11 พฤศจิกายน 2567 02:23:30
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
หน้าแรก
เวบบอร์ด
ช่วยเหลือ
ห้องเกม
ปฏิทิน
Tags
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
ห้องสนทนา
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!
[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
.:::
พระเครื่อง
:::.
หน้า:
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
[
1
]
2
3
...
10
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: พระเครื่อง (อ่าน 245434 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
พระเครื่อง
«
เมื่อ:
09 ตุลาคม 2558 19:00:06 »
Tweet
.
พระเครื่อง
พระหูยาน กรุวัดปืนพิมพ์เล็ก
พระหูยานเป็นพระเนื้อชินที่ได้รับความนิยมมาแต่ในสมัยโบราณจากประสบการณ์ในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี และพระหูยานที่พบนั้นก็มีอยู่หลายกรุหลายจังหวัด เช่น จังหวัดลพบุรี อันเป็นกรุต้นกำเนิดที่พบพระหูยานก่อนกรุอื่นๆ คือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นอกจากนี้ยังพบในกรุอื่นๆ อีก เช่น กรุวัดปืน กรุวัดอินทาราม เป็นต้น ในจังหวัดอื่นๆ ที่พบก็มีที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
พระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรี พบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นกรุแรก มีการพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระหูยานบัวสองชั้น พระหูยานพิมพ์ใหญ่ พระหูยานพิมพ์กลาง พระหูยานพิมพ์เล็ก และพระหูยานพิมพ์รัศมีแฉก เป็นต้น พระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้นถูกค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ.2430 พร้อมพระอื่นๆ อีกมากมาย ศิลปะของพระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรีล้วนเป็นศิลปะแบบลพบุรี เทียบเคียงได้กับศิลปะแบบบายนของขอม พระหูยานได้มีประสบการณ์ต่างๆ มากมายจากผู้ที่ใช้พระหูยานห้อยคอ ส่วนมากก็จะเป็นประเภทอยู่ยงคงกระพันเป็นหลัก พระหูยานจึงเป็นที่นิยมเสาะหากันมาก กรุสุดท้ายเป็นกรุใหม่ที่ถูกพบในปี พ.ศ.2508 ซึ่งพระมีความสมบูรณ์มากมีผิวปรอทจับขาวทั่วทั้งองค์พระ ศิลปะแม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์เดียวกับพระกรุเก่าของวัดพระศรีฯ ที่พบในครั้งแรกๆ
พระหูยานอีกกรุหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากไม่แพ้กันก็คือ กรุวัดปืน วัดปืนอยู่ตรงไหน ในปัจจุบันอาจจะไม่มีใครทราบกันนัก เนื่องจากแปรสภาพกลายเป็นตลาดไปเสียแล้ว วัดปืนแต่เดิมเป็นโบราณสถานที่ทรุดโทรมปรักหักพังไปจนไม่เหลือสภาพ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับป้อมปืนโบราณ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดปืน และต่อมามีผู้ไปขุดพบพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายพิมพ์ ถ้าไม่มีใครไปพบพระเครื่องนานเข้าก็จะลืมเลือนกันไป และไม่มีใครทราบว่าบริเวณที่แห่งนั้นเคยเป็นโบราณสถานมาก่อน พระกรุวัดปืนที่พบนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมากจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยมีพระวัดปืนห้อยคอ พระวัดปืนนั้นพบพระเนื้อชินเงินอยู่หลายพิมพ์ ที่รู้จักกันมากก็คือพระนาคปรกกรุวัดปืน อันเป็นพระนาคปรกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดลพบุรี มีพบอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์จิ๋ว นอกจากนี้ก็ยังพบพระหูยาน กับพระซุ้มเรือนแก้วอีกด้วย
พระหูยานกรุวัดปืนนั้นพบน้อยมาก พระส่วนใหญ่ที่ขึ้นจากกรุจะชำรุดผุระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับพระอื่นๆ ที่พบในกรุวัดปืน พระหูยานกรุวัดปืนจะมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กับพระหูยานกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แต่มีขนาดย่อมกว่า ผิวมักจะเป็นสีดำเทา พิมพ์ที่พบพระหูยานกรุวัดปืนมีพระพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก เนื่องจากพระหูยานกรุวัดปืนมีพบน้อยจึงค่อนข้างหายาก แทบไม่ได้พบเห็นกันเลย พระพิมพ์ใหญ่นั้นหารูปยังยากเลยครับ เท่าที่เห็นรูปถ่ายจะเป็นพิมพ์เล็ก แต่ก็พบน้อยมากหารูปยากจริงๆ ครับ
พุทธคุณพระหูยานกรุวัดปืนก็เช่นเดียวกับพระหูยานกรุวัดพระศรีฯ และ พระนาคปรกกรุวัดปืน เด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด พระหูยาน กรุวัดปืนเป็นพระหูยานกรุหนึ่งที่น่าสนใจมาก แต่ก็หายากนะครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยาน กรุวัดปืนพิมพ์เล็กมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระหูยาน ชัยนาท พิมพ์บัว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ผู้ที่ชื่นชอบพระเครื่องไม่ว่าจะอยู่วงนอกหรือวงในก็ตาม ต่างก็คงจะมีปัญหาเรื่องพระเครื่องบางชนิดที่เราไม่ทราบที่มาที่ไป คือไม่ทราบว่าเป็นพระกรุไหนในกรณีที่เป็นพระเก่าพระกรุ หรือเป็นพระที่เกจิอาจารย์สร้าง แต่ไม่ทราบว่าเป็นของวัดใดพระคณาจารย์รูปใดเป็นผู้สร้าง แต่พระเครื่องนั้นๆ เท่าที่พิจารณาดูแล้วว่าเป็นพระเก่า และเป็นพระที่น่าจะเป็นพระแท้ เพียงแต่ไม่มีประวัติข้อมูลเกี่ยวกับพระเครื่ององค์นั้น จนมีวลีในสังคมพระเครื่องที่ว่า "แท้ไม่รู้ที่ ดีไม่รู้วัด"
วลีนี้สำหรับท่านที่อยู่วงนอกได้ยินอาจจะนึกว่าเป็นคำเยาะเย้ย และไม่พอใจ แต่ความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เป็นแค่คำเปรียบเปรยเท่านั้นครับ ซึ่งโดยปกติก็จะพูดกันกับผู้ที่สนิทสนมกันเท่านั้น ความหมายก็คือพระนั้นๆ แท้ เพียงแต่ไม่ทราบประวัติข้อมูล จึงไม่ทราบที่หรือไม่ทราบวัดและประวัติของผู้สร้างเท่านั้นครับ
ในสังคมผู้นิยมพระเครื่อง หรือผู้เล่นหาในสนามพระนั้น ก็จะรู้แต่เพียงพระที่นิยมเล่นหาและมีผู้ที่ต้องการ หมายถึงมีผู้ที่รู้จักกันมากๆ มีการเผยแพร่ประวัติความเป็นมา จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีมูลค่าในความนิยมแลกเปลี่ยนได้ พระเครื่องที่รู้จักกันในสังคมผู้นิยมพระเครื่องถ้าจะเทียบกันเป็นสัดส่วนแล้ว
พระที่ในสังคมพระเครื่องรู้จักกันและ มีการเล่นหาน่าจะประมาณ 30-40% ของพระเครื่องที่มีทั้งหมด ทั้งพระกรุและพระเกจิอาจารย์ อีก 60-70% ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก อาจจะรู้จักกันในท้องถิ่น หรือในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาเท่านั้น
ดังนั้นจึงมีพระเครื่องที่คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่รู้จักอีกมาก อาจจะมีปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น ประวัติข้อมูลที่ยังไม่มีการเผยแพร่ไปยังสังคมนัก ความต้องการเสาะหาของคนในท้องถิ่นก็มีส่วนสำคัญ ถ้าคนในพื้นที่ยังไม่ค่อยนิยมเสาะหา ก็ไม่มีการเผยแพร่ประวัติ แต่ถ้าคนในท้องที่เสาะหาก็จะมีผู้สนใจตามและสอบถามประวัติข้อมูล ซึ่งก็จะทำให้มีผู้รู้จัก และก็จะทำให้มีมูลค่าตามมา
ครับทีนี้เรามาดูพระเครื่องที่มีคนรู้จักและนิยมกันในสังคมผู้นิยมพระเครื่อง ที่เป็นสัดส่วนประมาณ 30-40% นั้น ก็มีจำนวนชนิดของพระเครื่องมากมายมหาศาล ซึ่งในคนคนหนึ่งก็ไม่สามารถรู้จักหรือมีความรู้ความชำนาญได้ทั้งหมด ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงๆ ก็จะมีความรู้ความชำนาญในแต่ละด้าน แต่ละประเภท หรือที่รู้จักมากหน่อยแต่ก็ไม่ครบทั้งหมด ในสังคมผู้นิยมพระเครื่องจึงมีการพึ่งพาอาศัยกัน การประกวดพระเครื่องจึงต้องมีคณะกรรมการที่มีความรู้ความชำนาญในแต่ละประเภทเข้ามาตัดสินพระเครื่องประเภทนั้นๆ
เรากลับมาคุยกันถึงเรื่องพระแท้ที่ไม่ทราบที่กัน ก็อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่า มีพระเครื่องอีกมากมายที่ในสังคม ยังไม่ทราบที่มาที่ไป แต่เท่าที่พิจารณาดูแล้วว่าน่าจะ เป็นพระแท้ จากเป็นพระเครื่องที่ไม่ได้มีเจตนาล้อเลียนหรือทำให้เข้าใจไขว้เขวให้เป็นของที่อื่น คือไม่ได้มีเจตนาปลอมแปลง มีเอกลักษณ์ของตนเองชัดเจน ก็น่าจะเป็นพระเครื่องที่น่าจะแท้ เพียงแต่ยังไม่ทราบประวัติความเป็นมาเท่านั้น และอีกอย่าง ก็คือ เป็นพระเครื่องที่ผู้พิจารณาเขาไม่ทราบหรือรู้จักเท่านั้น คำตอบก็จะเป็นว่า ไม่ทราบที่หรือแท้ไม่ทราบที่ประมาณนี้ครับ
ตัวผมเองก็มีพระเครื่องประเภทนี้อยู่ เช่นกันครับ ขนาดผมเข้าสนามพระตั้งแต่ยุคปลายของสนามพระเครื่องวัดมหาธาตุ ต่อมาจนถึงสนามวัดราชฯ สนามท่าพระจันทร์ จนถึงทุกวันนี้ ผมก็ไม่ได้เข้าไปทุกวัน แต่ก็เข้าไปทุกครั้งที่มีเวลาว่าง เนื่องจากไม่ได้มีอาชีพ ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยน แต่เป็นคนที่ชื่นชอบและศึกษาสะสมเท่านั้น พระเครื่อง ที่ได้มาจากผู้ใหญ่บ้าง คนรู้จักบ้าง เช่าหา มาบ้าง บางครั้งก็ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไร กรุไหน วัดใดเช่นกัน เอาเข้าไปสอบถามผู้ใหญ่ หรือคนคุ้นเคยในสนามก็ไม่มีใครทราบ บางอย่างกว่าจะทราบก็เป็นสิบปีก็มีกว่าจะเจอคนที่รู้จักพระนั้นๆ และก็มีอีกหลายอย่างที่จนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบที่มา ที่ไป แต่พระเครื่องนั้นๆ ก็มีแต่คนพูดว่าเก่าแท้นะแต่ไม่ทราบที่จริงๆ ครับก็ต้องค่อยๆ ค้นหาศึกษากันต่อไป แต่ก็เป็นเรื่องสนุกไปอีกอย่างหนึ่งนะครับ เพราะเมื่อมีเวลาว่างเราก็จะมีเรื่องที่ต้องค้นหาและค้นคว้าต่อไป
ครับกับเรื่องพระที่ยังไม่รู้จักกันแพร่หลายนั้นยังมีอีกมาก แต่เมื่อมีผู้รู้ประวัติ นำมาเผยแพร่ก็จะมีผู้รู้จักในสังคมมากขึ้น เรื่องที่ผมนำมาคุยกันในวันนี้ก็เพื่อจะได้ทำความเข้าใจกันว่า อย่าไปมีอารมณ์หรือไม่พอใจในคำตอบ กับผู้ที่เราไปถามแล้วเขาไม่รู้ และตอบว่า "ไม่ทราบที่ครับ" มันเป็นเรื่องจริงที่เขาไม่ทราบไม่ใช่แกล้งไม่บอกนะครับ เหตุผลก็อย่างที่ผมได้กล่าวมาเสียยืดยาว แบบนี้ผมว่าดีกว่าพวกที่ไม่รู้แต่อวดรู้แล้วตอบผิดๆ มั่วๆ ไปนะครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดมหาธาตุ ชัยนาท ซึ่งไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักมาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระบ่ยั่น'พระสรรค์นั่ง'กรุวัดท้ายย่าน
พระบ่ยั่น 'พระสรรค์นั่ง' กรุวัดท้ายย่าน เนื้อชินเงิน จ.ชัยนาท : สาระสังเขปพระเนื้อชิน โดยชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ
จ.ชัยนาท ในทุกวันนี้ แม้ว่าจะเป็นจังหวัดที่ไม่ใหญ่โตอะไรมากนัก แต่ก็เป็นเมืองที่มีความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเฉพาะเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา เป็นเมืองแห่งนักรบผู้ห้าวหาญ ที่ยังเป็นความทรงจำของคนไทยตราบเท่าทุกวันนี้
ด้วยเหตุนี้ เมืองชัยนาท จึงมีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เป็นมรดกตกทอดมาให้ลูกหลานได้มีความภาคภูมิใจ ในความยิ่งใหญ่ครั้งอดีตกาล ที่ยากจะลืมเลือน
ในวงการพระเครื่องเมืองไทย จ.ชัยนาท มีพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง สืบสานตำนานอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าของพระเครื่องยอดนิยมที่เช่าหากันแพง ถึงหลักแสนขึ้นไป
ในส่วนของพระกรุ จ.ชัยนาท เป็นแหล่งพระกรุที่ล้วนเป็นพระหลักยอดนิยมของวงการพระ เป็นที่ต้องการแสวงหาของนักสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะ สรรค์บุรี อำเภอเดียวของเมืองชัยนาท ที่ได้ชื่อว่า เมืองพระ มีวัดต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๑๘๐ วัด ที่มีการขุดพบพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ รวมทั้งพระพุทธรูป อีกจำนวนหนึ่ง ที่มีพุทธศิลป์งดงามยิ่ง
จึงนับได้ว่า เมืองสรรค์ หรือ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นศูนย์รวมของพระเครื่องอันยิ่งใหญ่ในอดีตกาล จนมีชื่อเสียงโด่งดังมานานปี สมกับที่เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในสมัยโบราณ ที่ได้ก่อเกิดชายชาตินักรบผู้กล้าหาญ อย่างแท้จริง
พระกรุเมืองสรรค์ มีมากมายหลายพิมพ์ ที่โด่งดังรู้จักกันดี และหาชมในทุกวันนี้ได้ยากยิ่ง คือ พระหูยาน พิมพ์บัวชั้นเดียว ซึ่งขุดพบจากกรุต่างๆ อาทิ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดท้ายย่าน และกรุวัดส่องคบ พระหูยาน เมืองชัยนาท มีขนาดองค์พระใหญ่กว่า พระหูยาน เมืองลพบุรี และพระหูยาน กรุงศรีอยุธยา คือ มีความกว้างประมาณ ๒.๗ ซม. สูงประมาณ ๖ ซม.
อย่างไรก็ตาม องค์พระขนาดนี้ ไม่ถือว่าใหญ่โตอะไรมากนัก เป็นขนาดที่เหมาะสมสำหรับชายชาตรีไทย ที่นิยมพระนักรบ มีอานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปลอดภัย เป็นหลัก ซึ่งสามารถนิมนต์ขึ้นคอได้อย่างมั่นใจในพุทธคุณที่มีอยู่อย่างครอบจักรวาล
ชาวเมืองสรรค์แต่เดิมมานิยมใช้ พระหูยาน เมืองชัยนาท บูชาติดตัวเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย อีกทั้งเชื่อถือกันมานานแล้วว่า ใช้ดีด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี คมหอกคมดาบไม่ระคายผิว
แต่เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีขึ้นจากกรุน้อย ชายชาตรีเมืองสรรค์หามาบูชาประจำกายได้ยาก จึงพยายามหาพระพิมพ์อื่นมาใช้บูชาแทน
พระต่างพิมพ์ที่ชาวเมืองสรรค์ สืบเสาะหามาใช้ที่ว่ามีประสบการณ์เทียบชั้นได้เท่า พระหูยาน เมืองชัยนาท ซึ่งมีพุทธคุณด้านคงกระพัน สุดเหนียว ชนิดลุยแบบถึงไหนถึงกัน จนได้รับการเรียกขานว่า พระบ่ยั่น คือ พระสรรค์นั่ง อันเป็นพระพิมพ์นั่งของเมืองสรรค์ ที่มีการขุดพบใน จ.ชัยนาท เหมือนกันทั้งสองพิมพ์
พระสรรค์นั่ง ที่ใช้บูชาแทน พระหูยาน ที่กล่าวถึงนี้ สามารถแยกพิมพ์ได้ดังนี้
๑.พิมพ์ยกไหล่ ถือว่าเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
๒.พิมพ์ไหล่ตรง, ไหล่ตรงข้างเม็ด
๓.พิมพ์แขนอ่อน
ในส่วนของ เนื้อพระสรรค์นั่ง สามารถแบ่งออกเป็น ๓ เนื้อ คือ เนื้อดิน, เนื้อชินเงิน และ เนื้อชินสนิมแดง (มีน้อยมาก) กรุ พระสรรค์นั่งทุกพิมพ์ ขึ้นจากกรุต่างๆ หลายกรุในเขตเมืองสรรค์ พร้อมๆ กัน
กรุที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ กรุท้ายย่าน ส่วนกรุอื่นๆ เช่น กรุวัดบรมธาตุ, กรุวัดส่องคบ, กรุวัดมหาธาตุ, กรุสรรพยา, กรุเขื่อนชลประทาน ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะกรุต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ที่เป็นพระแท้ๆ มีความหายากเช่นกัน
พระสรรค์นั่ง ถือเป็นพระเครื่องที่อยู่ในความนิยมของนักสะสมมาช้านาน พระที่ขุดได้ที่ กรุวัดท้ายย่าน พระทั้งหมดที่พบมีพระเนื้อชินเงินจำนวนน้อยกว่าพระเนื้อดิน ขนาดองค์พระเล็กกว่าพระหูยานเพียงเล็กน้อย คือ กว้าง ๒.๓ ซม. สูง ๓.๘ ซม.
พุทธลักษณะ เป็นพระรูปทรงแบบกรอบสามเหลี่ยมทรงสูง องค์พระนั่งปางมารวิชัยประทับอยู่บนฐานตรงแบบสองชั้น และพิมพ์ที่ประทับบนฐานตรงแบบชั้นเดียว
พระทั้ง ๒ พิมพ์ เทหล่อออกมามีพิมพ์พระที่ติดลึกนูนสูง แบบมีมิติ รูปทรงของแบบพระ เป็นแบบพิมพ์ที่เรียบง่าย พื้นด้านข้างองค์พระไม่มีลวดลายใดๆ
แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า พิมพ์พระมีความลงตัวที่สวยงามแบบเข้มขลังน่าศรัทธาเกรงขาม
พระสรรค์นั่ง ราคาเช่าหา พระสภาพทั่วไปอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ ส่วนพระสภาพสวยราคาจะสูงขึ้น เลยหลักหมื่นกลางขึ้นไป
คมชัดลึก
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 กรกฎาคม 2559 19:00:03 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #1 เมื่อ:
12 ตุลาคม 2558 19:31:04 »
.
พระร่วงหลังรางปืน
พระร่วงหลังรางปืน พิจารณาจากรูปที่คุณส่งมานั้น ผิดพิมพ์มากครับ และเนื้อก็ไม่น่าจะใช่นะครับ สรุปคือไม่น่าจะแท้ ลองดูเปรียบเทียบกับพระแท้ที่ผมนำมาให้ชมนะครับ
พระร่วงหลังรางปืนเป็นพระเครื่องที่พบในองค์พระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย ถูกขุดพบเมื่อประมาณปี พ.ศ.2493 ศิลปะเป็นแบบขอม พุทธลักษณะคล้ายกับพระร่วงหลังผ้าของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สาเหตุที่ เรียกว่าพระร่วงหลังรางปืนก็เนื่องจากมีการพบพระแบบเดียวกันที่ลพบุรีก่อนแต่ของเมืองลพบุรีด้านหลังจะเป็นลายผ้าหยาบๆ ส่วนพระร่วงที่พบที่สุโขทัยนั้น มีพุทธลักษณะด้านหน้าคล้ายคลึงกัน แต่ที่ด้านหลังเป็นแอ่งร่องราง จึงเรียกกันว่าพระร่วงหลังรางปืน ในครั้งที่พบพระนั้นกล่าวกันว่า พบประมาณ 200 องค์เท่านั้น และในจำนวนนี้ก็ยังมีพระที่ชำรุดอยู่อีกด้วย ดังนั้นจำนวนของพระจึงน้อยมาก และหายากจึงทำให้เกิดการทำปลอมกันมาก และทำกันมานานมากแล้วครับ
พระร่วงหลังรางปืน
ที่พบในครั้งนั้นจะเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเป็นส่วนใหญ่ ที่พบเป็นเนื้อชินบ้างแต่ก็น้อยมาก ผิวสนิมของพระร่วงหลังรางปืนจะเป็นสีแดงเข้มและแบบสีลูกหว้า มีสนิม ไขขาวปกคลุม ปัจจุบันหายาก สนนราคาสูงมากในองค์ที่สมบูรณ์อยู่ที่หลักล้านครับ
และผมได้นำรูปพระร่วงหลังรางปืนแท้ มาให้ชมด้วยทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ
ด้วยความจริงใจ
คำตอบในคอลัมน์นี้ไม่ควรถือเป็นข้อยุติและไม่ควรถือเป็นมาตรฐานในการซื้อ-ขาย
พระพิจิตรใบตำแย ของเมืองพิจิตร
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะกล่าวถึงพระเครื่องที่เป็นพระกรุที่มีขนาดเล็กมากๆ และมีชื่อเสียงมากๆ ก็คงไม่พ้นพระเครื่องเมืองพิจิตร เช่น ถ้าเป็นพระเนื้อชินก็พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า และถ้าเป็นเนื้อดินเผาก็พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า พระพิจิตรเขี้ยวงู ซึ่งโด่งดังมากมาตั้งแต่อดีตเป็นร้อยปีมาเลยทีเดียว
เมืองพิจิตรในสมัยโบราณก็เป็นเมืองนักรบ และเป็นเมืองหน้าด่านมาโดยตลอด อาจเป็นด้วยสาเหตุนี้กระมังพระกรุที่สร้าง ในสมัยนั้นจึงเน้นไปทางด้านคงกระพันชาตรีไว้เป็นหลัก พระเครื่องเมืองพิจิตรที่เป็นพระกรุมีชื่อเสียงโด่งดังมากในด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรี เป็นที่กล่าวขวัญกันมายาวนานว่าอยู่คงกันมีดหอกดาบ ปืนผาหน้าไม้ได้ชะงัดนัก ประมาณว่าแมลงวันไม่ได้กินเลือดว่างั้นเถอะ ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนหวงแหนกันมาก และที่รู้จักกันมากก็ประเภทพระองค์เล็กๆ
แต่ความจริงแล้วพระกรุพิจิตรเองก็มีพระองค์ขนาดที่โตกว่านั้นอีกหลายอย่าง เช่น พระพิจิตรหัวดง พระพิจิตรใบตำแย เป็นต้น พระของเมืองนี้ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน และมีเนื้อเป็นเอกลักษณ์ เนื้อจะออกเป็นแบบชินแข็ง และมักจะมีผิวออกสีดำ เรื่องโลหะที่มีคุณวิเศษของเมืองนี้ก็มีเหล็กน้ำพี้ อาจจะเป็นได้ว่าพระเครื่องที่เป็นพระกรุของเมืองนี้อาจมีส่วนผสมของเนื้อเหล็กน้ำพี้บ้างหรือเปล่า
ในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ยังกล่าวถึงเมื่อตอนที่ขุนแผนจะตีดาบฟ้าฟื้น ก็ยังต้องไปเอาเหล็กน้ำพี้จากเมืองพิจิตรมาเป็นส่วนผสม เหล็กน้ำพี้มีชื่อเสียงมาแต่โบราณคือเหล็กน้ำพี้บ่อพระแสง เป็นได้ว่าคณาจารย์แต่โบราณเวลาจะผสมเนื้อพระอาจนำเอาเหล็กน้ำพี้มาเป็นส่วนผสมก็เป็นได้ จึงมีอานุภาพทางด้านอยู่ยงคงกระพันโดดเด่น และเป็นที่กล่าวขวัญมาจนทุกวันนี้
นอกจากพระเครื่องขนาดเล็กที่มีชื่อเสียงแล้ว พระกรุที่มีขนาดเขื่องหน่อยที่มีชื่อเสียงมากก็มีเช่นกันคือ พระพิจิตรหัวดง และพระพิจิตรใบตำแย
พระพิจิตรหัวดง
เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย ตัดขอบเป็นทรงสามเหลี่ยม คล้ายๆ กับพระท่ากระดาน ส่วน
พระพิจิตรใบตำแย
เป็นพระประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว คล้ายๆ กับพระซุ้มอรัญญิกของพิษณุโลก หรือพระซุ้มเสมาทิศของอยุธยา พระพิจิตรใบตำแยนี้ในสมัยโบราณเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ชาวพิจิตรหวงแหนกันมากเช่นกัน มักจะนำมาถักลวดห้อยคอติดตัว มีประสบการณ์ทางด้านคงกระพันมากเช่นกันครับ
พระพิจิตรใบตำแย คนที่ไม่ใช่คนพิจิตรอาจจะไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากมีพระที่มีลักษณะคล้ายๆ กันอยู่หลายจังหวัดหลายกรุ แต่ความจริงเป็นคนละพิมพ์กัน มีส่วนรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แตกต่างกันและแยกแยะได้ อย่างเช่นฐานของพระ ถ้าเป็นของเมืองพิจิตร ตัวฐานใต้องค์พระจะเป็นแบบฐานสำเภา ซึ่งมีลักษณะโค้งงอนขึ้น คล้ายๆ กับเรือสำเภา ผิดกับของกรุอื่นๆ พระพิจิตรใบตำแยแท้ๆ ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกัน ส่วนมากเจอแต่ของกรุอื่นมากกว่าครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิจิตรใบตำแย ของเมืองพิจิตร มาให้ชมกัน สังเกตที่ฐานพระจะเห็นว่าเป็นฐานแบบฐาน สำเภาครับ
ด้วยความจริงใจ
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน
พิมพ์สังฆาฏิยาว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีพุทธคุณสูง และเริ่มมีการดำริที่จะจัดสร้าง โดย พลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตอนนั้นมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส เรื่องสิทธิเหนือดินแดนของอินโดจีน ในราวปี พ.ศ.2483-2484 วัตถุประสงค์เพื่อแจกจ่ายให้แก่ทหารที่ไปราชการสงครามและให้ประชาชนโดยทั่วไปได้มีโอกาสเช่าบูชา
ต่อมาในปี พ.ศ.2485 สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็กำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคนี้ จึงได้มีการจัดสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีนขึ้น ในตอนแรกมีกำหนดการให้ทำพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก แต่มีเหตุต้องเปลี่ยนสถานที่การเททอง ให้มาทำพิธีที่วัดสุทัศน์แทน เนื่องจากในขณะนั้นกำลังอยู่ในช่วงสงครามโลก ไม่สะดวกในการเดินทางและทำพิธี จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่มายังวัดสุทัศน์แทน
กำหนดการทำพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น 5 ค่ำ คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2485 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงเป็นประธาน และท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ เป็นผู้ดำเนินงาน ทำพิธี ณ มณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย และได้มอบหมายให้ช่างอีกหลายโรงงานรับช่วงไปดำเนินการต่อจนเสร็จ ชนวนมวลสารที่ใช้หล่อนั้นประกอบด้วย ชนวนโลหะของวัดสุทัศน์ แผ่นจารจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศ รวมทั้งโลหะทองเหลืองที่ประชาชนนำมาบริจาคให้
หลังจากนั้นเมื่อหล่อพระเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำพระทั้งหมดมามอบให้กับทางพุทธสมาคมฯ เพื่อตอกโค้ด เป็นรูปธรรมจักรและรูปอกเลา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก พระส่วนใหญ่ได้ตอกโค้ดจนครบ แต่ได้มีพระอีกเพียงบางส่วนที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด เนื่องจากโค้ดชำรุดเสียก่อน และได้นำพระทั้งหมดเข้าทำพิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดสุทัศน์
พิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธชินราช อินโดจีน เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่มาก เนื่องจากในครั้งนั้นมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง จำนวนถึง 108 รูป พระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีจะขอยกตัวอย่างเพียงคร่าวๆ คือ สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ กทม. หลวงพ่อนวม วัดอนงค์ กทม. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ กทม. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพฯ กทม. หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร กทม. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน กทม. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส อ้วน วัดบรมฯ กทม. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง กทม. หลวงพ่อเหมือน วัดโรงหีบ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงปู่จันทน์ วัดบ้านยาง หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ หลวงพ่อกลิ่น วัดสะพานสูง หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่ออั๋น วัดพระญาติ หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก เป็นต้น
หลังจากเสร็จพิธีแล้วจึงนำออกมาแจกจ่ายให้แก่ทหารหาญที่ไปราชการสงครามและประชาชนที่ได้สั่งจองไว้ พร้อมทั้งนำเอาไปถวายไว้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก อีกจำนวนหนึ่ง ในส่วนที่แจกจ่ายไปนี้ทั้งหมดเป็นพระที่ตอกโค้ดแล้วทั้งสิ้น พระส่วนที่เหลือทั้งที่ตอกโค้ดและไม่ได้ตอกโค้ดทางพุทธสมาคมฯ ได้เก็บรักษาไว้ จนในปีพ.ศ.2516 จึงเปิดให้ประชาชนได้มีโอกาสได้เช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้มีทั้งพระที่ตอกโค้ดและพระที่ยังไม่ได้ตอกโค้ด
พระพุทธชินราชอินโดจีนสามารถแบ่งออกมาเป็นหมวดพิมพ์ใหญ่ๆ ได้ 3 หมวดพิมพ์ คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ แต่ละหมวดพิมพ์นั้นก็ยังแยกออกได้อีกหลายแม่พิมพ์ครับ
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน เป็นพระที่มีประสบการณ์มากมาย ปัจจุบันก็ยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ และในวันนี้ผมได้นำรูปพระพิมพ์สังฆาฏิยาว พร้อมทั้งโค้ดมาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
พระกรุ วัดส่องคบ จ.ชัยนาท
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองเก่า และเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกรุพระเครื่องอยู่หลายกรุเช่นกัน แต่เราๆ ท่านๆ มักจะคุ้นเคยอยู่กับกรุวัดท้ายย่านเท่านั้น เนื่องจากมีพระเครื่องดังๆ อยู่หลายอย่าง เช่น พระลีลาสรรค์ยืน พระสรรค์นั่ง และพระปิดตาเนื้อแร่ของกรุนี้ ความจริงจังหวัดชัยนาททั้งฝั่งจังหวัดและที่เมืองสรรคบุรีนั้นมีวัดเก่าแก่และกรุพระมากมายหลายกรุ เช่น กรุวัดส่องคบ กรุวิหารพระ กรุวัดมหาธาตุ กรุทางพระ กรุท่าฉนวน เป็นต้น
ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึง พระกรุ วัดส่องคบ ซึ่งเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (พ.ศ.1916) การพบพระเครื่องนั้นมีการพบด้วยกันหลายครั้ง ตั้งแต่ปีพ.ศ.2460 เป็นต้นมา และในปีพ.ศ.2494 ได้มีการขุดค้นองค์พระเจดีย์ และพบหลักฐานสำคัญคือ พบลานเงินจารึกประมาณ 10 แผ่น และได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2495
จารึกที่แปลออกมาแล้วมีข้อความตอนหนึ่งความว่า "แต่พระเสด็จเจ้านิพานได้ 1916 ปี เจ้าสัทธรรมมหาเถระศาสนาว่า มหาอุบาสก อุบาสิกา เพ่าใจ พ่อยี่ตัดผะ และแม่สร้อยมีใจศรัทธาก่อพระเจดีย์ อันตนหนึ่งได้ 5 วา 2 ศอก และแผ่ประเพณีมิให้หมองในครองธรรมนี้แล แต่เครื่องประจุพระทอง 20 พระเงิน 1 ตน พระดีบุก 161 เงินทองผ้าผ่อนมีค่ากว่าไว้ได้ 3 แสน 5 หมื่น 5 พันแล แต่กระทำบุญ กุฏิ วิหา ศาลา เสาธง ปรากฏเช่าหนังสือแต่เครื่องทั้งหลายนี้คิดเป็นมูลค่าได้ 5 แสน 5 พัน"
จารึกอีกแผ่นหนึ่งที่พบ เป็นจารึกปี 1956 แสดงว่ามีการบูรณปฏิสังขรณ์ในเวลาต่อมาอีก มีข้อความในจารึกแผ่นนี้ว่า "จึงเจ้าเถรศรี เทพศิริมานนท์เจ้าเมือง แม่นางสร้อยทอง ย่าออกศรีแม่อามและแม่น้อยผู้เป็นลูก พ่อวัวลูกเขย จึงมาประจุพระธาตุ 2 องค์ พระทอง 2 พระเงิน 2 แท่ง เงิน 1 พระพิมพ์ 117 แหวนอันหนึ่ง ผ้าสนอบลายหนึ่ง 1 เสื้อ 1 สไบ 1 เช็ดหน้าอันหนึ่ง ผสมค่าทั้งหลาย 210,000 คนครอกหนึ่ง" จารึกปี 1956 อีกแผ่นหนึ่งมีความว่า "จึงเจ้าศรีเทพศิริมานนท์ ปู่สิงหล เจ้าเมือง แม่นางสร้อย ย่าออกศรี ย่าพระ ย่าแม้น แม่เอาว์ แม่สาขา พ่อสาน้อยผู้เป็นลูกแม่วัง ปู่ยี่ พ่อไส แม่เพ็ง จึงชาวเจ้าทั้งหลายสโมธา มาก่อพระบรรจุธาตุ 2 พระทอง 2 พระเงิน 12 พระดีบุก 220 แต่พระ 262 แล"
แสดงให้เห็นได้ว่า พระเครื่องของกรุนี้มีการสร้างบรรจุไว้หลายวาระด้วยกัน ในการขุดพบนั้นมีการพบพระเครื่องด้วยกันหลายพิมพ์ และหลายเนื้อ นอกจากนี้ยังพบพระแผงแบบสมัยลพบุรีก็มีขึ้นมาจากกรุนี้ด้วย แต่การขุดค้นนั้นมีการขุดด้วยกันหลายครั้ง จึงไม่สามารถทราบว่ามีพระพิมพ์ใดๆ ได้ครบทุกพิมพ์ แต่เท่าที่ได้พบเห็นกันนั้นก็พอจะรวบรวมได้ดังนี้ พระลีลาลายดอกไม้ไหว มีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ พระหูยาน พระซุ้มหน้าบรรณ (มีทั้งเนื้อชินและเนื้อดิน) พระสรรค์นั่ง เนื้อชินเงิน พระสรรค์นั่งแขนอ่อนซุ้มไข่ปลา พระซุ้มโพธิ์ เป็นต้น
ครับพระกรุวัดส่องคบนี้เป็นพระกรุที่น่าสนใจอีกกรุหนึ่งของจังหวัดชัยนาท แต่พระเครื่องของกรุนี้อาจจะไม่ได้ค่อยพบเห็นกันบ่อยนัก และไม่ค่อยมีใครได้เขียนถึง จึงทำให้ข้อมูลมีน้อย และในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานกรุวัดส่องคบ ซึ่งหายากพบน้อยมาก มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อสาย
วัดรวก อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพระเกจิอาจารย์ที่ชาวอำเภอพระประแดงเคารพเลื่อมใสมากรูปหนึ่ง คือหลวงพ่อสาย วัดรวก ท่านมีเมตตาธรรมสูงช่วยเหลือและรักษาโรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะวิชาต่อกระดูกมีชื่อเสียงมาก
หลวงพ่อสาย เกิดปีพ.ศ.2422 ที่บ้านตำบลบางผึ้ง สมุทรปราการ โยมบิดาชื่อแสง โยมมารดาชื่อวาย บิดามารดาเป็นชาวสวน มีฐานะดี พอท่านอายุพอสมควรบิดามารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือที่วัดรวก ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน พออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทที่วัดรวก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2446 โดยมีพระปลัดน้อย วัดโปรดเกษเชษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์อ้น วัดโปรดเกษฯ กับพระอธิการบุญ วัดแจงร้อน เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "จนฺทสุวณฺโณ" เมื่อบวชแล้วท่านก็ศึกษาพระธรรมวินัย บาลี และยังสนใจวิปัสสนาธุระ โดยได้ตำราของเจ้าคุณพระญาณสังวร (ช้าง) พระอาจารย์วิปัสสนาชื่อดังของวัดโปรดเกษฯ เมื่อเรียนแล้วท่านก็ฝึกฝนมาตลอด
พอถึงปี พ.ศ.2455 วัดรวกว่างเจ้าอาวาสลง คณะสงฆ์และชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2455 ท่านได้เอาใจใส่พัฒนาวัดปฏิสังขรณ์ของเก่าแก่ที่ชำรุดให้สมบูรณ์และก่อสร้างขึ้นใหม่หลายอย่าง เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนประชาบาล และโบสถ์ นอกจากนี้ยังได้อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อสายช่วยเหลือชาวบ้านทุกคนที่ทุกข์ร้อนและมาขอให้ช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ เนื่องจากท่านยังเชี่ยวชาญในเรื่องแพทย์แผนโบราณได้ประกาศนียบัตรแผนโบราณด้วย นอกจากนี้ท่านยังมีวิทยาคมสูงอีกด้วย มีผู้คนเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อให้ช่วยรักษามากมาย เรื่องผสานกระดูกท่านก็มีชื่อเสียงมาก เรื่องวิชาประสานกระดูกท่านได้ศึกษามาจากหลวงพ่อตึ๋ง วัดสร้อยทอง
หลวงพ่อสายสนิทสนมกับหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก และหลวงพ่อโม้ วัดสน ท่านได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนวิชากัน จนได้รับคำชมจากพระอาจารย์ทั้งสอง มีชาวบ้านมาขอเครื่องรางของขลังจากหลวงพ่อสายเป็นประจำ เช่น ตะกรุดโทน เด่นทางด้านมหาอุด และไหมเจ็ดสีถักเป็นตะกรุด 7 ดอก เป็นต้น
ในปี พ.ศ.2491 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน และได้สร้างพระเนื้อดินเผาประมาณ 500 องค์ มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันหายากครับ พอถึงปี พ.ศ.2494 ท่านอายุได้ 72 ปี คณะศิษย์และชาวบ้านได้พร้อมใจจัดงานทำบุญฉลองอายุ และจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกของท่านประมาณ 1,000 เหรียญ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หลวงพ่อสายท่านปลุกเสกเดี่ยว 1 พรรษา เมื่อปลุกเสกเสร็จก็ออกแจกจนหมด เหรียญนี้มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ชาวพระประแดงหวงแหนกันมาก จัดเป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของพระประแดงครับ
หลวงพ่อสายทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยขาด และเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยท่านไม่สะสมทรัพย์ มีผู้มาถวายปัจจัยเท่าไรก็นำมาพัฒนาวัดหมดเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านเป็นอย่างมาก เมื่อถึงปี พ.ศ.2495 หลวงพ่อสายก็มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 73 ปี 49 พรรษา
ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของท่านมาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #2 เมื่อ:
12 ตุลาคม 2558 20:03:26 »
หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน
"จากภูมิปัญญาไทย สมัยโบราณ สู่ หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน"
"พระหลวงพ่อเงินบางคลาน" นับเป็นหนึ่งในอมตะพระยอดนิยมตลอดกาล นับเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ก็ยังคงมีผู้เคารพศรัทธาจัดสร้างเพื่อการบุญการกุศลกันอยู่เป็นประจำ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ทุกรุ่นทุกแบบล้วนทรงพุทธาคมเฉกเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับค่านิยมนั้นก็ขึ้นกับรุ่นกับแบบซึ่งแตกต่างกันไป
จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของพระหลวงพ่อเงินก็คือ "กรรมวิธีการหล่อแบบโบราณ" ที่เรียกว่า "หล่อดินไทย" ซึ่งคือการหล่อหุ่นเทียนจากแม่พิมพ์ ต้องนำหุ่นเทียนมาติดก้านฉนวนเป็นช่อ แล้วใช้ "ดินขี้วัว" พอกหุ่นเทียน เมื่อดินแห้งสนิทจึงนำหุ่นเทียนไปเผาไล่เทียนออกจากแม่พิมพ์ดินขี้วัว
จากนั้นจึงเททองเหลืองที่หลอมแล้วลงในเบ้า พอองค์พระเย็นก็แกะเบ้าดินขี้วัวออก ดังนั้น ขนาด พุทธศิลปะ และพุทธลักษณะขององค์พระทุกองค์จึงใกล้เคียงกันแต่ไม่เหมือนกันทุกองค์เหมือนการปั๊ม ซึ่งในปัจจุบันจะหาดูการใช้กรรมวิธีแบบนี้ได้ยากยิ่งนัก
วัดราษฎร์ศรัทธาราม (เนินกุ่มเหนือ) ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก ปัจจุบันมี หลวงพ่อบุญส่ง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองดูแล ท่านคอยเอาใจใส่ดูแลศาสนสถานและเสนาสนะต่างๆ ภายในวัด พระลูกวัด รวมถึงสาธุชนที่เข้าวัดทำบุญทำทานทุกคนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
เมื่อท่านพิจารณาสิ่งใดเริ่มชำรุด เสียหาย ทรุดโทรมลง ท่านจะดูแลซ่อมแซมและปรับปรุงเรื่อยมา เพื่อให้วัดเป็นที่เจริญหูเจริญตาแก่สาธุชนที่มาร่วมบุญ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านและท้องที่ใกล้เคียง
ปัจจุบันหลวงพ่อบุญส่งเห็นว่าศาลาการเปรียญหลังเก่าเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา ไม่สามารถใช้ในการประกอบกิจสงฆ์ได้ จึงดำริให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน บางคลาน ในลักษณะ "รูปหล่อโบราณ" เพื่อหาปัจจัยในการบูรณะศาลาการเปรียญให้ใช้ประกอบกิจสงฆ์ได้ดังเดิม ในชื่อ "หลวงพ่อเงิน รุ่น เงิน เพิ่ม พูน" ประการสำคัญคือ ท่านยังคงเอกลักษณ์ความเป็นหลวงพ่อเงินบางคลาน โดยใช้กรรมวิธีการสร้างแบบ "หล่อโบราณ"
ในการนี้ พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังหลายสำนัก ตระหนักถึงเจตนารมณ์ที่จะทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จึงร่วมแรงร่วมใจทั้งด้านชนวนมวลสาร และร่วมพิธีปลุกเสกอธิษฐานจิตกันอย่างพร้อมเพรียง
เนื้อชนวนมวลสารที่ได้มา จึงเป็นการรวบรวมจากหลายพระเกจิคณาจารย์ จากหลายสำนัก ทำให้เชื่อถือได้ว่าความเข้มขลังมีในองค์พระเต็มเปี่ยมอย่างแน่นอน และยังสร้างให้สีสันวรรณะขององค์พระมีความหลากหลายตามสภาพผิวโลหะ โดยจัดสร้างเป็นพิมพ์เศียรบาตร พิมพ์นิยมเศียรโต และพิมพ์แจกแม่ครัว ทุกองค์มีโค้ดและหมายเลขกำกับ
นอกจากนี้ ยังปรากฏเหตุอัศจรรย์ในช่วงหล่อองค์พระ ทั้งพระอาทิตย์ทรงกลด และมีฝนตกโปรยปรายลงมาเพียง 5 นาที เสมือนหลวงพ่อเงินท่านมาพรมน้ำมนต์ให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระเนื้อหล่อนำฤกษ์โรงงาน" ยังได้รับความเมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว โดยหลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร อีกด้วย
กำหนดพิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถ วัดราษฎร์ศรัทธาราม จ.พิษณุโลก ในวันที่ 24 พ.ย. 2558 โดยมีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมมากมายร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ จ.พิจิตร, หลวงพ่อนงค์ วัดทุ่งน้อย จ.พิจิตร, หลวงพ่อมานิต วัดราชคีรีหิรัญญาราม จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อสม วัดสามเรือน จ.พิษณุโลก, หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์ จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อบุญส่ง วัดราษฎร์ศรัทธาราม จ.พิษณุโลก, หลวงพ่อทุเรียน วัดศรีคีรีสุวรรณาราม จ.สุโขทัย, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา และหลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา เป็นต้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พระสุวรรณภูมิ ภัททธัมโม วัดราษฎร์ศรัทธาราม โทร.08-7314-4097 ครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ
หลวงปู่แย้ม กับตะกรุดคอหมา
พระครูปิยนนทคุณ หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดตะเคียน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
พระเกจิชื่อดังยุคปัจจุบัน ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะบรรดาทหารตำรวจทั้งหลาย ด้วยวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่เน้นพุทธคุณในด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเข้มขลังยิ่งนัก ขนาดต้องไปชิงจากคอของสุนัขกันเลยทีเดียว
ท่านเพิ่งมรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.2557 โดยสรีระไม่เน่าเปื่อย ณ ปัจจุบัน ยังคงบรรจุในโลงแก้ว เพื่อให้พุทธศาสนิกชนไปกราบสักการะขอพรเพื่อเป็นสิริมงคล
เดิมชื่อ แย้ม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2459 ที่ ต.เจ็ดริ้ว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ในครอบครัวชาวนา บิดา-มารดา ชื่อ นายเพิ่ม-นางเจิม ปราณี
อายุครบบวชได้อุปสมบท ณ วัดหลักสองบำรุงราษฎร์ โดยมี พระครูคณาสุนทรนุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบ้านแพ้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, เจ้าอธิการเหลือ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ และ พระอาจารย์ชื่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ปิยวณฺโณ"
เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติและตั้งใจใฝ่ศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง สามารถสอบได้นักธรรมตรีเพียงแค่ในพรรษาแรก พอเข้าพรรษาที่ 2 ท่านเกิดอาพาธหนักจนต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้าน โดยใช้ยาต้มแผนโบราณ พอหายดีจึงกลับไปจำพรรษาที่วัดดังเดิม
จากนั้นมา ท่านก็เริ่มศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ ค้นคว้าตัวยาสมุนไพรและคาถาอาคมที่ใช้กำกับยาจนแตกฉาน และเริ่มรักษาชาวบ้านเรื่อยมา จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ท่านยังใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมสร้างเสริมวิทยาอาคมให้เข้มขลังยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากที่มาขอความช่วยเหลือเยียวยาให้มากที่สุด
ตะกรุดคอหมา หลวงปู่แย้ม ยุคหลัง.
