[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 07:02:25 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์  (อ่าน 10947 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5489


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 สิงหาคม 2557 13:02:53 »

.

เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์


http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/LA2-06-450x228.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

เฮ็ดไร่ ใช้ไม้ไผ่ปลายแหลมแทงดินเป็นรู แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกลงรูดินที่แทงไว้
ลายเส้นนี้โดย M. Mouhot ชาวยุโรปเขียนรูปคนพื้นเมืองแถบสองฝั่งโขง
พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เมื่อ ค.ศ.๑๘๖๔ (พ.ศ. ๒๔๐๗)
(ภาพจาก Travels in Siam, Cambodia and Laos ๑๘๕๘-๑๘๖๐. Henri Mouhot. Oxford University Press, 1989.)

ภูมิประเทศต่างกัน การทำนาก็ต้องใช้เทคโนโลยีไม่เหมือนกัน ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมเริ่มแรกรู้จักพันธุ์ข้าวเอามาปลูกกินราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ลักษณะต่างกันของภูมิประเทศมี ๒ อย่าง คือ ที่สูง กับ ที่ลุ่ม

พวกที่สูง พวกนี้อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาลำเนาไพร มีแหล่งเพาะปลูกน้อย มีแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เพาะปลูกด้วยระบบที่เรียกว่า เฮ็ดไฮ่ (ทำไร่) หรือแบบล้าหลัง คือเอาไฟเผาป่าให้ราบลงเป็นแปลงเท่าที่ต้องการ ไม่ต้องพรวน ไม่ต้องไถ อย่างดีก็เอาจอบช่วยเกลี่ยหน้าดินนิดหน่อย แล้วก็เอาไม้ปลายแหลมแทงดินให้เป็นรู เอาเมล็ดพันธุ์พืชหยอดลง ทีละรูๆ แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม แล้วแต่ดิน ฝน และแดด แต่พันธุ์พืชหรือพันธุ์ข้าวชนิดที่ปลูกก็เป็นพันธุ์ป่าชนิดที่ไม่ต้อง ขวนขวายทดน้ำมาหล่อเลี้ยง พอพืชโตได้ที่มี ดอกออกผลก็เก็บเกี่ยว แล้วก็ทิ้งดินแปลงนั้นให้หญ้าและต้นไม้ขึ้นรกชัฏไปตามเรื่อง ใช้ได้ครั้งเดียว รุ่งขึ้นก็ขยับไปเผาป่าในที่ถัดออกไปใหม่ ขยับเวียนไปรอบทิศตามสะดวก ไม่มีใครหวงห้ามหรือจับจอง บางที ๒-๓ ปีผ่านไปก็หันกลับมาเผาที่ตรงแปลงเดิมใหม่ แต่ถ้าหากดินจืด ใช้ไม่ได้ผล ก็ย้ายหมู่บ้านกันเสียที ไปเลือกทำเลใหม่ หอบไปแต่สิ่งของสำคัญๆ ไม่มีสมบัติ ... (จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาของคำสยามฯ, พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๒๓๘.)

การเพาะปลูกแบบนี้ผลิตอาหารได้น้อย เพราะมีพื้นที่น้อยและทำได้ไม่สม่ำเสมอ

ฉะนั้น นอกจากจะมีอาหารเลี้ยงคนได้น้อยแล้ว ยังเป็นเหตุให้ชุมชนต้องเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งเพาะปลูกแห่งใหม่อยู่เสมอๆ พวกนี้จึงมีลักษณะทางสังคมเป็นแบบชนเผ่าที่อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งหลักแหล่งถาวรไม่ได้ ขยายตัวเป็นบ้านเมืองก็ไม่ได้

พวกที่ลุ่ม  พวกนี้อาศัยบริเวณที่ลุ่มในหุบเขา ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบตามชายฝั่งทะเลซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกกว้างขวาง มีน้ำท่วมถึง หรือมีการชักน้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ที่เพาะปลูกได้ ทำให้มีโคลนหรือตะกอนจากที่อื่นๆ เข้ามาทับถมกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ

ที่ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์เสมอๆ ทุกๆ ปีจนไม่ต้องโยกย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่ และสามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยพอเลี้ยงคนได้จำนวนมาก ทั้งมีส่วนเกินพอที่จะนำไปแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่นๆ ด้วย ทำให้ท้องถิ่นนั้นๆ มีผู้คนหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ

ในที่สุดก็แบ่งงานกัน ทำกิจกรรมเฉพาะ รวมทั้งมีโอกาสร่วมมือในกิจการงานด้านต่างๆ เช่น ทดน้ำหรือระบายน้ำเพื่อการเพาะปลูก ติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของกับชุมชนอื่น และขยายชุมชนไปยังบริเวณใกล้เคียง

ฉะนั้นเขตนี้มักมีพัฒนาการจาก หมู่บ้าน เป็น เมือง แล้วก้าวหน้าเป็น รัฐ และ อาณาจักร ได้

แต่ ก็มิได้หมายความว่าทุกหนทุกแห่งในเขตที่ราบจะมีโอกาสก้าวหน้าได้เหมือนกัน หมด เพราะยังมีข้อแตกต่างกันด้านอื่นๆ ที่อาจเป็นทั้งสิ่งเอื้ออำนวยและข้อจำกัดอีก

พวกที่สูง - ที่ลุ่ม ผสมกลมกลืนกันเป็น "ชาวสยาม"

พวกที่สูงมีความรู้และชำนาญในการถลุงโลหะ ส่วนพวกที่ลุ่มมีความรู้และชำนาญการทำนาปลูกข้าวในที่ลุ่ม ทั้งสองพวกนี้มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของกันตลอดเวลา

จนถึงระยะเวลาหนึ่งพวกที่สูงก็ลงมาอยู่ที่ลุ่มแล้วผสมกลมกลืนกันทางสังคมและวัฒนธรรม มีร่องรอยอยู่ในนิทานปรัมปราหลายเรื่อง

แต่ นิทานเรื่องใหญ่และสำคัญที่สะท้อนความสัมพันธ์ของชนกลุ่มต่างๆ ทั้งพวกที่สูงและพวกที่ลุ่มทั่วสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งโขงทางล้านนากับล้านช้าง คือเรื่อง ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง อาจมีบรรพชนเป็นพวกที่สูง แต่เป็น วีรบุรุษข้ามพรมแดนทางเผ่าพันธุ์ เพราะแต่งงานกับพวกที่ลุ่มด้วย แล้วกลายเป็นวีรบุรุษในอุดมคติของกลุ่มชนทั้งพวกที่สูงและพวกที่ลุ่ม

