวัดสบสวรรค์ พระองค์จึ่งสร้างวัดไว้ที่สวนฉลององค์พระเชษฐาวัดหนึ่ง จึ่งสมมุตินามที่เรียกว่าวัดวรเชษฐาราม แล้วพระองค์จึ่งถวายที่เขตรอาราม จึ่งจาฤกไว้ในแผ่นศิลา อันเหล่าบรรดาทหารทั้งนั้น พระองค์ปูน​บำเหน็จหนักหนา ให้เปนชั้นหลั่นกันลงมา ทั้งบุตรแลภรรยาได้ดี อันทหารห้าร้อยคนเดิมนั้นพระองค์เพิ่มบำเหน็จมีภาษี ให้ทั้งโคควายไร่นาแลที่ถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งทาสีทาษา แล้วให้มีตราพระราชสีห์คุ้มห้ามด่านขนอนอากรทั้งปวงเบ็ดเสร็จ มิให้เบิกจ่ายทุกกระทรวงจนต้องคดีโรงศาล ประทานให้ทั้งพิไนยหลวง ที่พระองค์ประทานทั้งปวงนี้มิให้ล่วงพระโองการที่พระเชษฐาสั่งไว้ อันเมืองกรุงศรีอยุทธยานี้มีมอญแลลาวมากมาแต่ครั้งนั้น จึ่งเอาจ่ายในการเมือง แล้วให้เลี้ยงช้างทั้งกรุงทั้งหมู่โขลงแล่น มียศทั้งสิ้น ก็มีมาแต่ครั้งนั้น อันมอญแลลาวเหล่าชเลยจึ่งมีหนักหนา ด้วยพระนเรศร์เธอกวาดต้อนเอามาทุกบ้านเมือง จึ่งมีมากมาแต่ครั้งนั้น กรุงศรีอยุทธยาเมื่อครั้งนั้น มีเดชาอานุภาพเลื่องฤๅชาปรากฎหนักหนา แล้วพระองค์จึ่งสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง จึ่งสมมุตินามเรียกพระศรีสรรเพชญ์ ใหญ่สูงสิบแปดศอก หล่อด้วยสังกะสีเปนชั้นใน ข้างนอกนั้นหุ้มทองคำ หนักทองร้อยเจ็ดสิบสามชั่งที่จำได้ แล้วพระองค์จึ่งทำเปนรูปพระเชษฐาธิราช คือรูปพระนเรศร์ จึ่งเอาไว้ในโรงแสงขวา แล้วพระองค์จึ่งสร้างปราสาท ชื่อบรรยงก์รัตนาศน์ แล้วจึ่งขุดสระล้อมรอบ แล้วจึ่งสร้างวัดราชบุรณะวัดหนึ่ง อยู่ในกรุงทิศตวันออกเฉียงใต้ วัง วัดโพธารามวัดหนึ่ง อยู่นอกกรุงทิศตวันตกเฉียงเหนือเมือง แล้วจึ่งสร้างพระเจดีย์เรียกพระมหาคาราเจดีย์องค์หนึ่ง อยู่วัดกุฎีดาวนอกเมืองอยู่ทิศตวันออก อันพระเอกาทศรถนั้น รักพระนเรศร์เชษฐายิ่งนัก อันดาบทรงของพระนเรศร์ที่คาบแล้วปีน​ค่ายขึ้นไปในวันนั้น ก็ยังปรากฎเปนรอยพระทนต์คาบนั้นมีอยู่ตัวคาบ อันด้ามนั้นทำด้วยนอแล้วประดับพลอยแดงอยู่ในโรงแสงซ้าย อันชาวแสงนั้นเชิญออกชำระที่ใดแม้นมิบาดก็ไม่ได้ อันพระแสงองค์นี้กินเลือดคนอยู่อัตราแต่ไรมา อยู่จนเสียกรุงเมื่อครั้งนี้ อันพระแสงง้าวที่ฟันอุปราชาขาดฅอช้าง ซื่อเจ้าพระยาแสนพลพ่ายนั้น ก็เอาไว้ในโรงแสงซ้าย อันพระแสงที่ตีช้างมอญล้มนั้น เรียกพระแสงช้างตีล้มก็ไว้ในโรงแสงซ้าย อันพระมาลาที่อุปราชฟันถูกเข้าบิ่นไปนั้น ก็ไว้ในโรงแสงซ้าย อันรูปพระนเรศร์นั้นไว้ในโรงแสงขวา อันพระเอกาทศรถนั้น จักได้ไปรบพุ่งบ้านใดเมืองใดนั้นหามิได้ ตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ ทั้งอาณาประชาราษฎรก็อยู่เย็นเปนศุข ทั้งสมณชีพราหมณ์ก็จำเริญศีลาบารมีก็เปนศุข อันพระเอกาทศรถนั้น ได้เสวยราชสมบัติมาแต่เมื่อจุลศักราช ๙๖๐ ปี พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๑๙ ปี ๓๙ ปีสวรรคต เมื่อจุลศักราชได้ถึง ๘๗๙ ปี ๚

๏ ครั้นอยู่หลายชั่วกษัตรมา จึ่งมีกษัตรองค์หนึ่งเปนเชื้อพระสุธรรมราช ได้ครองราชสมบัติต่อมาในกรุงศรีอยุทธยา จึ่งอรรคมหาเสนาบดีแลมหาปโรหิตผู้ใหญ่แลเสนาทั้งปวง จึ่งตั้งการราชาภิเศกตามประเพณีกษัตริย์แต่ก่อนมา จึ่งถวายพระนามเรียกว่าพระไตรโลกนารถ พระองค์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม อาณาราษฎรทั้งปวงจึ่งเรียกว่า พระเจ้าทรงธรรมอันมหาประเสริฐ อันพระอรรคมเหษีนั้นพระนามชื่อพระจันทชายา อันราชมเหษีนั้นพระนามเรียกพระขัติยเทวี จึ่งมีพระราชธิดาในพระอรรคมเหษีนั้นสี่องค์ ที่​เปนพระราชธิดาเดิมนั้นพระนามเรียกว่า พระประทุมาองค์หนึ่ง แล้วถัดมาชื่อพระสุริยา ถัดมาชื่อพระจันทเทวี อันพระธิดาน้อยนั้นชื่อพระศิริกัลยา อันในพระอรรคมเหษีนั้นสี่องค์ จึ่งมีในราชมเหษีนั้นก็สี่องค์ องค์พี่นางนั้นชื่ออุบลเทวี ถัดมานั้นชื่อพระประภาวดี ถัดมาชื่อพระไวยบุตรี สุดพระครรภ์นั้นชื่อพระกนิษฐาเทวี ในมเหษีซ้ายนั้นสี่องค์ จึ่งเปนแปดองค์ด้วยกันทั้งสิ้น อันพระไตรโลกนารถนั้นมิได้มีพระราชบุตรเปนกุมาร มีแต่พระราชนัดดาองค์หนึ่ง เปนหน่อเนื้อฝ่ายข้างพระมารดา ชื่อพระสุริยวงษ์กุมาร อันพระสุริยวงษ์กุมารนั้นแต่เมื่อยังเยาว์อยู่นั้นเห็นเปนอัศจรรย์ยิ่งนัก จักเล่นกับทารกทั้งปวงก็ปลาดในกิริยาอาการ อันจอมปลวกที่เล่นนั้นทำเปนอาศน์แล้วให้เด็ก ๆ เข้ามาเฝ้าเล่า ทำเปนขุนนาง แล้วจึ่งว่าราชการงานกรุง ทำปลาดต่าง ๆ เห็นเปนฉนี้มีอัศจรรย์ยิ่งนัก อันพระไตรโลกนารถนั้นเธอทรงทศพิธราชธรรมหนักหนา พระองค์ตั้งอยู่ในศีลาแลอุโบสถศีลมิได้ขาด แล้วพระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ พระองค์ชำนาญในคันถธุระ ทรงบำรุงพระสาสนาโดยสุจริต ในเดือนหนึ่งสี่อุโบสถ พระองค์บำรุงศีลาพรหมจรรย์มิได้ขาด แล้วงหาฝ่ายสวรรค์แลการพระนิพพาน พระองค์มิได้รอนสัตว์ให้ตักไษย เปนราชประเพณีจำเปนจำเสด็จออกพระโรง แล้วว่าราชการตามกิจประเพณีกษัตรแต่ก่อนมา ใครชอบก็ประทานรางวัล ใครผิดก็ให้พิพากษาโทษตามกฎพระไอยการ ถ้าโทษใหญ่แลลูกขุนพิพากษาใส่ในพระไอยการมา พระองค์ขอโทษไว้มิให้ตาย พระ​องค์จึ่งเอาพระราชนัดดา ที่ชื่อสุริยวงษ์กุมารนั้นมาเลี้ยงไว้ในพระราชฐาน จึ่งประทานชื่อให้เรียกว่าเจ้าพระยาสุริยวงษ์ ว่าที่จักรีกระลาโหม กรมท่า แล้วประทานเครื่องสูงต่างๆ มีพานทองสองชั้น กระโถนทอง ทั้งพระแสงก็ประทานมา นั่งแคร่จมูกสิงห์ พิงหมอนที่บนศาลกลางชุมนุมที่ปฤกษา อันที่เฝ้านั้นอยู่น่าเสนา ปูพรมมีผ้าลาดบน ขี่เรือเอกไชยเข้าเฝ้าอัตรา แล้วประทานอาญาสิทธิเปนต้น มีทนายมหาดเล็กนุ่งสองปักอัตรา ให้รับพระประสาทในบาดหมาย แล้วลอยชายเข้าเฝ้าฝ่ายน่า อันตำแหน่งนั้นที่เจ้าพระยามหาอุปราช เปนสิทธิ์ขาดอยู่แต่ในผู้เดียวนี้ อันพระองค์นั้นมิได้เปนภารธุระในกรุง พระองค์แสวงหาแต่ทางสวรรค์แลนิพพาน พระองค์ชำนาญในการพระธรรมแลคันถธุระ วิปัสนาธุระ ทั้งพระสูตรแลพระปรมัตถ์ พระองค์ก็บอกหนังสือพระสงฆ์อยู่อัตรา พระองค์ทรงแต่งมหาเวสสันตรชาฎกมาแต่เมื่อครั้งนั้น แล้วจึ่งทรงแต่งกาพย์โคลงฉันท์แลคำพากย์ก็ได้ปลาดต่าง ๆ ทั้งสวดสำรวจประสานเสียงโอดพันคร่ำครวญต่างๆ ก็มีมาแต่ครั้งนั้น พระองค์ก็แต่งเปนศัพท์แสงเปนคำหลวง แลพระราชนิพนธ์ก็มีมาแต่ครั้งนั้น อันบรรดากษัตรทั้งปวงแต่ก่อนมา เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาททุกปีมิได้ขาด พระไตรโลกนารถนั้นเสด็จขึ้นไปนมัสการแต่ครั้งเดียวก็มิได้เสด็จขึ้นไปอิกเปนอันขาด ด้วยทรงพระกรุณาแก่อาณาประชาราษฎรทั้งปวงที่ไปตามเสด็จนั้น ได้ลำบากหาบคอนเหนื่อยยาก พระองค์เมตตาแก่อาณาราษฎรทั้งปวงจักต้องลำบาก จึ่งไม่​เสด็จขึ้นไปอิก พระองค์นี้ทรงพระเมตตากับอาณาราษฎรยิ่งนัก อันอาณาราษฎรเมื่อครั้งนั้นได้อยู่เย็นเปนศุขทั้งกรุงแลทั้งขอบขัณฑเสมาทั้งสิ้น อันเครื่องอุปโภคที่มีในพระราชฐานอันที่พระองค์จักทรงนั้น พระองค์บูชาพระรัตนไตรยก่อนแล้ว จึ่งไถ่เอาตามค่าแล้วจึ่งทรงจนเรือพระที่นั่งที่ทรงนั้น พระองค์เชิญเสด็จพระขึ้นทรงก่อนแล้ว พระองค์จึ่งทรง อันการสิ่งนี้เปนนิจสินมิได้ขาด ครั้นอยู่มาครั้งหนึ่ง จึ่งมีคนร้ายเปนเสนาข้างฝ่ายทหารขวา ครั้นสำเภายี่ปุ่นเข้ามาค้าขาย แต่บรรดาสินด้าทั้งปวงที่มีมา ขุนนางผู้นั้นเข้ากวาดกว้านจำหน่ายเอาเองว่าเปนภาษีหลวง แล้วจึ่งเอาเงินทองแดงแต่งไปฉ้อฬ่อลวงนั้น อันยี่ปุ่นพ่อค้านั้นก็สำคัญสัญญาเอาเปนมั่นว่าพระองค์คิดกันมาทำดั่งนี้ ยี่ปุ่นจึ่งแต่งทหารสี่คนให้ลอบเข้าไปในกรุงแล้วจึ่งเข้าไปในพระราชวัง วันนั้นพระองค์เสด็จอยู่ที่น่าจักรพรรดิพิมานไชย ทรงฟังสวดสำรวจคำหลวงอยู่ ยี่ปุ่นมันล่วงเข้าไปได้จนถึงพระองค์ ผู้ใดมิได้ทักทาย ครั้นถึงยี่ปุ่นถอดกฤช อันกฤชนั้นก็ติดฝักอยู่ ถอดออกมิได้ดังใจหมาย ก็ยืนจังงังอยู่ที่ตำบลอันนั้น ก็พอพระองค์ทอดพระเนตรแลมาเห็นยี่ปุ่นสี่คนอยู่ที่นั้น พระองค์จึ่งตวาดด้วยสีหนาทภูมี อันยี่ปุ่นทั้งสี่คนนั้นก็ซวนซบสลบอยู่ทันที พระองค์จึ่งให้จับตัวแล้วไต่ถาม ขุนล่ามจึ่งแปลคำทันที ญี่ปุนจึ่งว่าเอาเงินทองแดงแต่งไปลวงกันบอกว่าเงินดีที่ในคลัง เปนกษัตรมาฉ้อพ่อค้า ยี่ปุ่นจึ่งขัดอัชฌาไศรย อันคนดีที่มาสี่คนบัดนี้จักมาสังหารพระองค์มรณา พระองค์ได้ฟังคำสำนวนยี่ปุ่นว่ากล่าวให้การดังนี้ก็ทรงพระ​สรวลแล้ว จึ่งตรัสสั่งให้หาเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์เข้ามาบัดนี้ จึ่งสั่งให้พิจารณาหาตัวคนร้าย แล้วให้เอาเงินดีตีให้มัน อย่าให้ลงโทษทัณฑ์ชีวิตรให้ฉิบหาย ถึงยี่ปุ่นก็อย่าทำมันให้วุ่นวาย มันไม่ร้ายเราร้ายไปฉ้อมัน จึ่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์รับสั่งแล้วก็ลงมาขมีขมัน จึ่งเรียกยี่ปุ่นทั้งสี่คนออกมาทันใด ก็ส่งตัวให้นายกำปั่นทันที อันที่ฉ้อยี่ปุ่นนั้นก็ลงโทษทัณฑ์ประจานตามที่ แล้วให้ยี่ปุ่นรู้ว่าคนนี้เปนคนร้าย แล้วก็ปล่อยเสียดุจมีพระโองการ อันที่ผิดทั้งนี้ควรที่จักทำโทษ พระองค์ก็โปรดมิได้สังหารชีวิตรให้ฉิบหาย พระองค์ถือศีลาจารสมาทานอธิวาศนขันตีบารมี อันว่ากรุงศรีอยุทธยาเมื่อครั้งนั้น ก็สำเริงสำราญเปนศุขทั้งกรุง แล้วพระองค์จึ่งสร้างวัดพุทไธสวรรย์วัดหนึ่ง วัดธรรมมิกราชวัดหนึ่ง จึ่งปฏิสังขรณ์อารามในเมืองพิไชยบุรี คือวัดพระรัตนมหาธาตุ แล้วจึ่งสร้างปราสาทแว่นฟ้าที่น่าจักรวรรดิ ชื่อจักรวรรดิไพชยนต์มหาปราสาท สำหรับในพระวรรษาสามเดือนนั้น เสด็จออกไปศึกษาบอกหนังสือพระสงฆ์มิได้ขาด อันนอกพระวรรษานั้นแต่วันพระ พระองค์เคล่าคล่องว่องไวที่ในธรรม พระองค์ชำนิชำนาญเปนหนักหนา อันพระไตรโลกนารถนั้นวันเสาร์ได้เสวยราชสมบัติมา แต่เมื่อจุลศักราชได้ ๙๗๙ ปีมเสงเดือนหก พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในสมบัติได้ ๑๙ ปี ๓๙ ปี สวรรคต เมื่อจุลศักราช ๙๙๘ ปี ๚

๏ ครั้นพระไตรโลกนารถเสด็จสู่สวรรคตแล้ว เสนาทั้งปวงจึ่งพร้อมใจกันทั้งสิ้นแล้ว จึ่งเชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ขึ้นครองกรุง​แล้วจึ่งตั้งทำการราชาภิเศกตามประเพณีกษัตรแต่ก่อนๆ จึ่งถวายพระนามเรียกว่า พระรามาธิเบศร์ พระองค์จึ่งเอาพระราชธิดาของพระไตรโลกนารถมาตั้งเปนมเหษีทั้งแปดองค์ อันพระราชธิดาในพระอรรคมเหษีขวาสี่องค์นั้นตั้งเปนฝ่ายขวา อันพระราชธิดาในราชมเหษีซ้ายสี่องค์นั้น จึ่งเอามาตั้งเปนฝ่ายซ้าย อันพระอรรคมเหษีใหญ่นั้น พระนามเรียกพระประทุม จึ่งถัดมานั้นชื่อพระสุริยา ถัดมาองค์หนึ่งชื่อพระจันทเทวี แล้วถัดมาชื่อพระศิริกัลยา ฝ่ายขวาสี่องค์ด้วยกัน ยังฝ่ายซ้ายสี่องค์นั้น พระนามชื่อพระอุบลเทวีองค์หนึ่ง พระประภาวดีองค์หนึ่ง ถัดมาชื่อพระไวยบุตรีองค์หนึ่ง อันสุดพระครรภ์นั้นชื่อพระกนิษฐาเทวี พระราชธิดาฝ่ายซ้ายสี่ จึ่งเปนแปดองค์ด้วยกัน อันพระมเหษีขวาที่ชื่อพระประทุมานั้น มีพระราชโอรสสี่องค์ อันพระเชษฐานั้นชื่อพระองค์ไชย แล้วพระไตรภูวนารถ แล้วพระอภัยชาติ แล้วพระไชยาทิตย์ ในอรรคมเหษีขวาสี่องค์ อันในพระราชมเหษี ที่พระนามเรียกว่าพระอุบลเทวีนั้น มีพระราชโอรสสามองค์ อันพระเชษฐานั้นชื่อพระขัติยวงษา แล้วพระไตรจักร องค์สุดพระครรภ์นั้น ชื่อพระสุรินทกุมาร ทั้งสองฝ่ายจึ่งเปนเจ็ดองค์ด้วยกันทั้งสิ้น ๚

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2567 14:30:28 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 23 เมษายน 2567 14:18:51 »


               
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ครั้นอยู่มาพระรามาธิเบศร์ทรงพระสุบินนิมิตรว่า อันจอมปลวกที่เล่นเมื่อยังย่อมอยู่นั้น มีปราสาททองอันงามวิจิตรอยู่ที่ในใต้จอมปลวกนั้น ครั้นเช้าพระองค์จึ่งเสด็จไป แล้วก็พิจารณาดูที่ตำบลอันนั้น จึ่งให้ขุดลงที่จอมปลวกนั้น จึ่งเปนมหัศจรรย์อยู่​หนักหนา เสียงนั้นดังครื้นเครงไปทั้งสิ้น ครั้นขุดลงไปจึ่งได้ปราสาททองเปนจตุรมุข อันทองนั้นสุกแล้วมีลายอันงามประเสริฐ แต่ต้นจนยอดปราสาทนั้นสูงประมาณได้ศอกเศษ พระองค์จึ่งเอาปราสาททองนั้นไว้แล้ว จึ่งเชิญพระธาตุบรรจุไว้แล้ว จึ่งเอาไว้อยู่ที่ในสรรเพ็ชญ์ปราสาท อันปราสาททองนี้อยู่มาจนครั้งหลัง จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเจ้าปราสาททองมาแต่ครั้งนั้น อันเจ้าปราสาททองนั้น มีพระราชโอรสาเปนกุมารทั้งเจ็ดองค์ พระองค์นั้นรักใคร่ปฐมโอรสาที่ชื่อว่าพระองค์ไชยกุมารนั้น พระองค์จึ่งจินดาว่าจักให้ผ่านธานี แต่ว่าพระองค์ก็ยังสงไสยบุญญาธิการที่จักได้ครอบครองธานี ฤๅจักไม่คู่ควรครอบครองกรุง พระองค์จึ่งลองบุญญาธิการในกุมารทั้งเจ็ดองค์นั้น จึ่งเอาพระขรรค์มาเจ็ดเล่มแล้ว จึ่งเสี่ยงทายพระขรรค์เล่มหนึ่งอันที่จักได้เปนกษัตรนั้น ถ้ากุมารองค์ใดจักได้เปนกษัตรแล้วก็ขอให้ได้พระขรรค์อันที่เปนกษัตรเถิด ครั้นพระองค์เสี่ยงทายแล้วจึ่งเอาพระขรรค์นั้นวางเรียงลงไว้ทั้งเจ็ดเล่มแล้ว พระองค์จึ่งตรัสเรียกพระองค์ไชยกุมารให้เข้าเลือกเอาก่อน อันพระองค์ไชยกุมารนั้นก็เข้าไปเลือกเอาพระขรรค์ตามที่ชอบพระไทย จักได้พระขรรค์ที่พระบิดาเสียงทายนั้นหามิได้ แล้วพระองค์เรียกกุมารทั้งหกนั้นให้เข้าเลือกเอาตามที่ชอบใจ อันกุมารทั้งหกองค์ก็เข้าไปเลือกเอาตามรับสั่งพระบิดา ก็ได้พระขรรค์ไปทั้งสิ้น ยังอยู่สุดท้ายนั้นคือนรินทกุมาร ได้เข้าไปเอาพระขรรค์ตั้งทีหลังกุมารทั้งปวง จึ่งได้​พระขรรค์ที่เปนสำคัญ ที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นมา สมเด็จพระบิดาก็เห็นในนิมิตรที่พระองค์เสี่ยงทาย แต่มิได้มีพจนาดถ์ประการใด พระองค์ยังสงไสยในพระไทยอยู่ ว่ายังจักไม่เที่ยงแท้ จึ่งจักเสี่ยงทายให้ครบสามครั้ง จึ่งจะประจักษ์ทักแท้ แล้วพระองค์จึ่งเอาช้างพระที่นั่งมาเจ็ดช้างแล้ว พระองค์จึ่งเสี่ยงทายช้างเปนสำคัญดังพระขรรค์ แล้วพระองค์จึ่งเจาะเรียกให้พระองค์ไชย ให้เข้ามาเลือกเอาช้างพระที่นั่งก่อนกุมาราทั้งหกองค์ พระองค์ไชยก็เข้ามาเลือกเอาช้างพระที่นั่งตามมีรับสั่งพระบิดา ก็จักได้ช้างสำคัญที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นหามิได้ พระบิดาจึ่งเรียกกุมารทั้งหกองค์ ให้เข้ามาตามหลั่นกันแล้ว จึ่งให้เลือกเอาช้างพระที่นั่งตามที่ชอบใจ อันกุมารทั้งหกองค์ก็เข้ามาทั้งนั้น ก็เข้ามาตามรับสั่งพระบิดา แล้วเข้าเลือกเอาช้างตามที่ชอบใจไป ก็จักได้ช้างสำคัญที่พระองค์เสี่ยงทายนั้นหามิได้ ได้แต่ช้างอื่นนั้นไป แต่ยังนรินทกุมารนั้นอยู่สุดท้ายกุมารทั้งหกองค์ จึ่งเข้าไปทีหลังคน ก็ได้ช้างสำคัญที่พระบิดาเสี่ยงทายนั้นมา อันสมเด็จพระบิดานั้น ก็ทราบในนิมิตรที่พระองค์สำคัญไว้ทั้งสิ้น แต่ยังอยู่อิกครั้งหนึ่งจึ่งจักครบสามครั้ง ครั้นมาอิกครั้งหนึ่งพระองค์เสี่ยงทายม้าพระที่นั่งแล้วก็ทำดังนั้น พระนรินทกุมารก็ได้ม้าพระที่นั่งที่พระองค์เสี่ยงทายไว้ แต่เปนดังนั้นมาถึงสามครั้งแล้ว อันพระปราสาททองนั้นก็หมายมาดว่าพระนรินทกุมารจักได้ครอบครองราชสมบัติ แต่พระองค์มิได้ตรัสประการใด พระองค์สงสารกับพระองค์ไชยกุมารยิ่งนัก แล้วพระองค์จึ่งมีพระราชโองการ​ตรัสเรียกพระราชโอรสทั้งเจ็ดองค์เข้ามาแล้ว พระองค์จึ่งสั่งสอนว่ากล่าวทั้งเจ็ดองค์ด้วยกัน ว่าพี่น้องให้รักใคร่กัน อย่าให้คิดร้ายต่อกัน พระองค์สั่งพระนรินทกุมารก็รับสั่งเปนเสร็จแล้ว จึ่งสั่งสอนกุมารทั้งปวงไปตามที่มีพระไทยกรุณากับพระราชโอรสทั้งหกองค์ด้วยกันทั้งสิ้น พระนรินทกุมารก็รับสั่งตามคำพระบิดาสั่งสอนว่ากล่าว ๚

๏ ครั้นอยู่มาพระองค์จึ่งสร้างปราสาทชื่อ สุริยาศน์อมรินทร์ แล้วสร้างวิไชยปราสาทที่ตำหนักใหม่ แล้วจึ่งสร้างตำหนักที่เกาะบางนางอินชื่อ ไอสวรรย์ทิพอาศน์ แล้วสร้างปราสาทพระนครหลวง แล้วจึ่งสร้างเรือที่นั่งกิ่งแลมหาพิไชยราชรถ แล้วจึ่งสร้างวัดไชยวัฒนาราม แล้วสร้างวัดราชหุลาราม แต่บรรดาเครื่องอุปโภคแลเงินทองทั้งสิ้น แต่เมื่อยังเปนเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์อยู่นั้น จึ่งเอามาจำหน่ายแล้วสร้างพระปรางค์กระทำทั้งสิ้น จึ่งทำรูปภรรยาเก่าทั้งสองคนที่ตายไปแล้วนั้น ทำรูปไว้ที่ในวัดราชหุลาราม แล้วจาฤกชื่อไว้ที่ในฐานนั้น แล้วพระองค์จึ่งตั้งกฐินบกพยุหบาตราใหญ่มีมาแต่ครั้งนั้น ๚

๏ ครั้นอยู่มาจึ่งไฟฟ้าลงที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท จึ่งพระโอรสาธิราชเสด็จขึ้นไปดับเพลิง แต่บรรดาคนทั้งปวงจึ่งเห็นเปนสี่กรทั้งสิ้น ก็เปนนิมิตรใหญ่หลวงหนักหนา อันพระรามาธิเบศร์นั้น ก็ได้เสวยราชสมบัติ เมื่อจุลศักราชได้ ๙๙๘ ปีชวดอัฐศก พระชนม์ได้ ๒๐ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๕ ปี เปน ๔๕ ปีสวรรคต เมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๒๓ ปี ๚

​๏ ครั้นพระเจ้าปราสาททองสู่สวรรคตแล้ว พระราชโอรสอันชื่อพระนรินทกุมารได้เสวยราชสมบัติ จึ่งถวายพระนามตามนิมิตรเมื่อครั้งไฟฟ้าลงพระที่นั่งมังคลาภิเศกมหาปราสาท พระองค์เสด็จขึ้นไปดับเพลิง คนทั้งปวงเห็นเปนสี่กรทั้งสิ้นนั้น จึ่งสมมุติเรียกว่าพระนารายน์ อันพระนารายน์นั้น พระพรหมเปนอาจารย์ มีพระมเหษีนามชื่อ พระกษัตรี เปนหลานพระเจ้าปราสาททองฝ่ายข้างมารดา แลพระกษัตรีมเหษีขวานั้น มีแต่พระราชธิดาองค์หนึ่ง พระนามเรียกพระสุดาเทวี อันพระราชมเหษีซ้ายนั้น พระนามเรียก พระพันปี มิได้มีพระราชบุตรแลธิดา มีพระสนมนั้นเปนอันมาก อันพระนารายน์นั้นมิได้มีราชบุตรเปนกุมาร จึ่งกุมารผู้หนึ่งชื่อหม่อมเตี้ย พระนารายน์เอามาเลี้ยงไว้เปนที่ (พระปิย์) ลูกหลวง ยังหลานองค์หนึ่ง ชื่อพระศรีศิลป์ เปนลูกพระไชยาทิตย์ผู้เปนเชษฐา แล้วพระองค์จึ่งสร้างอ่างแก้วแลน้ำพุทั้งวังหลวงวังน่า แลปราสาทในวังทั้งปวงจึ่งแปลงให้ก่ออิฐ แลผนังทั้งสิ้นนั้นปิดทองประดับกระจก เสวยราชย์อยู่ในกรุงทวาราวดีนั้นได้ ๑๐ ปี แล้วเสด็จไปสร้างเมืองอยู่ที่เมืองเก่าอันหนึ่ง ชื่อเมืองละโว้ จึ่งสมมุตินามเรียกว่าเมืองลพบุรี มีกำแพงแลป้อม แลสร้างปราสาทชื่อดุสิตมหาปราสาท แล้วมีพระที่นั่งฝ่ายขวา ชื่อสุธาสวรรย์ ฝ่ายซ้ายชื่อจันทพิศาล มีพระปรัศซ้ายขวา แล้วมีน้ำพุอ่างแก้ว มีน้ำดั้นน้ำดาษ แล้วจึ่งสร้างทเลชุบศรแลสระแก้ว แล้วจึ่งสร้างวัดทรางวัด ๑ วัดมหาธาตุวัด ๑ จึ่งสร้างพระปรางค์สามยอดองค์ ๑ แล้วจึ่งสร้างเครื่องต้นแลพระมาลา ​ทั้งเส้าสูงเส้าสเทิน แลพระยี่ก่า แลฉลองพระองค์อย่างเทศอย่างยี่ปุ่นมีมาแต่ครั้งนั้น ๚

๏ พระองค์มีช้างเผือกลูกบ้านตัวหนึ่งทั้งกล้าหาญ แล้วก็มีรูปอันงามยิ่งนัก พระองค์ปล่อยไว้ที่ในพระราชวัง จึ่งประทานชื่อว่าพระบรมรัตนากาศ ไกรลาศคิรีวงษ์ อันการศิลปสาตรช้างของพระองค์นี้ดียิ่งนักไม่มีผู้ใดเสมอ ถึงจะเปนช้างร้ายหยาบช้าแลช้างน้ำมันก็ดี พระองค์ทรงเล่นกลางพระนครในที่ชุมนุมคนเปนอันมาก จึ่งไว้ทางกว้างสี่ศอกแล้ว พระองค์จึ่งทรงไปในกระบวนแห่ แต่งวงจะสอดคว้าก็หาบมิได้ ครั้งหนึ่งแขกเมืองโครส่านเข้ามาเฝ้าในเมืองลพบุรี พระองค์จึ่งทรงพลายส้อม อันพลายส้อมนี้ร้ายรองหยาบช้านักหนา ต่อเปนคนโทษจึ่งให้ขึ้นขี่ เปนยอดช้างอยู่ในกรุง ประทานชื่อเรียกว่าโจมจักรพาฬ ทั้งน้ำมันอยู่ พระองค์ไสให้ไล่แล้วปราไสโครส่าน ให้เหยียบพรมอยู่ริมพานราชสาสนแล้วก็กลับมายังเกยไชย แสนมหาแต่ช้างเถื่อนที่ติดโขลงมาเข้าพะเนียดใหม่ พระองค์ก็ใส่ชนักแลซองหางรัตคนแล้ว ก็ทรงออกแขกเมืองฝรั่งเศส พระองค์ก็สำแดงเดชทุกแห่งหน อันช้างเถื่อนนั้นก็ไม่ป่วนปั่นไปมาดุจหนึ่งช้างบ้าน อันการช้างของพระองค์นี้ยกเปนยอดยิ่งนัก เปนอรรคมหากษัตร ในพงษาวดาร ไม่มีกษัตรองค์ใดในการวิชาช้างนี้ จักได้เสมอพระองค์นี้หามิได้ เมื่อครั้งหนึ่งไฟฟ้าลงยอดปราสาทมังคลาภิเศกเปนอัศจรรย์ยิ่งนัก ไฟนั้นลุกโพลงพลุ่งขึ้นมาดังไฟกาล คนผู้ใดจะขึ้นไปก็บมิได้ พระองค์จึ่งขึ้นไปดับเพลิง อันเพลิงนั้นก็ดับ​ไปสิ้น คนทั้งปวงจึ่งเห็นเปนสี่กร จึ่งถวายพระนามเรียกว่า องค์พระนารายน์มาแต่เมื่อครั้งนั้น ๚

๏ มีพระราชนัดดาองค์หนึ่งเปนโอรสของพระเชษฐา ซื่อพระศรีศิลป์กุมาร ชัณษาได้ ๑๕ ปี จึ่งคิดเปนขบถกับพระบิตุฉา จักมาสังหารชีวิตรให้บรรไลย เอาพระแสงจะแทงพระนารายน์ พระองค์จึ่งฉวยปลายกั้นหยั่นไว้ได้ทันที จึ่งจับตัวไว้ที่ทิมดาบ พระองค์ทรงแต่กำราบมิให้ตาย พระองค์สงสารกับกุมารนั้นว่าไร้บิตุเรศมารดา แล้วเห็นแก่พระไชยาทิตย์ด้วยรักใคร่สนิทกัน เพราะเปนเชษฐาได้ฝากพระศรีศิลป์ไว้แต่เมื่อจะใกล้สิ้นชีพพิราไลย จึ่งสั่งให้ออกจากโทษ พระองค์โปรดเลี้ยงไว้ตามที่ ครั้นอยู่มาวันหนึ่งพระศรีศิลป์จึ่งคิดร้ายอิกครั้งหนึ่ง เมื่อพระนารายน์เสด็จออกว่าราชการเมืองอยู่ที่สีหบัญชร จึ่งพระศรีศิลป์ใจหาญนั้น ถือพระแสงแล้วแฝงใบบานประตูอยู่ที่ห้อง เสด็จเข้าไป ผู้ใดมิได้ล่วงรู้เห็น อันพระนารายน์นั้นออกไปว่าราชการ จึ่งเรียกช้างพระที่นั่งเข้ามาดู พระองค์ก็เสด็จทรงช้างแล้วเสด็จเข้ามาทางหนึ่ง อันพระศรีศิลป์นั้นยืนแอบประตูอยู่จนพนักงานนั้นเชิญเครื่องเข้ามา จึ่งเห็นพระศรีศิลป์ถือพระแสงแลแฝงประตูอยู่ อันพนักงานเครื่องนั้นจึ่งกราบทูลตามที่เห็น พระองค์จึ่งเสด็จตรงออกมาแล้วก็จับตัวกุมารได้ทันใด จึ่งตรัสสั่งนายเพชฌฆาฏให้สังหารเสียให้ตักไษย นายเพชฌฆาฏจึ่งให้คุมตัวพระศรีศิลป์ไป จึ่งเอาตัวนั้นมัดผูกพันแล้วใส่ลงไปในแม่ขันสาคร แล้วจึ่งเอาใส่ลงในถุงแดงแล้วก็แห่หามไปยังวัดกะชาย แล้วจึ่งขุดหลุมฝังเสียทั้งเปน อันนี้เปนตามธรรมเนียม​กษัตรแต่ก่อนทำสืบกันมาเปนอย่างนี้ แล้วจึ่งมีคนเฝ้ารักษาอยู่ได้ครบเจ็ดวันแล้วจึ่งไป แต่พระศรีศิลป์นี้ไม่ตาย ด้วยมหาดเล็กที่พระศรีศิลป์รักนั้นมีใจภักดีต่อกุมาร ครั้นผู้รักษามาสิ้นแล้ว ก็ไปขุดดินขึ้นดูตามปราถนา ก็พบพระศรีศิลป์นั้นยังไม่ตาย จึ่งเอาขึ้นมาแล้วก็พาเอาซ่อนไว้ที่ในบ้านตลาดบัวขาว จึ่งได้ชาวเพ็ชรบุรีเปนไส้ศึก แล้วจึ่งกลับซ่องสุมทหารชาญไชย ครั้นได้คนดีแล้วก็ยกมา จึ่งค่อยลอบผ่อนเข้าในกรุง พระศรีศิลป์นั้นจึ่งลอบเข้าไปหาพระกำแพง พระกำแพงจึ่งเข้ารับเปนสมัคพรรคพวกในกุมาร แต่บรรดาขุนนางข้างในนั้นก็เข้าเปนพวกด้วยพระศรีศิลป์เปนอันมาก พญานันทยอแฝงนายโขลงนี้ก็เลือกเอาช้างโรงมาถวาย ทั้งหมื่นราชแลนายทรงบาศทั้งซ้ายขวา ทั้งเทพโยธาแลนายพลพัน ทั้งหลวงจ่าแสนบดี ทั้งราชาบาลด้วยกัน จึ่งคิดอ่านทำการเปนกวดขัน ครั้นได้ฤกษ์นามอันดีแล้ว เพลาพลบค่ำก็ยกเข้ามา อันพระศรีศิลป์นั้นทรงช้างพลายพิศณุพงษ์ แล้วยกมาทางถนนเจ้าพรหม แล้วจึ่งเข้าประตูปราบไตรจักร จึ่งมาในถนนน่าจักรวรรดิ หักประตูแดงแล้วตรงเข้ามา ก็เข้าได้ในวังชั้นใน จึ่งหลวงเทพสมบัติกับหมื่นไวย ครั้นรู้ก็เข้าไปปลุกพระประธมถึงที่ พระนารายน์นั้นก็ทรงนำทางข้างในออกมาทางประตูมหาโภคราช ทั้งตำรวจในแลมหาดเล็ก ทั้งขุนนางบรรดาที่นอนเวรทั้งสิ้นก็ตามเสด็จห้อมล้อมออกมา พระองค์เสด็จเข้าอยู่ในวังหลวงแล้ว จึ่งตั้งค่ายรายขวากเปนมั่นคง บ้างก็กะเกณฑ์ทัพ บ้างก็จับคนปลอม บ้างก็หาคนดีเข้ามาบ้าง บ้างเกณฑ์ช้างม้าผู้คนให้เข้า​ตาทัพ บ้างตั้งรับอยู่ทางตรอกแลถนนใหญ่ ครั้นรุ่งสว่างแล้วพระองค์ก็ยกทัพเข้าไป จึ่งทรงช้างพลายกุญชรจำนง พอรู้ว่าราชศัตรูมาน่าหลัง จึ่งเสด็จยืนช้างพระที่นั่งอยู่ที่น่าวังด้านทิศบูรพา จึ่งตรัสสั่งกับทหารเสนาให้เร่งยกพลเข้าล้อมไว้ อันพระศรีศิลป์นั้นจะตกแต่งป้องกันตัวก็หาไม่ แต่เหล่าที่เข้าพวกด้วยมันจึ่งออกเที่ยวตรวจตราบรรดาการทั้งปวง ก็ได้รบกันอยู่ไม่นาน พระนารายน์จึ่งยกทัพหักโหมเข้าไปแล้วก็ทลายประตูเข้าไปได้ บ้างก็ยิงปืนน้อยแลปืนใหญ่ บ้างโห่ร้องประโคมฆ้องกลองอื้ออึงสนั่นครั่นครื้นดังไปทุกทิศา อันเหล่าประจามิตรนั้นต้านทานมิได้ ด้วยเดชาอานุภาพพระนารายน์ ก็กราบแล้วร้องขอโทษ ก็มิได้ยากลำบากใจที่จะพิจารณา โยธาทั้งปวงจึ่งล้อมแล้วก็จับเอาตัวไว้ อันพระศรีศิลป์นั้นพระองค์สั่งให้ทำโทษอย่างใหม่ ให้ทุบด้วยท่อนจันทน์ให้ตายแล้วจึ่งใส่ในขันสาคร แล้วให้ใส่ในลุงแดงแล้วให้ฝังเสีย นายเพชฌฆาฏก็ทำตามรับสั่ง การมีมาแต่ครั้งนั้นก็เปนอย่างมาจนบัดนี้ อันสมัคพรรคพวกพระศรีศิลป์ทั้งนั้น พระองค์สั่งให้ฆ่าเสียทั้งเจ็ดชั่วโคตร พระพรหมจึ่งทูลขอครัวไว้มิให้ตาย ให้จ่ายตามโทษที่มี อันชาวเพ็ชรบุรีเปนต้นเหตุ จึ่งให้จ่ายหญ้าช้างที่ในกรุง เหตุฉนี้ตะพุ่นหญ้าช้างก็มีมาแต่ครั้งนั้น ๚