จนได้พบ หลวงพ่อสาย วัดทุ่งสองห้อง ผู้สืบวิทยาคมสาย หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งท่านได้เมตตาสอนสั่ง พร้อมแนะนำเกี่ยวกับเรื่องยันต์และเวทมนต์พระคาถาต่างๆ กอปรกับความมานะพากเพียรของพระภิกษุแย้ม จึงสำเร็จและได้เคล็ดวิชามาโดยไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะเรื่อง "ตะกรุด" จากนั้นมาชื่อเสียงของท่านก็เป็นที่เลื่องลือกระฉ่อน จนพรรษาที่ 10 โยมลุงได้มานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดตะเคียน
วัดตะเคียนในสมัยก่อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสวนส้มเขียวหวาน การเดินทางยังไม่สะดวก พระภิกษุที่จำพรรษาก็มีอยู่เพียงรูปเดียว คือ หลวงพ่อแดง เจ้าอาวาสวัด แต่หลังจากที่โยมลุงนิมนต์ท่านได้เพียง 7 วัน หลวงพ่อแดงก็มรณภาพ หลังจากงานศพท่านเจ้าอาวาสผ่านพ้นไป หลวงปู่แย้มได้มาจำพรรษาที่วัดตะเคียน ไม่นานเจ้าคณะอำเภอจึงให้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส และต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา
หลวงปู่แย้ม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะเคียน มาร่วม 60 ปี ท่านใช้เวลาในการพัฒนาวัดมาโดยตลอด จากวัดร้างกลับกลายเป็นวัดที่สมบูรณ์เพียบพร้อม ความที่ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาลูกศิษย์ลูกหามากมายที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมมาหาเป็นประจำ อีกทั้งถนนหนทางก็มีการพัฒนาปรับปรุงตัดถนนสายใหม่ผ่านทางเข้าวัด ทำให้สาธุชนเดินทางสะดวกขึ้นในการเข้ามาทำบุญทำทานที่วัด
วัตถุมงคลของหลวงปู่แย้ม มีหลายแบบหลายประเภท ทั้งพระเครื่องและเครื่องรางของขลัง อาทิ พระขุนแผนยอดขุนพล, พระนางพญา, เสือปืนแตก, ตะกรุด ฯลฯ เอกลักษณ์ของวัตถุมงคลทุกชนิด คือ ท่านจะลง "ยันต์มหาเบา" ยันต์ครูซึ่งท่านศึกษามาจาก หลวงพ่อสาย และจารด้วยยันต์ "คาถาพระเจ้า 5 พระองค์" อันมีพุทธคุณสูงส่งเหนือยันต์ทั้งปวง มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่ท่องหรือบริกรรมพระคาถาบทนี้ด้วยจิตอันสงบและมั่นคง จะมีพุทธคุณคุ้มครองครอบจักรวาล ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ป้องกันภัย มหาเสน่ห์ มหาอุด ไล่ภูตผี และกันเสนียดจัญไร
นอกจากนี้ ก่อนที่ท่านจะมอบให้แก่ลูกศิษย์ ท่านจะกำชับว่า "ใครจะยิงให้มันยิงไปเถอะ เดี๋ยวปืนมันก็แตก เอ้า เพี้ยง" ซึ่งเล่นเอาผู้รับขนลุกซู่ไปทั้งตัวทีเดียว
วัตถุมงคลที่สร้างชื่อและโด่งดังสุดๆ ก็คือ "ตะกรุดคอหมา" ซึ่งส่งผลให้วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของหลวงปู่แย้มทุกรุ่นทุกแบบเป็นที่แสวงหา และสนนราคาพุ่งขึ้นอย่างฉุดไม่อยู่ สืบสาวราวเรื่องมาแล้วได้ความดังนี้ ...
มูลเหตุของเรื่องนั้น เริ่มจากที่หลวงปู่แย้มท่านเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว ซึ่งก็เกรงว่าบางครั้งสุนัขที่เลี้ยงอาจไปสร้างความเดือดร้อนจนเป็นที่ไม่พอใจหรืออาจถูกทำร้าย ท่านจึงคิดสร้าง "ตะกรุด" ก็เพื่อคล้องคอสุนัขทุกตัวของท่านเพื่อป้องกันภัย ท่านจารตะกรุดในน้ำด้วยสมาธิจิตอันแน่วแน่ แล้วนำไปผูกคอสุนัขทุกตัวของท่าน
จากนั้นมา สุนัขเหล่านั้นก็ไม่เคยได้รับความรุนแรงใดๆ จนชาวบ้านต่างสงสัย และเมื่อสอบถามกันไปมาก็ได้ความว่า หลวงปู่แย้มได้ผูก "ตะกรุดวิเศษ" ไว้ที่คอสุนัข บรรดานักเลงที่ชอบลองของ ก็นำปืนมาลองยิงสุนัขของหลวงปู่ ปรากฏว่าปืนแตก จนเกิดเป็นข่าวฮือฮาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บรรดาผู้คนที่ต้องการตะกรุดแบบเร็วๆ ก็แย่งเอาที่คอสุนัขของท่าน บางคนดีหน่อยไปบอกกล่าวขอกับท่าน จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน "ตะกรุดคอหมา ปู่แย้ม" อันเป็นที่เลื่องชื่อลือชานั่นเอง
หลวงปู่แย้ม ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2557 สิริอายุ 98 ปี ยังความโศกเศร้าแก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายยิ่งนัก แต่คุณูปการและความเข้มขลังในวัตถุมงคลของท่านยังคงจารึกในความทรงจำและเป็นที่นิยมอยู่ไม่เสื่อมคลาย ...
ขอปิดท้ายกันด้วย "คาถายันต์ตะกรุดคอหมา" ครับผม
อุด ธัง อัด โท เม กะ มุ อุ
... หากมีจิตเข้มแข็งและสงบนิ่ง จะสามารถแคล้วคลาดจากอาวุธของศัตรูทั้งปวง
ราม วัชรประดิษฐ์
ตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ
วัดฆะมัง จ.พิจิตร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องเครื่องรางของขลัง ประเภทตะกรุดกันบ้างดีกว่านะครับ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวขวัญถึงตะกรุด ที่มีชื่อว่าตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง มาบ้าง ซึ่งเป็นตะกรุดยอดนิยมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางของขลัง ปัจจุบันหาชมของแท้ๆ ได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกันครับ
ผมขอนำคำกลอนที่ คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ซึ่งท่านแต่งไว้เกี่ยวกับหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ในหนังสือ ตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวท มาให้อ่าน ซึ่งกลอนนี้บอกเล่าเรื่องราวของตะกรุดหลวงพ่อพิธได้อย่างดีเยี่ยมครับ
หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ดังกังวาน
ชื่อกล่าวขานสร้างตะกรุด ปราบภูตผี
ทั้งอยู่ยงคงศาสตรา บารมี
คู่ชีวีมีตะกรุด มหากัน
ตามตำนานท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อเงิน
ท่านเจริญรอยตาม หลวงพ่อท่าน
เรียนวิชาขมังเวทย์ เจนจบพลัน
วิชานั้นสืบทอด คงชาตรี
ตะกรุดท่านมีเรื่องเล่า กล่าวขาน
ประสบการณ์ลือลั่น ในพื้นที่
โดนยิงนั้นไม่ออก ขอบอกที
มีตะกรุดคู่ชีวี กำบังกาย
หลวงพ่อพิธ ท่านเกิดที่ตำบลฆะมัง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2418 โยมบิดาคือขุนหิรัญสมบัติ (ประดิษฐ์) โยมมารดาชื่อปุย หลวงพ่อพิธ อุปสมบทในปี พ.ศ.2440 ที่วัดบึงตะโกน อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยมีพระครูธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาวิจิตร วัดฆะมัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พลอย วัดราชช้างขวัญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากที่ท่านได้บวชแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่หลายวัดด้วยกัน เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิทยาคมต่างๆ เช่น วัดหัวดง วัดบางคลาน ได้ศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเงินจนแตกฉานในทุกด้าน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา วัดใหญ่ (วัดพระศรีมหาธาตุ พิษณุโลก) จากนั้นท่านจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดฆะมังจวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2488 สิริอายุได้ 70 ปี พรรษาที่ 48
หลวงพ่อพิธมีดวงตาที่ดูดุ จนในสมัยนั้นชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อพิธตาเสือ และในวันที่ฌาปนกิจศพท่านนั้น เจ้าหน้าที่วัดและลูกศิษย์กำลังเก็บอัฐิอยู่นั้น ทุกคนต่างตะลึงงันเมื่อได้พบดวงตาของหลวงพ่อพิธไม่ไหม้ไฟทั้งสองดวง ชาวบ้านจึงกล่าวขวัญกันว่า "หลวงพ่อพิธตาไฟ" ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่วัดฆะมัง
หลวงพ่อพิธได้ทำตะกรุดแจกให้แก่ศิษย์ ซึ่งเป็นยันต์เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอุยธยา เป็นยันต์หนึ่งในตำราพิชัยสงคราม และยันต์นี้ได้สืบทอดต่อมาจากหลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า จนถึงหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อพิธเรียนมาจากหลวงพ่อเงินอีกต่อหนึ่ง ยันต์นี้เรียกกันว่า "ยันต์คู่ชีวิต" มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัยให้แก่ผู้ที่บูชา ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ โดยส่วนมากจะมีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง อั่วก็คือแกนกลางเป็นหลอดทองเหลือง ปกติจะมีบัดกรีเสริมหัวท้ายด้วยลวดทองเหลือง เนื้อโลหะที่พบมีทั้งที่เป็นเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน เนื้อฝาบาตร และที่พบส่วนใหญ่คือเนื้อตะกั่ว เข้าใจว่าเนื้อโลหะพิเศษคงจะมีผู้นำโลหะไปให้หลวงพ่อพิธทำเป็นพิเศษ ตะกรุดของหลวงพ่อพิธที่เราพบเห็นมากที่สุดก็คือครั้งที่ท่านทำให้ วัดสามขา เพื่อแจกให้แก่ผู้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดสามขา ตะกรุดคู่ชีวิตนี้ จะมีทั้งลงรักถักเชือกและชนิดเปลือยๆ ลายถักก็มีอยู่หลายแบบครับ
พุทธคุณของตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อพิธมีประสบการณ์มากมาย เรื่องอยู่ยงคงกระพันนั้นชาวเมืองพิจิตรต่างทราบกันดี ปัจจุบันหาตะกรุดหลวงพ่อพิธแท้ๆ ยากครับ และมีของปลอมเลียนแบบมาก การเช่าหาควรจะหาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญจริงเท่านั้นครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปตะกรุดคู่ชีวิตหลวงพ่อพิธ แบบมีลงรักถักเชือก จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวท ของ คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยมาให้ชมกันด้วยครับ
กุมารทองรุ่นแรก
หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในวันนี้เราจะมาคุยกันถึงหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ถ้าจะกล่าวถึงกุมารทอง ก็ต้องนึกถึงกุมารทองของหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม ถือว่าอยู่ในอันดับหนึ่งครับ และหลวงพ่อเต๋ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง ลูกศิษย์ลูกหาก็มากมาย
หลวงพ่อเต๋ คงทอง เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2434 โยมบิดาชื่อจันทร์ โยมมารดาชื่อบู่ ตอนอายุได้ 7 ขวบ ก็ต้องไปอยู่กับหลวงลุงแดง ซึ่งเป็นลุงที่วัดกาหลง หลวงลุงแดงนั้นเป็นพระที่วิชาอาคมแก่กล้ามาก หลวงพ่อเต๋อยู่กับหลวงลุงแดงเพื่อเรียนหนังสือจนอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี พออายุได้ 10 ขวบ หลวงลุงแดงพาเดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดามารดา ต่อมาในปี พ.ศ.2449 จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงลุงแดง เรียนพระปริยัติธรรมและคอยดูแลหลวงลุงแดง
เมื่อหลวงพ่อเต๋อายุครบ 21 ปี ในปี พ.ศ.2454 จึงได้อุปสมบท โดยมีพระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์ทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "คงคสุวัณโณ" หลังจากที่บวชได้ไม่นานหลวงลุงแดงก็มรณภาพที่วัดกาหลง หลวงพ่อเต๋จึงต้องเดินทางไปจัดการงานศพของหลวงลุงแดง ก่อนที่หลวงลุงแดงจะมรณภาพนั้นท่านได้เคยฝากวัดสามง่ามไว้กับหลวงพ่อเต๋ให้ช่วยพัฒนาต่อให้เสร็จ หลวงพ่อเต๋ก็ได้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามง่ามและได้พัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้
ทางด้านการศึกษาพุทธาคมนั้น หลวงพ่อเต๋ได้ศึกษากับ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จนเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน ต่อมาก็ได้ไปศึกษากับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ทั้งทางด้านวิปัสสนาธุระและวิทยาคมต่างๆ และได้ติดตามหลวงพ่อแช่มออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ มากมาย หลวงพ่อเต๋เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนรักษาผู้ที่ป่วยไข้ให้หายได้ทุกราย จนชื่อเสียงของหลวงพ่อเต๋โด่งดังมาก มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาให้หลวงพ่อช่วยรดน้ำมนต์ปัดเป่าโรคภัยต่างๆ นานามากมายแทบทุกวันมิได้ขาด
หลวงพ่อเต๋ได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในยุคแรกๆ นั้นจะสร้างตะกรุดโทนแจกแก่ลูกศิษย์ ในด้านพระเครื่องก็สร้างไว้หลายรุ่นเช่นกัน ทั้งเหรียญ พระเนื้อผง รูปเหมือนหล่อ ทั้งขนาดห้อยคอและบูชา ทุกรุ่นล้วนนิยมกันทั้งสิ้น ที่โด่งดังมากและมีผู้รู้จักมากในปัจจุบันก็คือกุมารทอง
หลวงพ่อเต๋มีอายุยืนมาก ท่านมรณภาพในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2524 สิริอายุได้ 90 ปี พรรษาที่ 69 ส่วนร่างของท่านนั้นลูกศิษย์ให้เก็บรักษาไว้ในโลงแก้ว ทุกวันนี้จะมีคนเดินทางไปกราบไหว้เสมอ
ในวันนี้ผมได้นำรูปกุมารทอง รุ่นแรก พิมพ์หูยาว ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน (จากหนังสือตามรอยตำนาน เครื่องรางของขลัง ขมังเวทย์) มาให้ชมครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #3 เมื่อ:
20 ตุลาคม 2558 20:14:40 »
พระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด
วัดอินทรวิหาร
หลวงปู่ภู ศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างพระรูปทรงสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จไว้ที่วัดอินทรวิหาร และได้รับความนิยมสูง เชื่อกันว่าหลวงปู่ภู ได้เก็บผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วย
พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทสโร) เกิดที่ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก ในปี พ.ศ.2373 เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดท่าคอย และได้เรียนหนังสือที่สำนักวัดท่าแค จนอายุได้ 21 ปี พ.ศ.2394 จึงได้อุปสมบทที่วัดท่าคอย ได้รับฉายาว่า "จันทสโร" หลังจากนั้นท่านก็ได้ออกธุดงค์กับพระพี่ชายเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน และอยู่จำพรรษาตามสถานที่ต่างๆ โดยลำดับ ต่อมาได้ธุดงค์มาจนถึงกรุงเทพฯ เข้ามาจำพรรษาที่วัดสระเกศ วัดสามปลื้ม วัดม่วงแค วัดท้ายตลาด ตามลำดับ ท้ายที่สุดหลวงปู่ภูได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหมนอก ในขณะนั้น)
ระหว่างที่หลวงปู่ภูมาจำพรรษาอยู่กรุงเทพฯ นั้น ท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ และได้ศึกษาวิปัสสนาธุระกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ และถือว่าเป็นศิษย์ใกล้ชิดกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง และเคยได้ออกธุดงค์ร่วมกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ หลายแห่ง ในการสร้างองค์หลวงพ่อโต วัดอินทร์ (พระศรีอริยเมตไตรย) ท่านก็มีส่วนช่วยสร้าง หลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มรณภาพแล้ว หลวงปู่ภูก็ได้เป็นธุระในการสร้างต่อจวบจนกระทั่งหลวงปู่ภูมรณภาพ
หลวงปู่ภูดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทร์ ในปีพ.ศ.2432 และในปีพ.ศ.2435 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูธรรมานุกูล" เป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร จนถึงปี พ.ศ.2476 สิริอายุได้ 103 ปี พรรษาที่ 82
หลวงปู่ภูได้สร้างพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จ ในปีพ.ศ.2463 เพื่อแจกแก่ผู้ที่ได้สมทบทุนในการสร้างองค์พระหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ต่อให้เสร็จ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างไว้ ได้เพียงครึ่งองค์ ในขณะนั้นหลวงปู่ภู มีอายุ 90 ปี พระที่หลวงปู่ภู สร้างไว้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พิมพ์แซยิด พิมพ์แปดชั้น พิมพ์สามชั้น เป็นต้น
พระสมเด็จของหลวงปู่ภู ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และมีมูลค่าสูง ก็คือ พิมพ์แซยิด แขนหักศอก และพิมพ์แซยิด แขนกลม สภาพสวยๆ สมบูรณ์ ราคาหลักแสนครับ ส่วนพิมพ์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันลงมา
หลวงปู่ภูเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปหนึ่ง และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอินทร์บ่อยๆ โดยเฉพาะครั้งที่มาสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ดังนั้นจึงเชื่อว่าหลวงปู่ภูมีผงวิเศษ 5 ประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เก็บรักษาไว้ และนำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างพระของท่านด้วยครับ
วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จหลวงปู่ภู พิมพ์แซยิด แขนหักศอก วัดอินทรวิหาร มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกรุวัดราชบูรณะ พระขุนแผน กรุโรงเหล้า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยานับเป็นศูนย์กลางทางด้าน "งานศิลปะ" นับเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยปีปรากฏงานประเภทหัตถศิลป์ เช่น เบญจรงค์ ลายรดน้ำ งานหัตถกรรม และอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งงานประเภทหนึ่งที่น่าค้นคว้าศึกษาเป็นยิ่งได้แก่ "งานปฏิมากรรม" เนื่องจากมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง หากเป็นอยุธยาบริสุทธิ์ จะว่างามแท้ก็ไม่งามมากทีเดียว ซึ่งอาจดูเค้าโครงจากยุคแรกๆ จนถึง ยุคหลังได้ว่า ...
ในยุคแรกนั้น งานปฏิมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาจะทำจากสัมฤทธิ์บ้าง มีการพอกศิลาก่ออิฐถือปูน ซึ่งก่อนหน้านั้นจะมีลักษณะงดงาม เคร่งครึม ที่เราเรียกว่า "ยุคอู่ทอง" ในราวปี พ.ศ.1893 พระพักตร์เคร่งขรึม มีศิราภรณ์ประดับ เช่น เศียรพระธรรมมิกราช ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเขมร โดยเฉพาะพระพักตร์
นอกจากนี้ยังนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ อย่างเช่นที่วัดพนัญเชิง ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับ "หลวงประเสริฐอักษรนิต" ว่า สร้างก่อนพระนครศรีอยุธยา 26 ปี และแพร่หลายมาจนถึงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เช่น พระที่วัดมหาธาตุ เนื่องจากอยุธยาเข้าไปมีอำนาจเหนือสุโขทัย ทำให้ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย ส่งผลให้พระพุทธรูปอ่อนช้อยงดงามกว่าเดิม
ต่อมาศิลปะพระพุทธรูปเริ่มแสดงความเป็นตัวตนของอยุธยาชัดเจนขึ้น ทั้ง "พระพุทธรูปและพระเครื่อง" คือ เริ่มคลี่คลายจากความงามลง ดูเร่งรีบเพื่อรับศึกสงคราม มีไรพระศกใหญ่ เส้นสังฆาฏิหนา แลดูขาดจิตวิญญาณ เหมือนเช่นพระพุทธรูปสุโขทัยและอู่ทอง ส่วนฐานเพิ่มลวดลาย เช่น ดอกบัว นักษัตร กระจัง สัตว์ในวรรณคดี หรือเรื่องราวทางพุทธประวัติ ทำให้ฐานโค้งมากกว่า ปกติ เช่น พระพุทธโลกนาถ วัดพระเชตุพนฯ ที่อัญเชิญจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา หรือพระมงคลบพิตร เป็นต้น
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยหินทราย เพราะมีอิทธิพลเหนือเขมร แต่ช่างปูนยังสู้เขมรไม่ได้ ดังพระที่วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรี อยุธยา ผิดกับงานทาง จ.ลพบุรี ที่มีพระพุทธรูปหินทรายเช่นกัน (โดยเฉพาะ "ปางนาคปรก" งดงามมาก แล้วยังเริ่มลักษณะความเป็นสยามลงใน พระพักตร์ พบมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี) ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้ส่งอิทธิพลโดยตรงต่องานสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีลักษณะไม่สู้จะงดงามนัก แต่เข้มขลังด้วยพุทธาคมแบบเขมร เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระกรุวัดตะไกรหน้าต่างๆ พระยอดธง
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งแรก สยามก็รับอิทธิพลทางศิลปะของเมียนมาและมอญมาผสมผสานในงานปฏิมากรรมอยู่ยุคหนึ่ง เช่น วัดมอญจะมี "เสาหงส์" หันไปทางทิศที่เมืองมอญเก่าเคยตั้ง การสร้างเจดีย์ที่มีร่องรอยของเมียนมา เช่น เจดีย์ภูเขาทอง โดยเฉพาะที่ล้านนานั้นเมียนมาเข้าครอบครองเกือบ 200 ปี จึงรับอิทธิพลของเมียนมาไปอย่างมากมาย
จึงอาจสรุปลักษณะของ "พระเครื่องสมัยกรุงศรีอยุธยา" ได้ว่า ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปโดยตรง และสร้างเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในศึกสงคราม เช่น พระขุนแผน ในการสร้างนั้นมีทั้งเนื้อโลหะ เนื้อดิน สภาพไม่สู้งดงามนัก จนสิ้นอยุธยามาเริ่มสมัยรัตนโกสินทร์
งานปฏิมากรรมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีอิทธิพลจากตะวันตกเข้าผสมผสานครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กทม. มีพระสมเด็จที่สังคมผู้นิยมพระเครื่องให้ความนิยม คือพระสมเด็จอรหัง และเชื่อกันว่าเป็นพระที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นผู้สร้างไว้ มูลค่าสูงและก็หายากในปัจจุบันครับ
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ชื่อ วัดสลัก ต่อเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี
สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักในปีพ.ศ.2326 จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็น "วัดนิพพานาราม" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนา
ในปีพ.ศ.2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ" และในปีพ.ศ.2346 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณะวัดมหาธาตุฯ และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์" ในปีพ.ศ.2439
อย่างไรก็ตามชาวบ้านทั่วไปก็มักจะเรียกกันติดปากว่า "วัดมหาธาตุ" ที่วัดนี้อย่างที่ทราบกันว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ก็เคยย้ายจากวัดราชสิทธิ์ (วัดพลับ) มาประทับอยู่ที่วัดแห่งนี้ ครั้งเมื่อได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และจากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า สมเด็จฯ ได้สร้างพระเครื่องเนื้อผงไว้เป็นที่แจกจ่ายและบรรจุไว้
พระสมเด็จที่สมเด็จพระสังฆราช (สุก) สร้างไว้ เป็นพระรูปทรงสี่เหลี่ยม เนื้อผงพุทธคุณ ด้านหลังมักจะพบว่ามีจารอักขระเป็นอักษรขอมคำว่า "อรหัง" มีอีกแบบเป็นลักษณะตราประทับ คำว่า อรหังเช่นกัน จึงเป็นที่มาของคำเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระสมเด็จอรหัง" พระที่พบมีอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ 3 ชั้น หรือพิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จอรหังพิมพ์เกตุอุ หรือเกตุเปลวเพลิง พระพิมพ์ฐานคู่ พระพิมพ์เล็ก แบบมีประภามณฑล และพระพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล พระที่พบที่วัดมหาธาตุจะเป็นพระเนื้อผงออกสีขาว ขาวอมเหลือง และขาวอมเขียวก้านมะลิ
พระแบบพระสมเด็จอรหังยังพบอีกครั้งที่กรุเจดีย์วัดสร้อยทอง แต่พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อแดง มีเนื้อสีขาวบ้างแต่น้อย และเนื้อพระที่พบก็จะเป็นประเภทเนื้อหยาบทั้งเนื้อแดงและเนื้อขาว ส่วนพิมพ์ของพระจะเหมือนกัน ยกเว้นพระพิมพ์เล็กไม่พบในกรุวัดสร้อยทอง
พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็กจะพบแต่เนื้อขาวเท่านั้น ด้านหลังจะมีจารอรหัง ทั้งพิมพ์มีประภามณฑลและไม่มีประภามณฑล พิมพ์เล็กนี้จะมีจำนวนน้อยกว่าพระทุกพิมพ์ จึงหายากกว่า และมีการปลอมแปลงกันมานานแล้วครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญหลวงปู่พวง ฐานวโร
"พระอธิการพวง ฐานวโร" หรือที่ ชาวบ้านทั่วไปรู้จักดีในนาม "หลวงปู่พวง ฐานวโร" เจ้าอาวาสวัดน้ำพุสามัคคี ต.พุทธบาท อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ศิษย์เอกสืบสายวิทยาคมจากพระครูวิชิตพัชราจารย์ หรือหลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก อ.เมืองเพชรบูรณ์ อดีตพระเกจิชื่อดังแห่งเพชรบูรณ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังระดับแนวหน้ารูปหนึ่งของเมืองมะขามหวาน ที่ชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธา
ปัจจุบัน สิริอายุ 90 ปี พรรษา 69
หลวงปู่พวง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2467 ที่เมืองดอกบัว จังหวัดปทุมธานี เชื้อสายมอญ ได้ย้ายตามบิดามารดามาอยู่เพชรบูรณ์ ทำอาชีพเกษตรกรรม บิดามารดาได้ให้บวชตั้งแต่เป็นสามเณร สามเณรพวงได้ปรนนิบัติหลวงพ่อทบมิได้ขาด ไม่ว่าจะล้างบาตร เทกระโถนน้ำหมาก หลวงพ่อทบเห็นในความเพียรตั้งใจจริงจึงได้ถ่ายทอดสรรพต่างๆ และวิปัสนากัมมัฏฐานการกำหนดจิต การฝึกกสินแต่ละกอง จนถึงการอุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัย ๒๑ ปีได้ฉายา ฐานวโร แปลว่า ผู้มีฐานะอันประเสริฐ ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับหลวงพ่อทบ หลวงพ่อทบให้ช่วยจารตะกรุดมั่ง ม้วนมั่ง ถักมั่ง หลวงพ่อทบรักมากสอนให้จนหมด
หลวงพ่อทบไปมาหาสู่กับหลวงพ่อเขียน ที่สำนักขุนเณร หลวงพ่อทบจึงได้ฝากฝังศิษย์รักให้หลวงพ่อเขียนให้ช่วยประสาทวิชาเพิ่มเติม ทั้งด้านกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐาน ฝึกกสิน ๑o วิชาทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ เมื่อเรียนจนหมดจากหลวงพ่อเขียนจึงได้กราบลากลับมาเพชรบูรณ์
ได้พบหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย หลังจากทดสอบกำลังใจแล้วท่านจึงรับเข้าสำนักถ่ายทอดวิทยาคมให้หมดสิ้น หลังจากที่ได้ร่ำเรียนจนสำเร็จแล้วจึงได้กราบลาหลวงพ่ออ้วนเพื่อออกธุดงค์ ปลีกวิเวกตามป่าเขา ตามถ้ำต่างๆ ได้ธุดงค์เข้าป่ารกชัชขึ้นเขา ลงเขา จนมาถึงเทือกเขารัง ณ บ้านน้ำพุ จ. เพชรบูรณ์ พ.ศ. ๒๕oo ได้ปักกลดจำวัด ณ ที่แห่งนี้ ชาวบ้านศรัทธาในบารมีนิมนต์ให้สร้างวัดเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน
หลวงปู่พวง ฐานววโร ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีวัตรปฏิบัติงดงามยิ่ง มีปฏิปทาที่มั่นคง สมถะเรียบง่าย จิตใจโอบอ้อมอารี ให้ความเมตตาทุกคนไม่แบ่งชนชั้น
ในวาระปีใหม่ 2557 หลวงปู่พวง ได้มอบหมายให้ทางคณะกรรมการวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ศิษยานุศิษย์ทั้งประเทศและต่างประเทศ รุ่นฉลองศาลา เพื่อนำรายได้มาบูรณะวัดและซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งวัตถุมงคลที่จัดสร้างเป็นเหรียญหล่อโบราณ รุ่นแรก และ ปิดตาอรหัง จัดสร้างเนื้อเงิน 99 เหรียญ เนื้อนวะ 999 เหรียญ เนื้อสำฤทธิ์ 1999 เหรียญ เนื้อรวมมวลสาร 1999 เหรียญ ปิดตาอรหัง จัดสร้าง เนื้อแก้วนพเก้า เนื้อเมฆสิทธิ์ เนื้อแร่โคตรเศรษฐี เนื้อเชียงรุ่ง อย่างละ 500 องค์ เท่านั้น ปลุกเสกเดือนธันวาคม 2556 หลวงปู่พวง ปลุกเสกเดี่ยว 10 วัน 10 คืนเต็ม
ลักษณะของวัตถุมงคล เป็นเหรียญหล่อรูปใข่ หลังยันต์เพชรกลับ กลับร้ายกลายดี ผู้เสกต้องมีวิชาอาคมขึ้นสูงจึงจะทำออกมาได้ศักสิทธิ์ ได้ผล ซึ่งปัจจุบันหาผู้สืบทอดวิชานี้ไม่มีอีกแล้ว ส่วนพระปิดตาอรหังนั่งค่อมหลังยันต์สามใบพัดอานุภาพบรรยายไม่สิ้นด้วยใช้ได้ครอบจักรวาล
สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่พวงล้วนเป็นที่นิยมของบรรดานักสะสมพระเครื่องและ ผู้สนใจอย่างแพร่หลายทั้งในจังหวัดและทั่วประเทศ เนื่องจากมีพุทธคุณสูงทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม
เหรียญหลวงพ่อสมยาอุไร
"พระครูศรีคณานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อสม" (สม ยาอุไร) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ และอดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เป็นศิษย์พระครูธรรมสารรักษา หรือหลวงปู่อ้น อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนบุบผาราม นอกจากนี้ยังเป็นศิษย์เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ ด้วย
มรณภาพเมื่อวันที่ 5 เม.ย.2532 สิริอายุ 91 พรรษา 71
เหรียญเสมาหลวงพ่อสม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 เนื่องในโอกาสที่หลวงพ่อสม อายุครบ 88 ปี สร้างจากเนื้อกะไหล่รมดำ และเหรียญรุ่นนี้ยังเป็นเหรียญที่หลวงพ่อสม ประกอบพิธีพุทธาภิเษกอธิษฐานจิตเสกเดี่ยวถึง 4 ครั้ง ที่อุโบสถ วัดดอนบุบผาราม ตั้งแต่ปี 2528 จนกระทั่งถึงปี 2532
ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อสมหน้าตรง ด้านล่างเขียนว่า "หลวงพ่อสมยาอุไร" เขียนติดกัน ซึ่งคำว่า "ยาอุไร" เป็นนามสกุลเดิมของหลวงพ่อสม
ด้านหลังเป็นยันต์ "มะอะอุ" ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวหลวงพ่อสม ใต้ยันต์เขียนว่า "พ.ศ.๒๕๒๘" รอบเหรียญด้านล่างเขียนว่า "วัดดอนบุบผาราม รุ่นอายุครบ ๘๘ ปี" ส่วนที่ชาวบ้านเรียกกันว่ารุ่นคานหัก เนื่องจากเหรียญรุ่นนี้ไม่เคยนำออกมาแจกญาติโยมเลย หลังจากสร้างขึ้น จนกระทั่งหลวงพ่อสมมรณภาพ
วัดดอนบุบผาราม ได้เตรียมนำเหรียญรุ่นนี้ออกมาเพื่อแจกแต่ปรากฏว่าจะแบกจะดึงกล่องบรรจุเหรียญรุ่นนี้อย่างไร ก็ไม่ขยับออกมาแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวบ้านร่วมใจกันไปหาไม้คาน กระทู้ไม้ไผ่มาหาบหาม ก็หักทุกครั้ง
สุดท้ายต้องจุดธูปอธิษฐานขออนุญาตหลวงพ่อสม จึงสามารถเคลื่อนย้ายเหรียญรุ่นนี้ออกมาแจกชาวบ้านได้
ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า "เหรียญรุ่นคานหัก"
กล่าวกันว่า มีอดีตส.ส.พรรคชาติไทยคนหนึ่ง ประสบอุบัติเหตุ แต่รอดชีวิตมาได้อย่างปาฏิหาริย์ ชาวบ้านร่ำลือกันว่ามาจากพุทธคุณแห่งเหรียญหลวงพ่อสม
ทำให้ชาวบ้านที่ทราบข่าว ต่างเสาะหาบูชาเหรียญรุ่นคานหักเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน เหรียญหลวงพ่อสม รุ่นคานหัก ยังพอมีเหลือเพียงไม่มากเท่านั้น หาเช่าบูชาได้ที่วัดดอนบุบผาราม ต.บ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม จ.ตราด
วัดศรีบูรพาราม เดิมเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนเมื่อปี พ.ศ.2500 ญาติโยมและชาวบ้านที่ศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างเป็นวัดขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า "วัดเกาะตะเคียน" ฝังลูกนิมิตเมื่อปี พ.ศ.2524 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดศรีบูรพาราม"
เป็นศาสนสถานที่เป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดตราดและเพื่อนบ้านใกล้เคียง ด้วยความเข้มขลังและศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคลที่จัดสร้างโดยเจ้าอาวาสรูปแรกและรูปปัจจุบัน คือ พระครูสังฆกิจบูรพา หรือ หลวงปู่บัว ถามโก ที่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า "พระอาจารย์บัว"
เดิมชื่อบัว เป็นบุตรนายเชี๋ย-นางเตี่ยน มารศวารี เกิดเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ปีขาล ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ ปีพ.ศ.2469 ณ บ้านเลขที่ 3 หมู่ 3 ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด
ในวัยหนุ่มชอบศึกษาหาความรู้ด้านยาสมุนไพรและมีความชำนาญด้านงานช่าง จนอายุ 23 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดบุบผาราม ต.วังกระแจะ โดยมี พระครูคุณวุฒิพิเศษ วัดบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูวัตรรัตนวงษ์สิทธิ์ วัดหนองบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาพระปริยัติธรรมเรื่อยมา จนปี พ.ศ.2505 ย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเกาะตะเคียน ปีพ.ศ.2508 สอบได้ชั้นนักธรรมเอก
ปี พ.ศ.2513 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆกิจบูรพา ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลวังกระแจะ
หลวงปู่บัวท่านเล่าว่า ในสมัยก่อนการศึกษาภาษาบาลียังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ท่านจึงไปศึกษาวิทยาคมและพระคาถาต่างๆ จากพระครูคุณวุฒิพิเศษ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเฉพาะ "วิชาหัวใจ 108" ทำให้รู้ถึงขั้นตอนและกรรมวิธีการทำ "น้ำมันงา" ที่มีพุทธคุณทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และอยู่ยงคงกระพัน
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษากับนายเสียง ชาวบ้านหมู่บ้านหนองโพง ที่ขึ้นชื่อลือชาเรื่องหนังเหนียวนัก โดยนายเสียงได้พาลูกชายมาฝากเรียนวิชา แต่ลูกไม่สนใจ นายเสียงกลัววิชาจะสูญหาย จึงได้ถ่ายทอดให้หลวงปู่จนหมด โดยแรกๆ ท่านไม่คิดว่าจะได้นำมาใช้ จนมาสร้างพระเครื่องเพื่อแจกให้ญาติโยมพกติดตัว ป้องกันพวกนักเลงที่สมัยก่อนมีเยอะมาก ปรากฏว่าเห็นผลเป็นที่ร่ำลือ จากที่ไม่มีผู้ใดสนใจก็พากันมาขอจนหมดไม่มีเหลือ
เป็นพระเกจิที่รักสันโดษ สมถะ มีวัตรปฏิบัติงดงาม เมตตาธรรมสูงส่ง ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดตราดและใกล้เคียง
เป็นหนึ่งในเกจิดังของภาคตะวันออกที่ไม่ว่าจะออกวัตถุมงคลมากี่รุ่นต่อกี่รุ่น ก็ล้วนทรงพุทธคุณแก่ผู้สักการะเป็นที่กล่าวขวัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เหรียญรุ่นแรก" ที่เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างกว้างขวาง ผู้มีไว้ครอบครองก็ต่างหวงแหน
การจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่บัว รุ่นแรกนั้น นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นปีที่วัดจะจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจึงได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือน" ขึ้นล่วงหน้าในปี พ.ศ.2523 ประกอบด้วย เนื้อทองคำกับเนื้อเงิน จำนวนไม่มากนัก นอกนั้นเป็นเนื้อทองแดงในราว 20,000 กว่าเหรียญ โดยหลวงปู่ได้ปลุกเสกเดี่ยวมาตลอด
จนก่อนงานปิดทองฝังลูกนิมิต ทางวัดได้นิมนต์พระเกจิ 9 รูปมาปลุกเสกอธิษฐานจิตอีกครั้ง เมื่อถึงวันงานผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมทำบุญตามแต่ศรัทธาจะได้รับมอบเหรียญทองแดง 1 เหรียญ หรือจะขอเพิ่มฝากลูกหลานก็ไม่ว่ากัน หลวงปู่เมตตาแจกให้หมด เรียกว่าได้รับแจกกันแบบไม่จำกัดจำนวน
เหรียญนี้เองนับเป็น "เหรียญรุ่นแรก" เมื่อจบงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปรากฏว่ามีเหรียญเหลืออยู่อีกจำนวนมาก หลวงปู่บัวได้ปลุกเสกอีกหลายครั้ง หลายวาระ และทางคณะกรรมการวัดได้นำออกมาให้เช่าบูชาในราคาเหรียญละ 10 บาท ซึ่งกว่าจะหมดใช้เวลาอยู่หลายปี
เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาแว่วว่าสูงขึ้นถึงหลักหมื่น ซึ่งนับวันจะหายากขึ้น และมีการทำเทียมออกมาเป็นจำนวนมากครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
พระกริ่งคลองตะเคียน
พระกริ่งคลองตะเคียน เป็นที่เชื่อกันว่า น่าจะเป็นพระที่พระเกจิอาจารย์เป็นผู้สร้างขึ้นมากกว่าจะเป็นพระกรุ
ลักษณะพิเศษมีหลายอย่าง เช่น องค์พระคล้ายพระคงทางเหนือ ภายในกลวงอุดผงเม็ดใบลาน เวลาเขย่าจะมีเสียง เลยกลายเป็น "พระกริ่งเนื้อดินองค์แรกและชนิดเดียวของสยาม" องค์พระได้มีการขุดค้นพบที่ จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณที่เรียกว่า "ดงตะเคียน" มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่าน ยามแล้งน้ำจะแห้งขอด อันเป็นที่มาของชื่อ
พระกริ่งคลองตะเคียน แตกกรุในราวสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังการขุดค้นของกรมศิลปากรแล้ว สำนักโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เป็นที่ตั้ง ของกลุ่มวัดเก่าถึง 3 วัด ได้แก่ วัดโคกจินดา ซึ่งพบพระกริ่งคลองตะเคียนอยู่ในกลุ่มนิยม ประกอบด้วย พระกริ่งพิมพ์หน้าใหญ่ หน้าเล็ก พระหน้ามงคล และหน้าฤๅษี
นอกจากนี้ ยังพบพระพิมพ์ปิดตาอีกหลากหลายพิมพ์ ซึ่งกำหนดตามศิลปะเฉพาะของวัดที่สำคัญคือ ลายมือจารหวัดๆ ที่สวยงามลงตัว อันถือเป็นหนึ่งเอกลักษณ์ วัดที่สองคือ วัดสำเภาล่ม (วัดทำใหม่) พบพระปิดตามหาอุตม์ และพระพิมพ์สมาธิ ซึ่งมีลายมือจารเป็นตัวบรรจงสวยงามเช่นกัน แต่แตกต่างจากวัดโคกจินดาที่ลายมือจะเป็นเส้นหยาบไม่ประณีตเท่า วัดที่สามได้แก่ วัดช้าง ศิลปะจะด้อยกว่าสองวัดข้างต้น ลายมือจารค่อนข้างหวัด เส้นจารหนา ดูหยาบ ไม่สวยงามนัก แต่ก็ดูดุดันเข้มขลังไปอีกแบบ ประการสำคัญก็คือ เป็นพระยุคเดียวกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" สองวัดข้างต้น
พุทธลักษณะองค์พระ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ใต้ซุ้มใบโพธิ์เป็นเม็ดๆ ไม่สู้ประณีตนัก พบทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ด้านบนส่วนใหญ่เป็นรอยจีบแหลมขึ้นไป จะมีลักษณะกลมมนบ้างแต่มีน้อย ครูบาอาจารย์ เคยท่องให้ฟังถึงสรรพคุณว่า "หน้าใหญ่ ไหล่ยก อกต่ำ ผิวดำสนิท กันเขี้ยวขออสรพิษ ต้องคลองตะเคียน" เป็นการพิจารณาพระได้ส่วนหนึ่งก็คือ พระพักตร์จะกลมใหญ่, หัวไหล่ข้างขวาจะยกสูงกว่าหัวไหล่ข้างซ้าย แต่จะมีบ้างที่หัวไหล่บางองค์ไม่ยกขึ้น หากแต่ราบเรียบเท่ากันทั้งสองข้าง จะเรียก "พิมพ์ไหล่ลู่", ส่วนคำว่า "อกต่ำ" นั้น แบ่งเป็น 2 กระแสคือ อกไม่ชิดกับลำพระศอ ทำให้มองดูอกอยู่ต่ำกว่าพระชนิดอื่น
แต่บางคนเรียก "อกตั้ง" เพราะหน้าอก จะนูนใหญ่ตั้งขึ้นมา และผิวดำสนิท คือองค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำสนิทและละเอียดทั้งองค์ ผิวขององค์พระเป็นมันขลับ สืบเนื่องจากดินและใบลานที่นำมาจัดสร้าง อีกทั้งมีผู้สันนิษฐานว่าอาจนำไม้ตะเคียนที่มีเนื้อละเอียดมาเป็นส่วนผสมด้วย หากถามว่าสีอื่นมีไหม? ต้องตอบว่ามีครับ เพราะเป็นพระผ่านการเผา มีสีน้ำตาลปนอยู่บ้าง บางที พบเป็นสีเนื้อผ่าน (คือมีทั้งสองสีในองค์เดียวกัน) แบบนี้ปลอมยาก
พระกริ่งคลองตะเคียน พิมพ์นิยม จะมีอยู่ 2 พิมพ์คือ พิมพ์หน้าใหญ่ กับ พิมพ์หน้าเล็ก แล้วยังมีพิมพ์เศียรแหลม กับ พิมพ์เศียรมน และพิมพ์ปิดตา ซึ่งพบน้อยมาก นำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในหลายยุคหลายสมัย
พระกริ่งคลองตะเคียน ยังเป็นพระที่ลือลั่นในเรื่องพุทธคุณ สมัยก่อนนิยมอาราธนาอมไว้ในปากเวลาสู้รบ เขาว่า "เหนียวจริงๆ" และน่าแปลกที่ยิ่งอาราธนาใช้หรือโดนเหงื่อไคลยิ่งมันขึ้นดำเป็นประกายแวววาวทีเดียว
ส่วนการสันนิษฐานว่าเป็นเกจิอาจารย์ขมังเวทย์สร้างขึ้น ไม่ใช่เป็นพระกรุนั้น เนื่องจากจะพบรอยจารอักขระจารเป็นพระคาถาด้วยเหล็กจาร ให้สังเกตดูรอยกดของเหล็กจารจะต้องเก่าลึกและเป็นลายมือเดียวกัน พบว่าลากยาวไม่ปรากฏลอยขาดของเส้น ดูเผินๆ คล้ายเป็นตัวเลขไทยสมัยโบราณ ในพระกริ่งคลองตะเคียน มักจะพบตัวเลข "๓ และ ๔" อยู่เสมอ มีผู้สันนิษฐานว่า เป็นตัวย่อของคาถา "๓" คือ มะ อะ อุ ส่วนเลข "๔" คือ นะ มะ พะ ธะ พระคาถาหัวใจพระพุทธเจ้า อันนับเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่ง
พระกริ่งคลองตะเคียน ได้รับความนิยมจากเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์สร้างสืบต่อกันเรื่อยมา ขนาดและรูปแบบบางครั้งก็แตกต่างกันไป "ของแท้รุ่นแรก" ราคาจับไม่ลงเลยครับ
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2559 09:45:18 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #4 เมื่อ:
06 พฤศจิกายน 2558 19:02:11 »
.
เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของสุพรรณฯ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ที่ประชาชนและชาวสุพรรณฯ เคารพและศรัทธามาก มีประชาชนมาสักการะเป็นจำนวนมากประจำทุกวัน
วัดป่าเลไลยก์และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต ผู้ใดเป็นผู้สร้างไว้แต่แรกเริ่มนั้นไม่มีประวัติบันทึกไว้ในเชิงประวัติ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงสันนิษฐานไว้อย่างน่าฟังว่า "เดิมน่าจะเป็นวัดพุทธาวาสไม่มีพระสงฆ์ประจำ คงมีแต่พระพุทธรูปประจำอยู่ในคฤหะอย่างมณฑป มีหลังคาคลุมเฉพาะองค์พระนับเป็นมหาเจดีย์สถานสำคัญเป็นสักการบูชาของพุทธบริษัท เช่นเดียวกับเจดีย์ทั้งหลายในสมัยโบราณ พระพุทธรูปเดิมที่ประดิษฐานไว้ในคฤหะ นี้ เป็นปางปฐมเทศนา มีฝาผนังล้อมองค์พระพุทธรูป 3 ด้าน ต่อมาภายหลังได้ก่อสร้างขึ้นด้วยอิฐปูนให้โตใหญ่กว่าองค์เดิม ครั้นพระกรเบื้องขวา ที่ยกแสดงปางปฐมเทศนา ชำรุดหักพัง นายช่างผู้บูรณะเลือนความจำได้แปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ ประทับนั่งห้อยพระบาท ต่อมามีพุทธบริษัทไปนมัสการมากยิ่งขึ้นจึงมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา เป็นวัดสังฆารามในบริเวณวัดป่าฯ นี้ เดิมไม่มีอุโบสถ พัทธสีมา"
สรุปตามคำสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า หลวงพ่อวัดป่าฯ เดิมเป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ละม้ายเหมือนองค์หลังพระปฐมเจดีย์ และอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดยุคสมัย เช่น สมัยขุนหลวงพ่องั่วครองเมืองสุพรรณ สมัยอยุธยา พระยาสีหราชเดโชไชยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารวัดป่าฯ สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งทรงผนวชเสด็จธุดงค์ประพาสจังหวัดสุพรรณบุรี ทรงพบพระป่าเลไลยก์รกร้างไม่มีพระสงฆ์ปกครอง นมัสการหลวงพ่อโตทรงเลื่อมใสมาก ได้อธิษฐานไว้ว่า ถ้าได้ขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ สร้างหลังคาและฝาโดยรอบถวาย ที่หน้าบันยังมีตรามงกุฎประทับอยู่ สมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปนมัสการหลวงพ่อโตและทรงแจกเหรียญเสมาที่หน้าวิหารใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสจังหวัดสุพรรณฯ ได้ทรงนมัสการหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นผลให้วัดป่าฯ เจริญขึ้นอีก โดยได้โปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดป่าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462
ในปีพ.ศ.2462 นี้เองวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงยกฐานะวัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ในการนี้ได้จัดให้ มีพิธีเฉลิมฉลองหลวงพ่อโตเป็นการมโหฬารและได้ออกเหรียญรูปหลวงพ่อโต โดยหลวงพ่อสอนอดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ครองวัดป่าเลไลยก์เป็นผู้ปลุกเสกเหรียญนี้ หลวงพ่อสอนเป็นพระสงฆ์ที่ชาวจังหวัดสุพรรณฯ เคารพนับถือมากรูปหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี
ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกมาให้ชมกัน ด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์
พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า
ช่วงหลังๆ นี่มีข่าวคราวเรื่อง "พระขุนแผนแสนสนิท" ออกมาบ่อยๆ
วันนี้เลยขอนำเสนอพระขุนแผนกรุหนึ่งที่เรียกกันในวงการว่า "กรุหลังโรงเหล้า" หรือบางทีก็เรียก "กรุโรงเหล้า" ซึ่งชื่อกรุก็ดูแปลกๆ แล้ว เขามีแต่กรุวัดนั้น วัดนี้ นี่เป็นกรุโรงเหล้า
นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาและพิมพ์ทรงเดียวกันกับ "พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา" และมีทั้งพิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก เช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันตรงที่เป็นพระที่ยังไม่ได้เคลือบด้วยน้ำยาเท่านั้น พระพิมพ์นี้ยังไปตรงกับ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี" อีกด้วย แต่แตกต่างกันตรงเนื้อหาที่สร้างด้วยดินขาว ดินเหลือง และดินดำ เป็นหลัก เมื่อเผาแล้วองค์พระจะออกเป็นสีขาวแบบเนื้อกระเบื้อง ทำให้เนื้อพระมีความแกร่งมากกว่า
นับเนื่องไปเมื่อปี พ.ศ.2485 โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมือง ด้านหน้าติดถนนอู่ทอง ฝั่งตรงข้ามเป็นโรงงานสุราพระนครศรีอยุธยา ซึ่งหันหน้าไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา หันหลังให้โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี (อันเป็นที่มาของการเรียกชื่อกรุ) ได้ขยายและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่ม โดยมีผู้ควบคุมการตกแต่งสถานที่ ชื่อ ท่านอาจารย์หลุย ชมชื่น มีคนงานทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยอิสลาม โดยส่วนใหญ่เกลี่ยดินได้วันละ 50 สตางค์
ในสมัยนั้นปรากฏว่าคนงานขุดแต่งโคกโบสถ์ร้างแห่งหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยซากอิฐซากปูน ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดสิงห์หลาย" หรือ "วัดสิงห์ทลาย" ลึกลงไปประมาณหนึ่งเมตร คนงานพบพระเนื้อผงสีขาวและสีขาวปนชมพู กระจัดกระจายเกลื่อนเป็นร้อยๆ องค์ และพบหุ่นสิงโตทองคำปะปนอยู่ด้วยตัวหนึ่ง เนื่องจากองค์พระมีพุทธลักษณะเหมือน "พระขุนแผน" ที่ขึ้นอยู่ก่อนหน้านี้ จึงเรียกพระที่พบว่า "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า" หรือ "พระขุนแผน กรุโรงเหล้า" เมื่อนำพระมารวมกันมีทั้งสมบูรณ์และชำรุดจำนวนเกือบพันองค์ ก็เช่าซื้อกันองค์ละไม่เกินสิบบาท
ต่อมาได้มีการสร้างและขยายโรงงานต่างๆ เพิ่มเติมในแถบ ต.หัวแหลม บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดสามจีน" เพราะเดิมเป็นเขตวัดพระจีน แต่ต่อมาก็กลายเป็นวัดร้าง ซึ่งก็ยังติดต่อกับเขตโรงเรียนฝึกหัดครูฯ และทางเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยาได้จัดสร้างเป็นโรงเก็บน้ำประปา ในขณะก่อสร้างใช้รถไถปรับพื้นดิน ปรากฏพระขุนแผนเนื้อผงพิมพ์เดียวกันกับวัดสิงห์ทลาย บางองค์ก็เป็นเนื้อกระเบื้องเคลือบคล้ายของวัดใหญ่ชัยมงคล
พุทธลักษณะของ "พระขุนแผน กรุโรงหลังเหล้า (กรุโรงเหล้า)" และที่พบบริเวณวัดสามจีน จะคล้ายคลึงกับพระที่เรียกว่า "ขุนแผน" ซึ่งขึ้นอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว อันแสดงออกถึงศิลปะสมัยอยุธยา แต่ไม่เคลือบเช่นเดียวกับพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง และไม่พบพระเคลือบเหมือนกรุวัดใหญ่ชัยมงคล โดยสามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์อกใหญ่" เนื้อขาวใบลาน และ "พิมพ์อกเล็ก" หรือ "พิมพ์แขนอ่อน" เนื้อขาวปนชมพู โดยพิมพ์อกใหญ่จะมีความแข็งแกร่งมากกว่าพิมพ์อกเล็ก
พระที่เรียกว่า "พระขุนแผน" นั้น เป็นที่ยอมรับกันทุกผู้ทุกนามในเรื่องพุทธคุณเข้มขลังที่ครบเครื่องครบครัน โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมสูงส่ง มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์ของพระขุนแผน ที่เรียกว่าเป็นการประชันกรุกันทีเดียว เรื่องมีอยู่ว่า ...
...ครั้งหนึ่ง มีเซียนพระ 3 คน แย่งกันจีบผู้หญิงคนเดียวกัน และแต่ละคนต่างก็จะมีของดีประจำตัวอยู่ โดย คนที่ 1 ห้อยพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล คนที่ 2 ห้อยพระขุนแผน กรุโรงเหล้า และคนที่ 3 ห้อยพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ผลปรากฏว่า คนที่ห้อยพระขุนแผน กรุโรงเหล้า สามารถชนะใจสาวเจ้าได้ ...
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจจะเป็นด้วยสาเหตุอื่นใดก็ตามแต่ เรื่องราวนี้ก็กลับกลายเป็นตำนานเล่าขานของพระขุนแผน 3 กรุที่มาประชันพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม ในแวดวงพระเครื่องเมืองกรุงเก่าสืบต่อมา
ขึ้นชื่อว่า "พระขุนแผน" แล้ว ไม่ว่ากรุไหน พิมพ์ไหน ก็เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวางเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว "พระขุนแผน กรุหลังโรงเหล้า (กรุโรงเหล้า)" ก็เช่นกัน แต่สนนราคาจะแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ที่สามารถแยกพิมพ์ออกว่าขึ้นจากกรุไหนก็จะได้เปรียบมากกว่าครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่
วันนี้ขออนุญาตพูดเรื่อง "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" ที่สร้างโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีเอกลักษณ์ง่ายๆ รู้กันทั่วไปคือ ไม่บรรจุกรุ เพราะท่านสร้างตามกำลังฤกษ์กำลังวัน แล้วแจกผู้คนที่มาตักบาตรไปเรื่อยๆ บางคนไปดักรอ อาจจะบุญน้อยหน่อยไม่เคยได้เจอท่าน อันนี้เองนำมาสู่การกดพิมพ์จากของจริงเพื่อทำเทียมไว้บูชา ไม่มีเจตนาจะซื้อขายแต่อย่างไร
ดังนั้น พระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงถูกทำเทียมเลียนแบบมานานแล้ว อายุก็ถึง พิมพ์ก็เหมือน ขาดแต่เนื้อหามวลสารเท่านั้น เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้จงหนัก
แล้วการดูพระนี่ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถบอกกล่าวกันได้ตายตัว ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยเฉพาะการได้เห็นและสัมผัสองค์พระแท้ๆ มาเป็นจำนวนมาก ไม่มีกฎเกณฑ์เป็นตำรา นอกเสียจากความเพียรพยายามที่จะศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังและเป็นเหตุเป็นผล
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ คือ
เนื้อมวลสาร
มวลสารที่ปรากฏบนพระสมเด็จวัดระฆังฯ แท้ทุกองค์ทั้งด้านหน้าด้านหลัง จะมีมากน้อยบ้างแล้วแต่ส่วนผสม ก็คือ เม็ดดำ เม็ดแดง จากผงพระซุ้มกอบด, มีก้อนสีขาวใส สีขาวขุ่น หรือสีเทาอ่อน แต่แข็งแกร่งฝังอยู่ในเนื้อพระที่เรียกว่า "แร่หิน" และมีผงขาวขุ่นก้อนเล็กๆ ที่เรียกว่า "ผงพุทธคุณ" และเม็ดสีขาวอมเหลือง เรียกว่า "เม็ดพระธาตุ" ซึ่งจะฝังอยู่ในรอยแยกของเนื้อพระ
บางทีเม็ดมวลสารเหล่านี้หลุดร่อนออกไป จะเกิดเป็นหลุมบ่อบนพื้นผิวพระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถือเป็นจุดพิจารณาความเก่าแก่ของพระได้เช่นกัน
เนื้องอก
เป็นจุดสำคัญที่สุดที่บ่งบอกความเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ ทุกองค์ที่เก่าถึงยุค ลักษณะเนื้องอกเป็นเม็ดเล็กๆ ผุดขึ้นจากเนื้อพระตามพื้นผิว เส้นซุ้มองค์พระ ฐานพระ ซึ่งจะมีน้อยบ้างมากบ้างทั้งด้านหน้าด้านหลัง เป็นเพราะมีส่วนผสมมวลสารเช่นเดียวกับ "พระวัดพลับ" ที่สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) สร้างเอาไว้ คือ "ผงธาตุสีวลี หรือผงวิเศษ" ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ได้นำมาคลุกผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ประกอบเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ เช่นกัน เมื่อผ่านกาลเวลายาวนานกว่าร้อยปี จะมีเนื้องอกผุดออกจากเนื้อพระเป็นเม็ดเล็กกลมใส สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล สีขาว ตามสีของเนื้อพระ
ทีนี้มาดูหลักการสำคัญที่บรรดา "เซียนใหญ่" เขามักใช้ในการตรวจสอบพระสมเด็จวัดระฆังฯ ในเบื้องต้น ซึ่งก็คือ
- ตรวจดูด้านข้าง...จะพบรอยลากของ "ตอก" เป็นขยักๆ
- ตรวจดูด้านหลัง...จะพบลักษณะสำคัญของพระสมเด็จวัดระฆังฯ คือ หลังกาบหมาก หลังกระดาน หลังสังขยา และหลังเป็นแผ่นเรียบ โดยเฉพาะ "ขอบริมทั้ง 4 ด้าน" จะพบรอยประเล็กๆ เรียกว่า "รอยปูไต่" อันเกิดจาก "การตัดตอก" จากด้านหลังมาด้านหน้า
- พระแท้...จะมีน้ำหนักถ่วงมือเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากน้ำมันตั้งอิ้ว
- ของเทียม น้ำหนักเบา "พระแท้ครึ่งองค์ หนักกว่าพระเก๊ 1 องค์"
- ให้ดูการหดตัวของเส้น ที่ประกอบบนองค์พระให้เป็น วิธีนี้ต้องใช้กล้องขยาย 10 เท่า ตรวจสอบเส้นต่างๆ ของแม่พิมพ์
สำหรับ "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่" ที่นำมาให้ชมองค์นี้ เป็นของ "คุณธนทัศน์ ทองเนียม" เป็นพระที่เป็นที่แน่ใจได้ว่าไม่ได้ลงกรุ และเอกลักษณ์เส้นสายก็ตรงตามแม่พิมพ์ที่เล่นกันมาแต่โบราณ
ที่สำคัญจะสังเกตเห็นว่า องค์พระเป็นคราบขาวทั่วทั้งองค์ คราบนี้ไม่ใช่คราบกรุ แต่เป็นคราบอันเกิดจากปูนขาวที่เป็นส่วนผสมหลักอย่างหนึ่งในองค์พระ หากถอดออกจากคอแล้วจะแห้ง หากใส่สัมผัสผิวและโดนเหงื่อแล้ว ก็จะเกิดเป็นรอยน้ำมันจับทั่วองค์
ดูจากลักษณะขององค์พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่องค์นี้ น่าจะเข้าในเกณฑ์ "พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ เอ" คือ เกศทะลุซุ้ม เนื้อเหลือง แกร่ง มีคราบฝ้าขาวปกคลุม
ขอขอบคุณท่านเจ้าของพระมา ณ ที่นี้ ที่กรุณาอนุเคราะห์ภาพมาให้ได้ทัศนากันครับผม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ รุ่นแรกปี พ.ศ.2460
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรของวัดนาโคก จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีประชาชนมากราบไหว้และปิดทอง หรือบนบานศาลกล่าวกันทุกวัน และในทุกๆ ปี จะมีการจัดงานประจำปี ซึ่งมีผู้คนทั่วสารทิศมาร่วมงานด้วยความเลื่อมใสศรัทธาน้ำมนต์ของวัดนี้ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้คนมาขอพรและขอน้ำมนต์กันทุกวัน
ประวัติของหลวงพ่อสัมฤทธิ์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ชาวบ้านแถบนาโคกมีอาชีพทำนาเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ และมีการนำเกลือไปแลกกับสินค้าอื่นๆ โดยการล่องเรือไปขายในจังหวัดต่างๆ ที่ขึ้นมาทางเหนือก็มี ต่อมาได้มีชายสองคนได้นำเกลือจากนาโคกขึ้นขายที่ทางเหนือและซื้อข้าวกลับมาขายที่นาโคก ตอนที่กำลังล่องเรือกลับ ระหว่างทางได้จอดเรือแวะพักที่พระนครศรีอยุธยา แล้วเดินเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืนมาหุงหาอาหาร เมื่อเดินลึกเข้าไปก็พบวัดร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งมีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่สององค์ขนาดไม่ใหญ่นัก องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย อีกองค์เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร ทรงเทริดสมัยอยุธยา
เมื่อเห็นดังนั้นทั้งสองคนจึงเข้าไปกราบพระพุทธรูปทั้งสององค์ จากนั้นก็พากันหาฟืนต่อแล้วก็เดินกลับเรือ แต่เดินเท่าไรก็วนเวียนอยู่อย่างนั้นหาทางกลับไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในวัดร้างแห่งนั้น ทั้งสองคนจึงปรึกษากันว่าอาจจะเป็นเพราะพระพุทธรูปทั้งสององค์ก็เป็นได้ จึงเดินไปกราบที่พระพุทธรูปแล้วก็คิดว่าถ้าหากนำพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาด้วยอาจจะกลับเรือได้ หลังจากนั้นทั้งสองคนจึงได้ขอพรจากพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วต่างคนก็อุ้มพระพุทธรูปทั้งสององค์กลับมาที่เรือด้วย และได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์มาประดิษฐานที่วัดนาโคก โดยท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้นำพระพุทธรูปทั้งสององค์ไปประดิษฐานที่หอไตร จนเวลาผ่านไปหลายปี จนลืมไปว่ามีพระพุทธรูปสององค์อยู่ที่หอไตร
อยู่วันหนึ่งทางหมู่บ้านนาโคก ได้มีการแก้บนศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆ กับวัดนาโคก และมีการจัดมหรสพทั้งลิเก ละคร ซึ่งจัดใหญ่กว่าทุกครั้ง ทำให้สถานที่ไม่เพียงพอ เจ้าภาพจึงได้ไปขออนุญาตเข้าไปใช้พื้นที่จัดในวัดนาโคก ครั้นถึงเวลาการแสดงลิเกและละคร ได้เกิดปาฏิหาริย์คือพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ซึ่งประดิษฐานบนหอไตรได้เสด็จลงมาอยู่ข้างล่างโดยมิได้มีใครนำลงมา ต่างก็ตกตะลึงกัน และคณะลิเกและคณะละครต่างก็เกิดอาการจุกเสียดจนไม่สามารถแสดงได้ คนเฒ่าคนแก่ที่เห็นเหตุการณ์ต่างก็คิดได้ว่าพระพุทธรูปที่เสด็จลงมาคงเป็นเพราะปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูป จึงได้บอกให้นำธูปเทียนมาบูชากล่าวขอขมาลาโทษเสีย จากนั้นคณะลิเกและละครต่างก็หายจุกเสียดเป็นอัศจรรย์
หลังจากวันนั้นชาวบ้านนาโคกและใกล้เคียงต่างก็มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปองค์นี้ บ้างก็มาขอพร บ้างก็มาบนบานศาลกล่าว และต่างก็สมประสงค์ทุกรายไป เป็นที่โจษจันกันต่อมาในความศักดิ์สิทธิ์ และชาวบ้านก็ขนานนามท่านว่า "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" เนื่องจากว่าพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์และเมื่อมาขอพรแล้วจะสัมฤทธิผลทุกประการครับ
ในปี พ.ศ.2460 ได้มีการจำลองรูปพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ขึ้น ด้วยการทำเป็นแบบเหรียญหล่อ ปัจจุบันหาชมได้ยากพอสมควร ชาวบ้านในแถบนั้นหากมีก็จะหวงแหนกันมากครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหล่อหลวงพ่อสัมฤทธิ์รุ่นแรกปี พ.ศ.2460 มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ....แทน ท่าพระจันทร์
พระพิมพ์ขุดสระใหญ่ พระขุดสระเล็ก และพระพุทธชินราช
ของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ และพระเครื่องของท่านล้วนแต่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น เช่น พระผงขุดสระใหญ่และเล็ก เหรียญพระกริ่งพุทธชินราช รูปหล่อ พระผงสมเด็จฯ เป็นต้น
หลวงปู่เผือกเกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2412 ที่บ้านคลองสำโรง ต.บางพลี โยมบิดาชื่อทองสุข โยมมารดาชื่อไข่ พออายุได้ 13 ปี บิดามารดาพาไปฝากกับพระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้ว เพื่อศึกษาเล่าเรียน พออายุได้ 21 ปีก็ได้อุปสมบทที่วัดกิ่งแก้ว โดยมีพระอาจารย์ทอง อุทยญาโณ วัดราชโยธา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่ม วัดกิ่งแก้วเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญฺญธโร" เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และปฏิบัติโดยเคร่งครัด เมื่อพระอาจารย์อิ่มมรณภาพ หลวงปู่เผือกก็ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์และชาวบ้านให้เป็นผู้ดูแลวัดแทนพระอาจารย์อิ่ม
ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2442 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ปีพ.ศ.2443 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลราชาเทวะ พ.ศ.2446 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (จ้อย) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ วัดกลางวรวิหาร และในปีนี้เองท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูกรุณาวิหารี ปีพ.ศ.2487 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการสงฆ์องค์การสาธารณูปการ ใน อ.บาง พลี ปีพ.ศ.2496 หลวงปู่เริ่มอาพาธ และหลวงปู่เผือกก็ได้มรณภาพ ในปีพ.ศ.2501 สิริอายุได้ 89 ปี พรรษาที่ 69
หลวงปู่เผือกเป็นศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา และก็เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ พิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ๆ หลวงปู่เผือกจะได้รับการนิมนต์ด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะที่วัดสุทัศนเทพวรารามก็ได้รับนิมนต์ทุกครั้ง หลวงปู่เผือกได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่างเช่น พระผงรุ่นขุดสระ ซึ่งในครั้งนั้นหลวงปู่ได้บูรณะวัดกิ่งแก้ว โดยถมที่ให้สูงขึ้นเนื่องจากพื้นที่วัดเป็นที่ลุ่ม หน้าน้ำน้ำจะท่วมทุกปี หลวงปู่จึงได้ขอแรงชาวบ้านให้มาขุดดินภายในวัดมาถมที่ให้สูงขึ้นเพื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ บริเวณที่ขุดดินมาถมจึงกลายเป็นสระน้ำสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหน้าแล้ง และหลวงปู่ก็ได้ทำพระเครื่องเนื้อผงแจกให้แก่ผู้ที่มาร่วมขุดดินและช่วยสร้างโบสถ์
พระรุ่นนี้จึงเรียกกันว่า พระรุ่นขุดสระ พระรุ่นนี้มีสองแบบคือ แบบองค์ใหญ่ก็เรียกว่าพระขุดสระใหญ่ แบบพิมพ์เล็กเรียกว่าพระขุดสระเล็ก ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากหายากและราคาสูง พระเนื้อผงของหลวงปู่ก็ยังมีพิมพ์อื่นๆ ที่สร้างในคราวต่อมาอีกหลายพิมพ์ นอกจากนี้ก็ยังมีพระพุทธชินราชหล่อด้วยโลหะ โดยสร้างแบบพระพุทธชินราชของวัดสุทัศน์ แต่ตราอกเลานั้นจะทำไว้ที่ฐานด้านหน้า วัตถุมงคลของหลวงปู่ก็ยังมีอีกหลายอย่างเช่น เหรียญรูปหลวงปู่ รูปถ่ายตะกรุด ฯลฯ ล้วนเป็นที่นิยมเสาะหาทั้งสิ้นในปัจจุบัน
ในวันนี้ผมได้นำพระพิมพ์ขุดสระใหญ่ พระขุดสระเล็ก และพระพุทธชินราชของหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้วมาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตามหาลาภ เนื้อทองคำ
พระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อชุบ
วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
"พระปิดตา" เป็นชื่อเรียกขานพระเครื่องอีกประเภทหนึ่ง ที่มีพุทธศิลปะแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแสดงถึงนัยทางธรรมะ และกลายเป็นความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างสูง ในแวดวงพระเครื่อง และพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะที่จัดสร้างโดยอดีตพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ
พุทธลักษณะโดยทั่วไปของ "พระปิดตา" องค์พระจะค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักก็จะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง ซึ่งในวงการเรียก "โยงก้น"
คติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวาร ที่มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ยนั้น ได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ "พระมหาสังกัจจายนะ" หรือ "พระภควัมบดี" หนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระจากรูปร่างและผิวกายงดงาม ให้กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญ ด้วยผลแห่งกุศลในอดีตชาติ
ประเทศไทยเราได้มีการสร้าง "พระปิดตา" มาตั้งแต่ในช่วงอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ และเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา
พระปิดตามหาลาภ เนื้อเงิน
พระปิดตามหาลาภ เนื้อนวะโลหะ
มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่วจวบจนปัจจุบัน ที่โดดเด่นมี อาทิ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี, พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม), พระปิดตาวัดหนัง, พระปิดตาวัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่ศุข, พระปิดตาแร่บางไผ่วัดโมลี และพระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม เป็นต้น ซึ่งสนนราคาเช่าหา ณ ปัจจุบัน ค่อนข้างสูง และหาได้ยากยิ่ง
สำหรับปีนี้มีพระปิดตารุ่นหนึ่งที่สร้างโดยพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมเป็นที่เคารพศรัทธามาแนะนำ นั่นคือพระปิดตามหาลาภ หลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี หนึ่งในวัตถุมงคล "รุ่นเมตตา" เพื่อหารายได้จัดสร้างศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ของวัด
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ
หลวงพ่อชุบ ปัญญาวุโธ หรือพระครูอดุลพิริยานุวัตร เจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ เป็นศิษย์สายหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า และสายหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สองพระเกจิชื่อดังของไทย
เกิดที่ จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2469 หลังจากอุปสมบทก็ออกธุดงควัตรเพื่อปลีกวิเวกและแสวงหาความรู้จนมาถึง จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่มาของการสร้างและพัฒนาพื้นที่จนกลายเป็น "วัดวังกระแจะ" อย่างสมบูรณ์ ด้วยบารมีของหลวงพ่อและการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านและบรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพศรัทธาในตัวท่าน
ปี พ.ศ.2519 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในพระราชทินนาม พระครูอดุลพิริยานุวัตร ปัจจุบันท่านมีสิริอายุ 89 ปี ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดวังกระแจะ และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอไทรโยค
สำหรับพระปิดตามหาลาภนั้น เป็นหนึ่งในชุดวัตถุมงคล รุ่นเมตตา อันประกอบด้วย เหรียญเมตตา, พระปิดตามหาลาภ และพระปรกใบมะขาม โดยจัดสร้างเป็นหลายเนื้อ และได้ประกอบพิธีบวงสรวงเททองนำฤกษ์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 26 กันยายน
สำหรับพิธีมหาพุทธาภิเษกจะจัดปลายปีนี้ ในวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม ณ มณฑลพิธีวัดวังกระแจะ โดยมีหลวงพ่อชุบ เป็นประธานจัดสร้างฝ่ายสงฆ์, นายวันชัย โอสุคนธ์ทิพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานอุปถัมภ์ และนายธนน เวชกรกานนท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานจัดสร้างฝ่ายฆราวาส
ราม วัชรประดิษฐ์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2558 19:04:38 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #5 เมื่อ:
09 พฤศจิกายน 2558 20:13:00 »
หลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้
สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเกจิอาจารย์ของจังหวัดนนทบุรี ที่ชาวเมืองนนท์เคารพนับถือมากรูปหนึ่งก็คือหลวงปู่ช่วง วัดบางแพรกใต้ และเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นหายากมากในปัจจุบัน สนนราคาเหรียญสวยๆ ก็สูงมากเช่นกัน
หลวงปู่ช่วงเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2404 ที่บ้านในคลองบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โยมบิดาชื่อ สิงห์โต โยมมารดาชื่อ เฟี้ยม นามสกุล เพ็งแจ่ม เมื่ออายุได้ 9 ขวบ บิดามารดานำไปฝากเรียนหนังสือกับพระที่วัดขวิด (วัดแสงสิริธรรม) ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ในละแวกบ้านของท่าน ต่อมาเมื่ออายุได้ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเขมาภิรตาราม โดยมีพระครูเขมาภิมุขธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ พออายุได้ 19 ปี ก็ลาสิกขามาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ
พอปี พ.ศ.2424 จึงได้อุปสมบทที่วัดบางแพรกใต้ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของโยมบิดา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2424 โดยมีพระอธิการทับ วัดนครอินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการศรี วัดบางแพรกใต้ เป็นพระกรรม วาจาจารย์ พระอาจารย์เสือ วัดนครอินทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทโชโต" เมื่อได้อุปสมบทแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดบางแพรกใต้ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดของท่านทั้ง 3 องค์ อีกทั้งทางด้านพุทธาคมต่างๆ ซึ่งทั้งสามองค์นี้ก็มีชื่อเสียงโด่งดังในขณะนั้น
นอกจากนี้ยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เรื่องวิชาโสฬสมงคลและไตรสรณาคมน์ เรียนวิชาทำผ้าประเจียดและธงแดงจาก พระธรรมานุสรี (สว่าง) วัดเทียนถวาย เรียนวิชาทำผงวิเศษห้าประการจากพระครูนิโรธมุนี วัดตำหนักเหนือ เรียนทางคงกระพันชาตรีกับหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน
ในปี พ.ศ.2435 พระอาจารย์ศรี เจ้าอาวาสวัดบางแพรกใต้มรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อแทน ต่อมาในปี พ.ศ.2450 หลวงปู่ช่วงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พอปี พ.ศ.2453 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลสวนใหญ่ เป็นพระสงฆ์ที่มีศีลจารวัตรงดงาม เคร่งครัดในระเบียบวินัย และมีเมตตาธรรมสูง หลวงปู่ช่วงจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย หลวงปู่ช่วงได้สร้างถาวรวัตถุไว้มากมาย เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ กุฏิ หอระฆัง เป็นต้น ทั้งเอาใจใส่บูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา จึงทำให้วัดบางแพรกใต้คืนสภาพจากความเสื่อมโทรมจนเจริญขึ้นเท่าที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
ท่านเป็นพระอุปัชฌายะ บวชคนมาตั้งแต่บิดาจนถึงบุตรหลาน เหลน นับอยู่ในเกณฑ์ยาวถึง 3-4 ชั้น แม้ในยามที่ชราภาพ ท่านก็สงเคราะห์คนอื่นตลอดมา ใครไปหาไม่มีผิดหวังต้องการอะไรให้ทันที
ในเทศกาลออกพรรษาจะมีลูกศิษย์มาให้ช่วยลงกระหม่อมมาก ท่านจะใช้ดินสอพองที่ได้ทำไว้มาลงให้ เรื่องวัตถุมงคลของท่านก็มีผ้าประเจียด เสื้อยันต์ ตะกรุดพิสมร ซึ่งผู้ที่อยากจะได้นำวัสดุมาขอให้ท่านทำให้ ปัจจุบันหาดูได้ยากมากครับ ท่านเคยสร้างพระเครื่องเนื้อดินสอพองผสมผงวิเศษและใบแคอัดพิมพ์ ในคราวสงครามเอเชียบูรพา ปัจจุบันก็หาชมยากเช่นกัน
ในปี พ.ศ.2488 ลูกศิษย์ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นเป็นรุ่นแรกในการทำบุญฉลองอายุครบ 85 ปี ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก สนนราคาสูงและหายาก ในปี พ.ศ.2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูนนทวุฒาจารย์ ในปี พ.ศ.2496 วัดลานนาบุญได้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงปู่ช่วง ออกเป็นที่ระลึกในการจำลองพระคันธารราฐ ปี พ.ศ.2497 วัดบางแพรกเหนือ ได้มีการยกเครื่องบนก่อสร้างพระอุโบสถ
ในการนี้คณะกรรมการวัดผู้ดำเนินการได้ขออนุญาตหลวงปู่ขอสร้างเหรียญรูปท่านมาอีกรุ่นหนึ่ง เป็นรูปอาร์มเหมือนเหรียญรุ่นแรก แต่ย่อขนาดลง เหรียญรุ่นสุดท้ายเป็นแบบรูปสามเหลี่ยมสองหน้า ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธโสธร ด้านหนึ่งเป็นรูปหลวงปู่ช่วง สร้างในปี พ.ศ.2497 แต่ทว่ายังไม่ได้ออกมาแจก จนกระทั่งมรณภาพในปีต่อมาจึงนำมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน หลวงปู่มรณภาพในปี พ.ศ.2498 สิริอายุได้ 94 ปี พรรษาที่ 74
ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญของ หลวงปู่ช่วง รุ่นแรก ปี พ.ศ.2488 มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถ
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ที่ ต.สามไถ อ.นครหลวง ก็มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าองค์หนึ่งที่อยากจะพูดถึงในวันนี้ ท่านก็คือหลวงปู่รอด วัดสามไถ ซึ่งชาวบ้านในแถบนั้นเคารพนับถือท่านมาก และท่านก็ได้สร้างเหรียญหล่อไว้ ปัจจุบันหาได้ยากมากพอสมควรครับ
ประวัติของหลวงปู่รอดนั้นไม่ได้มีการบันทึกไว้แต่แรก ประวัติบางตอนจึงค่อนข้างจะหายากสักหน่อย หลวงปู่รอดท่านเป็นคนที่มีเชื้อสายลาว เกิดที่บ้านสามไถ พระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.2384 โยมบิดาสืบค้นไม่ทราบชื่อ ทราบแต่ชื่อโยมมารดา ชื่อแม่เฒ่ากา เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบโยมบิดาได้นำท่านไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ ต่อมาจนอายุได้ 11 ขวบจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร หลวงปู่รอดท่านเป็นคนชอบหาความสงบวิเวก บำเพ็ญวิปัสสนาตั้งแต่ยังเป็นสามเณร หลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับพระอาจารย์แดงได้ 4 พรรษา ท่านจึงได้กราบลาพระอธิการแดงไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อที่ทางภาคอีสาน
เมื่ออายุครบบวชท่านจึงอุปสมบท แต่ประวัติตอนนี้ขาดช่วงไปจึงไม่ทราบว่าท่านอุปสมบทที่วัดใดและมีท่านใดเป็นพระอุปัชฌาย์ ทราบแต่เพียงว่าต่อมาท่านได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพฯ และได้พบกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ซึ่งเป็นพระภิกษุรุ่นน้อง ต่อมาในปี พ.ศ.2427 เมื่อพระอธิการแดง เจ้าอาวาสวัดสามไถ มรณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งให้หลวงปู่รอดมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามไถสืบแทน และในปี พ.ศ.2429 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์
หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก และท่านก็ได้เข้มงวดกวดขันพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในการปกครองของท่าน ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด การปลงอาบัติของพระภิกษุภายในวัดต้องมาปลงอาบัติกับท่านทุกๆ เช้า ห้ามปลงอาบัติกับเพื่อนพระภิกษุด้วยกัน การเคร่งครัดของท่านทำให้ญาติโยมต่างก็เคารพนับถือท่านมาก และต่างก็พาบุตรหลานมาบวชกับท่านเป็นจำนวนมาก เพื่อจะได้มีพระอุปัชฌาย์ที่ดีจะได้อบรมบ่มนิสัยให้อยู่ในศีลในธรรมและจะได้เป็นคนดีต่อไป หลวงปู่รอดท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในเรื่องนี้ และในด้านขมังเวท ขนาดพระญาณไตรโลกนาถ (ฉาย) เจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเคารพนับถือท่านมากและเดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่รอดเป็นประจำทุกปีตลอดมา
ในปีพ.ศ.2467 หลวงปู่รอดท่านได้จัดงานยกช่อฟ้าพระอุโบสถ คณะศิษย์จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างเหรียญหล่อรูปเหมือนท่านขึ้น โดยมีคณะกรรมการ 12 คน โดยทำพิธีหล่อที่วัด หลวงปู่รอดท่านจะจารแผ่นโลหะให้ เมื่อช่างนำมาหลอมปรากฏว่าแผ่นโลหะไม่หลอมละลาย คณะกรรมการจึงกราบเรียนท่านว่าแผ่นโลหะไม่ยอมละลาย หลวงปู่จึงบอกว่าหลอมละลายแล้ว เมื่อคณะกรรมการกลับมาดูปรากฏว่าแผ่นโลหะได้ละลายแล้ว พระทั้งหมดหลวงปู่ได้นำมาปลุกเสกเดี่ยวตลอดทั้งคืนที่ในพระอุโบสถ หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2480 สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 75
เหรียญหล่อของหลวงปู่รอด วัดสามไถนี้ปัจจุบันหาของแท้ๆ ได้ยากครับ พุทธคุณนั้นเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดครับ ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเหรียญของท่านมาให้ชมกันตามเคยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกริ่งมหาเมตตาบารมี
"พระราชภัทรญาณ" (วิ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม จัดสร้าง "พระกริ่งมหาเมตตาบารมี" สืบสานตำรับพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีประวัติการสร้างพระกริ่งมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่พ.ศ.2441
ตำราการสร้างพระกริ่ง เดิมเป็นตำราของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว กรุงศรีอยุธยา และสืบทอดมาอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ และที่พระมงคลทิพย์มุนี (มา) วัดจักรวรรดิราชาวาส ก่อนที่จะมาตกอยู่ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งยังทรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี
สำหรับคำว่า กริ่ง มาจากคำถามที่ว่า กึ กุสโล (กิง กุสะโล) เป็นชื่อของ อเนญชา คือ นิพพุติ แปลว่า ดับสนิท ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน
การจัดสร้างพระมหาเมตตาบารมีในครั้งนี้ มีลักษณะรูปแบบองค์พระกริ่ง มีพระพุทธลักษณะประทับนั่งบนกลีบบัวคว่ำบัวหงาย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวัชระ มีขนาดใหญ่ พระพักตร์อิ่มเอิบสวยงาม
กราบขอหลวงปู่ฮก รตินธโร วัดราษฎร์เรืองสุข (มาบลำบิด) ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ 3 วาระ วาระแรก เมื่อวันที่ 9 ส.ค.2558 ที่กุฏิหลวงปู่ฮก หลังเสร็จพิธีได้นำเข้าโบสถ์หลังเก่าของวัดราษฎร์เรืองสุข
วาระที่สอง วันที่ 23 ส.ค.2558 ที่โบสถ์หลังเก่าของวัดราษฎร์เรืองสุข พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นพระสูตรที่แสดงเนื้อหาถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ทั้ง 4
วาระที่สาม เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2558 ในศาลาการเปรียญอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ "พระพุทธเสฏฐมุนี" พระประธานในศาลาการเปรียญ และยังเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหล่อยืนและนั่ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) อดีตพระสังฆราชและอดีตเจ้าอาวาส พระอุปคุต และพระสุนทรีวาณี ที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีนายชาย ศรีสงวนสกุล ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส, หลวงปู่ฮก เป็นประธานจุดเทียนชัยและนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยว
พระราชภัทรญาณ (วิ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นประธานดับเทียนชัย
จำนวนการจัดสร้าง 1.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อทองคำ 19 องค์ 2.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นทองคำ 9 องค์ 3.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นเงิน 59 องค์ 4.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อนวะก้นทองแดง 99 องค์ 5.พระกริ่งมหาเมตตาบารมี เนื้อชนวนก้นทองฝาบาตร 999 องค์
นอกจากนี้ ยังมีพระขุนแผนมหาเมตตาบารมีและพระปิดตามหาเมตตาบารมีอีกจำนวนหนึ่ง สมนาคุณแก่ผู้สั่งจองพระกริ่งรุ่นนี้
พระยอดขุนพลกรุวิหารพระ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุกันบ้าง สลับกันไปนะครับ พระเครื่องที่มีชื่อว่า พระยอดขุนพล มีการพบอยู่หลายกรุ หลายจังหวัด แต่พระทุกกรุก็จะมีชื่อกรุต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าเป็นพระกรุไหน พระยอดขุนพลเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ที่มีศิลปะและสีผิวสนิมสวยงามกรุหนึ่งก็คือ พระยอดขุนพล กรุวิหารพระ จังหวัดชัยนาท
ตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด บ้านหันพระ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เคยมีโคกดินอยู่กลางทุ่งนาอยู่โคกหนึ่ง เวลาช่วงน้ำหลาก น้ำจะท่วมเจิ่งไปหมดเหลือแต่โคกดินสูงอันเป็นที่ตั้งของซากวิหารเก่าที่หลงเหลือเพียงฐานเท่านั้น และมีการกล่าวขวัญกันว่า "ใครก็ตามมาอยู่อาศัยบนโคกนั้น มักเจ็บไข้ได้ป่วยกันเสมอ แม้วัวควายเพียงขึ้นไปสีที่จอมปลวกยังถึงกับชักดิ้นชักงอทีเดียว" ก็เป็นเรื่องเล่าของชาวบ้านในสมัยก่อน สถานที่แห่งนี้ในอดีตจึงเรียกกันว่า "วิหารพระ" กาลเวลาผ่านมาก็เรียกกันเพี้ยนและสั้นเข้าเป็น "หันพระ" ลำน้ำที่ติดกันก็มีชื่อเรียกว่า "ลำหันพระ" ไปด้วย
ร่องรอยของวิหารพระบนโคกดินในอดีตนั้น เนื้อที่ประมาณเกือบไร่ ฐานขอบก่อด้วยศิลาแลง ขนาดใหญ่ เคยมีคนเข้ามาแอบขุดหาพระกันหลายครั้งหลายคราว ได้พระไปบ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งพระที่พบก็มีพระพุทธรูปและพระเครื่องไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีการบันทึกว่าพบพระอะไรบ้าง จนกระทั่งมาถึงกลุ่มนายฉิ่ง นายแม้น จึงพบพระเครื่องในกระปุกสีน้ำตาลคล้ำ ขนาดไม่ใหญ่นัก ภายในก็พบพระเครื่องจำนวนที่สมบูรณ์สักร้อยกว่าองค์ ที่เหลืออีกเกือบครึ่งชำรุดหักพังเสียหาย พระที่พบมีพระร่วงยืนแบบลพบุรี แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นพระยอดขุนพล ซึ่งเป็นพระประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว พระทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พิจารณาจากศิลปะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระศิลปะแบบลพบุรีตอนปลาย หรือ แบบอู่ทองสุวรรณภูมิ (อู่ทอง 1) พระยอดขุนพลมีพระโมลี 3 ชั้น ส่วนยอดคล้ายดอกบัวตูม มีไรพระศก สังฆาฏิเป็นปื้นใหญ่ ปรากฏเส้นขอบสบง ประทับนั่งอยู่บนฐานบัว ผิวพระมีคราบไขขาวจับอยู่บนองค์พระทั่วไป เมื่อล้างคราบไขขาวออก จะพบผิวสนิมแดงเข้มจับหนาตลอดทั้งองค์พระสวยงาม
พระกรุนี้ต่อมาก็มีคนร่วมหุ้นกันซื้อเหมามาจนหมดและกระจายไปสู่นักสะสม ปัจจุบันไม่ได้พบเห็นกันอีกเลย ด้วยคำว่ายอดขุนพลจึงทำให้เป็นที่นิยม และด้วยสีผิวสนิมแดงนั้นสวยงาม อีกทั้งพิมพ์ของพระก็มีความลึกชัด และงดงามด้วยศิลปะอู่ทองสุวรรณภูมิ ผู้ที่ครอบครองไว้จึงไม่มีการเปลี่ยนมือเข้ามาในสนามพระอีกเลย
จากข่าวการพบพระในครั้งนั้น ก็มีคนแอบเข้าขุดหาพระกันต่อเนื่องมาตลอด จนทุกอย่างพังพินาศไปหมดไม่หลงเหลือหลักฐานของฐานวิหารอีกต่อไป ครั้งหลังสุดได้มีผู้ใช้แทรกเตอร์เข้าไปพลิกฟื้นผืนดินขอบฐานศิลาแลงก็แหลกลาญลง จนไม่หลงเหลือโคกวิหารอีกต่อไป กลายเป็นทุ่งนาไปหมดแล้วในปัจจุบัน
ครับในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลกรุวิหารพระ จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย โดยคุณพิศาล เตชะวิภาค (ต้อย เมืองนนท์) รองนายกสมาคม ผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #6 เมื่อ:
18 ธันวาคม 2558 19:09:22 »
.
ตำนานพระนางพญา จ.พิษณุโลก
"วัดนางพญา จ.พิษณุโลก" เป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ "วัดใหญ่" และ "วัดราชบูรณะ"
ที่เรียกว่า "วัดนางพญา" สันนิษฐานว่ามาจากชื่อของพระวิสุทธิกษัตรี ซึ่งเป็นอัครชายาของพระมหาธรรมราชา และพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ต่อมาวัดถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานอันเนื่องจากศึกสงคราม กระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ "พระนางพญา" วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง
ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือในปี ร.ศ.120 (พ.ศ.2444) ทรงมีพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า "....อนุสนธิรายงานวันที่ ๑๙ เวลาเช้า ๒ โมงเศษ ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่วัดมหาธาตุ แล้วเดินไปจนสุดถนน อันเป็นถนนเดิมปูด้วยอิฐลายสองตามถนนริมน้ำไปเข้าวัดนางพญา เดินไปริมคู ฤาสระรอบวัด...อนึ่ง ที่เล่าถึงเมื่อเวลาเช้านี้ขาดไปหน่อยหนึ่ง เมื่อเสร็จการจุดเทียนไชยแล้ว ไปดูวัดนางพญา ซึ่งอยู่ต่อจากวัดมหาธาตุติดกันทีเดียว วัดนี้มีแต่วิหารไม่มีอุโบสถ มีโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่ในนั้นโรงหนึ่ง พระสอน มีนักเรียนมาก ที่คับแคบไม่พอ..."
การพบพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก "ตรียัมปวาย" ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนในหนังสือ "ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 2 เรื่อง นางพญาและพระเครื่องสำคัญ" ว่า มีโอกาสได้พบ ผู้ใหญ่เลี่ยว ปาลิวณิช นักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเล่าว่า "กรุพระนางพญา" เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝัง จมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัด ตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอม คราหนึ่งมีผู้หญิงชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ นางถนอม มาขุดพบพระนางพญาที่บริเวณหน้ากุฏิได้พระเป็นจำนวนมาก ในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจ ดังนั้น พระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญา และบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆ อีกด้วย
ท่านตรียัมปวายยังได้บันทึกหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่า มีการพบพระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร จากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก พร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกัน จากคำจารึกบนแผ่นลานเงิน ลานทอง และลานนาก มีความว่า
"พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้ เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ ได้มีราษฎร ผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมาก และเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อย ตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกัน และเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจดีย์นี้ ..."