คน ที่สูงกับที่ลุ่ม ผสมกลมกลืนกันทางเผ่าพันธุ์ สังคม วัฒนธรรม นานเข้าก็เป็นพวกเดียวกัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ร่วมกันในดินแดนที่คนภายนอกเรียกกันภายหลังว่าสยาม

คนพวกนี้เลยถูกเรียกอย่างรวมๆ เป็นชาวสยามด้วย


http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/LA2-07-450x244.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

แทงดินหยอดข้าว“เฮ็ดไฮ่” ในนาดอน ริมแม่น้ำน่าน อ. พิชัย จ. อุตรดิตถ์
(ภาพจาก สยามประเทศ : ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม. รองศาสตราจารย์ -
ศรีศักร วัลลิโภดม, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๓๔.)


http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/K-402.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

แทงดินหยอดข้าว“เฮ็ดไฮ่” ในนาดอน ริมแม่น้ำน่าน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์
(ภาพจาก สยามประเทศ : ภูมิหลังของประเทศไทยตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม. รองศาสตราจารย์ -
ศรีศักร วัลลิโภดม, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๓๔.)



http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/K-701-450x297.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

“เฮ็ดไฮ่” มีคนหนึ่งสักรูแทงดิน อีกคนหนึ่งใส่ข้าวหยอดหลุม ที่บ้านนาอ่าง
อ. บึงโขงหลง จ. บึงกาฬ (ภาพเก่า)



http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/LA2-10-450x303.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

ชาวนาดำนาปลูกข้าวในนาลุ่มทางภาคกลาง
[ภาพจาก Twentieth Century Impressions of Siam. Arnold Wright (edit.).
London : L Loyd ’s Greater Britain Publishing Co. Ltd.,
1908.


http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/LA2-09-450x318.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

ชาวนาไถนาลุ่มทางภาคกลาง สมัยรัชกาลที่ ๕
(ภาพเก่าจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)


ที่มา "เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ที่สูง ที่ลุ่ม ยุคดึกดำบรรพ์" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  
หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๘-๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗




http://www.sujitwongthes.com/wp-content/uploads/2014/08/cow-450x260.jpg
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา ยุคดึกดำบรรพ์

ทำขวัญข้าว และสู่ขวัญนา เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวหรือควาย กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควาย
และมีมือประทับทำแนวโค้ง พร้อมด้วยลายขีดข่วน รูปสัญลักษณ์ที่ยังไม่รู้ความหมาย
(ลายเส้นจำลองจากภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี)


ทำขวัญนาและทำขวัญข้าว
ของบรรพชนอาเซียน ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว

ทำขวัญ หรือสู่ขวัญให้ท้องนาและต้นข้าว เป็นพิธีกรรมสำคัญของบรรพชนคนอาเซียน (อุษาคเนย์) เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

แสดงออกโดยภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เป็นรูปต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวควาย มีคน มีมือแดง กับมีลายสัญลักษณ์อื่นๆ (ที่ยังไม่รู้ความหมาย)

ประเพณี ๑๒ เดือน
คนจะวิงวอนร้องขอขมาเพื่อให้ได้และไม่ได้สิ่งใดๆ มักเริ่มต้นที่ทำขวัญ สู่ขวัญ เรียกขวัญ เลี้ยงขวัญ เช่น ประเพณี ๑๒ เดือน เพื่อการทำมาหากิน ต้องมีดังนี้
เดือนอ้าย ขึ้นฤดูกาลใหม่ คนต้องทำพิธีเลี้ยงผีทำขวัญขอขมาน้ำและดินที่บันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารไว้กินและใช้ตลอดปี
เดือนยี่, เดือนสาม เก็บเกี่ยวพืชพันธุ์เสร็จแล้วต้องมีพิธีทำขวัญต่างๆ เช่น ขวัญ ข้าว, ขวัญลานนวดข้าว, ขวัญยุ้งเก็บข้าว, ขวัญวัวควาย, ขวัญเกวียนเข็นข้าว, ฯลฯ
เดือนสี่, เดือนห้า เลี้ยงผี ทำขวัญ เครื่องมือทำมาหากิน เช่น ผีครก, ผีสาก, ผีสุ่ม, ผีลิงลม, ผีนางด้ง, ฯลฯ (เมื่อรับสงกรานต์จากอินเดียแล้ว ผนวกเรียกประเพณีสงกรานต์)
เดือนหก, เดือนเจ็ด เลี้ยงผี เลี้ยงขวัญ ขอฝน แรกนาขวัญ คือ เลี้ยงขวัญก่อนทำนา
เดือนแปด, เดือนเก้า, เดือนสิบ สู่ขวัญทำนาและสู่ขวัญข้าว
เดือนสิบเอ็ด, เดือนสิบสอง สู่ขวัญขอขมาให้น้ำลดเพื่อเกี่ยวข้าวในนาน้ำท่วม

ขวัญ
ขวัญ เป็นระบบความเชื่อในศาสนาผี ซึ่งเป็นของพื้นเมืองดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ หมายถึง ส่วนที่ไม่เป็นตัวตนของคน, สัตว์, พืช ที่มีในความเชื่อตรงกันของคนทุกชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์  (คำว่า ขวัญ ในตระกูลไทย-ลาว ที่ใช้สืบเนื่องมานานมาก น่าจะเป็นคำร่วมสุวรรณภูมิที่มีมาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ มีใช้ในหลายตระกูลภาษา แต่นานเข้าก็ออกเสียงแล้วสะกดต่างไปมากบ้างน้อยบ้าง)

ขวัญมีหน่วยเดียว แต่ฝังกระจายอยู่ทั่วทุกแห่ง หรือทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่เกิดมามากกว่า ๓๐ แห่ง เช่น ขวัญหัว, ขวัญตา, ขวัญมือ, ขวัญแขน, ขวัญขา, ฯลฯ และมีความสำคัญมากเท่าๆ กับส่วนที่เป็นตัวตนหรือร่างกาย

ทั้งยังมีความเชื่อร่วมกันอีกว่า ถ้าขวัญอยู่คู่กับร่างกาย เจ้าของขวัญจะมีความสุขสบาย แต่ถ้าขวัญออกจากร่างกายไป เจ้าของขวัญจะไม่เป็นปกติ อาจเจ็บไข้ได้ป่วยจนถึงตาย