๏ อันพระนารายน์นั้นได้ขัดเคืองพระศรีศิลป์กุมารแต่ครั้งนั้นมาว่าเปนขบถ เพราะเหตุว่ามิใช่ลูกของพระองค์ อันเกิดในครรภ์พระมเหษี จึ่งขอพระที่นั่งจะใคร่ได้โอรสอันเกิดในครรภ์พระมเหษีจึ่งจะไม่เปนขบถ เพราะพระองค์ทรงพระโกรธพระศรีศิลป์นัก จึ่ง​สั่งนั้นผิดไปในทางธรรม เพราะหลงไปมิได้รู้บุญอานุภาพแห่งกุมารอันเกิดมานั้นจะเปนประการใด ในกุศลหนหลังอันจะตกแต่งมานั้น พระองค์ก็มิได้พิจารณาดูในพระไทย เพราะเหตุแค้นพระศรีศิลป์ยิ่งนัก อันพระมเหษีนั้นก็มีแต่พระราชธิดา มิได้มีราชบุตรเปนกุมาร พระองค์จึ่งรักษาศีลาจารวัตรปฏิบัติโดยธรรมสุจริต จะขอให้ได้พระโอรสอันเกิดในพระครรภ์พระมเหษี ก็มิได้ดั่งพระไทยปราถนาจึ่งทรงพระโกรธ ครั้นเมื่อทรงพระโกรธขึ้นมา จึ่งตรัสกับพระสนมกำนัลทั้งปวงว่า ถ้าใครมีครรภ์ขึ้นมาแล้วก็จะให้ทำลายเสีย กูมิให้ได้สืบสุริยวงษ์ต่อไป ต่อเมื่อเกิดในครรภ์พระมเหษี กูจึ่งจะมอบโภไคสวรรย์ทั้งปวงให้ตามใจกูปรารภ ครั้นพระสนมกำนัลรู้ตัวว่ามีครรภ์ก็ต้องทูลพระองค์ ครั้นทราบก็ให้ทำลายเสียอย้างนั้นเปนหนักหนา ครั้นเหตุเมื่อจะมีพระกุมารในครรภ์พระสนมเอก อันชื่อพระราชชายาเทวี ชื่อเดิมนั้นชื่อเจ้าจอมสมบุญ ๆ คนนี้เปนคนโปรดของพระองค์ ครั้นอยู่มาพระองค์จึ่งทรงพระสุบินนิมิตรฝัน จึ่งปิดเปนกวดขันมิให้ผู้ใดรู้ แล้วพระองค์รัญจวนป่วนปั่นพระไทยยิ่งนัก จึ่งสั่งให้ไปนิมนต์พระพรหมผู้เปนอาจารย์เข้ามา ครั้นพระมหาพรหมเข้ามา พระองค์จึ่งแก้นิมิตรฝันกับพระมหาพรหม ส่วนพระมหาพรหมผู้เปนอาจารย์จึ่งว่า อันทรงสุบินนิมิตรนี้ดีนักหนา พระองค์จะได้พระราชโอรสเปนกุมาร แต่กูนี้ไม่ชอบใจอยู่สิ่งหนึ่ง ว่ามีพระราชโอรสกับพระสนมกำนัลแล้วก็ให้ทำลายเสีย อันนี้กูไม่ชอบใจ​ยิ่งนัก พระองค์มาทำดังนี้ก็เปนบาปกรรมนั้นประการหนึ่ง ถ้าในพระอรรคมเหษีแลมิได้มีพระราชโอรส มีแต่พระราชโอรสในพระสนมนี้ พระองค์ก็จะทำประการใด ที่จะได้สืบศรีสุริยวงษ์ต่อไป ถ้าแลพระองค์จะไม่มีพระราชบุตรแลพระราชธิดา แลสืบไปเบื้องน่าแลพระองค์ทิวงคตแล้ว แลจะได้ผู้ใดมาสืบศรีสุริยวงษ์ต่อไป อันว่าน้ำพระไทยนี้ จะให้เสนาแลเศรษฐีคหบดีแลพ่อค้า ให้ขึ้นเสวยราชย์สืบศรีสุริยวงษ์ฤๅประการใด ถึงจะเปนพระราชโอรสในพระสนมก็ดี ก็ในพระราชโอรสาของพระองค์ที่จะได้สืบศรีสุริยวงษ์ต่อไป อันนี้สุดแต่กุศลจะคู่ควรแลไม่ควร ถ้าแลพระองค์ไม่ฟังกูว่า ดีร้ายกรุงศรีอยุทธยาจะสูญหาย จะเปนเมืองโกลัมโกลีมั่นคง ถ้าแลทำดั่งคำกูว่า กรุงศรีอยุทธยาจะได้เปนศุขสุภาพต่อไป ครั้นพระองค์ได้ฟังพระอาจารย์ว่าดังนั้น พระองค์ก็แสนโสมนัศยินดีในพระไทยยิ่งนัก แต่มาขัดอยู่แต่มีพระบัญชาออกพระวาจาไว้ ก็จำจะยักย้ายถ่ายเทคิดอุบายแก้ไขตามคำพระอาจารย์ว่ากล่าวสั่งสอน สุดแต่มิให้เสียที ครั้นพระอาจารย์กลับไปแล้ว จึ่งให้ไปหาตัวเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นเข้ามา อันเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นเปนบุตรของพระนม แล้วก็เปนครูช้างของพระองค์ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์เข้ามา จึ่งตรัสเรียกเข้าไปในที่ พระองค์จึ่งบอกคดีเปนความลับ จึ่งเอาพระสนมอันชื่อเจ้าจอมสมบุญนั้นมาพิทักษ์รักษาไว้ ครรภ์นางนั้นทศมาสเข้า จึ่งประสูตรกุมารมีรูปอันงาม ประกอบไปด้วยลักษณราษีอันดี จึ่งเอาเหตุเข้าไปกราบทูลกับพระองค์ พระนารายน์จึ่งประทานของขวัญ​ออกมา ทั้งแก้วแหวนเงินทองแลผ้าผ่อนแพรพรรณเปนอันมาก ทั้งผู้คนช้างม้าเรือกสวนไร่นาครบครัน อันของขวัญนั้นเกลื่อนกลาดบริบูรณ์ อันพวกพ้องพี่น้องฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์นั้น ก็เอาเข้าของมาทำขวัญแก่กุมารก็เปนอันมาก ทั้งผู้คนช้างม้าเรือกสวนไร่นาครบครัน อันของขวัญนั้นเกลื่อนกลาดบริบูรณ์ อันพวกพ้องพี่น้องฝ่ายเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นก็เอาเข้าของมาทำขวัญกับกุมารนั้นทุกหน้า ยังฝ่ายข้างมารดากุมารนั้น ก็เอาเงินทองเข้าของมาทำขวัญกับกุมารนั้นก็เปนอันมาก อันเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นก็ทำด้วยยินดี เจียนจะเปนเศรษฐีในคราวนั้น ๚

๏ ครั้นอายุศมกุมารได้เจ็ดปี พระนารายน์จึ่งให้กุมารนั้นเข้ามาในพระราชฐานแล้ว จึ่งมีรับสั่งให้เข้าออกในพระราชวังอยู่อัตราอย่าให้ขาด แล้วจึ่งประทานให้ชื่อเจ้าพระยาศรีสุรศักดิ อรรคราชมนตรีศรีสงคราม อันเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงนั้น จะเปนอย่างลูกหลวงก็หาไม่ จะเปนอย่างขุนนางก็เกินไป อยู่ที่ระวางพระราชวงษ์พงษา อันที่เฝ้านั้นนั่งน่าเสนาอำมาตย์ อันเจ้าพระยาสุรศักดินั้นฉลาดเฉลียวคมสัน ทั้งห้าวหาญไชยใจฉกรรจ์ ทั้งร้ายกาจอาจองดุดันไม่กลัวใคร ทั้งได้ทีแล้วปากว่ามือถึง ทั้งหยิกทึ้งถีบชกต่อยตี แล้วเที่ยวเกี้ยวลูกสาวชาวกรุงทุกภาษาแต่บรรดาที่มี เจ้าพระยาสุรศักดิมิได้ไว้ ถึงพ่อแม่จะพิทักษ์รักษาอยู่ก็ดี ก็ลอบลักไปมาหาได้ ไม่ว่าผู้ดีเข็ญใจ แล้วก็ให้แหวนแลเงินทองตามที่รักน้อยแลรักมาก ถึงมียากก็ทั่วหน้า ครั้งหนึ่ง​เจ้าพระยาราชวังสรรค์เสนา รู้ว่าเจ้าพระยาสุรศักดิรักลูกสาวนักจะเอาลักเอาให้ได้ ครั้นมาพบกันที่ในวังทั้งสองคนจึ่งปราไสกัน เจ้าพระยาราชวังสรรค์จึ่งว่ากับเจ้าพระยาสุรศักดิว่า จริงฤๅเขาฦๅเขาว่า เจ้านี้ขันจะมาลักลูกเรา เปนคนดีมีฝีมืออย่าให้เขาฦๅเล่นเปล่า ๆ น้าจะขอแต่งบ้านไว้รับเจ้าในวันนี้ อันเจ้าพระยาราชวังสรรค์นั้นก็เปนคนดีอยู่ที่ในกรุง เพราะจะใคร่ลองความรู้ดูสักทีหนึ่ง จึ่งขันพระยาสุรศักดิว่า ทั้งเจ้าเปนคนดีมีความรู้ ลูกคนหนึ่งเราจะเสียให้ ถ้าจับได้จะได้รำคาญใจ ที่เขาฦๅชื่อไว้จะไม่งาม อันเจ้าพระยาสุรศักดินั้นก็แจ้งในเหตุที่กลางสนาม จึ่งยิ้มแล้วก็ตอบความว่าสุดแต่น้าจะปรานี แต่ผู้ใหญ่อย่าได้ถอยคำ เมื่อเปนกรรมจะไม่ได้นางแล้ว ก็จะต้องทนให้น้าตี แต่ว่าอย่าทำเศรษฐีพาโล ทีน้านั้นว่าได้คล่อง ๆ ทีหลานจะลองก็อย่าร้องว่าให้ อันลูกสาวนี้ใครจะโห่ร้องเข้าไปให้รู้ ใครดีวันนี้จะได้เห็นกัน ถึงหลานก็พานจะพรั่นใจอยู่ ด้วยน้าก็เปนคนมีความรู้ ถ้าเคยคู่กันก็จะได้นางมา ท่อยทีท่อยโต้ตอบกันแล้ว ก็สำรวลสรวลกันทั้งสองข้าง พร้อมหน้าเหล่าขุนนางทั้งปวง ก็ต่างคนต่างจะไปดู ครั้นเจ้าพระยาราชวังสรรค์ออกมาจากวังแล้ว จึ่งสั่งผู้คนแลทนายทั้งปวงให้พร้อมกันอยู่ บรรดาที่เปนบ่าวอยู่นั้นให้เรียกทั้งสิ้น ให้มาพร้อมกันในค่ำวันนี้ จึ่งให้มีหนังแลมอญรำก็ครื้นเครงอื้ออึงไปทั้งบ้าน จึ่งตามคบเพลิงไว้เปนหนักหนา สว่างไปทั้งบ้าน จึ่งให้เร่งใส่ไต้ไฟเปนกวดขัน แต่บรรดาญาติวงษ์ทั้งปวงก็ให้มาอยู่ห้อมล้อมเปนอัน​มาก อันลูกสาวเจ้าพระยาราชวังสรรค์นั้นก็มานั่งดูงานอยู่ที่นั้น ครั้นเวลาสักสองยามเศษ จึ่งเจ้าพระยาศรีสุรศักดินั้นกับบ่าวที่รักใคร่สนิทกันจึ่งเข้าไปดูแยบคาย ครั้นได้ทีแล้ว จึ่งเศกกรวดแล้วก็ปรายเข้าไป อันผู้คนทั้งนั้นก็หลับไปทั้งสิ้น เจ้าพระยาสุรศักดิจึ่งเข้าไปดับไฟแล้ว ก็เข้าไปอุ้มลูกสาวมา ครั้นได้จึ่งเอานางนั้นใส่แคร่แล้วหามมา แล้วโห่ร้องอื้ออึงมาตามทางถนนใหญ่ ครั้นเวลาเช้าจึ่งเจ้าพระยาราชวังสรรค์นั้นก็เข้าไปในวัง ส่วนเจ้าพระยาสุรศักดิจึ่งตกแต่งตัวแล้วก็เข้าไปในวัง ครั้นออกมาจากที่เฝ้าแล้ว เห็นเจ้าพระยาราชวังสรรค์เข้า จึ่งให้ดูแหวนที่นิ้วก้อย แล้วจึ่งถามว่า อันราคาแหวนนี้สักเท่าใด น้าช่วยดูน่อยหนึ่ง ส่วนเจ้าพระยาราชวังสรรค์เห็นแหวนเข้าก็สรวลสันต์กันไป จึ่งว่าเจ้านี้ดีจริงแล้ว อันน้านี้เปนทหารใหญ่อยู่ในกรุงศรีอยุทธยาไม่มีผู้ใดเสมอ แต่นี้แพ้เจ้าจริงแล้ว จึ่งเล่าความที่ข้อขันท้าทายทั้งสิ้นมิได้อำพราง เราหมายว่าตัวเรามีภาษีกว่าคนทั้งปวง ควรแล้วพ่อมิได้เสียที เพราะน้านี้ยังแคลงใจอยู่จึ่งต้องลอง ทีนี้เห็นประจักษ์ทักแท้แล้ว จึ่งสรรเสริญเจ้าพระยาสุรศักดิด้วยมีบุญเปนเอก จึ่งว่าตั้งแต่วันนี้ไป ไม่หาญที่จะสู้รบพระยาสุรศักดิได้ ทั้งแกล้วกล้าในวิทยาแลนรลักษณ พ่อจะเปนเสิศโลกทหารในโลกีย์ เจ้าพระยาสุรศักดิจึ่งว่า พระยาน้าก็เปนคนดี ที่หลานจะไม่รู้ก็มิใช่ แต่ว่าน้าท้ามาก่อนในวันนั้น ก็พานจะพรั่นขยั้นขยาดอยู่ แต่ทว่ารักน้อง ทั้งจะใคร่ลองความรู้ เปนบุญมาหนุนด้วย จึ่ง ช่วยให้ได้เปนคู่กัน อันว่าธิดาของน้านี้ ​หลานก็มีจิตรคิดมาแต่ปฐม สิ่งใดพระยาน้าอย่าได้ปรารมภ์ จะตั้งไว้ให้เปนปฐมชายาใหญ่ อันข้อที่หลานทำจู่ลู่ความนี้จงอดโทษเถิด คิดว่าจะขอสู่กันตามธรรมดา เพราะน้าท้าทายจึ่งต้องเปนไป อันเสนาทั้งปวงที่ฉลาดรู้อัธยาไศรย ก็พากันสำรวลสรวลสันต์กันไป เปนคนในพรรคพวกด้วยกัน อันที่เรื่องราวอันนี้รู้ทั่วทั้งกรุงทั่วหน้ากัน จนทราบถึงพระนารายน์ บรรดาที่ใครมีบุตรีแต่น้อย ๆ ก็ต้องแต่งให้มีผัวเสีย จะเอาไว้ก็กลัวพระยาศรีสุรศักดิจะมาลักเอาบุตรีไป ด้วยฤทธากล้าหาญชาญไชย ลางทีสัตรีมีคู่เพิ่งจะเข้าหอใหม่ ถ้ารู้ว่ารูปงามทรามไวย ก็ไปลักล่วงประเวณี ถึงเจ้าผัวจะรู้ก็กลัวไม่อาจที่จะว่าได้ มีแต่จะเอาตัวพาหนีไป ถ้าแลรูปทรงส่งสัณฐานนั้นพานจะพอดี พระยาศรีสุรศักดิไม่ลักไป เสนหาแต่ลูกสาวพระยาราชวังสรรค์ เปนคนขยันแล้วลักเอาไปได้ ๚

๏ อันพระยาศรีสุรศักดินี้กล้าหาญชาญไชยดีมีความรู้ จนถึงพระยาวิชเยนทร์เธอเกินโปรดขององค์พระนารายน์ เปนสมุหนายกจักรี พระยาศรีสุรศักดิยังไม่กลัว ในเมื่อขณะกลางคนเข้าไปเฝ้า ยังแกล้งแกว่งเท้าถีบให้ถูกหัว จนช้างพลายส้อมแสนร้ายยังไม่กลัว ยังแขวนตัวปีนขึ้นไปบนงาแล้วก็ขึ้นขี่ อันว่าพลายส้อมตัวนี้ ขี่ได้แต่ในหมอ นอกนี้ผู้อื่นไม่ขี่ได้ ร้ายรองหยาบคายนักหนา ครั้งหนึ่งจึ่งเสด็จไปประพาศป่า เจ้าพระยาศรีสุรศักดินั้นขี่ม้าร้ายอยู่ที่กลางแปลง อันม้านั้นโลดโผนโจนเวียนวนไปต่างๆ พระองค์จึ่งร้องตรัสไปว่า ม้าใหญ่นี้หนักหนา กำลังยังไกล​กว่ามันนัก มาขี่ช้างด้วยกันกับกูเถิด พระยาศรีสุรศักดิจึ่งร้องสนองทูลมาทันใดว่า ม้าใหญ่ม้าร้ายก็แจ้งอยู่ จะได้ลองกำลังจึงสาวมือดู นานไปก็จะได้รู้กำลังกัน แล้วก็กลับควบมาทเลชุบศร จึ่งย้อนมาตามทางสวน (สระ) แก้วแล้ว พอถึงวัดน่าพระธาตุเข้า ก็บันดาลให้เปนพยุใหญ่มา อันว่ากำแพงวัดนั้นสูงประมาณสักหกศอก โดยหนาสักสี่ศอก ม้านั้นตกใจจึงโจนข้ามกำแพงเข้าไป อันพระยาศรีสุรศักดินั้นก็ไม่เปนอันตราย แต่ที่นั่งจะขยายก็ไม่มี พระนารายน์จึ่งตรัสสั่งเสนาให้วิ่งไปดูพระยาศรีสุรศักดิว่าดีอยู่ฤๅประการใด แล้วเองจงเร่งให้ออกมาตามทางประตูใหญ่ เสนาวิ่งมาแล้วก็บอกว่า รับสั่งให้ออกมาทางประตูใหญ่ พระองค์หยุดช้างพระที่นั่งคอยอยู่ไม่เสด็จไป พระยาศรีสุรศักดิจึ่งสั่งให้ทูลกับพระองค์ว่า ม้านั้นพาเข้ามาทางไหนก็จะออกไปทางนั้น จึ่งลงแส้แล้วลงเท้ากระทืบส่งก็ควบเวียนวนไปมา ครั้นถึงที่นั้นเข้าม้าก็พาโจนข้ามกำแพงออกมาได้ บรรดาคนทั้งปวงนั้นเห็นประหลาดอัศจรรย์ยิ่งนัก จึ่งสรรเสริญทั้งลักษณแลราษี ทั้งเข้มแขงแกล้วกล้าหาญชาญไชยยิ่งนัก เห็นจะได้เสวตรฉัตรเปนมั่นคง ๚

๏ อันองค์พระนารายน์สบเสียโปรดปรานวิชเยนทร์เปนฝรั่งเศสนั้นหนักหนา จึ่งพระราชทานชื่อเรียกพระยาวิชเยนทร์ เปนสมุหจักรีนายก อันพระยาวิชเยนทร์นั้นมีปัญญาฉลาดสารพัดจะรู้การช่างต่าง ๆ ทั้งการจักรแลการยนตร์ก็สารพัดจะทำได้ ทำได้ทั้งนาฬิกาแลกล้องส่องทั้งเข็ม สารพัดจะรู้ทำ อันว่าพระนารายน์นั้น จะใคร่​รู้ว่าปืนใหญ่นั้นหนักเบาสักเท่าไร พระนารายน์จึ่งถามเสนาทั้งปวง ผู้ใดก็มิอาจที่จะคิดชั่งได้ พระนารายน์จึ่งตรัสถามพระยาวิชเยนทร์ พระยาวิชเยนทร์จึ่งรับสั่งแล้ว ก็ทำได้ตามมีพระประสงค์ ครั้นอยู่มาพระยาวิชเยนทร์นั้นคิดร้ายต่อพระองค์เปนช้านาน จนเสนาอำมาตย์ทั้งปวงรู้แยบคาย ก็เข้าไปกราบทูลกับพระองค์ อันพระนารายน์นั้นก็มิได้ว่าขานประการใด พระองค์เชื่อบุญญาธิการแลอานุภาพของพระองค์ พระองค์ก็มิได้ว่าวุ่นวาย ครั้งหนึ่งพระยาวิชเยนทร์เข้าไปเฝ้า พระองค์จึ่งส่งพระแสงให้ถือแล้ว ก็ยุดมือพระยาวิชเยนทร์นั้นเสด็จเดินไปมาเปนหลายกลับ พระยาวิชเยนทร์นั้นก็มิอาจที่จะทำร้ายได้ พระองค์มิได้ทรงพระวิตกว่าพระยาวิชเยนทร์นี้คิดร้าย ครั้นอยู่มาครั้งหนึ่งพระยาวิชเยนทร์จึ่งคิดขุดอุโมงค์ คิดขุดดินที่ในตึกตัวอยู่นั้น ขุดรุกเข้าไปจะให้ถึงในพระราชวัง อันความทั้งนี้มิได้ลับ จึ่งรู้ไปถึงเสนาบดีผู้ใหญ่ เจ้าพระยาราชวังสรรค์เสนีกับพระยาเสียนขัน (ฮุเซนข่าน) ทั้งสองคน จึ่งพากันเข้าไปทูลความที่วิชเยนทร์คิดอ่านทำการทั้งปวง พระนารายน์จึ่งมีรับสั่งให้พระยาเสียนขันไปเรียกตัวมาจะไต่ถาม อันพระยาเสียนขันก็ไปตามมีรับสั่ง พระยาเสียนขันนั้นเปนทหารแขก เปนคนดีมีความรู้แล้วกล้าหาญยิ่งนัก พระยาเสียนขันแต่งตัวแล้วเอากระบี่เหน็บเข้ากับบั้นเอวแล้ว จึ่งเข้าไปในตึกที่วิชเยนทร์อยู่นั้น พระยาเสียนขันจึ่งยุดมือพระยาวิชเยนทร์เข้าแล้ว ก็นั่งลงบนเก้าอี้ทั้งสองคนด้วยกัน พระยาเสียนขันจึ่งบอกความทั้งปวงกับวิชเยนทร์ว่า บัดนี้มีพระโองการให้หา ​อันพระยาวิชเยนทร์นั้นก็มิได้มาตามรับสั่ง พระยาเสียนขันจึ่งถอดเอากระบี่ออกแล้ว จึ่งตัดศีศะวิชเยนทร์เสีย อันพระยาวิชเยนทร์นั้นก็ถึงแก่ความตาย ครั้นพระยาวิชเยนทร์ตายแล้ว พระยาเสียนขันจึ่งเข้ามากราบทูลตามเรื่องราวที่มีมาทั้งสิ้น พระนารายน์ครั้นทราบดังนั้น ก็มิได้มีพจนาดถ์ประการใด อันเจ้าพระยาราชวังสรรค์กับพระยาเสียนขันทหารแขกสองคนนี้ พระองค์ก็รักใครัแล้วสบเสียไว้ใจยิ่งนัก ๚

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2567 14:30:02 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 23 เมษายน 2567 14:21:12 »

               
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ครั้นอยู่มาพระนารายน์จึ่งทรงพระปรารภว่า แต่ได้เสวยราชสมบัติมานี้ก็นานหนักหนาแล้ว อันการเล่นสงครามกษัตรนี้ยังมิได้สำแดงเดชชาญไชย แต่กูรู้ความมานี้เปนช้านาน ว่าโบรีช้างสารนี้เปนคนหาญ ได้ผ่านเชียงใหม่ภารา ได้ของวิเศษอย่างหนึ่ง คือพระพุทธสิหิงค์องค์หนึ่ง แต่เมื่อพระเจ้าเข้าสู่พระนิพพาน พระยานาคนั้นสำแดงฤทธิ์ให้พระมหาเถรอุปคุตดู จึ่งเอานาคเนาวโลหะนั้นมาหล่อทำเปนพระพุทธรูปไว้ ยังมีอยู่ในชมพูทวีปไม่มีเสมอ อันแก่นจันทน์แดงที่ทำเสาเชิงตะกอน เมื่อครั้งถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้านั้น พระยาเพ็ชรเจ้าจึ่งเอามาทำเปนพระพุทธรูปไว้ก็ยังมีอยู่ อันพระพุทธสิหิงค์นั้นเปนพระสมาธิ์เพ็ชร อันพระแก่นจันทน์แดงนั้นเปนพระนาคปรกสองตัว อยู่ในเมืองเชียงใหม่ทั้งสององค์ กูจะใคร่ไปชนช้างชิงไชยลองฤทธิ์ดู ครั้นทรงพระดำริห์ดังนั้นแล้วจึ่งตรัสสั่งเสนาให้กะเกณฑ์ผู้คนแลทหารในโยธาทัพ ทั้งช้างม้ารถคชสาร​อาชา ทั้งเรือแพนาวาให้ครบครัน เสนาอันชื่อเจ้าพระยาจักรีจึ่งรับพระโองการแล้ว จึ่งให้เรียกแต่บรรดาเจ้าหมู่เจ้ากรมมาทุกหมวดตามรับสั่งแล้ว จึ่งกะเกณฑ์ทัพบกทัพเรือทั้งปวง แล้วให้จัดกันเปนกระบวนมหาพยุหบาตราทัพใหญ่ จึ่งตั้งเจ้าพระยาโกษาธิบดีให้เปนใหญ่ ให้คุมโยธาเปนแม่ทัพไปเปนทัพน่า อันทัพหนุนนั้นเกณฑ์เจ้าพระยาราชวังสรรค์เสนีเปนแม่ทัพ อันทัพปีกซ้ายนั้น เกณฑ์พระยาสีหราชเดโชเปนแม่ทัพ อันทัพปีกขวานั้นพระยาเสียนขันเปนแม่ทัพ อันเจ้าพระยาโกษาซึ่งเปนแม่ทัพใหญ่นั้นเปนคนดีมีความรู้ เปนคนรู้ครบในการทหารนั้นดีนัก ทั้งตำราพิไชยสงคราม ทั้งยามยาตราก็มีภาษี แต่แต่งตัวนุ่งผ้าขึ้นม้าแล้ว อันว่าไพรีทั้งปวงก็หนีไปด้วยเกรงนาม อันเจ้าพระยาราชวังสรรค์เสนีนั้น ดีข้างฟันมีภาษี รู้ว่าวันนั้นให้ผู้นั้นออกไปชิงไชยจะมีไชยก็รู้ จะเสมอก็รู้ อันพระยาสีหราชเดโชนั้น ดีข้างล่องหนแลอึดใจ ได้ทั้งอยู่คงกะพันชาตรี อันในแผ่นดินพระนารายน์นี้ สามนายนี้เปนยอดชายในสนาม เปนทหารเอกอยู่ในสงคราม ฦๅชื่อทุกเขตรขัณฑ์ธานี อันว่านายทัพนายกอง ทั้งยกรบัตรแลเกียกกายปีกซ้ายปีกขวา ทั้งทัพหนุนทัพรองทั้งปวงนั้น สี่เสนาจึ่งกะเกณฑ์ตั้งให้สมควรกัน ตามที่ตามทางกระบวนมหาพิไชยสงคราม เปนกระบวนมหาพยุหบาตราอย่างใหญ่ เร่งให้ผู้รั้งกรมการทุกหัวเมืองกะเกณฑ์กันแล้ว ให้มาเข้าตราทัพใหญ่ตามกระบวนทัพบกแลทัพเรือ เปนคนสองแสนกับหกหมื่น ในเกณฑ์ทหารใหญ่ตามบาญชี อันเจ้าพระยาสุรสีห์​นั้นเกณฑ์ให้เฝ้าเมือง ในมหาพยุหบาตราเรืออย่างใหญ่นั้น พระนารายน์ทรง คือเรือพระที่นั่งครุธพาห อันเรือกิ่งนำนั้นคือไกรแก้วจักรรัตนซ้าย แล้วมาถึงนาวาศรีพิมานไชยขวา อันที่นั่งกิ่งแข่งเคียงข้างนั้น คือศรีสมรรถวิไชยอยู่ซ้าย ไกรสรบวรฤทธิ์อยู่ขวา อันเรือที่นั่งกิ่งเกณฑ์รองนั้น มีรัตนบัลลังก์นั้นคือ เกณฑ์เรือที่นั่งกิ่งดั้งน่าหกลำ คือกิ่งทิพยาตราขวา ลองฤทธินาวานั้นซ้าย แล้วถัดมาจึ่งถึงพิมานไชยรัตนาศน์ขวา พิมานไชยราชวัตรนั้นซ้าย แล้วถัดมาจึ่งถึงสุรสีหพิมานนั้นขวา สุรกาญจน์พิมลนั้นซ้าย แล้วจึ่งถึงกิ่งบัลลังก์รัตนานั้นขวา ราชาทิพอาศน์นั้นซ้าย แล้วถัดมาจึ่งถึงเหล่าเรือที่นั่งเอกไชยศรี ชั้นนั้นก็เปนน่าหลังกัน ศรีไชยสวัสดิซ้าย ไชยรัตนพิมานนั้นขวา แล้วมาถึงไชยเหินหาว ไชยหลาวทอง สองลำนั้นเปนซ้ายขวากัน แล้วจึ่งถึงเรือที่นั่งประตู เรือรูปสัตว์เปนคู่ๆ ซ้ายขวาน่าหลังกันไป แล้วจึ่งมาถึงนาคเหรา นาควาสุกรี สองลำเปนซ้ายขวากัน แล้วจึ่งถึงสิงหนาท สิงหานาวา ซ้ายขวาสองลำนี้เปนคู่กัน แล้วถัดมาจึ่งถึงมังกรมหรรณพ มังกรจบภพไตร เปนซ้ายขวากันไปตามที่ แล้วจึ่งถึงนรสิงห์วิสุทธิ์สายสินธุ์ นรสิงห์ถวิลอากาศ สองลำนี้เปนซ้ายขวากัน แล้วถัดมาจึ่งถึงโตมหรณพ โตจบสายสินธุ์ เปนซ้ายขวากันไปตามกระบวนแห่ แล้วจึ่งถึงสุวรรณหงส์ดั้งชั้นน่านั้นขวา กาญจนรัตนานั้นซ้าย แล้วถัดมาจึ่งถึงเรือตลุบปุบพัง สี่ลำเปนซ้ายขวากันไป ชื่อเรือนพเสรกลำหนึ่ง ลังกาลำหนึ่ง อันเรือสองลำนี้เปนซ้ายขวากัน ​แล้วถัดมาจึ่งถึงสุวรรณลำหนึ่ง สารพิมานลำหนึ่ง เปนซ้ายขวากันไป เกณฑ์เหล่ากรมลุกลังได้พาย แล้วแห่แหนไปตามที่ แล้วจึ่งถึงเรืออาสาวิเศษลำพังนั้นเปนดั้งนอกสี่ลำนั้นนำไป อันเรือที่นั่งครุธพาหนั้นที่นั่งทรง ยังเรือเอกไชยสี่ลำ ถัดลงมานั้นก็ยังมีอยู่ลำหนึ่งนั้นเชิญพระไชยไปน่า ลำหนึ่งนั้นเกณฑ์ทรงข้างวังน่า มีจตุรมุขหลักเกยลา ยังสองลำนั้นมีหลังคาเปนสองตอน สำหรับเกณฑ์ตำแหน่งลูกหลวงทรงตามเสด็จ เปนคู่เคียงกันซ้ายขวาตามที่ตำแหน่ง แต่บรรดาเรือนอกนี้จะได้มีนายนั่งขี่ไปกลางเรือนั้นหามิได้ เปนเรือรองพระที่นั่งทรงของพระองค์ จึ่งใส่ปืนหลักมีทหารประจำลำมา ชื่อปราบเมืองลุ ปรุบาดาล เปนซ้ายขวากัน แล้วชื่อตระกองเมืองมาร ตระการอาสา สองคนเปนซ้ายขวากัน แล้วยังอยู่ชื่อยอดมือไฟ ไกรมือเพ็ชร สองคนนี้เปนซ้ายขวากัน แล้วยังอยู่ชื่อเดชาณรงค์ ทรงเดชฤทธิ เปนซ้ายขวากันสองคน แล้วชื่อสิทธิโยธารักษ์ ศักดิโยธาหาญ แล้วถึงโยธาสุรศักดิ โยธาสุรสีห์ แล้วจึ่งถึงโยธารณรุด โยธารณรงค์ อันทหารเอกเหล่านี้ ได้ถือดาบทองของพระนารายน์ แล้วยังทหารอันมีชื่ออิกเหล่าหนึ่ง เรียกว่าโยธาหาญ เปนคนดีไม่มีไภยในที่ราชอาญา แล้วยังมีเรือประตูรูปสัตว์ เกณฑ์ทหารคนดีขี่ไปน่าเรือ แล้วตะพายดาบนั่งน่าเรือมาตามที่ คือทหารเอกอาสาชื่อไกรสรสีห์ กรีธายุทธ สุทธเดชา สาธิการไชย ยังอยู่กำจายศรศรี อัคนีศร แล้วอำนาจจำเริญ เจริญสวัสดิ ศักดิฤทธิ สิทธิเดช สาตราแผลง แสงอัคนี ​อันทหารเหล่านี้ ได้ขี่ไปน่าแคร่ แล้วถือธนูดาบสพายแล่ง เรียกว่าหมู่องครักษ์จักรนารายน์ อันสิบสองหมู่นี้บรรดาตัวนายนั้นประทานพระแสงขององค์พระนารายน์เกณฑ์อภัย อันมหาธงไชยกระบี่ธุช แล้วธงไชยครุธอัดนั้นเกณฑ์คนมีชื่อได้ถือคือ พิเศษอาวุธ พิสุทธโยธา สองคนนี้ถือธง แล้วจึ่งลงเรือสุวรรณหงษ์มาน่า อันทหารที่ชื่อพิเศษโยธานั้นได้ถือฆ้องมหาไชยสำหรับตีเปนสำคัญนั้น ได้ลงเรือที่นั่งกิ่งลำน่า อันเรือสีหพิมานไชยนั้นมีคนขี่นั่งไปซ้ายขวา ชื่อพลรงค์ พลรุด สองคนนี้นั่งประจำมาในเรือกิ่ง อันพระแสงปืนใหญ่อันมีชื่อมหาฤกษ์ มหาไชย สองกระบอกนั้นใส่ในเรือกิ่งลำแข่ง เปนคู่เคียงกันมาซ้ายขวา อันคนที่เกณฑ์ยิงนั้นเรียกชื่อว่า อภัยศรเพลิง ดำเกิงรณภพ อันสองคนนี้ทหารใหญ่ แล้วจึ่งถึงเรือแห่น่าแห่หลัง แล บรรดาเจ้ากรมปลัดกรมทั้งสิ้นนั้น ก็ไปตามชั้นหลั่นกันมาทั้งสิ้น อันเรือราชสีห์ใหญ่นั้น คือพระยาจักรีได้ขี่ไป อันพระยากระลาโหมนั้นได้ขี่เรือคชสีห์ใหญ่ อันจัตุสดมภ์ทั้งสี่นั้นได้ขี่เรือไชยจำนำใส่กูบก้านแย่งมีแมงดา ยังหมู่เสนาพฤฒามาตย์ทั้งปวงนั้น ก็ขี่เรือไชยไปซ้ายขวากัน บ้างก็มีแต่กูบก้านแย่งไม่มีแมงดา บ้างก็มีแต่ดาวราย เปนชั้นหลั่นกันมาตามที่ตำแหน่งกันไป ยังเหล่ากรมราชมนตรีกรมเศรษฐีนั้น ก็มีชั้นหลั่นกันมาตามที่ ขี่เรือแซแล้วแห่เปนคู่คู่กันไป แล้วถัดนั้นมาจึ่งถึงขุนโรงขุนศาล เหล่าขี่เรือพิฆาฏตามราชนุกรมซ้ายขวา อันพระมหาอำมาตย์นั้นขี่เรือราชสีห์น้อย อันพระสุรเสนานั้นขี่เรือคชสีห์น้อย ​อันเรือสองลำนี้สำหรับสารวัดเกณฑ์ได้ตรวจตรา บรรดาเรือทั้งปวงให้ยกแลถอย ยังราชนิกูลสี่คนนั้นคือสีหเทพดา วรชุน เทพนรินทร์ อินทรอภัย สี่คนนี้มีธนูซ้ายขวา ขี่เรือม้าแลเรือเลียงผาเปนซ้ายขวาคู่กัน ได้ตระเวนคอยดูแลตรวจตราว่ากล่าวเรือทั้งปวง แล้วถัดมาจึ่งถึงเรือราชสิทธิ์ราชมัน อันสองคนนี้ได้มีเครื่องจำจองแลเครื่องฆ่าทุกประการทั้งซ้ายขวา เปนเกณฑ์ได้ราชอาญาสิทธิฆ่าคนผิดตัดน่าฉาน แล้วถัดมาจึ่งถึงเรือกรมสนมกลางเปนจางวางซ้ายขวาเต็มที่ ถือธงสามชายเหล่านั้นมีหอก อันกลางเรือนั้นมีไหใส่ไชยบาน ขวาชื่อภูเบนทร์สิงหนาท ซ้ายชื่ออเรนทรชาติสังหาร ถัดมาจึ่งมีเรืออาสาจามสี่ลำทหารใหญ่สี่คน อันมีชื่อสุรเสนี สีหราชา ลักษณมานา เทวาสรไกร อันอาสาจามเหล่านี้ มีค่ายวิหลันกันน่าหลังทั้งสี่ลำ แล้วถัดมาจึ่งถึงนายเพชฌฆาฎสองคน ชื่อธำมะรง ธำมะฤทธิ ได้ขี่เรือเสือมีโลงใส่มาในท้องเรือ จึ่งถือดาบแดงแลยืนง่ามาน่าเรือแล้ว จึ่งมีธงแดงเปนรูปหณุมานแผลงฤทธิสามชายปักมากลางเรือ อันคนนั้นเรียกกรมนครบาล ยังเหล่าเกณฑ์เรือทหารน้อยก็เปนอันมาก เปนเรือแปดร้อยปลาย อันไพร่เกณฑ์ในกระบวนพยุหบาตราตามบาญชีจ่ายนั้นได้คนสี่หมื่นกับแปดพัน ๚

