[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
13 พฤษภาคม 2567 04:06:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (1) ศาลมัดรวมทุกอย่างจนภาพเบลอ  (อ่าน 37 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 มีนาคม 2567 02:36:05 »

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (1) ศาลมัดรวมทุกอย่างจนภาพเบลอ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2024-03-13 19:48</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>อธึกกิต แสวงสุข : สัมภาษณ์</p>
<p>ทีมข่าวการเมือง : เรียบเรียง</p>
<p>บุรภัทร จันทร์ประทัด : วิดีโอ/ คชรักษ์ แก้วสุราช : ภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’ ชี้การเสนอแก้กฎหมายไม่ใช่การที่สิทธิและเสรีภาพ แต่เป็นการใช้สถานะของ สส. ที่รัฐธรรมนูญให้เอาไว้ โดยมีกระบวนการตรวจสอบอยู่แล้ว ย้ำศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถที่จะตัดวงจรอื่นโฉบเข้ามาตัดสินคดี</li>
<li>ทบทวนคำวินิจฉัยส่วนตนของ ตลก. อย่างน้อย 4 คน เห็นว่าแก้กฎหมายไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นกระบวนการนิติบัญญัติ และเมื่อเห็นไม่ตรงกันควรตั้งประเด็นโหวต</li>
<li>ย้อนดูปมปัญหาของ มาตรา 49 กับคําวินิจฉัยที่ 18/22 ปี 55 ในฐานะปฐมบทที่ศาลชิงอํานาจเข้ามารับเรื่องโดยตรงโดยไม่ผ่านองค์กรของรัฐก่อน ชี้ปัญหาทำให้อํานาจศาลกว้างขึ้นโดยเฉพาะการสอบสวนเอง</li>
<li>ถอดความหมายของคำว่า ‘อัยการไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน’ ในมาตรา 49 ย้ำคดีนี้ กกต. เคยไม่รับคำร้องข้อหา ‘ปฏิปักษ์’ เปิดความประหลาดในทางกฎหมาย ชวนพิจารณาอะไรคือวัตถุแห่งคดี? ขณะที่ตัวคนร้องเองก็รู้ว่ามันไม่ถึงขั้นล้มล้างหรือไม่</li>
<li>ทำความเข้าใจหลักการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักการ สส. ที่มี ‘Free Mandate’ ปมปัญหา ม.112 ทั้งที่มาและการเลือกตั้งปี 66 </li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/BuE-aMNJrNI?si=RgMQdsiex46zg6yY" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วิดีโอสัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 1</span></p>
<p>หลังจากเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตัว ของแต่ละตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกสร ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยว่า การกระทำของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกล ที่เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อ “ล้มล้างการปกครองฯ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง  โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า การเสนอกฎหมายดังกล่าวนั้น ลดสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นนโยบายพรรคในการหาเสียงเลือกตั้งและยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้ประโยชน์จากสถาบันฯ เพื่อหวังผลคะแนนเสียงและชนะการเลือกตั้งมุ่งหมายให้สถาบันฯ อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้งกับประชาชน มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทําลายเป็นเหตุให้ชํารุดทรุดโทรม เสื่อมทรามหรืออ่อนแอลง นําไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด จึงสั่งการให้ผู้ถูกร้องเลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกมาตราดังกล่าวอีก ทั้งไม่ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายดังกล่าว ด้วยวิธีการ ซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง และ พ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 74 นั้น</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53571355361_dc6529d720_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (ซ้าย) อธึกกิต แสวงสุข (ขวา)</span></p>