เมื่อใดก็ตามที่เจ้าของขวัญเจ็บป่วยมาก แสดงว่าขวัญไม่ได้อยู่กับตัว ดังนั้นผู้ใหญ่ในครอบครัวต้องทำพิธีเรียกขวัญให้กลับเข้าสู่ตัว เพื่อให้เจ้าของขวัญอยู่ดีมีสุข

สัตว์, พืช, สิ่งของที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากินของคนล้วนมีขวัญทั้งนั้น เช่น ขวัญวัว, ขวัญควาย, ขวัญเรือน, ขวัญเกวียน, ขวัญยุ้ง, ขวัญนา, ขวัญข้าว, ฯลฯ

 
ทำขวัญ
พิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญ เรียกว่าทำขวัญ (หรือสู่ขวัญ เรียกขวัญ เลี้ยงขวัญ) ในทุกช่วงสำคัญของชีวิตทั้งเหตุดีและไม่ดี ตั้งแต่เกิดจนตาย

เพื่อให้ผู้รับทำขวัญพ้นจากความวิตกกังวลหวาดกลัวหรือตกใจ ต่อการเปลี่ยนแปลงสู่สภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งเท่ากับสร้างความมั่นใจและความมั่นคงแก่ผู้รับขวัญ

ทำขวัญ, สู่ขวัญ, เรียกขวัญ, เลี้ยงขวัญ เป็นพิธีกรรมที่แสดงความผูกพันและความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติระหว่างบุคคลกับครอบครัว และบุคคลกับชุมชนในสังคมเกษตรกรรม ฉะนั้นพิธีจึงเริ่มจัดให้มีขึ้นอย่างง่ายๆ โดยพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเท่านั้น

เมื่อรับศาสนาจากอินเดียแล้วพิธีทำขวัญอย่างง่ายๆ ในท้องถิ่นก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ซับซ้อนขึ้นโดยรับคติพราหมณ์กับพุทธเข้ามาประสมประสาน  ดังจะเห็นว่าพิธีทำขวัญสมัยต่อมาจนถึงทุกวันนี้มักจะมีบายสีและแว่นเวียนเทียนเป็นเครื่องประกอบ และมีหมอขวัญเป็นผู้ชำนาญขับคำร้องขวัญ คือกล่าวเชิญทั้งผีฟ้าพญาแถนและทวยเทพยดามาปลอบขวัญ (ทำขวัญปัจจุบัน คนอีสานถูกทำให้เชื่อว่าเป็นพิธีพราหมณ์ ไม่มีเป่าแคนคลอคำ สู่ขวัญ แต่ลำผีฟ้ารักษาโรค เมื่อถึงช่วงสุดท้ายต้องมีพาขวัญ สู่ขวัญ เรียกขวัญ และต้องมีเป่าแคนคลอหมอร้องขวัญ)

บายสี เป็นคำเขมร หมายถึงข้าวขวัญ ที่จัดวางในกระทงใบตอง ต่อมารวมกระทงใส่เครื่องสังเวย

จัดบายสีเป็นพิธีพราหมณ์ที่รับมาประสมกับพิธีพุทธใช้เคลือบพิธีผี เช่น พิธีทำขวัญนาค (ที่ไม่มีในพุทธบัญญัติ)

 
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
บริเวณที่พบเส้นสาย, ลายสลัก, และลายแต้ม ยุคดึกดำบรรพ์ (ก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย) ล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผี เช่น ถ้ำ, เพิงผา, หน้าผา, โขดหิน, ฯลฯ

ใช้ทำพิธีกรรมสำคัญของเผ่าพันธุ์ เช่น ขอฝน เป็นต้น ซึ่งคนในชุมชนเดียวกันและต่างชุมชนจะมาทำพิธีกรรมร่วมกัน เริ่มจากกินเหล้า แล้วร่วมกันขับลำ, เล่นดนตรี, ฯลฯ

รวมถึงเป็นที่เก็บศพและฝังศพ ตระกูลหมอผีหัวหน้าเผ่าพันธุ์

ไม่ใช่งานศิลปะ
เส้นสาย, ลายสลัก, จักสาน, และลายแต้ม ยุคดึกดำบรรพ์เหล่านี้ ไม่ใช่งานศิลปะ (อย่างที่นิยมเรียกศิลปะถ้ำ) แต่เป็นงานช่าง

ศิลปะ อันเป็นที่รับรู้ของคนทั่วโลกทุกวันนี้ มีความหมายโน้มไปทางปัจเจกบุคคล “โดยปัจเจก เพื่อปัจเจก” ที่มีขึ้นสมัยหลัง (มักเชื่อว่ามีหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมยุโรป ราวปลายยุคอยุธยาต่อเนื่องยุคธนบุรี)

แต่งานช่างเป็นกิจกรรมร่วมหมู่ของคนทั้งชุมชน และบางทีขยายไปถึงท้องถิ่นร่วมกันทำขึ้นเป็นสมบัติรวมของชุมชนท้องถิ่น



ที่มา (ภาพและข้อมูล) : "ทำขวัญนาและทำขวัญข้าว ของบรรพชนอาเซียน ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๕-๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๗
* เฉพาะผลงาน สุจิตต์ วงษ์เทศ  (ภาพและข้อมูล) ท่านกรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "ไม่สงวนลิขสิทธิ์"

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 กันยายน 2557 16:27:56 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5489


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 กันยายน 2557 15:03:13 »

.

