[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 06:44:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ  (อ่าน 6819 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:01:01 »

ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ
 
.......จุดเริ่มต้นความมนุษย์มาจากธาตุละเอียด เป็นแสงสว่างที่มีจิตสำนึกรู้ อาศัยแสงสว่างจากแสงในจักรวาลเป็นพลังงานปราณผ่านจักระทั้ง๗ ฐาน เสพปีติทางใจเป็นอาหาร มีอายุขัยที่ยืนยาวนับหมื่นปีผ่านการเรียนรู้วิฒนาการของจักรวาลไปพร้อมๆกัน
 
.......เมื่อความรู้สึกจิตสำนึกในสิ่งต่างๆ เริ่มหยาบลงจากการเสพสิ่งที่หยาบลงๆเป็นอาหาร จากง้วนดิน(ของเหลวคล้ายเนยใส) สู่แป้ง เนื้อสัตว์ ที่เป็นธาตุหยาบขึ้น ร่างกายที่อาศัยจึงมีวิวัฒนการหยาบลง
.......ร่างกายที่หยาบในส่วนรูปลักษณ์ (physical) แต่ในส่วนที่ละเอียด(mental) ด้านจักระทำงานยังเหมือนเดิม พลังปีติทางใจจากการปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวกกับเพื่อนมนุษย์ที่มอบความรักและเมตตาให้แก่กันยังคงมีอยู่เป็นสากล
....... ร่างกายที่หยาบขึ้น อายุเซลล์(cell) จึงสั้นตามลงไป ปัจจุบันนี้มนุษย์หนึ่งรอบอายุขัยนึง จึงอยู่ประมาณ ๑๒๐ ปีโดยประมาณ
 
http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/chakra-diagram.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

 
.......ตามภาษาอินเดีย ชื่อจักระทั้ง ๗ นี้ได้แก่ มูลธาระ สวาธิษฐาน มณีปุระ อนาหตะ วิสุทธะ อาชญะ สหัสราร และมี กุณฑาลินี ไหลเวียน โลดแล่นเป็นพลังให้แก่ชีวิตจิตวิญญาณทุกคน.......เรื่องจักระดังกล่าว มนุษย์ทุกมุมโลกล้วนค้นพบสภาวธรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงเชิงประจักษ์ มาตั้งแต่โบราณกาล ชื่อเรียกดังกล่าวนั้นจึงมีชื่อเรียกต่างๆกันไป ตามภาษาจีน ,ภาษาอังกฤษ สันสกฤตฯลฯ จุดจักระนั้นแม้ชื่อเรียกต่างกันแต่ก็เป็นจุดเดียวกันคุณลักษณะ ไม่แตกต่างกันจากการสัมผัสภาวะ
 
อ้างอิงเนื้อหาจาก : http://www.triplusgroup.com/content/Chakras.pdf

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:01:25 »

http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/aurafull.gif
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

ภาพออร่าของมนุษย์สัมพันธ์กับจุดจักระต่างๆตลอดเวลา
 
http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/centers.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

ภาพภาวะหมุนวนทำงานของจุดจักระ คลื่นสเปคตรัมแสงแถบสีตามลำดับความละเอียด ณ จุดจักระ
 
http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/galaxy-medium.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

ภาพถ่ายแกเลกซี่ ที่กำลังหมุนวนและสัมพันธ์กับภาวะจักระในมนุษย์
 
ฌานสมาธิระดับอัปปนาสัมมาสมาธิ
พุทธเถรวาท ให้ความสำคัญ เรื่อง จิต และเจตสิก
พุทธมหายาน วัชรยานให้ความสำคัญ เรื่อง จักระ พลังงานบนเรือนกาย
สภาวธรรมบุคคล ผู้ปฏิบัติเมื่อมีประสบการณ์ตรงของกายและจิต ก็จะมีประสบการณ์ดังกล่าวเหมือนกัน ขึ้นกับว่าจะมองมุมไหน มุมเถรวาท มุมมหายาน
 
ซึ่งอย่างไรก็แล้วแต่ล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน คือ องค์ความรู้ที่ปูพื้นในการพัฒนาจิตวิญญาณมนุษย์
ผ่านการเรียกรู้ต่างๆของประสบการณ์ธรรม ประสบการณ์ชีวิต
เรียนรู้ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตา ของธรรมชาติภายใน(จิตและกาย)
และการนำไปสู่ความรักเมตตาที่เป็นสากล สัจจะที่เป็นองค์รวม
 
