[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 21:29:20



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 21:29:20
4 ยุคสมัยของการใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 'สนามราษฎร' และการช่วงชิงความหมาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-02-21 20:55</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p>
<p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ย้อนประวัติศาสตร์การใช้พื้นที่ 'สนามหลวง' 4 ยุค คือ ยุคสถาปนากรุงเทพฯ ในชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ยุครัชกาลที่ 5 ครั้งแรกของเปิดให้ประชาชนใช้พื้นที่ ยุคสนามราษฎรตั้งแต่ 2475-2520 และยุคสนามหวงและการช่วงชิงความหมาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543250518_d25379a440_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัยทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 1-4 </span></h2>
<p>รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ตอน ""สนามหลวง" พื้นที่ชีวิตบนซอกหลืบประวัติศาสตร์" (https://www.youtube.com/watch?v=63YG8lJv1yk&amp;t=1939s) ตอนที่ 157 ออกอากาศเมื่อ 11 ต.ค. 2565 ผ่านช่องทางยูทูบ ได้มีการนำเสนอประวัติศาสตร์ และพลวัตรการใช้พื้นที่สนามหลวง ตั้งแต่ยุคการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ยุครัชกาลที่ 5 ยุคคณะราษฎร และปัจจุบัน </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/63YG8lJv1yk?si=IopO7go8koCQza8c" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>ประวัติโดยคร่าวของ 'สนามหลวง' ถูกสร้างขึ้นพร้อมการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325 ขนาดปัจจุบัน 74 ไร่ ตั้งอยู่ทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สนามหลวงสมัยก่อนไม่เหมือนกับปัจจุบัน เพราะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่ง และไม่ได้เป็นลักษณะ 'วงรี' รูปไข่ แต่เป็นลักษณะรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง เคยเป็นพื้นที่ของวังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล เหตุที่ทราบนั้นเพราะมีการขุดค้นพบกระสุนปืนใหญ่ และปืนใหญ่จำนวนมาก</p>
<p>ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ระบุในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' ว่า สันนิษฐานว่า การสร้างสนามหลวงน่าจะได้รับอิทธิพลรูปแบบมาจาก "สนามหน้าจักรวรรดิ" พระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) เพื่อทำพิธีพระเมรุ และอื่นๆ  ทำให้ ‘สนามหลวง’ แต่เดิมเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ด้วยความที่สนามหลวงถูกใช้ในงานออกพระเมรุของสถาบันพระมหากษัตริย์ และชนชั้นสูง ทำให้หลายคนรู้จักสนามหลวงในชื่อ "ทุ่งพระเมรุ" ทีนี้ก็มีคำถามต่อว่า ถ้าเป็นศพของไพร่เขาจะทำอย่างไร รายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุว่า เขาจะเอาศพไพร่ออกทางด้านประตูผี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น 'สำราญราษฎร์') และนำไปทำพิธีฌาปนกิจที่วัดสระเกศ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">รัชกาลที่ 5 ครั้งแรกที่เปิดให้ประชาชนใช้</span></h2>
<p>เวลาผ่านไปจนปี พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 หรือสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนชื่อจากเดิม "ทุ่งพระเมรุ" เป็น "ท้องสนามหลวง" เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ทำกิจกรรมและพระราชพิธีมากยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน และชื่อ 'ทุ่งพระเมรุ' ไม่เป็นมงคล โดยมีบันทึกว่า หากใครฝ่าฝืนเรียกท้องสนามหลวงว่า "ทุ่งพระเมรุ" จะถูกตำรวจจับ และปรับสินไหม เพื่อเป็นการลงโทษ</p>