วัวควายไถนา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ควายกินข้าว (๒๕๔๖) แต่งจากคำบอกเล่าชาวบ้านในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง
 
ว่าแต่ก่อนคนเรายังโง่ กินเผือกกินมันจากดงป่า ไม่รู้จักทำไร่ไถนาปลูกข้าว จึงไม่รู้จักกินข้าว แต่ควายมีปัญญา รู้จักทำนาปลูกข้าว ควายจึงสอนให้คนรู้จักทำนาปลูกข้าวกิน ดังนี้
 
          จะกล่าวถึงควายต้นบนสวรรค์        เป็นต้นเค้าเผ่าพันธุ์ควายผู้กล้า
          รู้ไถนาปลูกข้าวกินข้าวปลา          มีปัญญาเลิศลบทั้งภพไตร
          ส่วนมนุษย์ยังโง่อดโซนัก            ไม่รู้จักข้าวกล้าทำนาไร่
          อยู่ดินกินดาวกับราวไพร             เผือกมันผลไม้พอได้กิน
          ควายสวรรค์ลงมาหามนุษย์          สอนที่สุดไถนาวิชาสิ้น
          ปลูกข้าวได้ข้าวมีข้าวกิน             ก็หลงรสหลงลิ้นกินข้าวควาย
          คนแย่งควายกินข้าวไม่ขายหน้า     ควายต้องกินฟางหญ้าปัญญาหาย
          คนเริ่มเก่งกาจกว่าบรรดาควาย      ควายก็กลายเป็นควายแต่นั้นมา


 
 
• วัวควาย สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
ด้วยความเชื่อว่าวัวควายเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ดังมีนิทานที่ยกมา
 
คนดึกดำบรรพ์เมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงวาดรูปวัวควายไว้ทำพิธีเซ่นวักบนเพิงผาและผนังถ้ำ พบทั่วไปเกือบทุกภาคของไทย
 
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ยุคเดียวกัน แล้วมีภาพเขียนไว้เหมือนกัน คือ หมาเก้าหาง เอาพันธุ์ข้าวมาให้มนุษย์ปลูกกิน

 
  
• สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
บริเวณที่พบเส้นสาย, ลายสลัก, และลายแต้ม ยุคดึกดำบรรพ์ (ก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย) ล้วนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาผี เช่น ถ้ำ, เพิงผา, หน้าผา, โขดหิน, ฯลฯ เทียบเท่าโบสถ์, วิหาร สมัยหลังๆ
 
ใช้ทำพิธีกรรมสำคัญของเผ่าพันธุ์ เช่น ขอฝน เป็นต้น ซึ่งคนในชุมชนเดียวกันและต่างชุมชนจะมาทำพิธีกรรมร่วมกัน เริ่มจากกินเหล้า แล้วร่วมกันขับลำ, เล่นดนตรี, ฯลฯ
 
รวมถึงเป็นที่เก็บศพและฝังศพ ตระกูลหมอผีหัวหน้าเผ่าพันธุ์

   
 
• ไม่ใช่งานศิลปะ
เส้นสาย, ลายสลัก, จักสาน, และลายแต้ม ยุคดึกดำบรรพ์ (ก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย) ไม่ใช่งานศิลปะ (อย่างที่นิยมเรียกศิลปะถ้ำ) แต่เป็นงานช่าง
 
ศิลปะ อันเป็นที่รับรู้ของคนทั่วโลกทุกวันนี้ มีความหมายโน้มไปทางปัจเจกบุคคล “โดยปัจเจก เพื่อปัจเจก” ที่มีขึ้นสมัยหลัง (มักเชื่อว่ามีหลังปฏิวัติอุตสาหกรรมยุโรป ราวปลายยุคอยุธยาต่อเนื่องยุคธนบุรี)
 
แต่งานช่างเป็นกิจกรรมร่วมหมู่ของคนทั้งชุมชน และบางทีขยายไปถึงท้องถิ่นร่วมกันทำขึ้นเป็นสมบัติรวมของชุมชนท้องถิ่น

 
  
• บรรพชนช่างเขียน
คนเขียนลายเส้นเป็นรูปต่างๆ เหล่านั้น เช่น คน, สัตว์, ฯลฯ ได้รับยกย่องเป็นบุคคลพิเศษ (ที่ยุคต่อไปจะเรียกว่าช่าง) มีอำนาจระดับหมอผี หมายถึงผู้มีวิชามากกว่าคนอื่นในท้องถิ่นชุมชนนั้น
 
ทั้งหมดล้วนเป็นหลักฐานมั่นคง ว่าบรรพชนคนอาเซียนกลุ่มหนึ่งเมื่อหลายพันปีมาแล้ว มีประสบการณ์ชำนาญและความสามารถระดับสูงแล้วในทางวาดรูป ทั้งเหมือนจริงและเป็นเส้นสัญลักษณ์เหนือจริง ยุคก่อนรับลายกระหนกจากอินเดีย

 
 
• กระหนกจากอินเดีย เข้าถึงอุษาคเนย์      
ครั้นหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ มีการติดต่อทางทะเลสมุทรค้าขายแลกเปลี่ยนสิ่งของสินค้ากับอินเดียและลังกา  เริ่มรับศาสนา เริ่มรับลายกระหนกจากอินเดียเป็นครู แล้วเริ่มทำเลียนแบบครู สมมุติเรียกงานช่างแบบทวารวดี ซึ่งต่างมีพื้นฐานเบสิครองรับมานานมากแล้วจากลายเส้นเป็นภาพเขียนดึกดำบรรพ์เหล่านั้น
 
เมื่อฝึกฝนเลียนแบบครูจนชำนิชำนาญ จึงมีพัฒนาการเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่นสุวรรณภูมิ กระทั่งเป็นรัฐชาติ มีชื่อชาติภาษา และประเทศชาติ เลยพากันสมมุติเรียกชื่อต่างๆ กันตามชื่อเหล่านั้นว่า ลายมอญ, ลายเขมร, ลายลาว, ฯลฯ จนถึงลายไทย
 
แต่แท้จริงแล้วล้วนเป็นลายกระหนกจากอินเดียโบราณอย่างเดียวกัน ซึ่งจะแยกให้ต่างกันไม่ได้ (เว้นเสียแต่บังคับให้ต่างตามการเมืองยุคล่าอาณานิคม)



วัวยุคดึกดำบรรพ์ ภาพเขียนสีที่ประตูผา อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง (ภาพจาก แหล่งโบราณยุคดึกดำบรรพ์ที่ประตูผา จ. ลำปาง :
ภาพเขียนสีพิธีกรรม ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่ผาศักดิ์สิทธิ์. วรลักษณ์ ทรงศิริ และ วิวรรณ แสงจันทร์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕.)


วัวยุคดึกดำบรรพ์ (คัดลอกจากภาพเขียนสี ที่ถ้ำประตูผา อ. แม่เมาะ จ. ลำปาง)
ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยภาพมือแบบต่างๆ ทั้งแบบมือพ่น, ประทับ, ประทับและตกแต่ง
ด้วยสัญลักษณ์แบบต่างๆ เช่น ลายจุด-ลายกากบาท ในผังวงกลม, ภาพสัตว์ซึ่งมีทั้งวัว,
นกยูง, กระรอก, สัตว์ประเภทตะกวด, ฯลฯ, ภาพพืชและสัญลักษณ์ซึ่งมีทั้งวงกลม,
สี่เหลี่ยมและกากบาท ฯลฯ (ภาพจาก แหล่งโบราณคดียุคดึกดำบรรพ์
ที่ประตูผา จ. ลำปาง : ภาพเขียนสีพิธีกรรม ๓,๐๐๐ ปี ที่ผาศักดิ์สิทธิ์.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และ วิวรรณ แสงจันทร์. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๕.)