เมื่อผู้ปฏิบัติศึกษาผ่านสภาวธรรมภายในด้วยตัวเองอย่างลึกซึ้งก็จักเข้าใจแจ่มแจ้ง
ถึงความสอดคล้อง คล้องจอง หนึ่งเดียวเกี่ยวพันร้อยรัดเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ระหว่างชีวิตจิตวิญญาณท่านเองที่สัมพันธ์กับโลก เพื่อนร่วมโลก แกแลกซี่ จักรวาลอันสากล
เข้าใจในเมตตารักอันเป็นสากล ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกเราเขา
 
หากเพื่อนท่านใดกำลังศึกษาเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าว ...
ขอแนะนำวิธีปฏิบัติหัวข้อบทหนึ่งที่ตรง คม ชัดเจนที่น่าสนใจ
 
ที่พระคุณเจ้าท่านนามว่า พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี ภิกขุ รจนาไว้แล้วในหนังสือ หนังสือ วิมุตติธรรม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๔
 
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (1)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (2)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (3)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (4)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (5)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (6)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (7)
 
ขอเจริญธรรมครับ
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:02:10 »

http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/milddim.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

 
มิติแห่งจิต
........จักระ จักระคือศูนย์รวมของพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ ซึ่งเป็นศูนย์พลังอันละเอียดอ่อนที่โีดยทั่วไปจะไม่สามารถสัมผัสได้ มนุษย์ มีจักระจำนวนมากมายอยูู่ภายในร่างกาย จักระที่สำคัญของมนุษย์เ์รานั้น มีอยู่ด้วยกัน ๗ ตำแหน่ง จักระในแต่ละตำแหน่งจะดูแลและควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ภายในร่างกายของคนเราให้ทำงานเป็นปกติ
 
........ร่างกายของคนเราถูก ควบคุมด้วยต่อมต่า่งๆ ที่เีรียกว่า ต่อมไร้ท่อ โดยต่อมไร้ท่อจะส่งสารทางเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ไปสู่กระแสเลือดและน้ำเหลืองโดยไม่ต้องผ่านท่อส่งสารฮอร์โมนมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกายเป็นอย่างมาก เช่นระบบการเจริญเติบโต การย่อยอาหาร ระดับพลังงานภายในร่างกาย เรื่องทางเพศ รวมถึงการรักษาระดับน้ำและของเหลวในร่างกายอีกด้วย ต่อมต่างๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์กับจักระทั้ง ๗ หรือศูนย์รวมระบบประสาทหรือพลังงานทางจิตซึ่งมีอยู่ ๗ แห่งในร่างกาย
 
สภาวธรรมระดับอัปปนาสมาธิ
องค์ความรู้ฝ่า่ยมหายาน จักระ โยคะศาสตร์ให้ความสำคัญกับ จุดจักระต่างๆ บนเรือนกาย
องค์ความรู้ฝ่ายเถรวาท ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของ จิต(เจตสิก)
ตามหลักสภาวธรรม กายและจิตมีความสัมพันธ์กันทุกระดับ จากระดับหยาบสู่สภาวะละเอียด
 
 
บทนำก่อนเข้าสู่ภาคปฏิบัติ
 
สัจจะอันเป็นองค์รวม
........องค์ความรู้เรื่องพลังของจิตในระดับต่างๆ เช่น พลังจักรวาล พลังกุณฑาลินี พลังแห่งจักระ สหจะโยคะ ราชาโยคะฯ พึงทราบว่าโดยสภาวะนั้นเป็นการพูดถึงสิ่งเดียวกันคือเรื่อง สมาธิจิต ต่อมายุคหลังๆ การฝึกจิตเข้าสู่สมาธิระดับต่างๆ มีการคลาดเคลื่อนจากหลักแห่งความเป็นจริงไปบ้าง เช่นนึกอยากจะเข้าสมาธิระดับใดก็เข้าได้เลยโดยไม่ต้องผ่านสมาธิระดับต้นๆ ซึ่งตามหลักสภาวธรรมแล้ว เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
 
........หลักการ อุบายวิธียกระดับจิตตามราชาโยคะ พลังจักรวาล สหจะ โยคะฯ ในยุคหลังๆ ขาดความรู้อันเป็นหลักใหญ่ (องค์ประกอบของจิต -เจตสิก)จึงทำให้สภาวธรรมอันเป็นผลที่พึงได้รับไม่สมบูรณ์เหมือนยุคสมัยต้นๆ ของการค้นพบศาสตร์นี้
 