๏ จะกล่าวถึงเรือพระที่นั่งครุธลำทรงนั้น มีพระมณฑปกลางลำ มีอภิรุมมาน่าเรือสามคัน ท้ายเรือสองคัน ปักเรียงกันมาตามที่ ถัดอภิรุมมานั้นมีพระแสงหอกใหญ่คั่น แล้วจึ่งถึงบังแทรกสองคู่ แล้วจึ่งมาถึงอภิรุมเก้าชั้นสองคู่ แล้วถัดมาถึงจามรสองคู่ ​ก็พอถึงพระที่นั่งใหญ่ อันริมพระที่นั่งใหญ่นั้นมีอภิรุมซ้ายขวาคั่นไปตามที่ อันข้างริมพระที่นั่งนั้นใส่พระแสง คือพระแสงหอกซัด พระแสงธนูทรง เปนพระแสงแอบข้างริมพระองค์ อันน่าพระที่นั่งนั้นมีมยุรฉัตรซ้ายขวา แล้วถัดออกมาจึ่งมีอภิรุมแลจามรบังแทรก ปักน่าพระที่นั่งสิ่งละคู่ ถัดมาจึ่งมีมหาดเล็กถือพระแสงง้าวทรงของพระองค์ แล้วถัดมามีมหาดเล็กถือพระแสงดาบเขน แล้วจึ่งราชสุริยวงษ์ถือพระแสงดาบทรงของพระองค์ นั่งประนมมือคุกเข่าเฝ้าอยู่บนเตียงลา จึ่งมีมหาดเล็กนั่งเฝ้าอยู่สี่คนนั้น เรียกว่ารายตีนตอง คือศักดิ สิทธิ ฤทธิ เดช เกณฑ์นายเวรสี่คนนี้นั่งตามที่ซ้ายขวากันข้างละสองคน แล้วจึ่งถึงจ่านั่งรองลงมาข้างละสี่คน ซ้ายขวาข้างละสองคน คือจ่าเรศ จ่ารง จ่ายง จ่ายวด อันสี่คนนี้นั่งขัดดาบประนมมือมาน่าที่นั่งโยง เหล่ามหาดเล็กหุ้มแพรนั้น นั่งปลายเชือก เกณฑ์เลือกนั้น ถือพระแสงนั่งน่าตามหว่างคนพายนั่งรายกันออกตามที่ จักว่าชื่อไว้ คือไชยขรรค์ เล่ห์อาวุธ พลพัน พลพ่าย เปนสี่คน เกณฑ์ถือพระแสง ยังเกณฑ์ถือฟูกสำหรับตีเปนสำคัญนั้นนั่งไปน่าเรือสอง ท้ายเรือสอง เปนสี่คน สำหรับเปนสัญญาพายถวายลำ สำคัญเสียงฟูกเปนสัญญา เมื่อจะพายกรายก็ดี พายนกบินก็ดี จะเหโห่ก็ดี มิว่าพายกรายพายไหว เมื่อได้ฤกษ์จะออกจากที่คนตีฟูกก็เยื้องทำท่าออกนั้นทีเปนเพลงมา อันคนตีฟูกนั้น วิธีนาเวศ วิเศษนาวา เปนซ้ายขวากันสองคน แล้วจึ่งมีจ่านั้นสองคนเปนซ้ายขวากัน ชื่อจ่างอนเนตร จ่าเจตนาวา อันสองคนนี้อยู่น่าเรือ​คนหนึ่ง อยู่ท้ายเรือคนหนึ่ง สำหรับให้สัญญาโห่ร้อง แล้วยังมีชื่อราชสนิท ราชเสน่ห์ อันตำรวจใหญ่ซ้ายขวาสองคนนี้ ผลัดกันนั่งบนบัลลังก์ผินหลังให้ครุธ แล้วนั่งประนมมือถือธงเจ็ดชายอยู่หัวเรือ แล้วรำกรายอยู่ อันธงที่เปนสำคัญสัญญานั้น จะเลี้ยวซ้ายขวาก็โบกไป อันบรรดาเรือพระที่นั่งทรงทั้งสิ้นนั้นปิดทองทึบ แต่บรรดาเรือพระที่นั่งรองนั้นพายปิดทองเปนเชิงชาย บรรดาเรือจำนำในกระบวนทั้งปวงนั้นพายทาแดง อันอำมาตย์ราชเสนาทั้งสิ้นนอกจากไพร่นั้น นุ่งสองปักแล้วใส่สนับเพลาชั้นใน แล้วใส่เสื้อครุยใส่ลำพอกพื้นชมพู บ้างก็มีเกี้ยวลาย บ้างก็มีเกี้ยวดอกไม้ไหว ตามที่ตามตำแหน่งน้อยใหญ่เปนซ้ายขวากัน อันที่นอกจากอำมาตย์แลเสนา แลเกณฑ์เหล่าทหารของพระองค์นั้น ตั้งแต่นายทัพนายกอง แลนายกองสารวัดใหญ่ทั้งปวงนั้น ใส่หมวกใส่เสื้อเครื่องเกราะ อันที่ใส่ชั้นในนั้นมีฉู่ฉา อันเหล่าพลโยธาทั้งปวงนั้นใส่เสื้อแดงครอบหัวใส่หมวกแดงทุกคน ทั้งทัพน่าทัพหลังทัพหนุนทัพรอง ทั้งทัพปีกซ้ายปีกขวา ทั้งอาทมาตกองร้อยกองตระเวน แลกองซุ่มกองแล่นทั้งปวงนั้น มีดาบสพายแล่งทุกตัวคน ดาษดาไปล้วนเรือดูงามไสวไปทั้งสิ้น ครั้นแล้วก็มาประทับที่น่าฉนวนน้ำแล้ว จอดเปนชั้นหลั่นกันไปตามกระบวนตามที่ครบครัน ๚

๏ ครั้นพร้อมแล้วอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ จึ่งเข้าไปกราบทูลฉลองกับองค์พระนารายน์ จึ่งองค์สมเด็จพระนารายน์ผู้เปนเจ้านั้น สระสรงแต่งองค์ทรงเครื่องมหาพิไชยสงคราม จึ่งทรงพระสนับเพลา​ทองเชิงงอนสองชั้น แล้วจึ่งทรงพระภูษาพื้นแดงปักทองจีบโจงแล้ว จึ่งใส่ฉลองพระองค์อย่างใหญ่สังเวียนปักแล้ว จึ่งทรงชายไหวชายแครงตาบทิศแลตาบน่า ทั้งสังวาลประดับ จึ่งทรงพระธำมรงค์เพชรเก้ายอดแล้ว ทรงพระมหามงกุฎประดับเพ็ชรแล้ว จึ่งเหน็บพระแสงกั้นหยั่นที่บั้นพระองค์ แล้วทรงถือพระแสงสาตราใจเพ็ชร จึ่งเสด็จมาทรงเรือพระที่นั่งครุธพาห ครั้นได้มหาพิไชยฤกษ์แล้ว ข้างขุนโหรก็ลั่นฆ้องไชย ประดาตีดังโครมครื้น ยิงปืนมหาฤกษ์มหาไชยสองนัดแล้ว พลไกรก็โห่ร้องก้องกึกไปทั้งแม่น้ำ เสียงฆ้องกลองศึกก็ดังครึกครื้นครั่นสนั่นไป ทั้งเสียงเส้านั้นก็ดังสนั่นหนักหนา ทั้งเรือตลุบปุบพังก็ประดังดากัน อันน้ำในแม่น้ำนั้นก็เปนฟองพรายกระจายไป ครั้นพายไปได้เต็มพักแล้วก็โห่เห่เอาไชย แล้วก็พายนกบินแลพรายกราย แม่น้ำนั้นก็เปนละลอกกระฉอกฉานไปทั้งสิ้น เปนควันไปทั้งคงคา ล้วนเรือแน่นประดากันไปทั้งแม่น้ำ เสด็จมาทางฝ่ายเหนือทั้งผู้คนทัพบกทัพเรือเปนหนักหนา ทั้งสองฟากน้ำล้วนทัพแซงก็ยกมาเปนมากหลาย ยกมาตามลำน้ำกำแพงเพ็ชรแล้ว จึ่งเสด็จมาเมืองตากตามลำน้ำใหญ่แล้ว ขึ้นไปตามแถวเมืองนครเถินแล้ว ขึ้นไปตามแม่น้ำเมืองเชียงใหม่ พระองค์จึ่งสั่งให้ยาตราค่ายหลวงตั้งอยู่ที่บ้านช้างแล้ว จึ่งทำพิธีประหารดัษกร ตัดไม้ข่มนามตามประสงค์ ครั้นการพิธีแล้วพระองค์จึ่งสั่งกับจตุรงคเสนาทั้งปวง ให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี กับพระยาราชวังสรรค์เสนี ทั้ง​พระยาเดโชทหารใหญ่ ให้เร่งยกทัพเข้าไปตั้งประชิดแล้ว ให้เข้ารบเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงใหม่จึ่งแต่งทหารลาวอันเข้มแขงให้กระทบออกมาต้านทานสู้รบ อันทัพน่าต่อทัพน่าก็เข้าต่อสู้รบกัน ทัพปีกซ้ายต่อปีกซ้ายก็เข้าตีกัน อันทัพปีกขวาต่อปีกขวาก็เข้าประจันต่อสู้รบกัน อันเหล่าทัพน่านั้นก็เข้าไล่แทงกันด้วยทวนแลหอกซัด ฝ่ายทัพช้างต่อช้างก็เข้ารบกัน แล้วก็ประจันยิงกันด้วยปืนหลังช้างอยู่วุ่นวาย เหล่าพลปืนต่อปืนก็ยิงกันเปนควันมืดไปทั้งป่า พลหอกต่อหอกก็เข้าไล่แทงกัน พลดาบต่อดาบกระชั้นฟันกัน บ้างก็ล้มตาย พลทวนต่อทวนก็รำเพลงทวนแล้วก็แทงกันด้วยทวน พลง้าวต่อง้าวก็รำเพลงง้าวแล้วก็ง่าฟันกันทั้งสองฝ่าย พลตะบองต่อตะบองก็ไล่ตีกัน พลเขนต่อพลเขน พลโล่ห์ต่อพลโล่ห์ก็สู้รบกัน พลธนูต่อพลธนูก็ยิงกันด้วยธนู พลน่าไม้ต่อพลน่าไม้ก็ยิงกันไปด้วยน่าไม้ พลกฤชต่อพลกฤชก็เข้าไล่แทงกัน ทหารกระบี่ต่อกระบี่ก็เข้าไล่ฆ่าฟันกันตามเพลงกระบี่ บ้างก็ยิงด้วยเกาทัณฑ์ บ้างก็ฟันด้วยดาบ บ้างก็ถือหอกแลทวนแล้ว ก็เข้าไล่ประจันทิ่มแทง เจ็บป่วยทั้งสองฝ่าย ล้มตายเปนหนักหนา ทั้งเสียงช้างม้าแลเสียงอาวุธทั้งเสียงปืนน้อยแลปืนใหญ่ เสียงโห่ร้องทั้งฆ้องไชยแลกลองไชยก็ดังอื้ออึงครื้นเครงสนั่นไปทั้งป่าใหญ่ อันควันปืนนั้นมืดคลุ้มกลุ้มตลบบดบังไปทั้งเวหา แต่ทัพไทยทัพลาวประฝีมือกันอยู่เปนหนักหนา จนผ้านุ่งไม่มีอยู่กับตัว บ้างก็ยังอยู่แต่กางเกง ลงราฝีมือกันทั้งสองฝ่าย ทั้งไทยก็ชมฝีมือลาวว่าเข้มแขง ทั้งลาว​ก็ชมฝีมือไทยว่ากล้าหาญ อันพระยาสีหราชเดโชคนรู้ขี่ม้าขาวยืนอยู่แล้วก็แย้มหัวเห็นรบกันจนสิ้นฝีมือไม่หนีตัว จนลงมัวอยู่ทั้งลาวไทย จึ่งตีกลองศึกแล้วก็โห่ขยายพล จึ่งให้ร่นถอยเข้ามาอยู่ที่น่าทัพใหญ่ ฝ่ายข้างลาวก็ตีกลองไชยแล้วก็ยกถอยไปพร้อมกัน อันพระยาเดโชนั้นขี่ม้าขาวแล้วออกยืนอยู่หว่างทัพลาวทั้งนั้น จึ่งร้องเรียกพระยาเสนาท้าวทั้งนั้นไปแล้ว จึ่งว่าพลขันธ์ทั้งสองฝ่ายก็ตายเปลืองไปเปนอันมาก ถ้าท่านมีทหารคนดีก็ให้ออกมาตีตามธรรมยุทธ จะได้ฦๅชาปรากฎทั้งลาวไทย ครั้นแสนท้าวลาวทั้งนั้นแลเห็น ก็รู้ว่าพระยาเดโชนี้เปนทหารใหญ่ อันพระยาแสนหาญก็มิอาจจะออกรบได้ ก็นิ่งไปมิได้ตอบคำมา ครั้นพระยาเดโชเห็นลาวไม่ตอบคำ ก็รู้ว่าไม่มีคนดี พระยาเดโชจึ่งสำแดงฤทธิให้ลาวดู จึ่งขี่ม้าแล้วออกรำดาบอยู่ที่กลางแปลงแล้ว จึ่งอึดอัดใจมิให้เห็นตัว ๚


(ต่อนี้ฉบับขาด ใช้ความในฉบับคำให้การชาวกรุงเก่าแทน)

๏ พวกลาวเห็นดังนั้นก็สดุ้งตกใจกลัว พากันแตกหนีไม่เปนขบวน พระเจ้าเชียงใหม่ก็ให้รวบรวมผู้คนที่แตกกระจัดกระจายได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับเข้าพระนคร ให้ปิดประตูลงเขื่อนแน่นหนา ขับพลขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินเปนสามารถ ให้คั่วทรายหลอมตะกั่วเคี่ยวชันน้ำมันยาง สำหรับเทสาดเมื่อข้าศึกเข้าตีปล้นกำแพง ฝ่ายนายทัพนายกองข้างกรุงศรีอยุทธยาเห็นลาวแตกกระจัดกระจายไปดังนั้น ก็ขับพลเข้าล้อมเมืองไว้ทั้ง ๔ ด้าน ๚

​๏ ตกเวลากลางคืน พวกลาวพากันตีฆ้องขานยาม เสียงฆ้องได้ยินไปถึงพระกรรณพระนารายน์ ๆ จึ่งตรัสถามเจ้าพระยาโกษาธิบดีว่า เสียงฆ้องที่ไหน เจ้าพระยาโกษาธิบดีจึ่งกราบทูลว่า เสียงฆ้องขานยามในเมืองเชียงใหม่ พระนารายน์จึ่งตรัสว่า เหตุใดพวกเจ้าจึ่งตั้งค่ายใกล้ชิดกับเมืองเชียงใหม่ดังนี้เล่า เจ้าพระยาโกษาธิบดีกราบทูลว่า ระยะทางตั้งแต่เมืองเชียงใหม่มาถึงค่ายหลวงนี้ห่างกันถึงโยชน์ ๑ พระนารายน์จึ่งรับสั่งให้ไปวัดชัณสูตรดูก็ห่างโยชน์ ๑ จริงดังเจ้าพระยาโกษาธิบดีกราบทูล จึ่งรับสั่งว่า ทางไกลกันถึงโยชน์ ๑ เหตุใดจึ่งได้ยินเสียงฆ้องยามดังนี้เล่า เจ้าพระยาโกษาธิบดีกราบทูลว่า ซึ่งได้ยินเสียงฆ้องขานยามดังนี้ เปนนิมิตรดีที่พระองค์จะตีได้เมืองเชียงใหม่ แลฆ้องนั้นจะมาสู่โพธิสมภารของพระองค์ ได้ทรงฟังก็ทรงยินดีเปนอันมาก จึ่งรับสั่งว่าใครจะอาสาไปเอาฆ้องนั้นได้บ้าง ในขณะนั้นพวกที่ทำผิดล่วงพระราชกำหนดกฎหมายต้องโทษจำขังอยู่ ๒๐ คน จึ่งรับอาสาทำทัณฑ์บนถวายว่าจะไปเอาฆ้องมาถวายให้ได้ ถ้าไม่ได้ให้ประหารชีวิตรเสีย พระนารายน์ก็โปรดให้นักโทษทั้ง ๒๐ คนนั้นพ้นโทษ นักโทษทั้ง ๒๐ คนนั้นก็เตรียมเครื่องสาตราวุธครบมือแล้ว พากันไปถึงกำแพงเมืองเชียงใหม่ เศกเวทมนต์สะกดพวกรักษาน่าที่เชิงเทินแล้ว ลอบเข้าไปลักเอาฆ้องใหญ่นั้นได้ นำมาถวายพระนารายน์ ๆ ก็ให้ปูนบำเหน็จรางวัลแก่นักโทษทั้ง ๒๐ คนเปนอันมาก แล้วรับสั่งให้ลงรักปิดทองฆ้องนั้นเปนอันดี ๚

​๏ อยู่มาสองสามวันพระนารายน์ไม่เห็นกองทัพเชียงใหม่ยกออกมารบ จึ่งรับสั่งปฤกษากับข้าราชการทั้งปวงว่า บัดนี้พวกเชียงใหม่ตั้งรักษาเมืองมั่นไว้ มิได้ยกทัพออกมารบให้เห็นแพ้แลชนะ แลไม่นำเครื่องบรรณาการมาถวายตามธรรมเนียม ท่านทั้งปวงจะคิดประการใด ข้าราชการทั้งปวงจึงกราบทูลว่า ควรจะมีพระราชสาสนเข้าไปถึงพระเจ้าเชียงใหม่ให้ออกมารบกันตามธรรมเนียม มิฉนั้นให้ออกมาอ่อนน้อมเสียโดยดี พระนารายน์ก็ทรงเห็นชอบด้วย จึ่งให้อาลักษณจาฤกพระราชสาสนมีใจความว่า

๏ พระราชโองการ มานพระบัณฑูร สุรสิงหนาท ราโชวาท อมรฤทธิ มโหฬาราดิเรก อเนกบุญญาธิบดินทร์ หริหรินทรธาดา อดุลยคุณาธิบดี ตรีโลกเชษฐ ธิเบศวรดิลกศรีประทุมสุริยวงษ์ องค์เอกาทศรถ จักรพรรดิราชา ชยันตมหาสมมติวงษ์ พระเจ้ากรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานี บุรีรมยราช ประสาสน์สุนทรธรรมแถลง มาถึงพระเจ้าเชียงใหม่ ด้วยเรายกพยุหโยธามาครั้งนี้ มิได้มีจิตรยินดีที่จะชิงเอาราชสมบัติบ้านเมืองแก้วแหวนเงินทองผู้คนช้างม้าของท่านโดยโลภเจตนา เรามีจิตรศรัทธาเลื่อมใส จะใคร่เชิญพระพุทธปฏิมากร พระพุทธสิหิงค์ กับพระพุทธปฏิมากรซึ่งแกะด้วยไม้จันทน์แดงทั้ง ๒ พระองค์ ขอให้พระเจ้าเชียงใหม่ส่งพระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์นั้นออกไป เมืองเชียงใหม่กับกรุงศรีอยุทธยาก็จะได้เปนทองแผ่นเดียวกัน มิฉนั้นให้พระเจ้าเชียงใหม่ยกพลโยธาหาญ ออกไปทำ​ยุทธนาการตามราชประเพณี โดยวิธียุทธสงครามช้างม้าฤๅขบวนยุทธอย่างไรก็ตามที ครั้นให้จาฤกพระราชสาสนแล้ว ก็ให้ทูตนำไปถวายพระเจ้าเชียงใหม่ ๆ จึ่งให้อาลักษณจาฤกพระราชสาสนตอบ มีใจความว่า มหามหิศรราชภูมิบาล สุรสุรินทร ปรมินทราทิตย ขัติยมหาสาล ผู้ผ่านพิภพเชียงใหม่ ถึงพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ด้วยพระไอยกาเราได้ผ่านพิภพศรีสัตนาคนหุต พระบิดาเราก็ได้ผ่านพิภพจันทบุรี ตัวเรานี้ก็ได้ผ่านพิภพเชียงใหม่ พระพุทธปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์นี้ไซ้ ได้ด้วยบุญบารมีของเรา ๆ ก็มีจิตรเลื่อมใสทำสักการบูชาอยู่เปนนิตย์ ซึ่งพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยายกพยุหโยธามาทำสงคราม ให้ได้ความเดือดร้อนแก่สมณะชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎร เพื่อจะใคร่ได้พระปฏิมากรนั้นเราไม่ยอมให้แล้ว เรายอมถวายชีวิตรแก่พระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ เมื่อจาฤกเสร็จแล้วให้ทูตนำไปถวายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา พระนารายน์ทรงทราบพระราชสาสนของพระเจ้าเชียงใหม่ดังนั้น จึ่งทรงจาฤกพระราชสาสนด้วยพระองค์เองมีใจความว่า กิจของสมณะชีพราหมณ์ก็คือพยายามตั้งหน้ารักษาศีลเจริญภาวนา กิจของพระมหากษัตรก็มีการทำสงครามเปนราชประเพณี ซึ่งพระเจ้าเชียงใหม่จะมานั่งงอมืองอเท้าอยู่ฉนี้ ดูกิริยาเหมือนสัตรีมีชาติอันขลาด ถ้าไม่ยอมให้พระปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์แล้ว จงรักษาพระนครไว้ให้มั่นคง เราจะเข้าปล้นหักเอาให้ได้ ทรงจาฤกแล้วให้ทูตเชียงใหม่นำไปถวายเจ้านายของตน พระเจ้าเชียงใหม่ก็มิได้ตอบประการใด เปนแต่ให้รักษาพระนครมั่นไว้ ๚

​๏ พระยาสีหราชเดโชจึ่งทูลรับอาสาว่าจะตีเมืองเชียงใหม่ให้ได้ แล้วพระยาสีหราชเดโชจึ่งขึ้นม้าถือทวนนำน่าพาทหารทั้งปวงเข้าไปใกล้กำแพงเมืองเชียงใหม่ แล้วร้องด้วยเสียงอันดังว่า กูชื่อพระยาสีหราชเดโช เปนทหารเสือของพระนารายน์ ใครมีฝีมือดีจงออกมารบกับกู แล้วพระยาสีหราชเดโชก็ขับพลเข้าประชิดกำแพงเมือง พวกพลทหารลาวที่รักษาน่าที่เชิงเทิน ก็พุ่งสาตราวุธแหลนหลาวระดมปืนลงมาดังห่าฝน เทสาดตะกั่วทรายชันน้ำมันยางอันคั่วเคี่ยวไว้ลงมาเปนอันมาก พลทหารไทยก็มิได้ย่อท้อถอยหลัง พากันเข้าขุดทำลายกำแพงเมืองเปนสามารถ พระยาสีหราชเดโชก็ถือดาบปีนกำแพงเมืองเข้าไปได้ ไล่ฆ่าฟันพวกรักษาน่าที่เชิงเทินแตกกระจัดกระจาย พลทหารก็ทำลายกำแพงเข้าเมืองได้ ไล่ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเปนอันมาก พระโพธิสารเจ้าเมืองเชียงใหม่ถูกอาวุธพิราไลยในที่รบ พวกทหารไทยจับได้นางทิพลีลามเหษีพระเจ้าเชียงใหม่ กับเจ้าวงษ์โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ แลพอริลังสาอำมาตย์แลขุนนางข้าราชการทั้งปวงได้เปนอันมาก เก็บริบแก้วแหวนเงินทองได้เปนอันมากแล้วนำมาถวายพระนารายน์ ครั้นพระนารายน์มีไชยชนะได้เมืองเชียงใหม่แล้ว จึ่งให้เชิญพระพุทธสิหิงค์กับพระแก่นจันทน์แดงมาประดิษฐานที่พลับพลา ให้มีการมหรศพสมโภชเปนอันมาก แล้วตรัสถามพระยาแสนหลวงอำมาตย์ของพระเจ้าเชียงใหม่ว่า เราได้ทราบข่าวว่า พระพุทธสิหิงค์นี้มีอานุภาพเหาะเหินเดินอากาศได้จริงฤๅ พระยาแสนหลวงกราบทูลว่า แต่เดิมเมื่อพระพุทธสิหิงค์​ยังประดิษฐานอยู่ที่เมืองปาตลีบุตรนั้นเหาะเหินเดินอากาศได้จริง แต่มีคนทุจริตมาควักเอาแก้วมณีที่ฝังเปนพระเนตรไปเสีย แต่นั้นมาพระพุทธสิหิงค์ก็เหาะเหินเดินอากาศไม่ได้ ต่อมาเจ้าเมืองสรรคบุรีเชิญไปจากเมืองปาตลีบุตร ไปประดิษฐานที่เมืองสรรคบุรี ต่อนั้นไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองล้านช้าง ต่อนั้นไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองจันทบุรี แล้วมาประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นี้ ๚

๏ เมื่อพระนารายน์จะเสด็จกลับจากเมืองเชียงใหม่ จึ่งตั้งเจ้าวงษ์ซึ่งเปนโอรสพระเจ้าโพธิสาร เปนพระเจ้าเชียงใหม่ พระมเหษีแลขุนนางข้าราชการทั้งปวงนั้น ก็ให้คงอยู่เมืองเชียงใหม่ตามเดิม แล้วให้เชิญพระพุทธปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ลงประดิษฐานณเรือเอกไชย เสด็จยกทัพกลับยังพระนครศรีอยุทธยา เมื่อเรือเอกไชยมาถึงพระฉนวนน้ำแล้ว ทรงประกาศให้ขุนนางข้าราชการแลราษฎรทั้งปวงเล่นมหรศพสักการบูชา หนทางที่จะเชิญพระพุทธปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ขึ้นนั้นก็ให้โปรยทรายปักราชวัตรผูกต้นมะพร้าวต้นกล้วยต้นอ้อยเปนต้น แล้วเชิญพระพุทธปฏิมากรทั้ง ๒ พระองค์ขึ้นประดิษฐานบนพระยานมาศ กั้นพระกลดขลิบทอง ๔ คัน เสวตรฉัตร ๔ คัน เชิญไปประดิษฐานไว้ที่หอพระในพระราชวัง แล้วให้ทำการสมโภชเปนอันมาก ในขณะนั้นพระพุทธสิหิงค์ก็ทำปาฏิหารต่าง ๆ แลฆ้องไชยซึ่งได้มาแต่เมืองเชียงใหม่นั้น พระนารายน์ก็ให้นำไปไว้สำหรับตีขานยามในพระราชวัง พวกเมืองเชียงใหม่ซึ่งลงมากับขบวนทัพหลวงนั้น ทรงพระกรุณาโปรดให้กลับคืนไปยังเมืองเชียงใหม่​ทั้งสิ้น แต่นั้นมาเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็นำเครื่องบรรณาการมาถวายเปนนิตย์มิได้ขาด ๚

๏ แลพระนารายน์นี้ได้ทรงศึกษาวิทยาคมในสำนักพระอาจารย์พรหม ๆ นี้มีอายุมาก เปนผู้เฒ่า ใบหูทั้ง ๒ ข้างยานถึงบ่า เปนผู้ชำนาญในทางเวทมนต์ มีอานุภาพเหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะฉนั้นพระนารายน์จึ่งมีบุญญาภินิหารแลอิทธิฤทธิมาก วันหนึ่งเสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกไชยในเวลาน้ำขึ้น รับสั่งว่าให้น้ำลด แล้วทรงพระแสงฟันลง น้ำก็ลดลงตามพระราชประสงค์ ครั้นน้ำลดลงแล้ว จึ่งรับสั่งให้น้ำขึ้น แล้วทรงพระแสงฟันลงอิก น้ำก็ขึ้นตามพระราชประสงค์ พระนารายน์มีพระราชประสงค์อย่างไรก็เปนไปตามทั้งสิ้น พระเกียรติยศของพระนารายน์นั้นแผ่ไปทั่วทุกทิศ มีชาวต่างประเทศ เมืองแขกอรวง เมืองโครส่าน ฝรั่งเมืองฝรั่งเศส นำเครื่องบรรณาการดอกไม้เงินทองมาถวายขอเปนพระราชไมตรี เมื่อพระนารายน์เสวยราชย์พระชนม์ได้ ๑๕ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๒๕ พรรษา ครั้นพระชนม์ได้ ๔๐ พรรษาก็เสด็จสวรรคต พระนารายน์สมภพวันอังคาร ๚

๏ เมื่อพระนารายน์เสด็จสวรรคตแล้ว ข้าราชการทั้งปวงเห็นว่าพระนารายน์ไม่มีพระราชโอรสที่จะสืบพระวงษ์ ปฤกษากันว่าควรจะยกราชสมบัติถวายแก่ใคร พวกที่รู้ประวัติเจ้าพระยาศรีสรศักดิจึ่งพูดขึ้นว่า พระราชโอรสของพระนารายน์มีอยู่ คือเจ้าพระยา​ศรีสรศักดิ บุตรนางกุสาวดี ที่พระราชทานไปแก่เจ้าพระยาสุรสีห์ ด้วยพระนารายน์ได้ตั้งสัตย์ไว้ว่าจะไม่เลี้ยงโอรสที่เกิดแต่นางนักสนม ครั้นนางกุสาวดีมีครรภ์ขึ้นจึ่งแกล้งยักย้ายถ่ายเทไปเสีย เพราะฉนั้น ควรจะยกสมบัติให้แก่เจ้าพระยาศรีสรศักดิ เมื่อปฤกษาเห็นชอบพร้อมกันดังนี้แล้ว จึ่งเชิญเจ้าพระยาศรีสรศักดิให้ขึ้นครองราชสมบัติ แต่เจ้าพระยาศรีสรศักดิไม่รับ ว่าบิดาของเรายังมีอยู่ ท่านทั้งปวงจงเชิญบิดาของเราขึ้นครองราชสมบัติเถิด ขุนนางข้าราชการทั้งปวงก็เชิญเจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าพระยาสุรสีห์มีพระนามเปน ๒ อย่าง ๆ ๑ ว่าสมเด็จพระธาดาธิบดี พระนาม ๑ ว่าพระราเมศวร ๆ ทรงตั้งนางอุบลเทวีเปนพระมเหษีฝ่ายขวา ทรงตั้งพระสุดาเทวีราชธิดาพระนารายน์เปนมเหษีฝ่ายซ้าย พระสุดาเทวีมีพระราชโอรสองค์ ๑ พระนามว่าพระขวัญ ในเวลาที่พระขวัญประสูตรจากครรภ์พระมารดานั้น มีเหตุเปนนิมิตรต่างๆ เปนต้นว่าแผ่นดินไหว ประชาชนพากันเลื่องฦๅว่าผู้มีบุญมาเกิด ๚

๏ แลพระราเมศวรนั้นไม่ใคร่พอพระไทยในทางยศศักดิ แม้จะเสด็จประพาศที่ใด ๆ ก็ไม่มีขบวนแห่แหน ให้แต่องครักษ์ตามเสด็จเล็กน้อยเท่านั้น พอพระไทยที่จะบำรุงไพร่บ้านพลเมืองให้อยู่เย็นเปนศุขอย่างเดียว จึ่งทรงตั้งเจ้าพระยาศรีสรศักดิเปนพระมหาอุปราช ดูแลกิจการบ้านเมืองต่างพระองค์ ในเวลานั้นพระมหาอุปราชถืออาญาสิทธิ สำเร็จราชการบ้านเมืองต่างพระองค์พระราเมศวรทั้งสิ้น พระราเมศวรให้สร้างวัดขึ้น ๔ วัด คือ วัดบุรบาริมวัด ๒ วัด​รัตนาปราสาทวัด ๑ วัดบรมราสัตย์วัด ๑ วัดชังคะยีวัด ๑ แล้วให้ปฏิสังขรณ์วัดสุมังคลารามวัด ๑ เมื่อพระราเมศวรเสวยราชย์ พระชนม์ได้ ๕๕ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๑๔ พรรษา ครั้นพระชนม์ได้ ๖๙ พรรษาก็เสด็จสวรรคต พระราเมศวรสมภพวันศุกร ๚

๏ ข้าราชการทั้งปวงจึงเชิญพระมหาอุปราชขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อณวัน ๗ ๔ฯ ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๐๖๓ ในวันเมื่อทำการราชาภิเศกนั้นเกิดมหัศจรรย์มีแสงสว่างทั่วไปทั้งพระราชวัง ข้าราชการทั้งปวงถือเอานิมิตรนั้นเปนเหตุ ถวายพระนามว่า พระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ภายหลังปรากฎพระนามอิกอย่าง ๑ ว่า นรามรินทร์ พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีมีพระมเหษีทรงพระนามว่า พระพันปีหลวง ๚

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2567 14:29:45 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 23 เมษายน 2567 14:23:12 »

               
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ครั้นต่อมาพระขวัญราชโอรสพระราเมศวรมีพระชนม์ได้ ๑๔ ปี คิดร้ายต่อพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ตั้งซ่องสุมผู้คนไว้เปนอันมาก กิติศัพท์ทราบไปถึงพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ๆ จึงรับสั่งให้เชิญพระขวัญเข้ามาเฝ้าในพระราชวัง แล้วรับสั่งถามว่า เจ้าตั้งซ่องสุมผู้คนจะคิดร้ายต่อเราจริงฤๅ พระขวัญรับว่าการที่ตั้งซ่องสุมผู้คนนั้นจริง แต่ไม่ได้ประสงค์จะทำร้ายต่อพระองค์ ประสงค์จะป้องกันบ้านเมือง พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีทรงพระราชดำริห์เห็นอาการพิรุธ จึ่งทรงปฤกษากับข้าราชการทั้งปวง ๆ จึ่งยกบทพระไอยการขึ้นพิพากษาว่า ผู้ที่ตั้งซ่องสุมผู้คนจะประทุษร้ายต่อพระเจ้าแผ่นดินนั้น ชอบให้เอาตัวไปประหารชีวิตรเสีย พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีก็รับสั่งให้เอาตัวพระขวัญไปสำเร็จโทษเสียตามประเพณี ๚

​๏ พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีมีพระราชโอรสด้วยพระมเหษีใหญ่ ๓ องค์ องค์ที่ ๑ พระนามว่า สุรินทกุมาร องค์ที่ ๒ พระนามว่า วรราชกุมาร องค์ที่ ๓ พระนามว่า อนุชากุมาร ๆ นี้กล้าหาญดุร้ายมาก วันหนึ่งรับสั่งให้พวกมหาดเล็กเด็ก ๆ ด้วยกันว่ายข้ามแม่น้ำ พวกมหาดเล็กเกรงอาญาก็พากันว่ายไป ที่มีกำลังน้อยจมตายบ้างก็มี กิติศัพท์ทราบถึงพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ๆ ทรงพระพิโรธ รับสั่งให้เอาอนุชากุมารไปสำเร็จโทษเสียดังเด็กที่จมน้ำตายนั้น ๚

๏ แลพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีมีราชบุตรอันเกิดด้วยพระสนมอิก ๓ พระองค์ นามว่า เจ้ากุมารอินทร์องค์ ๑ เจ้ากิ่งองค์ ๑ เจ้าติ่งองค์ ๑ ๚

๏ ครั้นต่อมาพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีให้สร้างมณฑปพระพุทธบาทมียอดสูง ๒๕ ศอก หุ้มทองแดงลงรักปิดทอง แล้วให้สร้างวัดขึ้นที่ตำบลโพธิ์ช้างล้ม ๒ วัด พระราชทานนามว่า พระอารามบรมกษัตรวัด ๑ ทุพิยารามวัด ๑ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์องค์ ๑ ลงรักปิดทองให้งดงาม พระราชทานนามว่า สุขวัญโพธิเพ็ชรเจดีย์ แล้วให้เอาโลหะทั้ง ๕ มาสร้างพระปฏิมากรองค์ ๑ สูง ๑๖ ศอก พระราชทานนามว่า สยัมภูทุตกามาลี ๚