<p>ประชาไทและ อธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์อิสระ ได้สัมภาษณ์พิเศษ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’ ศาสตราจารย์และอาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงความเห็นต่อคดีดังกล่าว โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่สร้างอำนาจศาลมหาศาล “ตัดวงจรอื่นโฉบเข้ามาเอาอันนี้ไปตัดสินคดี” ทั้งที่ผู้ร้องเคยร้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่ กกต.ไม่รับ รวมทั้งตุลาการอย่างน้อย 4 คน เห็นว่าเสนอแก้ มาตรา 112 ต่อสภาไม่ผิดมาตรา 49 แต่กลับไม่มีการแยกโหวตประเด็นนี้ จึงออกมาเป็นคำวินิจฉัยกลาง 9:0 โดยในส่วนนี้จะอยู่ในตอนแรก</p>
<p>ส่วนตอนที่ 2 เป็นเรื่อง “เราอยู่ในระบอบอะไร” ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขว่าระบอบนี้คืออะไร และขณะนี้เราอยู่ในระบอบอะไรผ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  โดยเฉพาะประเด็นที่ศาลเชื่อม มาตรา 112 กับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประเด็น ‘เคารพสักการะ’ ควรตีความอย่างไร ตอนสุดท้าย ว่าด้วยผลแห่งคดี “ยุบหรือไม่ยุบ อยู่ในมือ เลือกได้” กับความสำเร็จที่ปักธงระบอบนี้ได้แล้ว</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>กกต. มีมติเอกฉันท์ ส่งศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณายุบ 'พรรคก้าวไกล'</li>
<li>ศาลรัฐธรรมนูญฟันเสนอแก้ 112 ของ 'พิธา-ก้าวไกล' เป็นการใช้สิทธิฯ 'ล้มล้างการปกครอง' สั่งเลิกการกระทำ</li>
<li>'ชัยธวัช' ชี้ ยื่นยุบ 'ก้าวไกล' ด้วยข้อหาล้มล้างการปกครอง ยิ่งดึงสถาบันฯ มาใช้ทางการเมือง</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาของ มาตรา 49 กับคําวินิจฉัยที่ 18/22 ปี 55 ปฐมบทศาลชิงอํานาจเข้ามารับเรื่องโดยตรง</span></h2>
<p>ประเด็นคดีนี้เมื่อไปไล่เลียงตั้งแต่ต้นที่ ธีรยุทธ ผู้ร้องยื่นต่ออัยการสูงสุดก่อนแล้ว ขณะที่ทางอัยการสูงสุดยังไม่ทันวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญกลับทําหนังสือถามไปและก็สรุปเองนั้น  วรเจตน์ กล่าวว่า ถ้าย้อนกลับไปดูประเด็นนี้ซักนิดหนึ่งเข้าใจว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้อันนี้เป็นครั้งแรกหรือครั้งที่สองที่มีการอ้างเรื่องของการล้มล้างการปกครองผ่านบทบัญญัติในในมาตรา 49  แล้วก็สังเกตว่าอาจจะไม่ได้มีการตั้งประเด็นนี้ให้มันให้มันชัด คือเวลาที่จะมีการยื่นเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญนั้นมันไม่มีปัญหาว่าคดีนั้นเขาออกแบบให้ใครก็ได้ เป็นคนยื่นหรือไม่ โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ประชาชนทั่วไปยื่นเรื่องได้เพราะคดีมันจะเยอะมาก แล้วก็มันจะสร้างอํานาจศาลขึ้นมามหาศาลเพราะศาลรถพิคอัพเลือดคดีขึ้นมาดําเนินการได้หรือเตะออกเลยก็ได้</p>
<p>เรื่องนี้แต่เดิมหลักการมันคือหลักที่ว่าคนที่จะยื่นเรื่องนั้นเขารู้ว่ามีการกระทําที่มีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองหรือถ้าตามปี 2550 คือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจโดยวิถีทางไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย กระบวนการก็สามารถยื่นเรื่องอัยการและให้อัยการเป็นคนร้องต่อศาล ตัวบทนี้เดิมทีอยู่ในเรื่องธรรมนูญ 2550 มาตรา 68  คล้ายๆ กับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 49 ในเรื่องคดีพรรคก้าวไกล แต่ตอนในมาตรา 68 ในรัฐธรรมนูญ 2550 นั้น เขียนผูกกันว่าคนร้องใครก็ได้ โดยใครที่พบเห็นการกระทําว่าการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองก็ไปร้องอัยการ และโดยตัวบทคืออัยการต้องเป็นคนส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญที่เขียนผูกกันไว้  แต่ว่ามันมีคดีเกิดซึ่งเกิดมาจากตอนที่รัฐธรรมนูญปี 50 ประกาศใช้แล้ว ต่อมาพรรคการเมืองต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ มีการเสนอร่างเข้าสู่สภาปรากฏว่า