........มิติมุมมององค์ความรู้ในพุทธศาสตร์เรียกระดับชั้นของพลังจิตที่อยู่ในระดับสมาธิขั้นสูงนั้นว่า ฌานจิต องค์ความรู้ระดับฌานจิตเป็นองค์ความรู้ที่มีมาก่อนพุทธกาล พระพุทธองค์ก่อนตรัสรู้ก็ทรงศึกษาและสำเร็จ วิชาฌานจิต ทั้งแปดระดับ ลำพังความรู้ระดับฌานจิตนั้นไม่สามารถ ไปถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบชัดว่าตราบใดที่กระแสแห่งการเกิดดับของขันธ์ยังเกิด - ดับ สืบ ต่อเนื่องกันอยู่นั่นคือ ภาวะความสืบต่อแห่งทุกข์ยังไม่สิ้นสุด! สภาวธรรมระดับอรูปฌานที่สี่คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ขันธ์เกือบจะดับสนิท อย่แล้ว แต่เ่พราะยังมีเีชื้อ ตัณหาอุปาทานอยู่ สันตติแห่งการเกิด - ดับของขันธ์ จึงไม่ดับสนิท ไม่ดับสิ้นสุดลง! พระพุทธองค์จึงทรงปลีกออกไปโดยลำพังเพื่อแสวงหาองค์ความรู้ที่ สูงกว่าที่สุด พระองค์ท่านก็ได้ทรงค้นพบด้วยความสามารถของพระองค์เองนั่นคือ วิปัสสนา
 
........สิ่งหนึ่งที่ผู้ศึกษาวิชาความรู้ในพุทธศาสนาไม่ควรมองข้ามก็คือ พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญองค์ความรู้ระดับฌานจิตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอัฏฐังคิกมัคค์ คือเป็นองค์ประกอบหนึ่งในแปดขององค์ความรู้ที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์......ด้วยบารมีธรรมแห่งโพธิญาณของเจ้าชายสิทธัตถะ ถึงวาระให้ผลเต็มรอบ สภาวธรรม ๗ ประการปรากฏขึ้น แวดล้อม เกื้อหนุน สมาธิระดับสามัญยกระดับขึ้นสู่ภาวะ สัมมาสมาธิ อันเป็นบาทฐานแห่งวิชชา ๓ ในรัตติกาลแห่งการตรัสรู้
 
อริยสัมมาสมาธิ
........ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง อริยสัมมาสมาธิ ที่มี ที่ตั้งอาศัย ที่มีบริขาร เธอจงฟังซึ่งธรรมนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว ภิก ษุทั้งหลาย อริยสัม มาสมาธิที่มี ที่ตั้งอาศัยที่มี บริขารเป็นอย่างไรเล่า ภิก ษุทั้งหลาย องค์มรรคเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติเหล่าใด อันเป็นองค์๗ ประการ ที่แวดล้อมเอกัคคตาจิต อยู่เอกัคคตาจิต ชนิด นี้ เราเรีย กว่าอริยสัมมาสมาธิ ที่มีที่ตั้งอาศัยดังนี้บ้าง ที่มีบริขารดังนี้บ้าง

ม.อุปริ. 14/136/184 มหาจัตตารีสกสูตร
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:02:27 »

http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/circle.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

 
วงโคจรการวนรอบของจิตในสังสารวัฏ

........พลังงานทุกหน่วยในโลกและจักรวาล เคลื่อนที่ไีปในลักษณะวงกลมตามวงจรอันเป็น ระบบจิต เป็น สภาวธรรมที่เีคลื่อนที่เีกิด - ดับ สืบเนื่องกันตลอดเวลาและกลุ่มพลังงานที่เีกิดจากกระแสแห่งความสืบต่อนี้ ก็เ็คลื่อนไปตามวงโคจรของวัฏฏะแห่งภพ จิตที่ปรากฏเกิด - ดับ จะมีองค์ประกอบ(เจตสิก) เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เมื่อองค์ประกอบระดับหยาบๆ ดับไป จิตก็เคลื่อนสู่สภาวะที่ละเอียดขึ้นๆ จากกามภูมิสู่รูปภูมิ สู่อรูปภูมิตามลำดับ และวนกลับมาที่กามภูมิตามวงโคจรของจิตในสังสารวัฏ
 
http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/level.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

