[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 08 มีนาคม 2567 12:17:20



หัวข้อ: พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๖๖ สีลวีมังสชาดก : ปุโรหิตทรงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 08 มีนาคม 2567 12:17:20

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13576513404647__500_320x200_.jpg)

พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ เรื่องที่ ๑๖๖  สีลวีมังสชาดก
ปุโรหิตทรงธรรม

          ในสมัยพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระองค์มีปุโรหิตที่ทรงศีลทรงธรรม
          วันหนึ่งปุโรหิตคิดจะทดสอบศีลของตน จึงหยิบเงินที่กระดานนับเงินไป ๓ วัน อยู่มาไม่นานตำรวจก็จับปุโรหิตไปฟ้องพระราชาว่าเป็นขโมย พระราชาตรัสถามว่าทำไมท่านถึงทำเช่นนี้ ปุโรหิตทูลว่าก็เพื่อจะทำสอบศีลของตน เพราะได้ยินว่าศีลเป็นความงาม ศีลเป็นเยี่ยมในโลก
          เมื่อพระราชาทรงทราบความคิดของเขาแล้ว เขาก็ขอพระราชทานอนุญาตออกบวช เพื่อรักษาศีลให้บริบูรณ์ ระหว่างที่บำเพ็ญภาวนาในป่าพระฤๅษีเห็นเหยี่ยวตัวหนึ่ง ซึ่งเฉี่ยวชิ้นเนื้อจากตลาดแล้วบินขึ้นไปบนอากาศ ถูกนกทั้งหลายห้อมล้อมจิกตี โดยหมายจะช่วงชิงชิ้นเนื้อนั้น เหยี่ยวไม่สามารถจะหลบหลีกได้จึงคายชิ้นเนื้อแล้วถูกนกตัวอื่นคาบเอาไป นกตัวที่คาบชิ้นเนื้อไปได้ก็ถูกนกตัวอื่นห้อมล้อมจิกตี หมายจะช่วงชิงชิ้นเนื้อเช่นกัน นกตัวนั้นจึงปล่อยชิ้นเนื้อแล้วนกตัวอื่นคาบต่อไปอีก เป็นอย่างนี้เป็นทอดๆ ไป
          จากเหตุการณ์ครั้งนี้พระฤๅษีได้แง่คิดว่า “ถ้าเราไม่มีอะไร เราก็ไม่ถูกเบียดเบียน ถ้าเราไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เราก็ไม่มีความกังวล”
          ต่อมาพระฤๅษีได้เดินทางออกจากพระนคร แล้วนอนพักอยู่ที่บ้านหลังหนึ่ง ขณะที่นอนอยู่ที่บ้านหลังนั้น สาวใช้ของบ้านนั้นได้นัดแนะผู้ชายให้มาหาที่บ้าน นางนั่งรอเขาจนเวลาล่วงเลยไปจากยาม ๑ เข้ายาม ๒ ชายหนุ่มก็ยังไม่มา นางรอไปจนถึงใกล้รุ่ง เกิดความหมดหวังว่าเขาจะไม่มาแล้ว จึงนอนหลับไป
          จากเหตุการณ์ครั้งนี้ พระฤๅษีได้แง่คิดว่า “ผู้ไม่มีความหวังย่อมหลับเป็นสุข”
          รุ่งขึ้นพระฤๅษีก็ออกจากบ้านนั้นเดินทางเข้าสู่ป่า เข้าฌานอยู่อย่างเป็นสุข มีพรหมโลกมีที่ไปในโลกหน้า
   

นิทานชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“การอยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นเป็นความสุขที่สุดในโลก”

พุทธศาสนสุภาษิตประจำเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อตีตํ นานฺวาคเมยฺย  นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
อย่าละห้อยความหลัง อย่ามัวหวังอนาคต (๑๔/๕๒๗)