[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 14 กันยายน 2554 01:01:30



หัวข้อ: เรื่องราวของ " บายศรี " บายศรีคืออะไร ใช้ทำอะไร มีที่มาอย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ ที่ 14 กันยายน 2554 01:01:30
(http://www.be2hand.com/images/upload_shop/200905/200905-26-181824-1.jpg)

ความหมายของ “บายศรี” นั้น สันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพล มาจาก ลัทธิพราหมณ์ ซึ่งเข้ามา ทางเขมร ทั้งนี้เพราะ คำว่า “ บาย ” ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ส่วนคำว่า “ ศรี ” มาจากภาษาสันสกฤต ตรงกับ ภาษาบาลีว่า “ สิริ ” แปลว่า มิ่งขวัญ


ดังนั้นคำว่า “ บายศรี ” น่าจะ แปลได้ว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่น่าสัมผัส กับความดีงาม “ บายศรี ” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็นสิริ, ขวัญข้าว หรือ ภาชนะที่จัดตกแต่ง ให้สวยงามเป็นพิเศษ ด้วยใบตอง และดอกไม้สด เพื่อเป็นสำรับใส่อาหารคาวหวาน ในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ
สมัยโบราณ มีการเรียกพิธี สู่ขวัญว่า “ บาศรี ” ทั้งนี้สืบเนื่อง มาจากเป็นพิธี สำหรับบุคคล ชั้นเจ้านาย เพราะคำว่า “ บา ” เป็นภาษาโบราณ อีสานใช้เป็น คำนำหน้า เรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น

ส่วนคำว่า “ ศรี ” หมายถึง ผู้หญิงและ สิ่งที่เป็นสิริมงคล “ บาศรี ” จึงหมายถึง การทำพิธีที่ เป็นสิริมงคล แต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยม เรียก กันแล้ว มักนิยมเรียกว่า “บายศรี” บายศรีจะเรียก เป็นองค์ มีหลายประเภท เช่น บายศรีเทพ บายศรีพรหม เป็นต้น
ส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นบายศรี มีความหมายในทางดี เช่น กรวยข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบชัยพฤกษ์หรือใบคูน อายุยืนยาว ดอกดาวเรือง ความเจริญรุ่งเรือง ดอกรัก ความรักที่มั่นคง  ไข่ต้ม…ในกรณีบายศรีแต่งงาน จะมีสองฟอง เป็นของเสี่ยงทาย หัวใจฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง จะรักกันมั่นคง ผ่าไข่ต้มเป็นสองซีก ดูกันที่ไข่แดง ถ้าเอียงไปอยู่ข้างใด ทายว่าใจโลเล แต่ถ้าอยู่ตรงกลางแสดงว่าหัวใจรักมั่นคง
การจัดทำ บายศรี นั้น เริ่มจาก การนำใบตอง ที่มาจากกล้วยตานี เย็บเป็น บายศรี ประดับด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ ส่วนตัวบายศรี ยังแบ่งออก ตามลักษณะ การใช้งาน ในการบูชา ที่แตกต่าง ออกไป เช่น
บายศรีปากชาม ลักษณะบายศรี รองด้วยชาม ที่มี ขนาดเหมาะสม ตัวแม่มี ๕ ลูก จำนวน ๓ ด้าน และมีลูก ๓ ลูก แซมอีก ๓ ด้าน จากนั้น จะมีแมงดา ที่แม่บายศรี อีกทั้ง ๓ ด้าน ตรงกลาง จะม้วนเป็น กรวยด้วยใบ ตองตานี ภายในใส่ข้าวสวย ไว้ภายใน ยอดบายศรี จะใช้ไข่ต้มเสียบ ส่วนรอบๆ จะมีการประดับไปด้วย ดอกไม้มงคลต่างๆ บายศรีปากชาม เป็นบายศรี ที่ใช้ในการ สักการบูชา เทพยดา ครูบาอาจารย์ ในการบวงสรวง เทพยดาในทุกๆ พิธีกรรม จะขาดบายศรีปากชาม ไม่ได้
บายศรีเทพ จะมีลักษณะ ตัวแม่ ๙ ลูก ตัวลูก ๕ ลูก ปัจจุบันจะไม่ใส่ ข้าวภายใน กรวยเหมือน บายศรีปากชาม แต่ก็อนุโลม ให้ใช้เรียกว่า บายศรีเทพ เพื่อสักการะ บูชาเทพยดา