๏ ในปีนั้นเจ้าเมืองกาญจนบุรีจับได้ช้างเผือกพังช้าง ๑ ช้างเผือกพลายช้าง ๑ นำมาถวาย จึงพระราชทานนามช้างเผือกพังว่า อินทไอยรา พระราชทานนามช้างเผือกพลายว่า บรมจักรบุปผาทันต์ ๚

​๏ พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีนี้มีบุญญาภินิหารแลอิทธิฤทธิ ชำนาญในทางเวทมนต์กายสิทธิมาก เวลากลางคืนก็ทรงกำบังพระกายเสด็จประพาศฟังกิจศุขทุกข์ของราษฎร แลทรงตรวจตราโจรผู้ร้ายมิได้ขาด ทรงชุบเลี้ยงคนที่มีเวทมนต์ให้เปนมหาดเล็กใกล้ชิดพระองค์ รับสั่งใช้ให้กำบังกายออกตรวจโจรผู้ร้ายในราตรี ถ้าทรงทราบว่าใครมีเวทมนต์ดีแล้ว ให้มหาดเล็กลอบไปทำร้ายในเวลาหลับ ผู้ใดไม่เปนอันตรายก็ให้พามาเลี้ยงไว้เปนข้าราชการ ผู้ใดที่โอ่อวดทดลองไม่ได้จริงก็ให้ลงพระราชอาญา พระเจ้าสุริเยนทราธิบดีนี้ทรงปืนแม่นหาผู้เสมอยาก นกกาบินร้องมาในเวลากลางคืนก็ยิงถูก เต่าปลามัจฉาชาติในน้ำแต่พอแลเห็นเงาก็ยิงถูก แลทรงชำนาญในทางโหราสาตร รู้คำนวณฤกษ์ยามชตาบ้านเมือง ได้ทรงพยากรณ์กาลอนาคตเปนพระราชนิพนธ์ไว้ดังนี้ว่า น้ำในแม่น้ำแลคลองทั้งปวงจะแดงเปนโลหิต เมฆแลท้องฟ้าจะแดงเปนแสงไฟ แผ่นดินจะไหวโดยมาก ยักษ์แลผีป่าจะเข้าเมือง เสื้อเมืองทรงเมืองจะหลีกเลี่ยง ฤดูหนาวจะเปนฤดูร้อน โรคไภยจะเบียดเบียนสัตว์แลมนุษย์ทั้งปวง โอชาว่านยาแลผลไม้จะถอยรศ เทพยดาที่รักษาพระสาสนาจะรักษาแต่คนพาล พวกที่อยู่ในศีลในธรรมจะถอยยศ มิตรจะกลับเปนศัตรู เมียจะคิดทรยศต่อผัว คนต่ำตระกูลจะทำคนตระกูลสูงให้เสื่อมถอย ศิษย์จะสู้ครู พวกพาลจะมีอำนาจ พวกปราชญ์จะตกต่ำ น้ำเต้าจะจม กระเบื้องจะลอย ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน มนุษย์จะมีอายุสั้นพลันตาย จะเกิดเข้ายากหมากแพง ​ฝูงมนุษย์จะอดอยาก ผีแลเปรตจะปนอยู่กับคน สมณชีพราหมณ์จะร้อนใจ จะเกิดโจรผู้ร้ายแย่งชิงกันชุกชุม ที่ลุ่มจะกลับดอน ที่ดอนจะกลับลุ่ม พระพุทธสาสนาจะเศร้าหมอง คนที่สนุกเฮฮาจะได้ครองสมบัติ คนต่างชาติต่างภาษาจะเข้ามาเปนเจ้านายดังนี้ ๚

(เข้าความฉบับหลวง)

๏ อันพระสุริเยนทราธิบดีเมื่อครั้งนั้น มีทหารคนดีสองคน ชื่อพานศรเพลิงคน ๑ ดำเกิงณรงค์คน ๑ เปนเกณฑ์สำหรับได้อยู่ข้างที่พระองค์ มีวิชาการเชี่ยวชาญชำนาญนักหนา ทั้งอยู่คงกะพันแลล่องหนทั้งอึดใจก็ได้ ทั้งรู้วิชาปืนก็หลักแหลม อันแยบคายปืนกลนี้ดีนักหนา รู้จักที่จึ่งยิงได้ดังใจหมาย ได้ยินแต่เสียงสำเนียงมาก็ยกปืนขึ้นยิงแล้วไม่รู้ผิด ถึงจะแอบจะบังอยู่ให้มิดก็ยิงถูกได้ดังใจ ที่ในว่าไว้นั้น จนแต่จรเข้อยู่ที่ในน้ำก็ยิงให้ตายอยู่กับที่ก็ได้ ยิงให้ว่ายวิ่งอยู่บนน้ำก็ได้ ยิงให้จมไปก็ได้ อันในแผ่นดินพระสุริเยนทราธิบดี อันสองคนนี้เปนยอดทหาร กับเหล่าชาญณรงค์องครักษ์ของพระองค์มีอยู่สองร้อย เปนทหารสำหรับรักษาข้างพระองค์ ครั้นอยู่มาครั้งหนึ่ง จึ่งอ้ายธรรมเถียรบัณฑิต มันทำจริตกิริยาอาการมาให้เหมือนพระขวัญ คือตรัสน้อยใจที่พระองค์ลงโทษ ฝ่ายอาณาประชาราษฎรทั้งปวงนั้น เลื่องฦๅกันว่าพระขวัญนี้มีบุญญาธิการนักหนา ถึงฆ่าเสียแล้วก็ไม่ตาย เพราะเหตุฉนี้อ้ายธรรมเถียรมันจึ่งทำมาให้แทนที่ มันจึ่งติดไฝที่แก้มแล้ว ทำ​เปนพูดจาพาทีให้เหมือน ว่าตัวนี้เปนผู้มีบุญ อันคนในแว่นแคว้นแดนประสักนั้นจงรักภักดีแล้วเข้าอุดหนุนเข้าเกลี้ยกล่อม บ้างก็ยอมลงทุน บ้างก็อุดหนุนตกแต่งให้ทั้งเครื่องอุปโภคต่าง ๆ นา ๆ ด้วยสัญญาว่าองค์ตรัสน้อย แต่เกลี้ยกล่อมได้คนสองพัน จึ่งซ่องสุมพลไว้พระนครหลวง จนแต่หลวงเทพราชาที่รักษาวังอยู่ที่พระนครหลวงนั้น ก็เอาเครื่องสูงเกณฑ์แห่มาได้ครบครัน กับขุนศรีคชกรรม์กองช้างที่อยู่ป่าอรัญญิกนั้น ก็เอาพลายมงคลรัตนาศน์ไปกำนัน ช่างพากันไปด้วยคนร้าย อันอ้ายธรรมเถียรนั้นมันคิดผิดผลที่มันจักตาย แต่งตัวขึ้นขี่ช้างแล้ว แห่แหนมาด้วยอภิรุมชุมสายเปนอันมาก เมื่อยกทัพมากลางทางที่คนรู้ก็ไปเข้าด้วย ลางคนแต่มือเปล่าก็เข้ามาหา ลางคนก็ได้แต่พร้าวิ่งตามไป แล้วจึ่งข้ามศาลาเดิมบ้านทานทุน แล้วจึ่งยกมาตามถนนใหญ่ ครั้นถึงรอจึ่งหยุดพลไว้ ฝ่ายขุนนางข้างในครั้นรู้ก็เข้าไปทูลกับพระองค์ว่า ราชศัตรูเข้ามาถึงรอแล้ว ยังหยุดพลไว้ที่ตำบลอันนั้น ครั้นพระองค์ทราบเหตุก็เสด็จออกมาโดยพลัน พระองค์จึ่งเสด็จขึ้นอยู่บนป้อมมหาไชย จึ่งตรัสห้ามพลทั้งนั้น ว่าใครอย่าออกรบพุ่ง ไว้นักงานกู ตามทีให้มันเข้ามา ครั้นประจุพระแสงปืนแล้ว พระองค์เสด็จขึ้นยืนอยู่ต่อสู้ อันเหล่าราชศัตรูทั้งนั้น ก็กรูกันข้ามมาตามตะพานใหญ่ จึ่งทรงยิงด้วยพระแสงมหาไชย ก็ถูกอกธรรมเถียรเข้ากระเด็นตกลงไปทันที อันผู้คนทั้งนั้นก็กระจัดพลัดพราย บ้างล้มตายบ้างวิ่งหนี ชาวกรุงจึ่งไล่ตามตีก็จับตัวได้ บ้างวิ่งหนีซุกซนไป ที่เปน​ไพร่ก็ไม่ตาย แต่ตัวนายจึ่งฆ่าเสียให้ถึงแก่มรณา อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้นองอาจมีอำนาจนักหนา ทั้งทรงทศพิธราชธรรมมิได้เที่ยวรบพุ่งบ้านเมืองใด จนถึงพระยาสามนต์อันเปนใหญ่อยู่ในกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็เลื่องฦๅชาไปว่าพระองค์นี้ตั้งอยู่ในธรรม ทั้งมีฤทธิวิทยาแลอาคม ทั้งพระเดชเดชาก็กล้าหาญนักหนา จึ่งแต่งพระราชธิดา มีพระนามเรียกพระตรัสนายกัลยาณีมาถวาย อันพระบุตรีนั้นมีโฉมประโลมโสภางามนักหนา พระชันษานั้นได้สิบห้าปี กับพระราชสาสนแลเครื่องบรรณาการเปนอันมาก มาถวายด้วยใจจงรักภักดี ทั้งมีสวามิภักดิสมัคสมาคม จักเปนที่พึ่งโพธิสมภารสืบไปเบื้องน่า ครั้นมาถึงจึ่งถวายพระราชธิดา ทั้งเครื่องบรรณาการแลราชสาสน อันพระองค์นั้นก็ทรงยินดีปรีดา จึ่งแต่งรับพระธิดาแล้วตั้งไว้เปนที่มเหษีตามที่ตามเมืองน้อยใหญ่ พระองค์ก็ประพฤติตามโดยดีตามสวัสดีอันเปนธรรมอันดี แต่บรรดาพระยาแสนท้าวเหล่าลาวเมืองล้านช้างซึ่งมาเปนการพระราชไมตรีนั้น แต่บรรดาอำมาตย์ราชเสนาที่มาทั้งสิ้น แลไพร่พลทั้งนั้น ทั้งเหล่าผู้คนข้าไททั้งหญิงชาย อันเปนบริวารของพระบุตรีทั้งสิ้น พระองค์ก็ประทานบำเหน็จรางวัลทั้งเงินทองเสื้อผ้าแลสิ่งของทั้งปวงเปนอันมาก ประทานให้ครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วจึ่งตอบเครื่องบรรณาการโดยราชประเพณี ให้ไปกับพระเจ้าล้านช้างเปนอันมาก อันพระราชบุตรีนั้นพระองค์ปลูกตำหนัก แลเรือนหลวงให้อยู่ตามถิ่นตามฐาน จึ่งเรียกว่าเจ้าตำหนักใหม่ อันบรรดาสมัคพรรคพวกผู้คนข้าไทของพระบุตรีทั้งสิ้น พระองค์ให้​ถิ่นฐานเย่าเรือน ทั้งวัวควายไร่นาแลเรือกสวน อันที่บ้านนั้นเรียกว่าม่วงหวาน ครั้งนั้นพระเกียรติยศปรากฎฟุ้งเฟื่องเลื่องฦๅไปทุกประเทศเขตรขัณฑ์ ก็ชื่นชมพระสมภารของพระองค์ยิ่งนัก อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้น พระองค์พอพระไทยเล่นกาพย์โคลงฉันท์ ทั้งพระราชนิพนธ์ของพระองค์ก็ดี จึ่งมีมหาดเล็กคนหนึ่งเปนนักปราชญ์ช่างทำกาพย์โคลงฉันท์ดีนัก พระองค์โปรดปรานแล้ว พระราชทานชื่อเสียงเรียกว่าศรีปราชญ์ เปนผู้สำหรับได้ทำโคลงหลวง ครั้นอยู่มาศรีปราชญ์นั้น ทำโคลงให้กันกับพระสนมข้างใน ครั้นพระองค์ทราบก็ทรงพระโกรธ แต่ไม่ลงโทษทัณฑ์ จึ่งส่งไปไว้เมืองนคร ศรีปราชญ์จึ่งต้องไปอยู่เมืองนครตามรับสั่ง ศรีปราชญ์จึ่งไปทำโคลงให้กันกับภรรยาน้อยเจ้าเมืองนคร ครั้นเจ้าเมืองนครรู้ไปว่าศรีปราชญ์นี้ ทำโคลงให้กันกับเมียน้อยของตัวนั้น จึ่งขึ้งโกรธแล้วจึ่งเอาตัวศรีปราชญ์ไปฆ่าเสีย เมื่อจักฆ่าศรีปราชญ์นั้น ศรีปราชญ์จึ่งว่าเรานี้เปนนักปราชญ์หลวง แล้วก็เปนลูกครูบาอาจารย์ แต่องค์พระมหากษัตรยังไม่ฆ่าเราให้ถึงแก่ความตาย ผู้นี้เปนเจ้าเมืองนคร จักมาฆ่าเราให้ตาย เราก็จักต้องตายด้วยดาบเจ้าเมืองนคร สืบไปเบื้องน่าขอให้ดาบนี้คืนสนองเถิด ครั้นศรีปราชญ์แช่งไว้ดังนั้นแล้ว ศรีปราชญ์ก็ตายด้วยดาบเจ้าเมืองนคร ที่ศรีปราชญ์แช่งไว้นั้นเปนคำโคลงเขียนลงกับแผ่นดินให้เปนทิพพยาน ​ครั้นอยู่มาพระองค์มีรับสั่งให้เรียกหาตัวศรีปราชญ์ก็ไม่ได้ดังประสงค์ เสนาจึ่งกราบทูลว่าพระยานครฆ่าเสีย อันว่าตัวศรีปราชญ์นั้นบัดนี้ถึงแก่ความตายแล้ว พระองค์จึ่งตรัสถามเสนาว่า ศรีปราชญ์นี้มีโทษประการใดจึ่งฆ่ามันเสีย เสนาจึ่งทูลว่า ศรีปราชญ์ทำโคลงให้กับภรรยาน้อยเจ้าเมืองนคร ครั้นเจ้าเมืองนครรู้ก็โกรธจึ่งฆ่าศรีปราชญ์เสีย พระองค์ก็ทรงพระโกรธแล้วจึ่งตรัสว่า ศรีปราชญ์นี้เปนนักปราชญ์ แล้วก็เปนคนสำหรับเล่นกาพย์โคลงกับกู โทษมันแต่เพียงนี้ แต่กูยังไม่ฆ่ามันให้ตาย อ้ายเจ้าเมืองนครมันไม่เกรงกู มันฆ่าศรีปราชญ์เสียให้ตายมันทำได้ จึ่งมีรับสั่งกับเสนาให้เร่งออกไป แล้วให้เอาดาบเจ้าเมืองนครที่ฆ่าศรีปราชญ์เสียนั้น ฆ่าเจ้าเมืองนครเสียให้ตาย เสนาก็ถวายบังคมลาแล้ว จึ่งออกไปเมืองนคร ครั้นถึงจึ่งเอาดาบที่เจ้าเมืองนครฆ่าศรีปราชญ์เสียนั้น ฆ่าเจ้าเมืองนครเสียตามมีรับสั่ง อันเจ้าเมืองนครนั้นถึงแก่ความตายด้วยพระราชอาญา อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้น ได้เสวยราชสมบัติมาช้านาน อันชาวกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น แลทั้งอาณาประชาราษฎรทั้งปวงก็อยู่เปนศุขทั้งสิ้น อันพระสุริเยนทราธิบดีนั้นวันอังคารได้เสวยราชสมบัติมาแต่เมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๖๒ ปีมเสงโทศก พระชนม์ได้ ๔๙ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๗ ปี เปน ๕๖ ปีสวรรคต เมื่อศักราชได้ ๑๐๖๙ ปี ๚

๏ ครั้นพระสุริเยนทราธิบดีสวรรคตแล้ว พระราชโอรสาอันชื่อพระสุรินทรกุมาร อันเปนพระเชษฐานั้น ได้ผ่านพิภพธานี​สืบไป ในเมื่อจุลศักราชได้ ๑๐๖๙ ปีชวดนพศก จึ่งทำราชาภิเศกตามประเพณี จึ่งถวายนามเรียกว่าพระภูมินทราชาก็เรียก พระบรรยงก์รัตนาศน์ก็เรียก ทรงเบ็ดก็เรียก อันพระมเหษีนั้นพระนามเรียกเจ้าท้าวทองสุก จึ่งมีพระราชบุตรแลพระราชธิดาในเจ้าท้าวทองสุกนั้นหกองค์ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น พระนามเรียกเจ้าฟ้านเรนทร์ ถัดมาชื่อเจ้าฟ้าอไภย แล้วถัดมาชื่อเจ้าฟ้าปรเมศร์ ถัดมาชื่อเจ้าฟ้า ถัดพระกุมาร ๔ องค์ยังพระราชธิดาอิกสององค์ องค์หนึ่งพระนามเรียกเจ้าฟ้าเทพ พระธิดาสุดพระครรภ์นั้น ชื่อเจ้าฟ้าประทุม ในพระครรภ์เจ้าท้าวทองสุกนั้น ทั้งพระราชบุตรีเปนหกองค์ด้วยกัน แล้วมีในพระสนมเอกนั้นองค์หนึ่ง พระนามเรียกพระองค์เชษฐาเปนกุมาร ยังพระราชนัดดาชื่อหม่อมเจ้าเพชหึงกุมาร ยังบุตรี ๔ องค์นั้น ชื่อหม่อมเจ้าฝรั่ง ๑ หม่อมเจ้าปุก ๑ หม่อมเจ้าหงษ์ ๑ หม่อมเจ้าอิง ๑ อันพระราชนัดดาทั้งกุมารแลบุตรีทั้งสิ้น ๔ องค์ด้วยกัน ทั้งพระราชบุตรแลพระราชธิดา ทั้งพระนัดดาสิ้นทั้งเจ้าฟ้าพระองค์เจ้าทั้งสิ้น เปน ๑๑ องค์ด้วยกัน พระองค์จึ่งตั้งพระอนุชา อันชื่อพระวรราชกุมารนั้น ให้เปนที่พระมหาอุปราช อันเจ้าฟ้านเรศร์เชษฐานั้น พระมหาอุปราชขอมาเลี้ยงไว้เปนพระราชโอรส อันสมเด็จพระบิดานั้นเสน่หาในพระราชโอรสสองพระองค์ยิ่งนัก พระองค์หมายจะให้ครอบครองราชสมบัติแทนที่ พระองค์จึ่งสร้างวัดมเหยงค์อารามหนึ่ง จึ่งสร้างพระพุทธไสยาศน์พระองค์ใหญ่ที่ป่าโมกองค์ ๑ ยาวได้เส้นห้าวา ครั้นอยู่มาเมื่อครั้ง​จุลศักราชได้ ๑๐๗๖ ปีมแมฉศก ญวนใหญ่จึ่งยกทัพมาหนักหนา อันตัวนายที่เปนใหญ่มานั้นชื่อนักพระแก้วฟ้า มารบเมืองเขมร กษัตรเมืองเขมรจึ่งหนีเข้ามาพึ่งพระเดชในกรุง อันที่ชื่อนักเสด็จนั้นเปนผู้ผ่านธานี ทั้งหกนางผู้เปนมเหษี อันนักองค์เอกนั้นเปนอนุชา นักพระศรีธรรมราชานั้นเปนที่มหาอุปราช อันพระโอรสในมเหษีนั้นชื่อพระรามาธิบดีองค์ ๑ พระศรีไชยเชษฐองค์ ๑ ชื่อพระสุวรรณกุมารองค์ ๑ นักพระองค์อิ่มองค์ ๑ นักพระองค์ทององค์ ๑ นักพระอุไทยองค์ ๑ กุมารของบุตรี ๒ องค์ คือพระสุภากษัตรีองค์ ๑ พระศรีสุดาองค์ ๑ ทั้งบุตรแลธิดาเปน ๘ องค์ด้วยกัน ยังหลานสององค์คือนักองค์ปาน นักองค์ตน อันนี้เหล่ากษัตร ยังเสนาสองคือ ฟ้าทลหะนั้นฝ่ายขวา ฝ่ายซ้ายนั้นฝ่ายกลาโหมเปนต้น บรรดาอำมาตย์ทั้งปวงน้อยใหญ่เปนหลายคน กับพลห้าร้อยปลาย กับช้างเผือกพังตัว ๑ ชื่อบรมรัตนากาศไกรลาศคิรีวงษ์ อันช้างเผือกพังตัวนี้ นักเสด็จก็พาเอามาแล้ว จึ่งถวายกับพระเจ้าภูมินทราชา แล้วตัวนักเสด็จกับพี่น้องลูกหลานทั้งสิ้น ก็เข้ามาพึ่งโพธิสมภารอยู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระองค์ก็ทรงพระเมตตาแล้วสงสารกับนักเสด็จยิ่งนัก ๚

๏ ครั้นต่อมาพระเจ้าภูมินทราชาทรงพระประชวร มีพระอาการหนัก เจ้าฟ้าอไภยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์จึ่งปฤกษากันว่า พระบิดาเราทรงพระประชวรมีพระอาการหนัก เห็นจะทรงพระชนม์อยู่ไม่นาน ถ้าพระองค์เสด็จสวรรคตแล้วราชสมบัติจะไปตกอยู่กับพระมหาอุปราช ควร​เราซึ่งเปนราชโอรสจะซ่องสุมผู้คนไว้ให้มาก เวลาพระบิดาสวรรคตแล้วจะได้ต่อสู้รักษาราชสมบัติไว้ มิให้ตกไปเปนของพระมหาอุปราช แลถึงในเวลานี้ก็ควรจะเกียจกันอย่าให้พระมหาอุปราชเข้าเฝ้าเยี่ยมเยือนทราบพระอาการได้ เมื่อปฤกษาเห็นพร้อมกันดังนี้แล้ว ก็ตั้งซ่องสุมผู้คนช้างม้าเปนกำลังไว้เปนอันมาก แลอ้างรับสั่งห้ามมิให้ใครเข้าเฝ้าเยี่ยมเยือนพระอาการของพระเจ้าภูมินทราชาได้ ถึงพระมหาอุปราชก็ให้เข้าเฝ้าเยี่ยมเยือนพระอาการได้แต่เปนบางคราว พระเจ้าภูมินทราชาทรงพระประชวรหนักลงก็เสด็จสวรรคต เมื่อพระเจ้าภูมินทราชาได้เสวยราชย์พระชนม์ได้ ๓๐ พรรษา อยู่ในราชสมบัติ ๒๔ พรรษา ครั้นพระชนม์ได้ ๕๔ พรรษาก็เสด็จสวรรคต เมื่อจุลศักราช ๑๐๙๓ ปี ๚

๏ เจ้าฟ้าอไภยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์ก็ปิดความมิให้แพร่งพรายให้ใครรู้ว่าพระราชบิดาเสด็จสวรรคต ให้ตระเตรียมเครื่องสาตราวุธแลผู้คนตั้งมั่นอยู่ในพระราชวัง ๚

๏ ฝ่ายพระมหาอุปราชทรงสังเกตได้ระแคะระคายว่าเจ้าฟ้าอไภยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์เกียจกันจะเอาราชสมบัติ เห็นว่าจะเกิดเปนข้าศึกกันเปนแน่แล้ว จึ่งเกลี้ยกล่อมพระเจ้ากรุงกัมพูชาแลคนอื่นๆ ได้เปนอันมาก ตั้งมั่นอยู่ยังมิได้ทำการรบพุ่งประการใด เพราะไม่ทรงทราบว่าพระเชษฐาธิราชสวรรคต ครั้นจะลงมือรบพุ่งในเวลานั้นกลัวจะเปนคิดกบฏต่อพระเชษฐาธิราช ฝ่ายเจ้าฟ้าอไภยกับเจ้าฟ้าปรเมศร์ก็ให้เอาปืนใหญ่น้อยระดมยิงเอาพระมหาอุปราช ๆ ให้สืบว่าพระเชษฐาธิราชมีพระอาการเปนประการใด ก็ยังไม่ได้ความ จึ่งให้ตั้ง​สงบไว้มิได้ทำการสู้รบโต้ตอบ เปนแต่ให้ปูนบำเหน็จรางวัลให้ผู้คนที่ถูกเจ็บป่วยเพื่อจะรักษาน้ำใจไว้ เมื่อข้าราชการทั้งหลายทราบว่าจะเกิดสงครามในเมืองเปนแน่ ก็พากันไปเข้ากับพระมหาอุปราชเปนอันมาก เพราะเห็นว่าพระไทยโอบอ้อมอารี ในขณะนั้นมีผู้เขียนหนังสือลับบอกข่าวที่พระเจ้าภูมินทราชาเสด็จสวรรคตแล้ว ผูกติดกับช้างต้นพระเกษยเดชปล่อยไปจากพระราชวัง เพื่อจะให้พระมหาอุปราชทรงทราบความจริง ด้วยอำนาจบุญญาภินิหารของพระมหาอุปราช ช้างนั้นก็ข้ามน้ำตรงไปยังสำนักพระมหาอุปราช เหมือนดังมีคนขี่ขับไป พวกข้าราชการในพระมหาอุปราชเห็นดังนั้นก็พากันจับ เห็นหนังสือผูกติดกับช้างดังนั้น ก็นำไปถวายพระมหาอุปราช ในเวลานั้นม้าทรงของพระมหาอุปราชตัว ๑ หลุดพลัดออกจากโรง เที่ยวเตะถีบขบกัดหญิงชายเปนอลหม่าน พวกชาวเมืองกลัวม้านั้นเปนกำลัง พากันโจทย์อื้ออึงไปว่า พระมหาอุปราชให้ทหารหายตัวขี่ม้าเที่ยวปราบปรามข้าศึก กิติศัพท์ทราบไปถึงเจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์แลไพร่พลของเจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์ ต่างก็พากันย่อท้อตกใจกลัวเปนอันมาก ๚

๏ ในขณะนั้นมหามนตรีจางวางแลพระยาธรมาเสนาบดีกรมวัง กับนายสุจินดามหาดเล็กเชิญพระแสง ๓ คน จึ่งเขียนหนังสือลับมีใจความว่า พระเจ้าแผ่นดินสวรรคตแล้วแต่เวลาปฐมยาม เจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์ คิดการลับจะทำร้ายพระองค์ บรรดาข้าราชการพากันเบื่อหน่ายเอาใจออกหาก แลย่อท้อเกรงพระบารมีพระองค์เปนอันมาก ​ขอให้พระองค์ยกกองทัพเข้ามาเถิด ข้าพระองค์ทั้ง ๓ จะคอยรับเสด็จ ครั้นเขียนแล้วก็ส่งให้คนสนิทลอบไปถวายพระมหาอุปราช ๆ ได้ทราบความดังนั้นก็ทรงยินดี เวลาย่ำรุ่งก็ตระเตรียมไพร่พลเปนอันมาก ยกเข้ามายังพระราชวัง เจ้าฟ้าอไภย เจ้าฟ้าปรเมศร์ทราบว่าพระมหาอุปราชยกเข้ามาแล้ว ก็เอาพระแสงชื่อพระยากำแจกที่กำจัดไภย เปนของตั้งแต่ครั้งพระยาแกรก กับพระธำมรงค์ค่าควรเมืองแลแก้วแหวนเงินทองภูษาอาภรณ์ของดี ๆ มีราคา ทั้งเสบียงอาหารเปนอันมากให้คนขนลงบรรทุกเรือ พาข้าราชการที่สนิทชิดใช้หนีไปยังตำบลบ้านตาลาน ๚

๏ ในขณะนั้น ข้าราชการทั้งปวงจึงยกพระมหาอุปราชขึ้นเปนพระเจ้าแผ่นดิน ถวายพระนามว่า พระมหาธรรมราชา เมื่อพระมหาธรรมราชาได้เสวยราชย์แล้วทรงทราบว่า เจ้าฟ้าอไภย เจ้าฟ้าปรเมศร์เอาพระธำมรงค์กับพระแสงสำหรับพระนครแลพาข้าราชการไปมาก จึ่งให้อำมาตย์คุมพลทหารออกเที่ยวตามจับ เจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์ทราบว่าพระมหาธรรมราชาให้คนออกเที่ยวตามจับ จึ่งเก็บเอาสิ่งของแต่พอกำลังแล้วให้ล่มเรือจมน้ำเสีย พระธำมรงค์กับพระแสงก็จมอยู่ในน้ำกับเรือนั้น แล้วก็พากันหนีซุกซ่อนกระจัดกระจายไป เจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์ ได้นายบุญคงมหาดเล็กตามไปด้วยคน ๑ เที่ยวหนีซุกซ่อนอยู่ในป่า ครั้นหลายวันเข้า เสบียงอาหารก็หมดลง นายบุญคงเปนคนกตัญญูสัตย์ซื่อต่อเจ้านายของตน ก็อุสาหะเที่ยวแสวงหาอาหารมาถวาย พวกอำมาตย์ของพระมหาธรรมราชาที่เที่ยว​ติดตามไปพบนายบุญคงในกลางป่า สงไสยจึ่งจับมาเฆี่ยนถาม นายบุญคงได้ความเจ็บปวดเปนสาหัสทนไม่ได้ ก็รับเปนสัตย์ พวกอำมาตย์จึ่งให้นำไปจับเจ้าฟ้าอไภย เจ้าฟ้าปรเมศร์ได้ทั้ง ๒ องค์นำมาถวายพระมหาธรรมราชา ๆ จึงรับสั่งให้เอาเจ้าฟ้าอไภยเจ้าฟ้าปรเมศร์ไปสำเร็จโทษเสีย พวกพ้องของเจ้าฟ้าอไภย เจ้าฟ้าปรเมศร์ ซึ่งหนีซุกซ่อนไปในทิศต่างๆ ที่ตามจับได้ก็ให้ประหารชีวิตรเสียสิ้น แต่นายบุญคงนั้นทรงพระกรุณาโปรดให้เลี้ยงไว้ ด้วยรับสั่งว่าเปนคนซื่อสัตย์กตัญญูต่อเจ้านาย ๚

๏ พระมหาธรรมราชานี้มีพระมเหษี ๓ องค์ พระมเหษีใหญ่มีพระนามว่า กรมหลวงอไภยนุชิต พระมเหษีที่ ๒ พระนามว่า กรมหลวงพิจิตรมนตรี พระมเหษีที่ ๓ พระนามว่า อินทสุชาเทวี กรมหลวงอไภยนุชิตมีพระราชโอรสธิดา ๗ พระองค์ คือ ๑ เจ้าฟ้าชายนราธิเบศร์ ๒ เจ้าฟ้าหญิงบรม ๓ เจ้าฟ้าหญิงธิดา ๔ เจ้าฟ้าหญิงรัศมี ๕ เจ้าฟ้าหญิงสุริยวงษ์ ๖. เจ้าฟ้าหญิงอินทรประชาวดี ๗. เจ้าฟ้าหญิงสุริยา กรมหลวงพิจิตรมนตรีมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ พระนามว่า เจ้าฟ้าเอกทัศพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าอุทุมพรพระองค์ ๑ มีพระราชธิดา ๖ พระองค์ พระนามว่าเจ้าฟ้าศรีประชาพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าสุริยบุรพาพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าสัตรีพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าอินทวดีพระองค์ ๑ เจ้าฟ้าจันทร์พระองค์ ๑ เจ้าฟ้านุ่มพระองค์ ๑ อินทสุชาวดีมีพระราชโอรสองค์ ๑ พระนามว่าเจ้าฟ้าอัมพร มีพระราชธิดา ๒ องค์ พระนามว่า ​เจ้าฟ้ากุณฑลองค์ ๑ เจ้าฟ้ามงกุฎองค์ ๑ พระมหาธรรมราชามีพระราชโอรสเกิดแต่นางนักสนมอีกเปนอันมากรวมทั้งสิ้น ๑๐๘ องค์

๏ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาทรงตั้งเจ้าฟ้านราธิเบศร์เปนพระมหาอุปราช พระราชทานเจ้าฟ้านุ่มเปนพระมเหษี แต่เจ้าฟ้านุ่มไม่มีพระโอรสธิดา ๚

๏ แต่ก่อนเมื่อยังไม่ได้เปนพระมหาอุปราชนั้น เจ้าฟ้านราธิเบศร์ มีเจ้าหญิงมิตร เจ้าหญิงชื่น เจ้าชายฉัตร เกิดแต่หม่อมเหญก มีเจ้าชายสีสังข์เกิดแต่หม่อมจัน มีเจ้าหญิงดาราเกิดแต่หม่อมเจ้าหญิงสร้อย มีเจ้าชายมิ่งเกิดแต่หม่อมด่วน มีเจ้าหญิงชี เจ้าหญิงชาติ เกิดแต่หม่อมสุ่น รวม ๘ องค์ ๚

๏ ในปีนั้น เจ้าฟ้านักกายฟ้าเจ้าเขมรนำช้างเผือกพังมาถวายพระมหาธรรมราชาช้าง ๑ พระมหาธรรมราชาพระราชทานนามว่า วิไชยหัศดี เจ้าฟ้านักพระอุไทยพระเจ้ากรุงกัมพูชาให้นำช้างเผือกพลายมาถวายช้าง ๑ พระราชทานนามว่า พระบรมราชไทยศวร ช้างเผือกตัวนี้มีข้างเบื้องซ้ายขาวมากกว่าข้างเบื้องขวา พระยานครศรีธรรมราชจับได้ช้างเผือกช้าง ๑ มาถวาย พระราชทานนามว่า บรมคชลักษณสุประดิษฐ เจ้าเมืองเพ็ชรบุรีจับได้ช้างเผือกช้าง ๑ มาถวาย พระราชทานนามว่า บรมนาเคนทร กรมการจับช้างเผือกเข้าพเนียดเมืองนครไชยศรีได้ ๔ ช้างมาถวาย พระราชทานนามว่า ​บรมคชช้าง ๑ บรมพิไชยช้าง ๑ บรมจักรช้าง ๑ จอมพลสำเนียงช้าง ๑ แล้วให้มีการมหรศพสมโภชเปนอันมาก ๚

๏ ครั้นลุศักราช ๑๐๙๕ ปี พระมหาอุปราชทิวงคต พระมหาธรรมราชาจึงทรงตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพรเปนพระมหาอุปราช พระราชทานเจ้าท้าวต่อยธิดาของพระมหาอุปราชที่ทิวงคตให้เปนพระมเหษี ๚

(เข้าความฉบับหลวง)

๏ ครั้นอยู่มาเมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๐๙๖ ปีเถาะฉศก จึ่งพระเจ้าลังกาอันได้ครองเมืองศิริวัฒนบุรี จึ่งมีพระประสงค์ที่จะบำรุงพระสาสนาในเมืองสิริวัฒนบุรีอันเศร้าหมองไป จึ่งให้แต่งพระราชสาสนใส่ในแผ่นสุพรรณบัตรเปนสำเนา จึ่งให้การะอำมาตย์เปนอุปทูต ศิริวัฒนอำมาตย์เปนราชทูต อันเครื่องบรรณาการนั้น คือสังข์ทักขิณาวัฏปากเลี่ยมทอง กับเครื่องบรรณาการทั้งปวงเปนอันมาก จึ่งให้อุปทูตราชทูตถือพระราชสาสน ทั้งคุมเครื่องบรรณาการทั้งปวงกับผู้คนเปนอันมาก ลงสำเภาแล้วใช้ใบเข้ามากรุงศรีอยุทธยา เปนทางพระราชไมตรี ครั้นสำเภาเข้ามาจอดแล้ว อุปทูตราชทูต จึ่งเข้าแจ้งความกับอรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ คือเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ฝ่ายกรมท่า ส่วนเสนาผู้ใหญ่ครั้นแจ้งความแล้ว ก็เข้าไปกราบทูลฉลองกับพระมหาบรมราชา พระองค์จึ่งมีรับสั่งให้เบิกราชทูตเข้ามาในพระราชวังใหญ่ เสนาผู้ใหญ่รับพระราชโองการแล้วก็ออกมา จึ่งสั่งกับกรมเมืองให้ตกแต่งบ้านเมืองให้งามให้​สอาด กรมเมืองจึ่งให้นครบาลไปป่าวร้องให้ทำทางแล้ว ให้พ่อค้าทั้งปวงมาตั้งร้านรวงค้าขายกัน ทั้งผ้าผ่อนแพรพรรณต่าง ๆ นา ๆ ทั้งเครื่องสิ่งของดี ๆ ครบครัน แล้วให้มานั่งค้าขายกันที่ตามถนนหนทางที่แขกเมืองจะเข้ามาเฝ้า แล้วให้เอาช้างลงน้ำทุกประตูเมือง ตามทางแขกเมืองที่จะมานั้น ครั้นตกแต่งบ้านเมืองแล้ว ส่วนเจ้าพระยากรมท่านั้น จึ่งปลูกโรงรับแขกเมืองตามที่ตามทาง แล้วก็เลี้ยงดูตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา แล้วพระยากรมท่าให้ราชมนู, เทพมนู, นำแขกเมืองลังกาเข้ามา ครั้นแขกเมืองเข้ามาแล้ว จึ่งรับแขกเมืองยั้งไว้บนศาลหลวง แล้วจึ่งให้ล่ามแปลสำเนาพระราชสาสนที่มาทั้งสิ้น ๚

