[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 21:53:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ความลับที่อยู่หลังความลับของธรรมชาติ  (อ่าน 1413 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 15:45:52 »


 

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานของจักรวาล ไล่มาตั้งแต่บริบทที่รวมรูปแบบและกฎ หรือกลไกที่ควบคุมจักรวาลในฐานะธรรมชาติ หรือพูดง่ายๆ คือโครงสร้างของธรรมชาติ (structure of nature) นั้น มีอยู่สองระดับทั้งนั้น ซึ่งนักจิตวิทยาจิตวิญญาณ (spiritual psychology) ทุกคนโดยไม่มียกเว้น แยกจากกันด้วยเป็นสอง คือมองเห็นกับมองไม่เห็น มองเห็นก็คือหยาบ-ไล่ไปจากหยาบน้อย หยาบมาก จนถึงหยาบที่สุด-ซึ่งได้แก่รูปกายและวัตถุที่ตั้งอยู่ข้างนอก คือเล็กอย่างยิ่ง ได้แก่ คลื่นอนุภาค อะตอม โมเลกุล และเซลล์ต่างๆ จนหยาบใหญ่ไล่ขึ้นไปเป็นโลก ดาวต่างๆ เป็นกาแล็กซี และตัวจักรวาลเอง (ความเป็นสองที่เรียกว่า cosmos กับ Kosmos) ส่วนที่มองไม่เห็นคือจิตที่ละเอียดอย่างยิ่ง ไล่ลงไปตั้งแต่ละเอียดอย่างยิ่งน้อย ละเอียดอย่างยิ่งมาก จนละเอียดอย่างยิ่งมากที่สุด ซึ่งก็คือจิตหนึ่งที่กระจ่างใสหรือจิตของพระเจ้า จิตวิญญาณหรือจิตเหนือสำนึก จิตไร้สำนึกกับจิตใต้สำนึก และจิตสำนึกหรือจิตรู้ พูดอีกอย่างหนึ่ง ที่สรรพธรรมชาติหรือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในจักรวาล รวมทั้งตัวจักรวาลหรือตัวธรรมชาติเองที่แยกออกจากกันเป็นสอง (nature กับ Nature) ก็คือความเป็นสองหรือทวิตา (dualism) ซึ่งก็คือความจริงทางโลกหรือทางสังคม-อันไม่ใช่ความจริงแท้เลย หรือที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่ามายา-กับความจริงที่แท้จริงที่มีหนึ่งเดียว ซึ่งแต่ก่อนนี้ทางวิทยาศาสตร์เก่าหรือวิทยาศาสตร์กายภาพคิดว่า ความจริงทางโลกหรือทางสังคมที่เราเห็นหรือรับรู้ (perception) ก็คือความจริงที่แท้จริงทั้งหมด แต่ทุกวันนี้ควอนตัมเมคานิกส์ได้พิสูจน์จนสิ้นข้อสงสัยแล้วว่า วิทยาศาสตร์กายภาพเก่าๆ นั้นไม่ถูกต้องเลยอย่างไร สักครู่ผู้เขียนจะเล่าให้ฟัง

ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ร่วมกันเขียนหนังสือ ซึ่งมีคุณหมอประเวศ วะสี เป็นบรรณาธิการรวบรวมและจัดพิมพ์ เรื่องธรรมชาติของสรรพสิ่ง แถมยังจัดการประโคมโหมโรงในการแนะนำหนังสืออย่างเอิกเกริก คือหวังว่าหนังสือที่ว่าจะเป็นคู่มือสำคัญของการเรียนรู้ สำหรับคนไทยผู้ใฝ่ใจใคร่รู้เรื่องของความจริงที่แท้จริงของธรรมชาติของโลกและจักรวาลเล่มหนึ่ง นั่นเป็นเรื่องนานร่วมสิบปีมาแล้ว แต่หนังสือที่ว่านั้น-ในสายตาของผู้เขียน-ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ใจของผู้เขียนหวังเอาไว้เท่าไรนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะผู้เขียนตั้งความหวังไว้สูงเกินไปก็ได้ หรือว่าธรรมชาติที่หนังสือเล่มนั้นอธิบาย ประชาชนเขารู้ว่าไม่ได้เป็นความจริงที่แท้จริงก็ได้ คนเรานั้น เช่น ธรรมชาติหลากหลายของโลก จำต้องมีการไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาทั้งภายนอกและภายใน สู่ความซับซ้อนกว่ากับเป็นองค์รวมที่ละเอียดและลึกล้ำกว่าตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ภายใน เพราะว่าเป็นการคลี่ขยายของจิตไร้สำนึก (สากลร่วมของจักรวาล) ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาอยู่ในสมอง แล้วถูกบริหารโดยสมองให้เป็นจิตสำนึกใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกาลเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันเวลา ทุกนาที วินาที และแต่ละกฤษณะนั้น มนุษย์เราจะเป็นคนใหม่ ในทางกายภาพนั้นจะมีเซลล์ใหม่ มีโมเลกุลใหม่ มีอะตอมใหม่ ฯลฯ และสำหรับในทางจิตภาพมนุษย์ เราก็จะมีจิตสำนึกใหม่ คือเหมือนคนใหม่ ซึ่งไม่ใช่เป็นการ "เกิดใหม่"-ตามที่ศาสนาที่มาจากลัทธิพระเวทของอินเดียโบราณบอก รวมทั้งพุทธศาสนาบอก-มาแทนที่เซลล์เก่าของเก่าที่ตายไป ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงปรัชญาที่นักคิดคิดเอาแต่เป็นข้อเท็จจริงที่มองเห็นได้ ส่วนการเกิดใหม่เป็นเรื่องของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล เรื่องของจิตอันเป็นความจริงที่แท้จริงซึ่งมองไม่เห็น และก่อนหน้านี้เป็นแต่เพียงอภิปรัชญาของศาสนาที่มีแต่คนที่เชื่อศรัทธา ของผู้ที่เชื่อมั่นในศาสนาเท่านั้นที่เชื่อ-แต่ในปัจจุบันนี้ อย่างน้อยก็สามารถพิสูจน์ในทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีซูเปอร์สตริง" (superstring theory) ได้อย่างเบ็ดเสร็จ เพียงรอเวลาที่จะพิสูจน์และทำซ้ำได้ในห้องทดลองวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่นักฟิสิกส์แห่งยุคใหม่หลายต่อหลายคนพูดว่า สำคัญกว่าการทำซ้ำในห้องทดลองวิทยาศาสตร์เป็นไหนๆ ซูเปอร์สตริง คือความก้าวหน้าในทางควอนตัมเมคานิกส์ของสิ่งที่ละเอียดที่สุด เช่น สนามแห่งจิตที่ละเอียดเป็นเศษส่วนนับล้านๆๆๆ เท่าของอนุภาคและอะตอมของธาตุหนักๆ ที่เอามาทำระเบิดปรมาณูทุกชนิด เช่น ยูเรเนียม เป็นต้น

ต่อไปนี้เป็นเรื่องเล่าที่ผู้เขียนติดค้างผู้อ่านที่กล่าวมาแล้วข้างบน และผู้เขียนเองแม้ว่าจะได้ศึกษาฟิลิกส์แห่ยุคใหม่มาบ้าง ก็เป็นในทางของทฤษฎีเพราะไม่เคยเรียนคณิตศาสตร์ใหม่ๆ ที่สมัยที่ผู้เขียนเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมฯ-ยังไม่มี ยิ่งเรื่องของทฤษฎีซูเปอร์สตริงก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้น จึงขอนำให้ศาสตราจารย์จอห์น แฮกลิน นักควอนตัมฟิสิกส์อธิบายแทน ผู้เขียนเพียงแปลโดยถอดใจความแค่นั้น ในเรื่องที่ชื่อ ความลับที่อยู่ข้างหลัง "ความลับ" (The Secret behinds The Secret, November 2007) ซึ่งเป็นบทความที่เสนอในที่ประชุมใหญ่ด้านการจัดการบริหารความงามพร้อม ของมหาวิทยาลัยมหาริชี ที่ลอสแองเจลิส

นอกจากบทความของจอห์น แฮกลิน แล้ว ผู้เขียนยังเอามาจากบางส่วนในหนังสือของ บี. แอลเลน วอลเลซ นักฟิสิกส์และนักปรัชญาระดับโลก ที่นับถือพุทธและศึกษาปรัชญาและพุทธศาสตร์มาอย่างลึกซึ้งยิ่ง โดยเฉพาะวัชรญาณพุทธ ศาสนาของทิเบต (B. Alan Wallace: Hidden Dimensions, 2007) เกี่ยวกับพุทธศาสนากับความคล้ายคลึงกันกับควอนตัมฟิสิกส์และจักรวาลวิทยา

หัวใจแห่งบทความของจอห์น แฮกลิน มีอยู่สามประเด็น คือหนึ่ง-การค้นพบทางฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ หรือควอนตัมเมคานิกส์ ถึงสนามร่วมที่รวมกฎธรรมชาติทุกๆ กฎไว้ด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว (unified field of nature กับ Nature) สอง-สนามร่วมธรรมชาติทางควอนตัมฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ที่ว่านั้นก็คือ สนามร่วมแห่งจิต (unified field of consciousness) ที่ทางศาสนาซึ่งอุบัติทางตะวันออกของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธของเรา สาม-การทำสมาธิ คือการเข้าถึงธรรมชาติที่เร้นลับและอยู่ลึกเข้าไปข้างในอย่างที่สุดตามลำดับ