วัวควาย ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว คัดลอกจากภาพเขียนสีที่ต่างๆ (ซ้าย) ที่เขาปลาร้า
อ. ลานสัก จ. อุทัยธานี (ขวา) ที่ผาฆ้อง อ. ภูกระดึง จ. เลย


ทำนาราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวหรือควาย กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควาย
และมีมือประทับทำแนวโค้ง พร้อมด้วยลายขีดข่วน (ลายเส้นจำลองจากภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย
อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี)


ที่ภูพระบาท อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี

ที่มา (ภาพและข้อมูล) : "วัวควายไถนา ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๒๕ - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
* เฉพาะผลงาน สุจิตต์ วงษ์เทศ  (ภาพและข้อมูล) ท่านกรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "ไม่สงวนลิขสิทธิ์"




.


ปักกกแฮก ในนาตาแฮก เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว
มีวัวหรือควาย กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควาย และมีมือประทับทำแนวโค้ง
พร้อมด้วยลายขีดข่วน รูปสัญลักษณ์ที่ยังไม่รู้ความหมาย (ลายเส้นจำลอง
จากภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี)

“ปักกกแฮก ในนาตาแฮก”
บงการธรรมชาติ ก่อนทำนาจริง เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว

ก่อนลงมือทำนาปลูกข้าวจริงๆ คนแต่ก่อนมีพิธีกรรมในศาสนาผีเพื่อขอความมั่นคงและมั่งคั่งในพืชพันธุ์ธัญญาหาร (ก็คือขอความอุดมสมบูรณ์)
 
เรียกกันสืบมาถึงปัจจุบันเป็นคำลาวว่า พิธีนาตาแฮก และพิธีปักกกแฮก
 
เมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้นเป็นรัฐ จึงมีพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ล้วนสืบจากปักกกแฮก ในนาตาแฮกนี้เอง


 
• นาตาแฮก
นาตาแฮก เป็นคำลาว ตรงกับคำไทยว่านาตาแรก หมายถึงทำนาครั้งแรกในช่องแรก หรือตารางแรกที่กำหนดไว้
 
ชาวนาดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ทำนาทางฟ้า หมายถึงทำนาปลูกข้าวที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติโดยอาศัยน้ำฝนจากฟ้าที่ตกตามฤดูกาล

สิ่งนี้มนุษย์ควบคุมไม่ได้ และหยั่งรู้ล่วงหน้าก็ไม่ได้ด้วย จึงคาดเดาอนาคตไม่ได้ว่านาที่จะลงมือทำต่อไปจะได้ข้าวหรือไม่? เพราะไม่รู้ว่าปีนั้นฝนดีหรือไม่ดี?
 
ถ้าฝนน้อยข้าวแห้งตาย ถ้าฝนมากน้ำท่วมข้าวเน่าตายอีก
 
สิ่งปลอบประโลมให้คลายทุกข์ คือสร้างพิธีกรรมจำลองแบบธรรมชาติ เพื่อบังคับให้ธรรมชาติเป็นไปตามแบบที่จำลอง ซึ่งจิตร ภูมิศักดิ์ บอกไว้ว่าอย่างนี้เท่ากับ “บงการ” (command) มิใช่ “วิงวอน” (implore) ดังนี้         

“ถ้าเราจำลองเลียนแบบธรรมชาติขึ้นแล้ว ก็จะบันดาลหรือบังคับให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้จริงดังใจปรารถนา  ชาวนาแต่ก่อนเมื่อจะลงมือดำนา จะต้องสร้างนาจำลองขนาดสักหนึ่งตารางเมตรขึ้นก่อน แล้วดำกล้าลงในนานั้นห้าหกกอ นาจำลองนั้น เรียกว่า ตาแรก หรือ ตาแฮก (ตา=ตาราง; แรก คือ แรกเริ่มดำ) ถ้าบำรุงข้าวในตาแรกนั้นได้งาม ข้าวในนาทั้งหมดก็จะงามไปด้วย”
 
(สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๗ หน้า ๓๒๐)

 
 
• ปักกกแฮก
นาตาแฮก ทำโดยปักกกแฮก หมายถึง ปักกล้าข้าวต้นแรก (กก แปลว่า ต้น, กอ, ดั้งเดิม) มีตัวอย่างคำสู่ขวัญปักกกแฮกในประเพณีลาว ดังนี้
๏ ไฮ่นี้ไฮ่ก้ำขวา นานี้นาท้าวทุม
ท้าวทุมให้กูมาแฮกนา กูจักแฮก
พญาให้กูมาแฮกไฮ่ กูจักแฮก
ปักกกนี้ ให้กูได้งัวแม่ลาย
ปักกกนี้ ให้กูได้ควายเขาช้อง
ปักกกนี้ นกจิบโตตาบอด ให้บินหนี
ปักกกนี้ กระจอกโตตาแหวน ให้บินหนี
ปักกกนี้ แมงคาโตฮู้ฮ่ำกกข้าว ให้บินหนี
ปักกกนี้ ให้ได้ฆ้องเก้ากำ
ปักกกนี้ ให้ได้คำเก้าหมื่น
ปักกกนี้ ให้อวนเข้าหมื่นมาเยีย
ปักกกนี้ ให้มานใหญ่ท่อมานอ้อย
ปักกกนี้ ให้มานน้อยท่อมานเลา
ปักกกนี้ ให้ได้เป็นเศรษฐีเท่าเฒ่า
(ประเพณีโบราณไทยอีสาน, โดย ปริญญาณ ภิกขุ, อุบลราชธานี, ๒๕๒๕)

   

• แรกนาขวัญ
ครั้นบ้านเมืองเติบโตขึ้นเป็นรัฐ บรรดาราชสำนักทั้งหลายก็ให้มีพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ โดยสืบพิธีกรรมปักกกแฮก ในนาตาแฮก แล้วเพิ่มพิธีพราหมณ์กับพุทธให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ขึ้น
 