๏ พระองค์เสด็จออกนั่งแขกเมืองนานาประเทศตามอย่างธรรมเนียมที่มีในนี้ อันน่าฉานซ้ายขวานั้น ตั้งเสวตรฉัตรอันคันนั้นหุ้มทองประดับ อันยอดแลกำภูขอบระบายนั้นทอง จึ่งตั้งตรงน่าฉานซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คัน แล้วรองมาจึ่งมยุรฉัตรข้างซ้าย ๔ แถว ขวา ๔ แถว แต่บรรดาเครื่องสูงนั้นคือจามร บังสูรย์ อภิรุม พัชนี อันเครื่องสูงเหล่านี้ล้วนทองประดับทั้งสิ้น จึ่งตั้งตรงน่าฉานซ้าย ๔ แถว ขวา ๔ แถว อันน่าเครื่องสูงนั้นจึ่งตั้งเตียงทองประดับกระจกแล้วปูสุจนี่ทั้งซ้ายขวา สำหรับตั้งพานพระราชสาสน อันพานที่รองพระราชสาสนนั้น พานทองประดับ อันที่พระมหาอุปราชเสด็จนั่งนั้น ตั้งเครื่องมหาอุปโภคพานทอง ประดับใส่พระศรีแลพานพระศรี แล้วพระเต้าครอบทองประดับ แลพระสุพรรณศรีประดับ แล้วรอง​พระมหาอุปราชมา จึ่งถึงที่ลูกหลวงเอก คือเจ้าฟ้าเสด็จนั่งซ้ายขวา ตั้งเครื่องมหาอุปโภคนั้นลดลงมากับพระมหาอุปราช แล้วจึ่งที่ลูกหลวงโท คือพระองค์เจ้าต่างกรม อันเครื่องอุปโภคนั้นลดลงมากับเจ้าฟ้า แล้วจึ่งพระราชวงษาแลราชนิกูล คือพระพิเรนทรเทพ พระเทพวรชุน พระอไภยสุรินทร์ พระอินทรอไภย แล้วจึ่งถึงที่อรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ คือที่เจ้าพระยามหาอุปราชแล้ว เจ้าพระยาจักรี กลาโหม ที่อรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งนั่งซ้ายขวากัน แล้วถึงพระยามหาเสนา พระยามหาอำมาตย์ซ้ายขวา สองคนนี้รองเจ้าพระยาลงมา แล้วจึ่งพระยาอไภยราชา พระยาอไภยมนตรีเปนซ้ายขวากัน แล้วจึ่งจัตุสดมภ์ทั้งสี่ คือกรมเมือง พระยายมราช กรมวัง พระยาธรมา กรมคลัง พระยาราชภักดี กรมนา พระยาพลเทพ แล้วจึ่งพระยารัตนาธิเบศร์ พระยาธิเบศร์บริรักษ์ สองคนนี้นั่งที่ซ้ายขวากัน แล้วจึ่งพระยาราชสงคราม พระยาเดโชนั่งซ้ายขวากัน แล้วจึ่งพระมหาเทพ พระมหามนตรี ราชรินทร์ อินทรเดชะ อันสี่คนนี้กรมวัง ทั้งสี่ที่หัวหมื่นตำรวจใน ก็นั่งตามตำแหน่งเปนซ้ายขวากัน แล้วพระเทพโยธา พระสมบัติธิบาล พระพิพัฒน์ พระอำมาตย์ พระบำเรอภักดิ พระชำนิ พระกำแพง พระยาราชวังเมือง สองคนนี้กรมช้าง พระศรีเสาวภักดิ หลวงทรงพล อันสองคนนี้กรมม้า นั่งเฝ้าซ้ายขวากันตามที่ตามทาง ยังเหล่ามหาปโรหิตราชครู คือพระครูพิราม พระครูมโหสถ พระครูวิเชต พระครูมเหธร พระครูสังฆาราม พระครูกฤษณา ​พระกฤษณราช อันมหาปโรหิตทั้งแปดคนนี้ก็นั่งเฝ้าอยู่เปนซ้ายขวากันตามที่ แต่บรรดาเจ้าพระยา แลพระยา แลราชนิกูล พระ หลวง ขุน หมื่น ทั้งขุนนางพราหมณ์ ขุนนางแขก ขุนนางฝรั่ง ขุนนางเจ๊ก ขุนนางมอญ ขุนนางลาว แลทั้งเศรษฐีคหบดีทั้งปวง นั่งเฝ้าตามที่ตามตำแหน่ง ซ้าย ๘ แถว ขวา ๘ แถว เบ็ดเสร็จเปนมุขอำมาตย์ ๔๐๐ อันเจ้าพระยานั้นตั้งเครื่องอุปโภคพานทองเจียดทองเครื่องทั้งปวง เปนชั้นเปนหลั่นกันลงมาตามที่ อันพระหลวงขุนหมื่นนั้นมิได้มีเครื่องบริโภค อันน่าพระลานน่าฉานนั้นตั้งกองโยนร้อยหนึ่ง ฆ้องแตรสำหรับรับเสด็จส่งเสด็จ อันน่าพระลานซ้ายขวานั้นมีทหารข้างละ ๑๐๐ ใส่หมวกทองใส่เสื้อเสนากุฎ สัพสรรพอาวุธครบมือกันทั้งสิ้น อันข้างปราสาทซ้ายขวานั้น มีได้โกลาอานบังสำหรับผูกช้างต้น ช้างเผือกแลช้างเนียม อันเครื่องช้างนั้นทองประดับฝรั่งเศส มีข่ายทองปักน่า ภู่ผ้าปักหลัง กรองเชิงประดับ ๔ เท้า อันเครื่องกินนั้นแต่ของทองเงินมีฝาใส่หญ้ากล้วยอ้อย แล้วมีสัปทนแส้กะตักคันเงิน มีเครื่องกินรองกระยาหารเงิน ๚

๏ อันเหล่าช้างจลุงรายซ้าย ๘ เชือก ขวา ๘ เชือกนั้นตกแต่งประดับประดาเปนหลั่นกันตามที่ อันม้าต้นซ้ายขวาน่าฉานนั้น ผูกอานพระมหาเนาวรัตน อันเครื่องกินนั้นมีตะคองน้ำทอง มีถาดเงินรองหญ้าถั่วเข้า แล้วมีสัปทนแลไม้เตือนคันเงิน อันเหล่าม้าที่นั่งรองซ้าย ๘ ขวา ๘ นั้น ผูกเครื่องทองรองเปนหลั่นกันตามที่ ๚

​๏ อันฝ่ายข้างบนพระที่นั่งนั้น มีเครื่องราชาอุปโภค มีพานพระขันหมาก ๒ ชั้นเชิงครุธถมราชาวดีประดับตั้งซ้าย ๔ ขวา ๔ แล้วมีพระสุพรรณศรี ทั้งพระสุพรรณราช พระคันทีทองประดับพระเต้าครอบทองประดับ จึ่งตั้งซ้าย ๔ แถว ขวา ๔ แถว แล้วจึ่งตั้งเครื่องเบญจกุกกุภัณฑ์ทั้ง ๕ คือพระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร ฉลองพระบาท ทั้งเครื่องมหาพิไชยสงครามทั้ง ๕ คือ พระมาลา ศร พระแสงง้าว พระแสงหอก พระแสงขอ เปน ๕ สิ่งด้วยกัน จึ่งตั้งซ้ายขวา แล้วจึ่งหัวหมื่นมหาดเล็ก เกณฑ์นั่งหลังเครื่องสูง น่าราชบัลลังก์นั้น คือจมื่นสารเพธภักดี จมื่นศรีเสาวรักษ์ จมื่นไวยวรนารถ จมื่นเสมอใจราช อันสี่คนนี้เปนนายมหาดเล็กทั้งสิ้น แล้วจึ่งบำเรอภักดิ หมื่นจง อันสองคนนี้เปนปลัดวัง รองหัวหมื่นมหาดเล็กลงมา จึ่งนั่งซ้ายขวากัน ๚

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2567 14:29:18 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 29 เมษายน 2567 11:26:47 »

              
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

(ต่อนี้ฉบับขาด ใช้ความฉบับคำให้การชาวกรุงเก่า)

๏ ให้พระราชวงษานุวงษ์ เจ้าประเทศราช แลข้าราชการทั้งปวง แต่งตัวเต็มยศเข้าเฝ้าอยู่ตามถานานุศักดิ พระมหาธรรมราชาจึ่งรับสั่งให้เบิกทูตลังกาเข้ามาในพระนครตามระยะทางที่ตกแต่งไว้ เมื่อทูตลังกาไปถึงขบวนใด ๆ เช่นขบวนจตุรงคเสนา ขบวนเหล่านั้นก็ทำความเคารพตามธรรมเนียม ไปถึงพวกดนตรี ๆ ก็ประโคมขับร้อง ไปถึงข้าราชการเจ้ากระทรวงเจ้าน่าที่ต่าง ๆ ก็ทำปฏิสันฐารต้อนรับแสดงความปราไสต่อกัน จนกระทั่งถึงที่ประทับพระที่นั่งมหา​ปราสาทข้างน่า ทูตลังกาจึ่งถวายพระราชสาสนแลเครื่องราชบรรณาการ ในพระราชสาสนมีใจความว่า ข้าพระองค์ผู้เปนพระอนุชาผ่านพิภพสิงหฬทวีป ขอโอนเศียรเกล้าถวายบังคมมายังพระเชษฐาธิราช พระเจ้ามหาธรรมราชา ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุทธยา ด้วยข้าพระองค์ได้ทราบพระเกียรติยศเกียรติคุณของพระเชษฐาธิราช ว่าทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนัตตยาธิคุณ แผ่เผื่อเกื้อหนุนแก่สมณชีพราหมณาจารย์ถ้วนหน้า บำรุงพระพุทธสาสนาเปนสาสนูปถัมภก โปรดให้หมู่สงฆ์เล่าเรียนพระไตรปิฎกเปนนิตยกาล แลคัดลอกจดจานแบบแผนพระไตรปิฎกไว้ พระคุณเหล่านี้เปนเครื่องจูงใจข้าพระองค์ซึ่งอยู่ห่างต่างประเทศ ให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายบังคมชมพระบารมี อนึ่งข้าพระองค์ก็มีจิตรยินดีเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา แต่ในลังกาทวีปมีแบบแผนพระปริยัติธรรมขาดบกพร่องเคลื่อนคลาศ ทั้งภิกษุสงฆ์ที่เฉลียวฉลาดอาจจะรอบรู้ในพระไตรปิฎกก็ไม่มี โดยเหตุนี้ข้าพระองค์ขอพระบารมีพระเชษฐาธิราชเจ้า โปรดพระราชทานซึ่งภิกษุสงฆ์ที่รอบรู้พระปริยัติสาสนา เพื่อได้สั่งสอนชาวลังกาที่เลื่อมใส เปนอายุพระพุทธสาสนาสืบไปสิ้นกาลนานเทอญ ๚

๏ เมื่อพระมหาธรรมราชาทรงทราบพระราชสาสนแล้ว จึ่งมีพระราช ปฏิสัณฐารถามถึงพระเจ้ากรุงลังกา แลพระมเหษี พระราชโอรส เสนามาตย์ข้าราชการ เข้าปลาอาหาร บ้านเมืองชนบท ว่าเรียบร้อยเปนศุขสำราญอยู่ฤๅอย่างไร ราชทูตก็กราบทูลว่าเจริญศุขอยู่ทุกประการ ครั้นสมควรเวลาแล้วเสด็จขึ้น ราชทูตก็ออกไปพักอยู่ที่สถานทูต ๚

​๏ พระมหาธรรมราชาจึ่งให้ข้าราชการผู้ใหญ่เข้ามาเฝ้าพร้อม แล้วรับสั่งว่า บัดนี้พระเจ้ากรุงลังกามีราชสาสนเข้ามาขอพระภิกษุที่ชำนาญในพระไตรปิฎก ท่านทั้งปวงจงเลือกคัดพระภิกษุที่ชำนาญในพระไตรปิฎก กับพระปฏิมากรเปนธรรมบรรณาการส่งไปถวายพระเจ้ากรุงลังกา ข้าราชการรับพระราชโองการแล้ว ก็เลือกคัดได้พระราชาคณะ ๒ รูป คือ พระอุบาฬี ๑ พระอริยมุนี ๑ กับพระสงฆ์อิก ๕๐ รูป แลพระปฏิมากร พระยืนห้ามสมุท กับพระปฏิมากรอื่นอิก ๑๐ องค์ แลพระไตรปิฎกกับเครื่องบรรณาการอื่นๆ อิกเปนอันมาก ครั้นจัดเสร็จแล้วจึ่งกราบทูลพระมหาธรรมราชา ๆ จึ่งทรงตั้งให้ข้าราชการที่เฉลียวฉลาด ๓ คน คือ พระสุนทร ๑ พระสุธรรมไมตรี ๑ กุมมรไทย ๑ เปนราชทูต, อุปทูต, ตรีทูต, กำกับไปกับอำมาตย์ราชทูตเมืองลังกา ครั้นสำเภาแล่นออกไปในมหาสมุท ก็บังเกิดเปนแสงแดงโตประมาณเท่าผลหมากตรงศีศะเรือ พวกกับตันแลต้นหนเห็นแล้วก็สดุ้งตกใจ ด้วยเคยสังเกตว่าอากาศชนิดนี้เคยเกิดลมอันร้ายแรง จึ่งสั่งให้พวกในสำเภากินเข้าปลาอาหารซึ่งจะอิ่มทนได้หลาย ๆ วัน แลให้นุ่งห่มผ้าน้ำมันเตรียมพร้อมทุกตัวคน ขณะนั้นพระอุบาฬีกับพระอริยมุนี แลพระสงฆ์ทั้งปวง จึ่งให้เชิญพระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทมาประดิษฐานที่ศีศะเรือสำเภา แล้วพากันนั่งเรียงแถวทั้งซ้ายขวาพระปฏิมากร เจริญพระพุทธมนต์เปนปรกติอยู่ ไม่ช้าก็เกิดลมสลาตันกล้าขึ้นกล้าขึ้นทุกที กระทั่งเปนสีแดงไปทั่วอากาศ พัดตรงมาที่เรือ พวกมนุษย์ในเรือก็พากันร้องไห้​รักตัวเปนอันมาก ด้วยอำนาจพระพุทธปฏิมากรห้ามสมุท แลอำนาจพระพุทธมนต์แลศีลาธิคุณแห่งพระผู้เปนเจ้าเหล่านั้น พอลมสลาตันพัดมาถึงเรือก็หลีกเปนช่องเลยไป ลูกคลื่นใหญ่ ๆ มาใกล้เรือก็หายไป พวกกับตันแลต้นหนเห็นอัศจรรย์ดังนั้นก็พากันยินดี จึ่งให้จดวันคืนที่เกิดลมสลาตันไว้ แลพากันสรรเสริญคุณพระรัตนไตรยเปนอันมาก แล้วพากันทำสักการบูชา ครั้นสำเภาไปถึงกรุงลังกาแล้ว ราชทูตลังกาก็พากันเข้าไปกราบทูลพระเจ้ากรุงลังกาว่า พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระพุทธปฏิมากรแลพระไตรปิฎก กับพระสงฆ์มาอิกหลายรูป แล้วกราบทูลความที่เกิดคลื่นลมร้ายแรงขึ้น แลพระสงฆ์ได้พากันตั้งพิธีเจริญพระพุทธมนต์ แลคลื่นลมหายไป ถวายพระเจ้ากรุงลังกาทุกประการ พระเจ้ากรุงลังกาก็ทรงยินดีเปนอันมาก รับสั่งให้ลาดปูพรมเจียม แลดาดผ้าขาวตั้งแต่พระราชวัง กระทั่งถึงท่าเรือ ให้ประดับประดาวิจิตรงดงาม แล้วให้แห่แหนพระพุทธปฏิมากรแลพระไตรปิฎก กับพระสงฆ์ทั้งปวงเข้าไปในพระราชวัง แล้วนิมนต์ให้พระสงฆ์ทั้งปวงนั่งบนอาศน ทรงทำปฏิสันฐารถามถึงศุขทุกข์ไพร่บ้านพลเมืองข้างกรุงศรีอยุทธยาตามพระราชประเพณี แสดงความยินดีต่อพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ซึ่งได้มีพระไทยเอื้อเฟื้อเปนอันมาก แล้วให้สร้างปราสาทเชิญพระปฏิมากรแลพระไตรปิฎกประดิษฐานไว้ ฝ่ายพระสงฆ์ทั้งปวง​นั้นพระเจ้ากรุงลังกาก็ให้สร้างอารามถวาย แลทรงอุปถัมภ์ค้ำชูมิให้เดือดร้อน ชาวบ้านชาวเมืองทั้งปวงก็พากันเลื่อมใสในพระพุทธสาสนา ให้บุตรแลทาษบวชเปนภิกษุสามเณรรวม ๕๐๐ เศษ ฝ่ายพระอุบาฬี พระอริยมุนี ก็ตั้งใจสั่งสอนภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมมิได้ขาด ครั้นนานมาเห็นว่าพระปริยัติธรรมแพร่หลาย มีศิษย์ที่เชี่ยวชาญมากแล้ว จึ่งเข้าไปถวายพระพรกับพระเจ้ากรุงลังกาว่า จะขอถวายพระพรลากลับพระนครศรีอยุทธยา พระเจ้ากรุงลังกาก็ให้ทำการสมโภช แล้วจัดไทยธรรมถวายเปนอันมาก ให้พวกสำเภารับมาส่งยังกรุงศรีอยุทธยา ครั้นพระอุบาฬีกับพระอริยมุนีมาถึงกรุงศรีอยุทธยาแล้ว จึ่งเข้าไปเฝ้าพระมหาธรรมราชา ทูลความตั้งแต่ไปสำเภาถูกลมสลาตัน ตลอดกระทั่งได้สั่งสอนให้ภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระปริยัติธรรม แล้วทูลลาพระเจ้ากรุงลังกากลับ ถวายพระมหาธรรมราชาทุกประการ พระมหาธรรมราชาก็ทรงยินดีเปนอันมาก ๚

๏ แลพระมหาธรรมราชานั้นมีพระราชศรัทธามาก ให้สร้างพระอารามใหญ่ถึง ๗ พระอาราม ดือ วัดคูหาสระ ๑ วัดกุฏิดาว ๑ วัดวรเสลา ๑ วัดราชบุรณะ ๑ วัดวรโพธิ์ ๑ วัดพระปรางค์ ๑ วัดปราไทย ๑ สร้างพระนอนใหญ่ขึ้นองค์ ๑ พระราชทานนามว่า พระนอนจักรศรี เสร็จแล้วบริจาคพระราชทรัพย์ บำเพ็ญพระราชกุศลเปนการฉลองเปนอันมาก แลทรงพระกรุณาโปรดห้ามมิให้ใครฆ่าสัตว์ในบริเวณพระนครศรีอยุทธยา ข้างทิศเหนือ,ทิศใต้,ทิศตวันตก,​ทิศตวันออก, ข้างละโยชน์ๆ ในกาลนั้นมีบ่อทองเกิดขึ้นที่บางตะพาน มีผู้ร่อนทองเข้ามาถวาย บางตะพานจึ่งเปนส่วยทองแต่นั้นมา ๚

๏ แลพระมหาธรรมราชานั้น ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบริจาคแก้วแหวนเงินทองพระราชทานแก่ยาจกวรรณิพกเปนอันมาก แลให้ทำฉลากมีนามพระมเหษี พระราชโอรส พระราชธิดา พระสนม ช้าง ม้า รถ เครื่องทรง แล้วทรงแจกจ่าย ใครได้ฉลากอย่างไร ให้นำมาขึ้น พระราชทานค่าไถ่ถอนตามสมควรมากแลน้อย ๚

๏ พระมหาธรรมราชาพระราชทานพระราชทรัพย์ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดซุดโซมปีละร้อย พระราชทานผ้าไตรเพื่อกฐินกิจปีละร้อยไตร แลพระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับมีมหรศพสมโภชพระพุทธรูป ๔ พระองค์ คือ พระพุทธรูปสุรินทร์องค์ ๑ พระพุทธรูปที่เมืองนครศรีธรรมราชองค์ ๑ พระพุทธรูปที่เมืองพิศณุโลกองค์ ๑ พระพุทธรูปสำหรับกรุงศรีอยุทธยาองค์ ๑ องค์ละ ๕๐ ทุกๆ ปีมิได้ขาด พระราชทานทรัพย์ปฏิสังขรณ์พระพุทธบาทอิกปีละร้อย แลให้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ฉันเช้าทุกๆ วันมิได้ขาด เวลามีสุริยุปราคา จันทรุปราคา ก็พระราชทานเสื้อ ผ้า เงินเฟื้อง เงินสลึง เข้าปลาอาหาร แก่พวกยาจกวรรณิพกคนเจ็บไข้แลทารกเปนต้น ถึงเวลาเข้าพรรษาก็ทรงสมาทานอุโบสถศีลเดือนละ ๘ ครั้ง บรรดาพระราชวงษานุวงษ์แลมหาดเล็กทั้งปวงนั้น เมื่ออายุครบอุปสมบทก็ทรงเปนพระธุระในการจัดให้อุปสมบท ถ้ายังมิได้อุปสมบทแล้วก็ยังไม่ให้รับราชการ ๚

​๏ ต่อมาพระมหาธรรมราชาทรงพระดำริห์ว่า พระพุทธบาทที่เขาสุวรรณบรรพตนั้น มีวัดวาอารามที่พระมหากษัตรแต่ก่อนให้สร้างขึ้นชำรุดซุดโซมมาก จึ่งให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งสิ้น แลมณฑปพระพุทธบาทนั้นให้ลงรักปิดทอง ข้างในมณฑปให้แผ่เงินปูเต็มตลอดพื้น ฝาผนังให้ประดับกระจกงดงาม บนเพดานแลชื่อนั้นก็ให้ลงรักปิดทองฉลุเปนกนกช่อห้อย แขวนโคมแก้วโคมระย้าสีต่างๆ ที่รอยพระพุทธบาทนั้น ให้บุทองคำเปนลายบัวหงายประดับรอบ แล้วให้เอาทองคำมาจำลองเปนรอยพระพุทธบาทประดับพลอยทับทิมสวมครอบลงข้างบนพระพุทธบาท ประตูสำหรับเข้าออกนั้นให้ประดับด้วยมุกเปนลวดลาย กันสาดครอบมณฑปนั้นให้มุงกระเบื้องแล้วด้วยดีบุกทั้งสิ้น ตามลวดลายมณฑปนั้นให้ลงรักปิดทองเปนพื้น ระเบียงรอบมณฑปแลพื้นระเบียงให้ประดับปูลาดตัวอิฐดีบุกทั้งสิ้น แล้วให้ก่อพระเจดีย์ศิลาอ่อนสูงประมาณ ๒ ศอก ห่างกันประมาณคืบ ๑ ฤๅกำมา ๑ รอบกำแพงแก้ว แล้วให้ก่อกำแพงแก้วแล้วด้วยอิฐดีบุกรอบลานพระพุทธบาท มีด้านกว้างแลด้านยาวพ้นออกไปจากมณฑปด้านละ ๒๐ วา แล้วลงรักปิดทอง ทำเปนกอบัว ใบบัว ดอกบัว บุทองแดงประดับ ลงรักปิดทอง พาดตามกำแพงรอบ แล้วขุดอุโมงค์ในกำแพงแก้วกว้างยาว ๑๕ วา ๑ ศอกเท่ากันแล้วก่อด้วยอิฐสร้างพระพุทธรูปประดับมุกไว้องค์ ๑ แลก่อตึกภัณฑาคารสำหรับเก็บสิ่งของที่คนนำมาบูชาพระพุทธบาท จัดให้มีเจ้าพนักงานรักษา เกณฑ์ให้ราษฎรตำบลบ้านขุนโขลนเปนส่วยขี้ผึ้งน้ำมันสำหรับจุดบูชา​พระพุทธบาท แลให้สร้างบันไดที่จะขี้นลงทางทิศใต้ทาง ๑ ทิศตวันตกทาง ๑ ที่เชิงเขาพระพุทธบาทนั้นให้สร้างอารามขึ้นอาราม  ๑ ให้พระครูมหามงคลเทพมุนี ๑ พระครูรองพระวินัย ๑ อยู่ประจำรักษาพระอาราม แลตั้งให้เจ้าพนักงานรักษาพระอารามส่งของขบฉัน ดูแลซ่อมแซมมิให้ชำรุดซุดโซมได้ เวลาเดือน ๔ พระมหาธรรมราชาเสด็จไปนมัสการกับด้วยพระราชวงษ์แลเสนาข้าราชการเปนอันมากทุก ๆ ปี ประทับอยู่ที่พระพุทธบาท ๗ ราตรี ให้มีมหรศพสมโภช แลทรงบริจาค เสื้อ ผ้า เงินบาท เงินสลึง เงินเฟื้อง เข้าปลาอาหารพระราชทานแก่ยาจกวรรณิพกถ้วนทั้ง ๗ วันแล้วจึ่งเสด็จกลับดังนี้มิได้ขาด ๚

๏ ต่อแต่พระพุทธบาทไปทางลำแม่น้ำทิศเหนือมีภูเขาอยู่แห่ง ๑ ชื่อเขาปถวี เขาปถวีนั้นมิเพิงผาชะโงกเงื้อมออกไปเหมือนงูแผ่แม่เบี้ย ในเงื้อมเขานั้นมีพระฉายหันพระภักตร์ไปข้างทิศบุรพาปรากฎอยู่ สีผ้าทรงพระฉายนั้นยังสดใสอยู่มิได้เศร้าหมอง ที่พระฉายนั้นไม่มีมณฑปที่จะกันแดดแลฝน เพราะว่าฝนตกไม่ถูก น้ำฝนไหลอ้อมไปทางอื่น พระมหากษัตรแต่โบราณได้สร้างพระมณฑปขึ้นหลายครั้งก็หาคงอยู่ไม่ มีคำเล่ากันว่าพระอินทรแลเทวดามาทำลายเสีย สร้างได้แต่ศาลาสำหรับคนขึ้นนมัสการพักอาไศรย กับบันไดสำหรับขึ้นลงเท่านั้น เมื่อถึงฤดูเดือน ๔ พระมหากษัตรแต่ก่อนๆ ย่อมพาราชบริพารเสด็จขึ้นไปนมัสการ มีการสมโภชแลบำเพ็ญพระราชกุศลเสมอ ๆ เปนประเพณี พระมหาธรรมราชานี้ก็ได้เสด็จไปนมัสการอยู่เสมอ ๆ เหมือนกัน ๚

​๏ ครั้ง ๑ ฝนแล้ง ราษฎรทำนาไม่ได้ผล ทั้งผลไม้แลผักปลาก็กันดาร พระเจ้ามหาธรรมราชาจึ่งรับสั่งให้นิมนต์พระอาจารย์อรัญญวาสีอริยวงษ์มหคุหา (คือสมเด็จพระอริยวงษาคตญาณ) กับพระอาจารย์คามวาสีพระพิมลธรรมมาแล้ว จึ่งรับสังว่า บัดนี้เกิดไภยคือฝนแล้ง ราษฎรพากันอดอยาก ท่านอาจารย์ทั้ง ๒ จะคิดประการใด จึ่งจะให้ฝนตกได้ พระอาจารย์ทั้ง ๒ ก็รับอาสาว่า ถึงวันนั้นคืนนั้นจะทำให้ฝนตกให้ได้ แล้วพระอาจารย์ทั้ง ๒ นั้นก็ไม่กลับไปยังพระอาราม อาไศรยอยู่ในพระราชวัง ตั้งบริกรรมทางอาโปกสิณ แลเจริญพระพุทธมนต์ขอฝน ด้วยอำนาจสมาธิแลพระพุทธมนต์ของพระผู้เปนเจ้าทั้ง ๒ นั้น พอถึงกำหนดวันสัญญา ก็เกิดมหาเมฆตั้งขึ้นทั้ง ๘ ทิศ ฝนตกลงเปนอันมาก แต่นั้นมาถ้าเกิดความไข้เจ็บขึ้นชุกชุมในบ้านเมืองแล้ว พระเจ้ามหาธรรมราชาก็ให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เข้ามาเจริญพระพุทธมนต์ มีสัตตปริตแลภาณวารเปนต้น ในที่ประชุมพระราชวงษานุวงษ์แลข้าราชการทั้งปวง แลให้ยิงปืนอาฏานามหามงคล ๑๐ นัดบ้าง ๑๕ นัดบ้าง ครั้นรุ่งเช้าก็ให้เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ด้วยอาหารอันประณีต ๚

๏ พระเจ้ามหาธรรมราชานี้ทรงเลื่อมใสในคุณพระรัตนไตรยยิ่งนัก โปรดให้นิมนต์พระภิกษุมารับพระราชทานอาหารบิณฑบาตในพระราชวังวันละร้อยรูปเปนนิตย์ ทรงบำรุงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินให้เปนศุขด้วยพระกรุณาดุจดังว่าบิดาอันกรุณาต่อบุตร พระเจ้ามหาธรรมราชานี้มิได้ทำศึกกับประเทศใดเลย มีแต่ให้ทำไมตรีกับนานาประเทศ​อย่างเดียว บ้านเมืองจึ่งอยู่เย็นเปนศุขปราศจากศึกสงครามแลโจรผู้ร้าย จนบ้านเรือนของราษฎรทั้งหลายไม่ต้องล้อมรั้วลงสลักลิ่มแลกลอน ๚


(เข้าความฉบับหลวง)

๏ อันพระบรมราชา (ตามฉบับคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระมหาธรรมราชา) นั้นได้ครอบครองขัณฑเสมาอยู่เย็นเปนศุขมาช้านาน ลางทีพระองค์ก็เสด็จไปชมตำหนักที่บางอ้อ ทั้งพระนครหลวงก็เสด็จไป จึ่งเสด็จลงทรงเรือพระที่นั่งครุธ แล้วไปชมทเลออกไปจนถึงปากน้ำพระประแดง ชมทเลทรายทั้งมีกรวดสีต่างๆ อันงามแล้วก็เสด็จกลับมากรุง ๚

๏ ครั้นถึงน่านวดเข้าก็เสด็จไปนวดเข้าที่หานตราแลสารคู ก็เล่นเปนการสนุกหนักหนา ครั้นนวดเข้าแล้วจึ่งเอาใส่ในรันแทะบ้าง ใส่ในล้อบ้าง จึ่งเหล่าพระราชบุตรแลธิดาทั้งพระสนมกำนัลพร้อมกันแล้ว ก็ชักเข้ามาในวังแล้วจึ่งทำฉัตรเข้าไปถวายพระทุกอาราม แล้วทำเข้ายาคูไปถวายพระสงฆ์ทุกอาราม อันนี้ก็เปนนิจสินทุกปีมิได้ขาด เปนสรรพการที่อันจะเล่นต่าง ๆ ทั้งช้างกับเสือสู้กันพระองค์ก็เล่น พระองค์ให้ทานนั้นก็ต่าง ๆ นา ๆ ทั้งเข้าสุนักข์แลเข้าปลา พระองค์ให้เปนทาน ๚

๏ ครั้นอยู่มาเมื่อจุลศักราช ๑๐๙๗ ปีรกาสัปตศก พระองค์ให้แต่งพระราชสาสนแลเครื่องบรรณาการทั้งปวง อันเครื่องบรรณาการนั้น คือ พานทองสองชั้นกลีบบัว มีเครื่องทองประดับ พระเจ้าครอบ​ทอง พระสุพรรณศรีทอง แลเครื่องทองทั้งปวงเปนอันมาก มีทั้งกำมะหยี่แลแพรม้วนทั้งปวงเปนอันมาก กับเรือพระที่นั่งกิ่งลำหนึ่ง จึ่งให้พระยายมราชเปนอุปทูต พระธนเปนราชทูต พระสุธรรมไมตรีเปนตรีทูต ถือพระราชสาสน อันพระราชสาสนนั้นเขียนใส่ในพระสุพรรณบัตรแผ่นทองใส่ในกลักงา แล้วจึ่งใส่ในถุงแผ่นทอง มีตรามหาโองการประทับ อันตราประทับนั้นนารายน์ขี่ครุธใช้ไปเมืองอังวะกับสำเนา อันสำเนานั้นตีตราพระราชสีห์ จึ่งให้อุปทูต, ราชทูต, ตรีทูต สามนายนี้เปนผู้ใหญ่ ถือพระราชสาสนแล้วคุมเครื่องบรรณาการกับผู้คนเปนอันมาก ไปเมืองรัตนบุระอังวะ ครั้นถึงทูตจึ่งให้เข้าไปแจ้งกับมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ๆ จึ่งเข้าไปกราบทูลกับพระเจ้าอังวะ พระเจ้าอังวะจึ่งมีพระราชโองการให้แต่งรับแขกเมืองตามอย่างธรรมเนียม อรรคมหาเสนาบดีรับสั่งแล้วก็ออกมา จึ่งปลูกจวนแลหอรับพระราชสาสนทั้งที่อยู่ครบครัน อันที่แขกเมืองอยู่นั้นทิศตวันออกแห่งกรุงอังวะ แล้วตกแต่งเลี้ยงดูบริบูรณ์ครบครัน พระเจ้าอังวะจึ่งมีรับสั่งให้รับราชทูตทั้งสามนายเข้าไป ฝ่ายอรรคมหาเสนาบดีจึ่งนำราชทูตทั้งสามนายเข้าไป แล้วจึ่งให้ยั้งอยู่ที่ศาลหลวง แล้วจึ่งให้ล่ามแปลสำเนาพระราชสาสน ครั้นแล้วจึ่งนำราชทูตแลราชสาสน ทั้งเครื่องบรรณาการเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าอังวะจึ่งแต่งองค์ทรงเครื่องแล้วก็เสด็จออกแขกเมืองตามอย่างธรรมเนียม ทั้งเสนาบดีก็แต่งเครื่องอุปโภคตามชั้น เปนหลั่นกันลงมาตามที่ตามฐาน ทั้งรี้พลแลทหารช้างม้ารถคชสารอาชา ​ก็ตกแต่งไว้เปนทัพไว้ทั้งซ้ายขวาน่าหลังครบครัน ดูครื้นเครงเปนสง่างามหนักหนา ครั้นทูตเข้าไปถึงที่เฝ้าแล้ว จึ่งกราบถวายบังคมสามท่า แล้วเสนาจึ่งอ่านทูลถวายเครื่องบรรณาการทั้งปวง ครั้นแล้วทูตจึ่งกราบถวายบังคมแล้วก็เอาพระราชสาสนนั้นอ่านถวาย อันลักษณในพระราชสาสนนั้นว่า สมเด็จพระเจ้ารัตนบุรอังวะนี้ตั้งอยู่ในปัญจศีลแลอุโบสถศีล แล้วตั้งอยู่ในธรรมสิบประการ มีพระไทยศรัทธาสร้างพระพุทธรูปพระสถูปพระเจดีย์เปนอันมาก ทั้งพระธรรมพระสงฆ์ก็บริบูรณ์ มีอานุภาพเปนอันยิ่ง แล้วมีเมตตาแก่สัตว์ครอบครองอาณาประชาราษฎรก็อยู่เย็นเปนศุข ทั้งเมืองรัตนบุระอังวะนี้ก็เปนเมืองต้นสาสนา ทั้งพระสาสนาก็รุ่งเรืองแจ่มใส อันพระเกียรติพระยศทั้งนี้ก็เลื่องฦๅไปถึงเมืองกรุงศรีอยุทธยา พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาครั้นทราบดังนี้ก็มีพระไทยรักใคร่เมตตายิ่งนัก ด้วยว่าเปนกรุงสัมมาทิษฐิด้วยกันจึ่งให้ราชสาสนแลบรรณาการขึ้นมา เปนทางพระราชไมตรี เพื่อจะใคร่เปนทองแผ่นเดียวกัน ด้วยสองกรุงนี้เปนกรุงใหญ่กว่ากรุงทั้งปวง แล้วจะได้ช่วยกันทำนุบำรุงพระสาสนา จะได้เปนเพดานทองกั้นกางในโลกพิภพทั้งสองกรุง จะได้เปนสพานเงินสพานทองแผ่นเดียวกันทั้งสองกรุง แลอาณาประชาราษฎรทั้งปวงก็จะได้มาค้าขายถึงกันสืบไปตราบเท่าจนสิ้นพระสาสนา ส่วนพระเจ้ารัตนะบุรอังวะ ครั้นแจ้งพระไทยที่ในลักษณพระราชสาสนที่มีมาดั่งนี้ ก็มีพระไทยยินดีชื่นชมยิ่งนัก ก็ทรงพระเมตตาถึงกัน จึ่งแต่ง​พระราชสาสนแลบรรณาการตอบมา อันเครื่องบรรณาการที่แต่งตอบมานั้น คือพานทองประดับ คนโทน้ำครอบทอง ผะอบเมี่ยงทอง ขันทอง กะโถนทอง กับเครื่องกระยาทั้งปวงต่างๆ กับพระภูษายกลายกงจักรมีริมแดง ทั้งผ้าทรงพระมเหษีก็ให้มา อันผ้าลายนั้นมีลายโต ๆ ต่าง ๆ กันเปนอันมาก กับเรือสารพิมานลำทรงลำ ๑ เรือลอกาลำหนึ่ง กับน้ำมันดินแลดินสอศิลา กับสิ่งของนอกนั้นเปนอันมาก จึ่งให้แมงนันทจอแทงเปนราชทูตถือพระราชสาสน แล้วคุมเครื่องบรรณาการทั้งปวงมา ครั้นถึงกรุงศรีอยุทธยา เจ้าพระยากรมท่าจึ่งให้แต่งรับแขกเมือง แล้วเลี้ยงดูตามอย่างธรรมเนียม จึ่งให้ล่ามแปลสำเนาพระราชสาสนแล้ว จึ่งนำทูตทั้งสองนายกับราชสาสนแลเครื่องบรรณาการเข้าไปเฝ้า พระองค์จึ่งเสด็จออกแขกเมือง ราชทูตจึ่งถวายบังคมสามท่า แล้วเสนาจึ่งอ่านเครื่องบรรณาการทั้งปวงถวาย แล้วทูตจึ่งอ่านพระราชสาสนถวาย อันลักษณในพระราชสาสนพระเจ้ารัตนะบุระอังวะ ให้มาถึงพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้นว่า เรานี้ขอบใจ ด้วยพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยามีเมตตาแก่เรายิ่งนัก จึ่งให้ราชสาสนมาถึงเราด้วยมีความเมตตาต่อกัน จึ่งมาก่อนเราก็คิดอยู่ว่าจักให้ราชสาสนลงไปถึงท่านผู้ทำนุบำรุงพระสาสนาอันรุ่งเรืองแจ่มใส อันเปนปิ่นอยู่ในภพโลกนี้ ก็พอท่านมีเมตตามาก่อน เราจึ่งยินดีหนักหนาที่ท่านให้มาจะเปนทองแผ่นเดียวกันนี้ ทีนี้เราทั้งสองจะได้เปนพระราชไมตรีต่อกัน จะได้เปนสพานเงินสพานทองไปมาค้าขายถึงกัน อันสัมมาทิษฐิสองกรุงนี้ จักได้เปนเพดานทอง​กั้นกางอยู่ในพิภพทั้งสองกรุง จักได้เปนที่พึ่งแห่งสมณชีพราหมณาจารย์ทั้งปวง จะได้ทำนุบำรุงพระสาสนาทั้งสองกรุงจะได้รุ่งเรืองแจ่มใส ทั้งอาณาราษฎรทั้งปวงก็จักได้อยู่เย็นเปนศุข ๚