<p>ปี พ.ศ. 2428 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้สนามหลวงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ โดยรัชกาลที่ 5 มีคำสั่งยกเลิกตำแหน่งมหาอุปราชวังหน้า และมีการลดพื้นที่เขตวังหน้าลง โดยการรื้อกำแพงพระราชวังบวรด้านเหนือออก ประจวบเหมาะกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้อาณานิคมของ เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าประทับใจสวนอลุน-อลุน หน้าพระราชวังสุลต่าน เมืองยอร์กจาการ์ตา จึงนำมาปรับปรุงพื้นที่ท้องสนามหลวง โดยมีการขยายพื้นที่เป็นสนามวงรีอย่างที่เห็นปัจจุบัน และนำต้นมะขามมาปลูกตกแต่งรอบๆ</p>
<p>ช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการใช้งานสนามหลวง โดยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนจากแต่เดิมถูกใช้เพื่องานในพระราชพิธี ให้มีการใช้เป็นลานกิจกรรมสำหรับเจ้าขุนมูลนาย และประชาชนในบางโอกาส หนึ่งในกิจกรรมที่ประชาชนนิยมเล่นในสนามหลวงคือการเล่นว่าว ได้รับความนิยมจนมีประเพณีแข่งเล่นว่าวระหว่างว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า ความนิยมของการเล่นว่าวสะท้อนผ่านกฎหมาย และคำเตือนถึงประชาชนว่า ระวังสายป่านว่าวไปเกี่ยวพันตัวอาคารหรือยอดปราสาท </p>
<p>"นี่อาจเป็นภาพของพื้นที่สาธารณะยุคแรกเริ่มที่อนุญาตให้สามัญชน เข้าใช้ท้องสนามหลวงในบางโอกาสได้ โดยไม่จำกัดเพียงสถานะของการเป็นมณฑลของการประกอบพระราชพิธี อย่างที่เคยเข้าใจ และจดจำกันเรื่อยมา" ผู้บรรยายรายการ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ระบุ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53543359569_a7fef54a00_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ การแข่งขันว่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 (ที่มา: </span><span style="color:#d35400;">สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ</span> (https://www.facebook.com/photo/?fbid=2890777551184142&amp;set=pcb.2890781674517063&amp;locale=th_TH)<span style="color:#d35400;">)</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สู่ 'สนามราษฎร' สมัยปฏิวัติ 2475 </span></h2>
<p>24 มิ.ย. 2475 กลุ่ม 'คณะราษฎร' ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปสู่ระบอบ 'ประชาธิปไตย' และได้ทำการเปลี่ยนจาก 'สนามหลวง' เป็น 'สนามราษฎร'</p>
<p>สนามหลวงในฐานะพื้นที่สาธารณะ หรือสนามราษฎร เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงนี้หลังจากรัฐบาลนำโดย พระยาพหลพลพยุหเสนา ปีกทหารของคณะราษฎร จัดพิธีปลงศพทหาร-ตำรวจที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช 17 นาย เมื่อปี 2476 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างพระเมรุปลงศพราษฎรบนท้องสนามหลวง </p>
<p>ชาตรี ประกิตนนทการ ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมยุคคณะราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา (https://www.youtube.com/watch?v=63YG8lJv1yk&amp;t=1939s) ระบุว่า การสร้าง 'พระเมรุของสามัญชน' ใน 'สนามหลวง' ถือเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายรูปแบบระบบระเบียบกติกาที่แบ่งแยกชนชั้นผู้คนในสนามหลวง ตัวรูปแบบสถาปัตยธรรมของพระเมรุใช้ เป็นรูปบบสถาปัตยกรรมใหม่ หรือเป็น 'อาร์ตเดโก' (Arts Deco) แบบคณะราษฎร จุดเด่นคือตัวสถาปัตย์พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย อีกทั้งมีการนำโรงศพของทหารตำรวจ 17 นายมาล้อมรอบ 'พานรัฐธรรมนูญ' ซึ่งไม่มีใครเคยมีการทำมาก่อน </p>
<p>ในปี 2477 ยังมีการงานเฉลิมฉลองที่ให้ราษฎรได้มีส่วนร่วมบนพื้นที่สนามหลวง เช่น การจัดงานฟุตบอลเหล่าทัพ การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งแรก การจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญเป็นประจำทุกปี การจัดงานประกวดประณีตศิลปกรรม การประกวดนางสาวสยาม และอื่นๆ</p>
