[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 12:49:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม. ชงปรับกฎหมาย 'โทษประหาร' ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน  (อ่าน 62 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 29 ธันวาคม 2566 18:56:42 »

กสม. ชงปรับกฎหมาย 'โทษประหาร' ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-29 18:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอแนะปรับปรุงกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิต ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิต ร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล</p>
<p> </p>
<p>29 ธ.ค. 2566 วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ระบุว่า ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 6 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาชญาประหารชีวิต ท่านให้เอาไปยิงเสียให้ตาย” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติว่า “การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้”</p>
<p>จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลกฎหมายไทยในปัจจุบัน พบว่า กฎหมายหลายฉบับยังคงมีโทษประหารชีวิต มีกฎหมายบัญญัติโทษประหารชีวิตสำหรับการกระทำความผิดที่ไม่ใช่คดีอุกฉกรรจ์ที่สุด เช่น ความผิดคดียาเสพติดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น และยังมีกฎหมายบัญญัติให้มีโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญาทหาร และพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2558 กสม. จึงเห็นความจำเป็นในการจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน</p>
<p>ทั้งนี้ กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หลักสิทธิมนุษยชน เอกสารวิชาการ และความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นแยกเป็นสองประเด็นดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง โทษประหารชีวิตและวิธีการประหารชีวิตกับหลักสิทธิมนุษยชน เห็นว่า กฎหมายไทยกำหนดวิธีการประหารชีวิตไว้สองวิธี คือ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 6 กำหนดให้ยิงเสียให้ตาย ซึ่งจะใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 19 กำหนดให้ฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย โดยทั่วไปแล้วจะใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดที่เป็นพลเรือน รวมถึงผู้กระทำความผิดที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร อย่างไรก็ดี แม้โทษประหารชีวิตจะมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้แค้นทดแทนผู้กระทำความผิดให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำลงไป เพื่อข่มขู่ยับยั้งป้องกันมิให้มีการกระทำความผิด เพราะทำให้ผู้กระทำความผิดเกิดความเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ เพื่อตัดโอกาสในการกระทำความผิดซึ่งจะช่วยป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ แต่โทษประหารชีวิตไม่สามารถทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับการแก้ไขฟื้นฟูหรือกลับตัวมาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และไม่สามารถแก้ไขกระบวนการยุติธรรมที่ผิดพลาดได้</p>
<p>นอกจากนี้ การที่ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายอาญาทหารกำหนดวิธีการประหารชีวิตไว้แตกต่างกัน อาจเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานะของบุคคล ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 และไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 26 อย่างไรก็ตาม การประหารชีวิตไม่ว่าด้วยวิธีใดย่อมเป็นการพรากชีวิตของบุคคล ซึ่งสิทธิในชีวิตเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดซึ่งไม่อาจพรากไปได้ และยังเป็นการกระทำที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การประหารชีวิตซึ่งไม่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติกา ICCPR รวมทั้งอาจเป็นการขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 4 ที่บัญญัติให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล และมาตรา 28 ที่บัญญัติให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคล และห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม อีกทั้งข้อมูลหรือหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่อาจสรุปได้อย่างแน่ชัดว่า โทษประหารชีวิตมีผลในการข่มขู่ยับยั้งหรือป้องปรามการกระทำความผิด</p>
<p>หากพิจารณาตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) ด้านกระบวนการยุติธรรม มีข้อเสนอแนะให้ศึกษาทบทวนกฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด และพิจารณาศึกษาความพร้อมในการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 2 ของกติกา ICCPR โดยมีตัวชี้วัดเป็นการมีกิจกรรมรณรงค์หรือสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกโทษประหารชีวิต และการมีแนวทางพิจารณาเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับฉบับดังกล่าว และแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 มีข้อเสนอแนะเรื่องการพิจารณาให้สัตยาบันพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 2 ของกติกา ICCPR การทบทวนโทษประหารชีวิตเพื่อนำไปสู่การระงับหรือยกเลิกโทษประหารชีวิต การดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การยกเลิกโทษประหารชีวิต และการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ในประเด็นสิทธิมนุษยชน โทษประหารชีวิต และวิธีการลงโทษอื่นแทนโทษประหารชีวิต</p>
<p>ประเด็นที่สอง การทบทวนกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน เห็นว่า ควรต้องทบทวนและแก้ไขกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตสถานเดียว เพื่อให้ศาลสามารถใช้มาตรการทางเลือกอื่นแทนการลงโทษประหารชีวิต และพิจารณากำหนดการลงโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์การกระทำความผิดและพฤติการณ์ส่วนตัวของผู้กระทำความผิดแต่ละราย นอกจากนี้ ควรต้องทบทวนกฎหมายทั้งหมดที่มีโทษประหารชีวิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด เช่น ในคดียาเสพติด และคดีทุจริต เป็นต้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกติกา ICCPR ข้อ 6 วรรค 2 ที่กำหนดว่า ประเทศที่ยังไม่ได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจกระทำได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุดตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด</p>
<p>ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 จึงมีมติให้มีข้อเสนอแนะมาตรการและการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ไปยังคณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงกลาโหม เพื่อดำเนินการ ดังนี้</p>
<p>(1) การดำเนินการระยะสั้น ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่กำหนดโทษประหารชีวิตไว้ในกฎหมายที่ตราขึ้นใหม่ และออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตสถานเดียวที่อยู่ในกฎหมายฉบับต่าง ๆ รวมไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2565 โดยกำหนดให้ศาลสามารถใช้มาตรการทางเลือกอื่นแทนการลงโทษประหารชีวิตเพื่อกำหนดโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์การกระทำความผิดและพฤติการณ์ส่วนตัวของผู้กระทำความผิดแต่ละราย โดยอาจนำข้อเสนอการใช้มาตรการทางเลือกแทนการใช้โทษประหารชีวิตขององค์กรปฏิรูปการลงโทษสากล (Penal Reform International) มาพิจารณาเพื่อกำหนดทางเลือกในการลงโทษ และจะต้องมีกลไกที่เป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่สังคมด้วย โดยควรดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2568 เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาของแผนปฏิบัติการตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจภายใต้กลไก UPR รอบที่ 3</p>
<p>และให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตที่ไม่เข้าข่ายเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด (The most serious crimes) เช่น คดียาเสพติด และคดีทุจริต เป็นต้น รวมไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน ทำนองเดียวกับพระราชบัญญัติยกเลิกกฎหมายฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ. 2565 เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตที่ไม่เป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่สุดภายในปี พ.ศ. 2570 ตามกรอบระยะเวลาในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570)</p>
<p>นอกจากนี้ ให้สร้างความรู้ความเข้าใจและผลกระทบเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตให้แก่ประชาชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตามกรอบระยะเวลาของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล</p>
<p>(2) การดำเนินการระยะยาว ให้คณะรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและแก้ไขกฎหมายเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตที่เหลือทั้งหมด และให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการสนับสนุนข้อมติการพักใช้โทษประหารชีวิต และการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ ฉบับที่ 2 ของกติกา ICCPR โดยให้กำหนดระยะเวลาการดำเนินการที่แน่นอนด้วย</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107425
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 402 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 417 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 318 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 319 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 241 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.439 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 30 มีนาคม 2567 07:12:05