[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 16:55:55 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : การรับรู้-ก่อหลักการวัตถุนิยมแยกส่วนที่ดื้อด้าน  (อ่าน 1672 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5077


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 06 กันยายน 2553 20:42:12 »





การรับรู้-ก่อหลักการวัตถุนิยมแยกส่วนที่ดื้อด้าน

แพทย์ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) และนักวิจัยที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ซึ่งได้ทำการบุกเบิกงานวิจัยได้ทำการศึกษาการทำงานของสมองด้วยการถ่ายภาพสมองขณะทำงาน (brain activity) โดยการใช้เครื่องมือถ่ายภาพเหมือนจริง (fMRI และ PET scam) ได้เขียนหนังสือที่ขายดีเล่มหนึ่ง (Andrew Newberg : Born to Belief, 2006) ว่าสมองของคนนั้นแปลกประหลาดและมีความดื้อด้านเหลือเชื่อ เขาบอกว่า “ถ้าหากว่าเรามนุษย์ทุกๆ คนมีความเชื่อมั่นอะไรอย่างฝังใจจริงๆ แล้ว ไม่ว่าอะไรในโลกก็แทบจะเปลี่ยนใจคนนั้นแทบไม่ได้ คือเราจะพบว่าเป็นการยากที่  “สมอง” มนุษย์จะร่วมประสานหลักการที่มีความเป็นตรงข้ามกันและกันหรือความเชื่อ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างล้ำลึกทั้งเรื่องของปัจเจกบุคคลและทั้งเรื่องของสังคมโดยรวม นั่นคือคำอธิบายว่าทำไมคนเราบางคนถึงยากที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตนหรืออยากจะโยนทิ้งความเชื่อที่สรรค์สร้างความพินาศฉิบหายให้แก่เรา ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องของศาสนา เรื่องการเมือง หรือเป็นเรื่องทางจิตวิทยา” ความจริง แอนดรูว์ นิวเบิร์ก ที่เขียนเรื่องเกิดมาเพื่อเชื่อเรื่องนี้คงจะต้องการที่จะกระแนะกระแหนหรือด่าว่าพวกนักวัตถุนิยม-แยกส่วน (materialtist-reductionist) มากกว่าที่ดื้อด้านยากเหลือเกินที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตน ถ้าหากว่าผู้นั้นเชื่อมั่นอย่างฝังจิตฝังใจ ยกเว้นบางคนที่ลังเลใจ เชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง แต่ผลของงานวิจัยนี้ได้ชี้บ่งอย่างชัดเจนว่าเรื่องของความเชื่อฝังใจ - ที่แม้แต่เราจะรู้ว่ามันจะนำความพินาศฉิบหายมาให้เรา - แต่เราจะโทษพฤติกรรมคนคนนั้นไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นเพราะสมองของเขาต่างหากที่ทำให้เขาเป็นเช่นนั้นอย่างช่วยไม่ได้ พูดถึงเรื่องนี้แล้วก็อยากบอกให้รัฐบาลกับท้าวมาลีวราชผู้มีหน้าที่สร้างสรรค์ความสามัคคีสมานฉันท์ระหว่างคนไทยที่แตกแยกกัน กระทั่งเข้าห้ำหั่นกันด้วยความโกรธเกลียดกันอย่างสุดๆ จะต้องหาหนังสือนี้มาอ่านพร้อมๆ กับหาผลงานวิจัยซึ่งเกี่ยวข้องกับจิต  (consciousness) หรือวิทยาศาสตร์ทางจิตที่เป็นงานวิจัยใหม่ๆ มาอ่านด้วย (frontier science) โดยเฉพาะควอนตัมฟิสิกส์มาอ่านให้เข้าใจเสียบ้าง อย่ามัวอ่านแต่ตำรา (texts) หรืออ่านงานวิจัยใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กายภาพเพียงอย่างเดียว หรืออ่านเฉพาะการวิจัยของสาขาตนเท่านั้น แต่แนะให้อ่านเอ็กเซิร์ฟ (excerpt) ในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพในสาขาต่างๆ ด้วย หากว่าเป็นไปได้ เพราะตำราเล่มใหม่ที่สุดที่ตีพิมพ์ในปีนั้นๆ ก็มักจะเก่าเกินหกเจ็ดปีแล้วเป็นส่วนใหญ่ ผู้เขียนเคยทำหน้าที่เขียนตำรา  (หนาเป็นพันๆ หน้า S.E. Gould’s Textbook of the Heart) โดยอ่านการวิจัยย่อ (abstract) มาทุกงานวิจัยที่เกี่ยวกับหัวใจแทบว่าในทุกประเทศ งานวิจัยที่ทำในเวลาสามหรือสี่ปีก่อนหน้านั้นทำมาตั้งแต่ยังเป็นหัวหน้าเรสซิเดนต์มาจนสอบอเมริกันบอร์ดได้และอยู่อเมริกาอีกร่วมปี ตำราเล่มนั้นถึงออกมา คือ ออกมาหลังผลงานวิจัยเมื่องานวิจัยนั้นทำเสร็จตั้งแต่ 1-7 ปีหลังที่ตำราเล่มนั้นพิมพ์อออกมาแล้ว แสดงว่าตำราเล่มใดไม่ว่าจะใหม่อย่างไรก็ตาม อย่างดีก็เหมาะสมกับนักศึกษาเท่านั้น ไม่เหมาะกับอาจารย์เลย