<p>"ด้วยลักษณะความหลากหลายของกิจกรรม แชร์การใช้ร่วมกันบางอย่าง ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์มากกว่าหรือน้อยกว่า ทุกคนสามารถเข้าใช้พื้นที่นี้ได้ ผมจึงเสนอว่าสนามหลวงจึงเริ่มเปลี่ยนกลายเป็นที่พับลิกสเปซ (พื้นที่สาธารณะ) เพราะฉะนั้น สนามหลวงในฐานะ 'เจ้าของ' หลัง 2475 ก็คือรัฐ …รัฐหลัง 2475 ก็คือประชาชน เพราะฉะนั้น สนามหลวงจึงเป็นพื้นที่ของประชาช" ชาตรี กล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา'</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จอมพล ป. สมัย 2: จุดเริ่มต้นตลาดนัดสนามหลวง เวทีไฮปาร์ก</span></h2>
<p>ข้อมูลจากรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา ระบุต่อว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2490-2500) ประเทศไทยขณะนั้นประสบปัญหาเศรษฐกิจและขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง จอมพล ป. จึงเปิดให้ประชาชนเอาสินค้าเข้ามาขายในท้องสนามหลวง จนได้รับความนิยมมากและพัฒนาเป็น 'ตลาดนัดสนามหลวง' ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์</p>
<p>นอกจากเป็นตลาดค้าขายสินค้า สนามหลวงยังเปิดให้ประชาชนเข้ามาไฮปาร์ก (Hype Park) ปราศรัยแสดงออกทางการเมือง จนมีการขนานนามว่าเป็น 'สภาประชาชน' และได้เกิดการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพครั้งแรก โดยผู้ถูกดำเนินคดีคือ สง่า เนื่องนิยม จากกรณีไฮปาร์กกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 หรือพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เวทีไฮปาร์กสนามหลวงถูกปิดตัวในปี 2499 เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ไม่พอใจการไฮปาร์กโจมตีคณะรัฐบาล และมีการกล่าวหาว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หรือ พคท. เข้ามาแทรกแซงการทำกิจกรรมดังกล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เผาศพสามัญชนครั้งที่ 2 และครั้งสุดท้ายบนสนามหลวง</span></h2>
<p>ปี 2517 สนามหลวงถูกใช้เป็นสถานที่ปลงศพสามัญชน ครั้งที่ 2 และเป็นครั้งสุดท้าย สืบเนื่องจากการประท้วงของนักศึกษาต่อต้านเผด็จการ จอมพล ถนอม กิตติขจร ในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 วันนั้นทหารใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 ราย  </p>
<p>ชาตรี เน้นย้ำว่า การปลงศพประชาชนบนท้องสนามหลวงเมื่อ 14 ตุลา ไม่เหมือนกับสมัยคณะราษฎร เนื่องจากเป็นการทำพิธีที่ได้รับอนุญาตจากฝั่งอนุรักษ์นิยม และสถาปัตยกรรมของพระเมรุ แม้ว่าจะมีความเรียบเกลี้ยงเหมือนสมัยคณะราษฎร แต่ก็มีการประยุกต์เอาศิลปะจารีตนิยมเข้ามาใช้ผสมผสานกัน</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="824" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F6tula2519%2Fphotos%2Fa.1206397566085729%2F4591051544286964%2F%3Ftype%3D3&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>ต่อมา 'สนามหลวง' ยังข้ามผ่านอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งท้องสนามหลวงขณะนั้นกลายเป็นพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่มาขับไล่นักศึกษาที่ชุมนุมอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ </p>
<p>เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 14 ตุลา ถึง 6 ตุลา อาจเป็นภาพสะท้อนของการเมืองคณะราษฎรที่อยู่ในยุคถดถอย</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/5698/21350538484_1ddf067ae5_c.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ : ภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 (ภาพโดย 'สวรรค์รัก')</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สมัย 2520 จุดเริ่มต้นสนามหวง</span></h2>