 
ชาวบ้านอีสานนั่งยองๆ ท่องคำวิงวอนร้องขออำนาจเหนือธรรมชาติ เมื่อปักกกแฮก ในนาตาแฮก
(ภาพนี้ถ่ายเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว)


ชาวบ้านย่านโพธิ์สามต้น ที่พระนครศรีอยุธยา กำลังแรกนาขวัญในท้องนา ราว ๒๐ ปีมาแล้ว


จรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ในลายประทับรูปบุคคล คันไถ และวัว ราว ๗๐๐ ปีมาแล้ว
บนเศษภาชนะดินเผาจากเตาเผาบ้านบางปูน ต. พิหารแดง อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี




พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล จิตรกรรมฝาผนัง สมัย ร.๕
ในพระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

“นาตาแฮก ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว”
ถึงแรกนาขวัญ ปัจจุบัน
แรกนาขวัญ ทุกวันนี้ มีพัฒนาการจากนาตาแฮก (นาตาแรก) ราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
 
เพื่อขอความมั่นคงและมั่งคั่งทางพืชพันธุ์ธัญญาหารของชุมชนและบ้านเมือง
 
ครั้นบ้านเมืองเติบโตขึ้นเป็นรัฐ บรรดาราชสำนักทั้งหลายก็ให้มีพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ โดยสืบพิธีกรรมปักกกแฮก ในนาตาแฮก แล้วเพิ่มพิธีพราหมณ์กับพุทธให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ขึ้น



• แรกนาขวัญ ในรัฐยุคแรกๆ
         แรกนาขวัญยุคต้นอยุธยา เป็นตัวอย่างรัฐยุคแรกๆ ที่ชนบทหมู่บ้านทุกแห่งที่ทำพิธีนี้จะมีธงปักและผูกคันไถปลิวไปตามลมทุกหนทุกแห่ง ทวาทศมาส (โคลงดั้น) วรรณกรรมครั้งนั้น พรรณนาดังนี้
          ๏ เดือนหกเรียมไห้ร่ำ       ฤๅวาย
          ยามย่อมชนบทถือ          ท่องหล้า
          ธงธวัชโบกโบยปลาย       งอนง่า
          คิดว่ากรกวักข้า             แล่นตาม ฯ

จนถึงยุคปลายอยุธยาก็ยังมีพรรณนาแรกนาขวัญไว้ในนิราศธารโศกของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ว่า
          ๏ เดือนหกสรกฝนสวรรค์          จรดนังคัลตามพิธี
          แรกนาเข้าธรณี                     ดูเจ้าเปล่าใจหาย
          ๏ เดือนหกตกครั่นครื้น             ฝนสวรรค์
          พิธีจรดนังคัล                       ก่อเกล้า
          แรกนาจอมไอศวรรย์                 กรุงเทพ
          พี่แลบเห็นเจ้า                         เปล่าแล้วใจหาย




(ซ้าย) พิธีแรกนาขวัญ พระยาแรกนาทำพิธีแรกนาที่ท้องสนามหลวง (ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
(ขวา) พิธีจรดพระนงคัลแรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๔๗

แรกนาขวัญ เป็นภาษาของคนในภาคกลางที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตรงกับภาษาของคนบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขงว่า นาตาแฮก (แฮก คือ แรก) หมายถึง การไถนาทำนาปลูกข้าวครั้งแรกในนาจำลองขนาดเล็กๆ ที่สมมุติขึ้น

แล้วมีพิธีสู่ขวัญวิงวอนร้องขอต่ออำนาจเหนือธรรมชาติ (บางทีเรียกผีนาหรือพระภูมินา) จงบันดาลให้ทำนาจริงๆ ได้ผลผลิตเป็นข้าวงอกงามอุดมสมบูรณ์เหมือนนาจำลองที่สมมุติขึ้นครั้งแรกนี้
 
พิธีอย่างนี้มีมาแต่ดั้งเดิมในชุมชนดึกดำบรรพ์ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว สมัยก่อนๆ ทุกคนมีอาชีพทำนาต้องทำกันทั่วไปก่อนจะลงมือทำนาจริง
 
ต่อมาเมื่อราชสำนักรับแบบแผนฮินดูจากชมพูทวีป (อินเดีย) จึงปรุงแต่งให้สอดคล้องกับพิธีพราหมณ์เพื่อความศักดิ์สิทธิ์สูงขึ้น เช่น มีพระโคเสี่ยงทาย มีเชิญเทวดามาเสกเป่าข้าวเปลือกที่ใช้หว่านในพิธี เมื่อเสร็จงานก็ให้ชาวบ้านแย่งกันเก็บเม็ดข้าวเปลือกไปบูชา และโปรยลงในนาของตนเพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวมากขึ้น และรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ
 
ภาษาทางราชการเรียก จรดพระนังคัล เป็นคำเขมร (นังคัล คือ ผาลไถนา) แปลว่าไถนาครั้งแรก
 
มีหลักฐานยืนยันในเอกสารเก่าแก่ว่า พระเจ้าแผ่นดินเมื่อราว ๗๐๐ ปีมาแล้วมอบให้เจ้านายและขุนนางทำพิธีนี้เพื่อความมั่งคั่งในพืชพันธุ์ธัญญาหารของราชอาณาจักร จะละเว้นมิได้ ต้องทำทุกปี จึงมีสืบเนื่องมาจนปัจจุบันนี้



ที่มา (ภาพและข้อมูล) :
- "นาตาแฮก ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วถึงแรกนาขวัญ ปัจจุบัน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๒๙ สิงหาคม - ๔ กันยายน ๒๕๕๗
- “ปักกกแฮก ในนาตาแฮก” บงการธรรมชาติ ก่อนทำนาจริง เมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒๒ -๒๘  สิงหาคม ๒๕๕๗

- * เฉพาะผลงาน สุจิตต์ วงษ์เทศ  (ภาพและข้อมูล) ท่านกรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "ไม่สงวนลิขสิทธิ์"


35-35
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กันยายน 2557 14:33:18 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5489


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 กันยายน 2557 15:09:22 »

.