ในทางวิทยาศาสตร์นั้น ปัจจุบันจะบอกว่า ตา (และอวัยวะประสาทสัมผัสรับรู้ภายนอก sense- organs ของมนุษย์เรา) รับรู้สิ่งของหรือวัตถุอะไรๆ ที่ตั้งอยู่ภายนอกตัวและแยกออกจากตัวเรา เราจึงคิดว่าธรรมชาติแปลกแยกไปจากเรา นั่นคือที่มาของหลักการแยกส่วน และอมิต โกสวามี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นักควอนตัมฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโอเรกอนยังไปไกลกว่านั้น โดยบอกว่า แม้แต่อวัยวะประสาทการรับรู้ “ภายใน” ของเรา หรือจิตใจ หรือใจเราด้วย ซึ่งในที่นี้คือวิญญาณขันธ์อันเป็นตัวรู้ตัวจำได้หมายรู้ (สัญญาหรือ memory) โดยบอกเพิ่มเติมว่า ความจำนั้นเกิดขึ้นเมื่ออิเล็กตรอนจากดวงอาทิตย์  (แสงแดด) กระทบกับสิ่งของหรือวัตถุที่ตั้งอยู่ภายนอกนั้นๆ ทำให้โฟตอนออกมากระทบกับจอภาพหรือเรตินา (retina) ของลูกตาหรือนัยน์ตาของเรา และอิเล็กตรอนจากสารเคมีที่สมองของเรา (ตัวหนึ่งของคู่หนึ่งๆ) จะนำภาพของสิ่งของที่กำลังเห็นนั้นๆ ไปยังกลีบอ็อกซิปิตัลที่อยู่ด้านหลังของสมองเรา ในขณะที่อิเล็กตรอน (อีกตัวหนึ่งของคู่นั้นๆ) จะนำความจำของสิ่งของนั้นๆ ไปบันทึกและเก็บไว้ที่ฮิบโปแคมปัสที่เมื่อเราเห็นสิ่งของรูปกายวัตถุนั้นเป็นครั้งที่สองและต่อๆ ไป เราจะระลึกได้ทันที - พร้อมด้วยจิตสำนึกหรือจิตรู้ความเป็นตัวตน “ตัวกู” (self) - ว่า “เป็นฉันนะที่จำ”  (Amit Goswami : Visionary Window,  1996) ส่วนศาสนาที่ได้มาจากลัทธิพระเวท เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ ฯลฯ ต่างก็บอกว่า สิ่งที่เห็นหรือรับรู้ด้วยอวัยวะประสาทสัมผัสภายนอกและความจำที่รู้ด้วยจิตสำนึกหรือจิตรู้ภายในหรือมโนวิญญาณ (ที่ศาสนาพุทธเรียกว่า วิญญาณขันธ์) เช่น เวทนาความรู้สึก อารมณ์ ความคิด จินตนาการ ล้วนแล้วแต่เป็น “มายา” ที่ก่อทวิตาหรือความเป็นสองทั้งสิ้น มายาอันไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง - เพื่อที่จะให้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้รอด ซึ่งสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นต่างล้วนมองเห็นหรือรับรู้สิ่งของรูปกายวัตถุโดยที่ไม่เหมือนกันเลย - เช่น ตานกอินทรีที่บินอยู่บนฟ้าเห็นหนูบนพื้นหญ้าที่ตาของคนเรามองไม่เห็น หรือหูของแม่ช้างได้ยินเสียงของลูกน้อยที่เดินหลงป่าห่างไปถึง 5 กิโลเมตร เทียบกับหูคนเราที่ได้ยินเสียงแค่ 500 เมตรเท่านั้น