พระนางพญา วัดนางพญา เป็นพระเนื้อดินเผา รูปทรงสามเหลี่ยม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้ทราบว่าพระนางพญาเป็นการผสมผสานทางด้านศิลปะของสุโขทัยและอยุธยา มีการตัดขอบแม่พิมพ์ด้วยตอกชิดองค์พระ ส่วนด้านหลังจะมีรอยหดตัวด้วยอายุการสร้าง ซึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 500-600 ปี พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ (หัวเข่า) พระหัตถ์ซ้ายวางตรงหน้าพระเพลา (หน้าตัก) พระเกศเมาลีมีลักษณะคล้ายปลีกล้วย
แบ่งแยกแม่พิมพ์ได้ทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง, พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง, พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่, พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ, พระนางพญา พิมพ์เทวดา และ พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก
พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก นับเป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญ ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณ มีพุทธลักษณะงดงามสง่า กอปรกับพุทธาคมที่ปรากฏเป็นเลิศเป็นที่เล่าขาน ทำให้ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี"
สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยครับผม
พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น
พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ
ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระ นางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป
กล่าวถึง "พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น" นั้น เป็นหนึ่งพิมพ์ใน "พระนางกำแพง" ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองกำแพงเพชร คือ มีปีกกว้าง และจัดว่าเป็นพระกรุเก่าที่แตกกรุมาจากวัดพระบรมธาตุฝั่งทุ่งเศรษฐีแต่เพียงแห่งเดียว ทั้งยังพบการแตกกรุพร้อมกับ "พระกำแพงซุ้มกอ" เนื้อขององค์พระก็มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน และเกสรดอกไม้
สำหรับพระเนื้อชินไม่มีปรากฏให้เห็น อีกทั้งพุทธคุณก็เป็นเลิศครบครัน ทั้งด้านโภคทรัพย์ เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เช่นเดียวกับพระกรุเก่าเมืองกำแพงเพชรทั้งหลาย
พระกำแพงเม็ดมะลื่น มีขนาดพิมพ์ทรงประมาณ 2.5-3.5 ซ.ม. พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร แบบลอยองค์บนฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน พระเกศอยู่สองลักษณะ คือ พระเกศแบบตุ้ม ตามศิลปะเชียงแสน และพระเกศยาวแหลม แบบศิลปะสุโขทัย อันนับเป็นความชาญฉลาดของช่างยุคสุโขทัย-กำแพงเพชรโบราณ ที่มองเห็นคุณค่าของศิลปกรรมแต่ละยุคสมัย และมุ่งถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยการรังสรรค์ออกมาในรูปแบบของพุทธศิลปะในองค์พระ
- พระพักตร์ มีลักษณะคล้ายกับพระนางกำแพงเพชร แต่จะใหญ่และลึกกว่าเล็กน้อย
- พระเนตรพองโตทั้งสองข้าง แต่เป็นลักษณะใหญ่ข้างเล็กข้างไม่สม่ำเสมอ และเลือนรางมาก
- ในองค์ที่ชัดๆ จะปรากฏ พระขนง พระ นาสิก พระโอษฐ์ เพียงรางๆ เกือบลบเลือน
- พระกรรณ ทั้งสองข้างมีปรากฏเพียงรำไร ในส่วนบนข้างปลายพระเนตร มีลักษณะแบบหูติ่งเล็กๆ เท่านั้น ถ้าไม่พิจารณาให้ดีจะมองคล้ายว่าไม่มีพระกรรณ
- พระศอ มีปรากฏเป็นลักษณะลำนูนๆ และกลืนหายไปกับพิมพ์
- พระอังสาคมชัดเจน ด้านซ้ายและด้านขวาอยู่ในระดับเดียวกัน และมีลักษณะเป็นแนวยกขึ้นเล็กน้อย
- พระอุระ เป็นแบบอกตั้ง บางองค์ ดูอวบนูนเด่นชัดเจน บางองค์ก็ดูตื้นและ บอบบาง
- พระสังฆาฏิ จะปรากฏให้เห็นชัดเจนในองค์ที่พระอุระลึก แต่ในองค์ที่พระอุระตื้นจะไม่ค่อยมีปรากฏ
- พระพาหาเบื้องซ้ายทอดกางออกเล็กน้อยตรงพระกัปประ (ข้อศอก) แล้วหักมุมลงสู่พระหัตถ์ ซึ่งวางพาดอยู่บนพระเพลา (หน้าตัก) คล้ายพระนางกำแพงเพชร
- ลำพระองค์ มีทั้งแบบลึกและตื้น และเป็นทั้งศิลปะเชียงแสน และสุโขทัย
- พระอาสนะ เป็นแบบฐานเขียงหรือ ฐานหมอน
- บริเวณใต้พระชงฆ์ (แข้ง) ตรงกลาง เหนืออาสนะ มักจะมีเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์
- ปีก มีลักษณะใหญ่และกว้างมาก ในบางองค์จะมีขอบเป็นเส้นนูนที่สันของปีก บางองค์ก็ดูราบเรียบ ขอบปีกจะไม่มีความคม จะมีก็แต่ลักษณะของความกลมกลืนกลมมนเท่านั้น
- ด้านหลัง อูมนูนไม่มากก็น้อย และปรากฏรอยนิ้วมือให้เห็นในที
ด้วยพระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เป็นพระเครื่องที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน ที่มีความละเอียดนุ่มหนึกขององค์พระ และเมื่อผ่านกาลเวลาจะมี "รารัก หรือ ราดำ" ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วย เพราะรารักของแท้สีของรารักจะดำสนิท บางทีจึงเรียกว่า "ราดำ" และมีลักษณะตรงขอบเป็นหยักๆ ไม่เรียบเสมอ เหมือนแผลเป็นเวลาตกสะเก็ด
รารักจะมี 2 แบบ คือ พระที่ยังมีผิวอยู่ รารักจะไม่นูนสูง แบบที่สองคือ พระที่ไม่มีผิวเหลืออยู่แล้ว รารักจะนูนสูงกว่า
ถ้าเป็นของปลอมรารักจะเป็นสีดำกระด้างเพราะใช้หมึกดำมาหยดแล้วป้ายออกครับผม
มะเคล็ด-กลีบบัว-พิมพ์ตื้น
ตระกูลพระนางกำแพง จ.กำแพงเพชร ตามที่ได้กล่าวแล้วว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ
นอกจากนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย ฉบับที่แล้วได้พูดถึงพระนางกำแพงเม็ดมะลื่นกันไป ฉบับนี้มาดูอีก 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
เริ่มด้วย "พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด" หนึ่งในพระนางกำแพง ก็จะสังเกตได้จากลักษณะของเส้นขอบ บังคับพิมพ์เป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในตัว เพียงแต่ไม่มีการตัดขอบ จึงทำให้เหลือส่วนที่เป็นปีกทั้งข้างและด้านใต้ฐานพระลักษณะคล้าย "เม็ดมะเคล็ด" จึงนำมาเป็นชื่อของพิมพ์
พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด มีปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่ราคายังไม่สูงนัก แต่พุทธคุณก็ไม่แตกต่างกันเลย เนื้อหามวลสารก็เช่นกัน เป็นเนื้อดินที่ละเอียด แข็ง และแกร่ง ปรากฏคราบกรุสีขาวนวลจับแน่นทั่วองค์ องค์พระส่วนใหญ่จะเป็นสีดำเกือบทั้งหมดสีน้ำตาลมีน้อยหายาก
พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่งปางมารวิชัย สถิตอยู่ในเรือนแก้วรูปสามเหลี่ยมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งไม่เรือนแก้ว ทั้งสองแบบองค์พระสถิตบนพื้นฐานคล้ายรูปทรงของเม็ดมะเคล็ด ซึ่งโดยส่วนมากจะประณีต มีเพียงบางองค์ที่ทำเป็นปีกเหลือไว้บ้าง
- ลักษณะองค์พระด้านล่างจะป้อมอูมและนูน ส่วนด้านบนจะเรียวเล็ก และส่วนใหญ่จะกดพิมพ์มาตื้นแทบทุกองค์
- พระเศียรใหญ่ คล้ายทรงเทริด แต่ด้วยการกดพิมพ์ตื้นทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน
- พระเกศเรียว ช่วงปลายบานออกแบบทรงกรวย
- ภายนอกซุ้มเรือนแก้ว มีเนื้อเกินเป็นปีกกว้างออก แล้วโอบล้อมกลืนไปกับด้านหลังเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมดุล
- ด้านหลังองค์พระบางองค์จะพอเห็นลายนิ้วมือ แต่มักจะเลือนรางมาก
พระนางกำแพงพิมพ์ต่อมา คือ "พระนางกำแพงกลีบบัว"
พระนางกำแพงกลีบบัว มีการค้นพบครั้งแรกที่กรุพระบรมธาตุ ในปี พ.ศ.2392 ต่อมาปรากฏในแทบทุกกรุทั่วบริเวณเช่นเดียวกับพระนางกำแพงอื่นๆ กรุที่ได้รับความนิยมกันมากจะเป็น กรุวัดพิกุล และวัดป่ามืด เนื้อหามวลสารส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ ส่วนมากเนื้อจะละเอียดหนึกนุ่ม หากผ่านการสัมผัสใช้มา ว่านดอกมะขามปรากฏกระจายอยู่ทั่วไปบนองค์พระและรารัก หรือ ราดำ ปรากฏให้พบเห็นมากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่พระที่พบขึ้นจากกรุนั้นๆ สำหรับเนื้อว่าน และเนื้อชิน ปรากฏให้พบเห็นบ้าง แต่ไม่มากนัก
พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัยหรือสะดุ้งมาร อยู่บนอาสนะฐานเขียง องค์พระค่อนข้างล่ำสัน แต่ปีกด้านข้างจะเรียวเล็กกว่าคล้ายกลีบบัว จึงนำลักษณะดังกล่าวนี้มาตั้งเป็นชื่อพิมพ์
พระนางกำแพงกลีบบัว มักมีขนาดไม่เท่ากัน คือตั้งแต่ 1.2 X 2.2 ซ.ม. จนถึง 1.6 X 3 ซ.ม. และยังสามารถแยกเป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในส่วนเกศไม่มากนักออกเป็นอีก 4 พิมพ์ คือ
- พิมพ์เกศแฉก
- พิมพ์เกศปลี
- พิมพ์เกศบัวตูม และ
- พิมพ์เกศเปลว
มาที่ "พระนางกำแพงพิมพ์ตื้น" ลักษณะพิมพ์ทรงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมเรขาคณิตเหมือนพระนางพญา และก็เป็นไปตามชื่อพิมพ์อีกเช่นกัน คือ ลักษณะการกดพิมพ์ค่อนข้างตื้น ทำให้เส้นแสงรายละเอียดต่างๆ ไม่ชัดเจนนัก
พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง ปางมารวิชัย สถิตอยู่บนอาสนะฐานเขียง พระพักตร์ใหญ่อ่อนช้อยและชัดเจน พุทธลักษณะเหมือนพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
- มีเส้นรางๆ จากโคนพระเกศมาจรดพระเมาลีด้านซ้าย
- พระสังฆาฏิเป็น 2 เส้น ปลายแหลมคม
- มีตุ่มข้างพระพาหาด้านซ้ายมือด้านใน
- เส้นชายจีวรพาดข้อพระหัตถ์ด้านซ้ายเป็นเส้นเล็กๆ รางเลือน
- มีเส้นพิมพ์แตกเฉียงจากพระหัตถ์ขวามายังพระชานุ
การพิจารณาพระนางกำแพงทุกพิมพ์ ในเบื้องต้นให้ดูที่เอกลักษณ์ของพระกรุเมืองกำแพง คือ เป็นพระเนื้อดินผสมว่าน มีความละเอียดนุ่ม และมี "รารัก หรือ ราดำ" ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และยังเป็นจุดในการพิจารณา พระแท้ พระปลอม ได้อีกด้วยครับผม
พระพิจิตร ป้อมเนื้อชิน
เมืองพิจิตร หรือเมืองวิจิตรตระการตา นั้น ตามตำนานกล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็นผู้สร้าง แต่จะสร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ ตามประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว "เมืองพิจิตร" เป็นเมืองเก่าแก่ในสมัยสุโขทัย ปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย
นอกจากนี้ยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่งคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ และในสมัยอยุธยานั้น เมืองพิจิตรก็ยังได้เป็นหัวเมืองชั้นตรี ซึ่งถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญค่อนข้างสูงในสมัยโบราณ มีเพียง 7 เมืองเท่านั้น คือ เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองนครสวรรค์ เมืองพัทลุง เมืองชุมพร เมืองจันทบูร และเมืองไชยา
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรแม้จะเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีเจ้าเมืองปกครองดังเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ลัดแม่น้ำน่านที่ตื้นเขิน คลองเรียงจึงกลายเป็นแม่น้ำน่านไป ส่วนบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังปรากฏโบราณสถานอยู่หลายแห่ง ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยา
ณ ปัจจุบัน เมืองพิจิตรขึ้นชื่อลือชานักในเรื่องพระเครื่องอันทรงคุณวิเศษ อีกทั้งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรแห่งวัดท่าหลวง ยิ่งทำให้ผู้คนรู้จักคุ้นเคยเมืองพิจิตร "ต้นตำนานชาละวัน-ไกรทอง" กันอย่างดี เมืองพิจิตรนี้มีพระเครื่องของดีมากมาย ด้วยเป็นเมืองหน้าด่านและเส้นทางเดินทัพมาแต่โบราณ ผู้คนจึงพกนำของดีติดตัว เช่น พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า เป็นต้น
ของมงคลส่วนมากจะสร้างขึ้นโดยมี บ่อเหล็กน้ำพี้ พ่อพระแสง เป็นกระสายอาถรรพ์มีการสร้างพระพิจิตรให้เกศเฉียงตามลักษณะของหมวกทหารที่ถูกจัดให้เป็นกองหน้าจึงเรียกว่า "พระพิจิตรเกศคด" เหมือนกับการสร้างพระพิจิตรเม็ดข้าวเม่าที่เล็กมากจนสามารถฝังลงในร่างกายทำนองตะกรุดได้ บางองค์เกศจะคดนิดๆ แต่ขึ้นชื่อทางอยู่ยงคงกระพันและเหนียวหนึบเรียกว่าฟันไม่เข้าแล้วกัน
มีพระพิจิตรองค์สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใคร่จะขยายความให้ท่านผู้อ่านทราบ เนื่องด้วยเรียกหากันไม่ค่อยเคยชินและบางคนก็ไม่รู้จัก ทั้งที่เป็นของดีอันดับต้นๆ ของเมือง พระชนิดนี้ก็มีขนาดเล็กจิ๋วเรียกกันว่า "พระพิจิตรป้อม" เพราะขุดพบที่ป้อมวังบูรพา (อยู่ในกรุงเทพฯ เมื่อก่อนเคยเป็นที่ตั้งโรงหนังคิงส์แกรนด์ และควีนส์ ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว)
พระพิจิตรป้อม ที่ขุดพบที่ป้อมวังบูรพานั้น เป็นพระเนื้อดินที่มีขนาดเล็กมากที่สุดในตระกูลพระพิจิตรด้วยกัน สัณฐานองค์พระเป็นรูปกลีบบัวกว้างประมาณ 0.5 ซ.ม. ส่วนสูงประมาณ 1.0 ซ.ม. กรอบด้านหน้า ยกเป็นเส้นนูน ล้อมรอบองค์พระประธาน ซึ่งประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานหมอนชั้นเดียว ส่วนพระพักตร์ทำเป็นเม็ดกลมต่อ พระเกศเอียงนิดๆ เข้าทำนอง "พิจิตรเกศคด" เป็นลักษณะเศียรลอยไม่ติดกับลำพระองค์ ส่วนพระอุระจะนูนเด่นออกมาชัดเจน วงพระกรรัดเป็นวงเยื้องไปทางซ้ายขององค์พระ ด้านหลังจะเป็นลายผ้าหยาบๆ แบนๆ เนื้อดินที่พบเป็นดินละเอียดมีหลากสี เช่น สีอิฐ สีแดง สีเหลือง สีพิกุลแห้ง สีเขียว เคยมีผู้พบเป็นเนื้อชินก็มี
มีเรื่องเล่าว่า ... เมื่อประมาณปี พ.ศ.2480 มีการลอบขุดพระปรางค์องค์ใหญ่ในเขตเมืองพิจิตรเก่า คนร้ายได้พระบูชาและพระเครื่องมากมาย แต่ทางการตามจับได้ ผู้คนแห่ไปดูมากมาย หลังจากนั้นมีชายใบ้คนหนึ่งชี้ไปที่ก้อนดินที่จับตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ มีคนลองทุบดูเห็นข้างในเป็นพระเนื้อชินองค์เล็กๆ เต็มไปหมด ปรากฏว่าเป็น "พระพิจิตรป้อม เนื้อชิน" คนพบรอจนหมดอายุความ จึงนำออกให้เช่าในราวปี พ.ศ.2500 แต่พระไม่ได้รับการเก็บรักษาให้ดีจึงชำรุดผุพังเสียมาก ซึ่งภายหลังพระที่ชำรุดเหล่านี้ได้รับการบรรจุในรูปหล่อหลวงพ่อพิธ วัดหัวดง จังหวัดพิจิตร
พระพิจิตรป้อม นับเป็นของดีอย่างวิเศษของชาวเมืองพิจิตร ปัจจุบันหายากหาเย็นแล้ว ไม่ใคร่มีใครรู้ประวัติความเป็นมาจึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับผม
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
"เป็นพระเครื่องพุทธลักษณะศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลา พระเพลาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย คล้ายเรือสำเภา วงการพระจึงขนานนามว่า พิมพ์เข่าโค้ง"
พระนางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน "พระชุดเบญจภาคี" สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ หากจะแบ่งตามขนาดจะเรียกว่า "นางใหญ่" ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง, พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า และพิมพ์อกนูนใหญ่ ส่วน "นางเล็ก" ได้แก่ พิมพ์อกนูนเล็ก, พิมพ์สังฆาฏิ และพิมพ์เทวดา หรือพิมพ์อกแฟบ สำหรับพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ก็คือ "พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง" ซึ่งเรียกชื่อพิมพ์ตามพุทธสรีระของพระเพลาและพระชานุ ที่มีลักษณะโค้งเล็กน้อย อันนับเป็นศิลปะสุโขทัยที่งดงามมาก
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก เป็นพระเครื่องพุทธลักษณะศิลปะสุโขทัย ปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาพาดที่พระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางตรงพระเพลา พระเพลาที่วางซ้อนจะมีลักษณะโค้งเล็กน้อย คล้าย "เรือสำเภา" วงการพระจึงขนานนามว่า "พิมพ์เข่าโค้ง" การตัดขอบทั้ง 3 ด้าน จะตัดค่อนข้างชิดกับองค์พระ จนส่วนใหญ่จะตัดปลายพระกรรณและพระชานุขององค์พระขาดหายไปบ้าง เนื้อที่บริเวณปีกด้านข้างขององค์พระจะมีน้อยมาก พระพักตร์ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะเกลี้ยงๆ ไม่มีหน้าตาชัดนัก ลักษณะของพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์จะมีแผ่วบาง ไม่ชัดเจนเหมือน "พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง"
อย่างไรก็ตาม จะต้องพิจารณาถึงศิลปะบนพระพักตร์ของพระนางพญา วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ในทุกพิมพ์นั้น ถึงจะมีพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ แต่ศิลปะจะเป็นลักษณะให้เห็นรางๆ หรือนูนขึ้นมาบ้างเล็กน้อยเท่านั้น มิได้เป็นเส้นชัดเจนเหมือนพระนางเสน่ห์จันทร์ หรือพระในสกุลขุนแผน
พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะมีเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น จึงค่อนข้างง่ายต่อการสังเกตและจดจำ วิธีการพิจารณานั้น นอกจากจะตรวจสอบคุณสมบัติของเนื้อดิน ผิวพระซึ่งถูกกัดกร่อน ความเป็น
Plastic Cover
และกรรมวิธีการตัดขอบแล้ว ลักษณะอีกประการคือ ให้ดูที่เม็ดผดซึ่งจะขึ้นอยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระ
เอกลักษณ์แม่พิมพ์ขอ พระนางพญา วัดนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง มีดังนี้
-โคนพระเกศมีลักษณะเหมือน "ปลีกล้วย"
-เส้นกระจังหน้าจะคมชัด และใต้เส้นกระจังหน้าจะเป็นรอยยุบเข้าไปเล็กน้อยเหมือนหน้าผากยุบ
-ซอกพระกรรณทั้งสองข้างจะปรากฏเม็ดผดยาวรีคล้ายเมล็ดข้าวสาร เรียงลงมาถึงปลายพระกรรณ
-ปรากฏเส้นเอ็นพระศอโค้งลงมาจรดพระอังสะ ดูประหนึ่งองค์พระใส่สร้อยสังวาล
-เส้นอังสะที่แล่นจรดพื้นซอกพระพาหาด้านขวาขององค์พระจะมีเส้นคมชัดเป็นเส้นส่วนเกิน ผ่าจากใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ทะลุชายอังสะมาจรดพระผาสุกะ (ซี่โครง) ขององค์พระ
-ปลายพระกัประ (ข้อศอก) ซ้ายขององค์พระจะมีเส้นวิ่งเชื่อมจดปลายพระบาท
-ปลายพระหัตถ์ซ้ายจะแตกเป็นหางแซงแซว
-ปรากฏเม็ดผดรูปยาวๆ เรียงรายระหว่างช่วงท้อง 3 เม็ด
ส่วนด้านหลังของ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง จะปรากฏรอยเหี่ยวย่น ซึ่งมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ พื้นหลังลาดเอียงจากกลางองค์พระ เมื่อถึงขอบแม่พิมพ์ที่ตัดขอบจะกระดกขึ้นคล้ายขอบกระด้ง
เนื่องจากการยุบตัวของเนื้อดินที่มีอายุนานหลายร้อยปีและมีเม็ดผดเล็กๆ ขึ้นอยู่ทั่วไปครับผม
เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 ธันวาคม 2558 19:11:27 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #7 เมื่อ:
07 มกราคม 2559 18:59:05 »
.
พระใบขนุน
กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา นับเป็นกรุเก่าแก่ที่มีความสำคัญยิ่งกรุหนึ่งของจังหวัดและประเทศไทย มีการขุดค้นพบสมบัติล้ำค่าต่างๆ มากมาย ล้วนทรงคุณค่า ทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมการช่างในสมัยโบราณ รวมถึงด้านพุทธศิลปะ จัดเป็นกรุเก่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน
ปีพ.ศ.2499 กรุวัดราชบูรณะเป็นข่าวโด่งดังเมื่อมีคนร้ายลักลอบขุดกรุภายในพระปรางค์ประธาน ได้ทรัพย์สมบัติอันมีค่าไปจำนวนมาก กรมศิลปากรจึง "เปิดกรุ" อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2500 ซึ่งยังปรากฏพบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลือและเครื่องทองอีกจำนวนมากมาย
มีทั้งพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์แบบปาละ อินเดียภาคใต้รุ่นหลัง ลังการุ่นหลัง ชวา พม่า พระพุทธรูปทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อู่ทอง จนถึงอยุธยา มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางลีลาและพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำด้วยศิลาจำนวนหนึ่ง
ส่วนพระพิมพ์เป็นแบบปาละของอินเดีย และแบบทวารวดี ลพบุรี อยุธยา ซึ่งมีทั้งอยุธยาแท้และเลียนแบบสุโขทัย รูปพระสาวกเดี่ยว ได้แก่ พระสังกัจจายน์ ท้าวเวสสุวัณ รวมทั้งวัตถุล้ำค่าอื่นๆ เช่น จารึกอักษรขอมบนลานดีบุกเรื่องคำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธรรม, เครื่องเชี่ยนหมากทำด้วยโลหะ, คันฉ่องโลหะฝีมือช่างจีน ฯลฯ ซึ่งทำให้ได้ทราบถึงศิลปะอยุธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันทรัพย์สมบัติมีค่าทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องราชบูรณะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา
พระใบขนุน มีต้นกำเนิดที่กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เช่นกัน เป็นพระที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็หาทำยายากเช่นเดียวกัน
ในคราวกรุแตกอย่างเป็นทางการ เมื่อ ปีพ.ศ.2500 นั้น ทางกรมศิลปากรได้นำพระใบขนุนออกจำหน่ายจ่ายแจกให้กับประชาชน แต่เนื่องจากขนาดความใหญ่ขององค์พระผู้คนจึงเช่าหากันน้อยมาก ซึ่งหารู้ไม่ว่าอีกไม่กี่ปีต่อมา "เที่ยวหากันให้ควั่ก" โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้เช่าจะนำไปใส่ฐานตั้งให้เห็นความงามทั้งสองด้าน เพื่อสักการบูชา เอกลักษณ์ของ "พระปางลีลา" นั้นจะคล้ายพระกำแพงศอก กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และมักนิยมปิดทองที่องค์พระลีลาด้วย
พระใบขนุนกรุวัดราชบูรณะ เป็นพระขนาดใหญ่ ดีไม่ดีจะใหญ่กว่าใบขนุนอีก เป็นพระที่สร้างตามคติการสร้างพระให้ครบพระธรรมขันธ์ เหมือนการสร้างพระกำแพงห้าร้อย ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยงดงามมาก เข้าใจว่าคงได้รับอิทธิพลมาเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเข้าไปมีบทบาททางการเมืองเหนือกรุงสุโขทัย ตั้งแต่สมัยขุนหลวงพะงั่วและสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา แล้วได้สร้างพระที่มีอิทธิพลสุโขทัยบรรจุในกรุเจดีย์ที่กรุงศรีอยุธยา
พระใบขนุนมีพุทธลักษณะใหญ่ มองคล้ายรูปสามเหลี่ยมบ้าง ห้าเหลี่ยมบ้าง ด้านบนมีรอยปาดเนื้อ มีพระปางลีลาเป็นพระประธานอยู่ตรงกลาง ภายใต้ซุ้มครอบแบบ คอระฆัง มีปรากฏทั้งสองหน้า ลักษณะทำตามพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากการโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระองค์เล็กๆ เป็นพระนั่งปางมารวิชัย ประดับรายล้อมทั่วแผ่นใบขนุน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
พระใบขนุนเป็นพระเนื้อชินเงินอาบปรอท ให้สังเกตจะมีฟองหรือโพรงอากาศอยู่บนผิวปรอทที่ใดที่หนึ่ง หากไปพบองค์ที่มี ผิวสีดำไม่ใช่จะเป็นของเก๋นะครับ แต่เป็นเพราะจมดินจมโคลน หรือผ่านการบรรจุกรุทำให้เกิดปฏิกิริยาที่คนโบราณเรียกว่า "ปรอทตาย" ผิวจะกลายเป็นสีดำซีดๆ ไม่ใช่ดำมันแทน แต่ตามซอกก็ยังคงปรากฏร่องรอยของปรอทให้เห็นอยู่
แถมอีกนิด...ยังมีของดีที่เรียกว่าพระใบขนุน อีกชนิดหนึ่ง ขึ้นที่กรุวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย เรียกกันว่า "พระกำแพงใบขนุน" มีขนาดใหญ่พอๆ กัน แต่ทำจากเนื้อดิน เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลจากกำแพงเพชร บางคนเลยเรียกพระกำแพงใบขนุน องค์พระประทับนั่ง ปางมารวิชัย บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง มีซุ้มกนกครอบองค์พระ ด้านหลังเรียบไม่ใช่พระสองหน้า ได้รับความนิยมมากเหมือนกัน เพราะชื่อดีเช่นกัน ก็คือชื่อ "ใบขนุน" นั่นเองครับ...คนโบราณนิยมปลูกต้นขนุน งานมงคลก็ทำขนมเม็ดขนุน เพราะจะได้ช่วยหนุนนำให้เจริญก้าวหน้า
ถ้าได้ "พระใบขนุน" เข้าไปอีกยิ่งเฮงใหญ่
เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง
พระเปื่อย พระกวาง พระแปด
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระกรุเก่ากรุหนึ่ง ที่พบพระที่มีชื่อเสียงคือพระบาง กรุนี้ก็คือกรุวัดดอนแก้ว ชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ วัดอรัญญิกรัมมการาม นอกจากพระบางและพระเปิมที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันดีแล้ว กรุนี้ยังพบพระอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่ขนาดของพระค่อนข้างเขื่องหน่อยจนถึงพระแผงขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยมีคนพูดถึงกันนัก แต่ในด้านคุณค่าทางด้านศิลปะแล้วสวยงามและมีคุณค่ามากครับ
วัดดอนแก้ว เป็นวัดหนึ่งในจตุพุทธปราการทิศตะวันออกของเมืองหริภุญชัยนครที่พระนางจามเทวีเป็นผู้สร้างไว้ ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของฝั่งแม่น้ำกวง ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูด้านตะวันออกประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศ บาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางขัดสมาธิเพชร 2-3 องค์ ซึ่งชำรุดหักพัง (ปัจจุบันได้มีการบูรณะให้เข้ารูปเดิม) พระพุทธรูปเหล่านี้เป็นแบบฝีมือช่างหริภุญชัย (ทวารวดียุคปลาย) นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกอีก 2 หลัก เป็นภาษามอญ
บันทึกการขุดหาพระเครื่องในวัดดอนแก้ว มีการขุดหาพระเครื่องกันมานมนานแล้ว ครั้งแรกๆ นั้นไม่อาจสืบทราบได้ เท่าที่สืบความได้คือ ในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามอินโดจีน ซึ่งกำลังตื่นตัวเสาะหาพระเครื่องกันทั่วไปทุกแห่งหน และการขุดพระเครื่องที่กรุนี้ ก็เพราะยังมีผู้จดจำได้ว่าครั้งก่อนมีการขุดหาพระเครื่องกันที่นี่ และได้พระไปเป็นจำนวนมาก การขุดในครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระเจดีย์เก่า ซึ่งเคยเป็นที่ขุดในครั้งก่อนๆ และได้พระนานาชนิดขึ้นมาเป็นอันมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด พระเปื๋อย พระกล้วย (ลักษณะคล้ายผลกล้วย) และ พระแผงต่างๆ เกือบทุกชนิดของพระสกุลลำพูน แต่ไม่พบพระรอดเลย
กล่าวกันว่า เจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ เจ้าหลวงลำพูนองค์สุดท้าย ถึงกับมาเฝ้าดูการขุดด้วยตัวเอง การขุดได้ดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือนจนคณะกรรมการจังหวัดได้ประกาศห้ามจึงเลิกรากันไป ร่องรอยการขุดในครั้งนั้นยังปรากฏเป็นหลุมเป็นแอ่งอยู่ทั่วไป
พระเครื่องที่สังคมผู้นิยมพระเครื่องรู้จักกันดีของกรุนี้ก็คือ พระบาง และพระเปิม ส่วนพระแผงและพระที่มีขนาดใหญ่ไม่มีใครพูดถึงกันเลย อาจจะเป็นเพราะไม่เหมาะที่จะนำมาห้อยคอก็เป็นได้ แต่วันนี้ผมจะนำมาแนะนำกันครับ พระที่มีความสวยงามแต่มีขนาดใหญ่องค์แรกก็คือพระกวาง ชาวบ้านในสมัยก่อนมักเรียกว่าพระกวาง เนื่องจากที่ฐานของพระมีกวางหมอบอยู่สองตัว พระกวางนั้นเป็นพระพุทธรูปนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีอัครสาวกนั่งอยู่ด้านข้างสองรูป ซ้าย-ขวา
ส่วนที่ฐานมีกวางหมอบอยู่ด้านละตัว และพระแปดก็เป็นพระแผงขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร และมีพระอัครสาวกอีกหลายรูป รวมนับได้ 8 รูป ที่ฐานมีรูปหัวช้างอยู่ที่ฐานด้านละตัว ในสมัยก่อนคนท้องที่มักเรียกว่า พระช้าง ส่วนพระเปื๋อยเป็นพระขนาดใหญ่รูปพระพุทธประทับนั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร พระแผงขนาดใหญ่นี้มีคุณค่าทางด้านศิลปะ เนื่องจากมีรายละเอียดของศิลปะมาก ทำให้เห็นวิถีของศิลปะที่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะคุปตะของอินเดีย
ผมเองชอบการอ่านศิลปะโบราณต่างๆ จึงชื่นชอบพระแผงขนาดใหญ่ด้วย และอีกอย่างหนึ่งถ้าเราศรัทธาในพระเครื่ององค์เล็กๆ ของกรุเดียวกันแล้ว พระแผงขนาดใหญ่ก็น่าศรัทธาด้วยเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีขนาดใหญ่เราก็สามารถนำมาทำฐานตั้งไว้บูชาที่บ้านได้ด้วย
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกวาง พระแปด (พระช้าง) และพระเปื๋อย จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญระฆังหลวงปู่เก๋
"หลวงปู่เก๋ ถาวโร" หรือ "พระมงคลนนทวุฒิ" พระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนาที่ชาวเมืองนนทบุรีและปริมณฑล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลบางเขน
เกิดเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2455 ที่บ้านเลขที่ 17/3 หมู่ 5 ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี เข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา ด้วยการบวชเป็นสามเณรอยู่นานหลายปี
อายุครบ 20 ปี อุปสมบทที่วัดโตนด ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี มีพระครูชุ่ม เจ้าอาวาสวัดประชารังสรรค์ ต.บางกร่าง อ.เมือง จ.นนทบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2480 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท ต่อมาย้ายไปศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่วัดเฉลิมพระเกียรติ แต่ศึกษาบาลี ได้เพียง 2 ปี ปรากฏว่า พระอาจารย์จุ้ย เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี ถึงแก่มรณภาพ ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำว่างลง ไม่มีใครมาดำรงตำแหน่งแทน
ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์เมืองนนทบุรี ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 ก่อนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากน้ำอย่างเป็นทางการ ในเวลา 2 ปีต่อมา กลายเป็นเจ้าอาวาสที่มีอายุพรรษาน้อยที่สุดใน สมัยนั้น
ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พ.ศ.2493 เป็นเจ้าคณะตำบลบางเขน พ.ศ.2511 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2542 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลบางเขน
สมณศักดิ์ พ.ศ.2552 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระมงคลนนทวุฒิ
หลวงปู่เก๋ มีชื่อเสียงในฐานะพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมชื่อดังในด้านพุทธคุณเมตตามหานิยม ที่ได้รับการนิมนต์ให้ร่วมพิธีปลุกเสก ในงานพุทธาภิเษกวัตถุมงคลชื่อดังแต่ละรุ่นเป็นประจำแทบมิเคยได้ขาด
ปัจจุบัน หลวงปู่เก๋ เป็นเจ้าอาวาสวัดที่มีอายุยืนยาวที่สุด ปัจจุบันสิริอายุ 104 ปี
ในปี 2558 นายสุชาติ มาเกิด และคณะศิษยานุศิษย์ ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างเหรียญระฆังคว่ำ "รุ่นเสริมบารมี 104 ปี สมปรารถนา" โดยหลวงปู่เก๋ นั่งปรกอธิษฐานจิตเดี่ยว ในวันที่ 5 ธ.ค.2558 ซึ่งวัดจัดสร้าง 5 เนื้อ คือ เหรียญเนื้อเงินลงยา เหรียญเงิน เหรียญนวโลหะ เหรียญเนื้ออัลปาก้า และเหรียญเนื้อทองแดง
วัตถุประสงค์สมทบทุนเข้ากองทุนดูแลรักษาหลวงปู่เก๋
เหรียญระฆังคว่ำหลวงปู่เก๋ ด้านหน้าเหรียญ มีขอบทั้งสองข้างเป็นรูปมังกร หลวงปู่เก๋นั่งขัดสมาธิเต็มองค์ ด้านล่างเขียน "ท่านเจ้าคุณเก๋"
ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์หลวงปู่เก๋ ด้านล่างเขียนชื่อรุ่น "เสริมบารมี ๑๐๔ ปี สมความปรารถนา"
ติดต่อขอเช่าบูชาได้ที่วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี เท่านั้น
เรื่อง-ภาพ "เปิดตลับพระใหม่" ข่าวสดออนไลน์
วัตถุมงคลหลวงปู่หมุน วัดบ้านจาน
"ของของฉัน สร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะหมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้ม ครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของของฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆ เท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็นหนึ่ง บ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเลื่องถึงเมืองแมน"
วาจาสิทธิ์สุดท้าย ที่หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2546 ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู
พระครูหมุน หรือ หลวงปู่หมุน "พระอมตเถระ 5 แผ่นดิน" ถือกำเนิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมรณภาพในปี พ.ศ.2546 รัชกาลปัจจุบัน
สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86
ตลอดการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ออกจาริกธุดงค์ ใฝ่ใจแสวงหาความรู้และวิทยาการต่างๆ เวลาส่วนใหญ่จะอยู่กับการออกธุดงควัตร มุ่งมั่นปฏิบัติตามแนวทางแห่งองค์พระศาสดา เพื่อความมั่นคงถาวรแห่งพระบวรพุทธศาสนา ท่านเป็นพระเกจิสายพระป่าที่เคร่งกัมมัฏฐานอย่างแท้จริง ท่านจึงเป็นพระเถราจารย์ผู้สูงส่งด้วยอภิญญาณสมาบัติ มีพลังจิตตานุภาพสูงส่งทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤิทธิ์ จนเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของพระเกจิด้วยกัน อย่างเช่น หลวงตามหาบัว ได้บอกกับลูกศิษย์ว่า อยากได้วัตถุมงคลที่แรงด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ให้มาขอกับหลวงปู่หมุน หรือ หลวงพ่อกวย ก็ยังยกย่องว่าหลวงปู่ท่านหมุนเก่งมากๆ
จากการศึกษาประวัติของหลวงปู่หมุน เริ่มเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม และฝึกกัมมัฏฐานมาตั้งแต่เป็นสามเณรจนอุปสมบทพระภิกษุจากพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมัฏฐานและวิทยาอาคม ในปี พ.ศ.2464 จึงเริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทวิทยาและสมถะกัมมัฏฐานในชั้นที่สูงขึ้นไป จากครูบาอาจารย์หลายสำนักไปจนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย อาทิ สำนักตักสิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ จ.อุบลราชธานี อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง อิทธิเจมหาราช ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต, สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงปู่ทิม วัดช้างให้, พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน, หลวงปู่สี ฉันทสิริ, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน, หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบพุทธาคมในสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาสัก ราชอาณาจักรลาว อีกด้วย
ประมาณปี พ.ศ.2467 หลวงปู่หมุนได้กลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ท่านก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จากนั้นจึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติวิปัสสนาธุระเพียงอย่างเดียว ประมาณปี พ.ศ.2487 อายุได้ 50 ปี ได้ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบโดยลำพังอีกครั้ง ในช่วงนี้เองท่านได้พบอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ท่านทั้ง 2 จึงนิมนต์ให้โปรดญาติโยม ณ วัดป่าหนองหล่ม ระยะหนึ่ง
หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์อยู่หลายสิบปี จนประมาณปี พ.ศ.2520 จึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งในยามนั้นมีอายุกว่า 200 ปี สภาพทรุดโทรมมาก ท่านก็ได้พัฒนาและสร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งยังช่วยเหลือลูกศิษย์และสหธรรมิกอีกหลายวัด อาทิ วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง, วัดซับลำไย และศิษยานุศิษย์ในการสร้างถาวรวัตถุและประโยชน์ต่างๆ ต่อพระพุทธศาสนา จนเป็นที่มาของวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายต่อหลายรุ่น ด้วยล้วนปรากฏพุทธคุณและปาฏิหาริย์อย่างครบครัน
หลังจากหลวงปู่หมุนมรณภาพ ปรากฏว่าวัตถุมงคลของท่านกลายเป็นกระแสความศรัทธาและแสวงหาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่เกี่ยวกับ "เหล็กน้ำพี้" ที่ว่ากันว่าฉมังนัก เป็นพระยอดนิยมที่มาแรงที่สุดสำหรับพระยุคปัจจุบัน และถือเป็นตำนานการสร้างพระเครื่องที่ทำจาก "เหล็กน้ำพี้" โดยใช้กรรมวิธีแบบหล่อโบราณ ซึ่งพระเกจิที่สามารถทำได้ต้องมีอภิญญาณสมาบัติชั้นสูง สามารถเพ่งกสิณทั้ง 4 จนทำให้ "เหล็ก น้ำพี้" ซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูงถึง 1,200 องศาเซลเซียส ละลายจนเทลงแม่พิมพ์ออกมาเป็นรูปแบบพระเครื่องได้ นั่นจึงเป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุมงคลเหล็กน้ำพี้ของท่าน ยังไม่พบของทำเทียมเลียนแบบอีกด้วย
ในตระกูล "เหล็กน้ำพี้" ของหลวง ปู่หมุน คงต้องยกให้ "เหรียญหล่อเหล็กน้ำพี้ หลังหนุมานเชิญธง มนต์พระกาฬ" เป็นที่สุด
ลักษณะเหรียญด้านหน้า เป็นรูปเหมือนหลวงปู่หมุน นั่งลอยองค์อยู่บนเหรียญ ด้านหลังเป็นยันต์หนุมานเชิญธง เพราะนับเป็นเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของหลวงปู่ และหลวงปู่ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเองตลอดไตรมาส ทั้งยังเป็นรุ่นเดียวที่หลวงปู่ได้บรรจุมนต์พระกาฬสะท้อนกลับ และปลุกเสกครั้งใหญ่สำทับเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2543 ณ วัดบ้านจาน
พร้อมกันนั้นท่านยังได้กล่าวถึงเหรียญรุ่นนี้ไว้ว่า "ผู้ใดคิดร้ายผลร้ายนั้นย่อมสะท้อนกลับหรือเพียงคิดเป็นศัตรูคนคิดก็แย่" ครับผม
เรื่อง-ภาพ โดย ราม วัชรประดิษฐ์ พันธุ์แท้พระเครือง
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2559 20:01:55 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #8 เมื่อ:
26 มกราคม 2559 07:29:13 »
.
พระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด
พระเครื่องที่เป็นพระกรุชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพระที่มีความนิยมมากในสมัยโบราณและมีความสวยงามทางด้านศิลปะ ก็คือพระปรุหนัง ทางด้านพุทธคุณนั้นก็โด่งดังมานานแล้วขนาดหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ยังบอกว่าเคยเห็นมาว่าเชื่อถือได้
พระปรุหนัง เป็นพระที่เป็นศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ และมีความงดงามมาก ที่เรียกกันว่าพระปรุหนังก็เนื่องมาจากศิลปะขององค์พระจะเทโปร่งเป็นลวดลายขององค์พระ คล้ายกับแผ่นหนังใหญ่ที่ฉลุโปร่งและใช้ในการเชิดมาแต่ในสมัยโบราณ พระปรุหนังถือเป็นการเทโลหะที่ยอดเยี่ยมของช่างสมัยอยุธยา
พระปรุหนังถือเป็นพระเนื้อชินยอดนิยมอันดับหนึ่งของอยุธยา พบในครั้งแรกที่กรุวัดมหาธาตุ ต่อมามีผู้พบที่กรุวัดพุทไธศวรรย์ วัดราชบูรณะ วัดประสาท เป็นต้น พระปรุหนังมีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์บัวเม็ด พิมพ์บัวก้างปลา พิมพ์ปรุ หนังเดี่ยว พิมพ์ลีลา และพิมพ์บัวเบ็ด
เอกลักษณ์ของพระปรุหนังคือจะเทโปร่งทะลุ และส่วนมากจะมีพระอัครสาวกประทับอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา นอกจากพิมพ์ปรุหนังเดี่ยวจะไม่มีอัครสาวก พระปรุหนังส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างเขื่อง มีบางองค์อาจจะเทตันบ้างก็มี ด้านหลังของพระปรุหนังจะเป็นแบบหลังเรียบ พระปรุหนังจะเป็นพระที่เป็นเนื้อชินเงิน มีผิวปรอทจับที่องค์พระ บางองค์อาจจะมีการปิดทองมาแต่เดิมจากกรุ ไม่พบที่เป็นเนื้อชนิดอื่น ส่วนที่เป็นเนื้อดินนั้นจะเป็นพระที่เกจิอาจารย์สร้างในยุคหลังทั้งสิ้น
พระปรุหนังส่วนใหญ่จะเป็นพระที่ฉลุโปร่ง ดังนั้นเมื่อผ่านอายุกาลมาหลายร้อยปี จึงมักจะหักชำรุดในส่วนที่บางที่สุดคือบริเวณพระศอ ซึ่งจะบางมาก ในสมัยก่อนผู้ที่จะนำมาห้อยคอมักจะป้องกันด้วยการนำแผ่นไม้มาขุดตามรูปกรอบพระ แล้วจึงนำพระปรุหนังฝังลงไปในกรอบไม้ก่อนนำมาห้อยคอ เนื่องจากการเลี่ยมในสมัยก่อนนั้นยังไม่ค่อยจะมี มักจะถักลวดห้อยคอ จึงต้องทำกรอบไม้ไว้ป้องกัน
พุทธคุณของพระปรุหนังนั้นเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน เคยมีผู้ถามหลวงพ่อกลั่นว่า พระกรุอยุธยามีพระอะไรบ้างที่เชื่อถือได้ ท่านได้ตอบว่า พระปรุหนัง พระคลองตะเคียน พระวัดตะไกร และพระหลวงพ่อโตบางกระทิง เชื่อถือได้ เคยเห็นมา
พระปรุหนัง พิมพ์ที่นิยมมากที่สุดคือพระพิมพ์บัวเบ็ด เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีศิลปะที่งดงามที่สุด ในปัจจุบันหาพระปรุหนังยากมาก เนื่องจากพระชำรุดไปเสียมากในอดีต สนนราคาสูงครับ เช่าหาต้องระวังของปลอมเลียนแบบ ซึ่งมีการทำกันมานานแล้ว เพราะมีความนิยมมาแต่โบราณครับ
ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ด จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญหล่อรูปไข่ หลวงปู่จื่อ
“วัดเขาตาเงาะอุดมพร” ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 12 หมู่ 4 บ้านหัวหนอง ต.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ มีพระคณาจารย์ชื่อดังสายวิปัสสนา คือ พระครูสุวิมลภาวนาคุณ หรือ “หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต” สิริอายุ 72 พรรษา 38 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
เกิดวันที่ 17 มิ.ย. 2486 ณ ต.บ้านกอก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ บิดามีเชื้อสายจีน มารดาเป็นชาวไทย
อุปสมบทเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2518 ที่วัดศรีแก้งคร้อ ต.ช่องสามหมอ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ โดยมี พระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา พันธมุตโต
หลังจากบวชแล้ว ท่านฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต พระเถระแห่งภาคอีสาน วัดอุดมคงคาคีรีเขต (วัดดูน) อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น เน้นศึกษาด้านพระวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นหลัก ออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีความสงบร่มรื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ทราบภูมิประเทศ แหล่งประกอบอาชีพและปัญหาการประกอบอาชีพของชาวบ้านอย่างมากมาย
เป็นพระสายปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่วิชาเรื่องอักขระเลขยันต์และคาถาอาคม ชื่อเสียงโด่งดังจนชาวต่างชาติ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน มาหาท่านมิได้ขาด
ทุกวันนี้ ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร จึงเนืองแน่นไปด้วยคณะศรัทธา ยิ่งเป็นวันหยุดราชการวันเสาร์-อาทิตย์ จะมากเป็นพิเศษ
เมื่อปี พ.ศ.2523 ขณะท่านนั่งปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเขาตาเงาะอุดมพร ประชาชนชาวหนองบัวระเหวได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ท่านจึงพัฒนาแหล่งน้ำ “ลำเชียงทา” เป็นแหล่งน้ำที่ไหลผ่านลงสู่แม่น้ำชี ใช้เพื่อประโยชน์ของชาวชุมชนหนองบัวระเหวและชุมชนใกล้เคียง โดยนำคณะสงฆ์ ลูกศิษย์ และชาวบ้านร่วมกันก่อสร้างเขื่อนดินด้วยงบประมาณอันน้อยนิดของผู้มีจิตศรัทธาบริจาคและงบประมาณของทางราชการที่สนับสนุน ทำให้ประชาชนใน อ.บ้านเขว้า อ.หนองบัวระเหว และ อ.เมืองชัยภูมิ มีแหล่งน้ำใช้ทางการเกษตรกรรมถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันคณะศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกสารทิศ เข้ามากราบนมัสการหลวงปู่จื่อ พบเห็นงานก่อสร้างมหาวิหารภายในวัดและขุดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ (บึงหนองบัวระเหว) ด้านหลังวัดกว่า 2,000 ไร่ ยิ่งเกิดความศรัทธาต่อปฏิปทา ความตั้งใจมั่นที่จะช่วยสงเคราะห์ชาวบ้านของหลวงปู่จื่อในครั้งนี้ ประชาชนและสานุศิษย์ทั้งหลายต่างยินดีและเต็มใจร่วมบุญกันตามกำลังแรงศรัทธา
ในการนี้คณะศิษย์กราบขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญหล่อ “รุ่นมหาเศรษฐี” ให้ทำบุญเช่าบูชา เพื่อจัดหาทุนทรัพย์ถวายร่วมก่อสร้างมหาวิหารและใช้จ่ายต่างๆ ตามแต่เห็นสมควร
รูปแบบเหรียญหล่อรูปไข่ หลวงปู่จื่อ รุ่นมหาเศรษฐี ประกอบด้วย เหรียญหล่อพุทธศิลป์มหาเศรษฐี (พิมพ์รูปไข่) เนื้อทองคำ, เนื้อเงินองค์ทองคำ ขอบทองคำ, เนื้อเงินองค์ทองคำ, เนื้อเงินลงยา, เนื้อเงิน, เนื้อนวโลหะ, เนื้อทองผสม, เนื้อทองแดง, ช่อบูชาเนื้อมหาชนวน (ช่อละ 9 องค์)
ลักษณะเป็นเหรียญกลมรูปไข่ มีหูเชื่อม ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่จื่อเต็มองค์ นั่งขัดสมาธิ ใต้ฐานรูปเหมือน เขียนคำว่า “พนฺธมุตฺโต” ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปอักขระยันต์ ใต้ยันต์มีรูปอัฐบริขาร เขียนเลขไทย “๒๕๕๘” ขอบบนเหรียญ เขียนคำว่า “พระครูสุวิมลภาวนาคุณ (จื่อ) วัดเขาตาเงาะอุดมพร” ขอบล่างเหรียญ เขียนคำว่า “มหาเศรษฐี” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร.