สว. ในขณะนั้นไปร้องศาลรัฐธรรมนูญอาศัยช่องทางตามมาตรา 68 รัฐธรรมนูญ 2550 ร้องว่าการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อตั้ง สสร. ขึ้นมาทํารัฐธรรมนูญใหม่ มันเป็นการกระทําเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ตอนที่ไปร้องหากอ่านจากตัวบทเขาไปร้องผ่านมาตรานี้ไม่ได้ เพราะว่าอัยการเขารับเรื่องแล้วก็ไม่ส่งต่อให้  ทำให้พวกนี้ก็ไปร้องเองทำให้ศาลรัฐธรรมนูญก็มาตีความ ตอนนั้นตนวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญค่อนข้างเยอะในประเด็นนี้ คือ ศาลก็มาตีความว่าไม่ต้องผ่านอัยการก็ได้ ถ้าเกิดอัยการไม่ส่งก็ยื่นได้เลยยื่นเองได้ แล้วตนบอกว่านี่เป็นการตีความที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของมาตรา 68 ตัวบทมันไม่สื่อแบบนั้น อันนั้นเป็นครั้งแรกในคําวินิจฉัยที่18/22 ปี 2555 ที่ศาลได้ช่วงชิงอํานาจเข้ามาว่าถ้าไปยื่นอัยการแล้วอัยการไม่ส่งมาก็ยื่นต่อศาลได้เลย ซึ่งความเห็นตนคือเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">วินิจฉัยในคดีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ออกแบบให้ตัวเองมีอํานาจเข้ามา</span></h2>
<p>การตีความให้คนร้องแล้วยื่นต่อศาลได้เพื่อศาลจะได้มีอํานาจเข้ามาดูอันนี้ มันเป็นการตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญขยายอํานาจตัวเองออกไป ตอนนั้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในคดีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ออกแบบให้ตัวเองมีอํานาจเข้ามา แล้วหลังจากนั้นมีอีกคดีตามมาคือคดียื่นคำร้องว่าได้อํานาจมาไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่ที่ว่าการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และจะตั้ง สสร. แล้วบอกว่าได้อํานาจมาโดยไม่เป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย มันก็เป็นเรื่องตลกน่าขบขันมาก แม้ศาลรัฐธรรมนูญตอนนั้นเขาจะบอกว่าเรื่องนี้ไม่ได้ล้มล้าง เขายกคำร้อง แต่เขาก็รับคดี อันต้องบอกว่าเขาฉวยเอาอํานาจเข้ามารับคดี แล้วเขาก็บอกว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับควรทําประชามติ แต่ถ้าเกิดเป็นการเหมาะสมก็คือแก้เป็นมาตราได้ อันนั้นศาลเขียนอำนาจเข้ามาคล้อยกึ่งๆ แนะนำ แต่ตัวคําวินิจฉัยคือเขายกฟ้อง คือแบบไม่ให้แก้ทั้งฉบับ ถ้าแก้รัฐธรรมนูญประชามติก่อน เขาก็มาทําเป็นแก้รายมาตรา</p>
<p>จําได้ไหมที่มันมีมันมีอันหนึ่งที่บอกว่าให้ สว. เปลี่ยนให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ปี 56 แล้วตอนหลังก็มีคนไปยื่นว่าล้มล้างอีก ศาลรัฐธรรมนูญคราวนี้ก็เอาประเด็นเรื่องกระบวนการเสียบบัตรแทนกัน อะไรพวกนี้เข้ามาตัดสิน กระบวนการว่าถ้าเกิดให้ สว. มาจากการเลือกตั้งหมดจะทําให้เป็นสภาผัวเมียเท่ากับไม่เป็นประชาธิปไตย คือ เราบอกว่าการให้ สว. มาจากการเลือกตั้งในโลกนี้ก็ต้องถือเป็นประชาธิปไตยถูกไหม แต่ศาลรัฐธรรมนูญกลับบอกไม่เป็น แล้วก็บอกว่าทําไม่ได้ คดีนี้ถึงขนาดต้องมาสั่งให้สภาหยุดการลงมติในวาระ 3 ด้วย</p>
<p>“เมื่อมีการรัฐประหารปี 57 คราวนี้คนเขียนรัฐธรรมนูญปี 60 ไปเขียนซัพพอร์ตศาลรัฐธรรมนูญ เอาสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญที่ศาลวางหลักเอาไว้มาอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 60 เป็นมาตรา 49 ไปเขียนชัดเจนว่าตอนนี้ถ้ายื่นอัยการแล้วอัยการไม่สั่งหรือไม่ดําเนินการใน 15 วัน ก็ยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้” วรเจตน์ กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความหมายของคำว่า ‘อัยการไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน’ ในมาตรา 49</span></h2>
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">มาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ 60 บัญญัติไว้ว่าระบุว่า "บุคคลจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้</p>