<p>ชาตรี (https://www.the101.world/sanamluang/) ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ "101.world" มองด้วยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประชาชนเริ่มห่างหายออกไปจากสนามหลวง เนื่องจากรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อรองรับแนวคิดด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน และขึ้นทะเบียนสนามหลวงเป็น “โบราณสถาน ทุ่งพระเมรุ สนามหลวง” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ประกาศเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2520 ซึ่งมีข้อกำหนดตาม พ.ร.บ.โบราณสถานฯ ระบุว่า คนที่ทำลาย บุกรุกแหล่งโบราณสถาน หรือทำให้เสื่อมค่า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท </p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตย์ ยุคคณะราษฎร เสริมว่า นโยบายนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนเริ่มหายออกไปจากสนามหลวงมากขึ้น ทั้งการย้าย ‘ตลาดนัดสนามหลวง’ ไปที่ ‘จตุจักร’ และการย้ายส่วนราชการออกจากรัตนโกสินทร์ชั้นใน</p>
<p>แม้ว่าจะมีระเบียบ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ กำกับ แต่หลังรัฐประหาร 2549 สนามหลวงยังคงถูกใช้เป็นพื้นที่การชุมนุมอย่างเข้มข้น เช่น การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และอื่นๆ ชาตรี มองว่าการชุมนุมทางการเมืองบนท้องสนามหลวงช่วงนี้คึกคักกว่าช่วง 14 ตุลา 2516 เสียอีก</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50011876288_8aba0c4d53_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: ภาพสนามหลวง เมื่อปี 2563</span></p>
<p>การปรับปรุงภูมิทัศน์สนามหลวง เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากการสลายการชุมนุม 'คนเสื้อแดง' เมื่อปี 2553 โดยในสมัยของ สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น มีการล้อมรั้วเหล็กสูง 1.7 เมตร และเปิดช่องให้ประชาชนเข้าใช้พื้นที่ออกกำลังกาย ตามเวลาที่กำหนด 17.00-24.00 น. ทั้งที่จากเดิมเปิดตลอด 24 ชั่วโมง </p>
<p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ย. 2555 ผู้ว่าฯ กทม. แก้ไขระเบียบกรุงเทพมหานคร ห้ามใช้สนามหลวงจัดงานที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ทำให้การเป็นพื้นที่สาธารณะของสนามหลวงสิ้นสุดลง</p>
<p>ถึงระเบียบจะห้าม แต่ยังพบการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สนามหลวงอีกหลายครา บางครั้งปักหลักชุมนุมเป็นเวลาหลักเดือน โดยยังไม่พบข้อมูลการดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกโบราณสถาน</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>จากสนามหลวงสู่สนามหวง: เมื่อการเมืองถูกไล่ออกจากพื้นที่สาธารณะ (https://prachatai.com/journal/2020/09/89468)</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">19กันยา 2563 ปฏิบัติการทวงคืนสนามหลวง </span></h2>
<p>หลังเดือน ก.ค. 2563 เป็นต้นมา การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ถูกจุดติดขึ้นโดยมีชนวนจากพรรคอนาคตใหม่ นำโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 10 ปี</p>
<p>เมื่อ 19 ก.ย. 2563 กลุ่มคณะราษฎร (รุ่นใหม่) ซึ่งเป็นกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ทันสมัย ได้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวง จัดชุมนุม "ทวงคืนอำนาจราษฎร" โดยไฮไลท์สำคัญคือ อานนท์ นำภา ทนายความ และนักกิจกรรม ได้ประกาศให้สนามหลวง เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามราษฎร์" นอกจากนี้ นักกิจกรรมได้ทำพิธีปักหมุดคณะราษฎร และอ่านประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 2</p>