๏ ส่วนพระบรมราชา ครั้นแจ้งที่ในลักษณพระราชสาสนทั้งสิ้น ก็ทรงพระยินดียิ่งนัก จึ่งประทานบำเหน็จรางวัลกับราชทูตทั้งสองคน ทั้งเงินทองเสื้อผ้าต่าง ๆ ทั้งสิ่งของก็ประทานเปนอันมาก แต่บรรดาพม่าที่มาทั้งสิ้นก็ประทานบำเหน็จรางวัลให้ครบตัวกันทั้งบ่าวนาย แล้วเลี้ยงดูให้กันวันละสามเวลา มิได้อนาทรสิ่งหนึ่งสิ่งใด ครั้นเมื่อทูตทั้งสองทูลลากลับ ก็แต่งบรรณาการให้ไปเปนอันมาก ครั้งนั้นกรุงรัตนบุรอังวะกับกรุงศรีอยุทธยาไปมาถึงกันเปนหลายครั้ง ๚

๏ ครั้นอยู่มาเมื่อครั้งจุลลักราช ๑๑๑๐ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จึ่งมีสมิงธอคนหนึ่งเปนชาติกวย มีบุญญาธิการยิ่งนัก ได้ราชสมบัติในกรุงหงษาวดี จึ่งคิดอ่านให้อำมาตย์มาทูลขอพระราชธิดาเมืองกรุงศรีอยุทธยา ครั้นพระบรมราชาแจ้งเหตุทรงพระโกรธ จึ่งตรัสว่า มันเปนแต่ชาติกวย มันมาขอลูกสาวกู ครั้นทรงพระโกรธดั่งนั้นแล้ว ก็มิได้ว่าขานประการใด ๚
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2567 11:29:54 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 29 เมษายน 2567 11:31:52 »

              
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ครั้นอยู่มาเมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๑๐ ปีในปีมะโรงสัมฤทธิศกนั้น เจ้าเมืองมัตตมะทั้งผัวเมีย กับผู้คนบ่าวไพร่ทั้งปวงเปนอันมาก ทั้งเจ้าเมืองทวายด้วยกัน ทั้งบ่าวไพร่ผู้คนหนีมาจากเมืองมัตตมะแลเมืองทวาย เข้ามาในแดนกรุงศรีอยุทธยา ข้างด่านทางพระเจดีย์สามองค์ นายด่านชื่อขุนนรา ขุนลคร จึ่งพาเอาตัว​เจ้าเมืองมัตตมะ, เจ้าเมืองทวาย ทั้งสองนายเข้ามาแจ้งกับเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ซักไซ้ไต่ถามจึ่งแจ้งความว่า ตัวข้าพเจ้าผู้เปนเจ้าเมืองมัตตมะนี้ ชื่อแมงนราจอสู เมียชื่อนางแมงสันเปนมอญ เรียกชื่อภาษามอญนั้นนายเม้ยมิฉาน อันเจ้าเมืองทวายนั้นชื่อแมงแลกแอชอยคอง หนีมาจากเมืองทวายแลเมืองมัตตมะ จะมาพึ่งโพธิสมภารพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ตัวข้าพเจ้าผัวเมียกับผู้คนสมกำลังบ่าวไพร่ทั้งปวงด้วยกันทั้งสิ้น จักขอเข้ามาอยู่ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท อันเจ้าเมืองทวายก็ให้การตามความที่มีมาทั้งสิ้น แล้วให้การว่าพระเจ้าอังวะตั้งให้ข้าพเจ้ามาเปนเจ้าเมืองมัตตมะ เปนผู้รักษาแดนมัตตมะแลแดนทวาย บัดนี้มอญชื่อพระยากรมช้าง พระเจ้าอังวะตั้งลงมาให้เปนเจ้าเมืองหงษาวดี คิดกบฎต่อพระเจ้าอังวะ แล้วต่อสู้รบกันเปนอันมาก ข้าพเจ้าจะยกทัพไปช่วยพระเจ้าอังวะ จึ่งเกณฑ์ผู้คนเมืองมัตตมะ ขุนนางเมืองมัตตมะจึ่งเปนกบฏ แล้วไล่จับตัวข้าพเจ้าจักฆ่าเสีย ข้าพเจ้าจึ่งหนีเข้ามาแดนเมืองทวาย จึ่งไปพบเจ้าเมืองทวายเข้าที่เมืองกะลิอ่อง ข้าพเจ้ากับเจ้าเมืองทวายจึ่งคิดอ่านกันแล้ว ก็เกณฑ์ผู้คนชาวเมืองกะลิอ่องจะขึ้นไปช่วยเจ้าอังวะ ชาวเมืองกะลิอ่องจึ่งแขงเมืองเอาแล้วไล่ข้าพเจ้าจักฆ่าเสีย ข้าพเจ้าจึ่งหนีเข้ามาพึ่งโพธิสมภาร จักอยู่ใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาไปจนตราบเท่าวันตาย แล้วแมงนราจอสูให้การว่าข้าพเจ้าไปเรียกสมิงทอนั้น ๆ ว่าขานท้าทายมาดั่งนี้ ฝ่ายกรมช้างคิดครั่นคร้ามกลัวทาง​สมิงธอจะขึ้นมา จึ่งให้ไปปลอบโยนมาแต่โดยดี แล้วจึ่งเอานางกุ้งผู้เปนลูกสาวนั้นยกให้เปนเมีย แล้วจึ่งมอบราชสมบัติให้แก่สมิงธอกรมช้าง จึ่งทำการราชาภิเศกให้สมิงธอครอบครองกรุงหงษาวดี ในปีนั้นจึ่งตั้งนางกุ้งให้เปนที่มเหษี ครั้นสมิงธอได้ครองเมืองหงษาวดีก็มีบุญญาธิการยิ่งนัก จึ่งได้ช้างด่างกระดำตัวหนึ่ง จึ่งให้ชื่อรัตนาฉัททันต์ ครั้นอยู่มาสมิงธอ จึ่งให้ราชสาสนไปถึงพระเจ้าหงษ์ดำอันเปนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่นั้น ก็กลัวบุญญาอานุภาพสมิงธอ จึ่งยกลูกสาวอันชื่อนางเทพลิลานั้นให้เปนเมียสมิงธอ สมิงธอจึ่งตั้งนางเทพลิลาอันเปนลูกสาวพระเจ้าเชียงใหม่นั้นให้เปนที่มเหษี อันนางกุ้งลูกสาวกรมช้างนั้น ให้เปนที่มเหษีขวา อันสมิงธอนั้นรักใคร่ลุ่มหลงไปแต่ฝ่ายนางเทพลิลา มิได้ทำนุบำรุงนางกุ้งที่เปนมเหษีขวา ฝ่ายกรมช้างผู้เปนพ่อตานั้นก็น้อยใจ ว่าสมิงธอนี้ไม่รักใคร่ลูกสาว กรมช้างจึ่งคิดอ่านทำการทั้งปวง ครั้นอยู่มากรมช้างจึ่งบอกข่าวช้างเผือก ว่ามีช้างเผือกผู้ตัวหนึ่ง อยู่ในป่าแดนเมืองตองอู มีรูปอันงามยิ่งนัก สมิงธอครั้นแจ้งข่าวช้างเผือก จึ่งยกทัพไปตามช้างเผือกที่ในป่า ครั้นสมิงธอไปตามช้างเผือก พระยากรมช้างจึ่งซ่องสุมผู้คนแล้วจึ่งปิดประตูเมืองให้ขึ้นน่าที่เชิงเทิน จึ่งเกณฑ์ทัพแล้วยกไปรบพุ่งสมิงธอ สมิงธอนั้นสู้รบต้านทานพระยากรมช้างมิได้ จึ่งพาเอานางเทพลิลาผู้เปนมเหษีนั้นไปส่งเสียเชียงใหม่แล้วจึ่งยกทัพกลับมาสู้รบกันกับพระยากรมช้าง สมิงธอรบพุ่งต้านทานพระยากรมช้างมิได้ ก็แตกหนี จึ่งเข้ามาพึ่งโพธิสมภารพระเจ้า​กรุงศรีอยุทธยา ครั้นแมงนราจอสูให้การดั่งนั้น เจ้าพระยาพระหลวงจดหมายเอาคำที่ให้การนั้นเข้าไปทูลฉลองกับพระบรมราชา พระบรมราชาครั้นทราบจึ่งตรัสว่า อ้ายสมิงธอนี้มันเปนชาติกวย เมื่อครั้งมันได้นั่งเมืองหงษานั้น มันให้มาขอลูกสาวเรา ใจมันกำเริบ มันไม่คิดถึงตัวมันว่าใช่เชื้อกษัตร มันจองหองมาขอลูกสาวเรา จึ่งมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เอาตัวใส่คุกไว้ แล้วให้จำจองตัวมันไว้ เจ้าพระยากรมท่าจึ่งเอาตัวสมิงธอนั้นมาใส่คุกไว้ แล้วจำจองไว้ตามรับสั่ง อันสมิงธอนั้นเปนคนดีมีความรู้ฝ่ายข้างวิปัสนาธุระแผ่เมตตาดีนัก ผลที่สมิงธอแผ่เมตตานั้น อันผู้คุมแลนายคุกก็มีเมตตาแล้วมิได้จำจอง ก็ลดลาไว้ให้อยู่ดีดี แล้วเลี้ยงดูให้กินอยู่ก็บริบูรณ์มิได้ลำบากยากใจ ครั้นกิติศัพท์นั้นรู้ไปถึงเจ้ากรมหมื่นจิตรสุนทรผู้เปนพระราชบุตร ว่าสมิงธอนี้เปนคนดีมีวิชาความรู้ดียิ่งนัก จึ่งมาเรียนความรู้ แล้วจึ่งทำนุบำรุงเลี้ยงดูให้กินอยู่มิให้อนาทรร้อนใจ แล้วจึ่งทูลเบี่ยงบ่ายแก้ไขให้สมิงธอได้ออกจากคุก ครั้นอยู่มาพระยากรมช้าง ซึ่งเปนเจ้าเมืองหงษาวดีรู้ไปว่าสมิงธอหนีเข้าไปอยู่ในเมืองกรุงศรีอยุทธยา จึ่งให้เสนาถือหนังสือเข้ามากราบทูลกับพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ว่าอย่าให้กรุงศรีอยุทธยารับตัวสมิงธอไว้ มันเปนคนไม่ตรง อกตัญญู ให้พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาส่งตัวมันมาจะฆ่ามันเสีย พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาก็มิได้ส่งตัวสมิงธอไป จึ่งฝากสำเภาจีนส่งไปเสียเมืองจีนเมื่อครั้งจุลศักราช ๑๑๑๘ ปีชวดอัฐศก เมื่อพระบรมราชาจักใกล้สวรรคต ส่วนเจ้าสำเภาจีนรับเอาตัวสมิงธอ​ไปสำเภาแล้ว จึ่งปล่อยเสียที่กลางทางแล้ว สมิงธอจึ่งตรงไปเข้าแดนเมืองเชียงใหม่ ไปหานางเทพลิลาอันเปนลูกเจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้เปนบิดา แล้วจึ่งให้ทูลขอกองทัพจักไปรบเมืองหงษา พระเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็มิได้เกณฑ์ทัพตามใจนางเทพลิลาทูลขอ ครั้นสมิงธอให้นางเทพลิลาทูลขอกองทัพไม่ได้ดั่งใจ จึ่งลักเอานางเทพลิลาได้แล้วก็พาหนีมาจากเมืองเชียงใหม่ กับผู้คนสมกำลังเปนอันมาก ครั้นมาถึงกลางทางจึ่งมาพบมางลองยกทัพออกไปรบเมืองหงษา มางลองจึ่งจับเอาตัวสมิงธอได้แล้วก็ส่งขึ้นไปเมืองอังวะ ครั้นมางลองได้เมืองหงษาแล้ว มางลองจึ่งยกทัพมารบกรุงไทย เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๑๒๒ ปีมะโรงโทศก ๚

๏ อันพระบรมราชานั้นพระองค์มีเมตตาแก่สัตว์ ทั้งตั้งอยู่ในยุติธรรม ถ้าใครชอบพระองค์ก็ตอบรางวัล ถ้าใครผิดก็ให้ลงทัณฑ์โทษา ที่ควรเลี้ยงพระองค์ก็เลี้ยงตามศักดิ์ ที่ควรฆ่าก็ฆ่าให้บรรไลย จนพระราชบุตรแลพระราชธิดาพระองค์ก็มิได้ว่า อันพระราชอาญาของพระองค์นี้ดั่งขวานไชยของรามสูร จนแต่พระมหาอุปราช ที่พระองค์รักใคร่เสน่หา ครั้นไม่อยู่ในยุติธรรมแล้ว พระองค์ก็มิได้ว่า พระองค์ก็สังหารให้ถึงแก่พิราไลย ยังพระราชบุตรสององค์พระองค์ก็ปลงชีวิตรให้ถึงแก่ความตาย แล้วพระองค์จึ่งจัดตั้งเจ้าฟ้าดอกเดื่อเปนที่พระมหาอุปราชแทนที่ ด้วยเดิมทีเมื่อแรกจะมีพระครรภ์เจ้าฟ้าดอกเดื่อนั้น พระองค์ก็ทรงพระสุบินนิมิตรฝันว่าพระองค์ได้ดอกมะเดื่อ พระองค์ทรงทำนายทายฝันพระองค์เอง ​อันว่าดอกมะเดื่อนี้ไม่มี หายากนัก ก็มาได้ดอกมะเดื่อนี้เปนลาภใหญ่ดีหนักหนา เปนที่ยิ่งอยู่ในโลก พระองค์จึ่งคิดจะให้ครอบครองราชสมบัติสืบไป จึ่งตั้งเจ้าฟ้าดอกเดื่อให้เปนที่มหาอุปราช เพื่อเหตุว่าทรงพระสุบินนิมิตรดั่งนี้ จึ่งตั้งให้เปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล อยู่วังจันทร์เกษม ได้ครองกึ่งพิภพพารา พระบิดาจึ่งสมมุตินามเรียกพระอุทุมพร เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๑๑๙ ปีฉลูนพศก พระอุทุมพรได้เปนที่มหาอุปราช รององค์สมเด็จพระบิดา ๆ ให้ว่าราชการกึ่งพิภพ อันพระบรมราชานั้น ได้เสวยราชสมบัติมาช้านานหนักหนา แต่เปนที่มหาอุปราชมาก็ช้านานได้ถึงยี่สิบปี พระชนมได้เจ็ดสิบพระวรรษา เมื่อกาลจะมาถึงที่ ด้วยพระองค์เปนอธิบดีได้เปนใหญ่อยู่ในพิภพแลนคร จึ่งมีวิปริตด้วยเทพสังหรต่าง ๆ อันกลาบาตนั้นก็ตกลงมาที่ในเมือง ทั้งฟ้าก็แดงดูดั่งแสงเพลิง อันน้ำที่ในแม่น้ำนั้นก็บันดาลให้เดือดแดงเปนสีเลือด ธุมเกตุก็ตกถูกปราสาท ทั้งอินท์ธนูลำภูกันดาวหางก็ขึ้นมา ทั้งคลองช้างเผือกก็ขวางขึ้นมาตามอากาศ ทั้งกรีกาลกะลาจักรก็ขึ้นมา ทั้งดาวก็เข้าในพระจันทร ทั้งพระอาทิตย์ก็ให้มืดเย็นเยือกไปทั่วทุกทิศ ทั้งพระจันทร์ก็แดงเหมือนแสงเพลิง ก็พากันเงียบเหงาเศร้าใจไปด้วยกันทั้งสมณะแลชีพราหมณ์ ทั้งเสนาประชาราษฎรชายหญิงแลเด็กใหญ่เฒ่าแก่ ทั้งกรุงแลขอบขัณฑเสมาของพระองค์ทั้งสิ้น ด้วยนิมิตรที่พระองค์จะนิพาน พระองค์นั้นวันเสาร์ได้เสวยราชสมบัติมาช้านาน แต่เมื่อครั้งจุลศักราชได้ ๑๐๙๓ ปีชวดจัตวาศก พระ​ชนมายุได้ ๕๑ ปี อยู่ในราชสมบัติได้ ๒๗ ปี เปน ๗๘ ปี จึ่งสวรรคต เมื่อปีสวรรคตนั้นจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาลสัมฤทธิศก เดือนเก้าแรมหกค่ำวันพุฒ เพลาได้ยามเศษ ๚

๏ เมื่อจุลศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีขาลสัมฤทธิศก วันพุฒเดือนหกแรมห้าค่ำ พระบรมราชาสวรรคตแล้ว พระอุทุมพรราชาได้ว่าราชการกรุงทั้งปวง จึ่งคิดอ่านกันกับพระเชษฐาธิราช ที่จะแต่งการพระบรมศพสมเด็จพระบิดา จึ่งมีรับสั่งให้เรียกบรรดาพระญาติวงษ์ทั้งปวงมาเปนอันมาก ฝ่ายพระญาติวงษ์น้อยใหญ่ทั้งสิ้น ก็เข้ามาถวายบังคมพร้อมกันแล้ว มีพระโองการรับสั่งให้ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ตามประเพณีตามอย่างแต่ก่อนมา บรรดาพระราชตระกูลแลเสนาอำมาตย์น้อยใหญ่เปนอันมาก ก็ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา ฝ่ายกุมารทั้งสามนั้นคือ กรมจิตรสุนทร, กรมสุนทรเทพ, กรมเสพย์ภักดี, กุมารทั้งสามนั้น พระโองการให้ไปเรียกก็มิได้มาตามรับสั่ง ขัดรับสั่งแล้วซ่องสุมผู้คนแลสาตราวุธเปนอันมาก มิได้ปรกติตามที่ตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อนมา ฝ่ายพระสังฆราชนั้นมีเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงกลัวจะเกิดเหตุจะมีอันตรายแก่สัตว์ทั้งปวง จึ่งไปเรียกกุมารทั้งสามพระองค์มา ฝ่ายกุมารทั้งสามองค์นั้น ก็เข้ามาตามพระสังฆราช จึ่งเข้าไปกราบพระศพแลกราบพระอุทุมพรราชาแล้ว ก็ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณี ​ตามอย่างธรรมเนียมแก่ก่อนมา แล้วก็คืนมายังบ้านหลวงอันเปนที่อยู่แต่ก่อน ก็มิได้ปรกติ มิได้เลิกทัพที่ซ่องสุมผู้คนแลสาตราวุธทั้งปวงนั้น แลเสนาบดีก็ให้ผู้คนไปสอดแนมดูแล ก็เห็นผู้คนแลสาตราวุธครบตัวกันซ่องสุมอยู่เปนอันมาก ครั้นคนที่ไปดูนั้นเห็นแล้วจึ่งเอาความมาแจ้งเหตุแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ ฝ่ายเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งปฤกษาโทษตามอย่างธรรมเนียมกฎพระไอยการ ก็เห็นว่าโทษผิดเปนอันมากโทษนี้ถึงตาย ครั้นปฤกษาพร้อมกันสิ้นแล้ว บรรดาเสนาบดีน้อยใหญ่ทั้งปวง จึ่งใส่ในกฎพระไอยการ จึ่งทำเรื่องราวกราบทูล ครั้นทำเรื่องราวแล้ว เสนาบดีทั้งปวงพร้อมกันเข้าไปกราบทูลฉลองแก่สมเด็จพระอุทุมพรราชา ครั้นพระอุทุมพรราชาทรงทราบแล้ว จึ่งมีพระโองการตรัสให้ทำตามบทพระไอยการตามโทษ ครั้นมีพระโองการตรัสออกมาแล้ว ฝ่ายเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งจดหมายพระโองการมาตามมีรับสั่ง แล้วจึ่งให้อำมาตย์ผู้น้อยคุมผู้คนไปเรียกสามกุมาร ๆ ครั้นอำมาตย์ไปเรียกก็ยกผู้คนตามมา มีสาตราวุธเปนอันมาก ครั้นมาถึงประตูพระราชวังแล้ว ฝ่ายผู้คนที่รักษาประตูพระราชวังนั้นจึ่งออกห้ามปราม มิให้ผู้คนทั้งปวงนั้นเข้าไป บรรดาผู้คนทั้งปวงที่ตามสามกุมารมานั้น ก็หยุดอยู่ที่นั้น มิได้ตามไปในพระราชวัง ฝ่ายกุมารทั้งสามองค์นั้น ก็เข้าไปในพระราชวังทั้งสามองค์ ฝ่ายเสนาบดีทั้งนั้นจึ่งจับกุมารทั้งสามนั้นล้างเสียให้ถึงแก่ความพิราไลยตามกฎพระไอยการที่มีมาตามอย่างธรรมเนียมแต่ก่อน ตามมีพระโองการรับสั่งมา ครั้นสิ้นเสี้ยนศัตรูแล้ว พระ​อุทุมพรราชากับพระเชษฐาธิราชนั้น ก็คิดอ่านกับที่จะทำการพระบรมศพ แล้วพระองค์จึ่งมีพระโองการให้มีตราพระราชสีห์ไปทุกประเทศราช ให้ชุมนุมกษัตรทั้งปวงทุกหัวเมืองขึ้น บรรดาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งสิ้น ให้มาปลงพระบรมศพสมเด็จพระบิดาแล้ว จึ่งเอาน้ำหอมแลน้ำดอกไม้เทศแลน้ำกุหลาบน้ำหอมต่าง ๆ เปนอันมากมาแล้ว พระอุทุมพรราชา พระเอกทัศ ทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกรรแสงร่ำไร ด้วยคิดถึงพระคุณสมเด็จพระบิดา ก็เศร้าโศกร่ำไรทั้งสองพระองค์ พระราชบุตรกับพระธิดาทั้งพระญาติวงษาทั้งปวง แลพระสนมกำนัลทั้งปวงเปนอันมาก กับข้าหลวงน้อยใหญ่ แลราชนิกูลน้อยใหญ่ประเทศราชทั้งปวง เศรษฐีคหะบดีก็พร้อมกันร้องไห้อื้ออึงไปในปราสาท ด้วยความรักพระบรมราชาทั้งสิ้น ครั้นสรงน้ำหอมแล้ว จึ่งทรงสุคนธรศแลกระแจะจวงจันทน์ทั้งปวงแล้ว ทรงสนับเพลาเชิงงอนทองชั้นใน แล้วทรงพระภูษาพื้นขาวปักทองชั้นนอก แล้วจึ่งทรงเครื่องต้นแลเครื่องทรง แล้วจึ่งทรงฉลองพระองค์อย่างใหญ่กรองทอง สังเวียนหยักแลชายไหวชายแครง ตาบทิศแลตาบน่าแลสังวาลประดับเพ็ชร จึ่งทรงทองต้นพระกรแลปลายพระกรประดับเพ็ชร แล้วจึ่งทรงพระมหาชฎาเดินหนมียอดห้ายอด แล้วจึ่งประดับเพ็ชรอยู่เพลิงทั้งสิบนิ้วพระหัดถ์แลสิบนิ้วพระบาท แล้วจึ่งเอาไม้ง่ามหุ้มทองนั้นค้ำพระหณุ เรียกว่าไม้กาจับหลัก จึ่งประนมกรเข้าแล้ว เอาซองหมากทองปากประดับใส่ในพระหัดถ์แล้ว เอาพระภูษาเนื้ออ่อนเข้าพันเปนอันมาก ครั้นได้ที่แล้วจึ่งเอาผ้าชาวเนื้อดีสี่เหลี่ยมเข้าห่อ เรียกว่าผ้าห่อเมี่ยง​ตามอย่างธรรมเนียมมาแล้ว จึ่งเชิญเข้าพระโกษฐลองในทองหนักสิบสองชั่ง แล้วจึ่งใส่ในพระโกษฐทองใหญ่เปนเฟื่องกลีบจงกลประดับพลอย มียอดเก้ายอด เชิงนั้นมีครุธแลสิงห์อัดทองหนักยี่สิบห้าชั่ง แล้วเชิญพระโกษฐนั้นขึ้นบนเตียงหุ้มทองแล้ว จึ่งเอาเตียงที่รองพระโกษฐนั้นขึ้นบนพระแท่นแว่นฟ้า แล้วจึ่งกั้นราชวัตรตาข่ายปะวะหล่ำแดง อันทำด้วยแก้ว มีเครื่องสูงต่างๆ แล้วจึ่งเชิญพระพุทธรูปมาตั้งที่สูง จึ่งตั้งเครื่องราชบริโภคนานา ตั้งพานพระสุพรรณบัตร ถมยาใส่บนพานทองประดับสองชั้น แล้วจึ่งตั้งพานพระสำอาง พระสุพรรณศรี แลพระสุพรรณราช แลพระเต้าครอบทอง แลพระคนทีทอง แลพานทองประดับ แลเครื่องอุปโภคบริโภคนานา ตั้งเปนชั้นหลั่นกันมาตามที่ซ้ายขวา เปนอันดับกันมาเปนอันมาก แล้วจึ่งตั้งมยุรฉัตรซ้ายขวา มียอดหุ้มทองแลรบายทอง แลคันหุ้มทองประดับ ตั้งแปดคันทั้งแปดทิศ แลมีบังพระสูรย์แลอภิรุม แลบังแทรกจามรทานตวันแลพัดโบก สารพัดเครื่องสูงนานาตั้งซ้ายขวา เปนชั้นหลั่นกันมาตามที่ตามทาง แล้วจึ่งปูลาดพระสุจนี่ยี่ภู่ จึ่งตั้งพระแท่นแว่นฟ้า ในพระยี่ภู่เข้ามา แล้วจึ่งปูลาดที่บรรธม แล้วตั้งพระเขนยกำมะหยี่ปักทองอันงามแล้ว จึ่งตั้งฝ่ายซ้ายขวาสำหรับสองพระองค์ จะนั่งอยู่ตามที่กษัตราธิบดี แล้วจึ่งกะเกณฑ์ให้พระสนมกำนัลทั้งปวงมานั่งห้อมล้อมพระบรมศพ แล้วก็ร้องไห้เปนเวลานาทีเปนอันมาก แล้วมีนางขับรำเกณฑ์ทำมโหรีกำนัลนารีน้อย ๆ งาม ๆ ดั่งกินรกินรีมานั่งห้อมล้อมขับรำทำเพลง​อยู่เปนอันมาก แล้วจึ่งให้ประโคมฆ้องกลองแตรสังข์แลมโหรีพิณพาทย์อยู่ทุกเวลา พระองค์จึ่งให้ตั้งที่อาศนพระสงฆ์ แล้วจึ่งให้ธรรมโฆสิตซึ่งเปนพนักงานสังฆการี ให้นิมนต์พระสังฆราชเปนต้นตามตำแหน่งเปนประธานแก่พระสงฆ์ทั้งนอกกรุงแลในกรุง แลบรรดาพระสงฆ์หัวเมืองเปนอันมาก เพลาค่ำให้เข้ามาสดับปกรณ์แล้วสวดพระอภิธรรม ครั้นเวลาเช้าถวายพรพระแล้วฉัน ครั้นเพลาเพนให้มีเทศนา แล้วถวายไทยทานไตรจีวรแลเครื่องเตียบเครื่องสังเค็ดครบครัน ทั้งต้นกัลปพฤกษ์อันมีสิ่งของต่างๆ ครบครัน วันหนึ่งเปนพระสงฆ์ร้อยหนึ่งทุกวันมิได้ขาด แล้วจึ่งตั้งโรงงานการเล่นมหรศพทั้งปวง ให้มีโขนหนังละครหุ่นแลมอญรำระบำเทพทองทั้งมงครุ่มผาลาคุลาตีไม้ สารพัดมีงานการเล่นต่าง ๆ นา ๆ แล้วทั้งสองพระองค์จึ่งแจกเสื้อผ้าเงินทองสารพัดสิ่งของนา ๆ ครบครัน ให้ทานแก่อาณาประชาราษฎรทั้งปวง ทั้งหญิงชายเด็กน้อยใหญ่เฒ่าแก่ ก็แตกกันมารับพระราชทานเปนอันมาก พระองค์ก็ให้ด้วยมีน้ำพระไทยศรัทธายินดี อาณาประชาราษฎรก็ชื่นชมยินดีแล้วยอกรอัญชลีเหนือเกล้าเกษา ถวายพระพรทั้งสองพระองค์ บ้างก็มาโศกาอาดูรร่ำไรคิดถึงพระบรมราชา แล้วก็พากันไปดูงานเล่นทั้งปวงอันมีต่าง ๆ ทั้งเด็กแลผู้ใหญ่ก็พากันรื่นเริงไปทั้งกรุงศรีอยุทธยา ทั้งสองพระองค์จึ่งมีรับสั่งให้ตั้งพระเมรุทองที่ท้องสนามหลวง แล้วตั้งพระเมรุใหญ่สูงแล้วปิดทองประดับกระจก ยกเปนลวดลายต่างๆ แล้วมีเพดานรองสามชั้นเปนหลั่นๆ ลงมาตาม​ที่ จึ่งมีพระเมรุใหญ่ สูงสุดยอดพระสเดานั้น ๔๕ วา ฝานั้นแผงหุ้มผ้าปิดกระดาษปูพื้นแดงเขียนเปนชั้นนาค ชั้นครุธ ชั้นอสูร แลชั้นเทวดา แลชั้นอินทรชั้นพรหมตามอย่างเขาพระสุเมรุ ฝาข้างในเขียนเปนดอกสุมณฑาทองแลมณฑาเงินแกมกัน แลเครื่องพระเมรุนั้นมีบันแลมุข ๑๑ ชั้น เครื่องบนจำหลักปิดทองประดับกระจก ขุนสุเมรุทิพราชเปนนายช่างอำนวยการ พระเมรุใหญ่นั้นมีประตู ๔ ทิศ ตั้งรูปกินรรูปอสูรทั้ง ๔ ประตู พระเมรุใหญ่นั้นปิดทองทึบจนเชิงเสา กลางพระเมรุทองก่อเปนแท่นรับเชิงตะกอน อันเสาเชิงตะกอนนั้นก็ปิดทองประดับกระจกเปนที่ตั้งพระบรมโกษฐ แล้วจึ่งมีเมรุทิศ ๔ เมรุแทรก ๔ เปนแปดทิศ ปิดทองกระจกเปนลวดลายต่าง ๆ แล้วจึ่งมีรูปเทวดาแลรูปวิทยาธรรูปคนธรรพ์ แลครุธกินร ทั้งรูปคชสีห์ราชสีห์แลเหมหงษ์ แลรูปนรสิงห์แลสิงโต ทั้งรูปมังกรเหรานาคา แลรูปทักกะธอ รูปช้างม้าแลเลียงผา สารพัดรูปสัตว์ทั้งปวงต่าง ๆ นา ๆ ครบครัน ตั้งรอบพระเมรุเปนชั้นกันตามที่ แล้วจึ่งกั้นราชวัตรสามชั้น ราชวัตินั้นก็ปิดทองปิดนากปิดเงิน แล้วตีเรือกเปนทางเดิน ที่สำหรับจะเชิญพระบรมศพมา ริมทางนั้นจึ่งตั้งต้นไม้กระถางอันมีดอกต่าง ๆ แล้วประดับประดาด้วยฉัตรแลธงงามไสว ครั้นแล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าในพระราชวัง ๚
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 29 เมษายน 2567 11:33:35 »