ทั้งสามข้อนั้น เป็นความจริงที่แท้จริงของการมีชีวิตของมนุษย์อย่างแท้จริง (the existence of the being) ที่เรา-มนุษยชาติส่วนใหญ่มากๆ-ไม่รู้ และเราทุกๆ คนที่เกิดมาในโลกแห่งนี้ต้องเดินทางเพื่อแสวงหาความจริงที่แท้จริงนั้นให้พบ การเดินทางที่นักปรัชญาและกวีเอกของโลก-แทบว่าจะทุกคนเลย-กล่าวถึงและรู้ดี แต่น้อยคนที่จะพูดถูกจุด ได้แต่ขี่ม้าเลียบค่ายไปมาอยู่นั่นแล้ว เช่นว่าเดินทางเพื่อหาแผ่นดินใหม่ หานิวเยรูซาเลม หาแชมบาลา เดินทางเพื่อเรียนรู้หรือเดินทางเพื่อแสวงหาความสุข หรือเพื่อหาจิตวิญญาณ คือหากไม่ใช่กายวัตถุก็เป็นจิต ผู้เขียนคิดว่าน่าจะเป็นทั้งกายกับจิตที่ต้องไปด้วยกัน ดังนั้นจึงเห็นด้วยกับเคน วิลเบอร์ ที่บอกว่าทั้งจักรวาลใหญ่หรือแมคโครคอสมอส และมนุษย์ที่เป็นไมโครคอสมอส ต่างก็มีเป้าหมายเช่นเดียวกันและมีหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือ วิวัฒนาการ (that's that หรือ suchness) และวิวัฒนาการจะต้องไปสู่สิ่งที่สูงกว่า และก้าวหน้าหรือซับซ้อนกว่าเสมอไป พูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า ในระดับที่ลึกที่สุดจะมีความละเอียดอย่างที่สุดระดับนี้-เช่นนิพพาน หรือพระจิตของพระเจ้า-จะง่ายๆ ที่สุด (simple) บริสุทธิ์ที่สุด และจะไม่มีความซับซ้อนเลย แต่ทว่าจะมีพลังหรือพลังงานทั้งปริมาณและคุณภาพสูงที่สุด ไดนามิก (dynamic) ที่สุด และแข็งแรงที่สุด นั่นคือระดับที่เริ่มต้นของวิวัฒนาการ วิวัฒนาการที่มีจิตกับกาย ทั้งหมดในทุกระดับจะเริ่มต้นกระบวนการวิวัฒนาการโดยการขับเคลื่อนด้วยจิต (consciousness) ทั้งสิ้น ซึ่งวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบเมื่อสองสามทศวรรษมานี้เอง แต่มีอธิบายไว้ในวัฒนธรรมพระเวทมาตั้งแต่สามพันปีมาแล้ว นั่นคือการเริ่มต้นของ "การจัดองค์กรตนเอง" (self-organizing system หรือ science of non-linear dynamicity) วัฏจักรที่ทฤษฎีไร้ระเบียบ (chaos theory) เป็นตัวกลไกของการขับเคลื่อน

ประเด็นที่สองบอกว่า สนามร่วมของพลังงานที่ว่าคือสนามแห่งจิต (field of consciousness) ซึ่งทางพุทธศาสนาได้ขยายคำอธิบายของลัทธิพระเวท ถึงการเริ่มต้นของการกำเนิดของจักรวาลว่ามาจากสนามร่วม (unified field) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ของสามพื้นฐานจักรวาลอันประกอบด้วย จิตพื้นฐาน (primordial consciousness or jahna) พลังงานพื้นฐาน (primordial energy or jahnaprana) และที่ว่างอันสมบูรณ์พื้นฐาน (primordial space or absolute space or dharmadhatu)-อันหลังนี้คือรูปกาย (วัตถุกับที่ว่าง-เวลา ทั้งหมดมีความลึกอยู่ห้าระดับ ไล่มาตั้งแต่ระดับที่ตื้นที่สุด จนระดับที่ลึกที่สุดซึ่งเรียกว่าจิตหนึ่ง (ขามาอันเป็นสิ่งเดียวกับนิพพานซึ่งเป็นขากลับ) คือที่ว่าง เวลา วัตถุ พลังงาน จิต-ซึ่งจิตในลัทธิพระเวทมีอยู่สามระดับ คือ วิขันริ มัธยม ปะสานติ และจิตหนึ่งที่อยู่ลึกที่สุดหรือปะสานตินี้เอง คือสนามร่วมที่กระจ่างใส (unified field)