<p style="margin-left: 40px;">ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้</p>
<p style="margin-left: 40px;">ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอ หรือไม่ดำเนินการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ผู้ร้องขอจะยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้</p>
<p style="margin-left: 40px;">การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง”</p>
</div>
<p>วรเจตน์ ยกตัวบทรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ขึ้นมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหา พร้อมกล่าวต่อว่า มันมีปัญหาเรื่องการตีความ คือประเด็นว่า ธีรยุทธ ที่ไปยื่นว่าพรรคก้าวไกลมีการกระทําที่เป็นการล้มล้างการปกครองผ่านการเสนอแก้กฎหมายเลิกมาตรา 112 และมีการทําที่ต่อเนื่อง โดยเขาก็ไปยื่นอัยการสูงสุดก่อน ซึ่งเราไม่ทราบหรอกว่าอัยการสูงสุดกําลังทําอะไรหรือไม่ทําอะไร รู้แต่ว่าอัยการสูงสุดไม่ได้มีคําสั่ง แต่ว่าระยะเวลา 15 วัน ผ่านไป ธีรยุทธ จึงไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญก็ทําหนังสือถามที่อัยการ สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญสรุปว่า อัยการไม่ได้ดําเนินการภายใน 15 วัน ศาลจึงมีอํานาจเข้ามาตัดสิน อันนี้อยู่ในคําวินิจฉัย แต่ว่าเท่าที่อ่านคําวินิจฉัยไม่เห็นว่ามันไม่มีข้อเท็จจริงปรากฏว่าอัยการสูงสุดไม่ได้ดําเนินการตามที่ร้องขออย่างไร เพราะเราลองนึกภาพความจริงว่าตนเป็นอัยการสูงสุด มีคนมายื่นคําร้องว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลกระทําการในการล้มล้างการปกครอง แล้วอยู่ๆ จะรับคําร้องนั้นเป็นบุรุษไปรษณีย์ส่งไปศาลรัฐธรรมนูญเลยมันไม่ได้ ต้องหาข้อเท็จจริงก่อน เว้นแต่ว่าบอกว่าเรื่องนี้มันไร้สาระไม่มีมูลก็ไม่รับคําร้องชัดเจนเลยก็ไปไปศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ารับเอาไปอยู่ในระหว่างการดําเนินการอยู่หาข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งดําเนินการใน 15 วัน มันไม่เสร็จอยู่แล้ว ทีนี้ถ้าเขารับเรื่องแล้วและอยู่ในกระบวนการของการดําเนินการอยู่จะตีความว่าไม่ได้ดําเนินการหรอ ถ้าอย่างนั้นรัฐธรรมนูญก็ต้องเขียนเอาไว้ว่าเมื่อพ้น 15 วัน แล้วไม่มีคําสั่ง ก็ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญ</p>
<p>แล้วศาลรัฐธรรมนูญคดีนี้แอคทีฟเลย เพราะว่าเมื่อพ้น 15 วัน ธีรยุทธ (ผู้ร้อง) ก็ไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อร้องปุ๊บศาลก็ถามอัยการเลย แต่มันไม่ปรากฎว่าตอนศาลถามอัยการ อัยการเขาตอบว่าอย่างไร ถ้าเกิดอยู่ในคําวินิจฉัยแล้วบอกว่าศาลได้ตรวจสอบแล้วพบว่าอัยการไม่ได้มีการดําเนินการในเรื่องนี้เลย อย่างนั้นก็โอเค แต่ในรัฐธรรมนูญเขียนว่า “หรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ” คําว่า “ไม่ดําเนินการ” หมายความว่าอย่างไร จะตีความไม่ดําเนินการก็คือว่าไม่ส่งคำร้องหรอ</p>
<p>“เวลาจะร้องบอกว่าคนล้มล้างการปกครองนี่ พอเหรอ 15 วัน ถ้าเกิดเป็นอย่างนั้นทําไมรัฐธรรมนูญไม่เขียนล่ะว่า “หรืออัยการไม่มีการส่งคําร้องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการยื่นคําร้อง” ถ้าอย่างนี้จะชัด หมายถึง มีคนมาร้องแล้ว 15 วัน คุณต้องตัดสินใจว่าคุณจะส่งหรือไม่ส่ง ถ้าคุณบอกว่าโอเคคุณไม่ส่ง 15 วัน เขาก็มีสิทธิ์ไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ก็ควรต้องเขียนให้มันชัดเจนแบบนั้น ไม่ใช่เขียนว่า “ไม่ดําเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ” มันไม่รู้เรื่อง” วรเจตน์ กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53571355096_62a81ff9bc_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วรเจตน์ ภาคีรัตน์</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เหตุที่ไม่ควรร้องศาลโดยตรงโดยไม่ผ่านองค์กรของรัฐก่อนเพราะอํานาจศาลที่กว้างขึ้นในการสอบสวนเอง</span></h2>