<p>อนึ่ง หลังการชุมนุมสิ้นสุด แกนนำนักกิจกรรมถูกดำเนินคดีในหลายข้อหา และ 1 ในนั้นคือ พ.ร.บ.โบราณสถานฯ โทษจำคุกสูงสุด 10 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตด้วยว่า ทางการไม่เคยใช้ข้อหานี้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในสนามหลวงมาก่อน แต่กลับมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมครั้งนี้</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50367744101_69d760f7ff_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: อานนท์ นำภา เมื่อ 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50361919907_df573bc5f0_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: การฝังหมุดคณะราษฎร ที่สนามหลวง ในการชุมนุม 20 ก.ย. 2563</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ผู้ชุมนุมยื่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต่อตัวแทนประธานองคมนตรี (https://prachatai.com/journal/2020/09/89605)</li>
<li>
<p>นักกิจกรรมเวียน สน.รับทราบข้อหาคดีชุมนุมวันเดียว 4 คดี-2 ดาวดินไม่มาม็อบก็โดนหมายเรียก (https://prachatai.com/journal/2020/11/90284)</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 มีการชุมนุม "จำกัดพระราชอำนาจสถาบันพระมหากษัตริย์ และเรียกร้องให้อยู่ใตรัฐธรรมนูญ" จัดโดยกลุ่ม 'REDEM' ที่สนามหลวง หรือสนามราษฎร์ วันนั้นผู้สื่อข่าวประชาไท ได้ลงรายงานข่าว และพบว่าแนวคิดของการทำกิจกรรมคือการพยายามทำให้สนามหลวงเป็นสนามราษฎร (อีกครั้ง) เป็นการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์</p>
<p>โดยผู้จัดงานเชิญชวนให้ประชาชนใช้พื้นที่สนามหลวงทำกิจกรรมเหมือนเมื่อสมัยก่อน มีครอบครัวพาลูกมาทำกิจกรรมเล่นสเก็ตบอร์ด มีการแจกว่าวให้ประชาชนเล่นในสนามหลวง คู่ขนานกับการชุมนุมและการปราศรัย แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมในวันนั้นจบลงด้วยการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ คฝ. หลังประชาชนพยายามดึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้กั้นสนามหลวงลงมา มีรายงานการใช้กำลัง คฝ. พร้อมอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเข้าจับกุม มีการใช้กระสุนยาง และรถฉีดน้ำแรงดันสูง สลายการชุมนุมของประชาชน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51055014367_55185e108a_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">แฟ้มภาพ: สนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564</span></p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>#ม็อบ20มีนา REDEM ชุมนุมสนามราษฎร ส่งสาสน์ร้องจำกัดอำนาจกษัตริย์และลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (https://prachatai.com/journal/2021/03/92209)</li>
<li>คุยกับมนุษย์ #ม็อบ20มีนา ‘จำกัดพระราชอำนาจ’ ที่สนามราษฎร (https://prachatai.com/journal/2021/03/92222)</li>
</ul>
</div>
<p>เมื่อปี 25 มิ.ย. 2566 ชมรม "Immortal Thailand" ขอจัดงาน "รวมพลคน Harley รักในหลวง (Long Live The King 10)" เพื่อจัดงานแปรอักษรโดยใช้มอเตอร์ไซค์ เทิดพระเกียรติรัชกาลที่ 10 ที่สนามหลวง โดยทางกลุ่มยืนยันว่าเป็นการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 10 และไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ สัมฤทธิ์ สุมาลี ผอ.เขตพระนคร ไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ โดยให้เหตุผลว่างานดังกล่าวอยู่นอกเหนือระเบียบกรุงเทพมหานครฯ ข้อ 7</p>
<p>อนึ่ง ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการใช้การบำรุง และการดูแลรักษาพื้นที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. 2555 ข้อ 7 ระบุให้ใช้ "พื้นที่ท้องสนามหลวง เพื่อการจัดงานดังนี้ ได้แก่ งานพระราชพิธี งานรัฐพิธี งานประเพณีสำคัญของชาติ โดยหน่วยงานของรัฐ และการจัดการแข่งขันกีฬาไทยประจำปี" แต่ยังอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกาย </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>‘Immortal Thailand’ ชาวฮาเล่ย์ฯ แปรอักษร LONG LIVE THE KING แสดงพลังจงรักภักดี (https://prachatai.com/journal/2023/06/104752)</li>
</ul>
</div>