              
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ฝ่ายข้างสมเด็จพระพันวรรษาใหญ่นั้นก็ประชวรหนักลง เสด็จสู่สวรรคาไลยไปเปนสองพระองค์ด้วยกัน พระเอกทัศแลพระอุทุมพร​ราชาทั้งสองพระองค์ก็ทรงพระกรรแสงพิลาปร่ำไรถึงสมเด็จพระชนนีแลพระบิดา ทั้งพระราชบุตรแลพระราชธิดา ทั้งพระญาติวงษาทั้งปวง แลพระสนมกำนัลสาวสรรค์ทั้งปวง ทั้งเสนาบดีแลราชตระกูลเปนอันมาก ก็พากันโศกาอาดูรดังอื้ออึงครื้นเครงไปทั้งปราสาทศรี แล้วจึ่งสรงน้ำกุหลาบน้ำบุปผาเทศน้ำหอมต่าง ๆ ครั้นสรงแล้วจึ่งประดับประดาเครื่องทั้งปวงประดุจดั่งสมเด็จพระบิดา แล้วจึ่งเชิญมาใส่ในพระโกษฐทองสองชั้น แล้วจึ่งตั้งบนพระแท่นประดับแว่นฟ้าตั้งไว้ฝ่ายซ้ายพระบิดา แล้วสดับปกรณ์แลสวดฉันท์แลทำการทั้งปวงประดุจดั่งสมเด็จพระบิดา แล้วพระองค์จึ่งมีรับสั่งให้ปลงพระบรมศพพระบิดาแลพระชนนี อันบรรดาพระญาติวงษ์ทั้งปวงแลพระสนมกำนัลนารี แลพระยาประเทศราช แลราชนิกูล แลเสนาบดีน้อยใหญ่ แลเศรษฐีคหบดีทั้งสิ้น ให้แต่งตัวด้วยเครื่องขาวทุกสิ่งอันให้ครบตัวกันทั้งสิ้น บรรดาคนเกณฑ์แห่ทั้งปวงนั้น ก็ให้แต่งเครื่องขาวใส่ลำพอกถือพัดไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วมีฆ้องกลองแตรสังข์แลแตรงอนแลพิณพาทย์ตีแห่ไปดั่งครื้นเครงไปทั้งพระราชวัง น่าพิณพาทย์นั้นเครื่องไทยทานทั้งปวงเปนอันมาก แล้วจึ่งเชิญพระมหาพิไชยราชรถทั้งสองเข้ามาเทียบแล้ว แลจึ่งเชิญพระโกษฐทองทั้งสองนั้นขึ้นสู่พระราชรถทั้งสองแล้ว จึ่งเทียมด้วยม้าสี่คู่ ม้านั้นผูกประกอบรูปราชสีห์กรวมตัวม้าลงให้งามแล้ว จึ่งมีนายสารถีขับรถแต่งตัวอย่างเทวดาข้างละสี่คน อันรถที่นำน่านั้นสมเด็จพระสังฆราชาอ่านพระอภิธรรม ถัดมาถึงรถเหล่าพระญาติวงษ์ถือจงกลปรายเข้าตอกดอกไม้ ถัดนั้นไปรถ​พระญาติวงษาถือผ้ากาสา มีปลอกทองประดับเปนเปลาะๆ ห่างกัน ประมาณสามวา แล้วถือซองหมากทองโยงไปน่า ถัดนั้นมาถึงรถพระบรมศพ ถัดมารถใส่ท่อนจันทน์แลกฤษณากระลำพักบิดทอง รูปเทวดาถือกฤษณากระลำพัก ท่อนจันทน์นั้นถือชูไปบนรถด้วยกัน จึ่งมีรูปสัตว์ ๑๐ อย่าง ๆ ละคู่เปน ๒๐ ตัว มีรูปช้างสอง ม้าสอง คชสีห์ราชสีห์สอง สิงโตสอง มังกรสอง ทักกะธอสอง นรสิงห์สอง เหมสอง หงษ์สอง แลรูปภาพทั้งนี้สูง ๔ ศอก มรฎปบนหลังสำหรับใส่ธูปน้ำมันพิมเสนแลเครื่องหอมต่างๆ มีคนชักรถพระบรมศพแซงไปซ้ายขวาแต่งตัวอย่างเทวดา ใส่กำไลต้นแขนแลกำไลมือ ใส่สังวาลทับทรวงใส่เทริดแล้ว เข้าชักรถพระบรมศพไปซ้ายขวาเปนอันมาก ชักด้วยเชือกหุ้มสักหลาดแดงไปสี่แถว รถนั้นชักไปบนเรือก สองข้างทางประดับด้วยราชวัตรแลฉัตรธงเบญจรงค์, ทอง, นาก, เงิน ฝ่ายน่าหลังฝ่ายซ้ายขวา มีเครื่องสูงกระบวนพยุหบาตราอย่างใหญ่ แลมีผู้ถือเครื่องราชาบริโภคครบครัน แล้วจึ่งถึงเกณฑ์แห่เสด็จขุนหลวง จึ่งมีเสนาบดีน้อยใหญ่นั้นแต่งตัวนุ่งขาวใส่เสื้อครุยขาวใส่ลำพอกขาวถือพัดแล้วเดินแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งถึงเหล่าปโรหิตราชครูถือพัดแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งถึงเหล่าราชนิกูลถือพัดแห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงเหล่าคนตีกลองชนะแลกลองโยนแตรสังข์แลแตรงอนนั้นก็เปนอันมาก แล้วซ้ายขวานั้นมีมหาดเล็กถือดาบทองแห่ไปซ้ายขวาเปนอันมาก แล้วจึ่งมีตำรวจในตำรวจนอกนั้นพนมมือเดินแห่ไปซ้ายขวา แล้วถึงหัวหมื่นมหาดเล็ก​นั้นพนมมือเดินแห่ไปซ้ายขวา แล้วจึ่งมาถึงมหาดเล็กเกณฑ์ถือพระสุพรรณศรีแลพระสุพรรณราช แลพระเต้าครอบทองแลพานทองแลเครื่องทองทั้งปวงต่าง ๆ นั้นก็เปนอันมาก แล้วเกณฑ์มหาดเล็กเหล่าถือพระแสงปืนแลพระแสงหอกแลพระแสงง้าวแลพระแสงกั้นหยั่น แลพระแสงประดับพลอยแลพระแสงดาบฝักทอง แลพระแสงต่างๆ เปนอันมากเดินแห่เสด็จไปซ้ายขวา แล้วมีมหาดเล็กแลนอกใน แลมหาดไทยถือกระสุนเดินแห่ไปซ้ายขวา ดูสูงต่ำดูห้ามแหนไปตามทางเสด็จทั้งซ้ายขวา ครั้นพร้อมแล้วพระองค์จึ่งแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาทั้งปวงล้วนเครื่องขาว แล้วเสด็จขึ้นสู่พระเสลี่ยงทองประดับกระจก มีพระกลดขาว ยอดทองรบายทอง คันก็หุ้มทองประดับ มหาดเล็กลี่คนเดินกั้นไปซ้ายขวา มีพระบุตรีแต่งองค์ทรงเครื่องประดับประดาด้วยสร้อยสนิมพิมพาภรณ์เปนอันงาม นั่งบนพระเสลี่ยงสองหลัง ๆ ละสององค์เปนสี่ แห่แหนตามกระบวนหยุหบาตรา ไปฝ่ายหลังพระบรมศพสมเด็จพระบิดาแลพระชนนี แล้วจึ่งพระญาติวงษ์พระสนมกำนัลในทั้งปวงก็ตามเสด็จไปเปนอันมาก อันเหล่ามหาดเล็กแลมหาเศรษฐีคหะบดีทั้งปวง แลอำมาตย์น้อยใหญ่ทั้งปวง พร้อมกันตามเสด็จไปฝ่ายหลังกระบวนพยุหบาตรา แล้วจึ่งทำลายกำแพงวัง หว่างประตูมงคลสุนทรแลประตูพรหมสุคตต่อกัน ครั้นถึงพระเมรุใหญ่ที่ท้องสนามหลวงแล้ว จึ่งชักรถพระบรมศพทั้งสองนั้นเข้าในเมรุทิศเมรุแทรกทั้งแปดทิศแล้ว จึ่งทักษิณเวียน​พระเมรุใหญ่ได้สามรอบแล้ว จึ่งเชิญพระโกษฐทั้งสองนั้นเข้าตั้งในพระเมรุใหญ่ตามอย่างธรรมเนียม จึ่งไว้ พระบรมศพ ๗ ราตรีแล้ว จึ่งนิมนต์พระสังฆราช พระพิมล แลพระราชาคณะ คือ พระเทพมุนี มหาพรหมมุนี พระเทพเมาฬี พระธรรมอุดม พระอุบาฬี พระพุทธโฆษา พระมงคลเทพมุนี พระธรรมกถึก พระวินัยธร พระวินัยธรรม พระนาค แลพระสังฆราชาหัวเมือง แลพระสงฆ์ทั้งนอกกรุงแลในกรุงเปนอันมาก ก็เข้ามาสดัปกรณ์ทั้งเจ็ดวัน แล้วก็ถวายไตรจีวร แลเครื่องไทยทาน งเค็ด แลเตียบแลต้นกัลปพฤกษ์อันมีสิ่งของทั้งปวงต่าง ๆ นา ๆ ครบครันแล้ว มีต้นกัลปพฤกษ์แขวนเงินใส่ในลูกมะนาวต้นหนึ่งใส่เงินสามชั่งมีทั้งแปดทิศพระเมรุ ทิ้งทานวันละ ๘ ต้นทั้ง ๗ วัน เปนเงินร้อยหกสิบกับแปดชั่ง แล้วพระองค์จึ่งให้ทานผ้าผ่อนแลสิ่งของทั้งปวงต่าง ๆ เปนอันมาก แล้วจึ่งให้มีการมหรศพการเล่นต่าง ๆ เหล่าไพร่พลเมืองทั้งกรุงก็มารับทานเงินเข้าของต่างๆ ครั้นสำเร็จแล้วก็พากันไปดูงานที่ท่านให้แต่งไว้ต่างๆ นา ๆ แลเครื่องแต่งพระบรมศพทั้งปวงอันงามมีรูปสัตว์นา ๆ อันประดับประดาพระเมรุอันสูงใหญ่ มีรทาดอกไม้เพลิงแลดอกไม้ต่าง ๆ ตั้งรายรอบพระเมรุเปนอันมาก ครั้นเห็นที่ตกแต่งพระศพด้วยเครื่องนา ๆ บ้างก็มาโศกาอาดูรภูลโศกคิดถึงสมเด็จพระบรมราชา แล้วก็พากันครื้นเครงไปด้วยงานการเล่นทั้งปวง อันประกอบไปด้วยเสียงดุริยางคดนตรี มีงานมหรศพครบเจ็ดราตรี พระองค์จึ่งมีพระโองการตรัสสั่งให้ถวายพระเพลิงสมเด็จพระราชบิดาแลพระ​พันปีหลวงอันประเสริฐทั้งสองพระองค์ สมเด็จพระบรมเอกทัศแลพระอนุชาธิราช แลพระราชบุตรีแลพระสนมสาวสรรค์กำนัลทั้งซ้ายขวา แลพระญาติวงษ์ก็ห้อมล้อมพระบรมศพอยู่ จึ่งรับสั่งให้ถวายพระเพลิงด้วยไฟฟ้า แล้วจึ่งเอาท่อนกฤษณากระลำพักแลท่อนจันทน์อันปิดทอง บรรดาเครื่องหอมทั้งปวงนั้นใส่ในใต้พระโกษฐทองทั้งสอง แล้วจึ่งจุดเพลิงไฟฟ้า แล้วจึ่งสาดด้วยน้ำหอมแลน้ำดอกไม้เทศแลน้ำกุหลาบ แลน้ำหอมทั้งปวงต่าง ๆ อันมีกลิ่นหอมฟุ้งขจรตระหลบไปทั้งพระเมรุทอง ฝ่ายองค์บรมเอกทัศราชา แลพระอุทุมพรราชา ทั้งสองพระองค์ทรงพระกรรแสงพิลาปร่ำไร พระไทยคนึงถึงพระบิตุเรศพระชนนี ทั้งพระราชบุตรแลพระราชธิดา พระสนมสาวสรรค์ก็มากรรแสงไห้พิลาปร่ำไรไปสิ้น กษัตรประเทศราชทั้งปวงนั้นก็ห้อมล้อมอยู่รอบพระเพลิง แล้วจึ่งปรายเข้าตอกดอกไม้บูชาถวายบังคมอยู่สลอน ทั้งอำมาตย์ราชเสนาบดีใหญ่น้อย ทั้งราชนิกูลเศรษฐีคหะบดีทั้งปวงก็นั่งห้อมล้อมพระเมรุทองอยู่แล้ว ก็มาโศกาอาดูรร่ำรักพระบรมราชาอยู่อึงคนึงไปทั้งในพระเมรุหลวง ครั้นเพลิงสิ้นเสร็จสรรพ จึ่งให้ดับด้วยน้ำหอมแลน้ำกุหลาบ แล้วจึ่งแจงพระรูปทั้งสองพระรูป พระสังฆราชาแลราชาคณะทั้งปวงก็เข้ามาสดัปกรณ์พระอัฐิทั้งสองพระองค์ อันใส่ในผะอบทองทั้งสองพระองค์ ครั้นแล้วจึ่งเชิญพระอัฐิทั้งสองพระองค์นั้นใส่ในผะอบทองทั้งวอง จึ่งเชิญขึ้นสู่เสลี่ยงทองทั้งสองแล้ว แห่ออกไปตามทางออกประตูมนาภิรมย์ แล้วจึ่งตีฆ้องกลองแตรลำโพงแลแตรงอนแลกลองชนะ ​กลองโยนแลพิณพาทย์ ตั้งกระบวนมหาพยุหบาตรา จึ่งให้กั้นราชวัตรฉัตรธงไปตามมรรคา อันอาณาประชาราษฎรนั้น ก็โปรยปรายเข้าตอกดอกไม้ต่างๆ แล้วจึ่งแห่แหนไปจนถึงริมคงคา แล้วจึ่งเชิญผะอบทองอันใส่พระอัฐิทั้งสองพระองค์ขึ้นเรือพระที่นั่งกิ่งแก้วจักรรัตนเปนสองลำเปนน่าหลังกันไป จึ่งมีเครื่องสูงต่างๆ บนเรือพระอัฐนั้นตั้งเปนชั้น ๆ เปนหลั่น ๆ ตามที่ แล้วพระเอกทัศนั้นทรงเรือพระที่นั่งเอกไชย มหาดเล็กนั้นกั้นพระกลดขาวข้างพระองค์ ซ้าย ๔ คัน ขวา ๔ คันเปน ๘ คัน พระอุทุมพรอนุชานั้นทรงเรือพระที่นั่งทองขวานฟ้าเปนน่าหลังกันตามที่ แต่บรรดาเรือเกณฑ์แห่เรือนำ แลเรือรองแห่ไปซ้ายขวาน่าหลังกันตามตำแหน่งตามที่ เรือพระที่นั่งครุธพระที่นั่งหงษ์เปนซ้ายขวากันแล้วจึ่งถึงเรือนาคเหรา นาควาสุกรี แล้วจึ่งถึงเรือมังกรมหรรณพ มังกรจบสายสินธุ์ แล้วจึ่งถึงโตมหรรณพ โตจบภพไตร แล้วจึ่งถึงโตจบสายสินธุ์ แล้วจึ่งถึง เหินหาว หลาวทอง สิงหรัตนาศน์ สิงหาศน์นาวา นรสิงห์วิสุทธิสายสินธุ์ นรสิงห์ถวิลอากาศ แล้วจึ่งถึงไกรสรมุขมณฑป ไกรสรมุขนาวา อังมสระพิมาน นพเศกฬ่อหา จึ่งถึงเรือดั้งซ้ายขวานำรอง แลเรือคชสีห์ราชสีห์ เรือม้าเลียงผาเรือเสือแลเรือเกณฑ์รูปสัตว์ต่างๆ แลเรือดั้งเรือกันแห่ไปซ้ายขวา บรรดาเครื่องสูงราชอุปโภคทั้งปวง คือสัปทนแลฉัตรขาว อภิรุมชุมสายพัดโบกจามรทานตวันบังสูรย์บังแทรกแลเครื่องสูงนา ๆ ทั้งนั้น เหล่ามหาดเล็กเกณฑ์ถือขี่เรือพระที่นั่งทรงบ้าง พระที่นั่งรองบ้าง พายแห่ห้อมล้อมไปน่าหลัง​บรรดาเครื่องทอง พระสุพรรณศรี แลพระสุพรรณราช พระเต้าน้ำครอบทองนั้น มหาดเล็กถือลงเรือทรงข้างพระองค์ อันเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงเปนอันมากนั้น มหาดเล็กเกณฑ์หุ้มแพรถือ ขี่เรือที่นั่งรองไปซ้ายขวาเปนอันมาก บรรดามหาดเล็กเกณฑ์ถือพระแสงประดับต่าง ๆ นั้น ลงเรือที่นั่งทรงริมพระที่นั่งเรียกว่ารายตีนตอง อันเกณฑ์มหาดเล็กถือพระแสงทั้งปวงเปนอันมากนั้นขี่ที่นั่งรอง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาน่าหลังนั้นเปนอันมาก อันพระราชบุตรพระราชธิดานั้น ลงเรือศรีสักลาดไปหลังพระที่นั่ง อันเหล่าพระสนมกำนัลลงขี่เรือศรีผ้าแดงตามเสด็จไปท้ายพระที่นั่ง อันเจ้าพระยาจักรีแลพระยากระลาโหมนั้น มีพานทองแลเจียดกระบี่ซ้ายขวา แลสัปทนปักน่าเรือตามตำแหน่ง แล้วขี่เรือคชสีห์แลราชสีห์ มีกูบก้านแย่งแล้วพายซ้ายขวาแห่ไป อันพระยายมราชาธิบดีศรีโลกทัณฑาธร ขี่เรือนรสิงห์ มีพานทองแลเจียดกระบี่สัปทนตามตำแหน่งบันดาศักดิ์จัตุสดมภ์ทั้ง ๔ นำน่าเสด็จดูน้ำลึกแลตื้น บรรดาอำมาตย์ราชเสนาบดีทั้งปวงนั้น ขี่เรือดั้งแลเรือกันมีเครื่องอุปโภคตามตำแหน่ง แล้วพายแห่ไปซ้ายขวาน่าหลัง บรรดา เหล่ามหาดเล็กขอเฝ้าทั้งปวงนั้น ขี่เรือตามเสด็จหลังกระบวนแห่ อันนายเพชฌฆาฏนั้นขี่เรือเสือแล้วดาบแดงไปน่าเรือ ตามเสด็จไปหลังพยุหบาตรา ตามตำแหน่ง อันเหล่าเกณฑ์ผ้พายนั้น บ้างก็โห่ร้องพายแห่ไป ๚


(ตอนนี้ฉบับขาด ใช้ความในคำให้การชาวกรุงเก่า)
​๏ ครั้นต่อมาพระเจ้าอุทุมพรราชาจึ่งให้สร้างวัดขึ้นวัด ๑ พระราชทานนามว่า วัดอุทุมพรารามเสร็จแล้ว ให้นิมนต์พระธรรมเจดีย์มาเปนเจ้าอาวาศ แล้วทรงบริจาคพระราชทรัพย์ซ่อมมณฑปพระพุทธบาทที่ซุดโซมลงรักปิดทองขึ้นใหม่ฉลองเสร็จแล้ว เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ครั้นเสด็จกลับพระนครก็สละราชสมบัติออกทรงผนวช พระเจ้าอุทุมพรราชาอยู่ในราชสมบัติไต้ ๓ เดือน เมื่อออกทรงผนวชนั้น วัน ๖ ๙ฯ ๑๒ ค่ำ ๑๒ จุลศักราช ๑๑๐๒ ปี ๚

๏ ข้าราชการทั้งปวงจึ่งเชิญเจ้าฟ้าเอกทัศขึ้นครองราชสมบัติ ก่อนที่เจ้าฟ้าเอกทัศจะขึ้นครองราชสมบัตินั้น เกิดนิมิตรอัศจรรย์ ลมพายุพัดต้นมะเดื่อซึ่งอยู่ทางทิศตวันออกแห่งพระราชวังหัก ยอดมะเดื่อที่หักนั้นหันมาทางพระราชมณเฑียร ข้าราชการทั้งปวงเห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็นำความขึ้นกราบบังคมทูล เจ้าฟ้าเอกทัศจึ่งรับสั่งว่า นิมิตรซึ่งเกิดขึ้นนี้เปนมงคล พวกเจ้าทั้งหลายจงนำไม้มะเดื่อนั้นมาทำเปนแท่นเถิด ข้าราชการทั้งปวงก็ไปตั้งพิธีบวงสรวง มีมหรศพสมโภช แล้วตัดไม้มะเดื่อนั้นมาทำเปนพระแท่น เมื่อสำเร็จแล้วจึ่งจัดการราชาภิเศก ให้เจ้าฟ้าเอกทัศทรงเครื่องสำหรับกษัตรเสร็จแล้วเชิญขึ้นประทับเหนือพระแท่นไม้มะเดื่อ ครั้นได้ฤกษ์แล้วปโรหิตอาจารย์ก็โอมอ่านคาถาไชยมงคล พวกพราหมณ์ก็เป่าสังข์ทักษิณาวัฎ ชาวประโคมก็ประโคมเครื่องดุริยางคดนตรี ​พระอาลักษณ์จึ่งเชิญพระสุพรรณบัตรประดับพลอยรอบ ๓ ชั้น ซึ่งจาฤกพระนามอ่านถวาย มีใจความว่า อาเปกขศรีสุรเดชบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศิริขัง ปัจจังมหาจักรวรรดิ สรทยาธิบดี ศิริสัจติรัสหังสจักรวาฬธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดี ทะหะริมายะนะทะปธานาธิบดี ศิริวิบุลย์คุณอกนิฐถจิตรุจีตรีภูวนารถ ตรังคติพรหมเทวา เทพภูมินทราธิราช รัตนากาศสมมุติวงษ์ องค์เอกาทศรฐ วิสูตรโสตรบรมติโลกนารถ อาทิวิไชยสมทรทโรมันท อนันตคุณวิบุลย์สุนทรธรรมมิกราชเดโชชาติ โลกนารถวริสสาธิราชชาติพิเชษฐ เดชทศพลญาณสมันตมหันตพิชิตมาร วสุริยาธิบดีขัตติยวงษ์องค์รามาธิบดี ตรีภูวนารถธิปัจจโลกเชษฐวิสุทธิ์ มกุฎรัตนโลกเมาฬี ศรีประทุมาสุริยวงษ์ องค์ปัจจุพุทธางกูร ดังนี้ เสร็จแล้วเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ในพานทองประดับพลอย ๓ ชั้นเสร็จแล้วก็ทูลเกล้าฯ ถวายตามพระราชประเพณี ครั้นแล้วเอานามกรุงทวาราวดีซึ่งจาฤกลงในพระสุพรรณบัตรอ่านถวาย มีใจความว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ แล้วพระราชวงษานุวงษ์ข้าราชการทั้งปวงก็ถวายตัวใหม่ทั้งสิ้น เจ้าฟ้าเอกทัศให้หล่อพระพุทธรูปเท่าพระองค์ แล้วทรงออกพระราชบัญญัติการใช้เครื่องชั่งเครื่องตวงเครื่องวัดต่างๆ ทั้งเงินบาทเงินสลึงเงินเฟื้องให้เที่ยงตรงตามราชประเพณี แล้วทรงพระกรุณาโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่างๆ ในภายใน ๓ ปี แลโปรดให้ปล่อยนักโทษในเรือนจำ ครั้นพระพุทธรูปเท่าพระองค์สำเร็จแล้ว ก็ทรงบริจาค​พระราชทรัพย์ทำการฉลอง แล้วให้เชิญไปไว้กับพระศรีสรรเพ็ชญ์ในพระวิหารในพระราชวัง แล้วทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระอาราม ๒ พระอาราม พระราชทานนาม ว่า วัดลมุด ๑ วัดครุธาวาศ ๑ ๚


(เข้าความฉบับหลวง)
๏ อนึ่งพระองค์เลี้ยงพระสงฆ์เช้าเพล มีเทศนาแลสวดมนต์แผ่ผลเมตตามิได้ขาดเปนนิจอัตรา อันเงินการบุญตักเข้าบาตรก็ตักอยู่อัตรา เกณฑ์จังหันนิจภัตก็ส่งอยู่อัตราทุกอารามมิได้ขาด แลเกณฑ์บุญที่ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่สลักหักพังทุกอารามทั้งปวงทั้งนอกกรุงแลในกรุง แลเกณฑ์ค่าผ้าไตรจีวรที่ภิกขุสงฆ์อันอักกะดก แลมีจีวรคร่ำคร่าก็ถวายมิได้ขาด ทั้งสังเค็ดแลการกฐินทั้งในกรุงนอกกรุงแลทั้งหัวเมืองก็มีทุกปี แล้วย้งเกณฑ์เทียนพระวรรษาแลเครื่องบริขารครบครันก็มิได้ขาด เปนนิจทุกปี แล้วยังสมโภชพระศรีสรรเพ็ชญ์แลพระหัวเมืองก็ทุกปีมิได้ขาด ยังเกณฑ์ค่าโคเกวียน แลสมโภชพระพุทธบาทก็ทุกปี อันเงินเหล่านี้ทั้งสิ้นสริเบ็ดเสร็จปีหนึ่งเปนเงินพันหนึ่งกับห้าร้อยชั่ง ยังเข้าเกณฑ์บุญนั้นปีหนึ่งเข้าหมื่นหนึ่งกับห้าพัน ๚

๏ ครั้นถึงเดือนแปดปฐมาสาธวันเพ็ญสิบห้าค่ำนั้น พระองค์ก็บวชนาคหลวงทั้งภิกขุแลสามเณรปีหนึ่ง สามสิบองค์บ้าง สี่สิบองค์บ้าง ทุกปีมิได้ขาด ครั้นมีสูรย์แลจันทร์อังคาธ พระองค์ทรงแจก​เงินทองเสื้อผ้าสารพัดต่าง ๆ ก็เปนอันมาก แล้วพระองค์มีรับสั่งให้ตั้งศาลาฉ้อทานทั้งสี่ทิศกรุงก็ทุกปีมิได้ขาด ๚

๏ ครั้นถึงเพ็ญเดือนสิบสองพระองค์ให้ทำจุลกฐิน แลเครื่องเข้าตอกดอกไม้ธูปเทียนฉัตรธงทั้งปวงเปนอันมาก แห่ไปถวายพระทุกอารามนั้นก็มิได้ขาดปี ๚

๏ ครั้นถึงเดือนสี่พระองค์เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ตั้งเปนกระบวนพยุหบาตราแห่ไป ครั้นถึงแล้วพระองค์จึ่งให้มีการสมโภช มีการมหรศพมีโขนหนังทั้งระบำเทพทอง มีลครแลหุ่นสารพัดต่าง ๆ แล้วจึ่งตั้งรทาดอกไม้เพลิง หว่างช่องรทาดอกไม้นั้น มีโขนหนังมงครุ่มผาลาระบำเทพทอง แลหกคเมนสามต่อไต่ลวดรำแพนลวดบนปลายเสา แล้วพระองค์เลี้ยงพระสงฆ์ห้าร้อยองค์ ฉันถ้วนเจ็ดวันแล้ว จึ่งถวายจีวรสังเค็ดแล้ว พระองค์จึ่งแจกทานแก่อาณาประชาราษฎรให้เงินทองเสื้อผ้าสิ่งของครามครัน ให้แก่อาณาราษฎรที่มารับพระราชทานทั้งหญิงทั้งชายก็ชื่นชมยนดื ยอกรอัญชลีเหนือเกล้าเกษา ถวายพระพรอยู่เซงแช่ แล้วก็พากันดูงานการมหรศพต่างๆ เปรมปรีดิ์ทั้งเด็กผู้ใหญ่ ครั้นเพลาค่ำก็จุดดอกไม้เพลิงรุ่งเรืองโอภาษประหลาดแก่ตา หญิงชายก็พากันมาดูดอกไม้ต่าง ๆ ก็ชื่นเริงบรรเทิงใจ แล้วพระองค์เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท เกณฑ์แห่แหนซ้ายขวาเปนอันดับกันเปนหลั่น ๆ กันไป เปนพระประเทียบทั้งพระองค์แลมเหษีแลพระราชบุตรบุตรีแห่เปนที่ ๆ ​ขึ้นไป ครั้นถึงแล้วพระองค์ก็เสด็จพระดำเนินเข้าไปในพระมณฑป จึ่งถวายธูปเทียนทองแลเครื่องบูชาเข้าตอกดอกบุบผาอันมีกลิ่นต่าง ๆ นา ๆ แล้วโปรยปรายถวายบูชาพร้อมด้วยพระราชบุตรบุตรีแลพระอรรคมเหษี แลพระสนมกำนัล ก็อภิวันท์สพรึบพร้อมบังคมนมัสการ ครั้นแล้วพระองค์จึ่งโปรยปรายเงินทองให้เปนทาน แล้วก็ทิ้งทานต้นกัลปพฤกษ์วันละ ๘ ต้น ต้นหนึ่งเปนเงินสิบชั่ง ให้ทิ้งทานทั้งเจ็ดวัน แล้วก็เสด็จกลับมาอยู่ที่พลับพลา ครั้นมีการมหรศพสมโภชแล้ว เสด็จขึ้นไปนมัสการอยู่ครบเจ็ดวันแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปชมธารเกษม เสด็จทรงรถพระที่นั่งโถง อันพระมเหษีแลพระราชบุตรบุตรีนั้นทรงรถต่างๆ กัน เหล่าพระกำนัลแลพระสนมสาวสรรค์กัลยาทั้งปวงนั้นก็ขี่รถต่าง ๆ กันแล้ว แห่แหนไปในไพรสณฑ์ ครั้นถึงจึ่งเสด็จลงจากราชรถ ก็เสด็จพระดำเนินไปตามลำธารน้ำ อันเหล่าพระกำนัลนารีก็มีมโนรื่นเริงใจ แล้วก็ชี้ให้ชมธารแลศิลากรวดทราย อันมีสีแดงแลขาว บ้างก็เปนสีเขียวดังมรกฎอันดี ที่ดำนั้นดังสีปีกแมลงทับมีสีนั้นต่างๆ อันหว่างช่องศิลาในน้ำนั้นมีมัจฉาชาติว่ายเวียนเลี้ยวลอดไปตามช่องศิลาเปนคู่ ๆ ยิ่งดูยิ่งเพลินใจ บนเนินคิรีมีภูผาเปนช่อช้อยลงมาต่าง ๆ บ้างก็เปนภู่กลีบห้อยย้อยลงมา บ้างก็มีน้ำพุดุดั้นไหลมาตามช่องศิลา อันพฤกษาสารที่บนคิรีมีดอกแลออกช่อมีสีต่างๆ งามล้วนดอกแลต้นไม้นั้นก็งามต่าง ๆ นา ๆ อันเชิงเขา​พนมโยง นั้นมีพลอยเพ็ชรแลทับทิมมรกฎแลพลอยนิลต่าง ๆ ล้วนพลอยแตกสลายด้วยสดายุรบกับทศกรรฐ์ที่ตำบลอันนั้นจึ่งแตกอยู่จนเท่าบัดนี้ เหล่าปักษาปักษีก็มีต่าง ๆ นา ๆ มีเสียงไพเราะเพราะสนั่น เหล่าวานรนั้นก็โลดอยู่ไปมาบนค่าคบพฤกษาลำเนาธาร เหล่าพาฬมฤคราชนั้นก็มีต่างๆ อันลำเนาป่าแลท่าน้ำนั้นเปนที่อาไศรยแก่ฤๅษีสิทธิวิทยาธรชาวลับแล แลภิกขุสงฆ์อันถือธุดงค์ แลพระปริยัติวิปัสนา ก็ได้อาไศรยทำความเพียรอยู่นั้นก็มีมาก ครั้นพระองค์ชมท่าธารแล้วก็เสด็จกลับพร้อมด้วยมหาดเล็กแลขอเฝ้า ทั้งเหล่าจัตุรงคโยธาเสนามาตยาแห่แหนเสด็จกลับเข้าสู่กรุงพระนคร แล้วว่าราชการงานกรุงตามเยี่ยงอย่างแต่ก่อนมา ครั้นถึงสามยามเศษตีสิบทุ่มแล้วประธมตื่น บ้วนพระโอษฐสรงพระภักตร์แล้วก็เสด็จเข้าที่นั่งพระธรรม รักษาข้างพระปริยัติแลคันถธุระ ครั้นเพลารุ่งเช้าเสด็จเข้านมัสการบูชาพระ แล้วถวายธูปเทียนแลเข้าตอกดอกไม้ ครั้นนมัสการพระแล้ว เวลาโมงหนึ่งเสด็จออกท้องพระโรง เหล่ากำนัลนารี (ขันที) ตามเสด็จไปพร้อมพรั่ง เหล่า​เสนามนตรีแลราชบัณฑิตย์ทั้งปวง ก็ถวายบังคมแล้วอ่านเรื่องราวความกราบทูลฉลอง แล้วพระองค์จึ่งตรัสตราสินว่าราชการการกรุงตามผิดแลชอบ ตามกฎพระไอยการเยี่ยงอย่างมาแต่ก่อน ครั้นแล้วก็เสด็จเข้ามาเรียกเครื่องพระสุพรรณภาชน์เข้าสู่ที่เสวย พรั่งพร้อมแวดล้อมไปด้วยพระกำนัลนารีเฝ้าที่เสวย ครั้นสรรพเสร็จก็เสด็จจงกรมบริกรรม ครั้นแล้วก็เข้าที่ประธมกลางวัน พร้อมด้วยนางนารีนั่งอยู่งานพัดวี บ้างอยู่งานนวด ครั้นประธมตื่นแล้วทรงเขียนพระอักษรเกณฑ์บุญ ครั้นเพลาบ่ายสามโมงเศษเข้าสรง พร้อมด้วยนางสนมกำนัลอันเกณฑ์เฝ้าที่สรง แลนางเกณฑ์ถวายผ้าชุบสรง แลถวายพระภูษาผ้ารัตกัมพล แลนางถวายเครื่องพระสุคนธรศต่างๆ ครั้นเข้าที่สรงแล้วเสด็จเข้าที่เสวยเพลาเย็น พร้อมด้วยนางพนักงานเฝ้าที่เสวย บ้างก็นั่งอยู่งานโบกพัดอยู่ตามที่ตามพนักงาน ครั้นเวลายามเศษแล้ว ทรงฟังนายเวรมหาดเล็กอ่านตรวจรายชื่อมหาดเล็กนอนเวร แล้วนางกำนัลเกณฑ์ทำมโหรีบ้างก็ขับรำทำเพลงเกณฑ์นางบำเรอ แล้วก็เข้าที่ประธม อันราชกิจนี้ตามประเพณีกษัตรมิได้ขาดวัน ๚


------------------------------------
เขาพนมโยงอยู่ชายทุ่งในแขวงสระบุรี ข้างใต้หมู่เขาพระฉาย ไม่ใช่ที่หมู่เขาพระพุทธบาท ความเห็นจะหมายว่าเสด็จพระบาทแล้ว เสด็จเข้าพนมโยงในทางที่จะเสด็จพระฉาย
ความต่อนี้กล่าวด้วยพระราชานุกิจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2567 11:44:24 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 29 เมษายน 2567 11:39:40 »

              
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

๏ ครั้นอยู่มาพระยารายาผู้เปนเจ้าเมืองไทร ได้ช้างเล็บรอบตัวหนึ่งเอาเข้ามาถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมเอกทัศราชาอันยิ่งใหญ่ พระองค์ก็ดีพระไทย ก็ปูนบำเหน็จรางวัลเงินทองผ้าผ่อนแพรพรรณแลเครื่องอุปโภคบริโภคนานา ประทานให้แก่พระยารายาเจ้าเมืองไทร แล้วพระองค์ให้นามตามที่ชื่อบรม​ฉัททันต์ มหันตพงษ์ มงกุฎกุญชร ยังมีเนียมตัวหนึ่งมาเข้าพะเนียดในกรุง พระองค์เสด็จไปจับได้แล้วพระองค์ยินดี จึ่งให้ชื่อบรมคชา แล้วมีนายสำเภาพ่อค้า ชื่ออลังคปูนี เอาสิงโตตัวหนึ่งมาถวาย กับนกกะจอกเทศตัวหนึ่ง แก่พระบรมเอกทัศราชาอันเปนใหญ่ พระองค์ก็ให้ประทานรางวัลเงินทองสิ่งของต่าง ๆ แก่อลังคปูนีอันมีน้ำใจสวามิภักดิ อันพระญาติวงษาแลเสนาอำมาตย์ทั้งปวงก็อยู่เย็นเปนศุขทุกราตรี ทั้งเศรษฐีคหบดีแลพ่อค้าพานิชมาต่างประเทศซื้อง่ายขายดี ทั้งสำเภาแขกแลฝรั่งอังกฤษจีนจามอะรัมมนี แลสุรัดพ่อค้ามาขาย จอดสำเภาเรียงรายอยู่ที่น่าท่านั้นเปนอันมากมายหนักหนา ทั้งอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงก็เกษมศุขทั้งกรุงศรีอยุทธยา ๚

๏ ครั้นถึงปีมเมียจัตวาศกเข้า ยังมีมอญใหม่มันคิดร้ายเปนขบถ มันคุมพวกกันเข้าแล้วก็ยกมาทางเขานางบวชแดนเมืองนครนายก แล้วมันตีบ้านเล็กบ้านน้อยแดนเมืองนครนายก ครั้นพระองค์แจ้งเหตุจึ่งมีพระโองการให้พระยาเพ็ชรบุรี แลพระยากาญจนบุรียกทัพไปทางดงพระยาไฟ ก็รบกันกับมอญใหม่ที่ทุ่งพิหารแดง เหล่ามอญใหม่นั้นล้มตายหนีไปสิ้น อันพระยาเพ็ชรบุรีแลพระยากาญจนบุรีนั้น ครั้นปราบมอญแล้วกลับเข้ามาสู่กรุง จึ่งเข้าไปเฝ้าถวายบังคมทูลฉลอง พระองค์ก็ประทานรางวัลทั้งสองเสนา ให้ทั้งเงินทองเสื้อผ้าแพรพรรณครบครัน อันเหล่าทหารเกณฑ์อาสาไปรบนั้น พระองค์ก็ประทานรางวัลให้ทั่วหน้า บ้างก็ได้เลื่อนที่ขึ้นไปต่าง ๆ ตามที่มีความชอบ ๚

​๏ แล้วพระองค์เสด็จขึ้นไปนมัสการปัถวีแล (พระเจดีย์ที่เขา) พนมโยง จึ่งมีพระโองการตรัสแก่เสนาบดีผู้ใหญ่ ให้กะเกณฑ์เปนกระบวนทัพช้าง จะโพนช้างขึ้นไปนมัสการพระปัถวี เสนาผู้ใหญ่รับพระโองการแล้ว จึ่งไปกะเกณฑ์ให้บาดหมายไปแก่พระกำแพงแลพระยาราชวังเมือง ให้เรียกช้างม้าให้จัดแจงตามกระบวนทัพช้างให้ครบครัน แล้วจึ่งกะเกณฑ์ผู้คนแลทหารเปนอันมาก ๚

๏ อันช้างพระที่นั่งเอกแต่บรรดามีชื่อ คือเจ้าพระยาไชยานุภาพ ปราบไตรจักร ศรีไชยศักดิ จักรมหิมา มงคลจักรพาฬ วิมานจักรพรรดิ สวัสดิพิไชย ไตรภพนาศ แก้วจักรรัตน มัธยมเทศ กุญชรราชา บวรนาเคนทร์ เหล่าช้างพระที่นั่งเอกสิบสองช้างนี้ ผูกเครื่องทองประดับฝรั่งเศส มีภู่ห้อยหน้าแลข่ายทอง ผ้าปกหลังกรองเชิงประดับสี่เท้าแลทองรัดงา บ้างก็คลุมข่ายทอง บ้างผูกเครื่องกำมะหยี่ปักทองขวางดาวทองต่าง ๆ แลภู่ห้อยข่ายทองปกหน้าผ้าปกหลังแลเครื่องต่างๆ กันตามที่ทางเปนชั้นเปนหลั่นๆ กันมาซ้ายขวาตามที่ แล้วจึ่งถึงช้างดั้งช้างกันระวางนอกระวางในซ้ายขวาน่าหลัง แลสารเพรียวน้อยใหญ่ตามมีชื่อ เหล่าที่นั่งรองคือ หัศดินพิไชย ไอยราพต โจมจักรพาฬ พิมานไชย คเชนทรรัตน สวัสดิกุญชร รจนนาเคนทร์ กเรนทรฤทธี ศรีอาทิตย์ พิศณุจักร สระสงสาร บานชมพู ณรามวิชิต ฤทธิ์รามวิไชย ชลเทศอุไทย ไชยเทศอุทิศ พลภิฤทธิประศักดิ พลภิรักษ์ประเสริฐ สุรราชสังหร ศรราชสังหาร พรหมพาหะ พรหมพาหน พรหมดล พรหมเดช พิศณุศักดิ ​พิศณุสิทธิ พิศณุฤทธิ พิศณุราช มโนนฤมิตร วิจิตรเจษฎา อันที่นั่งรองเหล่านี้สามสิบสองข้าง ผูกที่นั่งประสาทแลที่นั่งกระโจม แลที่นั่งพุดตาล บ้างก็ผูกพระที่นั่งเขน แลที่นั่งโถง ผูกพระที่นั่งต่างๆ เปนอันมากแล้ว จึ่งถึงระวางสารเพรียวซ้ายขวามีชื่อคือ พลายพิไชยนาเคนทร์ คเซนทรมหิมา รัตนากุญชร บวรไอยรา คเชนทรหัศดิน กรินทราชา มังคลารัตนาศน์ ราชไกรสร สกลโกลา มหาคชสาร สังหารคชสีห์ มณีจักรพาฬ สวัสดิคเชนทร์ กเรนทรราชา บวรวายุกุล สุนทรเดช โจมไตรภพ จบไตรจักร ภูธรจำนง บรรยงก์ไอยรา ฦๅประศักดิ์ รักษ์ธานี ฤทธิไกรสร กำจรจักรพาฬ กฤษณจักรี ตรีสุรนาถ กุญชรไชย ไกรสรเดช บำรุงภูบาล สารภูธร พรหมกฤษณ พรหมสรรค์ พรหมพรรณ พรหมภักตร์ พิศณุรักษ์ พัศณรงค์ พิศณุพงศ์ พิศณุพาน มโนรศจำนง ทรงสุริยากษัตร สรรพประสิทธิ์ ฤทธิประไลย พลภิฤทธิชำนัน พลภิฤทธิชำนาญ มารประไลย ไฟภัทกัลป เรืองฤทธิกำจร บวรธานี สงคเชนทร ชะนะจำบัง โลรัตนาศ ชาติคช สุริยาภิรมย์ ชมพูฉัตร อันช้างมีชื่อเหล่านี้ ห้าสิบสี่ช้างด้วยกัน เปนเกณฑ์ช้างระวางเพรียว มีวอทองบ้าง สัปรคับทองบ้าง บ้างก็ใส่เขนแลแพนหางนกยูง มีธงหลังช้างแลศัสตราอาวุธตามตำแหน่ง มีหมอแลควาญแต่งตัวเครื่องโพน ประกวดกันต่างๆ ตามที่ตามตำแหน่ง แห่แหนไปซ้ายขวาน่าหลังเปนอันมาก แล้วจึ่งถึงทัพหลังพระที่นั่งรอง เกณฑ์เหล่าช้างพังผูกพระที่นั่ง เกณฑ์มีชื่อคือระวางใหญ่ซ้ายขวาเหล่านี้คือ เทพลิลา ​เทพลิลาศ หงษ์ลิลา หงษาลิลาศ สุริยรางชาง สุรางคราเชนทร์ สมบัติไอสูรย์ สมบูรณ์ไอสวรรย์ อนงค์ศรีสวรรค์ อนันตศรีสวัสดิ อนิลบรรยงก์ อนงคบรรยิง อนันตสรเศก อเนกสุรศักดิ อนันตไกรกรุง อดุงไกรเกริก พิจิตรใจดล พิมลจินดา พิมลศรีสถาน พิมานศรีสถิตย์ พิพิธสมบัติ พิพัฒน์สมบูรณ์ พิสูรสมภาร พิศาลสมภูล อันช้างพังพระที่นั่งเอกมีชื่อยี่สิบสองช้างเหล่านี้ ผูกพระที่นั่งกูบทองประคับบ้าง พระที่นั่งกูบทองทึบบ้าง ที่นั่งกูบลายรดน้ำบ้าง หลังคากูบนั้นต่างๆ แล้วแห่ไปข้างซ้ายข้างขวา แล้วจึ่งถึงที่นั่งทรงที่นั่งรองระวางเพรียว เกณฑ์ช้างพังมีชื่อคือ อนงคเคจร บวรราเชนทร์ เหมบรรยงก์ อนงครางชาง พิพัฒน์โกสุมภ์ กรรพุมบุษบา มณีรัตนมาลา บุษบาสวรรค์ ทิศาบรรยงก์ อนงคนารี วิศาลอับศร กินรปักษี ราชสุรางค์ สรรพางค์พิมล สกลโกสุมภ์ กรรพุมรัศมี เทพประพา เทพาประศร คเชนทรสำอาง ราชางพิมล อันที่นั่งรองช้างพังยี่สิบแปดช้างเหล่านี้ ผูกกูบทองบ้างสัปรคับทองบ้างต่างๆ กัน