ประเด็นที่สาม คือการทำสมาธินั้น ดร.จอห์น แฮกกลิน แนะนำให้เราทุกๆ คนเลยทำสมาธิเป็นประจำ และถ้าเป็นไปได้ให้ทำร่วมกันหลายๆ คน (collectively) การทำสมาธิโดยหลักการคือ การเจริญสติหรือการนำสติหรือความตั้งใจ (จิตเป็นหนึ่งเดียว) เข้าไปสู่ภายในที่ต้นตอของจิตหรือความคิดหรือปัญญาของเรา (ไม่ใช่สติปัญญาที่เป็นสัมพันธภาพกับผู้อื่น) นั่นคือการนำสติเข้าไปถึงสนามร่วมของแรงทั้งห้าแรงของธรรมชาติ ซึ่งมีกฎที่ควบคุมรูปกายวัตถุอยู่สี่แรงสี่กฎ และมีกฎที่ควบคุมจิตอีกหนึ่งกฎที่อยู่ลึกที่สุด ง่ายๆ แต่มีอานุภาพมากที่สุด นั่นคือสนามร่วม (unified field) ที่รวมกฎทางธรรมชาติทุกๆ กฎไว้ด้วยกัน ซึ่งก็คือสนามแห่งจิตสากลจักรวาลนั่นเอง

ไม่ต้องการให้ผู้ที่ทำสมาธิเสียกำลังใจ เพียงจะถ่ายทอดความเห็นของผู้ที่ทำสมาธิมายาวนานชั่วชีวิตก็ว่าได้ของ บี. เอสเสน วอลเลซ ที่บอกว่าการทำสมาธินั้นจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก ง่ายตรงวิธีทำคืออะไรก็ได้ มีตั้งร้อยตั้งพันวิธี แต่ยากที่ต้องมีความเพียร มีวิริยะ ต้องรักที่จะทำ (intention) ต้องตั้งใจทำ (attention) ต้องทำซ้ำๆ (repetition) และต้องทำ-รวมกันแล้ว-ต้องได้ 15,000 ชั่วโมง มากกว่า 30 ปี หากทำวันละหนึ่งชั่วโมง

ผู้เขียนเชื่อว่าทุกๆ ศาสนาในโลก รวมทั้งลัทธิความเชื่อของวัฒนธรรมทุกๆ วัฒนธรรมก็เน้นที่การปฏิบัติ นั่นคือการทำสมาธิและการสวดมนต์ ศาสนาทุกๆ ศาสนาจึงเหมือนกัน และการเหมือนกันนั้นไม่ใช่ทุกศาสนาสอนให้คนทำความดี-แค่นั้นพอ เราทุกคนต้องรู้ว่าจักรวาลมีเป้าหมายอย่างเดียวคือวิวัฒนาการ แต่เนื่องจากจักรวาลประกอบด้วยสองสิ่ง รูปกับนาม หรือกายวัตถุภายนอกกับจิตที่อยู่ภายใน วิวัฒนาการของจักรวาลจึงต้องมีทั้งสองอย่าง เพราะกายอยู่ตื้นกว่าและมาที่หลังกว่า วิวัฒนาการของกายหรือมนุษย์กับสังคมมนุษย์จึงมีก่อนและเสร็จก่อน ศาสนาทุกศาสนามีเพื่อให้จิตสามารถมีวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ผู้เขียนจึงเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ นั่นคือเป้าหมายสุดท้ายที่ศาสนาทุกศาสนามีและประสงค์ ซึ่งศาสดาผู้ประกาศศาสนานั้นๆ ต่างก็รู้ดี จึงไม่ต้องแย่งกันหรือชักชวนให้ใครมาเข้าศาสนาของตน เพราะศาสนาไหนๆ ก็มีเป้าหมายที่จิตวิญญาณเหมือนๆ กัน ดังที่องค์ทะไล ลามะ บอกไว้เช่นนั้น.


http://www.thaipost.net/sunday/310110/17205

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2492 กระทู้ล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2770 กระทู้ล่าสุด 08 มีนาคม 2553 08:52:02
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2084 กระทู้ล่าสุด 05 เมษายน 2553 08:47:42
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : ทฤษฎีรวมแรงทั้งหมดกับพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2031 กระทู้ล่าสุด 18 เมษายน 2553 17:16:25
โดย มดเอ๊ก
ความทรงจำนอกมิติ : มนุษย์กับโลกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 2081 กระทู้ล่าสุด 03 พฤษภาคม 2553 08:42:23
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.437 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 18:46:29