[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ตลาดสด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 05 มกราคม 2560 11:39:16



หัวข้อ: สีใดมีความหมายอย่างใร? ในธงไตรรงค์ : พระราชนิพนธ์ ใน ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 05 มกราคม 2560 11:39:16

(http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/thaiflag/newsite/gallery/Gallery_1/content/bin/images/large/_5869182546.jpg)

สีใดมีความหมายอย่างใร? ในธงไตรรงค์

ผู้เขียน : kimleng.
๕ มกราคม ๒๕๖๐

พุทธศักราช ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จทางลำน้ำประพาสหัวเมืองเหนือ  วันที่ ๑๒ กันยายน เสด็จถึงเมืองอุทัยธานี (ในกฎหมายเก่าลักษณะพระธรรมนูญ เรียกว่า “เมืองอุไทยธานี") โดยเรือยนต์พระที่นั่งประจำทวีป พร้อมเรือพระที่นั่งรอง เรือพระประเทียบ แล่นเป็นขบวนลดหลั่นกัน เข้าเทียบท่าหน้าศาลากลางเมืองอุทัยธานี  ซึ่งได้เตรียมสร้างท่าฉนวนหลังคามุงด้วยจาก  สูงรโหฐานพอที่ขบวนเรือแวะจอดพักได้สะดวก และสร้างพลับพลาที่ประทับด้วยไม้ไผ่จากท้องถิ่นที่หาได้บริเวณใกล้เคียง คือ ไม้ไผ่บนเกาะเทโพ

ด้านในพลับพลากั้นห้องด้วยแผงไม้ไผ่เขียวสอ มีเครื่องใช้ โต๊ะ เก้าอี้ที่ประทับทำจากไม้ไผ่ทั้งสิ้นจัดถวายไว้เรียบร้อย เรียกว่าฝากฝีมือหัตถกรรมจากไม้ไผ่อย่างสุดฝีมือกันทีเดียว เป็นที่สบพระราชหฤทัยและมีรับสั่งชมเชยเป็นอันมาก

รุ่งขึ้นวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๙ เสด็จพระราชดำเนินวัดเขาสะแกกรัง แล้วทรงพระแคร่หามโดยพระตำรวจหลวง เสด็จฯ ออกจากพลับพลาไปตามถนนเลียบริมน้ำท่ามกลางประชาชนที่มาคอยเฝ้าฯชมพระบารมีอย่างแออัดตลอดสองข้างทาง ระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนิน ทรงทอดพระเนตรเห็นธงช้างที่ประดับไว้ต้อนรับตามบ้านเรือนชาวบ้าน มีผืนหนึ่งติดกลับด้าน คือหัวและลำตัวของช้างห้อยลงมาข้างล่าง ทรงเมินพระพักตร์ไปทางอื่นเสีย มิได้ตรัสหรือแสดงพระกิริยาอันใดให้ไม่เป็นที่สบายใจแก่ข้าราชบริพารและผู้ติดตามขบวนเสด็จ

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปแบบธงชาติ จาก "ธงช้าง" เป็น "ธงไตรรงค์"  กำหนดแบบ สี และลักษณะธงตามอย่างอารยประเทศที่ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่ในสมัยนั้น  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๖ ส่วน ยาว ๖ ส่วน มี ๓ สี แบ่งออกเป็นแถบสีแดงกว้างแถบละ ๑ ส่วน แถบสีขาวกว้างแถบละ ๑ ส่วน แถบสีน้ำเงินขาบตรงกลางกว้าง ๒ ส่วน  ธงนี้สามารถชักขึ้นด้านไหนก็ได้ จะกลับหัวกลับหางอย่างไรก็จะเห็นเป็นแบบเดิมทุกประการ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐  บังคับใช้ทั่วประเทศจนถึงทุกวันนี้
 
ส่วนสีใดมีความหมายอย่างใร? ในธงไตรรงค์ มีปรากฏชัดเจนอยู่ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์"  "วรรณะสมิต"*  พิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ สำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา เล่มที่ ๑ ๒๔๖๑ หน้า ๔๒  ปรากฏความดังต่อไปนี้


เครื่องหมายแห่งไตรรงค์

ขอร่ำรำพรรณบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย    
แห่งสีสามงามถนัด  
ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์     และธรรมะคุ้มจิตไทย  
แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้     เพื่อรักษะชาติศาสนา  
น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา     ธโปรดเป็นของส่วนองค์  
จัดริ้วเข้าเปนไตรรงค์ จึ่งเป็นสีธง     ที่รักแห่งเราชาวไทย  
ทหารอวตารนำไป ยงยุทธิ์วิชัย     วิชิตก็ชูเกียรติสยาม  

"วรรณะสมิต"*
ดุสิตสมิต ฉบับพิเศษ
สำหรับเปนที่ระฦกในงานเฉลิมพระชนมพรรษา
เล่มที่ ๑  ๒๔๖๐  หน้า ๔๒

* พระนามแฝง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่มักทรงใช้ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40342480482326_0000087.jpg)
สันนิษฐานว่า รัชกาลที่ ๖ ทรงพระแคร่หามโดยพระตำรวจหลวง
เสด็จฯ ออกจากประตูพระราชวัง พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี
(ภาพนี้ได้จาก กัลยาณมิตรท่านหนึ่ง ทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติลพบุรี)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/91228627786040_16.JPG)
"ธงช้างเผือก" ของหาดูได้ยากในสมัยนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม
ถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่