08-7823-7096, 08-2158-7956, 08-9651-6652
พระนารายณ์ทรงปืน
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี เป็นโบราณสถานซึ่งสร้างมายาวนาน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ราว พ.ศ.1500-1800 และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อเติมดัดแปลงกันเรื่อยมา เท่าที่มีหลักฐานยืนยันก็พอทราบได้ว่า มีการบูรณะในสมัยสมเด็จพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ดังที่เห็นและพบศิลปะในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีหลายยุคหลายสมัย
พระปรางค์ประธานของโบราณสถานแห่งนี้ รากฐานเดิมเป็นศิลาแลง ศิลปะแบบขอมแต่ได้มีการบูรณะดัดแปลงต่อมาในยุคอยุธยา พระเครื่องที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้ ส่วนมากจะเป็นพระเครื่องชนิดเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีทั้งเนื้อชินเงินและเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง มีพบพระเนื้อสัมฤทธิ์และพระเนื้อดินเผาอยู่บ้าง พระเครื่องที่สำคัญและมีชื่อเสียงของกรุนี้ ก็มี พระร่วงยืนหลังลายผ้า เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระหูยาน เนื้อชินเงิน พระนาคปรก พระร่วงนั่งพิมพ์ต่างๆ พระซุ้มนครโกษา และพระแผงต่างๆ มากมาย พระเครื่องโด่งดังและมีชื่อเสียงมากก็คือ พระร่วงยืนหลังลายผ้า และพระหูยาน ซึ่งเป็นพระยอดนิยม
พระเครื่องที่พบของกรุนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระศิลปะลพบุรี และทำตามแบบศาสนาพุทธมหายาน อย่างพระแผงต่างๆ จะเห็นเป็นพระสามองค์อยู่ในแผงเดียวกันนั้นก็ทำตามคติมหายานทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดก็คือพระนารายณ์ทรงปืน ที่มีพระนาคปรกประทับนั่งอยู่ตรงกลางเป็นองค์ประธาน และรูปสี่กร ซึ่งเป็นรูปของพระอวโลกิเตศวร และมีรูปของสตรีอยู่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในคติพุทธศาสนามหายาน ที่เผยแผ่เข้ามาพร้อมกับศิลปะขอมแบบ บายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมซึ่งมีอิทธิพลในภูมิภาคแห่งนี้ในสมัยนั้น
พระนารายณ์ทรงปืนที่ได้ชื่อเรียกแบบนี้ ก็เรียกขานกันมานมนานแล้วตั้งแต่เริ่มมีการแตกกรุ และผู้ที่ได้พบเห็นก็นึกว่ารูปพระอวโลกิเตศวรที่มีสี่กรนั้นเป็นองค์พระนารายณ์ ในส่วนที่เห็นพระกรต่างทรงถือสิ่งของอยู่นั้น พระบางองค์ก็เห็นไม่ชัดว่าถืออะไรแน่ และเห็นเป็นรูปยาวๆ ก็นึกเอาเองว่าน่าจะเป็นคันศร ซึ่งความเป็นจริงทรงถือดอกบัวและมีก้านยาวลงมา ยิ่งซ้ำร้ายบางคนเห็นเป็นปืนยาวก็มี เลยทึกทักเรียกกันว่า พระนารายณ์ทรงปืน และเรียกกันแบบนี้มายาวนานแล้ว ก็เลยกลายมาเป็นชื่อเรียกตามกันมาว่าเป็น พระนารายณ์ทรงปืน แถมพุทธคุณของพระพิมพ์นี้ยังเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีอีก มีผู้ที่บูชาพระนารายณ์ทรงปืนแล้วถูกยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า จึงเชื่อถือกันมาแบบนี้ครับ
พระนารายณ์ทรงปืนเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องหรือจะเรียกว่าเป็นพระแผงก็ได้ ในสมัยก่อนคนนิยมกันมาก มักจะนำมาถักลวดห้อยคอกัน พระที่พบส่วนมากจะเป็นเนื้อชินเงิน และชินตะกั่วสนิมแดง ที่เป็นเนื้อสัมฤทธิ์นั้นพบน้อยมาก นอกจากพระนารายณ์ทรงปืนจะพบที่กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีแล้วก็ยังพบที่กรุอื่นๆ ของลพบุรี และในจังหวัดอื่นๆ ก็เคยพบ ล้วนแล้วจะเป็นพระขนาดเขื่องและมีรูปแบบคล้ายๆ กัน จึงเรียกตามๆ กันว่า พระนารายณ์ทรงปืนเช่นกัน
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระนารายณ์ทรงปืน เนื้อชินเงิน ของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
.
พระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทย ดังนั้น จึงมีวัดวาอารามมากมาย และเมื่อมีวัดเก่าแก่มากแล้วก็ย่อมจะมีพระเครื่องที่สร้างบรรจุไว้มากมายเช่นกัน พระเครื่องของจังหวัดสุโขทัยมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่หลายกรุ เช่น พระร่วงยืนหลังรางปืน พระร่วงนั่งหลังลิ่ม และอื่นๆ อีกมาก พระอีกกรุหนึ่งที่พบพระเครื่องมากก็คือ วัดเจดีย์สูง
วัดเจดีย์สูง ตั้งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ไปทางทิศตะวันออกอยู่ใกล้ๆ กับวัดตะพังทองหลาง วัดเจดีย์สูงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่ง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ แต่เดิมคงเป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในสมัยสุโขทัย ด้วยเหตุที่องค์พระเจดีย์มีขนาดสูงใหญ่ จึงมักจะเรียกกันว่าวัดเจดีย์สูงมาจนทุกวันนี้
วัดเจดีย์สูงเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยตอนปลาย ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมทรงสูงแล้วจึงเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา เจดีย์แบบนี้อาจจะเป็นต้นเค้าของเจดีย์ตอนต้นกรุงศรีอยุธยา (อโยธยา) ของภาคกลางก็เป็นได้
บริเวณด้านหน้าของพระเจดีย์สูง พบฐานพระอุโบสถและพบร่องรอยพระเจดีย์รายอยู่ด้านหลัง ปัจจุบันเหลือเพียงองค์พระเจดีย์สูงเพียงองค์เดียว
มีการพบพระเครื่องของวัดเจดีย์สูงมากมาย ทั้งที่เป็นพระเนื้อชินและพระเนื้อดินเผา พระที่พบมากที่สุดจะเป็นพระร่วงยืนปางเปิดโลก มีแบบพิมพ์ต่างๆ มากมายหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเงิน นอกจากนี้ก็พบพระนางแขนอ่อน ที่มีทั้งเนื้อดินเผา และเนื้อชินเงิน พระนางแขนอ่อนที่พบที่วัดเจดีย์สูงนี้ ยังมีพบที่กรุวัดมหาธาตุ และกรุเขาพนมเพลิง ซึ่งมีพิมพ์ที่คล้ายกันมาก นอกจากนี้ยังพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นหินแก้วจุยเจียสีขาว และพบพระร่วงเปิดโลกที่เป็นเนื้อว่านหน้าทองอีกด้วย แต่พบน้อยมาก
พระร่วงเปิดโลกกรุวัดเจดีย์สูงนี้ คนในสมัยก่อนมักจะเรียกว่าพระร่วงทิ้งดิ่ง เนื่องจากพระบาทของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้เท้าจะค่อนข้างจิกงุ้มลงมาด้านล่างมากกว่าของกรุอื่นๆ และปลายมือทั้งสองข้าง วางทอดทิ้งลงมาตรงๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระร่วงเปิดโลกของกรุนี้ครับ
พุทธคุณของพระกรุนี้เด่นทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาด ปัจจุบันก็หายากพอสมควรครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงเปิดโลกทิ้งดิ่ง พิมพ์ต่างๆ ของกรุวัดเจดีย์สูง สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย จ.อ่างทอง
"พระมหาพุทธพิมพ์ วัดเกษไชโย" หรือ "หลวงพ่อโต" ประดิษฐาน ณ พระวิหารวัดไชโยวรวิหาร หรือที่เรียกกันว่า "วัดเกษไชโย" ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดไชโย" หรือ "วัดเกษไชโย"
มาเริ่มปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่ที่ท่านเจริญวัย เรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" เมื่อประมาณปี พ.ศ.2400-2405 ขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระเทพกวี"
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกกันติดปากว่า "สมเด็จโต" ท่านชอบสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่โตสมนามของท่าน โดยก่อนหน้านี้ได้สร้างมาแล้วสององค์ คือ พระปางไสยาสน์ หรือ พระนอน ที่วัดสะตือ จ.พระนครศรีอยุธยา และพระยืน ที่วัดอินทรวิหาร เขตบางขุนพรหม
ที่วัดไชโยแห่งนี้ แรกเริ่มเดิมที สมเด็จโตท่านสร้างเป็นพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่มาก ก่อด้วยอิฐและดิน แต่ไม่นานนักก็ทลายลงมา จึงต้องสร้างขึ้นอีกครั้งให้มีขนาดเล็กลงมาแต่ก็ยังนับว่าใหญ่มากอยู่ จนสำเร็จเป็น "หลวงพ่อโต" พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ปิดทอง และไม่ประณีตเกลี้ยงเกลานัก ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จึงสามารถมองเห็นองค์พระพุทธรูปขาวเด่นมาแต่ไกล
ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า "...พระใหญ่ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้างนี้ รูปร่างหน้าตาไม่งามเลย...ดูที่หน้าวัด ปากเหมือนท่านขรัวโตไม่มีผิด ถือปูนขาวไม่ได้ปิดทอง ทำนองท่านไม่คิดจะปิดทอง จึงได้เจาะท่อน้ำไว้ที่พระหัตถ์..."
ต่อมา เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) สมุหนายก มีศรัทธาสร้างพระอุโบสถและพระวิหารวัดไชโย แต่เมื่อกระทุ้งรากพระวิหาร แรงสั่นสะเทือนทำให้องค์พระพังทลายลง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ นายช่างฝีมือเยี่ยมสมัยนั้นมาช่วย
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของวัดไชโยขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตั้งแต่ปีต้นของการปฏิสังขรณ์นั้น แล้วพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีงานฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน ระหว่างวันที่ 5-7 ตุลาคม พ.ศ.2438 ต่อมาในปี พ.ศ.2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการ ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร
"พระมหาพุทธพิมพ์" หรือ "หลวงพ่อโต" นับเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก มักมีรูปไว้กราบไหว้บูชากันแทบทุกครัวเรือน ด้วยประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์อย่างถ้วนทั่ว กล่าวกันว่า น้ำมนต์ของหลวงพ่อสามารถรักษาและแก้ไขโรคเคราะห์ต่างๆ ได้ และหลวงพ่อมักเข้าฝันผู้ที่เคารพบูชาเพื่อบอกกล่าวเตือนภัยต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเล่าขานกันต่อมาว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มาก จะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระ จะเห็นว่าหลวงพ่อโตกำลังจะล้มลงมาทับอีกด้วย
ในกาลต่อมา วัดเกษไชโย ทั้งยังเป็นต้นกำเนิด "พระสมเด็จ วัดเกษไชโย" อันเลื่องชื่อเป็นที่แสวงหายิ่ง รวมทั้ง "เหรียญ พระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461" เหรียญพระพุทธที่ได้รับการ ยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบเหรียญพระพุทธยอดนิยมของประเทศ
พันธุ์แท้พระเครื่อง
เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี"
เมื่อเร็วๆ นี้ ที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี" ภายในงานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด ประจำปี 2559
มีพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังจำนวน 10 รูป ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร อาทิ พระราชวิทยาคม (ครูบาสาย กิตติปาโล) เจ้าอาวาสวัดท่าไม้แดง จ.ตาก ประธานในพิธีเจิมและปิดทองที่ต้นเทียนชัย พร้อมเป็นประธานจุดเทียนชัย
พระสงฆ์ 4 รูป ประกอบด้วย พระครูสมุห์สวิง วัดม่อนปรางค์, พระปลัดนพพร รองเจ้าอาวาสวัดใหม่เชียงแสน, พระใบฎีกาธีระพงษ์ วัดเสาหิน, พระทศวรรธ วัดเสาหิน อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ สวดพระพิธีธรรมพุทธาภิเษก สวดคาถาจุดเทียนชัยและสวดคาถาดับเทียนชัย
นายจรัล เตชะวิจิตรา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนมงคล ซ้าย-ขวา, นายวีระชัย ภู่เพียงใจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนวิปัสสีซ้าย-ขวา, นายสำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ จุดเทียนธาตุ 4 อาทิ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ
นายชลิต ธนะวัฒน์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนโลกุตระ หน้าพิธีธรรม 9 เล่ม, นายธีรวัฒน์ วุฒิคุณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ จุดเทียนอ่างน้ำมนต์
พระเกจิ 39 รูป อาทิ พระมงคลสุธี (หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ พระครูสุวิธานศาสนกิจ (หลวงพ่อไพริน) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก, พระครู วรธรรมประยุต (หลวงพ่อทุเรียน) วัดศรีคีรีสุวรรณา ราม จ.สุโขทัย, หลวงพ่อชำนาญ ปัภสสโร จ.ระยอง, หลวงพ่อทองดี วัดโนนไทย จ.นครราชสีมา, หลวงพ่อทอง สุทธสีโล วัดพระพุทธบาทเขายายหอม จ.ชัยภูมิ, หลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน จ.ชุมพร, พระครูสมุห์สมจิต วัดหนองหว้า จ.เพชรบุรี, พระครูปทุมวรกิจ (หลวงพ่อชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี,พระครู สุวรรณศิลาธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบ้านแพน จ.พระนคร ศรีอยุธยา,หลวงพ่อเกาะ อาภากโร วัดท่าสมอ จ.ชัยนาท, พร้อมพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จากทั่วประเทศ 109 รูป ร่วมนั่งปรกและเจริญจิตภาวนาปลุกเสกเหรียญพระยาพิชัยดาบหักรุ่นรฤก ๒๓๔ ปี ในครั้งนี้
นายสำราญ เอื้อจิระวาณิชย์ นายกเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า การจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อเทิดทูนคุณงามความดีพระยาพิชัย ดาบหัก ทหารเอกพระเจ้าตากสินมหาราช ในฐานะวีรบุรุษ ที่ช่วยปกป้องประเทศชาติให้พ้นจากอริราชศัตรู และเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เตียงนอนสำหรับผู้ป่วย มอบทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทุกโรงเรียนใน จ.อุตรดิตถ์ และสมทบทุนช่วยเหลือคนพิการทางสมอง บ้านรื่นสุข จ.นครนายก
ลักษณะเหรียญ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระยาพิชัยดาบหัก ในชุดแม่ทัพนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้างส่วนข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งจำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฏตัวหนังสือไทยว่า "พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์"
ด้านหลังเหรียญ เป็นยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤๅษี ตัวหนังสือ รฤก ๒๓๔ ด้านล่างของเหรียญ โดยยึดตัวเลขปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ.2325 นับถึงปัจจุบัน 234 ปี มาเป็นตัวหนังสือ "รฤก ๒๓๔"
สำหรับเหรียญพระยาพิชัยดาบหักที่จัดสร้าง "รุ่นรฤก ๒๓๔ ปี" จำนวน 2 รูปแบบ อาทิ เหรียญรูปไข่และเม็ดแตง ด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์,
ส่วนเหรียญอาร์ม ด้านหน้าเหรียญเป็นพระรูปเหมือนพระเจ้าตากสินมหาราช ด้านหลังเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ประกอบด้วย พระยาพิชัยดาบหักหลังยันต์เนื้อทองคำ, เนื้อเงินหน้าทองคำ นวโลหะหน้ากากเงิน, เนื้อเงินลงยารัตนชาติสีแดงและสีน้ำเงินไพลิน, เนื้อทองแดงเพิร์ท, สัตโลหะ, พระเจ้าตากสินหลังพระยาพิชัยดาบหักเนื้อทองคำลงยาสีแดงรัตนชาติ, หุ้มทองคำลงยาน้ำเงินไพลิน, นวโลหะ โลหะ 9 ชนิดเต็มสูตร, เนื้อทองแดงเพิร์ท
รวมจัดสร้างทั้งสิ้น 202,359 เหรียญ
เปิดตลับพระใหม่
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2559 09:48:59 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #9 เมื่อ:
11 กุมภาพันธ์ 2559 18:20:12 »
.
พระสมเด็จหลังไผ่
และเหรียญรุ่นแรกหน้าหนุ่มของหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม พระนครศรีอยุธยา
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระสุนทรธรรมานุวัตร (หลวงพ่อเอียด) วัดไผ่ล้อม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ชาวบางบาลและชาวอยุธยาเคารพศรัทธามาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายให้แก่ศิษย์และชาวบ้านหลายอย่าง วัตถุมงคลของท่านนั้นมีประสบการณ์มากมาย
หลวงพ่อเอียด เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 ที่ตำบลสะพานไทย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อผัน โยมมารดาชื่อเสงี่ยม นามสกุลพูลพร ในวัยเด็กชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัดและสนใจใฝ่เรียน เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว หลวงพ่อแจ่ม เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมในสมัยนั้นเห็นว่าเป็นคนสนใจใฝ่เรียน จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดไผ่ล้อม ตอนนั้นอายุได้ 14 ปี ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2485 โดยมีพระครูสุนทรวิหารกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์
ในระหว่างที่เป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงพ่อเอียดก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้นักธรรมตรีเมื่ออายุได้ 16 ปี และสอบได้นักธรรมโทเมื่ออายุได้ 18 ปี นอกจากนี้ยังท่องพระปาติโมกข์ได้ในขณะที่เป็นสามเณร พร้อมทั้งขยันขันแข็งในการช่วยงานวัดทุกอย่างเท่าที่กำลังทำได้
หลวงพ่อเอียด ได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2491 ที่วัดไผ่ล้อม โดยมีพระครูสุนทรวิหารกิจ (หลวงพ่อตุ้ม) วัดจันทาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูถนอม วัดใหม่กบเจา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสาธรนวกิจ (หลวงพ่อแม้น) วัดบางบาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดไผ่ล้อม ศึกษาพระธรรมวินัย และสอบได้นักธรรมเอกในปี พ.ศ.2493 หลวงพ่อเอียดได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม อีกทั้งดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ดูแลปกครองพระลูกวัดมาเป็นอย่างดี จนถึงปี พ.ศ.2497 จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมสืบต่อจากหลวงพ่อแจ่ม
หลวงพ่อเอียดได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดไผ่ล้อมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นระเบียบเรียบร้อย และส่งเสริมในด้านการศึกษาของพระภิกษุสามเณรให้ศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลี สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมของวัดไผ่ล้อม ในส่วนของลูกหลานแถบนั้นหลวงพ่อได้ส่งเสริมด้านการศึกษา โดยพัฒนาโรงเรียนวัดไผ่ล้อม สนับสนุนการศึกษาของนักเรียนในด้านต่างๆ ในปี พ.ศ.2539 หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนวัดไผ่ล้อม จากเดิมที่เป็นอาคารไม้และทรุดโทรมให้เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น พร้อมจัดหาอุปกรณ์การศึกษาและตั้งทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนวัดไผ่ล้อมเป็นประจำทุกปี
หลวงพ่อเอียดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อมและสมณศักดิ์ ดังนี้
ปี พ.ศ.2497 เป็นเจ้าอาวาส วัดไผ่ล้อม
พ.ศ.2510 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูสุนทรยติกิจ
พ.ศ.2511 ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท และเป็นรองเจ้าคณะอำเภอบางบาล
พ.ศ.2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอบางบาล
พ.ศ.2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุนทรธรรมานุวัตร
หลวงพ่อเอียดอบรมสั่งสอนศิษย์และชาวบ้านให้เป็นคนดีรักษาศีล 5 ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อนอะไรมาปรึกษาท่านก็ให้ข้อแนะนำ และให้อดทนทำความดีทุกคน ส่วนที่เจ็บป่วยไข้มาให้รดน้ำมนต์หรือรักษาท่านก็รักษาให้หายทุกราย หลวงพ่อเอียดทำนายทายทักได้อย่างแม่นยำ เหมือนกับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า มีชาวบางบาลที่ไปกราบท่าน และมีเคราะห์หลวงพ่อได้ขอให้บวช บางรายก็บวชและไม่มีเหตุการณ์อะไร แต่บางคนก็ไม่ยอมบวช ต่อมาไม่นานก็ไปประสบอุบัติเหตุ เหมือนคำทักของท่าน ชาวบ้านเชื่อว่าท่านมีวาจาสิทธิ์
หลวงพ่อเอียดศึกษาวิทยาคมจากหลวงพ่อแจ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ซึ่งหลวงพ่อแจ่มเป็นศิษย์ของหลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ และได้ถ่ายทอดให้แก่หลวงพ่อเอียดจนหมดสิ้น นอกจากนี้หลวงพ่อเอียดยังได้ศึกษาจากหลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์ หลวงพ่อถนอม หลวงพ่อสังข์ วัดน้ำเต้า และหลวงตาที่เคยมาจอดเรือที่ท่าน้ำวัดไผ่ล้อมไม่มีใครทราบว่าเป็นหลวงตารูปใด
หลวงพ่อเอียดมรณภาพเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2558 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษาที่ 67
หลวงพ่อเอียดได้สร้างวัตถุมงคลให้แก่ศิษย์ไว้หลายอย่างเช่น พระสมเด็จหลังไผ่ ซึ่งเป็นรุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2513 และเหรียญรูปเหมือนหน้าหนุ่มรุ่นแรก ปี พ.ศ.2525
นอกจากนี้ก็มีตะกรุด แหวน กำไลข้อมือ เหรียญรุ่นต่างๆ ล้วนมีประสบการณ์มากมาย อย่างเหรียญเนื้อตะกั่วรุ่นปี พ.ศ.2539 ตำรวจบางบาลเช่าไปแล้วนำไปลองยิงนอกวัดปรากฏว่ายิงเท่าไรก็ไม่ออก จึงทำให้เหรียญรุ่นนี้หมดไปอย่างรวดเร็ว มีลูกศิษย์คนหนึ่งเสียชีวิตและใส่แหวนของท่าน เมื่อฌาปนกิจ ปรากฏว่าเผาเท่าไรก็ไม่ไหม้ จนต้องถอดแหวนออกเสียก่อนจึงเผาต่อไปได้ วัตถุมงคลของหลวงพ่อเอียดน่าบูชามากครับ ตัวผมเองก็ห้อยเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อครับ
ปัจจุบันสรีรสังขารของหลวงพ่อคณะศิษย์และชาวบ้านได้เก็บรักษาไว้ในโลงแก้ว ที่วัดไผ่ล้อม ท่านที่ผ่านไปทางถนนสายบางปะอิน-บางปะหัน ก็สามารถแวะสักการะหลวงพ่อได้โดยผ่านสี่แยกอยุธยา-เสนา ก็ตรงไปทางบางปะหันไม่ไกลจะเห็นป้ายบอกทางไปวัดไผ่ล้อม
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จหลังไผ่ และเหรียญรุ่นแรกหน้าหนุ่มของหลวงพ่อเอียดมาให้ชมครับ
ขอขอบคุณ คุณทูล บุญช่วย และคุณโจ๊ก อยุธยา ที่กรุณาเอื้อเฟื้อประวัติและรูปวัตถุมงคลครับ
ด้วยความจริงใจ...แทน ท่าพระจันทร์
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15"
"พระรูปหล่อหลวงพ่อเงินนั้น ด้วยความศรัทธาและความศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีการจัดสร้างกันมากมายนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้าไม่นับ "รูปหล่อรุ่นแรก หลวงพ่อเงิน" แล้วพระหลวงพ่อเงินรุ่นไหนค่านิยมสูงที่สุด ทุกคนต้องยอมรับว่า "รุ่นปี"15" นั้น โด่งดังมาก โดยเฉพาะที่ออกวัดบางคลาน จ.พิจิตร"
จากที่เราๆ ท่านๆ ทราบกันดีถึงกิตติศัพท์ความโด่งดังและพุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของ "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก" ที่ออกในปี พ.ศ.2460 จัดสร้างโดย หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมเป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันก็ยังคงความนิยมและเป็นที่แสวงหา แต่สนนราคานั้น ต้องถามกันว่าสู้ไหวไหม ...
นอกเหนือจาก "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รุ่นแรก" แล้ว พระหลวงพ่อเงินที่นับว่าโด่งดังสุดๆ ต้องยกให้ "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15" โดยเฉพาะที่ออกวัดบางคลาน จ.พิจิตร และยิ่งเป็น "พิมพ์นิยม" ปัจจุบันน่าจะเกิน ครึ่งล้านไปแล้ว ทั้งที่อายุองค์พระยังไม่ถึง 50 ปี เรียกว่าแรงจริงๆ
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 นี้ จัดสร้างโดย พระครูพิบูลธรรมเวท หรือหลวงพ่อเปรื่อง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางคลาน ชื่อเต็มว่า "วัดหิรัญญาราม" ต.บางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร เพื่อหาปัจจัยมาบูรณะพระอุโบสถวัดบางคลาน ซึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ ได้เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพลตำรวจเอกสง่า กิตติขจร รมช.ต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกถึง 2 วาระ วาระที่ 1 ที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2514 วาระที่ 2 ที่วัดบางคลาน ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2515 อาจเป็นด้วยเหตุนี้ ทำให้การตอก "โค้ด" ใต้ฐานพระรูปหล่อจึงมีเลขไทยปั๊มเป็น "๑๔-๑๕" อยู่ในวงกลม ซึ่งติดเต็มบ้าง ไม่เต็มบ้าง อันหมายถึงการคาบเกี่ยวกันสองปี
กล่าวถึง "พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 พิมพ์นิยม" จะสร้างเหมือน "รูปหล่อโบราณรุ่นแรก พิมพ์นิยม" ทุกประการ เพียงแต่เป็นการใช้เครื่องจักรปั๊ม ภายในองค์พระกลวงเพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง และปิดก้นด้วยทองเหลือง องค์พระมีฐานกว้างประมาณ 1.6-1.7 ซ.ม. ความสูงประมาณ 2.4-2.5 ซ.ม. ส่วนทองเหลืองกลมที่อุดก้นฐานจะเรียบเสมอกับฐาน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.4-4.5 ซ.ม.
จัดสร้างเป็นเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลืองอย่างละ 1,000 องค์ โดยแบ่งเป็นพิมพ์ย่อย 4 พิมพ์ คือ พิมพ์คอแอล, มือมีจุด, มือเลขแปด และพิมพ์นับแบงก์ การเช่าบูชาในช่วงนั้น เนื้ออัลปาก้า องค์ละ 100 บาท และเนื้อทองเหลือง องค์ละ 50 บาท
สำหรับพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน รุ่นปี"15 พิมพ์นิยมนี้ พิมพ์ที่นิยมที่สุดคือ "พิมพ์คอแอล" ซึ่งมีทั้งเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลือง จุดสังเกตที่คอด้านขวาของหลวงพ่อจะมีเส้นลากลงมาเป็นตัวแอลตัวใหญ่
- ผิวขององค์พระจะตึงแน่น และเนื่องจากเป็นพิมพ์ปั๊ม จึงมีการแต่งรอยตะเข็บข้างด้วยตะไบ รวมทั้งในร่องระหว่างสังฆาฏิกับชายจีวรซ้ายมือก็จะมีรอยแต่งด้วยตะไบในซอก
- มีเส้นขีดตรงหัวตาซ้าย
- ส่วนในหูจะมีส่วนเกิน(ตัดเกิน) ออกมาจากรูปหู
- ตรงปลายคางมีเส้นเล็กๆ เป็นฝอยๆ เชื่อมกับเนื้อคอ
- มองเห็นเส้นริ้วจีวรด้านขวาองค์พระสามเส้น และด้านที่พันแขนซ้ายเจ็ดเส้น
- ใต้ฐานหากเป็นเนื้ออัลปาก้าใช้มือลูบดูจะแอ่นเป็นท้องกระทะเล็กน้อย หากเป็นทองเหลืองจะตึงไม่แอ่น และมีเส้นรอยปั๊มตัดใต้ฐานเป็นวงๆ เรียกกันว่า "วงเดือน"
สำหรับพิมพ์ด้านหลังในทุกพิมพ์จะเหมือนกัน
- หลังใบหูมีเส้นเรียวคมชัดวิ่งขนานกับริมหู
- สระ "อิ" เหนือคำว่า "เงิน" ที่ปั๊มลงบนสังฆาฏิด้านหลัง มีลักษณะเหมือนหัวลูกศรปลายอยู่ล่าง
- ช่วงรอยต่อระหว่างองค์พระกับฐานเขียงด้านหลัง เมื่อใช้กล้องส่องไล่ดูจะเห็นบางส่วนเป็นรอยเสี้ยนเล็กๆ คล้ายกับรอยครูดของเครื่องปั๊ม เป็นแผงเล็กๆ วิ่งเชื่อมระหว่างก้นองค์พระกับฐานที่ท่านนั่งพอดี เป็น "จุดตาย" อีกประการหนึ่งครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
เหรียญพระสุนทรีวาณี สมเด็จพระสังฆราช(แพ)
"พระสุนทรีวาณี" นับเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยมสืบทอดกันมาของวัดสุทัศนเทพวราราม นอกเหนือไปจาก "พระกริ่ง" อันลือเลื่อง เนื่องจากทรงพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏ
แต่เดิมภาพ "พระสุนทรีวาณี" หรือ "เทวนารี" สถิตอยู่บนดอกบัวนี้ สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ ทรงให้ หมื่นศิริธัชสังกาศ-เจ้ากรม (แดง) เขียนขึ้นประดิษฐานในพระตำหนักสมเด็จ
ปรากฏว่าเป็นที่สนพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชวิจารณ์พระราชทาน สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ โดยมีพระราชดำริว่า อาจเกี่ยวเนื่องกับลัทธิมหายาน เพราะเป็นรูปดอกบัวขึ้นจากน้ำ ดอกกลางเป็นดอกบัวบาน มีรูปนางฟ้านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายพาดตักอย่างพระมารวิชัย ในอุ้งหัตถ์มีดวงแก้ว พระหัตถ์ขวาทำอาการกวักดุจพระคันธารราษฎร์ ดอกริมเป็นดอกบัวโรย เบื้องขวามีรูปบุรุษ เบื้องซ้ายมีรูปสตรีนั่งพับเพียบประนมมือ เบื้องบนมีรูปเทวดาถือเครื่องสักการะ ดั้นเมฆสองแถวซ้อนกัน เบื้องล่างมีรูปนาคกับสัตว์ต่างๆ
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ได้ทรงอธิบายว่า "รูปสุนทรีวาณี" นี้นั้น สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ ทรงคิดขึ้นจาก "พระสูตสัททาวิเศษ แล้วให้หมื่นศิริธัชลังกาศ (แดง)-เจ้ากรม เขียนขึ้น โดยมีความหมายถึง พระธรรม ดอกบัวหมายถึง โอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ที่มีในพระคาถาดังนี้
"มุนินฺท วทนมพุทฺธ คพฺภสมฺภว สุนฺทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยหํ ปิณยตํ มนํฯ"
"วาณี" นางฟ้า คือ พระไตรปิฎก "มุนินท วทนมพุทธ คพภสมภว สุนทรี" คือ มีรูปอันงดงาม เกิดแต่ท้องแห่งดอกบัว ซึ่งก็คือ พระโอษฐ์แห่งพระพุทธเจ้า "ปาณีนํ สรณํ วาณี" คือ เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณทั้งหลาย และ "มยหํ ปิณยตํ มนํ" คือ จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี
พระอุปัชฌาย์(แดง) ยังได้กล่าวว่า อาจารย์ของท่านทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ สอนให้บริกรรมคาถานี้ก่อนจะเริ่มเรียนพระปริยัติและเข้าที่ภาวนาทุกคราว ท่านผู้ใหญ่ทั้งหลาย มีสมเด็จพระสังฆราช (วัดราชสิทธาราม) เป็นต้น ล้วนนับถือคาถานี้อยู่ทั่วกัน
จนกระทั่งอาราธนากัมมัฏฐานก็ใช้คาถานี้ ท่านจึงคิดเอามาผูกเป็นรูปปรุงเปรียบเข้าอีกหลายอย่างหัตถ์ขวาแห่งสุนทรีวาณี ซึ่งทำเพียงดังอาการกวัก เพื่อจะให้ได้กับคำว่า "เอหิ ปัสสิโก โอปะนะยิโก" ซึ่งถือเอาความหมายว่าเรียกให้มา ดูดวงแก้วในหัตถ์ซ้าย เปรียบเป็น "อมตะ" รูปบุรุษเบื้องขวาเปรียบเป็น "ภิกษุสงฆ์สาวก" รูปสตรีเบื้องซ้ายเป็น "ภิกษุณีสงฆ์สาวิกา" เทวดาแถวล่างหมายถึง "เทวโลก" พรหมแถวบน หมายถึง "พรหมโลก" ต่างมาทำสักการบูชาน่านน้ำภายใต้ เปรียบด้วย "สังสารวัฏ" นาคและสัตว์น้ำ เปรียบเป็น "พุทธบริษัท"
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ผู้โด่งดังในด้านการสร้าง "พระกริ่ง" ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมสะสมกันในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ เมื่อทรงสร้างก็จะตั้งนามตามสมณศักดิ์ในขณะนั้น แต่สำหรับ "เหรียญสุนทรีวาณี" ที่ทรงสร้าง ไม่ได้ตั้งตามสมณศักดิ์ดังเช่นพระกริ่ง คงให้นามว่า "เหรียญสุนทรีวาณี" ตามต้นแบบที่มีมา
เหรียญสุนทรีวาณีนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างในสมัยเป็นที่พระพรหมมุนี ในปี พ.ศ.2464 โดยเอาแบบอย่างจากภาพพระสุนทรีวาณี ของ สมเด็จพระวันรัต (แดง) พระอุปัชฌาย์ มาเป็นแบบให้พระปลัดจิ๋ว ซึ่งเดิมเคยเป็นช่างทองมาเป็นผู้ออกแบบแกะแม่พิมพ์ขึ้นมา
ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปทรงเสมา หูเชื่อม มีห่วง ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูป "พระสุนทรีวาณี" ประทับนั่ง ขัดสมาธิเพชร เหนืออาสนะกลีบบัว 2 ชั้น ชั้นบนเป็นบัวหงาย 11 กลีบ ชั้นล่างเป็นบัวคว่ำ 7 กลีบ พระหัตถ์ขวายกขึ้นระหว่างพระอุระ มีลักษณาการแบบ "กวักเรียก" มีความหมายเพื่อให้ได้รับคำว่า "เอหิปสสิโก" พระหัตถ์ซ้ายถือดวงแก้ว อันเปรียบเสมือนพระสาวก ส่วนพระเศียรซึ่งเดิมของ สมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นมงกุฎ พระองค์ได้เปลี่ยนเป็นรูปองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นศาสดาของมวลมนุษย์และเทวดา
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชวิจารณ์ภาพ "พระสุนทรีวาณี" นี้ พระราชทานในงานพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2471 อีกด้วยครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่-พิมพ์อกเล็ก
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน "พระขุนแผน" ถ้านึกถึงพระขุนแผนก็ต้องนึกถึงเมตตามหานิยม พวกหนุ่มๆ ในสมัยก่อนก็มักจะชอบหาพระขุนแผนมาใส่ห้อยคอ เพราะนึกถึงความเจ้าชู้และมีเสน่ห์ของพระเอกขุนแผน แถมมีความเก่งกล้าในวิทยาคม จึงถูกใจชายหนุ่มในสมัยก่อนกันนัก
พระขุนแผนของสุพรรณบุรี กรุที่มีชื่อเสียงก็จะเป็นกรุวัดพระรูปและกรุวัดบ้านกร่าง พระกรุวัดบ้านกร่างนั้นมีมากมายหลายพิมพ์และมีแบบคู่คือพระพลายคู่ ก็ยังมีอีกหลายพิมพ์เช่นกัน วัดบ้านกร่าง ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ ตรงข้ามตัวตลาดและที่ว่าการอำเภอศรีประจันต์ วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง พระกรุวัดบ้านกร่างนี้สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้สร้างไว้หลังจากเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารหาญที่เสียสละชีวิตในการศึกครั้งนั้น
พระกรุวัดบ้านกร่างแตกกรุออกมาประมาณ ปีพ.ศ.2440 อาจจะเนื่องจากองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระล้มลง คนเฒ่าคนแก่ เล่าให้ฟังว่า เกิดมาก็เห็นพระบ้านกร่างนี้กระจัดกระจายอยู่ไปทั่วบริเวณวัด และเจ้าอาวาสในสมัยนั้นก็ได้ให้นำพระเครื่องทั้งหมดมากองรวมไว้ที่โคนต้นพิกุลหน้าวิหารและในวิหารหลังเก่า ก็มีกองสูงถึงฐานชุกชี แสดงว่าจำนวนพระมีมากมาย คนในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครนำพระเครื่องจากวัดเข้าบ้าน จึงมีพระกองอยู่อย่างนั้น จะมีก็พวกเด็กแถววัดและเด็กวัด ที่นำเอามาร่อนลงน้ำให้กระท้อนกับพื้นน้ำเล่นว่าใครจะกระท้อนได้มากกว่ากัน หรือไม่ก็เอามาทอยกอง เป็นที่สนุกสนานของเด็กๆ ในสมัยนั้น แต่ก็ยังไม่มีใครกล้านำกลับไปบ้าน เพราะผู้ใหญ่จะดุเอาห้ามเอาของวัดเข้ามาไว้ที่บ้าน (ในสมัยพ.ศ.2440) ต่อมาที่ท่าน้ำวัดบ้านกร่างมักมีชาวเรือที่นำข้าวของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมาพักจอดเรือที่ท่าน้ำวัดในหน้าแล้ง ส่วนมากเป็นชาวนครชัยศรี สมุทรสาครและสมุทรสงคราม ก็เก็บกลับไปบ้านของเขาบ้าง บางคนเอาไปห้อยคอแล้วมีประสบการณ์ต่างๆ ก็มาเอากันอีก พระก็เริ่มงวดลงไป ชาวบ้านก็จึงเริ่มเอาพระมาเก็บไว้บ้าง พวกหนุ่มๆ เอาพระพลายคู่ไปห้อยคอแล้วไปมีเรื่องกับคนต่างถิ่น ถูกฟันไม่เข้าก็จึงเริ่มมาหาพระที่วัดกันจนหมดไปในที่สุด ในสมัยก่อนผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า พระบ้านกร่างคู่นั้นสามารถแลกกับวัวได้คู่หนึ่งเลยทีเดียว
ต่อมาก็มีการตั้งชื่อพระพิมพ์ต่างๆ เช่น พระขุนแผนทรงพลใหญ่-เล็ก พระขุนแผนห้าเหลี่ยมอกใหญ่-อกเล็ก พระขุนแผนใบมะยม พระขุนแผนใบพุทรา พระพิมพ์ พระประธาน พิมพ์ซุ้มเหลือบ พิมพ์เถาวัลย์ พิมพ์ใบไม้ร่วง พิมพ์ซุ้มประตู และพลายคู่พิมพ์ต่างๆ ฯลฯ ทำไม ต้องเป็นชื่อขุนแผน ก็เมืองสุพรรณนั้นตามวรรณคดีเป็นบ้านเกิดของขุนแผนตัวพระเอกของเรื่อง แม้แต่ถนนหนทางในสุพรรณฯ ยังตั้งชื่อตามวรรณคดีเลยครับ ชื่อพระกรุอื่นๆ ก็มีที่เป็นชื่อตามวรรณคดีทั้งนั้น ทีนี้พระที่มีชื่อว่าพระขุนแผนผู้คนก็นึกเอาว่าคงจะเก่งกล้าสามารถและมีเสน่ห์เมตตามหานิยมตามพระเอกในเรื่องขุนแผนด้วย พวกชายหนุ่มวัยรุ่นก็มักจะนิยมเสาะหากันใหญ่
ความจริงพุทธคุณของพระกรุวัดบ้านกร่าง นั้นเด่นทางด้านคงกระพัน แคล้วคลาด และเมตตามหานิยม แต่ร้อยทั้งร้อยคนที่หาพระขุนแผนนั้นชอบเจ้าชู้เกือบทั้งนั้นครับ ไม่ได้ว่าใครนะครับ แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็นเป็นอย่างนั้น ตัวผมเองเมื่อตอนวัยรุ่นก็ห้อยพระวัดบ้านกร่างเช่นกัน แหมใครจะไม่ชอบล่ะครับ แต่ปัจจุบันไม่ได้ห้อยแล้ว แม่บ้านไม่ให้ห้อยครับ สงสัยเขาจะอ่านวรรณคดีมากไป
ครับโม้มามากแล้ววันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดบ้านกร่าง ที่นิยมกันมากคือพระขุนแผน พิมพ์อกใหญ่และพิมพ์อกเล็ก จากหนังสืออมตยอดนิยมเมืองสุพรรณมาให้ชมครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
.
พระปิดตากรุวัดนางชีพิมพ์ต่างๆ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดนางชีโชติการาม ภาษีเจริญ กทม. วัดแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานและน่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีกรุพระเครื่องต่างๆ มากมาย ที่เป็นที่รู้จักกันมากก็คือพระปิดตาเนื้อตะกั่ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เรามาลองศึกษาประวัติของวัดและพระเครื่องที่พบในกรุของวัดนางชีกันครับ
วัดนางชีโชติการาม ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกกันสั้นๆ ว่า
วัดนางชี
วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ ว่ากันว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง พระประธานในพระอุโบสถและพระพุทธรูปในพระวิหารเป็นศิลปะแบบอยุธยา นอกจากนี้ยังเคยขุดพบแผ่นอิฐมีขนาดใหญ่หนาแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา
จากตำนานกล่าวว่า วัดนางชีสร้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระชัยราชาธิราช สันนิษฐานว่าสร้างในปี พ.ศ.2078 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี ตามประวัติกล่าวว่า สาเหตุที่สร้างเนื่องจากบุตรสาวเจ้าพระยาพิชิตมนตรี ชื่อ อิ่ม ป่วยอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนกระทั่งมีตาปะขาวมานิมิตเข้าฝันกับเจ้าพระยาพิชิตมนตรี ให้แก้บนด้วยการให้ลูกสาวบวชชี
ดังนั้นเจ้าพระยาพิชิตมนตรีจึงได้ให้แม่อิ่ม บุตรสาวบวชชี พร้อมทั้งสร้างวัดให้อยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดนางชี คณะผู้สร้างวัดนางชีในตอนแรกมี 3 ท่าน คือ เจ้าพระยาพิชิตมนตรี พระยาฤๅชัยณรงค์ และ ออกหลวงเสนาสมุทร วัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมา จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย และได้กลายเป็นวัดร้างเพราะขาดการดูแลในช่วงสงครามระหว่างไทยกับพม่า
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงตอนปลายรัชกาล ซึ่งว่างจากการทำศึก พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำรวจตรวจตราวัดวาอารามนอกกำแพงเมือง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม โดยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ พ่อค้า คหบดี ได้ร่วมกันสร้างและปฏิสังขรณ์ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง
สำหรับวัดนางชี ท่านพระยาโชฎึกราชเศรษฐีซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีน ได้เป็นผู้ปฏิสังขรณ์โดยร่วมกับสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระราชชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการบวชชีของพระองค์ โดยทำเป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบลวดลายของจีนทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระอารามหลวง ได้พระราชทานนามว่า "วัดนางชีโชติการาม"
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชานุชิต (จ๋อง) จัดการบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุทั่วพระอาราม และให้วัดนางชีเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
วัดนางชีมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ตั้งแต่ครั้งโบราณแล้ว มีพิธีถวายการสรงน้ำและพิธีแห่พระบรมสารีริกธาตุโดยทางเรือไปตามแม่น้ำลำคลองเป็นงานประจำปี ชาวบ้านเรียกว่า "งานชักพระ"
ที่วัดนางชีแห่งนี้มีการพบพระกรุที่บรรจุอยู่ในเจดีย์ราย โดยมีคนร้ายมาลักลอบขุด เพื่อหาสมบัติของมีค่า เจดีย์รายเหล่านี้เป็นเจดีย์เอกชนสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิบรรพบุรุษ เป็นเจดีย์ไม่ใหญ่โตนัก ไม่มีใครทราบว่าคนร้ายได้อะไรไปบ้าง
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 ในสมัยพระครูบริหารบรมธาตุเป็นเจ้าอาวาส ต้องการใช้พื้นที่ด้านหลังพระอุโบสถ และด้านหลังพระวิหาร จึงได้รื้อเจดีย์รายออก พบพระเครื่องเนื้อผง คือพระวัดท้ายตลาดเป็นจำนวนมาก สอบประวัติได้ความว่า พระปลัดช้อย อยู่วัดท้ายตลาดเป็นผู้นำมาบรรจุไว้หลายปี๊บ นอกจากนี้ยังพบพระโคนสมอ และพระเนื้อตะกั่วองค์เล็กๆ อีกมาก ทางวัดก็ได้แจกจ่ายชาวบ้านไปบ้าง และเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาเพื่อนำรายได้มาบูรณะวัด
ต่อมาได้มีการเปิดกรุครั้งที่ 2 ประมาณ ปีพ.ศ.2523-2524 ทางวัดต้องการใช้พื้นที่อีกจึงต้องรื้อเจดีย์รายอีกครั้ง ก็พบพระกรุวัดนางชีอีกครั้งมีหลายพิมพ์ บรรจุอยู่ในกระปุก น่าจะประมาณ 2,000 องค์ จึงเปิดให้ประชาชนเช่าบูชาเพื่อนำรายได้มาบูรณะวัด พระในคราวนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อชินตะกั่ว ผิวปรอท ขาว เป็นส่วนมาก พระที่พบเป็นพระปิดทวาร หลายแบบ พระปางนาคปรก พระปรกโพธิ์ เป็นต้น
พระปิดตาของกรุวัดนางชีมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระปิดตาเนื้อชินตะกั่วของวัดหนัง จึงสันนิษฐานกันว่าพระที่สร้างบรรจุไว้นั้นอาจจะเป็นพระที่นำไปให้เจ้าคุณเฒ่า วัดหนัง ปลุกเสกก็เป็นได้ ปัจจุบันพระปิดตาวัดนางชีก็หายากแล้วครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตากรุวัดนางชีพิมพ์ต่างๆ มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตาพิมพ์มัดข้าวต้ม เนื้อเมฆพัด
หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรี ซึ่งท่านเป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ปี พ.ศ.2481 ในพิธีครั้งนี้พระเกจิอาจารย์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่เรืองวิทยาคมทั้งสิ้น พระเกจิอาจารย์ที่ผมจะกล่าวถึงก็คือหลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ครับ
พระครูธรรมสุนทร (จันทร์) วัดบ้านยาง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 ที่หมู่บ้านริมคลองเหนือ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โยมบิดาชื่อจีน โยมมารดาชื่อเคิ้ว นามสกุลจีนเครือ ชีวิตในวัยเด็กก็เหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป ใช้ชีวิตอย่างอิสระ หน้าที่ของท่านคือต้อนควายฝูงใหญ่ไปเลี้ยง อุปนิสัยเป็นคนจริง พูดเสียงดัง และค่อนข้างจะเป็นคนเขื่องอยู่ไม่น้อย เป็นหัวหน้าในกลุ่มเพื่อนฝูง
พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2440 ก็ได้อุปสมบทที่วัดหนองเสือ บ้านโป่ง โดยมีพระอธิการดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดี (จันทรโชติ) วัดบ้านยาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้ศึกษาอักขรสมัยทั้งขอมและไทย ปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัด เริ่มศึกษาพระปริยัติและปฏิบัติกับพระอธิการดี จนมีความรู้แตกฉาน และทางด้านพุทธาคมนั้นก็ได้ศึกษากับพระอธิการดี และพระอธิการอินทร์ วัดบ้านยางนอกอีกด้วย
ต่อมาท่านก็ได้สร้างพระปิดตาออกมาแจกกับชาวบ้าน ลูกศิษย์ลูกหา จนปรากฏในทางคงกระพันเล่าลือกันมาก ในราวปี พ.ศ.2466 พระอธิการดี เจ้าอาวาส ถึงกาลมรณภาพ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2475 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล พ.ศ.2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูธรรมสุนทร หลวงปู่จันทร์มรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุได้ 76 ปี พรรษาที่ 54
ในครั้งที่หลวงปู่จันทร์ยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2481 ที่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ทางคณะศิษย์ได้จัดงานแสดงมุทิตาจิต และสร้างเหรียญรูปท่านแจกเป็นที่ระลึก
นอกจากนี้ ท่านก็ยังได้สร้างพระปิดตาไว้หลายรุ่นหลายแบบ เช่น พระปิดตาเนื้อเมฆพัด เนื้อตะกั่ว เนื้อชิน เนื้อพลวง เนื้อทองแดง และเนื้อผง เหตุที่สร้างไว้หลายเนื้อนั้น ก็เนื่องจากว่าท่านสร้างไว้หลายครั้งด้วยกัน ตั้งแต่เมื่อท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาสด้วยซ้ำ จนถึงปีที่ท่านมรณภาพ ชาวบ้านโป่งจะหวงแหนพระปิดตาของท่านกันมาก
เนื่องจากมีประสบการณ์มากมายที่ชาวบ้านแถบนั้นประสบมา ทั้งแคล้วคลาด ทั้งอยู่ยงคงกระพันชาตรี ครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพาท่านก็สร้างแจกทหารราชบุรีและจากที่อื่นๆ ที่เดินทางมาขอพระจากท่านเป็นจำนวนมาก การสร้างพระของท่านนั้นก็สร้างกันในวัด พระเณรชาวบ้านช่วยกันเทหลอมแล้วช่วยกันตกแต่ง หลวงปู่ท่านจะลงอักขระ แล้วปลุกเสกให้อีกครั้ง
ในวันนี้ก็นำพระปิดตาพิมพ์มัดข้าวต้ม เนื้อเมฆพัด ของท่านมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2559 09:52:33 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #10 เมื่อ:
23 กุมภาพันธ์ 2559 20:03:48 »
.