<p>ต่อคำถามที่ว่าการที่ข้ามขั้นอัยการไปแบบนี้นั้นมีผลอย่างไรต่อคดีหรือไม่นั้น วรเจตน์ ยืนยันว่ามี พร้อมอธิบายว่านึกภาพโดยปกติธรรมดาในทางการเมืองที่คนมีทัศนะแตกต่างกัน เราปล่อยให้การร้องอ้างอะไรพวกนี้ได้ แล้วก็มันส่งไปโดยง่ายแทนที่มันจะมีการผ่านองค์กรของรัฐมาเบื้องต้นก่อนในการหาข้อมูลข้อเท็จจริง แต่เรื่องผ่านไปที่ศาลเลย ศาลก็ต้องเข้ามาหาข้อเท็จจริงต่างๆ เอง</p>
<p>“ที่บอกอัยการไม่ส่งแล้วให้ผู้ร้องยื่นนั้นโดยหลักมันไม่ถูก หลักคิดตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 40 คือเรื่องใหญ่แบบนี้ องค์กรของรัฐก็ต้องเห็นว่ามันมีมูลว่าคนกลุ่มนี้จะกระทําการล้มล้างการปกครอง ศาลที่อยู่ทีหลังถึงเข้ามา ไม่ใช่ปล่อยให้ใครก็ได้ไปยื่นหรือเขียนรัฐธรรมนูญกําหนดเงื่อนไขมันร้องกันง่ายๆ แบบนี้หรือศาลเข้ามาตีความแบบนี้” วรเจตน์กล่าว</p>
<p>เมื่อถามย้ำว่ากระบวนการแบบนี้มันทําให้อํานาจศาลกว้างขึ้นโดยเฉพาะที่ไปสอบสวนเองหรือไม่นั้น  วรเจตน์ยืนยันว่าเป็นเช่นนั้น และว่า เมื่อ 15 วัน ศาลลงมาที่สังเกตอยู่เรื่องนี้ศาลแอคทีฟเลย จริงๆ ตนสังหรณ์ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่าคดีนี้ศาลแอคทีฟคือถามเลยว่าตกลงพ้น 15 วันไปแล้วอัยการทําอะไรไหม แต่น่าเสียดายว่าศาลไม่ได้มีข้อเท็จจริงปรากฏในคําวินิจฉัยว่าอัยการสูงสุดไม่ได้ดําเนินตามคําร้องอย่างไร ทั้งที่เขาอาจจะกําลังดําเนินการอยู่ อาจจะกําลังสอบอยู่ แล้วข้อเท็จจริงก็มีด้วยในคําวินิจฉัยว่า เมื่อศาลรับแล้วศาลบอกอัยการมีข้อมูลที่ส่งมา โดยอัยการส่งข้อมูลไปเป็นข้อมูลที่บอกว่า สส. 44 คน ยื่นแก้กฎหมายมีระบุชื่อว่ามีอะไรและใครบ้างซึ่งข้อมูลนี้ขอไปจากอัยการ แปลว่าอัยการก็กําลังดําเนินการอยู่ แต่เขายังไม่ได้มีความเห็นเลยว่าเรื่องนี้มันเป็นเรื่องล้มล้างและจะต้องส่งหรือไม่</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>‘ก้าวไกล’ ยื่นญัตติด่วนขอสภา ตั้ง กมธ.ศึกษาเขตอำนาจศาล รธน. ห่วงกระทบการทำงานสมาชิกรัฐสภา</li>
<li>'ปิยบุตร' เสนอ 6 ข้อถึง 'ก้าวไกล' ถือธงนำด้านความคิด แก้ ม.112 ต่อ ท้าชนศาล รธน.</li>
<li>อานนท์ มาเม้า: คำวินิจฉัย 31 มกราคมและคำถามต่ออนาคตศาลรัฐธรรมนูญ</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">กกต.เคยไม่รับคำร้องข้อหา ‘ปฏิปักษ์’ และความประหลาดในทางกฎหมาย</span></h2>
<p>วรเจตน์ กล่าวต่อว่าเรื่องนี้ปรากฏในคําวินิจฉัย คือ ก่อนที่ธีรยุทธ(ผู้ร้อง)จะมายื่นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เคยไปยื่นที่กกต. ก่อน ว่าพรรคก้าวไกลดําเนินการยกเลิกมาตรา 112 และดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นเหตุยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 92 วรรค 1 (2) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แต่เรื่องนี้กกต. ไม่รับคําร้อง แปลว่า กกต. เห็นว่าไม่มีมูลเลยที่เขาดําเนินการรณรงค์หรือดําเนินการจะเสนอกฏหมายนี่ แล้วการยื่นครั้งแรกยื่นก็อาจเป็นปฏิปักษ์ด้วย มันเบากว่าล้มล้างอีก</p>
<p>สำหรับความต่างกันระหว่าง ‘เป็นปฏิปักษ์’ กับ ‘ล้มล้าง’ นั้น วรเจตน์ ยืนยันว่ามีความต่างกัน และเมื่อมันต่างกันอันตรายของพรรคก้าวไกลมันจึงเกิดขึ้นได้มากเลย โดยข้อหา “อาจเป็นปฏิปักษ์” ซึ่งมันเบากว่า “ล้มล้าง” ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคําวินิจฉัยคดีพรรคยุบพรรคไทยรักษาชาติ อาจเป็นปฏิปักษ์หนึ่งไม่ต้องถึงขั้นล้มล้างเป็นการกระทําที่มีลักษณะเซาะกร่อนอะไรประมาณนี้ ก็ตรงเลยและพอแล้วที่อาจจะเป็นปฏิปักษ์ยุบพรรคได้ แต่ล้มล้างนี้หนักกว่าโดยตัวบทในมาตรา 49 มันไม่มีคําว่าอาจเป็นปฏิปักษ์ คือ มาตรา 49 นี่พูดถึงล้มล้างเลย แล้วก็เขาสั่งให้หยุดการกระทํา ใช้เสรีภาพล้มล้างการปกครองนี่สั่งให้หยุด ทีนี้เหตุยุบพรรคการเมืองมันมี 2 เหตุ คือ เหตุที่กระทําการล้มล้างอันหนึ่ง กับเหตุที่อาจเป็นปฏิปักษ์อีกอันหนึ่ง แปลว่าตอนที่ธีรยุทธไปร้อง กกต. ก็คงเห็นใช่ไหมว่านี่มันไม่ถึงขั้นล้มล้างถึงไปร้องว่าอาจเป็นปฏิปักษ์ โดยตอนนั้นเขาต้องการให้ยุบพรรค ซึ่งยุบพรรคมันมีคือ ‘ล้มล้างการปกครอง’ กับ ‘อาจเป็นปฏิปักษ์’ เขายังเลือกร้องอาจเป็นปฏิปักษ์เลยเพราะว่ามันเบากว่า โดยตอนนั้น กกต.