[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 17 มกราคม 2561 15:35:27



หัวข้อ: วัดกระดังงาบุปผาราม อ.เมือง จ.สิงห์บุรี - ไหว้พระสองสมัย ชมวิหารมหาอุตม์
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 17 มกราคม 2561 15:35:27
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/19908103305432_6.JPG)

วัดกระดังงาบุปผาราม
ตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี


• วัดกระดังงาปุบผาราม ตั้งอยู่เลขที่ ๘๐ หมู่ ๖ ถนนสายสิงห์บุรี – ชัยนาท ตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี มีเนื้อที่ ประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๓๘ ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ มี ๑ แปลง

ตามลักษณะวิหารมหาอุตม์โครงสร้างต่างๆ ปูนหมัก อิฐแบบโบราณ โดยตามสภาพที่มีหลักฐานปรากฏชัดในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

• วิหารมหาอุตม์ ทรงไทยสมัยอยุธยาตอนต้น มีลักษณะทรงสำเภา ก่ออิฐฉาบผนังทึบ มีช่องแสง ๓ ช่องทั้งสองด้าน ทิศตะวันออกตัววิหารกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร มีประตูเดียวเรียกว่าประตูบูรพา กว้าง ๖๙ เซนติเมตร สูง ๑๖๙ เซนติเมตร หันหน้าทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา ประดับด้วยเจดีย์รายด้านหน้า ๒ องค์ ต้นมะพูดเก่าแก่อายุ ๓๐๐-๔๐๐ ปี มีกำแพงแก้วก่ออิฐทึบล้อมรอบ สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตรเศษ

ความสำคัญตามตำนานคือ มีไว้สำหรับปลุกเสกของในคราวจะออกรบ มีทางเข้าแต่ไม่มีทางออก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นอันศักดิ์สิทธิ์สองสมัยอยู่ในที่เดียวกันคือสุโขทัยและอยุธยา ๒๒ องค์ โดยแบ่งเป็นสุโขทัย ๑๑ องค์ สมัยอยุธยาตอนต้น ๑๑ องค์ ลักษณะแบบมอญ ปิดทองลงรัก ทาปากแดง อยู่ในสมัยสุโขทัยยุคต้น ทำด้วยหินทรายแดง แต่เดิมสีองค์พระมีสีเหลืองปนเทา บางแห่งเป็นสีชมพู พระประธานบางท่านเรียกว่า หลวงปู่อึ่ง

หลวงปู่อึ่งท่านได้สร้าง บูรณปฏิสังขรณ์วัด ...ท่าน... ได้แตกทัพไปมรณภาพที่เมืองเหนือ (ผู้เล่าจำจังหวัดและ พ.ศ.ไม่ได้)  บริเวณวัดมีต้นไม้นานาพันธุ์หลากหลายชนิด เช่น ต้นกระดังงา มีอยู่มากมายส่งกลิ่นหอม ละมุดสีดา มะม่วง ชมพูนุช ต้นตาล ต้นนางแอ ต้นมะพูด ต้นยางนา (ซึ่งมีให้เห็นในปัจจุบัน)  ความศักดิ์สิทธิ เพียงแต่เอาน้ำบอกเล่าอธิษฐานตามความปรารถนาก็จะประสบผลสำเร็จ ใช้กันทั้งหมู่บ้านในสมัยนั้น

ถัดจากวิหารประมาณ ๒ เมตร มีเจดีย์ประธานทรงระฆังคว่ำรูปแบบลังกา ด้านบนมีลานประทักษิณ ย่อมมุมไม้ ๑๒ เสาหารปล้องไฉน สูงโดยประมาณ ๒๐ เมตร คล้ายกับเจดีย์ยุทธหัตถีที่สุพรรณบุรี แต่องค์เล็กกว่า มีซุ้มจระ ประดิษฐานพระพุทธรูป ๔ ทิศ อยู่ตรงกลางองค์ระฆัง  เล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาพักทัพอยู่ที่สถานแห่งนี้ ทหารเอกได้ล้มป่วยจากการสู้รบและเสียชีวิตลง จึงฝังร่างไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ก่อนจะขึ้นไปเมืองพิษณุโลก และได้รับสมัครไพร่พลจากชาวบ้าน (ปัจจุบันคือบ้านสมัคร หมู่ ๘ ด้านใต้ของวัด) ได้นำอาวุธ เช่น มีด ขวาน จากบ้านบางสักเหล็ก (ปัจจุบันคือบ้านบางสักเหล็ก หมู่ ๖ ด้านเหนือของวัด)