พระปิดตาเนื้อผง เนื้อตะกั่ว และน้ำเต้ากันไฟ
ของหลวงปู่ชุ่ม วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ซึ่งเราๆ ท่านๆ ก็รู้จักกันดีและจะนึกถึงสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) และพระสมเด็จวัดพลับ นอกจากสมเด็จพระสังฆราช (สุก) แล้ว พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาวิปัสสนาสายของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) สืบต่อมา และได้สร้างวัตถุมงคลไว้เช่นกัน
พระสังวรานุวงศ์เถระ (ชุ่ม) เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2396 บ้านเดิมของท่านอยู่ในสวนหลังวัดพลับ โยมบิดาชื่ออ่อน โยมมารดาชื่อขลิบ เมื่ออายุได้ 10 ขวบท่านก็ได้ศึกษาอักษรสมัยในสำนักของพระอาจารย์ทอง วัดพลับ และได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีพระสังวรานุวงศ์เถระ (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ศึกษาพระกรรมฐานกับหลวงปู่เมฆด้วย พออายุครบบวชในปี พ.ศ.2417 ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระสังวรานุวงศ์ (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโตเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระสมุห์กลัดเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ต่อมาภายหลังเมื่อสิ้นพระสังวรานุวงศ์เถระ (เมฆ) แล้ว หลวงปู่ชุ่มก็ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระสังวรานุวงศ์เถระ (เอี่ยม) ต่อจนเชี่ยวชาญและจบหลักสูตรของสมเด็จพระสังฆราช (สุก)
ในปี พ.ศ.2457 หลวงปู่ชุ่มอายุได้ 60 ปี ก็ได้รับพระราชทานพัดงาสาน และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสังวรานุวงศ์เถระ พ.ศ.2458 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพลับ จนกระทั่งมรณภาพในปี พ.ศ.2470 สิริอายุได้ 74 ปี พรรษาที่ 53
หลวงปู่ชุ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่าง เช่น พระเครื่องทั้งชนิดเนื้อตะกั่ว เนื้อผง (หายาก) และเครื่องรางน้ำเต้ากันไฟ ซึ่งโด่งดังมาก และมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย ปัจจุบันหาของแท้ยากมากครับ พุทธคุณปลอดภัยแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และอยู่ยงคงกระพัน ส่วนน้ำเต้ากันไฟนั้น อยู่กับบ้านเรือนป้องกันไฟ ป้องกันฟ้าผ่า และปกป้องคุ้มกันภัย
คนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่า ขนาดวัวที่มีผู้นำมาถวายไว้ที่วัดชื่อเจ้าด่าง ชอบออกเดินหากินไปเรื่อยเปื่อย บางครั้งออกไปไกลถึงแถวโพธิ์สามต้น แล้วไปเหยียบผ้าที่เขาย้อมตากไว้ เจ้าของมาเห็นเข้าก็เข้ามารุมทำร้าย แต่เจ้าด่างไม่เป็นอะไรเลย มีครั้งหนึ่งทหารเรือลองยิงก็ยิงไม่ออก เจ้าด่างนี้มีผ้าจีวรของหลวงปู่ชุ่มผูกคอไว้เป็นที่เล่าลือกันมาก และต่อมาจึงทราบว่าเป็นวัวของหลวงปู่ชุ่มวัดพลับ เรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่ชุ่มนั้นมีประสบการณ์มากมาย คนเฒ่าคนแก่แถวๆ นั้นต่างทราบกันดี
ลูกศิษย์ของหลวงปู่ชุ่ม ที่เป็นพระสงฆ์และรู้จักกันดี ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ วัดราชบพิธ พระครูประศาสน์สิกขกิจ (พริ้ง) วัดบางปะกอก พระมงคลเทพมุนี (สด) วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี พระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม) วัดกลางบางแก้ว
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตาทั้งเนื้อผงและเนื้อตะกั่วและน้ำเต้ากันไฟของหลวงปู่ชุ่ม จากหนังสือตามรอยตำนานสุดยอดอมตะภาพถ่าย 108 พระคณาจารย์แดนสยาม ของคุณพยัพ คำพันธุ์ มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
.
พระผงเจ้าคุณทิพย์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระรุ่นเก่าๆ ที่ดี มีพิธีกรรมการสร้างดี เนื้อหามวลสารดี พิธีพุทธาภิเษกดี แต่สนนราคายังไม่แพงนัก ยังมีอีกมาก ในวันนี้จะมาคุยกันถึงพระดีที่น่าบูชาคือ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์โกษา ซึ่งเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ พร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ)
พระยาทิพยโกษา (สอน โลหนันท์) รับราชการในกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2429 จนกระทั่ง กราบทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีอายุมาก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2468 ท่านเจ้าคุณเป็นญาติห่างๆ กับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสนิทสนมกัน นอกจากนี้ยังสนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) วัดระฆังฯ และท่านอาจารย์พา วัดระฆังฯ รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายรูป
ท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เก็บรวบรวมดอกไม้บูชาพระ แล้วนำมาตากแห้ง รวบรวมผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงพุทธคุณ รวมทั้งว่าน 108 ชนิดไว้ และได้ไปปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ถึงเรื่องการนำมาสร้างพระ แล้วจึงแกะแม่พิมพ์ด้วยหินสบู่ ท่านเจ้าคุณเชี่ยวชาญทางด้านฤกษ์ยามและโหราศาสตร์อยู่แล้ว จึงได้ดูฤกษ์ยามแล้วนุ่งขาวห่มขาว กดพิมพ์พระในระหว่างฤกษ์ พอหมดฤกษ์ก็หยุด โดยมีนายอั๋น นายชุ่ม เป็นลูกมือ
ส่วนการพุทธาภิเษกนั้นท่านเจ้าคุณทิพย์ได้ทูลขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นำพระทั้งหมดเข้าร่วมพิธีใหญ่ประจำปีในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ได้เข้าร่วมพิธีพร้อมกับพระชัยวัฒน์กะไหล่ทอง ประมาณปี พ.ศ.2460 ของวัดสุทัศน์
พระที่สร้างในครั้งนั้นท่านเจ้าคุณได้นำไปบรรจุเจดีย์ต่างๆ และส่วนหนึ่งได้แจกจ่ายให้แก่ลูกๆ หลานๆ ญาติมิตรที่รู้จักกันตามอัธยาศัย
พระที่สร้างในคราวนี้มีอยู่หลายพิมพ์ เช่น รูปลอยองค์แบบพระกริ่ง พระพิมพ์กลีบบัว พระพิมพ์เล็บมือ พระพิมพ์นางสมาธิขาโต๊ะ เป็นต้น พระส่วนใหญ่จะมีปิดทอง บางองค์ก็มีลงรักปิดทอง เนื้อพระผงท่านเจ้าคุณทิพย์ มีทั้งที่เป็นเนื้อออกสีเขียว และสีออกน้ำตาล
พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์นั้นพุทธคุณเด่นทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาด ปัจจุบันสนนราคาก็ยังไม่สูงมากนักครับ บางท่านอาจจะมีอยู่ที่บ้านแต่ไม่ทราบว่าเป็นพระอะไรก็เป็นได้นะครับ ถ้าพบก็เลี่ยมห้อยคอได้เลยครับ พระผงท่านเจ้าคุณทิพย์เป็นพระดี พิธีดี เนื้อหามวลสารดี และเป็นพระเก่าครับ
วันนี้ผมได้นำรูปพระบางส่วนของท่านเจ้าคุณทิพย์ มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
รูปเหมือนรุ่นแรก หลวงพ่อโอภาสี
หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด ฝั่งธนบุรี ผู้มีวัตรปฏิบัติที่แตกต่างจากพระเกจิอาจารย์รูปอื่นจนได้รับสมญาว่า "ผู้บูชาไฟ เป็นพุทธบูชา" หรือ พระอภิญญาผู้สำเร็จ "เตโชกสิณ" เป็นที่เคารพศรัทธาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
หลวงพ่อโอภาสี เดิมชื่อ ชวน มะลิพันธ์ เกิดที่ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ.2441 บรรพชาที่วัดโพธิ์ ในเมืองนครศรีธรรมราช ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพมหานครและฝากตัวเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งอายุครบ จึงอุปสมบท โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เป็นพระอุปัชฌาย์
ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสามารถสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ใฝ่ใจและมุ่งมั่นศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน สามารถเจริญกรรมฐานโดยเพ่งพินิจ "กองกูณฑ์หรือเจริญกสิณเตโชธาตุ"
นอกจากนี้ยังฝากตัวเข้าศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อกบ ถ้ำเขาสาริกา พระเกจิผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นด้วย
ราวปี พ.ศ.2484 หลวงพ่อโอภาสี เริ่มออกธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเคร่งครัด ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว คราหนึ่งท่านเดินทางมาปักกลด ณ บางมด อ.บางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี เมื่อชาวบ้านทราบข่าวจึงนำข้าวของเครื่องใช้และปัจจัยมาถวาย แต่ท่านก็นำไปเผาไฟจนหมด
ท่านกล่าวว่า "ความร้อนของมนุษย์นั้น ถูกเผาผลาญด้วยโลภะ โมหะ ภคะ อวิชชาฯ"
การที่ท่านนำของถวายไปเผานั้น เพื่อเป็นพุทธบูชาสักการะแด่อำนาจพุทธานุภาพ, อนุพุทธะปัจเจกพุทธะ อันเป็นที่สักการบูชาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ดลบันดาลให้อานุภาพเหล่านี้มาช่วยดับร้อนผ่อนคลายจิตใจมนุษย์ให้บรรเทาลง ด้วยอำนาจแห่งความมืดมน เพื่อเป็นการดับกิเลสทั้งหลายให้หมดไป
สร้างความศรัทธาแก่สาธุชนทั้งหลาย กิตติศัพท์และอภินิหารของท่านได้ปรากฏให้ชาวบ้านพบเห็นเรื่อยมา จึงได้ร่วมกันปลูกสร้างอาศรมให้ท่านพักอาศัยเรียก "อาศรมบางมด"
มรณภาพในปี พ.ศ.2498 โดยสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยเป็นที่อัศจรรย์ ลูกศิษย์จึงนำบรรจุในโลงแก้ว ประดิษฐานในพระมหาเจดีย์ในสวนอาศรมบางมด ปัจจุบันคือ "วัดหลวงพ่อโอภาสี" หรือ "วัดพุทธบูชา" ผู้ศรัทธาและประชาชนยังพากันไปกราบสักการะอยู่เป็นเนืองนิตย์ โดยเชื่อกันว่าการได้กราบไหว้ขอพรจากท่าน จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและประสบความสำเร็จตามปรารถนา
หลวงพ่อโอภาสี ได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง เพื่อแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพศรัทธามากมาย ซึ่งล้วนปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์ครบทุกด้าน เป็นที่นิยมและเสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง
ฉบับนี้จะกล่าวถึง "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" ที่ปัจจุบันมีค่านิยมสูงมาก และหาดูหาเช่ายากยิ่ง
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสี รุ่นแรก สร้างในปี พ.ศ.2495 ขณะจำพรรษาอยู่ที่อาศรมบางมด โดยจัดสร้างเพียงเนื้อเดียว คือ เนื้อทองแดง ลักษณะเป็นเหรียญกลม หูเชื่อม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 ซ.ม.
ด้านหน้า ขอบยกเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกหนากว่าชั้นใน ขอบชั้นในเป็นเส้นเล็กเรียวมากและติดชัดเป็นเส้นเดียวกันโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อโอภาสีหน้าตรงครึ่งองค์ คล้องประคำ ข้างล่างเป็นเครื่องหมาย "กากบาท"
ด้านหลัง ขอบโดยรอบยกเป็นเส้นชั้นเดียว บรรจุพระคาถาของท่าน คือ "อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ ปะฐะวีคงคา พระภุมมะเทวา ขะมามิหัง" ตรงกลางเป็นเครื่องหมาย "สวัสติกะ" มีปลายหันไปทางขวา แสดงถึงความเป็นมงคลต่างๆ และเป็นเครื่องหมายแห่งชีวิตซึ่งมีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด
อีกทั้งเป็นเครื่องหมายประจำของ "เทพอัคนี" ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นเครื่องหมายประจำตัวของท่าน ซึ่งเป็นผู้บูชาไฟก็เป็นได้ ส่วนจุด 4 จุดในเครื่องหมายสวัสติกะ หมายถึง ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
พิมพ์ด้านหลัง ยังแบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หนังสือใหญ่และพิมพ์หนังสือเล็ก หรือเรียกว่าพิมพ์ปอใหญ่และพิมพ์ปอเล็ก โดยสังเกตที่หางตัว "ป" ของคำว่า ปะฐะวีคงคา ถ้าแบนๆ คือ "พิมพ์ปอใหญ่" แต่ถ้าเรียวแหลม เป็น "พิมพ์ปอเล็ก"
การจะเช่าหานั้นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ห่วงต้องเป็นห่วงเชื่อม จะมีห่วงในตัวเฉพาะที่แจกกรรมการซึ่งใช้แม่พิมพ์เดียวกัน, เปลือกตาและลูกตาจะคมชัดมาก แม้ผ่านการใช้สึกมาแล้วก็ยังเห็นชัดเจน, เห็นฟันเป็นซี่ๆ คมชัดเจน, ริ้วจีวรจะพลิ้วเป็นธรรมชาติ คมชัด แต่ที่แจกกรรมการริ้วจีวรจะเบลอ เพราะแม่พิมพ์เริ่มชำรุด
นอกจากนี้ ข้างเหรียญที่ไม่ผ่านการใช้จะคมและรอยตัดขอบเหรียญจะสม่ำเสมอครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
เหรียญหล่อเจ้าสัวประทานพร 88 รุ่นแรก
"พระธรรมสิงหบุราจารย์" หรือ "หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม" เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เป็นพระกัมมัฏฐานที่มีจริยวัตรงดงาม เป็นพระสุปฏิปันโน สอนสั่งญาติโยมให้รู้ซึ้งถึงกฎแห่งกรรม รู้ถึงการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
จนเป็นที่เคารพศรัทธาทั้งในฐานะพระนักพัฒนา พระนักเทศน์ และพระวิปัสสนาจารย์
ท่านเกิดในสกุล จรรยาลักษณ์ เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2471 ที่ ต.ม่วงหมู่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
อายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โดยมีพระพรหมนคราจารย์ วัดแจ้งพรหมนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
ท่านศึกษาวิชากัมมัฏฐานกับพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ, พ่อท่านลี วัดอโศการาม, พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) จ.ขอนแก่น, พระราชสิทธิมุนี วิปัสสนาจารย์ชื่อดัง แห่งวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ
ด้วยความประทับใจในปฏิปทาของผู้เป็นอาจารย์ หลวงพ่อจรัญมุ่งเผยแผ่ด้วยการเปิดสำนักกัมมัฏฐานขึ้นที่วัดอัมพวัน โดยจำลองแบบให้มีสภาพเหมือนวัดหนองโพ และยังเขียนหนังสือธรรมะ จัดพิมพ์เผยแผ่แจกจ่ายเป็นวิทยาทานแก่ผู้เข้ามาอบรมจำนวนมาก
มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2559 สิริอายุ 88 พรรษา 68
ย้อนไปในปี พ.ศ.2557 พระครูปริยัติพรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดกลางพรหมนคร ขออนุญาตพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) จัดสร้างวัตถุมงคล "เหรียญหล่อเจ้าสัวประทานพร 88 รุ่นแรก หลวงพ่อจรัญ" เพื่อหาทุนและสมนาคุณผู้เป็นเจ้าภาพสร้าง "ศูนย์วิปัสสนา วัดกลางพรหมนคร"
จัดสร้างเป็นเนื้อทองคำ (ตามสั่งจอง), เนื้อเงิน หน้ากากทองคำ 99 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ หน้ากากทองคำ 99 เหรียญ, เนื้อเงินบริสุทธิ์ 999 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ หน้ากากเงิน 1,199 เหรียญ, เนื้อสัมฤทธิ์ 1,499 เหรียญ, เนื้อทองนพคุณ (อัลปาก้า) 2,999 เหรียญ, เนื้อทองทิพย์ (ทองเหลือง) 4,999 เหรียญ, เนื้อทองชมพู (ทองแดง) 4,999 เหรียญ
ลักษณะวัตถุมงคล ด้านหน้าเหมือนพระพิมพ์เจ้าสัวทั่วไป มีห่วงขวาง ด้านหลังมียันต์และอักขระขอมจม เป็นยันต์พุทธซ้อน, ยันต์มะอะอุ และยันต์นะเมตตา ด้านล่างมีลายเซ็น "พระธรรมสิงหบุราจารย์" และหมายเลขไทยกำกับ
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก วันจันทร์ที่ 22 ธ.ค. 2557 เวลา 14.19 น. ที่อุโบสถวัดกลางพรหมนคร มีพระวิปัสสนาจารย์ร่วมพิธีแผ่เมตตาอธิษฐานจิต 15 รูป อาทิ พระภาวนาพรหมคุณ วัดกุฎีทอง, พระครูสุขุมธรรมานุยุต วัดธรรมวงษ์, พระครูภัทรธรรมคุณ วัดพัฒนา ธรรมาราม, พระครูวิธานปริยัติคุณ วัดแจ้งพรหมนคร, พระครูสุวรรณวิโรจน์ วัดทอง, พระครูวิริยโสภิต วัดพระปรางค์, พระครูสัทธาโสภิต วัดศรัทธาภิรมย์ เป็นต้น
สอบถามได้ที่วัดกลางพรหมนคร ต.ต้นโพธิ์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี โทร.08-9902-0900 และ 08-9088-8965
เปิดตลับพระใหม่
พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระรูปเหมือนหลวงปู่เก๋ ถาวโร
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ขออนุญาตประชาสัมพันธ์พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลพระมงคลนนทวุฒ (หลวงปู่เก๋ ถาวโร) รุ่น 105 ปี สี่แผ่นดิน ณ วัดปากน้ำ จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 59 ซึ่งหลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ เมตตาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ จุดเทียนชัยและได้รับเมตตาจากหลวงปู่แขก ปภาโส วัดสุนทรประดิษฐ์ ดับเทียนชัยในพิธีสำหรับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกได้แก่ หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน หลวงปู่นนท์ สำนักสงฆ์เขาพรานธูป หลวงพ่ออ่าง วัดใหญ่สว่างอารมณ์ หลวงพ่อสำอางค์ วัดบางพระ พระมหาเมืองอินทร์ วัดอนงคาราม หลวงพ่อทองหล่อ วัดพรหมรังสี พระครูปลัดประสิทธิ์ วัดสุนทรประดิษฐ์ โดยมีคุณนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ร่วมเป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยคุณสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ประธานคณะกรรมการจัดสร้าง คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ประธานที่ปรึกษา รวมทั้งแขกผู้มีเกียรติในสังคมพระเครื่อง อาทิ คุณพิศาล เตชะวิภาค รองนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย คุณผูก รัศมี คุณชัยนฤทธิ์ เพชรพันธุ์ทอง ฯลฯ โดยพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก
หลังจากพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล พระมงคลนนทวุฒ (หลวงปู่ เก๋) รุ่น 105 ปีสี่แผ่นดิน ภายในงานได้มีการแจกวัตถุมงคล พระชัยวัฒน์เนื้อฝาบาตร หรือพระชัยวัฒน์แจกทาน แก่ประชาชนที่มาร่วมพิธี นอกจากนี้ คุณนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นนทบุรี และคุณสมนึก ธนเดชากุล นายกเทศมนตรีนครนนทบุรี ได้ร่วมกันทำลายบล็อกวัตถุมงคลเพื่อยืนยันเจตนารมณ์ที่ชัดเจน
สำหรับท่านที่สนใจวัตถุมงคลชุดนี้ของหลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ นนทบุรี สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2589-0500 ต่อ 1231, 1233 ได้ครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกริ่งเชียงตุง สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
"สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงโปรดพิมพ์ "พระกริ่งจีนใหญ่" ที่มีความสวยงามในทุกมุมมอง โดยส่วนใหญ่พระองค์จึงใช้ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของพระยาศุภกรบรรณสาร (นุ่ม วสุธาร) ในการสร้างพระกริ่งของพระองค์ในทุกครั้งและทุกปี"
พระกริ่งเชียงตุง ปี 2486 นับเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้าย ในสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และยังเป็นการนำแม่พิมพ์ "พระกริ่งใหญ่เดิม" มาใช้ในการจัดสร้างอีกครั้งเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย
การสร้างพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) โดยส่วนใหญ่แล้ว พระองค์จะใช้ "พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของ พระยาศุภกรบรรณสาร (นุ่ม วสุธาร) ผู้อำนวยการกองพระคลังข้างที่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นอดีตช่างทองหลวงฝีมือดี และรับอาสาทำแม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่ถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยการใช้ตะกั่วตีหุ้มองค์พระกริ่งใหญ่ต้นแบบ ทำให้ได้ขนาดเท่ากับต้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงใช้ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ของพระยาศุภกรบรรณสาร ในการสร้างพระกริ่งของพระองค์ในทุกครั้งและทุกปี เพราะทรงโปรดพิมพ์ 'พระกริ่งจีนใหญ่' ที่มีความสวยงามในทุกมุมมอง ในการสร้างครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2458 คือ "พระกริ่งพรหมมุนี" สมัยทรงครองพระสมณศักดิ์ ที่พระพรหมมุนี ครั้นเมื่อกรอกหุ่นเทียนเสร็จตามจำนวนที่จะเข้าหุ่นดินไทยแล้ว พระยาศุภกรบรรณสารก็จะนำแม่พิมพ์กลับไป และเป็นเช่นนี้ทุกครั้งไปมาตลอด
กระทั่งถึงปี พ.ศ.2466 ทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ทรงใช้แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่สร้าง "พระกริ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์" หรือ "พระกริ่งพุฒาจารย์" ก่อนที่พระยาศุภกรบรรณสารจะเอาแม่พิมพ์กลับคืนไป จากนั้นท่านก็ถึงแก่อนิจกรรม โดยยังไม่ได้นำแม่พิมพ์กลับมาถวายท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทำให้การสร้างพระกริ่งหลังจากนั้นต้องเปลี่ยนไปใช้แม่พิมพ์อื่นเป็นเวลาถึง 10 ปี อาทิ พระกริ่งวันรัต ปี 2478-2479, พระกริ่งชนะคน ปี 2481 หรือ พระกริ่งพุทธนิมิต ปี 2484 เป็นต้น
จนเมื่อปี พ.ศ.2486 คุณหญิงศุภกรบรรณสาร ภรรยาของพระยาศุภกรบรรณสาร ได้นำ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" ซึ่งเป็นแม่พิมพ์ตะกั่วอันเดิมกลับมาถวายสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และในปีนั้นเอง ทรงโปรดให้หล่อพระกริ่งใหญ่โดยใช้แม่พิมพ์ตะกั่วเดิมนั้น เพื่อประทานแก่เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาและพระสงฆ์ที่จะเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ สาธารณรัฐเชียงตุง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า-เมียนมา) ถวายพระนามว่า "พระกริ่งเชียงตุง" โดยสร้างจำนวน 108 องค์ สถาปนาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2486 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
พอถึงปีรุ่งขึ้น ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ "พระกริ่งเชียงตุง" จึงนับเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายในองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว)
หลังจากนั้นมา ท่านเจ้าคุณศรีฯ(สนธิ์) ได้นำ "แม่พิมพ์พระกริ่งใหญ่" นี้ มาสร้างพระกริ่งของท่านอีกหลายรุ่น คือ พระกริ่งนวโลกุตตรญาณมุนี, พระกริ่งก้นถ้วยใหญ่, พระกริ่งบรรณรสมงคลมุนี และสุดท้าย พระกริ่งทองทิพย์ ในปี พ.ศ.2495 แม่พิมพ์ก็ชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้งานได้อีก
พระกริ่งเชียงตุง เป็นพระกริ่งที่ทรงสร้างโดยใช้ชนวนพระกริ่งรุ่นต่างๆ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงเก็บไว้บนตำหนักสมเด็จฯ ผสมกับเนื้อชนวนพระกริ่ง ปี 2482 และแผ่นทองที่จารพระยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 รวมกับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชอินโดจีน ปี 2485 อีกจำนวนมาก กระแสเนื้อภายในจะออกสีนากอ่อนแล้วกลับเป็นสีน้ำตาล มีทั้งวรรณะอมเขียว ที่เรียกว่า "สีไพล (ว่านไพล)" คือออกสีเขียวเข้ม เพราะแก่ชนวนพระกริ่งนวโลหะ และวรรณะออกน้ำตาลอ่อนและน้ำตาลอมแดง โดยมีท่านผู้รู้ได้ผูกคำพ้องจองกันว่า "พระกริ่งเชียงตุง พิมพ์กริ่งใหญ่ เนื้อเหลืองไพล อุดใหญ่ใกล้บัว"
พระกริ่งเชียงตุง จำนวน 108 องค์นี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แจกแก่เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่จะเดินทางไปเชียงตุง และศิษย์ผู้ใกล้ชิดไปประมาณ 30 องค์, เจ้าคุณใหญ่ (เสงี่ยม) ได้ขอไปอีกประมาณ 40 องค์ ส่วนที่เหลือท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เก็บเอาไว้เพราะเป็นรุ่นสุดท้าย ซึ่งมีจำนวนเพียง 20 กว่าองค์เท่านั้น
เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ พระกริ่งเชียงตุงที่เหลือจึงได้ตกอยู่กับ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ผู้เป็นศิษย์เอกครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระสมเด็จพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระสมเด็จพระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างในปี พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นพระที่สร้างในโอกาสที่สมเด็จพระสังฆราช (ญาณสังวร) ท่านได้สร้างไว้เมื่อคราวอายุครบ 5 รอบครับ
ในปี พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระชันษาครบ 60 ปี บรรดาศิษยานุศิษย์ในสมเด็จพระสังฆราช ได้ประชุมหารือกันจัดงานและหาของที่ระลึกเพื่อถวายให้แจกในงานวันแซยิดของท่านในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระผงรูปสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ และให้นำหลวงพ่อพระศรีศาสดามาเป็นแบบพิมพ์ ส่วนมวลสารนั้นให้ช่วยกันหามา แต่ต้องเป็นมงคลวัตถุอันทรงคุณค่าต่อการสร้างพระ ในครั้งนี้ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ ซึ่งมีความเลื่อมใสในสมเด็จพระสังฆราช ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบถึงการจัดงานเฉลิมฉลองพระชันษา 60 ปี ของสมเด็จพระสังฆราช และได้ทูลขอพระราชทานผงที่ทรงสร้างพระสมเด็จจิตรลดาที่เหลือจากการที่ทรงสร้างพระ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผงที่เหลือทั้งหมดให้แก่ ม.ล.เกษตร เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมอันเป็นมงคลแก่พระสมเด็จพระศรีศาสดาในครั้งนั้น
สำหรับการแกะแม่พิมพ์ เป็นหน้าที่ของกองกษาปณ์แห่งประเทศไทย โดยออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบพระสมเด็จ มีพระศรีศาสดาประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว เมื่อแกะแม่พิมพ์แล้วได้ทดลองพิมพ์ออกมาจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ ม.ร.ว.ประสมศักดิ์ จรูญโรจน์ ดู ม.ร.ว.ประสมศักดิ์ดูแล้วให้ความเห็นว่าเนื้อที่ระหว่างยอดซุ้มกับองค์พระมีมากเกินไปจนแลดูโล่ง ให้นำแม่พิมพ์ไปแกะเพิ่มเส้นรัศมีเพื่อให้รูปแบบเกิดความสมดุล ช่างก็ได้นำแม่พิมพ์ไปแกะรัศมีกระจายออกจากเบื้องบนพระเศียรได้ 17 เส้น จากนั้นได้ผสมมวลสารพิมพ์พระสมเด็จพระศรีศาสดาจนหมดผง นับจำนวนรวมทั้งรุ่นลองพิมพ์ไม่มีรัศมี ได้จำนวน 6,164 องค์พอดี
เมื่อได้พระพิมพ์ทั้งหมดมาก็ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราชแล้ว สมเด็จพระสังฆราชได้อธิษฐานจิตเป็นการส่วนพระองค์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2516 จึงได้จัดพิธีพุทธาภิเษกขึ้นที่พระอุโบสถวัดบวรฯ ในวันที่ 28 กันยายน โดยมีพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒินั่งปลุกเสก หลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว สมเด็จพระสังฆราชทรงแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่ร่วมแสดงมุทิตาจิตอย่างทั่วถึง และยังแจกต่ออีกจำนวนหนึ่ง พระที่เหลือจากแจกแล้วได้นำออกมาให้ประชาชนได้บูชาองค์ละ 200 บาท ได้เงินประมาณ 600,000 บาท จึงนำไปทอดกฐิน ณ วัด วังโพธิการาม จ.กาญจนบุรี
พระสมเด็จพระศรีศาสดาจึงเป็นพระที่น่าเก็บรักษาและบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้ที่บูชาเป็นอย่างมากครับ ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนักครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
หลวงปู่ขำ วัดหนองแดง
"หลวงปู่ขำ เกสโร" หรือ "พระครูโสภณสราธิการ" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาชือก จ.มหาสารคาม พระเถระที่อายุพรรษามากที่สุดรูปหนึ่งของเมืองมหาสารคาม เป็นพระเถระทรงศีลบริสุทธิ์ สมถะ
ปัจจุบัน สิริอายุ 88 ปี พรรษา 68
หลวงปู่ขำ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2471 ที่บ้านหนองแดง ต.หนองกุง อ.นาชือก จ.มหาสารคาม
เมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์ อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดบ้านค้อธิ โดยมีหลวงปู่รอด พรมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังอุปสมบท ฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิทยาคมจากหลวงปู่เนาว์ ยโสธโร อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองแดง
หลวงปู่ขำ เป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย วัตรปฏิบัติดี ร่วมมือกับญาติโยม ทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาสาธารณูปโภคภายในวัดอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากญาติโยมเป็นอย่างดี ทำให้วัดแห่งนี้สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับวัตถุมงคลหลวงปู่ขำ อาทิ เหรียญรุ่นเจริญพร รุ่น 1, เหรียญเลื่อนสมณศักดิ์ รุ่น 2 เป็นต้น แต่ละรุ่นได้รับความสนใจจากคณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาค่อนข้างมาก ทำให้วัตถุมงคลเหล่านั้นมีราคาเช่าหาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากในปี 2559 เป็นปีที่หลวงปู่ขำ อายุครบ 88 ปี ในวันที่ 6 มี.ค.2559 วัดหนองแดง พร้อมคณะศิษยานุศิษย์ เตรียมจัดงานมุทิตาสักการะ พร้อมจัดสร้างวัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ขำรุ่นแรก เพื่อมอบสมนาคุณผู้ที่มาร่วมงานมุทิตาสักการะ และร่วมบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศาลาการเปรียญที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
วัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ขำรุ่นแรก ออกแบบเป็นรูปหลวงปู่นั่งขัดสมาธิ บริเวณสังฆาฏิ มีเลข ๑ หมายถึงเป็นรูปหล่อเหมือนรุ่นแรก และบริเวณฐานที่นั่งด้านหน้าต่อเนื่องไปด้านหลัง เขียนคำว่า "หลวงปู่ขำ เกสโร วัดหนองแดง จ.มหาสารคาม" จำนวนการจัดสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย 1.ชุดกรรมการ มีเนื้อเงิน เนื้อปลอกกระสุนปืน เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง เปิดบูชา ชุดละ 1,800 บาท (หมดแล้ว) 2.เนื้อชนวน สร้าง 289 องค์ เปิดบูชา 300 บาท 3.ทองแดงรมดำ สร้าง 489 องค์ บูชา 200 บาท 4.เนื้อทองระฆัง สร้าง 200 องค์ แจกโรงทานและพุทธศาสนิกชนที่ร่วมงานวันที่ 6 มี.ค.2559 5.เนื้อตะกั่ว สร้าง 32 องค์ มอบคณะกรรมการจัดงาน
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยหลวงปู่ขำเสกเดี่ยว ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2559
สนใจร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญวัดหนองแดง โทร.09-8754-7234
เปิดตลับพระใหม่
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2559 09:54:30 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #11 เมื่อ:
14 มีนาคม 2559 20:21:11 »
.
พระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่านลมหนาวพัดมาทำให้คิดถึงจังหวัดทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในสมัยอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีวัดวาอารามเก่าแก่สำคัญๆ อยู่มากมาย อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในสมัยอดีต นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ เช่น พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย และพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคต้น ถึงยุคปลาย ที่เป็นศิลปะแบบของลังกาก็มี ส่วนในเรื่องของพระเครื่องนั้นมีพบไม่มากกรุนัก ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องประเภทดินเผา เช่น กรุเวียงท่ากาน วัดช้างค้ำ วัดพระธาตุดอยคำ กรุฮอด กรุวัดหัวข่วง และกรุศาลเจ้า เป็นต้น
พระยอดขุนพลของจังหวัดเชียงใหม่ก็มีครับ พระของกรุนี้ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในประมาณปี พ.ศ.2498 นอกจากพระพิมพ์ยอดขุนพลแล้วยังพบพระพิมพ์ปรกโพธิ์อีกด้วย พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสนซึ่งเป็นสกุลช่างล้านนา
พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูงของเจ้าพระยามหากษัตริย์ทั้งสิ้น ส่วนพระพิมพ์ปรกโพธิ์นั้น รูปทรงกรอบนอกคล้ายๆ กัน รายละเอียดขององค์พระก็คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เครื่องประกอบนั้นเป็นต้นโพธิ์ แบบซุ้มโพธิ์
พระทั้งสองชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่อง คือมีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พระทั้งสองพิมพ์นี้ถือเป็นพระเครื่องยอดนิยมของภาคเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า "พระยอดขุนพล" ซึ่งปัจจุบันก็หาชมองค์แท้ๆ ยากเช่นกัน พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่ยงและแคล้วคลาดครับ และพระเครื่องทั้งสองพิมพ์นี้นับเป็นพระเครื่องศิลปะล้านนาที่สวยงามมาก ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไปครับ
พระเครื่องที่เป็นพระกรุพระเก่าของแต่ละจังหวัดนั้น มีคุณค่าในทางโบราณคดี และยังมีพุทธคุณในด้านคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข ถึงแม้บางองค์อาจจะมีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างเขื่อง ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยนิยมนำมาห้อยคอก็ตาม แต่เก็บไว้บูชาที่บ้านก็คุ้มครองบ้านเรือนและคน ในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งศิลปะของแต่ละยุคสมัยก็สวยงามและมีคุณค่าในตัวเองในแต่ละยุคแต่ละท้องถิ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติเราครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระยอดขุนพลของกรุศาลเจ้าเชียงใหม่ จากหนังสืออมตพระกรุอันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท
พระปิดตา วัดท้ายย่าน จ.ชัยนาท ซึ่งคนรุ่นเก่ามักเรียกขานว่า "พระปิดตา บ่หยั่น" นับเป็นพระกรุหนึ่งเดียวในชุดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพลที่มีอายุการสร้างยาวนานที่สุด และด้วยพุทธคุณเป็นเลิศครบครัน จึงเป็นสุดยอดแห่งการแสวงหาของบรรดานักสะสมพระกรุเก่า รวมถึงผู้ชื่นชอบพระปิดตามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ด้วยความที่หาของแท้ๆ ได้ยากยิ่งนัก ค่านิยมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
พระปิดตา วัดท้ายย่าน มีการค้นพบที่กรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียงซากโบราณที่ยังพอมีเค้าโครงเก่าอยู่บ้างเท่านั้น นอกจากพระปิดตาแล้วยังพบพระลีลาเมืองสรรค์และพระสรรค์นั่งไหล่ยกบรรจุในกรุเดียวกัน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสรรคบุรี ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองพระ" มีวัดร่วม 200 วัด เป็นแหล่งรวมพระพุทธรูปสมัยอู่ทองที่มีชื่อเสียงมาก และเมื่อคราวสงครามก็นับเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในการรบทัพจับศึก ผู้รู้หลายๆ ท่านลงความเห็นว่า พระปิดตาท้ายย่านนี้สร้างในราวกลางถึงปลายกรุงศรีอยุธยา เพราะพบรวมอยู่กับพระเครื่องในสมัยเดียวกัน
พระปิดตา วัดท้ายย่าน เท่าที่พบมี 3 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อแร่พลวง เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อดินผสมผงใบลาน ซึ่งจะพบใน "พิมพ์กบ" เป็นส่วนใหญ่ สำหรับเนื้อที่ได้รับความนิยม คือ "เนื้อแร่พลวง" โดยเนื้อแร่พลวงนี้ เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อถลุงให้บริสุทธิ์แล้วจะมีความแข็งที่ผิวนอกแต่เนื้อในพรุน ไม่ยึดเกาะกันเหมือนโลหะชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อได้รับการกระทบหรือกระแทกแรงๆ จึงมักจะชำรุดแตกหักเป็นชิ้นๆ ทำให้การเก็บรักษาต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก
พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร พิมพ์ที่ได้รับความนิยมมี 3 พิมพ์ คือ พิมพ์ชีโบ พิมพ์กบ และพิมพ์เขียด ซึ่งในสามพิมพ์นิยมนี้ "พิมพ์กบ" นับเป็นพิมพ์ยอดนิยม อาจเนื่องด้วยมีขนาดพอเหมาะพอดีกว่าทุกพิมพ์
พิมพ์ชีโบ
- ลักษณะพิมพ์ทรงค่อนข้างใหญ่กว่าทุกพิมพ์
- พระเศียรปรากฏเป็นเส้นนูน คล้ายสวมหมวกชีโบ อันเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
- พระเมาลีเป็นต่อม
- ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสาลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ "ปิดทวาร"
- พระศอด้านหลังปรากฏเส้นพระศอ เป็นจุดเม็ดไข่ปลา ด้านล่างลงมาเป็นอักขระตัว "อุ"
พิมพ์กบ
- พิมพ์ทรงเล็กกว่าพิมพ์ชีโบ เมื่อมองจากด้านหลังองค์พระจะมีลักษณะคล้าย "กบ" จึงใช้เรียกชื่อพิมพ์
- พระเศียรไม่ปรากฏรายละเอียด บางท่านจึงเรียก "พิมพ์เศียรโล้น"
- ด้านหลังปรากฏพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่ เป็นเส้นจากพระอังสาลากลงมาปิดส่วนท้ายในลักษณะ "ปิดทวาร"
พิมพ์เขียด
- มีพิมพ์ทรงเล็กที่สุดในสามพิมพ์
- พุทธลักษณะจะคล้ายพิมพ์ชีโบ แต่พระเศียรมียอดแหลม ยาว และเล็กกว่า แลดูคล้ายๆ เขียด
- ด้านหลังปรากฏอักขระขอม ตัว "อุ" เช่นเดียวกัน
ด้วยความเป็นพระกรุหนึ่งเดียวและมีอายุยาวนานที่สุดในชุดเบญจภาคีพระปิดตายอดขุนพล กอปรกับพุทธคุณที่ปรากฏเป็นเลิศครบครัน ทั้งคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม และโชคลาภ ทำให้ "พระปิดตา วัดท้ายย่าน" เป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยพระที่พบมีจำนวนน้อยมาก การทำเทียมเลียนแบบจึงมีตามมามากมาย ต้องพิจารณากันให้ถ้วนถี่
อันดับแรกให้พิจารณาเนื้อหาผิวพรรณธรรมชาติบนองค์พระเป็นหลัก ตามพื้นผิวขององค์พระจะปรากฏเส้นเสี้ยนและรอยย่นคล้าย "หนังช้าง" ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจมีมากหรือน้อยในแต่ละองค์ไม่แน่นอน ไม่ใช่ใช้ตะไบแต่ง ต้องดูลักษณะธรรมชาติให้ขาด นอกจากนี้จะมีคราบขี้กรุอันเกิดจากองค์พระบรรจุกรุเป็นเวลาเนิ่นนาน
จากนั้นจึงมาพิจารณาลักษณะพิมพ์ทรงว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ครับผม
พระเนื้อผง วัดวิเวกวนาราม (อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ )
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเนื้อผงที่น่าสนใจและน่าบูชามาก อธิษฐานจิตโดยท่านเจ้าคุณนรฯ คือพระชุดวัดวิเวกวนารามครับ พระชุดนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร น่าสนใจอย่างไร เรามาร่วมศึกษากันนะครับ
พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ชุดนี้ จัดสร้างโดยคุณลุงแก้ว ศิริรัตน์ เพื่อไว้สมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคปัจจัยก่อสร้างศาลาการเปรียญวัดวิเวกวนาราม ซึ่งคุณลุงแก้วเป็นไวยาวัจกรอยู่ เรื่องมีอยู่ว่า ในต้นปี พ.ศ.2511 คุณลุงแก้วพร้อมด้วยบุตร คือ นายแพทย์สุพจน์และปลัดอำเภอเชาว์ ศิริรัตน์ ได้เดินทางมากราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ณ อุโบสถ วัดเทพศิรินทราวาส หลังจากที่ท่านสวดมนต์ทำวัตรเสร็จ โดยกราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่า ศาลาการเปรียญของวัดวิเวกวนาราม บัดนี้ชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สามารถจะบูรณะได้ และได้ปรึกษาคุณแม่แปลก มารดาว่าจะดำเนินการก่อสร้างใหม่
ศาลาการเปรียญแห่งนี้เป็นที่อาศัยเรียนของเด็กๆ ในละแวกนั้น โดยคุณลุงแก้วได้กราบเรียนว่าจะนำผงพระที่แตกหักและเกสรดอกไม้นำมาบด แล้วจะนำมาให้ท่านช่วยอธิษฐานจิตให้ เพื่อจะได้นำไปแจกให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ ถ้าเหลือก็จะนำไปบรรจุไว้ที่ฐานชุกชีในพระอุโบสถ ปัจจัยทุกบาททุกสตางค์จะนำเข้าวัดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
ในขณะที่คุณลุงแก้วกำลังบอกเล่านั้น ปรากฏว่าท่านเจ้าคุณนรฯ นั่งขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ประมาณ 15 นาที ท่านจึงลืมตาแล้วบอกว่า "อย่านำพระไปบรรจุใต้ฐานพระประธานเลย เพราะจะทำให้พระประธานเดือดร้อนภายหลัง เพราะถ้าพระชุดนี้เกิดมีชื่อเสียง ก็อาจจะทำให้ไปลักลอบขุดทำลายได้ ถ้าจะให้ดีโยมสร้างพระชุดนี้เสร็จก็นำไปแจกจ่ายให้กับผู้มีจิตศรัทธาให้หมดจะดีกว่า" พร้อมกันนี้ท่านก็ได้แนะนำคุณลุงแก้วว่า "เมื่อนำผงมาจะให้อธิษฐานจิตล่ะก็ ให้นำมาไว้ที่ระหว่างฐานชุกชีพระประธานภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทร์ เพื่อจะได้ให้หลวงพ่อภายในพระอุโบสถและพระภิกษุ-สามเณร ที่ลงทำวัตรสวดมนต์ จะได้ช่วยกันปลุกเสกให้อีกด้วย"
หลังจากนั้นคุณลุงแก้วพร้อมทั้งบุตรชายทั้งสองจึงได้ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระศาสนโสภณ อดีตเจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทร์ และได้บอกว่าจะนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ภายในพระอุโบสถ เพื่อให้ท่านเจ้าคุณนรฯ และพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดปลุกเสก 1 ไตรมาส พร้อมทั้งได้กราบเรียนว่าจะนำบุตรชาย คือนายเชาว์มาอุปสมบทที่วัดเทพศิรินทร์ ด้วยในปี พ.ศ.2511
หลังจากที่คุณลุงแก้วนำโหลบรรจุผงพระมาไว้ที่ในพระอุโบสถแล้ว สังเกตเห็นว่าหลังจากพระภิกษุ-สามเณรทำวัตรเสร็จแล้ว ท่านเจ้าคุณนรฯ จะนั่งเพ่งไปยังโหลแก้วที่บรรจุผงนานประมาณ 5 นาที ทุกวันจนครบไตรมาส เมื่อออกพรรษาแล้วคุณลุงแก้วจึงได้มากราบเรียนท่านเจ้าคุณนรฯ ว่าจะมารับผงไปจัดสร้างพระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนำพระมาให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิตให้อีกครั้ง แต่ท่านเจ้าคุณนรฯ ได้ตอบปฏิเสธไปว่า ผงชุดนี้สำเร็จแล้วเป็นผงวิเศษ เมื่อนำไปสร้างพระแล้วจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่ใกล้วัดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหอบพะรุงพะรังมาถึงนี่ เพราะสมัยนั้นการไปมาไม่สะดวก ต้องมาทางเรือเท่านั้น
เมื่อคุณลุงแก้วกลับไปถึงตลาดบางน้ำเปรี้ยว ก็สั่งให้นายแพทย์สุพจน์ติดต่อช่างแกะแม่พิมพ์ แต่ทางหมอสุพจน์มีงานมากจึงยังไม่ได้ติดต่อช่าง จนคุณลุงแก้วรอแม่พิมพ์ไม่ไหวจึงได้ให้ลูกชายอีกคนที่เป็นทันตแพทย์อยู่ในตลาดคลองสิบหกใช้ยางทำพิมพ์ฟันมาถอดพิมพ์พระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในบ้านเพื่อทำแม่พิมพ์ โดยคุณลุงแก้วได้ผสมผงและพิมพ์พระเองอยู่ที่บ้าน
พอถึงปลายๆ ปี พ.ศ.2512 นายแพทย์สุพจน์ได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ได้บอกกับหมอสุพจน์ว่า ช่วยไปบอกโยมแก้วด้วยว่า "ผงที่นำไปสร้างพระขอให้ระมัดระวังด้วย อย่าให้ตกหล่นลงในที่ต่ำ เพราะจะบาป คือผงสำเร็จแล้ว" หมอสุพจน์ได้ฟังก็ประหลาดใจ เนื่องจากตนเองก็ยังไม่ได้ไปติดต่อแกะแม่พิมพ์ให้ พอถึงวันอาทิตย์หมอสุพจน์จึงได้เดินทางกลับมาบ้านที่คลองสิบหก จึงได้รู้ว่าบิดาได้พิมพ์พระขึ้นไว้จำนวนมาก และได้เล่าให้บิดาฟังว่าท่านเจ้าคุณนรฯ เตือนมาอย่างนี้ เมื่อคุณลุงแก้วได้ฟังก็พยายามนั่งทบทวนว่าตนนำผงไปตกหล่นที่ไหนบ้าง แต่ก็นึกไม่ออกและพยายามหาพระพิมพ์ว่าตกหล่นอยู่ที่ใดบ้าง จึงได้ชวนลูกชายที่เป็นทันตแพทย์คุ้ยหาพระตามท่อระบายน้ำด้านหลังบ้าน จึงพบว่าพระพิมพ์สมเด็จฯ ได้ตกอยู่ในท่อน้ำครำ 1 องค์
เมื่อสร้างพระเสร็จคุณลุงแก้วได้นำพระบรรจุในถุงแป้งมันได้ 5 ถุง และนำมาเข้าพิธี 5 ธันวาคม พ.ศ.2513 ที่วัดเทพฯ เมื่อเสร็จพิธีได้เอาไว้ที่วัดเทพฯ 2 ถุง พระชุดนี้มีด้วยกันหลายพิมพ์ เป็นแบบพระสมเด็จฯก็หลายพิมพ์ ที่ด้านหลังมีทั้งแบบหลังยันต์จม หลังยันต์นูน หลังยันต์ปั๊มหมึกและหลังเรียบ พระส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์แบบสมเด็จ
นอกจากนี้ก็ยังมีแบบพระพุทธโสธร พระปิดตา และรูปเหมือนใบโพธิ์ เป็นต้น ส่วนผสมของพระชุดนี้ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จฯ กรุวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ที่ได้มาเมื่อคราวเปิดกรุ พระสมเด็จวัดสามปลื้มแตกหักได้มาประมาณครึ่งปี๊บ ได้รับมอบจากท่านพระครูประสิทธิ์สมณการ เจ้าคณะ 8 วัดสามปลื้ม ผงตะไบชนวนกริ่งท่านเจ้ามา พระรูปเหมือนสมเด็จกรมหลวงชินวร สิริวัฒน์ 2 องค์ รุ่นปี พ.ศ.2485 ที่ชำรุดแตกหัก
พระเครื่องเนื้อดินเผาที่ชำรุด จากกรุอยุธยา ชานหมากหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ สีผึ้งและแป้งปลุกเสกของหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว แป้งดินสอพองที่นำไปให้ท่านเจ้าคุณนรฯ อธิษฐานจิต ใบโพธิ์จากต้นข้างอุโบสถวัดเทพฯ ใบโพธิ์ที่วัดโสธรและทองคำเปลวที่ปิดองค์หลวงพ่อโสธรขี้ธูปบูชาในพระอุโบสถวัดโสธร ผ้ายันต์จากคณาจารย์ต่างๆ เผาผสมดินสังเวชนียสถาน 4 แห่งจากประเทศอินเดีย ว่าน 108 ชนิดและเกสรดอกไม้บูชาพระจากที่บูชาหลายแห่ง
จะเห็นว่าพระเนื้อผงของวัดวิเวกวนารามแห่งนี้ถึงแม้ว่ารูปทรงจะไม่สวยงามมากนัก แต่สร้างด้วยจิตบริสุทธิ์ และท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็อธิษฐานจิตให้เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งนานถึง 1 พรรษา นับว่านานที่สุดของท่านเลยก็ว่าได้ ผมว่าพระชุดนี้จะเป็นพระที่บูชาห้อยติดตัวมากที่สุด อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่แพงมากนักครับ
วันนี้ผมได้นำรูปพระสมเด็จวัดวิเวกฯ มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #12 เมื่อ:
26 มีนาคม 2559 20:39:31 »
.