๏ ครั้นกะเกณฑ์แล้ว อรรคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่จึ่งเข้ามากราบทูลฉลอง ฝ่ายสมเด็จพระเอกทัศราชา จึ่งแต่งองค์ทรงพระภูษาพระมาลาป่าเปนเครื่องโพน แล้วเสด็จทรงคชสารที่นั่งเอกอันมีชื่อ คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ อันประดับประดาด้วยเครื่องฝรั่งเศส กำมะหยี่แดงปักทองขวางมีภู่ห้อยหน้า ผ้าปกหลังแลข่ายทองกองเชิงประดับสี่เท้าแลทองรัดงา แล้วทรงพระแสงอังกุศขอทองนาคราชประดับ แล้วนายทรงบาศเปนควาญนั่งท้ายพระที่นั่งประนมมือไปตามที่ตาม​ตำแหน่ง แล้วบรรดามุขเสนาอำมาตย์ทั้งนั้น แต่งตัวเครื่องโพนตามที่ตามทางตามตำแหน่ง จึ่งขึ้นขี่ช้างดั้งช้างกันซ้ายขวาน่าหลัง เกณฑ์เหล่าช้างระวางนอกระวางใน ห้อมล้อมช้างพระที่นั่งไปตามกระบวนแห่ทั้งช้างพลายช้างพัง เปนช้าง ๑๐๕๐ ด้วยกัน พระกำแพง พระยาราชวังเมือง ได้ดูแลตรวจตราว่ากล่าวเหล่าช้างทั้งสิ้น พระราชบุตรบุตรี พระอรรคมเหษี ทรงช้างพระที่นั่งพังกูบทองประดับกระจก เหล่าพระสนมกำนัลทั้งปวงนั้นขี่ช้างกูบทองบ้าง กูบลายรดน้ำบ้าง บ้างก็ขึ้นบนสัปรคับบ้าง บรรดาพระสนมกำนัลทั้งปวงนั้นขี่ช้างพังตามเสด็จไปเปนอันมาก พร้อมด้วยจัตุรงคเสนามุขอำมาตย์ ราษฎรทั้งปวงแห่แหนไปซ้ายขวาน่าหลังสะพรั่งพร้อม ก็เสด็จไป มีที่ประทับร้อนแลที่ประทับแรมไพร เสด็จไปถึงเขาปัถวี ที่พลับพลาใหญ่แล้ว พระองค์เสด็จขึ้นไปนมัสการพระ พร้อมด้วยเสนาบดีแลมหาดเล็ก ทั้งองค์อรรคมเหษี ทั้งพระราชบุตรบุตรี แลพระสนมกำนัลในนารีสพรึบพร้อมเปนอันมาก แล้วพระองค์ก็เสด็จอยู่ที่ลานพระ จึ่งตั้งเครื่องบูชามืน้ำมันหอมดอกไม้ ธูปเทียนชวาลาตามถวายมากมายหนักหนา พระองค์ก็ทำสักการบูชาโปรยปรายเข้าตอกดอกไม้ถวาย แล้วจึ่งทำมโหรีปี่พาทย์อยู่ครื้นเครง แล้วพระองค์ก็ประทานรางวัลแก่เหล่ามโหรีเปนอันมาก แล้วก็ปรายเงินให้แก่อาณาราษฎร์ แล้วจึ่งเลี้ยงพระสงฆ์เจ็ดราตรี ถวายไทยทานสิ่งของครบครัน แล้วให้เล่น​การมหรศพเจ็ดราตรี ครั้นแล้วก็เสด็จกลับเข้ายังกรุงไกรเข้าในพระราชฐาน พระองค์ก็ปรนิบัติตามราชประเพณีเยี่ยงอย่างมาแต่บุราณ ๚

๏ ครั้นถึงเพ็ญเดือนสิบเอ็ดออกพระวรรษา พระองค์เสด็จทรงประทีปเสด็จอยู่บนเรือขนาน แล้วถวายธูปเทียนดอกไม้แลกะทงกระดาษตามเทียนแลเรือต่าง ๆ เปนอันมาก แล้วพระองค์อุทิศถวายพระพุทธบาทในนมทานที แล้วก็ลอยกะทงอุทิศส่งไปเปนอันมากเต็มไปทั้งแม่น้ำ แล้วจุดดอกไม้เพลิงที่ริมคงคาต่างๆ เปนอันมาก ๚

๏ อนึ่งชื่อพิธีอาสุชมาศ เอาเรือที่นั่งกิ่งสองลำ พระองค์ลำหนึ่ง พระมเหษีลำหนึ่ง ออกพายแข่งกัน แล้วบรรดาเรือขุนนางตามบันดาศักดิ มีเครื่องอุปโภคต่างๆ ตามที่ตามตำแหน่ง แล้วก็ออกพายแข่งกัน ครั้นวันสิบสี่ค่ำสิบห้าค่ำ แลแรมค่ำหนึ่ง เพลาค่ำแล้วทรงพระภูษาขาว ทรงพระมหามงกุฎสังวาลอาภรณ์ทำด้วยเงิน แล้วเสด็จทรงเรือพระที่นั่งกิ่งโถง เสด็จยืนไปบนเตียงลาแล้ว จึ่งเรือนำเรือตามนั้นตามเทียนตลอดลำ พายแห่ไปรอบกรุง แล้วเลี้ยงขนมเบื้องแผ่นใหญ่ศอกหนึ่ง แล้วเสด็จลงเรือที่นั่งทรงผ้ากฐินพร้อมฝ่ายน่าฝ่ายในเสด็จทรงพาย แลเรือตามทั้งปวงนั้นใส่โคมสิ้นทุกลำ พายแห่ไปถวายราชาคณะอารามหลวง ทั้งนอกกรุงแลในกรุงทั้งบกทั้งเรือซึ่งอยู่แขวงเหนือแขวงใต้ หัวเมืองเอกแลเมืองโทนั้น แต่องค์พระกฐินแลไตรจีวรแลเครื่องอัฐบริขาร ส่งให้ไปกับเจ้าเมือง แลผู้รั้งกรมการ แลผู้รักษาเมืองผู้รั้งตามธรรม​เนียมสองวัดบ้าง สามวัดบ้าง ห้าวัดบ้าง เปนกฐินหลวงเบ็ดเสร็จร้อยเศษ แล้วพระองค์ก็เสด็จเข้าในพระราชวัง ๚

๏ ครั้นอยู่เย็นเปนศุขช้านานมา พระองค์จึ่งเสด็จขึ้นไปลพบุรี เปนกระบวนพยุหบาตราเรือ เสนาจึ่งกะเกณฑ์เรือที่นั่งแลเรือครบครัน ครั้นแล้วพระองค์ก็เสด็จลงเรือพระที่นั่งทองขวานฟ้า แลพร้อมด้วยมุขอำมาตย์ราชเสนาทั้งปวงเปนอันมาก เหล่าเสนามนตรีแลมหาดเล็กทั้งปวงนั้นถือเครื่องราชอุปโภค แลเกณฑ์ถือพระแสงต่างๆ ครบครันกันเปนอันมาก บ้างก็ลงเรือที่นั่งทรงบ้างก็มาลงที่นั่งรอง บ้างก็มาลงเรือดั้งเรือกันนั้นเปนอันมาก แล้วก็พายแห่แหนไปเปนซ้ายขวากันเปนคู่ ๆ อันเหล่าเรือแห่น่าแลเรือนำเรือรองนั้นห้อมล้อมแห่แหนไปเปนอันมาก ประทับร้อนแรมไป จนถึงลพบุรี ครั้นถึงแล้วพระองค์เสด็จเข้าไปในพระราชวังลพบุรี อันชื่อดุสิตมหาปราสาท อันมีพระที่นั่งเรียกว่าจันทรพิศาล พระองค์เสด็จชมสวนซ้ายขวา แลสวนแก้วอันมีพรรณดอกโกสุมภฺปทุมะปทุมาแลอุบลจงกลนีอันมีสีต่างๆ แลกลิ่นนั้นก็ต่างกัน ที่ในสระแก้วนั้นมีพรรณมัจฉาก็งาม ต่างๆ พรรณดอกไม้ก็มีต่างๆ มีกลิ่นนั้นก็ต่างกัน พระองค์ก็เสด็จประพาศชมสวนทั้งซ้ายขวา พร้อมด้วยพระอรรคมเหษี แลพระราชบุตรบุตรี แลกำนัลนารีเปนอันมาก ครั้นชมแล้วก็เสด็จไปชมทเลชุบศร พระองค์ทรงม้าพระที่นั่งเอก อันชื่อพระยาอาชาไนยไชยชาติราชพาหนะ ผูกเครื่องเบาะแลอานแลเครื่องทั้งปวง อันประดับประดาด้วยมหาเนาวรัตนอันงามประเสริฐ อันเหล่าเสนามหาดเล็กแลขอเฝ้าทั้งปวงนั้น บ้างก็ถือเครื่องราชอุปโภค​แลถือพระแสงต่าง ๆ แล้วก็ขี่ม้าห้อมล้อมตามเสด็จสพรึบพร้อมเปนอันมาก อันพระมเหษีแลพระราชบุตรบุตรีนั้นก็ทรงพระวอประดับทองบ้าง พระวอทองบ้าง อันพระสนมแลกำนัลทั้งปวงนั้น ก็ขี่วอสีสักลาดต่างๆ ตามเสด็จไปเปนพระประเทียบไพร ข้างในนั้นก็แห่แหนไปพร้อมด้วยรี้พลโยธาเปนอันมาก ครั้นถึงพร้อมด้วยพระราชบุตรบุตรีพระสนมนารีนั้น ก็ชี้ชมปลาในทเลชุบศรแล้ว พระองค์เสด็จพระดำเนินไปตามขอบสระชมพฤกษาสารตระการต่างๆ บ้างมีผลแลดอกออกช่อมีสีต่างๆ มีกลิ่นหอมต่างๆ ลางนางนารีก็เด็ดพุ่มพวงดวงดอกมาลามาแซมเกล้าแล้ว ก็พากันชื่นเริงบรรเทิงใจไปสิ้น แล้วพระองค์ก็เสด็จไปธารทองแดง ประทับร้อนอยู่ที่พลับพลาใต้ร่มไม้อันมีดอก ให้ไขท่อน้ำในสระออกมาตามท่อธารทองแดงอันเย็นสอาดสอ้าน อันเหล่ามหาดเล็กแลเสนาบดีทั้งปวงนั้น พระองค์สั่งให้ลงไปเล่นน้ำแล้วสาวพวนพนันกันที่ในน้ำ ที่สาวขึ้นไปได้ พระองค์ประทานรางวัล ที่สาวขึ้นไปได้แล้วก็หลุดมือลอยน้ำลงมา ก็พากันสรวลอื้ออึงไปทั้งธารน้ำ ทั้งพระองค์แลเสนาอำมาตย์ทั้งปวงพากันชื่นเริงไปทั้งสิ้น ครั้นแล้วก็เสด็จกลับเข้าสู่พระราชวัง ๚

๏ ครั้นอยู่มาจุลศักราชได้ ๑๑๒๕ ปีมะแมเบญจศก จึ่งมีกำมะลอชากุทองชา เจ้าเมืองทวายเข้ามาถวายตัวเปนข้า เข้ามาพึ่งอยู่ใต้ฝ่าพระบาทในขัณฑเสมากรุงใหญ่ พระองค์ก็ทรงพระเมตตาแก่สัตว์จึ่งรับไว้ในกรุงศรีอยุทธยา อันพระบรมเอกทัศนั้นพระองค์มาได้ครองพิพัฒน์กรุงศรี ในเมื่อเวลานาทีเมื่อกาลกลีจะถึง​พระนคร จึ่งเกิดวิบัตินานาเพราะกรรมเวราสังหาร ทั้งอายุพระสาสนาแลพระนครจักสิ้นสุดสถาวรจึ่งเปนไป ก็พอพระมาได้ครองภาราในเมื่อจะสิ้นชตากรุงไกร ก็มามีวิบัติให้เปนไป จึ่งเกิดเหตุเภทไภยบัดนี้ แต่พระมหินทรราชามาจนบัดนี้ นับได้ถึงสองร้อยปีมา ทั้งโภชนาอาหารก็บริบูรณ์ มีความสนุกสบายมาจนบัดนี้ อันการฝึกฝนณรงค์สงครามทั้งปวงนั้นเสื่อมไป ทั้งผู้ดีเข็ญใจแลอาณาราษฎรทั้งปวงมีแต่จะเล่นเพลิดเพลินไปด้วยการเล่นเปนศุขสนุกสบายไม่มีทุกข์สิ่งหนึ่งสิ่งใด มีแต่การจะเล่นนานา ทั้งสมณะชีพราหมณ์เปนศุข บ้างก็มาสรรเสริญพระคุณที่พระองค์มีพระกรุณากับสัตว์ทั้งปวง บ้างก็ยอกรอัญชลีสรรเสริญพระคุณแล้วกราบกราน บ้างก็เสพย์สุราแลยาเมาต่างๆ สารพัดจะสนุกทุกสิ่งอัน ฝ่ายพระองค์ก็ทรงพระกรุณากับอาณาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตวทั้งปวง มีแต่สนุกสบายทุกราตรี เปนนิจสินมิได้ขาด ๚

๏ ครั้นเมื่อศักราชได้ ๑๑๒๐ ปีวอกฉศก พม่ายกทัพมาทางเชียงใหม่ทางหนึ่ง ทางทวายทางหนึ่ง เสนาที่เปนแม่ทัพใหญ่ยกมาข้างทางเชียงใหม่นั้นคุมทหารอาสามาเปนคนละสองหมื่น อันนายทัพข้างเชียงใหม่นั้นชื่อกะแรงแมงจอเปนสึกแก ที่เปนนายทัพนั้นชื่อจอกองจอสู มีทัพรายนั้นเปนอันมาก อันทัพข้างทางทวายนั้น ก็คุมพวกอาสามาเปนอันมาก ชื่อมหานรทาเปนแม่ทัพใหญ่ สึกแกนั้นชื่อสีทะธรรมรัต ที่เปนนายทัพรายนั้นชื่อยางู อันทัพรายนั้นหลายทัพ แต่ล้วนคนเกณฑ์อาสาที่มานั้นเปนคนสี่หมื่น ยกมา​ทางบกทางเรือเปนอันมาก แม่ทัพข้างทวายนั้นจึ่งให้หนังสือมากับนายด่านข้างมฤท ครั้นนายด่านแจ้งเหตุแล้ว จึ่งเอาความเข้ามาแจ้งแก่เจ้าเมืองมฤท ในเรื่องราวหนังสือนั้นว่า กรุงไทยมิได้อยู่ในธรรม ทำให้ผิดบุราณแต่ก่อนมา อันว่าตัวเจ้าเมืองทวายอันชื่อว่าอูทองชากำมะลอชานั้นเปนข้าข้างเมืองบุรรัตนะอังวะ ที่ทวายมาถวายตัวเปนข้าข้างเมืองอยุทธยานี้เห็นต้องตำราอยู่แล้วฤๅ ไม่สืบสาวดูให้รู้ว่าข้าคนใคร รับไว้ให้ผิดประเพณี อันทวายนี้เปนแต่เมืองน้อย จักพลอยเอาเมืองอยุทธยากรุงศรีมาต่อทานด้วยทหารเราในครั้งนี้ ใครดีจะได้เห็นกัน อันทัพใหญ่ฝ่ายข้างพม่าก็ยกเข้ามาในแดน ฝ่ายเจ้าเมืองมฤทนั้นรู้แจ้งเหตุแล้ว ก็ให้ม้าเร็วเร่งรีบเข้ามา แจ้งความแก่มหาเสนาบดีผู้ใหญ่ ส่วนมหาเสนาบดีผู้ใหญ่แจ้งเหตุแล้ว จึ่งเอาไปกราบทูลฉลองกับพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศราชา ฝ่ายเจ้าเมืองระแหงนั้นก็เอาหนังสือมากราบทูลกับลอองธุลีฝ่าพระบาท พระองค์ครั้นทราบดังนั้นแล้ว จึ่งมีพระโองการให้หาเสนาบดีผู้ใหญ่ ให้เร่งกะเกณฑ์ผู้คนแม่ทัพแม่กอง อันเหล่าขุนนางผู้ใหญ่จึ่งเข้ากราบทูลขออาสาที่จะรบพม่าฉลองพระเดชพระคุณที่มีมาเปนอันมาก คือ พระยานครราชสีมา พระยาเดโชชาติอำมาตยนุชิต พระยาพิพัฒน์โกษา พระยายมราชธิบดีศรีโลกทัณฑาธร พระยาราชภักดี พระยาราชรองเมือง พระกำแพง พระศรีสะวะภาคย์ หลวงทรงพล หลวงเทพราชา ขุนนางสิบสองคนนี้กับเหล่าทหารทั้งปวงเปนอันมาก เข้าไปทูลขออาสาที่จะออกรบพม่าฉลองพระเดช​พระคุณ พระองค์จึ่งประทานบำเหน็จรางวัลเงินทองเสื้อผ้า แลสิ่งของเครื่องแต่งตัวตามตำแหน่งให้ครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วประทานชื่อเสียงเลื่อนที่เลื่อนทางตามตำแหน่งแม่ทัพแม่กอง บรรดาทหารอาสานั้นก็ประทานครบตัวกันทั้งไพร่แลนาย แล้วจึ่งพระจันทราชา พระแพทยพงษา พระธน พระอำมาตย์ ขุนศรีคชกรรม์ หมื่นพรหม หมื่นวาสุเทพ หอกนั้นเจ็ดคน อันขุนนางสิบสี่คนนี้ ทัพหนึ่งคุมพลพันหนึ่ง ทั้งสิบสี่ทัพเปนคนหมื่นหนึ่งกับสี่พันด้วยกัน แล้วจึ่งให้พระยานครศรีธรรมราชเปนแม่ทัพยกไป ตั้งอยู่มฤทตะนาว แล้วจึ่งเกณฑ์คนแลทหารเพิ่มขึ้นอิก จึ่งให้เหล่าขุนนางแลมหาดเล็ก คือ พระยาธรมา จมื่นสารเพธภักดี จมื่นศรีเสาวรักษ์ จมื่นไวยวรนารถ จมื่นเสมอใจราช จ่าเรศ จ่ารง จ่ายง จ่ายวด นายกวด นายขัน นายจันมีชื่อ ขุนนางสิบสองนี้เกณฑ์ให้เปนนายทัพสิบสองทัพ ทัพหนึ่งคนพันหนึ่ง ทั้งสิบสองทัพนั้นเปนคนหมื่นกับสองพัน ทั้งยกรบัตรแลเกียกกาย ทั้งปีกซ้ายแลปีกขวา ทั้งเสือป่าแลแมวเซา ทั้งทัพหนุนแลทัพรอง ทั้งทัพน่าแลทัพหลัง ทั้งช้างม้าผู้คนแลทหารอันถือสาตราอาวุธหอกดาบ แลปืนน้อยปืนใหญ่นกสับคาบชุด แลเขนงเต้าชะนวนครบตัวกันทั้งสิ้นแล้ว จึ่งให้พระยามหาเสนาเปนแม่ทัพยกไปตั้งอยู่ยังนครสวรรค์ แล้วจึ่งเกณฑ์ขุนนางแลทหารอันมีชื่อขึ้นอิกคือ สนิท เสน่ห์ เล่ห์อาวุธ สุจินดา ไชยขรรค์ พลพ่าย พลพัน อันทหารมืชื่อเจ็ดคนนี้เกณฑ์ให้เปนนายทัพ มีทัพช้างแลทัพม้า ทหารโยธาถืออาวุธครบตัวกันทั้งสิ้นแล้ว จึ่ง​มีทัพส่งลำเลียงเปนอันมากแล้ว จึ่งเกณฑ์พระยากระลาโหมเปนแม่ทัพ ยกไปตั้งรับอยู่ทางท่ากระดานแล้ว จึ่งตั้งทัพรายไว้ตามทาง ซึ่งตั้งรับไว้ทุกตำบล ทัพหนึ่งคนสามร้อยสี่ร้อยบ้าง ห้าร้อยบ้าง พันหนึ่งบ้าง ตั้งจุกช่องทุกตำบลหนทาง แล้วจึ่งเกณฑ์ทหารอันมีชื่ออิกสิบห้าคนคือ ขุนทิพโอสถ ขุนกุมารประสิทธิ ขุนกุมารแพทย์ ขุนสุเมรุมาศ ขุนวิเศษ ขุนพัศดี ขุนองค์ ขุนพัด ขุนโค ขุนเทพสมบัติ ขุนทิพสมบัติ ขุนวิสูตร ขุนธารกำนัน ขุนนรา ขุนนรินทร์ อ้นกล่าวทหารสิบห้าคนนี้ คุมคนทัพหนึ่งคนพันหนึ่ง ตั้งเปนทัพสิบห้าทัพ เปนพลรบหมื่นกับห้าพันด้วยกัน มีทัพช้างทัพม้าแลปืนน้อยปืนใหญ่ แลสาตราอาวุธครบตัวกันเปนอันมากแล้ว จึ่งให้พระยาจักรีเปนแม่ทัพ ยกไปตั้งรับอยู่ที่เมืองราชพรี แล้วจึ่งกะเกณฑ์เพิ่มพลรบแลทหาร แลขุนนางอันมีชื่อขึ้นอิกคือ มหาเทพ มหามนตรี ราชรินทร์ อินทรเดชะ หลวงราชรักษา หลวงเถกิง หลวงรักษาสมบัติ หลวงสุนทร หลวงหฤไทย หลวงราโชเวียงคำ แสนกล้า แสนหาญ แสนท้าว นายทัพสิบห้าคนนี้ คุมคนทัพพลรบพันหนึ่ง สิบห้าทัพเปนคนหมื่นหนึ่งกับห้าพัน จึ่งให้พระยามหาอำมาตย์เปนแม่ทัพ ยกไปตั้งรับไว้ที่เมืองไชยนาท ฝ่ายข้างกรุงจึ่งจัดแจงแต่งบ้านเมืองแลค่ายคูประตูหอรบมั่นคงทั้งนอกเมืองแลในเมือง จึ่งให้ขึ้นน่าที่แลเชิงเทิน ทหารขึ้นรักษาน่าที่มีสาตราอาวุธครบตัวกัน แล้วจึ่งเอาปืนใหญ่ขึ้นจุกช่องเสมาไว้ทั้งรอบกรุง เหล่าทหารรักษาช่องเสมาอันหนึ่งมีคนรักษาอยู่สิบคนทั้งกลางวันกลาง​คืน แล้วเชิญเทวดา คือ พระเสื้อเมือง ทรงเมือง ทั้งเทวดารักษาพระสาสนาแลพระไพรเจ้าป่าทั้งหลาย แล้วให้มีงานการบวงสรวงเครื่องกระยาสังเวยครบครันเปนอันมาก ให้มาช่วยอภิบาลรักษาบ้านเมืองไว้ ๚

๏ ฝ่ายมหานรทากะยานั้นมาผู้คนมากด้วยกัน ฝ่ายทางท่ากะดานกาญจนบุรีนั้นมิได้ยกมา ยกทัพมาแต่ทางทวายแลทางมฤท ทัพน่าต่อทัพน่านั้นได้รบพุ่งกันเปนอันมาก ฝ่ายพม่าแลไทยก็ล้มตายเจ็บปวดด้วยกันทั้งสองข้าง ท่อยทีท่อยระอาฝีมือกันอยู่ทั้งสองฝ่าย แต่รบกันอยู่นั้นถึงสิบห้าวัน อันทัพข้างไทยนั้นมิได้ปรกติ แต่เรรวนอยู่ทั้งสิ้น ฝ่ายพม่าก็รู้ไป พม่าจึ่งคิดอ่านกันแล้ว จึ่งยกทัพช้างทัพม้าผู้คนทหารเกณฑ์รบเปนอันมาก แล้วดากันเข้าตีค่ายเปนอันมาก ฝ่ายข้างไทยไม่สู้ได้ ก็ถอยยกกลับมาประจบกับทัพเมืองราชพรีแล้วตั้งอยู่ที่นั้น ฝ่ายไทยที่ยกไปทางเชียงใหม่นั้น ก็ได้รบพุ่งกันกับพม่าเปนอันมาก ทัพไทยกับพม่าแต่รบกันอยู่นั้นนานสามสี่วันแล้ว จึ่งหมื่นมหาดเล็ก หมื่นเด็กชาย หมื่นธิเบศร์ภูบาล หมื่นธิเบศร์ หลวงกลาโหม หลวงจ่าแสน หลวงพระกฤษณ์ หลวงพิพิธไอสวรรย์ หลวงไกร ขุนคชภักดี ขุนศรีวัง ไกรโกษา เกษตรรักษา พิไชยบุรินทร์ พระอาลักษณ์ หมื่นรจนามาศ หมื่นจง เกณฑ์ทหารมีชื่อทั้งสิบเจ็ดคนด้วยกันกับทหารเปนอันมากออกไปรบ บ้างก็รำดาบ​รำเขนแลกระบี่กระบองรบอยู่ทั้งสองข้าง ฝ่ายทัพปีกซ้ายปีกขวาทัพข้างพม่านั้นไล่รุกเข้ามา ข้างไทยไม่ต้านทานได้ กลับหลีกหนีเข้าในค่ายได้บ้าง ที่เข้าไม่ทันก็ตายบ้าง ที่ตายนั้นเจ็ดคน พม่าตัดเอาหัวไปได้ ข้างทัพไทยก็เรรวนกันอยู่ไปมา จึ่งถอยมาตั้งประจบกับทัพเมืองนครไชยนาท พม่าก็รุกร้นเข้ามาตั้งค่ายรับอยู่ที่เมือง ครั้นทราบว่าถอยทัพมา จึ่งมีพระโองการว่า มันไม่เปนใจรบ ควรจะให้ฆ่าเสียทั้งเจ็ดชั่วโคตร แต่ว่าเปนแต่ครั้งหนึ่งครั้งเดียวก็จะยกโทษไว้ก่อน ถ้าแม้นไปเบื้องน่าถ้าแตกมาอิก จะฆ่าเสียทั้งเจ็ดชั่วโคตร แล้วจึ่งมีรับสั่งให้ไปถึงแม่ทัพแล้ว จึ่งให้ปืนใหญ่ออกไปอิกสามบอก แล้วให้กิติศัพท์นั้นฦๅไปว่าฬ่อเอาพม่าเข้ามา ครั้นใกล้แล้วจึ่งจะฆ่าให้สิ้น ให้ความนี้ฦๅไป ทัพข้างราชพรีนั้นแต่รบกับพม่าก็ล้มตายลงด้วยกันทั้งสองฝ่ายเปนอันมาก แต่รบกันอยู่หลายวันมา ข้างไทยนั้นจึ่งตรวจเหล่าช้างกับทั้งคนขี่นั้น ก็กินเกินประมาณไปนัก ก็รบพุ่งฟั่นเฟือนไป ก็ล้มตายเปนอันมาก ทัพข้างราชพรีนั้นก็ถอยเข้ามากรุง ทัพพม่าช้างราชพรี แลเพ็ชรพรีนั้นก็ยกรุกเข้ามาถึงกรุง ฝ่ายแม่ทัพข้างมหานรทานั้นก็ยกมาตั้งอยู่ที่สีกุกเปนมั่นแล้ว บรรดาทัพทั้งนั้นก็เข้ามาล้อมกรุงอยู่เปนอันมาก ฝ่ายทัพข้างราชพรีนั้นก็ยกรุกเข้ามาถึงกรุง แม่ทัพข้างพม่าที่มาทางเชียงใหม่มันก็มาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่โพธิ์สามต้นไกลกับเมืองสามหลัก บรรดาทัพทั้งนั้นก็ยกมาล้อมกรุงไว้รอบ ทัพใหญ่ตั้งอยู่สีกุกทิศตวันตกเฉียงใต้เมือง อันแม่ทัพนั้นชื่อมหานรทา ค่ายหนึ่งทิศตวันออกเฉียงเหนือเมืองนั้นค่ายพะเนียด ​ทิศตวันออกเมืองนั้นค่ายหัวรอ ทิศตวันออกเฉียงใต้นั้นชื่อคลองสวนพลู อันตวันออกเฉียงใต้นั้นค่ายบ้านปลาเห็ดนั้น ทิศใต้เมืองค่ายวัดธนทารามนั้นตวันตกเฉียงเหนือเมือง ค่ายวัดวรเชษฐตวันตกเมือง ค่ายบ้านป้อมตวันตกเมือง ค่ายภูเขาทองตวันตกเฉียงเหนือเมือง ค่ายวัดน่าพระเมรุทิศเหนือเมือง ค่ายโพธิ์สามต้นทิศเหนือเมืองไกลทางสามหลัก ค่ายวัดวรโพธิทิศตวันออกเมือง ค่ายวัดการ้องทิศเหนือเมือง ค่ายวัดป่าไผ่ทิศเหนือเมือง ค่ายวัดลอดช่องทิศตวันตกเมือง ค่ายบ้านระจัน ทั้งสิ้นเปนสิบแปดค่ายด้วยกันตั้งอยู่รอบกรุง ที่แม่น้ำนั้นทำตะพานใหญ่ ๚

๏ ฝ่ายข้างกรุงนั้นขึ้นน่าที่เชิงเทินรักษาบ้านเมืองตรวจตราน่าที่ทั้งกลางวันกลางคืน น่าที่ผู้ใดรักษาน่าที่ผู้นั้น แล้วจึ่งขุนนางเจ๊กทั้งสี่คน คือ หลวงโชฎึก หลวงท่องสื่อ หลวงเนาวโชติ หลวงเล่ายา ทั้งสี่คนกับพวกเจ๊กเปนอันมาก จึ่งอาสาออกไปตีค่ายสวนพลู ได้รบพุ่งกันเปนอันมาก ฝ่ายฝรั่งมีชื่อคือ กรุงพานิช ฤทธิสำแดง วิสูตรสาคร อังตน กับเหล่าฝรั่งเปนอันมากนั้นอาสาออกตีค่ายบ้านปลาเห็ด ก็ได้รบพุ่งกันเปนอันมาก บ้างล้มตายทั้งสองฝ่าย แล้วจึ่งเหล่าพวกโจรออกอาสาคือ หมื่นหาญกำบัง นายด้วงไวยราพ นายจันเสือเตี้ย นายมากสีหนวด พวกโจรใหญ่สี่คนกับพวกโจรทั้งปวง พระหมื่นศรีเสาวรักษ์เปนแม่ทัพ กับเหล่าอาทมาตแลสมกำลังทั้งปวง พระหมื่นศรีเสาวรักษ์เปนแม่ทัพ กับเหล่าอาทมาตแลสมกำลังทั้งปวง ออกมาอาสาตีค่ายป่าไผ่ ได้รบกันกับพม่าเปนอันมาก ฝ่ายพม่าก็ล้มตายเจ็บป่วยเปนอันมาก ข้างไทยก็ล้มตายเจ็บป่วย​ทั้งสองฝ่าย แล้วจึ่งขุนนางแขกออกอาสา คือ หลวงศรียศ หลวงราชพิมล ขุนศรีวรขันธ์ ขุนราชนิทาน กับพวกแขกเทศ แขกจาม แขกมลายู แขกชวา บรรดาพวกแขกทั้งปวงเปนอันมาก จึ่งตั้งพระจุฬาเปนแม่ทัพยกออกไปตีค่ายบ้านป้อม ฝ่ายแม่ทัพแขก ข้างพม่าชื่อเนโมยกุงนรัดเปนแม่ทัพ ได้รบกันกับพระจุฬาบ้าง ก็ล้มตายเจ็บป่วยด้วยกันทั้งสองฝ่าย เหล่าพวกมอญขุนนางมีชื่อคือ หลวงเถกิง พระบำเรอภักดิ พระยาเกียรติ พระยาพระราม กับเหล่ามอญบ้านสามโคก บ้านป่าปลา บ้านหัวรอ กับพวกมอญทั้งปวงออกอาสา ได้รบกันเปนอันมาก แล้ว จึ่งเหล่าลาว ขุนนางมีชื่อ คือ แสนกล้า แสนหาญ แสนท้าว เวียงคำ กับพวกลาวกองหาญทั้งปวงเปนอันมาก ออกอาสาตีค่ายพม่าได้รบพุ่งกัน แล้วจึ่งเกณฑ์ให้พระยาพลเทพรักษาประตู ให้ตรวจตราบ้านเมืองเปนสิทธิขาด แล้วจึ่งเกณฑ์ขุนสุรินทรสงคราม ขุนฟองพินิจ ขุนอนุรักษ์มนตรี พระยากาญจนบุรี ขุนนางห้าคนนี้คุมทัพห้าทัพ แล้วจึ่งเกณฑ์พระยาเพ็ชรบุรีเปนแม่ทัพ แล้วจึ่งยกทัพทั้งทัพบกทัพเรือ ขุนนางคนหนึ่งคุมเรือยี่สิบลำ ขุนนางห้าคนเปนเรือรบร้อยหนึ่ง มีปืนใหญ่ตั้งหัวเรือลำหนึ่งบอกหนึ่ง ปืนขานกยางสองบอก มีอาวุธครบตัวกันแล้ว จึ่งให้ขุนนางยกทัพหนุนไปอิกคือ พระอไภยสุรินทร์ พระพิเรนทรราชา พระพิเรนทร พระพิเรนทรเทพ พระพลภักดี พระอินทรอไภย หลวงกระ จึ่งให้พระยาตากสินเปนแม่ทัพยกไป ทั้งทัพบกทัพเรือเปนแปดทัพด้วยกัน เปนเรือแปดร้อย เรือลำหนึ่ง​มีปืนใหญ่สามบอก บอกหนึ่งฝรั่งอยู่ข้างปืนใหญ่ เรือลำหนึ่งสามคนมีอาวุธครบตัวกันทั้งสิ้น แล้วจึ่งให้อินทรเทพ ราชรองเมือง หมื่นเทพทวาร ขุนงำเมืองธำมรง พระยาตะนาว พระยาไชยา ให้ยกทั้งทัพบกทัพเรือแปดทัพ อันทัพหนึ่งคนพันหนึ่ง ทัพหนึ่งมีเรือยี่สิบลำ ทั้งแปดทัพ เปนเรือรบร้อยหกสิบลำ คนแปดพันด้วยกัน เรือลำหนึ่งมีปืนใหญ่สามบอก ปืนขานกยางสามบอก มีอาวุธครบมือกันทั้งสิ้น แล้วมีทัพช้างทัพม้ายกทั้งทางบกทางเรือ แล้วพระยาพระคลังเปนแม่ทัพยกไปไล่ตีรบพุ่งกันเปนอันมาก ฝ่ายพม่าตั้งค่ายอยู่ทั้งสี่ทิศกรุง จึ่งยกมาตีทัพเหล่านี้ จึ่งออกตีทั้งสี่ด้าน ฝ่ายทิศเหนือนั้นคือพระยาเพ็ชรบุรีออกตีเปนทัพน่า กับพระยาตากสินด้วยกัน ทัพเรือข้างพม่านั้น ก็ยกทัพตีเข้ามา พระยาเพ็ชรบุรีจึ่งลงหลักไว้สู้รบพม่า ได้รบกันเปนอันมาก ฝ่ายพม่าก็ล้มตายเปนหนักหนา ข้างพม่าจึ่งยกทัพหนุนกันเข้ามาอิกเปนอันมาก จึ่งฆ่าพระยาเพ็ชรบุรีตาย พระยาตากนั้นก็หนีได้ ๚

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5470


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 124.0.0.0 Chrome 124.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 29 เมษายน 2567 11:41:47 »

              
คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง

(ต่อนี้ฉบับขาด ใช้ความฉบับคำให้การชาวกรุงเก่า)

๏ พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาเห็นนายทัพนายกองแตกพ่ายเข้ามาดังนั้น ก็ให้ปิดประตู ให้ทหารขึ้นรักษาน่าที่เชิงเทินมั่นไว้มิได้ออกรบ คราวนั้นพระยาพลเทพข้าราชการในกรุงศรีอยุทธยาเอาใจออกหาก ลอบส่งเครื่องสาตราวุธเสบียงอาหารให้แก่พม่า สัญญา​จะเปิดประตูคอยรับ พม่าเห็นได้ทีก็ระดมเข้าตีปล้นกรุงศรีอยุทธยา ทำลายเข้ามาทางประตูที่พระยาพลเทพนัดหมายไว้ ก็เข้าเมืองได้ทางประตูทิศตวันออกในเวลากลางคืน เมื่อณวัน ๓ ๙ฯ ๕ ค่ำจุลศักราช ๑๑๒๘ ไล่ฆ่าฟันผู้คนล้มตายลงเปนอันมาก เอาไฟเผาโรงร้านบ้านเรือนภายในพระนครศรีอยุทธยาเสียเปนอันมาก ขณะนั้นพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาแลพระมเหษีพระราชโอรสธิดา กับพระราชวงษานุวงษ์ ก็หนีกระจัดกระจายกันไป พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาเสด็จหนีไปซุ่มซ่อนอยู่ประมาณสิบเอ็ดสิบสองวันก็เสด็จสวรรคต ๚

๏ พวกพม่าก็ตามจับได้พระมเหษีแลพระโอรสธิดา พระราชวงษานุวงษ์แล้วให้กวาดต้อนผู้คนช้าง ม้า เก็บริบแก้วแหวนเงินทองไปยังกรุงอังวะเปนอันมาก ๚

๏ เมื่อใกล้จะเสียพระนครศรีอยุทธยานั้น เกิดลางร้ายต่างๆ คือ พระพุทธปฏิมากรใหญ่ที่วัดพนัญเชิงมีน้ำพระเนตรไหล พระพุทธปฏิมากรติโลกนารถ ซึ่งแกะด้วยไม้พระศรีมหาโพธิ์นั้น พระทรวงแยกออกเปนสองภาค พระพุทธปฏิมากรทองคำเท่าตัวคน แลพระพุทธสุรินทร์ซึ่งหล่อด้วยนากอันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ในพระราชวังนั้น มีพระฉวีเศร้าหมอง พระเนตรทั้งสองหลุดหล่นลงอยู่บนพระหัดถ์ มีกาสองตัวตีกัน ตัวหนึ่งบินโผลงตรงยอดเหมฉัตรเจดีย์ที่วัดพระธาตุ อกสวมลงตรงยอดพระเจดีย์เหมือนดังคนจับเสียบไว้ ​เทวรูปพระนเรศวรนั้นมีน้ำพระเนตรไหลแลเปล่งศัพทสำเนียงเสียงอันดัง อสนีบาตตกลงหลายครั้งหลายหน พระราชวงษานุวงษ์ข้าราชการก็ไม่ตั้งอย่ในสัจธรรม สำแดงเหตุที่จะเสียพระนครศรีอยุทธยาหลายอย่างหลายประการ ดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้น ๚

จบ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 เมษายน 2567 11:45:12 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.286 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 เมษายน 2567 13:02:23