สรุป การที่จิตจะเข้าสู่สภาวะระดับต่างๆ ที่ละเอียดสูงขึ้นๆ องค์ประกอบของจิต (เจตสิก) ต้องดับไปก่อนจึงสามารถเคลื่อนสู่สภาวะนั้นๆได้ หากองค์ประกอบยังไม่ดับ แม้จะสร้างเจตจำนงยกจิตขึ้นสู่จักระระดับต่างๆ พึงทราบว่านั่นเป็นเพียงลักษณะของความคิด นึกเท่า่นั้น จิต ยังอยู่ระดับเดิม (กามภูมิ) หาได้เ้คลื่อนสู่ระดับที่สูงไม่
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:02:47 »

จุดเริ่มต้นของโลกทัศน์และชีวิต

จุดเริ่มต้นสังขารธรรม จุดเริ่มต้นของกาละ
 
........“ภิกษุทั้งหลาย.....ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นเบื้องต้นมีผัสสะเป็นแดนเกิด-เหตุให้เกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุม-ที่รวมลงมีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยอดยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่นสาร มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นเป้าหมาย” อํ.ทสก. 24/58/128-129 มูลกสูตร
 
........คลื่นพลังของแสง เสียง กลิ่น รส และผัสสะที่รับรู้ผ่านทางประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย คลื่น พลังงานทั้งหมดเมื่อกระทบแล้วก็ดับสลายเป็นความว่างไม่มีบทบาทใดๆกับจิต แต่กระบวนการการรับรู้อารมณ์ไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงแค่นี้ สภาพการรับรู้ทุกจุดประสาทสัมผัสจะเคลื่อนไปที่หัวใจ เกิดมิติแห่งการรับรู้ที่มโนธาตุอีกครั้ง ณ จุดนี้เอง กระบวนการการรับรู้จะเคลื่อนไปสู่มิติแห่งความหมายของอารมณ์ภาษาบาลีใช้คำว่า ผัสสะ และผัสสะในปฏิจจสมุปปบาทก็หมายถึงผัสสะที่ใจนี้เอง(มโนสัมผัส)
 
ทวิลักษณ์
........ลักษณะความเป็นคู่ของอารมณ์คืออาณาจักรแห่งโลกสมมติที่จิตท่องเที่ยวไป ดี-ชั่ว, ผิด-ถูก, รัก-ชัง, ได้-เสีย,ไกล-ใกล้ หรือสื่อด้วยภาษาที่เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือพลังของขั้วบวกและลบนั่นเอง ผัสสะหรือ ความเป็นคู่แูห่งความหมายของอารมณ์ที่จิต รับรู้เป็น
ปัจจัย เป็น ตัวแปรให้เ้กิด เวทนา และระยะห่า่งระหว่า่งขั้วทั้งสองคือมิติ ของเวลา อดีต –อนาคต ณ จุดศูนย์กลางของภาวะความเป็นคู่นั้น
ผัสสะมีค่า่เท่า่กับ ศูนย์ เพื่อถ่วงรักษาความเป็นสมดุลของสภาวธรรมไว้ อุบายวิธีการฝึกจิต เพื่อข้า้มพ้น จากอำนาจแรงดึงต่า่งๆ จะต้องเขา้ หาพลังแห่งความเป็นสมดุล นี้
 
........อนุสัย ความเคยชินของจิตที่ฝังแน่น หยั่งรากลงในพื้นจิตระดับลึก จิตที่มีอวิชชาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าสภาพการเกิด - ดับของเวทนาสืบเนื่องมาจากผัสสะ ส่งผลให้เกิดความหลง ความยึดติดในเวทนาเมื่อยึดติดก็มีการสั่งสม ลักษณะการสั่งสมนี้เรียกว่าอนุสัย จิตที่ยึดติดสุขเวทนาจะเกิดการสั่งสม ราคานุสัย ยึดติดทุกขเวทนาจะเกิดการสั่งสมปฏิฆานุสัย สภาพที่จิตไม่รู้ลักษณะการเกิดและดับของเวทนาทั้งสองส่งผลให้เกิดการสั่งสม อวิชชานุสัย
 
........อาสวะ ทุกครั้งที่จิตมีการหลงยึดหลงติดในเวทนา ร่างกายจะหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาและไหลซ่านไปตามจุดต่างๆ บนเรือนกาย พลังงานจากสารที่หลั่งออกมานี้จะทำหน้าที่หน่วงเหนี่ยวดึงจิต ให้กลับเข้าไปร่วมกับเวทนาครั้งแล้วครั้งเล่า
 