วัวควาย ราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว กรมศิลปากรคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ต่างๆ
(ซ้าย) เขาปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี (ขวา) ผาฆ้อง อ.ภูกระดึง จ. เลย (ล่าง) ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


ควาย, คน, ข้าว หลายพันปีมาแล้ว

“ควายตัวแรกอยู่บนฟ้า เอาพันธุ์ข้าวลงมาให้คน แล้วสอนคนทำนาปลูกข้าวกิน” เป็นคำบอกเล่าเก่าแก่ของคนในภูมิภาคอุษาคเนย์ (อาเซียน) สมัยโบราณ
 
(แต่บางท้องถิ่นที่ใช้วัว ก็ยกย่องว่าวัวเอาพันธุ์ข้าวจากฟ้ามาสอนคนปลูกกิน)
 
ดังนั้นคนยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว จึงเขียนสีตามเพิงผาเป็นรูปวัวควาย เพื่อยกย่องเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ (เช่นเดียวกับหมาเก้าหาง) แล้วผมแต่งเป็นเพลงกลอน ดังนี้
  
ควายกินข้าว
          จะกล่าวถึง ควายต้น บนสวรรค์       เป็นต้นเค้า เผ่าพันธุ์ ควายผู้กล้า
          รู้ไถนา ปลูกข้าว กินข้าวปลา          มีปัญญา เลิศลบ ทั้งภพไตร
          ส่วนมนุษย์ ยังโง่ อดโซนัก            ไม่รู้จัก ข้าวกล้า ทำนาไร่
          อยู่ดิน กินดาว กับราวไพร             เผือกมัน ผลไม้ พอได้กิน
          ควายสวรรค์ ลงมา หามนุษย์          สอนที่สุด ไถนา วิชาสิ้น
          ปลูกข้าว ได้ข้าว มีข้าวกิน             ก็หลงรส หลงลิ้น กินข้าวควาย
          คนแย่งควาย กินข้าว ไม่ขายหน้า     ควายต้องกิน ฟางหญ้า ปัญญาหาย
          คนเริ่มเก่ง กาจกว่า บรรดาควาย      ควายก็กลาย เป็นควาย แต่นั้นมา
           (เทป/ซีดี ชุดดินหญ้าฟ้าแถน ๒๕๔๖)
 
  
ควายให้กำเนิดคน
แต่คนบางพวกเชื่อว่าควายให้กำเนิดคนด้วย มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่ในพงศาวดารล้านช้าง ตอนต้นเรื่องที่เป็นคำบอกเล่าเก่าแก่มากของกลุ่มชนฝั่งโขงโบราณ
 
คำบอกเล่าย่อๆ มีว่าพระยาแถนส่งควายลงมาในโลก ต่อมาควายตายเหลือแต่ซากกะโหลก นานเข้าก็มีต้นน้ำเต้าปุงงอกออกจากซากจมูก (ฮูดัง) ควาย แล้วโตใหญ่ เป็นลูกน้ำเต้าปุงใบมหึมา คนเราก็เกิดมาแออัดยัดเยียดอยู่ในลูกน้ำเต้าปุงนั้น

จนเมื่อ “ปู่” ผู้วิเศษเอาเหล็กเผาไฟกับสิ่วแทงน้ำเต้าเป็นรู  คนเราก็พรั่งพรูมีกำเนิดมาเป็นพี่น้องกัน ๕ พวก ถือเป็นบรรพชนของคนในผืนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ทุกวันนี้
 
คนเครือญาติพี่น้อง ๕ พวกเหล่านั้น คำบอกเล่าในพงศาวดารล้านช้างระบุชื่อต่างๆ กันว่าชาวลม ชาวลี ชาวเลิง ชาวลอ ชาวควาง

คำบอกเล่าเกี่ยวกับควายให้กำเนิดคนในพงศาวดารล้านช้าง มีตอนหนึ่งเล่าว่าเมื่อน้ำท่วมโลก คนฝูงหนึ่งหนีขึ้นไปอยู่กับแถนเมืองบน (ที่ดอน) แต่อยู่ไม่ได้ เลยขอลงไปอยู่เมืองลุ่ม (ที่ลุ่ม) แถนก็ให้ลงมาตามต้องการ แล้วให้ควายมาใช้งานทำนาทำไร่ด้วย (พงศาวดารล้านช้าง พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ ปริก วิเศษภักดี มารดาหลวงรัตนสมบัติ เมื่อ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๓) จะคัดเฉพาะส่วนนี้มาดังต่อไปนี้




ทำนาราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีต้นข้าวปักดำเป็นแถว มีวัวหรือควาย
กับมีคนถืออาวุธทำท่าล่าวัวควาย และมีมือประทับทำแนวโค้ง พร้อมด้วยลายขีดข่วน
(กรมศิลปากรคัดลอกจากภาพเขียนสีที่ผาหมอนน้อย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี)


ควาย
เมื่อนั้นพระยาแถนจึงให้เอาลงมาส่ง ทั้งให้ควายเขาลู่แก่เขา จึงเอากันลงมาตั้งอยู่ที่นาน้อยอ้อยหนูก่อหั้นแล
 
แต่นั้นเขาจึงเอาควายนั้นเฮ็ดนากิน นานประมาณ ๓ ปี ควายเขาก็ตายเสีย เขาละซากควายเสียที่นาน้อยอ้อยหนูหั้น
  
น้ำเต้าจมูกควาย
แล้วอยู่บ่นานเท่าใด เครือหมากน้ำก็เกิดออกฮูดังควายตัวตายนั้นออกยาวมาแล้ว ก็ออกเปนหมากน้ำเต้าปุง ๓ หน่วย และหน่วยนั้นใหญ่ประมาณเท่ารินเขาปลูกเข้านั้น
 
คนในน้ำเต้า
เมื่อเครือหมากนั้นแก่แล้ว คนทั้งหลายก็เกิดอาไศรยซึ่งหมากน้ำ เปนดังนางอาสังโนเกิดในท้องดอกบัวเจ้าฤๅษีเอามาเลี้ยงไว้ คนทั้งหลายฝูงเกิดในผลหมากน้ำเต้าฝูงนั้น  ก็ร้องก้องนี่นันมากนัก ในหมากน้ำนั้นแล
 
รูชี รูสิ่ว
ยามนั้นปู่ลางเชิงจึงเผาเหล็กชีแดงชีหมากน้ำนั้น คนทั้งหลายจึงบุเบียดกันออกมาทางฮูที่ชีนั้น ออกมาทางฮูที่นั้นก็บ่เบิ่งคับคั่งกัน ขุนคานจึงเอาสิ่วไปสิ่วฮู ให้เปนฮูแควนใหญ่ แควนกว้าง คนทั้งหลายก็ลุไหลออกมานานประมาณ ๓ วัน ๓ คืนจึงหมดหั้นแล

