[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 09:52:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผย จม.เปิดผนึก ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย-แรงงานข้ามชาติ  (อ่าน 39 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 มีนาคม 2567 19:03:18 »

เผย จม.เปิดผนึก ข้อเสนอต่อรัฐบาลไทยในการคุ้มครองผู้ลี้ภัย-แรงงานข้ามชาติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-03-15 17:19</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ-ภาคีเครือข่าย เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรื่องท่าทีและข้อเสนอแนะในการปกป้องคุ้มครองผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ ต่อรัฐบาลไทยก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>15 มี.ค. 2567 วันนี้ (15 มี.ค.) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และภาคีภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา, มูลนิธิความยุติธรรมเชิงสิ่งแวดล้อม และศูนย์โซลิดาลิตี เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรื่องท่าทีและข้อเสนอแนะในการปกป้องคุ้มครองผู้ลี้ภัยและแรงงานข้ามชาติ ต่อรัฐบาลไทยก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>โดยจดหมายดังกล่าวมีข้อเรียกร้องหลัก 4 ประการ ดังนี้</p>
<ol>
<li>พิจารณารับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย</li>
<li>จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มียุทธศาสตร์การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ การมีแผนรองรับผลกระทบสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า</li>
<li>พิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อบริหารจัดการและกำหนดสถานะให้แก่ผู้ลี้ภัยและแสวงหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ</li>
<li>จัดทำกลไกการคัดกรองก่อนการผลักดันส่งกลับผู้อพยพที่อาจจะมีความเสี่ยงต่ออันตรายต่อชีวิตและภัยการประหัตหารหากกลับประเทศต้นทาง</li>
</ol>
<div class="note-box">
<p style="text-align: center;">เนื้อหาจดหมายฉบับเต็ม</p>
<p>11 มีนาคม 2567</p>
<p>จดหมายเปิดผนึก</p>
<p>เรื่อง ท่าทีและข้อเสนอแนะของเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติต่อรัฐบาลไทยก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>เรียน ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>สำเนาถึง</p>
<p>นายกรัฐมนตรี</p>
<p>รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ</p>
<p>ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร</p>
<p>ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร</p>
<p>ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ</p>
<p>ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 รับทราบการลงสมัครสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติของประเทศไทย (United Nations Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. 2025-2027 (พ.ศ. 2568-2670) ซึ่งมีกำหนดเลือกตั้งในช่วงเดือนตุลาคม 2567 โดยในกระบวนการสมัครนั้นตามข้อมติสหประชาชาติที่ 60/251 ไทยจัดทำเอกสาร คำมั่นโดยสมัครใจที่จะดำเนินการให้เกิดความก้าวหน้าในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ</p>
<p>คำมั่นโดยสมัครใจของไทยจำนวน 10 ข้อ พบว่าเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ผู้อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน อยู่หลายกรณี เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน คือ อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families : ICRMW) การพัฒนาแก้ไข กฎหมาย หรือนโยบายให้มีความสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคี การปฏิบัติตามข้อแนะนำของ สมาชิกองค์การสหประชาชาติในกระบวนการจัดทำรายงานตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี ตามกระบวนการพิเศษ ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ และกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review : UPR) การ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ และการส่งเสริมแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในระยะที่ 2 ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านการคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย ยังมีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติและครอบครัว อาทิ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของไทยในปัจจุบันยังคงปิดกั้นเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการสมาคม โดยไม่อนุญาตให้แรงงานข้าม ชาติมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม อันไม่สอดคล้องต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. (International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR) ที่ไทยเป็นรัฐภาคี ความพยายามในการ แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประมง ซึ่งมีแนวโน้มว่าแรงงานประมงจะเผชิญกับความเสี่ยงของการเป็นแรงงานบังคับมากขึ้น การให้มีเด็กเข้าสู่กระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมที่มีอันตราย เช่นในอุตสาหกรรมประมง การเลือกปฏิบัติด้านการเข้าถึงด้าน สิทธิประโยชน์ทางสังคมของกลุ่มลูกจ้างทำงานบ้านและภาคเกษตร