<p>ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือเมื่อ 15 ม.ค. 2567 มีรายงานพบชาวต่างชาติเข้าไปนอนอาบแดดที่สนามหลวง ซึ่งภายหลังได้ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจ กรุงเทพมหานคร เข้าไปตักเตือน และไม่ให้ทำลักษณะดังกล่าวอีก</p>
<p>ปรากฏการณ์ที่หยิบยกขึ้นมาจึงเป็นเครื่องสะท้อนว่าแม้ว่าทางกฎหมายจะไม่ได้ห้ามให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้สนามหลวง แต่ในทางปฏิบัติสนามหลวงกลับกำลังจำกัดการใช้งานของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ </p>
<p>ชาตรี เคยกล่าวในรายการ 'ประวัติศาสตร์นอกตำรา' (https://www.youtube.com/watch?v=63YG8lJv1yk&amp;t=1939s) ให้ความเห็นว่า การออกระเบียบการใช้สนามหลวง ทั้งการห้ามชุมนุมทางการเมือง และการปรับภูมิทัศน์ เป็นนโยบายที่ทำให้สนามหลวงเริ่มกลายเป็นพื้นที่ไร้ชีวิต และกำลังเหลือเพียงแค่เป็นพื้นที่สำหรับจัดงานพระราชพิธี เช่น จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2560 งานเฉลิมพระชมพรรษา หรืองานรัฐพิธี ส่วนความเป็น "ประชาพิธี" หรือการแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันระหว่างประชาชน และรัฐ เหือดแห้งลงไป</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การต่อสู้แย่งชิงความหมายความทรงจำจะมีอีก</span></h2>
<p>ชาตรี (https://www.the101.world/24-years-after-new-order-in-indonesia-1/) เคยให้สัมภาษณ์ในเว็บไซต์ 101.world ประเด็นการต่อสู้เพื่อช่วงชิงความหมายและความทรงจำบนพื้นที่สนามหลวง โดยให้ความเห็นว่า เสรีภาพการใช้สนามหลวงของประชาชนตอนนี้ถือว่าแย่ยิ่งกว่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากในพงศาวดารเคยบรรยายว่า แม้แต่ในยุคจารีต 'สนามหลวง' จะถูกใช้เพื่อประกอบพระราชพิธีเพียงอย่างเดียวก็จริง แต่ในยามว่างเว้นจากพระราชพิธี ก็อนุญาตให้ไพร่เข้าไปใช้สถานที่ได้</p>
<p>อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เสริมในบทสัมภาษณ์ของ 101.world ว่า การล้อมรั้วและการจำกัดการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างสนามหลวง ขัดกับมุมมองตามแนวคิดของระบอบประชาธิปไตย และแนวคิด 'พื้นที่สาธารณะ' ซึ่งต้องมีด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นของทุกคน 2. สามารถแสดงออกได้อยางเสรี โดยมีรัฐเป็นผู้ควบคุม ดูแล หรืออำนวยความสะดวก และ 3. เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสมอหน้า หรือหากมีการจำกัด ก็ต้องบังคับใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกีดกันอย่างไม่เป็นธรรม โดยถ้าหากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด การเป็นพื้นที่สาธารณะก็จะสิ้นสุดลง และ "หมดสิ้นความเป็นประชาธิปไตย" ลงพร้อมๆ กัน</p>
<p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ยุคคณะราษฎร มองด้วยว่า ยิ่งรัฐเข้มงวดกับการใช้พื้นที่สาธารณะดังกล่าวก็จะยิ่งเป็นแรงกดดันสะสม และเขาเชื่อว่าการต่อสู้เชิงอุดมการณ์และความหมายจะเกิดขึ้นอีกจนกว่า 'สนามหลวง' จะกลายเป็น 'สนามราษฎร'</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ประวัติศาสตร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สนามหลวง[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะราษฎร[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รัชกาลที่ 5[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">กรุงรัตนโกสินทร์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/14-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2-2516" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">14 ตุลา 2516[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/6-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2-2519" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">6 ตุลา 2519[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108165