การแยกและลดส่วน (separation-reduction) พร้อมๆ กับหลักการวัตถุนิยม (materialism) - พูดง่ายๆ คือการคิดว่า มนุษย์ที่นำโดยฝรั่งชาวตะวันตกได้ค้นพบความจริงที่แท้จริงแล้ว และความจริงนั้นก็คือ สิ่งที่ “มนุษย์” รับรู้หรือเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหูนั่นเอง เป็นความรู้ที่นำหน้าด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพแทบทั้งหมดเพียงอย่างเดียว ทั้งสองคือหลักการที่เป็นผลของการรับรู้หรือมองเห็นด้วยตาของเรา ได้ยินด้วยหูของเรา และนั่นคือเหตุผลที่มนุษย์เราใช้ในปรัชญามาตั้งแต่สมัยกรีก สมัยอริสโตเติล ซึ่งเขียนเป็นหนังสือ - ที่นักวิชาการโดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายบอกว่า เป็นหนังสือที่ดีที่สุดในหนังสือไม่กี่เล่มเท่าที่โลกเคยปรากฏมา นั่นคือปรัชญาธรรมชาติของชีวิต (มนุษย์โลกนี้เท่านั้น) - ที่ว่าด้วยเหตุผลและความเป็นนอร์ม ความเป็นธรรมดา และคุณธรรมจริยธรรมของมนุษย์หรือ “คน” ซึ่งตอนหลังได้กลายเป็นหลักการของยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมที่ต่อมาอีกทีได้กลายเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์กายภาพที่ตอนนั้นยังเรียกกันว่าวิทยาศาสตร์เฉยๆ อันเป็นหลักการ “ความเชื่อ” ว่าเป็นความจริงที่แท้จริง - ตามที่ตาเห็นและหูได้ยินของมนุษย์เท่านั้น - นั่นเป็นความเชื่อหรือเป็นความรู้แทบทั้งหมด ยกเว้นศิลปะวรรณคดีและความงดงามอ่อนช้อยที่เป็นคุณสมบัติของชาวตะวันออก - ของเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งของชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกเป็นความเชื่อที่ติดตัวฝังใจมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนบัดนี้เกือบจะ 500 ปีเต็ม และแล้วนั่นคือ การก้าวกระโดดที่หนักหน่วงและรุนแรงที่สุดของมนุษยชาติ การก้าวกระโดดที่ไกลมากๆ ที่ก้าวมาสู่ “สมัยใหม่” ของชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกตลอดมาทั้งเวลาร่วม 500  ปีที่ว่านั้น ยังผลให้ฝรั่งชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกเชื่อว่าตนเท่านั้นคือพระเจ้าผู้เป็นใหญ่ เก่งและฉลาด  และครองโลกแต่เผ่าเดียว หรือสีของผิวหนังสีขาว (white) เพียงแต่สีเดียว โดยเหยียบย่ำทำร้ายทำลายเผ่าอื่นๆ สีผิวอื่นๆ จนกระทั่งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมทั้งหลายทั้งปวง ด้วยการคิดเอาเองว่าพฤติกรรมของตนนั้น ถูกต้อง ชอบธรรม ดีแล้ว จนกระทั่งทั่วทั้งโลกต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งชาวตะวันตกอย่าง  “ศิโรราบ” นั่นคือกระแสตะวันตกกระแสความเป็นอเมริกัน หรือทุกวันนี้เรียกกันว่ากระแสโลกานุวัตร  อิทธิพลที่ประชาโลกที่ไม่ใช่ฝรั่งตะวันตกจะต้องส่งลูกส่งหลาน “ไปชุบตัวเป็นทอง” ที่ยุโรป อเมริกาหรือฝรั่งประเทศอื่นๆ เสียก่อนทำงานเพื่อเตรียมสมองไว้รับหลักการความรู้วัตถุนิยม-แยกส่วนลดส่วน และเพื่อเครดิตกับความเชื่อถือ ซึ่งผู้เขียนเองเมื่อห้าสิบปีก่อนก็เป็นเช่นนั้น