คนทั้งหลายฝูงออกมาทางฮูชีนั้นแบ่งเปน ๒ หมู่ๆ หนึ่งเรียกชื่อไทยลม หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยลี ผู้ออกทางฮูสิ่วนั้นแบ่งออกเปน ๓ หมู่ หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยเลิง หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยลอ หมู่หนึ่งเรียกชื่อไทยควางแล
 
เฮ็ดไฮ่ เฮ็ดนา
แต่นั้นฝูงปู่ลางเชิง จึงบอกสอนเขาให้เฮ็ดไฮ่ไถนา ทอผ้าทอสิ้นเลี้ยงชีวิตรเขา แล้วก็ปลูกแปงเขาให้เปนผัวเปนเมีย มีเย่ามีเรือน ก็จึงมีลูกหญิงลูกชายมากนักแล
 

ที่มา (ภาพและข้อมูล) : "ควาย, คน, ข้าว หลายพันปีมาแล้




(ซ้าย) เมล็ดข้าว ราว ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว จากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน
(กลุ่มกลาง) เปรียบเทียบพันธุ์ข้าวปัจจุบันทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย
(ขวา) เปลือกข้าวที่ขุดได้จากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน แสดงรอยแตกแบบเดียวกับ
เปลือกข้าวที่แตกจากการตำแล้วฝัดเอาเปลือกออก
(ภาพจาก “Hoabinhian Horticulture : The Evidence and the Question From Northwest THAILAND”.
 Sunda and Sahul : Prehistoric Studies in Southeast Asia, Melanesia and Austraria.
J. Allen, J Golson and R. Jones Eds. Academic Press, London 1977.)


คนกินข้าวเหนียว
หลายพันปีมาแล้วในอาเซียน

คนกินข้าวครั้งแรก ราว ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว (บางคนว่านานมากกว่านี้) พบหลักฐานในไทยเป็นเมล็ดข้าวจากถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน
 
ข้าวเหนียว หรือ ข้าวนึ่ง เป็นตระกูลข้าวเก่าแก่ในไทยและในภูมิภาค เป็นอาหารหลักของคนทุกชาติพันธุ์ในอาเซียนอุษาคเนย์ เมื่อรับศาสนาจากอินเดียสมัยหลังๆ ยังเป็นอาหารหลักของพระสงฆ์ในวัดด้วย
 
ราวหลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ พบแกลบข้าวเหนียว ผสมดินเหนียวในแผ่นอิฐสร้างเจดีย์แบบทวารวดีทั่วลุ่มน้ำเจ้าพระยา และที่อื่นๆ ทั่วประเทศ
 
ราวหลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ พบเมล็ดข้าวเหนียวที่หุงหรือนึ่งแล้ว ตกอยู่ในดินบริเวณศาลาโถง (เนินปราสารท) หน้าวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่คนเอามาถวายพระสงฆ์ในงานทำบุญ

  
ข้าว
ข้าว เป็นคำในตระกูลไทย-ลาว ที่กลายจากคำว่า เข้า แปลว่า ปี เช่น อายุ ๑๙ เข้า หมายถึง อายุ ๑๙ ปี
 
เนื่องเพราะทำนาปลูกข้าวต้องพึ่งพาธรรมชาติปีละครั้ง โดยเฉพาะน้ำฝนที่ตกมาปีละหนในฤดูฝน จึงเรียกผลผลิตชนิดนี้ว่า เข้า (ปี) นานไปกลายเป็น ข้าว จนทุกวันนี้
 
ต้นข้าว เป็นพืชตระกูลหญ้ามีขึ้นทั่วไปในอาเซียนและในโลก เช่น ข้าวเหนียว, ข้าวเจ้า, ข้าวฟ่าง, ข้าวสาลี เป็นต้น




ลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าวป่า ซึ่งบางพันธุ์ขึ้นในที่น้ำตื้นๆ ดูคล้ายข้าวปลูกทั่วๆ ไป
หรือบางพันธุ์แม้ในน้ำลึกๆ ก็สามารถขึ้นได้ (ภาพจากบทความเรื่อง ข้าว : ความสำคัญและวิวัฒนาการ.
สงกรานต์ จิตรากร ในหนังสือ ข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม ประวัติศาสตร์ ๑๐,๐๐๐ ปี ของ “ข้าว” ในประเทศไทย
ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก, สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ, ๒๕๓๑.)


เผือก, มัน, กลอย
ข้าวป่ามีขึ้นทั่วไปตามธรรมชาติ แต่คนยุคแรกเริ่มดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ยังไม่รู้จักกินข้าวป่า และไม่รู้จักปลูกข้าว

ต่างแสวงหาอาหารตามธรรมชาติในป่าดงพงพี และที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กินเผือก, กินมัน, กินกลอย ก่อนรู้จักกินข้าว



เผือก


มัน


กลอย

เผือก เป็นพรรณไม้มีต้นและใบคล้ายบอน มีหัวอยู่ในดินเรียกหัวเผือก ขุดถอนมากินหัวได้
 
มัน เป็นพืชจำพวกหนึ่ง เป็นต้นก็มี เป็นเถาก็มี ใช้หัวและเหง้ากินเป็นอาหารได้ มีหลายชนิด เช่น มันนก, มันเทียน, มันอีอ้อน, มันมือเสือ, ฯลฯ
 
กลอย เป็นไม้เถาอย่างหนึ่ง มีหัวกินได้ ก้านใบยาว ถ้าหัวดิบจะมีพิษ คัน ต้องแช่น้ำให้จืดก่อนแล้วนึ่งให้สุก กินแทนข้าวได้ คนแต่ก่อนกินกลอยป่าแทนข้าว



ที่มา (ภาพและข้อมูล) : "คนกินข้าวเหนียว หลายพันปีมาแล้ว ในไทยและอาเซียน" โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ  หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ ๑๒-๑๘ กันยายน ๒๕๕๗
* เฉพาะผลงาน สุจิตต์ วงษ์เทศ  (ภาพและข้อมูล) ท่านกรุณาแจ้งในเว็บไซต์ของท่านว่า "ไม่สงวนลิขสิทธิ์"

32-32
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กันยายน 2557 15:11:35 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.562 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 02 พฤษภาคม 2567 05:40:30