และความไม่ชัดเจนด้านการคุ้มครองผู้แสวงหาที่ลี้ภัย โดย เฉพาะที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดความไม่สงบทางการเมืองทำให้มีนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้ได้รับผลกระทบทางการขัดแย้งต้อง หนีเข้ามายังชายแดนไทยและมีความเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดีตามกฎหมายคนเข้าเมืองและการบังคับส่งกลับโดยไม่สมัครใจ อันขัดต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการซ้อมทรมานฯ ที่ไทยเป็นรัฐภาคี ดังนั้นแนวทางการบริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยในภาวะสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศพม่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นเครื่องชี้วัดความความตั้งใจในการจะปกป้องคุ้มครองและการยึดมั่นต่อหลักสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย และความเชื่อมั่นของประชาคมโลกต่อการที่ประเทศไทยจะมีความเหมาะสมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ</p>
<p>ทางเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และภาคีภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน มีข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยในการพัฒนามาตรการในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยดังนี้</p>
<p>1.  พิจารณารับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย ได้แก่ การให้การรับรองอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว, อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย, อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 เสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 98 การรวมตัวและร่วมเจรจาต่อรอง ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกัน และเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนากฎหมายภายในประเทศให้รองรับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัย</p>
<p>2.  ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มียุทธศาสตร์การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ การมีแผนรองรับผลกระทบสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า</p>
<p>3.  พิจารณาดำเนินการทบทวนกลไกการคัดกรองบุคคลที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ ซึ่งตามข้อเท็จจริงยังพบปัญหาเชิงข้อกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องการได้รับการคุ้มครองจากประเทศไทยต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายคนเข้าเมืองก่อนซึ่งถือว่าทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อยู่ในสภาวะเปราะบางซ้ำซ้อน รวมถึงการพิจารณาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติเพื่อบริหารจัดการและกำหนดสถานะให้แก่ผู้ลี้ภัยและแสวงหาผู้ลี้ภัยอย่างเป็นระบบ</p>
<p>4.  จัดทำกลไกการคัดกรองก่อนการผลักดันส่งกลับผู้อพยพที่อาจจะมีความเสี่ยงต่ออันตรายต่อชีวิตและภัยการประหัตหารหากกลับประเทศต้นทาง เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการผลักดันส่งกลับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพไปเผชิญภัยอันตรายต่อตนเองในประเทศต้นทาง</p>
<p>ทั้งนี้เพื่อสร้างหลักประกัน และสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาคมโลก และการสร้างบรรยากาศการค้าการลงทุนกับประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการเคารพหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ว่าประเทศไทยมีความจริงใจและยืนยันในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนทุกกลุ่ม และเป็นหลักประกันสำหรับแรงงานข้ามชาติ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ และประชาชนไทยว่าจะได้รับการคุ้มครองและดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน และเพื่อให้ประเทศไทยได้ยืนอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ</p>
<p>ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์</p>
<p>เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108439
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 401 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สส.พรรคเป็นธรรมห่วงการศึกษา 'เด็กไทย-แรงงานข้ามชาติ-ผู้ลี้ภัย' ต้องเท่าเทีย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 14 มกราคม 2567 17:13:58
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ยื่น จม.เปิดผนึก 'ก้าวไกล' สอบ บ.พลังงานไทย ซื้อก๊าซอ่าวเมาะตะมะ มีส่วนหนุนคว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 50 กระทู้ล่าสุด 03 กุมภาพันธ์ 2567 09:49:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ปชช.ยื่น จม.เปิดผนึก 1,088 รายชื่อถึงนายกฯ ยุติการกักขังผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 15 มีนาคม 2567 08:16:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - สช.หนุนเครือข่ายเพื่อนกะเทยฯ ส่ง จม.เปิดผนึก 'ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม' คนกลุ่ม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 27 กระทู้ล่าสุด 01 เมษายน 2567 04:08:57
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.408 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 02:18:32