แต่บัดนี้ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น บางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ใหม่ที่เป็นฝรั่งชาวตะวันตกเอง หรือคนที่คิดด้วยวิธีคิดใหม่มีโลกทรรศนะกระบวนทัศน์ใหม่  ซึ่งก่อนยุคสมัยการสำรวจดินแดนอื่นๆ นอกยุโรป (age of exploration and colonization ที่เริ่มในศตวรรษที่ 15) ฝรั่งหรือชาวยุโรปแทบไม่รู้จักชาวเผ่าอื่นๆ นอกจากชาวยุโรปและเผ่าอื่นๆ ที่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น อียิปต์ และแอฟริกาเหนือเลย แม้ว่าจักรพรรดิของกรีก โรมัน และอื่นๆ จะเคยมารุกรานบ้าง แต่การรู้จักอย่างเป็นกิจจะลักษณะแทบจะไม่มีเลย ชาวตะวันตกจึงแสดงความประหลาดใจที่ชาวเผ่าอื่นๆ เหล่านี้ ต่างก็มีวัฒนธรรมและศาสนาหรือปรัชญาความเชื่อของตน โดยเฉพาะชาวตะวันออก เช่น อินเดีย หรือจีน ที่มีวัฒนธรรมและศาสนาของตัวเอง และในบทความนี้มีความเชื่อและปรัชญาธรรมชาติที่ผิดแผกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ ชาวตะวันตก และชาวตะวันออกจะมีธรรมชาติของความเชื่อที่แตกต่างกันที่เป็นตรงข้ามกันและกันอยู่สามประการ คือ หนึ่ง ตะวันตก เชื่อในมนุษย์ว่าสำคัญที่สุด และทุกสิ่งทุกอย่างประกอบเป็นรูปกายวัตถุที่ตั้งอยู่ภายนอกแยกออกจากกัน แต่ตะวันออกในเรื่องของชีวิตจะเชื่อในกฎแห่งกรรมที่ทำให้ชีวิตแตกต่างกัน ไม่มองมนุษย์ว่าสำคัญที่สุดและแยกจากทุกสิ่งทุกอย่าง “หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง” สอง ตะวันตกเชื่อว่าความจริงมีหนึ่งเดียว คือ เท่าที่ตาเห็น หรือที่ประสาทสัมผัสรับรู้ แต่ตะวันออกจะเชื่อในความจริงที่มีสอง (ทวิตา) คือความจริงที่แท้จริง กับความจริงทางโลก (เพื่อการอยู่รอด) ที่ตาเห็นจึงเป็นภาพลวง หรือมายา สาม ตะวันตกจะเชื่อแต่เฉพาะกาย ส่วนจิตนั้นไม่มี หรือมีแต่คือผลของการทำงานที่ซับซ้อนของสมอง แต่ตะวันออกเชื่อว่ามีทั้งสองอย่างทั้งกายกับจิต และเป็นจิตที่นำหรือคุมกาย ข้อเสียของตะวันออกคือ เชื่อในจิตจนงมงายเลยกลายเป็นไสยศาสตร์ไปเลย

แต่ตอนนี้ เพราะควอนตัมฟิสิกส์ที่ไม่เคยผิดเลย และที่สำคัญคือถูกต้องกว่าฟิสิกส์ของนิวตันที่เราเชื่อมาตั้ง 400 กว่าปีเสียอีก ตะวันตกได้หันมาหาทางตะวันออก ดินแดนที่ฝรั่งตะวันตก จากยุโรป  อเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ พากันมาสนใจในนามธรรม (subjective) ที่ตนไม่เคยสนใจมาก่อน โดยเฉพาะในยุคสมัยของกรีก โรมัน และการอุบัติขึ้นของคริสต์ศาสนาเป็นต้นมา กว่า 2,500 ปี คือหันมาสนใจวัฒนธรรมของชาวตะวันออก แถมยังได้ค้นพบควอนตัมฟิสิกส์ที่ทำงานคล้ายๆ กับศาสนาที่อุบัติขึ้นที่จีน กับอินเดีย ควอนตัมสตัฟฟ์ (quaff) ที่ทำงานเหมือนกับจิตที่นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่เชื่อมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ การหันเหจาก “ตัวกูของกู” และการหันมาหาคุณค่าและความหมายกับเป้าหมายของชีวิตของ “มนุษย์” - การพบกับสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายของจักรวาล 

ดังที่ แอนดรูว์ นิวเบิร์ก ได้วิจัยและกล่าวไว้ว่า “หากผู้ใดมีความเชื่อมั่นอย่างฝังใจจริงๆ แล้ว ไม่ว่าอะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงความเชื่อผู้นั้นๆ แทบไม่ได้ นั่นคือ “สมองยากที่จะเปลี่ยนแปลง” ยกเว้นแต่คนที่ไม่เชื่ออย่างมั่นใจหรือฝังใจ หรือเชื่อมั่นมาช้านาน - ที่ผู้เขียนคิดเอาเองว่า - เหมือนๆ กับคนไทยที่แตกแยกกันในวันนี้ว่าไม่มีทางที่จะหวนกลับมาดีกันดังเดิมได้อีก เพราะว่าความแตกแยกระหว่างคนไทยนั้น โดยเฉพาะความเป็นสองมาตรฐานกับระบบอุปถัมภ์นั้น มันเป็นยิ่งกว่าฝังใจ แถมมันยังยาวนานยิ่งนัก.

http://www.thaipost.net/sunday/050910/27031

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2471 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2751 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2553 08:52:02
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2058 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2003 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2057 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.424 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กันยายน 2566 09:34:13