• ประวัติผู้สร้างวัด กล่าวว่าเป็นทหารเอกของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นไว้ให้เป็นอนุสรณ์การถ่ายบาปจากการสู้รบ ฆ่าผลาญชีวิต เป็นที่รวมอัฐนักรบของบรรพบุรุษ ท่านได้ลาบวชเป็นพระสงฆ์ที่วัดกระดังงาแห่งนี้ รู้จักกันในนาม หลวงพ่ออึ่ง  ปัจจุบันยังมีรูปรูปปั้นประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุตม์ ใกล้ๆ กับเจดีย์ประธานใหญ่องค์นี้ด้วย  
   


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25987139178646_1.JPG)
พระประธานในพระวิหารมหาอุตม์ บางท่านเรียกว่า หลวงปู่อึ่ง

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/14970606317122_4.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/83404177841213_1.JPG)
เจดีย์วัดกระดังงาบุปผาราม ลักษณะทรงระฆังคว่ำ (แบบลังกา) สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ราว พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓ ขณะนี้มีอายุ ๕๐๐ กว่าปีเศษ ด้านบนมีลานประทักษิณก่อด้วยศิลปะย่อมุมไม้สิบสอง
ประดับไปด้วยพระประจำมุขทั้ง ๔ ทิศ พร้อมด้วยเสาหาน คอระฆังด้านบนพร้อมกับส่วนปลียอด ตั้งอยู่ทางด้าน
ทิศเหนือของวัด ระหว่างวิหารเก่ากับพระอุโบสถหลังเก่า กว้าง ๙.๖๕ ม. ยาว ๙.๖๕ ม. สูงโดยประมาณ ๒๕ ม.

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25434710954626_5.jpg)
ภาพเก่าเจดีย์วัดกระดังงาบุปผาราม ก่อนการบูรณะ

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/77745839291148_2.JPG)
วิหารมหาอุตม์ วัดกระดังงาบุปผาราม
มีประตูเข้า-ออกเพียงประตูเดียว ใช้เป็นที่ประกอบพิธีปลุกเสก ว่าคาถา ลงอาคม  เครื่องคุ้มครอง
มาแต่ในสมัยโบราณ คำว่า "อุด" หมายถึงปิดหรือจุกไว้ให้สนิท วิชามหาอุตนิยมใช้วิธีบริกรรมคาถา
และการทำเครื่องรางไว้ติดตัว    ตามตำนานว่าเป็นคาถาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ห้ามนายขมังธนูที่กำลัง
เงื้อธนูจะยิงพระองค์  นอกจากนี้ลูกปืนที่ยิงแล้วด้านก็นิยมนำมาเป็นเครื่องรางที่ให้คุณในทางมหาอุด
โดยทั่วไป โบสถ์มหาอุตม์ มีลักษณะปิดทึบ ไม่มีช่องลมและหน้าต่าง และไม่อนุญาตให้สตรี
เข้าไปด้านใน

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/92960395167271_3.JPG)
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) เจ้าแห่งอสูร ผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ ยืนถือกระบองขนาดใหญ่อารักขา
ปกปักรักษาประตูมิให้ภูตผีปีศาจ อาถรรพ์เวทย์ ล่วงเข้าไปในประตูศาสนสถาน คติการทำทวารบาลนี้
สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ด้วยว่ามีการพบชิ้นงานปูนปั้นรูปอสูร ตกอยู่ข้างช่อง
ประตูทางเข้าพระมหาสถูปเจดีย์วัดสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/33991847311456_8.jpg)
ถัดจากจากเจดีย์ประมาณ ๑๐ เมตร มี “พระอุโบสถ” หลังเก่าไม่ทราบว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๖๘ ปัจจุบันยังเหลือความงามให้ศึกษา

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/47922453532616_7.jpg)
วิหารมหาอุตม์ วัดกระดังงาบุปผาราม (ก่อนการบูรณะ)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/13370417844917_2.JPG)
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดกระดังงาบุปผาราม ตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงนำทัพที่เดินด้วยเท้าผ่านเมืองสิงห์ ถึงวัดกระดังงา จึงหยุดพักทัพและให้สร้างพลับพลาที่ประทับ
 


(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/56814570186866_.png_1_.png)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/55562268652849__0_1_.png)
สิ่งน่าสนใจ บาตรทองเหลืองสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ฝาบาตรมีคำจารึกว่า ของพระราชทานฝาก
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประเทศยุโรป รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