ไม่รับคําร้อง แต่ว่าตอนที่ไม่รับคำร้องก็ไม่ได้เปิดช่องให้ผู้ร้องไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค จึงมาใช้ช่องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ซึ่งคํามันหนักกว่า มันเรื่องใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง และเราจะเห็นว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านบังเอิญตนได้อ่านคําวินิจฉัยส่วนตนเขาลังเลมากๆ เลยว่านี่มันถึงขั้นล้มล้างหรอ อ่านจากตัวคําวินิจฉัยนี่บางท่านเห็นเลย มีบางท่านนี่เขียนแบบไม่ถึงขั้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อยู่กันไปแบบงงๆ มันไม่เคลียร์ไม่ชัดมั่วๆ กันไป</span></h2>
<p>“เราเห็นแล้วใช่ไหมว่าเรื่องนี้มันคือความประหลาดในทางกฎหมายมันเริ่มตั้งแต่ตอนเรื่องคดีเลย มันแปลว่าเราก็ไปกันแบบอยู่กันไปแบบงงๆ มันไม่เคลียร์ไม่ชัดมั่วๆ กันไป แล้วก็ตีความไป แต่ว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามก็คือศาลเข้าไปมีบทบาทในการรับคดี” วรเจตน์ กล่าว</p>
<p>ต่อคำถามที่ว่าเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคดีแล้วก็ไปเรียกพยานเองหมด เช่น หน่วยงานข่าวกรองหรืออะไรต่างๆ ของรัฐ เป็นต้น นั้น วรเจตน์ ยืนยันว่า ใช่จำนวนมาก ทั้งผู้บัญชาการตํารวจข่าวกรอง ไปเอาคดีที่เกิดขึ้นมา แล้วในคำวินิจฉัยส่วนตนนี่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งทําตารางเลย ตารางกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างการทําผิดมาตรา 112 กับผู้ถูกร้อง เอาชื่อ สส. มาเรียงว่าคนนี้ถูกกล่าวหาว่าทําผิด มาตรา 112 คนนี้ไปประกันตัวประมาณนี้ บางคนโดนคดีศาลยังไม่ติดสินเลยว่าผิด เขาพยามจะมองว่านี่มันสัมพันธ์กัน คือมองว่ามันเป็นกลุ่มก้อนอันเดียวกัน พยายามจับเอาทุกอันมาต่อกัน คล้ายๆ กับว่าต่อจิ๊กซอว์เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นขบวนการที่จะล้มล้างการปกครอง ซึ่งศาลมองว่ามันคือการลดทอนสถานะของพระมหากษัตริย์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อะไรคือวัตถุแห่งคดี? หรือตัวคนร้องเองก็รู้ว่ามันไม่ถึงขั้นล้มล้าง</span></h2>
<p>ต่อประเด็นที่ว่าการเอามาทําจิ๊กซอว์อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีนักกฎหมายหลายคนมองเหมือนเป็นเรื่องปัญหาการสอบสวนคดีอาญาอะไรต่างๆ ที่ต้องมีการหักล้าง แต่อันนี้เหมือนกับศาลมองเจตนาซ่อนเร้นเซาะกร่อนบ่อนทำลายเอาผ่านการมาโยงนั้น  วรเจตน์ เห็นว่า ต้องดูก่อนว่าเรื่องนี้อะไรคือวัตถุของคดี ประเด็นที่เอาจิ๊กซอว์มาต่อกัน เวลาที่เราคิดทางกฏหมายมันต้องคิดให้มันเป็นขั้นเป็นตอนไป เราต้องเริ่มก่อนว่าโอเคเรื่องนี้คนร้องเป็นผู้มีสิทธิ์ร้องหรือไม่ มันผ่านขั้นตอนก่อนการยื่นคําร้องที่มันถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ตีความรัฐธรรมนูญว่าอย่างไร</p>
<p>“มันประหลาดอยู่ เพราะคุณเคยไปยื่นอาจเป็นปฏิปักษ์ แต่ กกต. ไม่รับ ต่อมาคุณไปยื่นว่าล้มล้างทั้งนี้ความจริงต้อนยื่นอาจเป็นปฏิปักษ์คุณอาจยื่นล้มล้างก็ได้ แปลว่าในตัวคนร้องเองก็รู้ว่านี่มันไม่ถึงขั้นล้มล้าง ความเห็นผมถ้าคุณเห็นว่ามันถึงก็ล้มล้างตอนที่คุณยื่นยุบพรรคคุณต้องเอาเหตุล้มล้างไปยื่นสิ คือมันแย้งได้จากพฤติการณ์หรือการยื่นคําร้องของคนที่ยื่นคําร้องในคดีนี้เองตอนยื่นกับกกต.มันเห็นจากตรงนี้” วรเจตน์ กล่าว</p>