........ตัณหา อุปาทาน อนุสัยจะส่งแรงผลักดันจิตให้แสวงหาอารมณ์ใหม่อันเป็นลักษณะของตัณหา โดยเข้า้ไปรึงรัด ร้อยรัด อารมณ์ต่า่ งๆ นั้นไว้ เพื่อป้อนข้อมูลให้จิตเสพเสวยเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา อนุสัยเก่าที่นอนเนื่องในพื้นที่ลึกของจิตก็ทำหน้าที่ปรุงแต่งสร้างอัตตา - ตัวตนขึ้นมา(อุปาทานขันธ์) รอบการเกิด - ดับตัณหาอุปาทานเพิ่มความถี่มากขึ้นๆ เพิ่มพูนขึ้นๆ เกิดการสะสมสั่งสมเป็นสนามพลังของเจตสิกหรือเครือข่ายแห่งความคิดนึกล้อมรอบมโนธาตุไุว้เ้ป็น ชั้น ๆ อำนาจแรงของสนามพลังนี้ เองที่ดึงดูดจิตไว้ไม่ให้เป็นอิสระ......
 
http://i11.photobucket.com/albums/a194/nataraja/field.jpg
ฐานความรู้โดยย่อเรื่อง จักระ

 
........องค์ความรู้ของการพัฒนาจิตเพื่อเคลื่อนสู่ระดับ จักระต่า่งๆ จนถึง จุดสูงสุดแห่งอิสรภาพอันถาวร องค์ความรู้นั้นต้องเข้าใจระบบโครงสร้างของสนามพลังเจตสิกที่ล้อมรอบมโนธาตุนี้เสียก่อนจึงจะพบเส้นทางไปสู่อิสระได้ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมก่อนที่จิตจะเคลื่อนไปสู่จักระระดับต่างๆ จึงต้องผ่านจุดนี้คือจุดมโนธาตุทุกครั้ง
 
........ด้วยอำนาจแห่งจิตอันเกิดจากการเพ่งพินิจในอารมณ์ปัจจุบัน จะเกิดปัญญาหยั่งรู้หยั่งเห็น ความสืบต่อ ของปัจจุบันขณะบ่อยครั้งมากขึ้นๆ ถี่ขึ้นๆ จนเกิดการประจักษ์แจ้งภาวะ ความเป็นจริงของกายและจิต หรือรูปและนาม ว่าแท้จริงแล้วคือกระแส แห่งความสืบต่อ ของขณะหลายๆ ขณะที่เีกิด ดับ ต่อ เนื่องกัน เป็น สายๆนี่เีอง
 
........ด้วยอำนาจพลังแห่งปัญญาที่เีกิดขึ้นกระแสธารแห่งสังขาร ความปรุงแต่งจะถูกตัด ถูกทอนออกให้สั้นลงๆ ความเชี่ยวของกระแสธารจะลดลงๆ ความรุนแรงจะอ่อนตัวลงๆ จนไม่สามารถที่จะดึงจิตเข้าไปร่วมกระแสได้จิตจะค่อยๆเคลื่อนเข้าใกล้จุดศูนย์กลางสนามพลังแห่งความเป็นคู่(จุดศูนย์กลางของพลังงานทุกอย่า่งมีค่า่เท่า่กับศูนย์) สภาพความเป็นคู่ของอารมณ์จะทำปฏิกิริยากับจิตน้อยลง มิติของเวลาจะสั้นลง แรงพลังแต่ละระดับชั้นจะเบาลง พลังจิตจะเพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงจุดๆ หนึ่งจิตก็หลุดพ้นเป็นอิสระจากแรงดึงแต่ละระดับชั้นเข้าไปสู่จักระที่ละเอียดและสูงขึ้น.....
 
........บทนี้จะนำท่านไปสู่ภาคปฏิบัติ(อานาปานสติ) ซึ่งเชื่อมโยงสภาวธรรมขององค์ความรู้เรื่องจักระพลังกุณฑาลินีฌานจิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการศึกษาและปฏิบัติอันก่อให้เ้กิดแรงบันดาลใจแก่อนุชนรุ่น หลังสืบไป
 
รายละเอียดจาก อานาปานสติ-ภาคปฏิบัติ วิมุตติธรรม
เพิ่มเติมดูได้จาก.....
 
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (1)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (2)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (3)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (4)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (5)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (6)
อานาปานสติ - ภาคปฏิบัติิ (7)
 
ข้อมูลจาก http://vimuttidhamma.org
 

http://www.dhammachak.net/board/viewtopic.php?t=454
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 3.6.15 Firefox 3.6.15


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 มีนาคม 2554 16:55:38 »



ยิ้ม  ยิ้ม  ยิ้ม

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.498 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 28 เมษายน 2567 05:15:04