(http://www.bloggang.com/data/s/siripen/picture/1248242957.jpg)

บายศรีพรหม จะใช้ตัวแม่ ๑๖ ลูก ตัวลูก ๙ ลูก ภายใน กรวยที่อยู่ ตรงกลาง จะบรรจุด้วย หญ้าแพรก ใบโพธิ์ ใบขนุน ดอกเข็ม ด้านนอก จะใช้หมาก – พลู บุหรี่ ดอกไม้มงคล ประดับใช้ใน พิธีกรรมการ บวงสรวง พระพรหม เช่น การตั้งศาล หรือพิธีกรรม บวงสรวง ในงานไหว้ครู
นอกจากนี้ บายศรีพรหม ที่ทำเป็น พุ่มยังมีบายศรี พรหมประกาศิต ที่ใช้ใน ด้านการบวงสรวง ที่ให้ผลดีแก่ สานุศิษย์ ทั้งผู้ชาย – ผู้หญิง ก็สามารถ สักการะได้ จะมีตัวลูก เรียงกัน ๑๖ ลูก ทั้ง ๒ ด้าน รวม ๓๒ ลูก มองดูเป็นรูป ใบพายใช้ ๔ ด้าน ใน ๑ พาน ตรงกลาง จะมีใบไม้มงคล เหมือนบายศรีพรหม ทั่วไป ซึ่งบรรจุ อยู่ตรงกลางกรวย
บายศรีหลัก ใช้บายศรีสลับกันไป เช่น ชั้นแรก ๓๒ ลูก หรือ ๑๖ ลูก ชั้นต่อไป ก็ลดลง ตามแต่ผู้สั่งจะสั่งทำ บายศรีหลัก มี ๙ ชั้น หรือ ๗ ชั้น หรือ ๕ ชั้น ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ในพิธีกรรม ไหว้ครู ซึ่งให้ความหมาย “ด้านการตั้งตัว มีหลักมีฐานที่มั่นคง”


บายศรีตอ ตำราโบราณ จะใช้ต้นกล้วย เป็นแกนกลาง ใช้รัดด้วยบายศรี เป็นชั้นหนึ่ง หรือสองชั้น ก็มีชั้นแรก ด้านบน จะใช้บายศรี แม่ตั้งขึ้น ๕ ลูก แล้วลง ๕ ลูก เป็น ๓ ด้าน ช่วงตรงกลาง ของช่องว่าง จะคั่นด้วยตัว ลูกขึ้น ๓ ลูก ลง ๓ ลูก บนยอด จะใส่กระทง หมาก – พลู บุหรี่ ของหวาน เช่น เม็ดขนุน ทองยอด แล้วปิดด้วย กรวย เป็น บายศรี ซึ่งใช้ในทาง ความหมายในทาง ขอขมา ต่อเทพยดา ครูบาอาจารย์พื้นล่าง

บายศรีบัลลังก์ ซึ่งมีทั้ง บัลลังก์บรมครู บัลลังก์ศิวะ บัลลังก์นารายณ์ (ส่วนใหญ่ จะทำเป็น รูปพญานาค มี ๕ – ๗ เศียร) บางครั้ง ก็ทำบัลลังก์ เป็นรูป พญาครุฑ บัลลังก์ธรรมจักร ก็มี บัลลังก์พิฆเนศ บัลลังก์จุฬามณี แล้วแต่ เจ้าพิธีต่างๆ จะสั่งทำให้ ผลด้านความมั่นคง และอุดมสมบูรณ์
และนี่ก็คือข้อสรุปในการทำบายศรีแบบต่างๆดังที่กล่าวมาซึ่งมีให้ครบทุกอย่างทั้งวิธีการทำและความหมายที่จะสื่อถึงสิ่งต่างๆที่เราทำเพื่อให้ทุกท่านที่สนใจสามารถนำไปปฏิบัติและใช้งานได้อย่างถูกต้องเนื่องจากความรู้ในเรื่องเหล่านี้ในปัจจุบันหาผู้รู้ที่แท้จริงได้ยากยิ่ง