<p>เสียดายว่า พรรคก้าวไกลก็ไม่ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นหักในการโต้แย้ง แต่ว่าประเด็นปัญหาว่าอะไรคือวัตถุแห่งคดี ตอนที่นั่งฟังคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ท่านอ่านบนบัลลังก์วันนั้น ตนก็ยังมาดูว่าอะไรคือวัตถุ เพราะว่าตัววัตถุแห่งคดีมันคือการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ทีนี้มันต้องมีการกระทํา มันคือการกระทําที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ ปรากฏในคดีนี้ตนว่าภาพมันเบลอทั้งคดีเพราะว่าถ้าเราไปอ่านคําวินิจฉัยส่วนตน รวมทั้งดูจากผลของคดีตอนที่ศาลสั่งห้ามอะไร ไม่ห้ามอะไร มันเหมือนกับมีอยู่ 2 ก้อน ก้อนแรก คือ ก้อนที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้มาตรา 112  กับ อีกก้อนหนึ่ง คือ การทําอื่นๆ เช่น การกําหนดเป็นนโยบายพรรค การรณรงค์ รวมทั้งการที่ สส.ของพรรคหรือผู้สมัคร สส.พรรคไปประกันตัวประมาณนี้ ติดสติ๊กเกอร์ในคำวินิจฉัยส่วนตนมีเกือบทุกคนเลย  </p>
<p>จำได้ว่าตอนที่สัมภาษณ์ตนก่อนหน้านี้เคยพูดเรื่องติดสติ๊กเกอร์ว่าต้องระวังมันจะถูกเอาไปใช้ในคดี ปรากฏว่าเอาไปใช้จริงๆ แล้วศาลเอามาดูเป็นประเด็นเลยว่านี่คือเจตนาจะยกเลิก มาตรา 112 เพื่อเอาไปซับพอร์ตว่านี่มันลดทอนสถานะของสถาบัน ประเด็นคือวัตถุคดีมันเหมือนมี 2 ส่วน ส่วนที่เป็นการที่ สส. 44 คน ของพรรคก้าวไกลเขาเสนอแก้ มาตรา 112 กับอีกส่วนหนึ่งคือการทําอื่น ซึ่ง 2 อันนี้ความประหลาดก็คือว่ามันไม่ชัดว่าศาลเอาประเด็นไหนหรือมันเกี่ยวกันอย่างไร เพราะว่า 2 อันนี้มันต่างกันอยู่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53571681194_945d429c1f_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">วรเจตน์ ภาคีรัตน์</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อย่างน้อย 4 คน เห็นว่าแก้กฎหมายไม่ใช่การใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นกระบวนการนิติบัญญัติ</span></h2>
<p>ต้องให้ชัดก่อนว่าตกลงเสนอแก้กฎหมายเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพหรือเปล่าเพื่อล้มล้างการปกครองไหม หรือการที่ผู้สมัคร สส. หรือ สส. ไปประกันตัวมันเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองหรือเปล่า ถ้าเราแยกการกระทำแล้วเราตั้งประเด็นมันจะชัดจะรู้สึกถึงความไม่สมเหตุสมผลของของการชี้เรื่องนี้ขึ้นมาทันที แต่ศาลไม่ได้แยกศาลเอาทุกอย่างมามัดรวมกันในคําวินิจฉัยมันก็เลยเบลอ และถ้าเราไปอ่านคำวินิจฉัยส่วนตัวเราก็จะพบว่าตุลาการบางคนเห็นว่าการเสนอแก้มาตรา 112 ทําได้ มันไม่ใช่การใช้สิทธิและเสรีภาพเลย มันเป็นการกระทําในกระบวนการนิติบัญญัติซึ่งมันเป็นมันเป็นอํานาจเป็นเป็นหน้าที่ของเขาที่เขาสามารถทําได้ในการเสนอกฎหมายอย่างน้อย 4 คน มี อาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ท่านวรวิทย์ กังศศิเทียม อาจารย์จิรนิติ หะวานนท์และอีกท่านไม่แน่ใจ</p>
<p>ส่วนตุลาการที่บอกว่าการเสนอกฎหมายเข้าสภาผิดนั้น วรเจตน์ กล่าวว่า มีหลายคน แต่ไม่ครบทุกคน ความจริงเรื่องนี้มันควรต้องโหวต โดยในคําวินิจฉัยประเด็นนี้น่าจะมาจากตุลาการซึ่งท่านชี้ไปเลยมีสัก 2-3 คน ที่บอกว่ามีประเด็นต่อสู้ที่ว่านี่ไม่ใช่การใช้สิทธิและเสรีภาพ ซึ่งประเด็นนี้ถูก เพราะมันเป็นเรื่องของการใช้อํานาจความเป็น สส. เสนอ และว่าตุลาการจํานวนหนึ่งก็บอกว่าจริงที่ว่าไม่ใช่การใช้สิทธิภาพ แต่ว่ามีตุลาการคนหนึ่งบอกว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ไม่ได้ยกเว้นเรื่องการเสนอกฎหมายเอาไว้ คือให้เหตุผลแบบครอบจักรวาล และบอกว่ามันเป็น ‘การกระทํา’ คือลอจิกอันนี้มันไม่น่าจะถูก จริงๆ การเสนอกฎหมายที่เป็นการใช้สิทธิภาพเสรีภาพที่ใกล้ที่สุดพอจะเป็นไปได้ก็คือประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย อันนี้พอจะเป็นไปได้</p>
<p>สำหรับคนเสนอกฎหมาย มันก็คือ 1. รัฐบาล 2. สส. ที่ตอนนี้มีประเด็นกันอยู่ว่ากฎหมายของฝ่ายค้านไปติดอยู่ที่นายกฯ เรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการเงินอะไรต่างๆ เหล่านี้ เราต้องเข้าใจว่าเวลาเสนอขั้นตอนการเสนอกฎหมายจะต้องว่าใครเป็นคนมีสิทธิ์เสนอกฎหมาย แต่ว่าของกรณีของ สส. ซึ่งระบุเอาไว้มันไม่ได้เป็นสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญหมวดสิทธิ มันเป็นกรณีที่กฎหมายให้สถานะเขาที่เป็นผู้แทนปวงชนเมื่อเขารวมกันได้จํานวนหนึ่งเขาก็เสนอ ถ้ากฎหมายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับด้วยการเงินก็ต้องผ่านนายกฯ เพราะนายกฯก็เป็นคนคุมงบประมาณในภาพรวม</p>
<p>และโดยทั่วไปเวลาเสนอกฎหมายสภาที่มีประเด็นเรื่องไปตามทวงกฎหมายกันอยู่ ปกติกฎหมายที่มันจะมีโอกาสผ่านเป็นกฎหมายมันคือกฎหมายรัฐบาล เพราะเขาเป็นฝ่ายข้างมากเป็นเรื่องปกติในระบบรัฐสภา เวลาฝ่ายค้านเสนอกฎหมายไป ถ้าคุณเสนอไปถ้ารัฐบาลเห็นว่ากฎหมายนี้มันดี เขาก็เสนอร่างเขาเข้าประกบ เขาไม่มีทางเอาร่างของฝ่ายค้านเป็นของเขาเองเพราะว่านี่มันคือการแข่งกันในทางการเมือง แล้วถ้าเป็นเรื่องการเงินมันเป็นดุลพินิจของนายกฯ อยู่แล้วว่าเขาจะส่งเข้าสภาหรือไม่ส่ง เขาจะตีความว่าอย่างไร แล้วมันก็ต้องไปที่ประธานกรรมาธิการมาวินิจฉัยต่างๆ มันมีกลไกของเขาอยู่ มันเป็นเรื่องถ่วงกัน แต่ว่ากรณีนี้มันไม่ใช่เรื่องการใช้สิทธิและเสรีภาพ มันจะตลกมากเลยถ้าเกิดเราบอกว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งเข้าสู่สภาเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพของรัฐมนตรีเพื่อล้มล้างการปกครองฟังดูแล้วมันไม่ใช่ คือคนที่ไม่ต้องเรียนกฎหมายก็น่าจะเข้าใจว่ามันไม่ใช่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ตรรกะที่ไม่ปกติ กับข้ออ้างโฉบคดีนี้เข้าไปตัดสิน</span></h2>
<p>วรเจตน์ กล่าว โดยสรุปว่าการเสนอตัวร่างพระราชบัญญัตินี่มันไม่ใช่การใช้สิทธิฯ แต่ศาลใช้เหตุผลกลับทางกัน โดยไปเรื่อง “ไม่ได้ยกเว้นเอาไว้” เมื่อไม่ยกเว้นเอาไว้ ก็เลยอ้างว่าต้องถือเป็นการให้สิทธิฯ ซึ่งมีตุลาการเป็นคนเขียนชัดเลยในคําวินิจฉัย ซึ่งตนว่าระบบลอจิกมันสวน คือของบางอย่างถ้ามันไม่เข้าในสิ่งนั้น มันต้องเขียนยกเว้น จะไปยกเว้นในสิ่งที่มันไม่เข้าอยู่ในกรอบนั้นได้อย่างไรตั้งแต่แรก มันไม่ใช่ระบบคิดระบบตรรกะที่มันเป็นปกติ</p>
<p>“อ่านแล้วพบว่าศาลก็จะตรวจสอบตั้งแต่ขั้นนี้เลย เพราะฉะนั้นศาลก็จะต้องตีความไว้ว่าอันนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้เว้นเพื่อข้าพเจ้าจะเข้าไปตรวจสอบเป็นเรื่องการใช้สิทธิและเสรีภาพ ทั้งๆ ที่กระบวนการตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติมันมีกลไกของมันโดยเฉพาะ คุณเสนอเข้าสภาแล้วนี่เมื่อมันผ่าน 2 สภา คนที่เขาไม่เห็นด้วยเขาก็สามารถเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งอันนี้ตุลาการ 3- 4 คน ก็เขียนแบบนี้ ซึ่งถูกต้องประเด็นนี้เขาเขียนถูก” วรเจตน์ กล่าว</p>
<p>ในคำวินิจฉัยหลักๆ 1-2 คนที่เขียนชัดเล

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (1) ศาลมัดรวมทุกอย่างจนภาพเบลอ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 36 กระทู้ล่าสุด 13 มีนาคม 2567 20:18:41
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (1) ศาลมัดรวมทุกอย่างจนภาพเบลอ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 14 มีนาคม 2567 04:11:46
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (2) : เราอยู่ในระบอบอะไร?
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 32 กระทู้ล่าสุด 15 มีนาคม 2567 02:01:43
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (3) : ผลของคดีกดเพดานสำเร็จแล้ว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 32 กระทู้ล่าสุด 16 มีนาคม 2567 22:57:33
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - วรเจตน์ ภาคีรัตน์ : ความเห็นต่อคดีก้าวไกล (3) : ผลของคดีกดเพดานสำเร็จแล้ว
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 34 กระทู้ล่าสุด 17 มีนาคม 2567 03:50:24
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.814 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 17:41:24