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ความเคารพศรัทธาของประชาชนกับพระสงฆ์หรือพระเกจิอาจารย์นั้น เนื่องจากคำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ซึ่งก็มีอยู่หลากหลาย พระสงฆ์บางรูปก็มิได้สร้างวัตถุมงคลออกมาแจกจ่าย เพียงการเทศน์สอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม บางรูปท่านก็แจกวัตถุมงคลให้ไว้เป็นเครื่องระลึกถึงคำสั่งสอนของท่าน ซึ่งก็เป็นอุบายอย่างหนึ่งให้คนทำความดี เมื่อมีพระเครื่องของท่านห้อยคอไว้ก็ย่อมที่จะระลึกถึงคำสอนของท่านและละอายต่อการทำชั่วทั้งหลาย
พระเครื่องต่างๆ ที่คณาจารย์ท่านได้กรุณาสร้างไว้ให้แก่ศิษย์และชาวบ้านนั้นล้วนแต่ให้ไว้เป็นที่ระลึก และส่วนใหญ่นั้นศิษย์หรือชาวบ้านที่เคารพศรัทธาได้ขอร้องและขออนุญาตท่านสร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวพระสงฆ์รูปนั้นๆ แทบทั้งสิ้น เพื่อที่จะน้อมนำคำสั่งสอนของท่านไปปฏิบัติตามและสั่งสอนลูกหลานสืบต่อไป
พระเครื่องอีกส่วนหนึ่งที่มีการบรรจุไว้ในเจดีย์ก็เพื่อเป็นพุทธบูชาไว้เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา เมื่อผ่านอายุกาลไปนานปี และมีผู้ที่พบจะได้ทราบว่าเมื่อครั้งที่สร้างเจดีย์นี้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งที่มีคนเคารพนับถือและระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าองค์ผู้เป็นศาสดา
กาลสืบต่อมาเมื่อมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระสงฆ์รูปใดก็ย่อมจะอยากได้พระเครื่องที่ระลึกของพระสงฆ์รูปนั้นๆ หรือพระกรุที่ถูกบรรจุในองค์พระเจดีย์ที่เป็นพระเก่าๆ ก็ตาม เมื่อมีผู้อยากได้ก็ย่อมมีการเสาะหา และมีการให้สนนราคาเพื่อการได้ไว้ครอบครอง จึงทำให้เกิดมีมูลค่าราคาขึ้น และก็เกิดมีอาชีพของคนที่เสาะแสวงหาพระเครื่องเพื่อเอาไว้จำหน่าย และก็มีคนจำพวกมิจฉาชีพที่ทำพระปลอมเลียนแบบไว้หลอกลวงเพื่อขายด้วยเช่นกัน
ในส่วนของเรื่องอภินิหารหรือเรื่องพุทธคุณต่างๆ ในพระเครื่องนั้น เป็นเรื่องที่เกิดได้เฉพาะตนเท่านั้น ไม่สามารถแสดงหรือพิสูจน์ได้กับบุคคลอื่น นอกจากการบอกเล่าเรื่องแปลกๆ หรือเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นกับตนให้ผู้อื่นฟังเท่านั้น และก็เกิดการบอกเล่ากันต่อๆ มา มีการเสริมแต่งเพิ่มเติมบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาของการบอกเล่าต่อๆ กัน
ความเลื่อมใสศรัทธากับความงมงายนั้นเป็นคนละเรื่องกัน แต่ก็มักจะถูกนำมาปะปนกันอยู่เสมอ ยิ่งในปัจจุบันหรือในยามที่ประชาชนมีจิตตก ไร้ที่พึ่งทางจิตใจ เศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวยากหมากแพง หรือมีอุบัติภัยต่างๆ ก็ย่อมตกอยู่ในเรื่องของความงมงายได้ไม่ยากนัก จึงเกิดการล่อลวงให้ตกอยู่ในความงมงายอภินิหารต่างๆ ดังที่เราได้เห็นอยู่ในหลายๆ เรื่อง แทนที่จะระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา หรือพระคณาจารย์ต่างๆ ที่เราเคารพนับถือ ทำจิตใจให้สงบ มีสติ ตริตรองปัญหาต่างๆ และค่อยๆ แก้ไขไปตามแต่ที่จะทำได้ กลับไปหาความงมงายเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหา ซึ่งไร้เหตุผลและขาดสติโดยสิ้นเชิง
การที่มีพระเครื่องที่เราเคารพนับถืออยู่แล้วนั้นก็ควรจะนำมาเป็นกำลังใจ ระลึกถึงคำสั่งสอนของท่านและตั้งสติให้แน่วแน่ สงบนิ่ง แล้วใช้ปัญญาคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เราประสบอยู่ ให้ถูกต้องตามหลักของศาสนา ไม่มีสิ่งใดที่จะคงอยู่ตลอดไป ย่อมเป็นไปตามหลักของธรรมชาติและหลักของศาสนา คือ เกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป หนีไม่พ้นความจริงเรื่องนี้ได้ ไม่มีสุขใดอยู่กับเราตลอดไป และไม่มีทุกข์ใดอยู่กับเราตลอดไปเช่นกัน ไม่มีลาภยศสรรเสริญใดอยู่กับเราตลอดไป มีได้ก็เสื่อมได้เป็นธรรมดา ไม่ควรอาลัยอาวรณ์โศกเศร้าเสียใจ ปล่อยวางลงบ้างก็จะบรรเทาทุกข์ลงไปได้เอง ทำตนให้เป็นคนเลี้ยงง่าย กินอยู่อย่างพอเพียง ก็จะพอพ้นวิกฤตไปได้ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ย่อมดับไปเป็นธรรมดา
ในวันนี้ผมขอนำรูปถ่ายของสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาให้เป็นกำลังใจแก่ทุกท่านครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญรูปเหมือน ปี พ.ศ.2495
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร วัตถุมงคลที่สร้างไว้และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือพระกริ่งบัวรอบ และพระกริ่งไพรีพินาศ ซึ่งปัจจุบันมีราคาค่านิยมสูงมาก ความจริงวัตถุมงคลที่ได้สร้างไว้นั้นยังมีอีกมากที่อาจจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าที่ควร ในวันนี้ผมจะแนะนำวัตถุมงคลที่สนนราคาไม่สูงนักมาให้ชมกันครับ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระนามเดิม หม่อมราชวงศ์ ชื่น ซึ่งทรงเป็นโอรสของหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม ประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 เมื่อมีพระชนมายุพอ ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน) วัดบรมนิวาส เป็นพระอุปัชฌายะ ในขณะที่ทรงบรรพชานั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แต่ปรากฏในหนังสือวัดบวรฯ ว่า ในระยะหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระภิกษุแล้วไม่ทรงรับเป็นพระอุปัชฌายะอีก แต่โปรดให้บวชอยู่ในวัดได้ แต่ต้องถือพระอุปัชฌายะอื่น ระหว่างทรงเป็นสามเณรอยู่นั้นได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และทรงสอบได้เปรียญ 5 ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณรในปี พ.ศ.2433
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2435 ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระพรหมมุนี (แฟง) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌายะ กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทั้งการบรรพชาในครั้งก่อน และการอุปสมบทในครั้งนี้ สมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานพระราชูปถัมภ์และได้พระราชทานพระราชูปถัมภ์ตลอดมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์ สิ้นพระชนม์ ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2488 จึงทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในราชทินนามเดิม
ครั้นถึงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสังฆสมาคม 30 รูป โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์
ปัจฉิมกาล ครั้นเวลาหลังเที่ยงคืน วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับหน้าพระแท่นบรรทมในห้องประชวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 01.08 น. สิริพระชนมายุ 85 พรรษา
วัตถุมงคลที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงสร้างไว้นั้นมีหลายอย่าง ในวันนี้ขอแนะนำเหรียญรูปเหมือน ปี พ.ศ.2495 สนนราคายังไม่แพง แต่สูงด้วยพุทธคุณครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญ "หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์
"หลวงพ่อโต" วัดป่าเลไลยก์ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า จนอาจกล่าวได้ว่า "ถ้าไปเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่ได้ไปกราบสักการะถือว่าไปไม่ถึงสุพรรณบุรีทีเดียว"
การสร้างวัตถุมงคล "หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์" นั้น มีมาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งล้วนคงความศักดิ์สิทธิ์แห่งองค์พระหลวงพ่อโตเสมอมา แต่ "เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรก" ที่จะกล่าวถึงนี้ นับเป็นเหรียญเก่าแก่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เป็นเหรียญพระพุทธอันดับหนึ่งของจังหวัด ที่ปัจจุบันหาดูหาเช่าได้ยากนัก ซึ่งนอกจากวัตถุประสงค์การจัดสร้างแล้ว อาจเป็นด้วยพระเกจิผู้ปลุกเสก คือ "หลวงพ่อสอน" อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ของวัดป่าเลไลยก์ ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวสุพรรณบุรี
พระครูโพธาภิรัต หรือ หลวงพ่อสอน เป็นชาวบ้านค่ายเก่า จ.สุพรรณบุรี อยู่เหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ไปราว 100-200 เมตร เกิดในราวปี พ.ศ.2408 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสิน-นางนิ่ม ตอนเด็กๆ ศึกษาร่ำเรียนหนังสือไทยและอักขระขอมที่วัดประตูสาร เมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ.2429 จึงอุปสมบทที่วัดประตูสาร
หลวงพ่อสอนเป็นพระภิกษุที่ใฝ่ใจในการศึกษา ท่านมีโอกาสได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกล่ำ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พระเกจิผู้ทรงพุทธาคม แล้วข้ามฟากมาเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดสุวรรณภูมิ และมาจำพรรษาวัดไชนาวาส (วัดชายนา) เพื่อศึกษาเพิ่มเติม ครั้นเมื่อทราบว่าหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า เป็นพระเกจิชื่อดังที่เก่งกล้าด้านวิปัสสนากรรมฐานและพระปริยัติธรรม ก็เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาจนแตกฉานอีกด้วย
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระครูวินัยธร" ฐานานุกรมของพระวิบูลย์เมธาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ระยะหนึ่ง ขณะนั้นวัดป่าเลไลยก์ก็เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากอีกทั้งไม่มีพระจำพรรษา คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าถ้าปล่อยไว้เช่นนี้วัดป่าเลไลยก์ต้องร้างไปอย่างแน่นอน จึงมีมติแต่งตั้งให้ "พระครูสอน" ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ในปี พ.ศ.2456 เพื่อฟื้นฟูสภาพวัดโบราณให้คงอยู่สืบไป
เมื่อเข้าปกครองดูแลวัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อสอนก็เริ่มพัฒนาวัดในทันที โดยสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ พระอุโบสถ และขุดบ่อน้ำ 3 บ่อ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ท่านยังพัฒนาด้านการศึกษา ริเริ่มการศึกษาทั้งด้านพระปริยัติธรรมและการสอนภาษาไทยขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างยิ่งของชาวสุพรรณบุรีและใกล้เคียง สมณศักดิ์สุดท้ายได้เป็น "พระครูโพธาภิรัต" ก่อนมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.2475 สิริอายุ 67 พรรษา 46
ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้พอสมควรซึ่งล้วนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางและหายากยิ่งในปัจจุบัน เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ปี พ.ศ.2461, เหรียญพระพุทธหลวงพ่อโตรุ่นแรก ปี พ.ศ.2462, เหรียญรูปเหมือนทรงอาร์ม ปี พ.ศ.2470 ฯลฯ
สำหรับเหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์รุ่นแรกนี้ มีความสำคัญคือ จัดสร้างในวาระที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โปรดเกล้าฯ ยกฐานะ "วัดป่าเลไลยก์" ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2462 ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวตำบลรั้วใหญ่และชาว จ.สุพรรณบุรี ยิ่งนัก ในการนี้จึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง "หลวงพ่อโต" อย่างยิ่งใหญ่ โดยมีการจัดสร้าง "เหรียญหลวงพ่อโต" ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแจกจ่ายเป็นที่ระลึก ความสำคัญประการที่สอง ก็คือสมัยนั้นเป็นสมัยที่หลวงพ่อสอนเป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกนี้ จึงได้รับปลุกเสกโดย "หลวงพ่อสอน" พระเกจิผู้ทรงพุทธาคมและเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของสาธุชนนั่นเอง
เหรียญหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ รุ่นแรกลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้าจำลองรูปหลวงพ่อโตพระประธานในปางป่าเลไลยก์ (ปาลิไลยก์) มีรูปช้างถวายกระบอกน้ำ ลิงถวายรวงผึ้ง ตกแต่งพื้นหลังอย่างสวยงาม ด้านหลังเป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์อ่านว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ต่อมาลงมาเป็นปีที่สร้าง "๒๔๖๒" และอักษรไทยชื่อพระประธานว่า "หลวงพ่อวัดป่าเรไร"
ปัจจุบันยังคงเป็นที่ใฝ่ฝันของนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญโดยเฉพาะชาวสุพรรณบุรีครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม(ปั๊มโบราณ)
"วัดท่าหลวง" พระอารามหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิจิตร เป็นวัดสำคัญของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ พ.ศ.2529
ได้รับแต่งตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพิจิตร แห่งที่ 4 ตามมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม และเป็นที่ตั้งสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง ดำเนินการสอนโดย "พระมหาเจษฎากร วิสุทธิรังสี" พระวิปัสสนาจารย์ (ศิษย์พระธรรมมังคลาจารย์ หรือหลวงปู่ทอง สิริมังคโล เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่)
นอกจากนี้ภายในวัดท่าหลวงยังเป็นที่ตั้งของศูนย์พัฒนาคุณธรรมเพื่อเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ในเชิงการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุ-สามเณร, เยาวชน, พุทธศาสนิกชน, มีโอกาสอบรม ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติธรรม
พระมหาเจษฎากร พระวิปัสสนาจารย์ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง ระบุว่า วัดท่าหลวงเห็นความสำคัญของการปฏิบัติธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เห็นพ้องให้ขยายพื้นที่ศาลาปฏิบัติธรรม, บูรณะสำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยให้จัดสร้างศาลาปฏิบัติธรรม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น มีพระราชวิจิตรโมลี (หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวงเป็นประธานอุปถัมภ์และพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นประธานจัดสร้าง
พร้อมจัดสร้าง พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์หลวงพ่อเงิน รวมทั้งรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (ปั๊มโบราณ) หารายได้สมทบทุนการก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรมและบูรณะ สำนักวิปัสสนากัมมัฏฐาน วัดท่าหลวง
รูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม (ปั๊มโบราณ) จัดสร้างเนื้อทองคำ (ตามสั่งจอง), เนื้อเงิน 299 องค์, เนื้อนวะกลับดำ 500 องค์, เนื้อผสมดีบุก 2,000 องค์, เนื้ออัลปาก้า 500 องค์, เนื้อทองเหลือง 10,000 องค์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 5 วาระ วาระที่ 1 พิธีเททองนำฤกษ์ วันที่ 5 ส.ค.2557, วาระที่ 2 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม วันที่ 6 พ.ย.2557, วาระที่ 3 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่วัดหนองดง อ.โพทะเล จ.พิจิตร วันที่ 25 ม.ค.2558, วาระที่ 4 พิธีอธิษฐานจิตเดี่ยวเป็นกรณีพิเศษ โดย หลวงปู่ทอง สิริมังคโล วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ วาระที่ 5 พิธีมหาพุทธาภิเษก ที่อุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร มีพระเถราจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต 26 รูป อาทิ พระราชวิจิตรโมลี (หลวงปู่บุญมี) วัดท่าหลวง ประธานจุดเทียนชัย, พระทีฆทัสสีมุนีวงศ์ (หลวงพ่อวิรัติ) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร, พระมงคลสุธี(หลวงปู่แขก) วัดสุนทรประดิษฐ์, หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ, หลวงพ่อทุเรียน วัดท่าดินแดง ฯลฯ
หลวงพ่อพยนต์ วัดหล่ายหนองหมี อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร เป็นประธานดับเทียนชัยเป็นต้น ติดต่อได้ที่วัดท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร บางเนื้อทางวัดยังมีเหลืออยู่ โทร.09-3239-6199 และ 09-4824-9865 ทุกวัน
เปิดตลับพระใหม่
พระพิจิตรหัวดง
ไหนๆ ฉบับที่แล้ว ก็พูดคุยกันถึงเรื่องสุดยอดแห่งความนิยมของ "พระพิจิตร" ไปแล้ว ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า "พระตระกูลพระพิจิตร" นั้น ณ ปัจจุบันไม่ว่าพิมพ์ไหนกรุไหน ก็ล้วนทรงค่านิยมสูงถึงแม้จะลดหลั่นกันมา แต่ก็ทำให้กระเป๋าเบาได้เช่นกัน
ฉบับนี้ก็เลยขอหยิบยก "พระพิจิตรหัวดง" พระพิจิตรอีกพิมพ์หนึ่งที่มีต้นกำเนิดที่ จ.พิจิตร แท้ๆ พุทธคุณก็ล้ำเลิศไม่เป็นรองใคร ซึ่งอาจเป็นเพราะรู้กันในวงแคบ ไม่มีการกระจายหรือเผยแพร่เท่าที่ควร ในสมัยก่อนค่านิยมจึงอยู่ในลำดับปลายๆ จนถึงปัจจุบันจึงยังนับว่าถูกกว่า "พระพิจิตร" อื่นๆ ที่เราท่านยังพอหาดูหาเช่าได้อยู่ แต่ก็ยังมีการทำเทียมเลียนแบบเช่นกัน
พระพิจิตรหัวดง เป็นพระพิจิตรที่ถอดเค้าแบบมาจาก "พระท่ากระดาน จ.กาญจนบุรี" ยอดขุนศึกแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง มีพุทธคุณโดดเด่นในด้านคงกระพันชาตรี มหาอุตม์ และป้องกันไฟ
ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม องค์พระประธานประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย พระเกศ เป็นแบบ "เกศปลี" แหลมและยาว พระพักตร์ใหญ่และยาว ดูเหมือนผิดส่วนคล้ายพระท่ากระดาน พระเพลายื่นล้ำมาทางด้านหน้าอย่างเด่นชัด คล้ายพระท่ากระดานเช่นกัน
พระพิจิตรหัวดงที่พบมีอยู่ 2 เนื้อ คือเนื้อชินเขียวและเนื้อชินเงิน โดย "เนื้อชินเงิน" จะมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย แต่รูปพรรณสัณฐานใกล้เคียงกัน ด้านหลังเป็นหลังลายผ้าเช่นเดียวกับพระสกุลพิจิตรทั่วไป
พระพิจิตรหัวดงที่มีการทำเทียมเลียนแบบออกมาเท่าที่พบจะเป็นพระเนื้อชินเขียว จึงต้องใช้การพิจารณาให้ละเอียด
ในด้านพิมพ์ทรง จากเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้กล่าวไปแล้วจะหาความเป็นมาตรฐานค่อนข้างยาก อาจมีจุดตำหนิเล็กน้อยที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ความลึกของพิมพ์ พระเกศก็จะมีทั้งเกศตรงและเกศคด จนบางครั้งมองเป็นพระท่ากระดานก็มี จึงต้องมาดูกันที่ความเก่าของเนื้อองค์พระที่น่าจะมีอายุการสร้างมาไม่น้อยกว่าสมัยอยุธยา และปฏิกิริยาของเนื้อมวลสารที่ผ่านการบรรจุในกรุมาเนิ่นนานกว่า 4-5 ร้อยปี โดยพิจารณาจากคราบไข สนิมขุม และรอยระเบิด
"พระพิจิตรหัวดง เนื้อชินเขียว" ตามธรรมชาติแล้วจะไม่ระเบิดแตกปริเหมือน "เนื้อชินเงิน" แต่จะมี "คราบไข" ลักษณะเหมือนไขวัว ขึ้นเป็นเม็ดขาวใสพอกพูนซ้อนกัน บางองค์มีลักษณะใกล้เคียงกับไข่แมงดา บางท่านจึงเรียกว่า "สนิมไข่แมงดา" ถ้าเป็นสนิมเทียมเม็ดจะไม่เต่งและสดใสเป็นธรรมชาติ แต่จะมีลักษณะเป็นแผ่นๆ ติดกันเป็นพืด เมื่อล้างหรือแช่ด้วยทินเนอร์ก็จะละลายออกทันที ของแท้ๆ จะติดแน่นล้างออกยากมาก
ส่วน "พระพิจิตรหัวดง เนื้อชินเงิน" ต้องสังเกตความเก่าจากสนิมไข สนิมขุม และรอยระเบิด
สนิมไขในพระเนื้อชินเงินจะไม่เป็นเม็ดเต่งแบบเนื้อชินเขียว จะเป็นเพียงคราบไขสีขาวอมเหลืองเป็นเม็ดๆ ไม่เต่งนูน แทรกอยู่ในเนื้อองค์พระเป็นจุดๆ มากน้อยไม่เท่ากัน
สนิมขุม เป็นสนิมที่กัดกร่อนลึกลงไปในเนื้อขององค์พระ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง คล้ายรอยขี้กลากที่ขึ้นตามผิว เมื่อส่องกล้องดูจะมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็นธรรมชาติ ส่วนสนิมเทียมนั้นจะใช้น้ำกรดหยดเพื่อกัดเนื้อองค์พระเป็นจุดๆ ไม่เป็นธรรมชาติเหมือนสนิมแท้
รอยระเบิด ในพระเนื้อชินเงินนั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่จะแสดงความเก่าออกมาจาก "รอยระเบิดแตกปริ" ที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเนื้อชินเงินที่มีส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว ซึ่งเมื่อผ่านกาลเวลากระทบกับความร้อนและความเย็นจึงเกิดการออกซิไดซ์ จะเป็นการแตกปริจากภายในออกสู่ภายนอก
ส่วนของเทียมจะระเบิดแบบภายนอกเข้าไปหาข้างในครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ
หลวงปู่จีน วัดท่าลาดเหนือ ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม นับเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีอาวุโสและเป็นที่เคารพศรัทธามากที่สุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือ "เมืองแปดริ้ว" มาแต่อดีต อาจเรียกได้ว่าเป็น "ปรมาจารย์ทางพุทธาคม" ก็ว่าได้ เพราะลูกศิษย์ของท่านล้วนเป็นพระเกจิผู้มีชื่อเสียง ทั้งสิ้น อาทิ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์ และหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ซึ่งได้ตำรับพระปิดตามาจนโด่งดังกระฉ่อน หรือแม้แต่หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม ก็ยังได้วิชาทำผ้ายันต์และสีผึ้งจากท่าน เป็นต้น
หลวงปู่จีน สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังมากมายซึ่งล้วนทรงพุทธาคมเป็นที่กล่าวขวัญและนิยมสะสมทั้งสิ้น สุดยอดวัตถุมงคลที่ขึ้นชื่อลือเลื่องและได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของประเทศที่หาได้ยากยิ่ง คือ "พระปิดตาเนื้อผง คลุกรัก" ด้านพุทธคุณนั้น ครบเครื่องครบครัน ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ และแคล้วคลาด
นอกจากนี้ ยังถือเป็น "ต้นกำเนิดพระปิดตาของเมืองแปดริ้ว" เนื่องจากลูกศิษย์ของท่านหลายรูปก็ได้สร้าง พระปิดตาตามแบบพระอาจารย์เช่นกัน
วัดท่าลาดเหนือ เป็นวัดเก่าแก่ เล่าต่อกันมาว่า สร้างโดยพระยาเขมรที่อพยพมาจากพระตะบอง เมื่อประมาณปี พ.ศ.2395 พอวัดสร้างเสร็จได้ประมาณปีเศษ ก็มีพระธุดงค์ผ่านมา 3 รูป ด้วยวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ให้จำพรรษาที่วัด ต่อมาพระ 2 รูป ได้ออกธุดงค์ต่อลงมาทางใต้ เหลือเพียง หลวงปู่จีน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่จีน ทราบจากการเล่าสืบต่อกันมาจากผู้ที่เกิดทันได้พบหลวงปู่ สันนิษฐานว่าท่านเกิดในราวปี พ.ศ.2357 และเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาดในราวปี พ.ศ.2397 ท่านเป็นพระเกจิผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระและพุทธาคมเป็นพิเศษ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนโบราณ และมีเมตตาธรรมสูง ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านทั้งเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยและเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจต่างๆ จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเมืองแปดริ้วและใกล้เคียง ต่อมากิตติศัพท์ของท่านเริ่มขจรไกล มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านมรณภาพในราวปี พ.ศ.2440 สิริอายุ 83 ปี
พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของหลวงปู่จีนนั้น สันนิษฐานว่าท่านสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 โดยนำเนื้อผงพุทธคุณที่ผสมว่านวิเศษต่างๆ ตามสูตรเฉพาะของท่าน มาคลุกรักเพื่อเป็นตัวประสาน แล้วกดแม่พิมพ์พระปิดตา พระของท่านส่วนใหญ่จะมีการลงรักทับไว้อีกชั้นหนึ่งก่อนนำไปประกอบพิธีปลุกเสก ซึ่งท่านจะปลุกเสกตลอดทั้งพรรษา โดยพระต้องให้กระโดดออกมานอกบาตรได้จึงจะถือว่าสำเร็จ ซึ่งการจัดสร้างแต่ละครั้งจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากวิธีการสร้างทำได้ยากมาก
พุทธลักษณะองค์พระประทับนั่งขัดสมาธิราบ มีเส้นโค้งรอบองค์พระ พระเศียรโล้น พระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นปิดพระเนตร ด้านหลังส่วนใหญ่จะอูมเป็นแบบ "หลังเบี้ย" หรือ "หลังประทุน" แทบทุกองค์ มีการจัดสร้างเป็นหลายพิมพ์ พิมพ์ที่เป็นที่นิยม อาทิ พิมพ์แข้งหมอน, พิมพ์เม็ดกระบก, พิมพ์กลีบบัวใหญ่, พิมพ์กลีบบัวเล็ก และพิมพ์ไม้ค้ำเกวียน เป็นต้น โดย "พิมพ์แข้งหมอน" นับเป็นพิมพ์นิยมที่สุดและพบน้อยมากที่สุดเช่นกัน
เอกลักษณ์สำคัญ ของพระปิดตาหลวงปู่จีน พิมพ์แข้งหมอน มีดังนี้
- เส้นซุ้มมีรอยขยัก 2 ตำแหน่ง คือ ระหว่างใต้พระ กรรณกับพระอังสาทั้งสองข้าง และระหว่างพระกัประ (ข้อศอก) กับพระเพลา ที่มีลักษณะคล้ายหมอน จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ "แข้งหมอน"
- เส้นซุ้มด้านล่างใต้พระเพลาด้านซ้ายขององค์พระ จะชิดกับพระเพลาแล้วค่อยๆ ถ่างออก
- พระเศียรด้านบนลักษณะคล้ายครึ่งวงกลมโค้งลงมาถึงพระกรรณทั้งสองข้าง
- ลำพระพาหาทอดโค้งข้างซ้ายใหญ่กว่าข้างขวาขององค์พระ
- ข้อพระหัตถ์ทั้งสองบรรจบกันที่ลำพระศอ
- ด้านหลังส่วนใหญ่จะอูมมาก
การพิจารณา "พระปิดตาหลวงปู่จีน เนื้อผงคลุกรัก" ให้ดูที่เนื้อขององค์พระ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะจุ่มรักหรือทารัก ดังนั้นจึงจะเห็นเนื้อในเฉพาะส่วนสูงที่ถูกสัมผัส เนื้อละเอียดแบบเนื้อกะลา ซึ่งแห้งและจัดมาก ถ้าถูกเหงื่อสีจะออกน้ำตาลเข้ม บางองค์เห็นรักเป็นเกล็ดในเนื้อ บางองค์ก็มีการปิดทอง ด้วยความที่จำนวนพระน้อยมากๆ และค่านิยมสูง ต้องใช้ความระมัดระวังและพิจารณาให้ถี่ถ้วนเป็นพิเศษถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษากูรูผู้ชำนาญการก่อนตัดสินใจครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระสุพรรณหลังผาล
สวัสดีครับผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระเครื่องต่างๆ ที่มีชื่อเรียกกันนั้น โดยเฉพาะกรุเก่าๆ ในสมัยที่สร้างนั้นจะมีชื่อเรียกอย่างไรไม่ปรากฏทราบชัด แต่ชื่อที่เรียกกันนั้นเป็นการตั้งกันเองในครั้งที่มีการพบพระตอนที่กรุแตกออกมา ก็ตั้งชื่อกันไปง่ายๆ ตามลักษณะรูปร่างบ้าง ชื่อตามสถานที่บ้าง แล้วก็เรียกกันต่อๆ มา
พระที่จะนำมาพูดคุยในวันนี้ก็คือพระสุพรรณหลังผาล กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ซึ่งขุดพบพร้อมๆ กับพระผงสุพรรณและพระอื่นๆ อีกมากมายในองค์พระปรางค์ วัดพระศรีฯ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ต่างคนต่างก็ตั้งชื่อเรียกพระแบบต่างๆ ไปตามลักษณะและรูปลักษณ์ของพระนั้นๆ เดิมทีเดียวพระสุพรรณหลังผาลมักเรียกกันว่า "พระพิจิตรหลังผาล" และไม่ทราบว่าทำไมจึงเรียกคำขึ้นต้นว่า "พิจิตร" ทั้งๆ ที่พระขึ้นที่สุพรรณฯ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนคำขึ้นต้นชื่อให้สอดคล้องกับจังหวัดที่ขุดพบพระเป็น "พระสุพรรณหลังผาล" ส่วนคำว่าหลังผาลนั้น เนื่องด้วยพระส่วนมากจะเป็นพระสองหน้า ที่ด้านหลังของพระส่วนมากจะมีรูปองค์พระเล็กๆ อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายๆ กับตัวผาลไถนา และมีเดือยต่อลงมาจากตัวผาลด้วย จึงเรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า "พระสุพรรณหลังผาล" แต่พระสุพรรณหลังผาลตามที่ขุดพบนั้น ก็ยังมีลักษณะด้านหลังอีกหลายแบบ แต่ด้านหน้าจะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน เช่น พระสุพรรณหลังเรียบ ก็คือด้านหลังไม่มีรูปพระ แต่เป็นแบบเรียบๆ พระสุพรรณหลังผ้าก็เช่นเดียวกันด้านหน้าลักษณะเหมือนกัน แต่ด้านหลังเป็นรอยลายผ้าหยาบๆ พระสุพรรณหลังซุ้มระฆังฯ ก็เป็นรูปพระแบบซุ้มระฆังอยู่ที่ด้านหลังแทนหลังผาล พระสุพรรณหลังยันต์ พระพิมพ์นี้ด้านหลังคล้ายๆ กับพิมพ์หลังผาล แต่มีตัวอักขระยันต์เพิ่มเติมอยู่รอบๆ องค์พระด้านหลังที่เป็นผาล พระทั้งหมดในตระกูลพระสุพรรณหลังผาลนั้น เป็นพระเนื้อชินเงิน
พระสุพรรณหลังผาลนั้นมีจำนวนมากกว่าแบบอื่นๆ จึงนิยมเรียกและรู้จักกันมากกว่าในชื่อ "พระสุพรรณหลังผาล" ขนาดขององค์พระกว้างประมาณ 2.5 ซ.ม. สูงประมาณ 5 ซ.ม. ส่วนพระสุพรรณหลังยันต์นั้นจะมีขนาดย่อมลงมากว่าพิมพ์อื่นๆ อยู่เล็กน้อย ศิลปะของพระสุพรรณหลังผาลเป็นแบบศิลปะอู่ทอง ในเรื่องของพุทธคุณนั้นจะเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยก่อน
ปัจจุบันก็หาชมพระสวยๆ ได้ยากเช่นกันครับ สนนราคาก็สูงอยู่พอสมควร ในส่วนของพระปลอมเลียนแบบนั้นก็มีการทำปลอมกันมานานแล้ว เนื่องจากเป็นที่นิยมกันมากในสมัยก่อน การเช่าหาก็ต้องพิจารณาดีๆ หรือเช่าหาจากผู้ที่ไว้ใจได้ครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระสุพรรณหลังผาลจากหนังสือ อมตพระกรุอันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ครับ
ด้วยควมจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #13 เมื่อ:
26 มีนาคม 2559 20:41:43 »
พระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน ตามรอยนิราศเมืองสุพรรณ ของสุนทรภู่ที่เขียนไว้ และก็มีสถานที่ที่มีกรุพระเครื่องเก่าแก่และโด่งดังอยู่หลายกรุ กรุที่จะนำมาคุยกันคือกรุวัดสำปะซิว ซึ่งพระกรุเนื้อดินเผาของกรุนี้คือ พระซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปราง สุนทรภู่ได้เขียนโคลงนิราศเกี่ยวกับบ้านสำปะซิว ทำให้รู้ว่า สำปะซิวในสมัย พ.ศ.2379 มีสภาพการเป็นอยู่ บ้านเรือนเป็นอย่างไร
สำปะทิว งิ้วง้าวสล่าง กร่างไกร
ถิ่นท่าป่ารำไร ไร่ฝ้าย
เจ๊กอยู่หมู่มอญไทย ทำถั่ว รั้วเอย
ปลูกผักฟักกล้วยกล้าย เกลื่อนทั่วทางจร
ครับสำปะทิว ก็คือ สำปะซิว อาจจะมีการเรียกเพี้ยนกันมานานแล้วจนปัจจุบัน ในสมัยที่สุนทรภู่ผ่านไปในย่านนี้ คงเป็นชุมชนที่มีปะปนกันหลายเชื้อชาติ เช่นพวกคนจีน และชาวมอญ อาชีพก็ทำกสิกรรม ปลูกผัก ปลูกฝ้าย ทำไร่ไถนาเป็นหลัก ต่อมามีการพบกรุพระที่ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว แต่ไม่ได้พบที่ภายในวัด กลับพบที่บ้านของนายดี ซึ่งมีบ้านใกล้ๆ กับวัด ห่างกันประมาณหนึ่งเส้นไปทางเหนือของวัด นายดีขุดดินบริเวณรั้วบ้านและก็พบกรุพระโดยบังเอิญ มีทั้งพระบูชา ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะแบบขอมหรือลพบุรี นอกจากนี้ก็พบพระเครื่องเนื้อดินเผาอีกจำนวนมาก เป็นพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา เป็นหลักรองมาก็เป็นพระท่ามะปราง และพบพระพิมพ์อื่นๆ อีกเล็กน้อย เป็นพระเนื้อดินเผาทั้งหมด
บริเวณใกล้ๆ กับวัดสำปะซิวยังมีการพบพระบูชาศิลปะแบบลพบุรีอีกหลายครั้งทางด้านทิศใต้ของวัด สันนิษฐานว่าบริเวณแถบนี้คงเป็นชุมชนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีการตั้งชุมชนอยู่กันต่อมา สำหรับพระเครื่องของกรุนี้ เท่าที่สังเกตดูน่าจะเป็นพระที่สร้างในสมัยสุโขทัยปลายๆ โดยสร้างพระซุ้มนครโกษาล้อแบบลพบุรี และสร้างพระท่ามะปรางที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับของพิมพ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ซึ่งน่าจะมีอายุการสร้างใกล้เคียงกัน
ลักษณะพระเนื้อดินเผาของกรุวัดสำปะซิว จะเป็นเนื้อดินเผาค่อนข้างหยาบ มีเม็ดกรวดทรายในเนื้อพระ และเป็นประเภทเนื้อดินแกร่ง ผิวพระค่อนข้างหนา สีเป็นแบบพระเนื้อดินเผาทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงอิฐแบบดินเผา มีเป็นสีนวลๆ บ้าง และสีดำก็มีแต่จำนวนน้อย
พระกรุวัดสำปะซิว ไม่ได้ขุดพบในบริเวณวัด แต่ในสมัยก่อนนั้นเมื่อนำมาขายกันในตลาด มีคนถามว่าได้พระมาจากไหน ต่างก็มักจะตอบว่า "วัดสำปะซิว" เนื่องจาก ขุดได้ใกล้ๆ วัด จึงเรียกหากันว่าเป็นกรุวัดสำปะซิวกันเรื่อยมาทั้งๆ ที่ไม่ได้พบพระที่วัดสำปะซิวเลย
พระของกรุนี้พุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันครับ ปัจจุบันก็หาของแท้ๆ ค่อนข้างยากแล้วครับ พระกรุวัดสำปะซิวเป็นพระอีกกรุหนึ่ง ที่น่าสนใจของเมืองสุพรรณครับ
วันนี้ผมนำรูปพระพิมพ์ซุ้มนครโกษา และพระท่ามะปรางของกรุวัดสำปะซิว จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระขุนแผนผงพรายกุมาร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน โลกของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันพัฒนาก้าวหน้าไปมาก รวดเร็วและกว้างขวางกว่าเดิมมาก การเข้าถึงก็ง่ายขึ้น เป็นในด้านดีของการพัฒนา ในส่วนของอีกด้านหนึ่งนั้น ผู้ที่เสพข้อมูลก็ต้องใช้วิจารณญาณในการเข้าถึงข้อมูลด้วยเช่นกันว่า ข้อมูลนั้นเป็นข้อเท็จจริงหรือถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ในส่วนของสังคมพระเครื่องก็มีทั้งข้อดีและข้อมูลที่ไม่ค่อยถูกต้องด้วยเช่นกัน ดังนั้นการติดตามข้อมูลข่าวสารควรใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ และเลือกที่จะเชื่อหรือรับข้อมูลจากแหล่งใด
ที่ผมกล่าวมานี้ก็เนื่องจาก เท่าที่ติดตามดูทางโลกโซเชี่ยลที่เกี่ยวกับพระเครื่อง ก็เห็นมีข้อมูลอยู่มากมายที่ขัดแย้งกันบ้าง เป็นไปในทิศทางเดียวกันบ้าง ที่เป็นประเด็นขัดแย้งกันกับทางมาตรฐานสังคมพระเครื่องก็มาก มาตรฐานสากลที่ผมกล่าวถึงก็คือ การเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ ในด้านสังคมพระเครื่องนั้นหากมีการยอมรับของสังคมก็จะมีมาตรฐานในเรื่องมูลค่าของพระเครื่องนั้นๆ ของสังคมส่วนรวม สามารถนำมาซื้อ-ขายได้ ในสนามพระเครื่อง (ศูนย์พระเครื่องที่เป็นมาตรฐาน) มีคนรับเช่าหาในราคาที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐาน และมีการจัดเข้ารายการประกวดการอนุรักษ์พระเครื่องพระบูชา พระเครื่องต่างๆ ที่จะเป็นที่ยอมรับจากสังคมนั้นจะต้องมีที่ไปที่มาชัดเจน มีประวัติหลักฐานที่แน่นอน จึงจะเป็นที่ยอมรับของสังคม
เมื่อเร็วๆ นี้ก็มีกรณีเกี่ยวกับพระเครื่องของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ คือพระขุนแผนผงพรายกุมาร การขัดแย้งกันเรื่องปีการสร้างว่า มีปีพ.ศ.2515 เป็นปีแรกที่สร้างพระขุนแผนผงพรายกุมาร โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง อ้างว่าพระขุนแผนผงพรายกุมารนั้นสร้างในปี พ.ศ.2515 และพระขุนแผนผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2516-2517 นั้น เป็นของปลอม และมีการกล่าวว่าร้ายทางสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทยจนถึงบุคลากรในสมาคม
กรณีนี้เพื่อความชัดเจนของการสร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ทางสมาคมจึงได้จัดประชุมและแถลงข่าวในกรณีนี้ขึ้น เมื่อวันที่ 16 ก.พ. 2559 ณ ห้องประชุมของสมาคม โดยมีการเชิญคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคล คณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ คุณชินพร สุขสถิต และคุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ รวมถึงคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องฯ หลวงปู่ทิม นักนิยมสะสมพระเครื่อง ผู้ชำนาญการ แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชนทุกแขนง เข้าร่วมประชุมและแถลงข่าว
คุณพยัพ คำพันธุ์ นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย กล่าวเปิดการประชุมและกล่าวถึงประเด็นที่กำลังเป็นกระแสใน โซเชี่ยลเกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่มีนักสะสมบางกลุ่มกล่าวว่าจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2515 และกำลังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันและส่งผลกระทบต่อสังคมพระเครื่องโดยรวมอย่างมาก และขอยืนยันว่าส่วนตัวไม่ใช่ผู้ชำนาญการด้านพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จึงเรียนเชิญตัวแทนทางด้านคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลและคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม รวมถึงคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ผู้มีความรู้ความสามารถร่วมชี้แจงว่าข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมาร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ตามหลักสากลนิยมของสังคมพระเครื่องให้การยอมรับปัจจุบันนี้ สร้างในปี พ.ศ.ใดบ้าง พร้อมทั้งกล่าวย้ำถึงเจตนารมณ์ของสมาคมไม่ได้กีดกันหรือคัดค้านในเรื่องการสร้างแต่อย่างใดและพร้อมเปิดกว้างรับฟัง ถ้ามีหลักฐานตามความเป็นจริง สมาคมก็จะบรรจุลงในรายการประกวดพระให้ แต่ถ้าไม่มีหลักฐานทางสมาคมก็ไม่สามารถบรรจุลงในรายการประกวดให้ท่านได้เช่นกัน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามแนวทางของความถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่ใช่เพียงพระเครื่องหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ที่มีการถกเถียงกัน แต่รวมถึงพระเครื่องอีกหลายพระคณาจารย์
คุณชินพร สุขสถิต และตัวแทนคณะกรรมการผู้จัดสร้างวัตถุมงคลคณะศิษย์ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่ทิม คุณเพียรวิทย์ จารุสถิติ ผู้เป็นศิษย์ใกล้ชิดกับหลวงปู่ทิม และเข้าเป็นศิษย์หลวงปู่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2514 ยืนยันว่าไม่มีการสร้างพระขุนแผนผงพรายกุมารในปี พ.ศ.2515 และไม่เคยเห็นมาก่อน และพระขุนแผนผงพรายกุมารนั้น เริ่มสร้างในปลายปี พ.ศ.2516-17 โดยมีพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก ทั้ง 2 อย่างมีบล็อกอยู่ 2 บล็อกคือ บล็อกหนึ่งและบล็อกสองเท่านั้น
คุณชินพร สุขสถิต ผู้เป็นศิษย์ของหลวงปู่ทิมอีกท่านหนึ่ง และเป็นผู้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายรุ่น กล่าวว่าตัวเขาเองได้เข้าไปกราบขอเป็นศิษย์หลวงปู่ทิม ในปีพ.ศ.2517 โดยการชักชวนของคุณเพียรวิทย์ เพื่อเข้ามาช่วยหาทุนในการพัฒนาวัด และสร้างศาลาภาวนาภิรัต คุณชินพรกล่าวว่า ตอนที่เข้าไปวัดครั้งแรกนั้นวัดยังไม่เจริญ และทางวัดมีพระให้เช่าบูชา เป็นเครื่องรางของขลังต่างๆ เช่น ผ้ายันต์ และพระองค์เล็กๆ อยู่ในตู้และยังไม่เคยเห็นพระขุนแผนผงพรายกุมาร ปีพ.ศ.2515
นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการรับและตัดสินพระเครื่องของหลวงปู่ทิมอีก 17 ท่าน ซึ่งก็เป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ก็ยืนยันว่าพระขุนแผนผงพรายกุมาร ที่นิยมเป็นมาตรฐานนั้นก็คือ พระขุนแผนผงพรายกุมารที่สร้างในปี พ.ศ.2516-17 เท่านั้น และเท่าที่ศึกษาสะสมมาก็ไม่เคยเห็นหรือได้ยินพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2515 พระชุดนี้เพิ่งมีการพูดถึงแค่สองสามปีมานี้เอง แต่ก็ไม่ได้สนใจนักเพราะก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีเจตนาอย่างไรในการนำมากล่าวอ้างถึง
สุดท้าย คุณพยัพ คำพันธุ์ กล่าวว่าทุกสิ่งทุกอย่างสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย นำความชัดเจนมาสู่สังคมโดยรวม ไม่ได้มีอคติใดๆ แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับพระที่ยังไม่มีความชัดเจน หากมีหลักฐานมีข้อเท็จจริงมายืนยันด้วยเหตุและผล ทางสมาคมก็เปิดโอกาสรับพิจารณาไม่มีการปิดกั้น ส่วนตัวไม่ได้รับและตัดสินพระเครื่องมากว่า 20 ปี และเซ็นรับรองเพียงใบเซอร์ติฟิเคทของสมาคมเท่านั้น สิ่งที่ได้ร่วมประชุมและแถลงข่าวในครั้งนี้ เพื่อให้สังคมโดยรวมเป็นผู้วิเคราะห์รับไปพิจารณา สมาคมเป็นกลางสำหรับทุกฝ่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้หนึ่งผู้ใด
ก็เป็นที่ชัดเจนเกี่ยวกับพระขุนแผนผงพรายกุมารของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ สำหรับในส่วนของกลุ่มผู้ที่ศรัทธาในพระขุนแผนผงพรายกุมารปี พ.ศ.2515 นั้นก็เป็นเรื่องของเฉพาะกลุ่ม แต่จะให้จัดบรรจุไว้ในการประกวดของสมาคมคงยังไม่ได้ เนื่องจากความชัดเจนยังไม่ปรากฏและไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมส่วนใหญ่ครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนผงพรายกุมาร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ พิมพ์ใหญ่ บล็อกนิยม ปีพ.ศ.2517 มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดสุโขทัยเดิมเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ดังนั้นจึงมีวัดวาอารามรวมทั้งเมืองลูกหลวง เมืองหน้าด่านต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรและศาสนา ในจังหวัดสุโขทัยจึงพบพระกรุต่างๆ มากมาย
พระเครื่องที่มีชื่อเสียงของสุโขทัยก็มีมากหลากหลายชนิด มีพระร่วงนั่งอยู่แบบหนึ่งที่ปัจจุบันแทบไม่ได้พบเห็นกันเลย จนทำให้ลืมเลือนกันไป คือพระร่วงนั่งกรุน้ำ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเป็นพระเครื่องที่ได้รับการกล่าวขวัญกันมากถึงเรื่องพุทธคุณที่โดดเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด ผู้หลักผู้ใหญ่ในสมัยก่อนเล่าขานเรื่องราวประสบการณ์ให้ฟังว่าเป็นที่เชื่อถือไว้ใจได้ แต่ก็เป็นพระที่หายากมาแต่ในสมัยก่อน เนื่องจากพระกรุนี้ชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงมีพระที่สมบูรณ์ขึ้นมาจากกรุน้อยมาก
พระร่วงนั่งกรุน้ำ มีการพบมานานมาก จากการบอกเล่าประมาณร้อยกว่าปีมาแล้ว มีผู้เข้าไปขุดกรุพระหาสมบัติได้ลักลอบเข้าขุดในบริเวณวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งมีวัดและเจดีย์มากมาย สถานที่พบไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าตรงบริเวณใดแน่ แต่จากคำบอกเล่าและสังเกตดูพระเครื่องที่พบนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่า และก็เป็นที่มาของชื่อเรียกคำว่า "กรุน้ำ" คณะผู้ที่เข้าไปลักลอบขุดบอกเพียงว่าไปขุดบริเวณวัดมหาธาตุ ใกล้ๆ กับริมน้ำ และพบกรุพระ ก็ได้ขุดเข้าไปจนพบพระ แต่เมื่อถึงกรุพระนั้นปรากฏว่ามีน้ำท่วมพระกรุอยู่ประมาณ 70% ของกรุ ก็ได้พระมาจำนวนหนึ่งเป็นพระเนื้อชินเงิน ลักษณะเป็นพระร่วงนั่งปางสมาธิ มีอยู่หลายพิมพ์ แต่พระส่วนใหญ่ถูกน้ำท่วมขัง จึงทำให้องค์พระชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ มีพระที่สมบูรณ์น้อยมาก จากการบอกเล่าของผู้ที่เข้าไปขุดกรุนั้นบอกว่า ในกรุจะมีพระอะไรอีกหรือไม่นั้นไม่ทราบ เพราะขุดลงไปได้ไม่ลึกนักก็ต้องเลิกขุดเพราะน้ำท่วมขังจนไม่สามารถขุดต่อได้ และพระส่วนใหญ่ก็ชำรุดผุพังเสียเป็นส่วนใหญ่จึงเลิกขุดต่อ
พระร่วงกรุน้ำที่พบจึงมีแต่พระร่วงนั่งปางสมาธิเท่านั้น พระกรุนี้ที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะคล้ายกันทุกพิมพ์ ผิดกันที่ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ขนาดองค์พระเป็นพระขนาดย่อม ใหญ่กว่าพระเชตุพนไม่มากนัก สูงประมาณ 2.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.7 ซ.ม. ขนาดกำลังเลี่ยมห้อยคอครับ พระที่พบจะมีสนิมเกาะกินอยู่ตามองค์พระ บ้างก็มีผิวพระระเบิดเสียเป็นส่วนใหญ่ หาพระสมบูรณ์ยากมาก เพราะตัวกรุถูกน้ำท่วมขัง
พระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย พุทธคุณเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด ในสมัยก่อนเป็นที่หวงแหนกันมาก ปัจจุบันพระร่วงนั่งกรุน้ำแทบจะไม่เคยพบเห็นกันเลย ขนาดรูปพระก็ยังหายาก เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่มีประสบการณ์มากและหายากครับ
เพื่อกันลืมกันไป ในวันนี้ผมได้นำรูปพระร่วงนั่งกรุน้ำ สุโขทัย จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน หลวงปู่ทวดเป็นพระสงฆ์ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามากที่สุดองค์หนึ่ง เราจะเห็นได้ว่ามีการสร้างพระหลวงปู่ทวดกันอยู่หลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นทางภาคใต้หรือภูมิภาคใดก็ตาม เช่น ใน กทม. ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน มีสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดกันหมด เนื่องจากความศรัทธาในองค์หลวงปู่ทวดกันมากนั่นเอง พระหลวงปู่ทวดของวัดช้างให้ ปัตตานีที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรก และพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่อาจารย์ทิมท่านได้สร้างไว้ล้วนแต่มีความนิยมมาก สนนราคาก็สูงตามไปด้วย แต่ก็มีอีกหลายๆ วัดที่เรายังสามารถเสาะหามาบูชาได้ไม่ยากนักอยู่เช่นกันครับ
ในวันนี้ผมจะพูดถึงพระหลวงปู่ทวดอีกวัดหนึ่งซึ่งบางรุ่นนั้นมีความนิยมสูงและสนนราคาก็ค่อนข้างสูงเอาการอยู่ แต่ก็มีบางรุ่นที่ราคาไม่สูงนักและน่าบูชามาก ก็คือพระหลวงปู่ทวดของวัดสะแก อยุธยา ที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่ดู่ (พรหมปัญโญ) ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดพระญาติการาม หลวงปู่ดู่มีความเคารพนับถือหลวงปู่ทวดมาก และมักจะเรียกว่าอาจารย์เสมอๆ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เมื่อนั่งกัมมัฏฐาน เวลาติดขัดมีปัญหาหลวงปู่ทวดจะมาปรากฏในนิมิต ช่วยแนะนำตลอด ดังนั้นพระเครื่องที่ท่านสร้างจึงเป็นพระหลวงปู่ทวดมากมายหลายรุ่น โดยปลุกเสกเดี่ยวทุกครั้ง
การแบ่งแยกรุ่นบางพิมพ์คงทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสร้างไว้มากมายหลายรุ่นหลายวาระ หลายพิมพ์ จึงอาจจะแบ่งแยกเป็นประเภทได้ดังนี้ ประเภทพระบูชา ประเภทพระเครื่องเนื้อผง ประเภทเหรียญ และพระรูปเหมือนหลวงปู่ทวดลอยองค์ เป็นต้น
พระเครื่องหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่รู้จักกันดีก็คือเหรียญเปิดโลก สร้างในปี พ.ศ.2532 มีอยู่หลายเนื้อด้วยกัน ทั้งทองคำ เงิน ทองแดง เนื้อตะกั่ว สำหรับพระรุ่นนี้นั้นมีสนนราคาสูงมาตั้งแต่ในตอนที่พระออกใหม่ๆ แล้ว และในปัจจุบันก็มีราคาสูงมากเป็นที่นิยม ส่วนในอีกรุ่นที่เป็นพระเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งสร้างมานานแล้วที่ผมจะกล่าวถึง สนนราคายังไม่สูงมากนักครับ ซึ่งเป็นพระหลวงปู่ทวดของหลวงปู่ดู่ที่สร้างในระยะแรกๆ ซึ่งหลวงปู่ทำแจก จึงไม่ค่อยได้พิถีพิถันในเรื่องพิมพ์นัก เมื่อท่านเห็นลูกศิษย์ของท่านแขวนพระหลวงปู่ทวด และท่านเห็นว่าสวยดี ท่านก็จะขอมากดแม่พิมพ์ไว้ โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรุ่นใดหรือวัดใด
หลังจากนั้นก็พิมพ์พระหลวงปู่ทวดด้วยเนื้อผงขาวเก็บไว้พิมพ์ละไม่มากนักในแต่ละครั้ง เวลาลูกศิษย์หรือผู้เคารพศรัทธาไปกราบขอขึ้นกัมมัฏฐานกับท่าน จะได้รับมอบพระเนื้อผงขาว 1 องค์ จึงมักเรียกพระเนื้อผงขาวทุกพิมพ์ว่า "พระผงกัมมัฏฐาน" สำหรับพระหลวงปู่ทวดด้านหลังบางองค์จะปั๊มตรายางสีน้ำเงินเป็นรูปกงจักร ตรงกลางเป็นตัวอักษร พ. ซึ่งหมายถึง พรหมปัญโญ พระดังกล่าวนี้เป็นพระที่ค้นพบภายในกุฏิของหลวงปู่ดู่ ภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว และกรรมการวัดได้รวบรวมปั๊มตรายางไว้ จากนั้นจึงนำออกมาให้เช่าบูชาไม่นานก็หมด พระเหล่านี้ทันยุคหลวงปู่ดู่อย่างแน่นอน บางองค์เป็นพระยุคแรกๆ ด้วยซ้ำไป
พระเครื่องของหลวงปู่ดู่ทุกรุ่นทุกพิมพ์ เป็นพระที่มีพุทธคุณสูงยิ่ง เนื่องจากท่านสนใจศึกษาทางด้านพุทธาคมจากหลายอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ ทำให้มีความเข้มขลัง ต่อมาเคร่งครัดทางด้านปฏิบัติวิปัสสนาและเชื่อกันว่าท่านสำเร็จธรรมชั้นสูง จึงไม่น่าแปลกใจที่พระของท่านเกิดประสบการณ์กับผู้ใช้บูชามากมาย และมีค่านิยมสูงขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะพระที่สร้างในรูปลักษณ์ขององค์หลวงปู่ทวดครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหลวงปู่ทวดเนื้อผงกัมมัฏฐาน ซึ่งปัจจุบันสนนราคายังไม่สูงมากนักและพอที่จะเสาะหากันได้ มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกริ่งรุ่นแรก สมเด็จพระสังฆราช(แพ)
พระกริ่งเทพโมลี พระกริ่งรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (แพ ติสฺสเทว) สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2441-2442 เป็นพระกริ่งที่มีความงดงามของพุทธศิลป์และความศักดิ์สิทธิ์ในพุทธานุภาพเป็นที่ปรากฏ โดยมีพุทธลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกริ่งอื่น ทั้งสายวัดบวรนิเวศวิหารและสายวัดสุทัศน์
เรียกได้ว่า มีเอกลักษณ์ที่ยากจะหากริ่งใดเสมอเหมือน ประการสำคัญคือจำนวนการสร้างน้อยมาก จึงหาดูหาเช่าของแท้ๆ กันได้ยากยิ่ง นับเป็นหนึ่งในสุดยอดพระกริ่งของไทยอันทรงคุณค่าและมีค่านิยมสูง
สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) พระนามเดิมว่า แพ ประสูติในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรงจุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2399 บิดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำพูล่าง อ.คลองสาน ฝั่งธนบุรี
ถึงปีจอ พ.ศ.2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ "พระเทพโมลี" มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้...ให้เลื่อนพระศรีสมโพธิ์เป็น พระเทพโพลี ตรีปิฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตรยภัตรเดือนละ ๔ ตำลึงกึ่ง มีฐานานุศักดิ์ควรตั้งฐานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆวิชิต ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ ...
จนเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2482 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฏ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช (องค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2487 ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 89 พรรษา 66
ในโอกาสที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ที่ "พระเทพโมลี" เมื่อปี พ.ศ.2441 นั้น ท่านจึงได้สร้างพระกริ่งขึ้นเป็นครั้งแรก ตามตำรับอย่าง "วัดป่าแก้ว" และ "พระกริ่งปวเรศ" ที่ทรงรำลึกถึง ซึ่งตำรับการสร้างมีพิธีอันละเอียดซับซ้อนและเต็มไปด้วยพิธีกรรมมากมาย ท่านได้ตรัสว่า "ดีในและดีนอก" หมายถึงเมื่อสร้างพระกริ่งออกมาแล้วจะต้องมีเสียงเขย่าดังของเม็ดกริ่งที่ดังกังวาน และไม่ปรากฏรูเจาะ-รูคว้านให้เห็น ซึ่งจะต้องทำให้เป็นเนื้อเดียวกับองค์พระ ซึ่งคือ "ดีใน"
สำหรับ "ดีนอก" คือ มวลสารแห่งเนื้อพระต้องตามสูตรอย่างโบราณ ประกอบไปด้วย ชิน น้ำหนัก 1 บาท, จ้าวน้ำเงิน (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน) น้ำหนัก 2 บาท, เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท, ทองแดงบริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท, ปรอท น้ำหนัก 5 บาท, สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท, ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท, เงิน น้ำหนัก 8 บาท และทองคำ น้ำหนัก 9 บาท มาหล่อหลอมให้กินกันดี นำมาตีเป็นแผ่น แล้วจารยันต์ 108 กับ นะ ปถมัง 14 จึงจะได้ "เนื้อนวโลหะ" ออกมาเป็นสีนากสุก เมื่อปล่อยไว้นานเข้าจะกินอากาศเป็นผิวกลับดำ มีพรายเงิน พรายทอง แล้วแต่กระแสโลหะ และผิวดำมันวาวอย่างสีปีกแมลงทับ
นอกจากนี้ จำนวนการจัดสร้างก็ต้องถือคติกำลังวัน เช่น วันจันทร์ มีกำลังวัน 15 ก็สร้างพระ 15 องค์, วันอังคาร กำลังวัน 8 ก็สร้าง 8 องค์ เป็นต้น
"พระกริ่งพระเทพโมลี" ซึ่งเป็นพระกริ่งรุ่นแรกนั้น มีความสูง 4.2 ซ.ม. ฐานกว้าง 2 ซ.ม. กล่าวกันว่า พระกริ่งรุ่นนี้มีจำนวนการสร้างน้อยมาก โดยจัดสร้างเป็น 2 ครา ครั้งแรกในปี พ.ศ.2441 จำนวน 9 องค์ และสร้างอีกครั้งในปี พ.ศ.2442 อีกจำนวนหนึ่ง โดยรวมแล้วไม่น่าจะเกิน 20 องค์ ทำพิธีหล่อที่หน้ากฏิใหญ่ ในคณะ 11 วัดสุทัศน์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง เนื่องจากเป็นการหล่อที่สวยงามสมบูรณ์ ผิดกับพระกริ่งที่สร้างรุ่นหลังๆ เป็นอันมาก เป็นพระกริ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ของพระกริ่งสำนักใดมาจัดสร้าง เป็นพุทธศิลปะแบบไทยประยุกต์ โดยสร้างเป็น "เนื้อนวโลหะ" ภายในขาวคล้ายเงิน แล้วกลับดำสนิท
พระกริ่งวัดสุทัศน์ ที่สร้างในสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2441-2486 มีด้วยกันหลายรุ่น ซึ่งล้วนทรงคุณค่าและทรงพุทธาคมเป็นเลิศ เป็นที่นิยมสะสมและแสวงหา ทั้งสิ้น อาทิ พระกริ่งธรรมโกษาจารย์, พระกริ่งพรหมมุนี และพระกริ่งพุฒาจารย์ เป็นต้น แต่ด้วยจำนวนการสร้างในแต่ละรุ่นนั้นน้อยมาก ปัจจุบันจึงนับว่าหาได้ยากยิ่งนัก และรุ่นสุดท้ายที่พระองค์ทรงสร้างไว้ คือ "พระกริ่งเชียงตุง" ซึ่งสร้างในปี พ.ศ.2486
หลังจากการสิ้นพระชมน์ของพระสมเด็จพระสังฆราช (แพ) การสร้าง "พระกริ่งสายวัดสุทัศน์" ยังคงสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง
พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์
พระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดที่สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดแห่งนี้ถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่สมัยพระเฑียรราชา จนถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และที่สำคัญคือพระเครื่องของกรุนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง คือพระขุนแผนเคลือบ
วัดใหญ่ชัยมงคล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัตเป็นประธานสงฆ์ มีชื่อเรียกว่าวัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว
ต่อมาในสมัยพระเฑียรราชาก่อนที่จะปราบดาภิเษก ยึดอำนาจจากขุนบรมวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้มีการประชุมแผนการและทำการเสี่ยงเทียนที่วัดแห่งนี้ ครั้นได้รับผลสำเร็จจึงอัญเชิญพระเฑียรราชาขึ้นครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระมหาจักรพรรดิ
ครั้นแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ฯ เป็นที่พำนักของสมเด็จพระวันรัต ผู้เป็นเถระที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ความเคารพ และในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งหงสาวดี มีแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันทัพในสงครามครั้งนี้ ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้น โดยยกเอาพระพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง และทรงได้รับชัยชนะ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วย และทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น พระราชทานนามว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล"
ต่อมาภายหลังได้มีการพบกรุพระในองค์พระเจดีย์องค์ใหญ่นี้ มีมากมายหลายพิมพ์ ทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชิน พระเครื่องที่เป็นเนื้อดินเผาได้รับความนิยมมากก็คือพระขุนแผนเคลือบ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์แขนอ่อน ได้รับความนิยมอย่างสูง สนนราคาสูงมาก หายาก เนื่องจากพบพระที่สมบูรณ์น้อยมาก ส่วนใหญ่จะชำรุดตั้งแต่ในกรุ พระเครื่องที่ได้รับความนิยมรองลงมาก็คือพระขุนแผนในพุทรา มีทั้งเนื้อดินเผาและเนื้อชินเงิน แต่พระเนื้อดินเผาจะได้รับความนิยมมากกว่า พระขุนแผนใบพุทรามีพบจำนวนมากหน่อยจึงมีแพร่หลายมากกว่า ขุนแผนเคลือบ แต่ในปัจจุบันก็หาแท้ๆ ยากแล้วครับ
พระขุนแผนใบพุทรา มีรูปทรงกรอบกลมๆ และที่ฐานในก้านเดือยยาวลงมาจากฐานบัว ดูคล้ายๆ กับก้านและใบพุทรา จึงเรียกกันแบบนี้มาแต่เดิม ศิลปะของพระขุนแผนใบพุทราเป็นแบบอยุธยาบริสุทธิ์ เนื้อดินมีทั้งแบบเนื้อค่อนข้างละเอียด และเนื้อหยาบ ส่วนพระเนื้อชินมักจะตัดขอบเข้ารูปตามองค์พระ
พุทธคุณเด่นทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาด เมตตามหานิยม ของปลอมเลียนแบบมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาก็ต้องระวังถี่ถ้วนหน่อยครับ
วันนี้ผมได้นำรูปพระขุนแผนใบพุทราเนื้อดินเผา จากหนังสืออมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทยมาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #14 เมื่อ:
28 มีนาคม 2559 20:11:10 »
./size]
เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด เนื้อทองแดง
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดนครปฐมนั้น มีพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายองค์ ในวันนี้ผมจะคุยถึงพระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง คือ พระครูไพศาลธรรมวาที พอบอกอย่างนี้หลายท่านอาจจะงง แต่ถ้าบอกว่าหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด ก็ร้องอ๋อจริงไหมครับ หลวงพ่อห้อยสร้างวัตถุมงคล ไว้หลายอย่าง ล้วนมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย พุทธคุณยอดเยี่ยมทางด้านมหาอุดและแคล้วคลาด
พระครูไพศาลธรรมวาที หรือ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด อ.สามพราน จ.นครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2415 โยมบิดาชื่อมั่ง โยมมารดาชื่อเมือง อุปสมบท ปี พ.ศ.2435 โดยมีพระครูปุริมานุรักษ์ วัดสุขประดิษฐาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรุ่ง วัดหอมเกร็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดทรงคนอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญัสสะ" หลวงพ่อห้อยได้เรียนวิทยาการต่างๆ จากพระอาจารย์ทั้งสามองค์นี้
นอกจากนี้หลวงพ่อห้อยยังได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ตอนที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมโกษาจารย์ อีกด้วย
หลังจากที่หลวงพ่อห้อยบวชได้ประมาณ 3 พรรษา หลวงพ่อรุ่งเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ดก็มรณภาพ วัดหอมเกร็ดจึงว่างเจ้าอาวาส คณะศิษย์และมัคนายกวัดได้นิมนต์หลวงพ่อห้อย ผู้เป็นศิษย์ เป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด และก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหอมเกร็ด วัดหอมเกร็ดนั้นแต่เดิมชื่อว่า "วัดหอมกรุ่น" ต่อมาหลวงพ่อห้อยได้พิจารณาเห็นว่าวัดหอมกรุ่นอยู่ไกลแหล่งน้ำ การคมนาคมไม่สะดวก และสภาพวัดทรุดโทรมมาก ท่านจึงปรึกษามัคนายกวัดในที่สุดจึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 500 เมตร
หลังจากที่ได้ย้ายวัดมาอยู่ริมแม่น้ำแล้วหลวงพ่อห้อยก็ได้เริ่มพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ท่านได้สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ท่านสนใจในเรื่องการศึกษาของเด็กชาวบ้านในแถบนั้น ในปี พ.ศ.2462 จึงได้ให้เปิดศาลาการเปรียญทำการสอนหนังสือให้แก่เด็กๆ โดยมี นายเทพ นาคนาเกร็ด เป็นครูใหญ่คนแรก และต่อมาในปี พ.ศ.2465 จึงได้สร้างอาคารเรียนขึ้น เป็นโรงเรียนชื่อว่า "ห้อยศึกษาลัย" จากผลงานและความสามารถของหลวงพ่อท่านจึงได้รับสมณศักดิ์ที่พระครูไพศาลธรรมวาที ต่อมาในปี พ.ศ.2481 หลวงพ่อห้อยก็ได้ขยายโรงเรียนขึ้นโดยความร่วมมือกับชาวบ้านและทางการจนเป็นโรงเรียนมาตรฐานชื่อว่า "โรงเรียนไพศาลประชานุกูล" หลวงพ่อห้อยมรณภาพในปี พ.ศ.2483 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 48
ในสมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น พระปิดตามหาอุตม์ เหรียญหล่อพระปิดตา พระว่าน และในปี พ.ศ.2465 คณะศิษย์ได้จัดงานฉลองสมณศักดิ์และสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ราคาสูงมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด เนื้อทองแดง มาให้ชมครับ
ชมรมพระเครื่อง
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญนำโชคหลวงปู่สมภาร
"พระครูปัญญาวรากร" หรือ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อดีตพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ปัจจุบัน สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ และเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
มีนามเดิม สมภาร อุนาพรหม เกิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค.2467 ที่ ต.ชมภูพร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดไชยมงคล ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มีพระอาจารย์ฮวด เป็นพระอุปัชฌาย์
มีความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น จึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติธรรมอยู่นานถึง 6 พรรษา ต่อมา หลวงปู่มั่น ละสังขาร จึงเข้าร่วมกองทัพธรรมกับคณะหลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ออกธุดงค์ลงไปเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ และจำพรรษาปฏิบัติธรรมวนเวียนอยู่วัดแถบภาคใต้ นานหลายพรรษา
ในปี พ.ศ.2507 เดินทางกลับอีสานบ้านเกิด จำพรรษาอยู่วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าเป็นผู้มีความพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม ซึ่งหลวงปู่ได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน
ในปี 2559 วัดป่าวิเวกพัฒนาราม มีโครงการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่เริ่มทรุดโทรม หลวงปู่สมภารจึงอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญรูปเหมือนทรงสี่เหลี่ยม รุ่นนำโชค เพื่อมอบให้กับสาธุชนที่บริจาคปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้างกุฏิหลังดังกล่าว
สำหรับวัตถุมงคลรุ่นนี้ มีขนาดกว้าง 3 ซ.ม. ยาว 4 ซ.ม. ไม่มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่สมภารครึ่งองค์สวมแว่นตาเอียงหน้าห่มจีวรเฉียง อยู่ในกรอบรูปไข่ ด้านล่างสุด เขียนคำว่า "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" ด้านหลังเหรียญ มุมเหรียญมีอักขระยันต์มุมละหนึ่งตัว และบริเวณกลางเหรียญ เป็นอักขระยันต์พุทธคุณเด่นรอบด้าน ด้านบนยันต์ เขียนคำว่า "นำโชค" ด้านล่างใต้ยันต์ เขียนคำว่า "วัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.บึงกาฬ"
ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ถึง 4 วาระ มีพระเกจิคณาจารย์ดัง อธิษฐานจิตปลุกเสก ประกอบด้วย 1.หลวงปู่สิงห์ทอง ปภากโร วัดป่าสุนทราราม จ.ยโสธร 2.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ วัดป่าภูมิพิทักษ์ จ.สกลนคร 3.หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่ 4.หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม จ.บึงกาฬ
วัตถุมงคลรุ่นนี้ จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองคำ 6 เหรียญ เนื้อเงินหน้าทอง สร้าง 12 เหรียญ เนื้อเงินสร้าง 29 เหรียญ นวะหน้าเงิน 19 เหรียญ อัลปาก้า 99 เหรียญ สัมฤทธิ์ 39 เหรียญ และเหรียญฝาบาตรจำนวนหนึ่งให้แจกญาติโยม เป็นต้น
ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์โทร. 08-5002-8659, 08-4541-3420
[iเปิดตลับพระใหม่][/i]
พระสมเด็จหลวงปู่เช้า รุ่นผูกพัทธสีมา
"หลวงปู่เช้า อัตตจิตโต" วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองปากน้ำโพ ที่เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ สืบสานวิทยาคมเป็นศิษย์สายตรงหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และเรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
หลวงปู่เช้า ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น ท่านเกิดในสกุล ชัยบุรินทร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2466 ที่ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ในช่วงเยาว์วัย เรียนที่โรงเรียนวัดในหมู่บ้าน โดยครูที่สอนเป็นทั้งพระและฆราวาส เรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้วออกมาช่วยครอบครัวทำนาทำไร่ จากนั้น ตอบแทนคุณบิดา-มารดา เข้าพิธีอุปสมบท ที่พัทธสีมาวัดดงน้อย อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีพระใบฎีกาบุญยัง คังคสโร เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงปู่เช้า ประพฤติปฏิบัติตามแบบที่ครูอาจารย์สั่งสอนอย่างเคร่งครัด ท่านเดินทางไปปฏิบัติธรรมและศึกษาพระธรรมวินัยในหลายจังหวัดทางภาคกลาง ร่ำเรียนวิชาจากพระใบฎีกาบุญยัง ซึ่งเคยเป็นพระครูปลัดซ้าย พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า เรียนวิทยาคมสายหลวงปู่ศุขจากตำราเอก วิชาตัวอิ อันเป็นบทปฐม 1 ใน 4 ตำราหลัก ของหลวงปู่ศุข คือ อิติปิโส จากพระใบ ฎีกาบุญยัง จนมีความชำนาญ และยังเดินทางไปเรียนวิชากับหลายพระอาจารย์ ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่อเดิม ได้รับถ่ายทอดวิชาเสกมีดหมอ คาถาคงกระพัน
ครั้นอายุมาก ล่วงเข้าวัยชรา พระใบฎีกาปรีชา ธัมมโชโต เจ้าอาวาสวัดห้วยลำใย ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชาย ขออาราธนาหลวงปู่เช้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดห้วยลำใย เพื่อจะได้ดูแลใกล้ชิด
หลวงปู่เช้า มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2557 ที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ สิริอายุ 92 พรรษา 72
ย้อนไปในปี พ.ศ.2525 วัดห้วยลำใย จัดงานพิธีผูกพัทธสีมา หลวงปู่เช้าจัดสร้าง "พระสมเด็จ รุ่นผูกพัทธสีมา" จำนวน 5,000 องค์ ลักษณะเหมือนพระสมเด็จทั่วไป แต่ด้านหลังมีขอบรอบ ตรงกลางเป็นรูปนูน "ยันต์ดวง" บรรจุอักขระขอม "พุท ธะ สัง มิ" ด้านบนมีอักษรไทย "ผูกพัทธสีมา" ด้านล่างมีอักษรไทย "วัดห้วยลำใย" แต่ทางวัดมิได้เปิดให้เช่าบูชา แต่เก็บไว้อย่างดีที่กุฏิหลวงปู่เช้า
ซึ่งหลวงปู่เช้า อธิษฐานจิตปลุกเสก ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึง พ.ศ.2557 จนท่านมรณภาพ
ในงานพิธีผูกพัทธสีมา วัดห้วยลำใย ปี พ.ศ.2525 ยังจัดพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ด้วย มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงพ่อโอด วัดจันเสน, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ฯลฯ โดยมีหลวงปู่เช้า เป็นประธานในพิธี
เดือนพฤษภาคม 2559 วัดห้วยลำใย เตรียมจัดงาน "พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เช้า" ซึ่งต้องใช้ปัจจัยจำนวนมาก จึงนำพระสมเด็จหลวงปู่เช้า รุ่นผูกพัทธสีมา ปี พ.ศ.2525 ที่เก็บไว้ ออกมาให้ประชาชนเช่าบูชา นำรายได้สมทบทุนงานพระราช ทานเพลิงศพ
พระสมเด็จหลวงปู่เช้า ที่มีสีฟ้าอ่อนนั้น วัดนำพระสมเด็จส่วนหนึ่งแช่ในน้ำหมึกพิมพ์ฝ่ามือหลวงปู่เช้า ส่วนที่มีสีขาวนวลไม่ได้แช่น้ำหมึกพิมพ์ฝ่ามือหลวงปู่
สอบถามรายละเอียดได้ที่วัดห้วยลำใย ต.หนองพิกุล อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ โทร.08-0782-1280 ทุกวัน
เปิดตลับพระใหม่
พระขุนแผน พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม จ.ปทุมธานี
"พระครูปลัดอิทธิพล ปธานิโก" หรือ "พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม" เจ้าอาวาสวัดสายไหม ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เจ้าตำรับวัตถุมงคล "ตะกรุดลูกปืน"
ศึกษาวิชาด้านการทำตะกรุดมาจาก พ่อรอด สุขแสงจันทร์ ฆราวาส จากนั้นจึงได้มาบวชเรียนอยู่ที่วัดสายไหม เป็นเวลากว่า 25 ปี ก่อนจะจัดสร้างปลุกเสกตะกรุดลูกปืนแจกจ่ายประชาชน
การแจกตะกรุดลูกปืน พระอาจารย์อ๊อดแจกให้ญาติโยมทุกวัน โดยไม่มีการเรียกร้องเงินทอง ส่วนเงินที่ได้จากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนเป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด และก่อสร้างศาลาหลังใหม่
นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้างวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง อาทิ เหรียญเนื้อปลอกลูกปืน พระปิดตาเนื้อผงชุบรัก และเหรียญเสมา "รุ่นเสาร์ ๕" โดยใช้มวลสารโลหะจำนวนมาก ประกอบพิธีบวงสรวง พุทธาภิเษก และนั่งปรกอธิษฐานจิต ที่วัดสายไหม
ล่าสุด จัดสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง "พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร" เพื่อแจกคณะศิษย์ที่มาร่วมงานไหว้ครูในวันเสาร์ที่ 5 มี.ค.2559 ที่ผ่านมา
บรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องวัตถุมงคล เมื่อเอ่ยถึงพระเครื่องชั้นนำหรือ พระกรุยอดนิยมต่างๆ จำนวนมาก มักมีชื่อของ "พระขุนแผน" รวมอยู่ในลำดับต้น
และสำหรับพระขุนแผน ที่กล่าวขวัญถึงกันมาก คือ "พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี"
พระขุนแผน กรุบ้านกร่าง เป็นพระกรุโบราณ มีอายุการสร้างยาวนานหลายร้อยปี กล่าวกันว่าความงดงามของพุทธศิลปะโดดเด่น ยิ่งนัก จัดเป็นพระยอดนิยมชั้นแนวหน้าของวงการมายาวนาน
พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง เป็นพระในสมัยอยุธยาตอนกลาง ศิลปะอ่อนช้อยสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สำคัญที่สุด คือ ในจำนวนพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง มีอยู่พิมพ์หนึ่ง คือ พระขุนแผน พิมพ์ห้าเหลี่ยมอกใหญ่
เป็นการเรียกชื่อพระเครื่องของคนสมัยหลัง ด้วยคนโบราณ สร้างพระพิมพ์ ไม่เคยพบหลักฐานว่ามีการตั้งชื่อพระเอาไว้ด้วย มีแต่คนรุ่นหลังที่ไปขุดพบพระพิมพ์เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทั้งสิ้น
พระกรุวัดบ้านกร่างก็เช่นเดียวกัน คนสุพรรณบุรี ยุคนั้นเรียกกันเพียงว่า พระวัดบ้านกร่าง
ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อให้เป็นพระขุนแผน เชื่อว่าต้องการให้คล้องจองกับตัวละครในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน อันมีถิ่นกำเนิดในสุพรรณบุรี
พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร พระอาจารย์อ๊อด มีมวลสาร อาทิ กากยายักษ์ ผงพระพุทธรูป 100 ปี แร่เหล็กน้ำพี้ ไม้มงคล 108 ชนิด ผงธูปเก่า 56 วัด ดินใต้โบสถ์เก่าวัดสายไหม โดยพระอาจารย์อ๊อด นั่งกดพิมพ์ด้วยตัวเองทั้งหมด
พระขุนแผนหลังพรายกุมาร-หลังจาร ลักษณะเป็นพระผงพิมพ์ห้าเหลี่ยม
ด้านหน้าเป็นรูปลักษณ์สมมติขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว
ด้านหลังทำ 2 แบบ คือ เป็นรูปลักษณ์พรายกุมารปั๊มหลังแบบ และจารยันต์นะมหาเศรษฐี จัดสร้างเพียง 556 องค์ และพระอาจารย์อ๊อดนั่งปรกอธิษฐานจิต เป็นเวลา 1 ไตรมาส ก่อนนำมาแจกให้กับคณะศิษยานุศิษย์ที่เข้าร่วมพิธีไหว้ครู จัดสร้างจำนวนไม่มาก
เปิดตลับพระใหม่
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #15 เมื่อ:
08 เมษายน 2559 20:27:03 »
.
พระกริ่ง 7 รอบสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งวัดบวรนิเวศฯ เป็นพระกริ่งอีกวัดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูง วันนี้ผมขอแนะนำพระกริ่ง 7 รอบสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) ซึ่งเป็นพระกริ่งที่สำคัญและมีความนิยมสูง แต่ก็หายากในปัจจุบัน
พระกริ่งรุ่นนี้ทางวัดได้จัดสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 ในโอกาสฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ (84 พรรษา) สมเด็จพระสังฆราช และทรงเป็นพระราชอุปัชฌายาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ในพิธีเททองพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศฯ ทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัยอย่างยิ่ง
พระกริ่งรุ่นนี้ ถอดเค้ามาจากพระกริ่งพิมพ์พระประธานที่เอาไปออกที่วัดตรีทศเทพฯ เพียงแต่เอาหม้อน้ำมนต์ออก และตอกหมายเลข ๗ ไว้ที่ด้านหลัง รอยอุดของพระกริ่งรุ่นนี้เป็นรอยเจาะสว่านที่ใต้ฐานขนาดใหญ่ เพื่อบรรจุเม็ดกริ่ง เนื้อพระเป็นโลหะผสม วรรณะเหลืองอมเขียว จำนวนการสร้างประมาณ 500 องค์
พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศฯ เป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสูงและหายากในปัจจุบัน ของปลอมเลียนแบบนั้นมีมานานแล้ว เวลาจะเช่าหาควรระมัดระวัง
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศฯ มาให้ชมทั้งด้านหน้าด้านหลัง และใต้ฐานครับ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่นสร้างพระตำหนักฐานทัพเรือสัตหีบ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทรงเป็นเจ้านายที่ทหารและประชาชนคนไทยให้ความเคารพรัก และศรัทธาเป็นอย่างมาก
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2423 ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ป.จ.ธิดา ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหกลาโหม ในรัชกาลที่ 5
เสด็จในกรมฯ ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ สำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2443 ได้เข้ารับราชการในราชนาวีไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ.2443 พระองค์ทรงมีพระอุตสาหะอย่างยิ่งในการก่อตั้งกองทัพเรือไทย ทรงรับภาระในด้านวิชาการ โดยทรงวางหลักสูตรการสอนนักเรียนนายเรือขึ้นมาใหม่ และทรงเป็นครูสอนนักเรียนด้วยพระองค์เอง
หลังจากเสด็จในกรมฯ ทรงปรับปรุงหลักสูตรการสอนในโรงเรียนนายเรือได้ไม่นาน ก็มีการได้เปิดโรงเรียนนายเรือสมัยใหม่ขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันทางกองทัพเรือได้ถือว่าวันที่ 20 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ"
พ.ศ.2463 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนติดต่อในการซื้อเรือรบ "พระร่วง" ซึ่งเป็นเรือรบที่ทันสมัยในสมัยนั้น และทรงได้นำเรือจากประเทศอังกฤษมาประเทศไทย ถือเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่นายทหารเรือไทยได้เคยเดินเรือทะเลได้ไกลถึงขนาดนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2465 ก็ทรงได้ขอพระราชทานที่ดินอำเภอสัตหีบ ให้เป็นฐานทัพเรือ นับว่าพระองค์ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ผู้มองการณ์ไกล เพราะที่ดินแห่งนี้มีสถานที่ตั้งอันเหมาะสมทุกประการ ดังกองทัพเรือยังคงใช้เป็นฐานทัพเรือตลอดมาถึงวันนี้
พลเรือเอก พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2466
เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นที่รักเคารพของประชาชนชาวไทย และทหารเรือมาก ถือเป็นพระบิดาของทหารเรือ ประชาชนและทหารเรือมักเรียกท่านว่า "เสด็จเตี่ย" เนื่องจากความรักและเคารพในตัวพระองค์ท่านมาก พระองค์ทรงไม่เคยถือพระองค์ และทรงช่วยเหลือชาวบ้านในการรักษาโรคภัยต่างๆ พระองค์ทรงมีความรู้เรื่องแพทย์แผนโบราณ และเรื่องวิทยาคมมาก โดยทรงศึกษาและเป็นศิษย์ของพระเกจิอาจารย์หลายรูป เช่น หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป
ทางฐานทัพเรือสัตหีบ ได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญกรมหลวงชุมพรฯ รุ่นสร้างพระตำหนักฐานทัพเรือสัตหีบ โดยมีหลวงพ่อนัส วัดอ่าวใหญ่ จ.ตราด เป็นประธานพุทธาภิเษก ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2559 เวลา 13.19 น. ณ พระตำหนักกรมหลวงชุมพรฯ ฐานทัพเรือสัตหีบ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่เคารพนับถือและศรัทธาในองค์กรมหลวงชุมพรฯ ร่วมทำบุญในครั้งนี้
โดยมีการจัดสร้าง
1.เหรียญเนื้อทองคำ ตามจำนวนสั่งจองไม่เกิน 99 เหรียญ
2.เนื้อเงินหน้าทองคำ 277 เหรียญ
3.เนื้อนวโลหะหน้าทองคำ 377 เหรียญ
4.เนื้อนวโลหะหน้าเงิน 677 เหรียญ
5.เนื้อนวโลหะ 777 เหรียญ
6.เนื้อทองแดง 17,777 เหรียญ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
ล๊อกเก็ตหลวงปู่สมภาร
"พระครูปัญญาวรากร" หรือ "หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร" เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่มีวัตรปฏิบัติดี สืบสายธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อดีตพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐานของภาคอีสาน
ปัจจุบัน สิริอายุ 92 พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอพรเจริญ และเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ
มีนามเดิม สมภาร อุนาพรหม เกิดเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2467 ที่ ต.ชมภูพร อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย (ขณะนั้น บึงกาฬ มีฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับ จ.หนองคาย)
อายุ 21 ปี อุปสมบทที่วัดไชยมงคล ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลังเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ท่านมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก อีกทั้งมีความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร ฝึกฝนวิปัสสนากัมมัฏฐานปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น นานถึง 6 พรรษา
ต่อมาหลวงปู่มั่นละสังขาร หลวงปู่สมภารเข้าร่วมกองทัพธรรมกับคณะหลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย ออกธุดงค์ลงไปเผยแผ่ธรรมะที่ภาคใต้ และจำพรรษาปฏิบัติธรรมวนเวียนอยู่วัดแถบภาคใต้ นานหลายพรรษา
ในปี พ.ศ.2507 เดินทางกลับอีสานบ้านเกิด จำพรรษาอยู่วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ คณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่าหลวงปู่สมภารเป็นผู้มีความพร้อมทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ จึงแต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกพัฒนาราม ซึ่งหลวงปู่ได้จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดแห่งนี้ตราบจนปัจจุบัน
สำหรับวัตถุมงคลของท่านมีการสร้างออกมาไม่กี่รุ่น อาทิ รุ่นปี 2545 เนื่องจากหลวงปู่ไม่ปรารถนาให้ญาติโยมและศิษยานุศิษย์ หลงใหลอยู่กับวัตถุมงคลมากกว่าพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในปี 2559 ทางวัดมีโครงการก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ทดแทนหลังเก่าที่เริ่มทรุดโทรม หลวงปู่จึงอนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคล ล็อกเกตจัมโบ้ รุ่นแรก ขึ้นเพื่อมอบให้กับสาธุชนที่บริจาคปัจจัยสมทบทุนการก่อสร้างกุฏิหลังดังกล่าว
วัตถุมงคลรุ่นนี้ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่สมภาร ครึ่งองค์เอียงหน้า และห่มจีวรเฉียง ด้านหลังบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์และปิดด้วยเหรียญ ด้านบนเขียนว่า จัมโบ้รุ่นแรก และต่อมาเป็นอักขระยันต์ 3 แถว บริเวณกลางเหรียญเป็นรูปวงกลม ด้านบนเขียนว่า พระครูปัญญาวรากร (สมภาร) ส่วนภายในวงกลมเป็นรูปอัฐบริขาร และเขียนว่า สร้างกุฏิ นอกวงกลมด้านล่างเขียนว่า หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร และจากด้านขวาของขอบเหรียญลงไปด้านล่างวนขึ้นไปด้านซ้ายเขียนว่า วัดป่าวิเวกพัฒนาราม อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ พ.ศ.2559 เป็นปีพุทธศักราชที่จัดสร้าง
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกถึง 5 วาระด้วยกัน
วัตถุมงคลรุ่นนี้จัดสร้างน้อยมาก ประกอบด้วย 1.ฉากทองปิดหลังเหรียญเงิน สร้าง 29 เหรียญ บูชา 3,000 บาท 2.ฉากทองปิดหลังเหรียญอัลปาก้า สร้าง 99 เหรียญ บูชา 1,200 บาท 3.ฉากขาวปิดหลังเหรียญ ฝาบาตร สร้าง 199 เหรียญ บูชา 500 บาท และ 4.ฉากซีเปียปิดหลังเหรียญทองแดง สร้าง 29 เหรียญ แจกกรรมการ
ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 08-5002-8659/ 06-1939-9447
เหรียญหลวงพ่อชุม วัดตุยง จังหวัดปัตตานี
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี มีเหรียญอยู่เหรียญหนึ่งที่สร้างในปี พ.ศ.2485 คือเหรียญพระครูพิบูลย์สมณวัตร (ชุม) ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงพ่อดำ วัดตุยง ในปี พ.ศ.2485
พระครูพิบูลย์สมณวัตร (หลวงพ่อชุม) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2408 เป็นชาวบ้านนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โยมบิดาชื่อสีมา โยมมารดาชื่อชู เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กนั้น บ้านของท่านถูกผู้ร้ายปล้น โยมบิดาของท่านจึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี พอท่านอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบทที่วัดบูรพาราม อำเภอยะหริ่ง โดยมีพระครูบัวทอง เป็นพระอุปัช ฌาย์ พระเต่า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระเซ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จันทสุวัณโณ" เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงพ่อชุมก็ย้ายไปจำพรรษาที่วัดตุยงตลอดมา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด และในปี พ.ศ.2446 ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่พระครูพิบูลย์สมณวัตร และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะใหญ่เมืองหนองจิก
หลวงพ่อชุมเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย พูดน้อย อัธยาศัยเยือกเย็น สุภาพอ่อนโยน เป็นที่เคารพของชาวบ้านมาก หลวงพ่อจะทำแบบอย่างให้เห็นแทนคำสอนของท่าน เช่น ตื่นแต่เช้าสวดมนต์ นั่งสมาธิ พอได้เวลาท่านจึงออกบิณฑบาต กลางวันถ้าไม่มีกิจนิมนต์ท่านจะหยิบไม้กวาดไปกวาดลานวัดทุกวัน ทำให้พระเณรที่อยู่ในวัดเห็น ดังนั้น ก็ต้องหยิบไม้กวาดออกไปกวาดลานวัดเช่นกัน ที่วัดนี้จึงสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบเรียบร้อย ตอนเย็นท่านก็นำพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน ในเวลากลางคืนท่านก็จะสวดมนต์นั่งสมาธิกรรมฐาน ท่านทำตัวอย่างให้พระในวัดเห็นและทำตามทุกวัน
ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสใหม่ๆ นั้น สภาพภายในวัดเริ่มเสื่อมโทรมลงไปมาก หลวงพ่อชุมก็ได้สร้างและซ่อมแซมกุฏิสงฆ์ที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดและมีขนาดเล็ก และได้เริ่มสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเก่าที่ชำรุด โดยมีหลวงพ่อดำได้เป็นแม่แรงช่วยในการสร้างพระอุโบสถ แต่ยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยหลวงพ่อชุมก็มรณภาพเสียก่อน หลวงพ่อดำจึงดำเนินการต่อจนแล้วเสร็จ
หลวงพ่อชุมได้ปฏิบัติศาสนกิจในตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองหนอง จิกด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งปี พ.ศ.2480 ท่านเริ่มชราภาพจึงได้ลาออกจากการเป็นเจ้าคณะเมืองหนองจิก และในปี พ.ศ.2485 หลวงพ่อชุมก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 77 ปี พรรษาที่ 5
ชาวบ้านหนองจิกเคารพนับถือหลวงพ่อชุมมาก และในปี พ.ศ.2485 ปีที่หลวงพ่อชุมมรณภาพ จึงได้สร้างเหรียญรูปหลวงพ่อชุมไว้เป็นที่ระลึก ปลุกเสกโดยหลวงพ่อดำ วัดตุยง เจ้าอาวาสรูปต่อจากหลวงพ่อชุม โดยทำเป็นเหรียญเนื้อทองแดง รูปไข่ และเหรียญอาร์ม แจกเป็นที่ระลึก
หลวงพ่อดำ อดีตเจ้าอาวาสวัดตุยงก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวปัตตานีเคารพนับถือมากเช่นกันครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญหลวงพ่อชุม วัดตุยง ทั้งรูปไข่และรูปอาร์ม จากหนังสือพระเครื่องล้ำค่าเมืองใต้ มาให้ชมครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก
จากคำปรารภและจดบันทึกของหลวงพ่อโอด หรือพระครูนิสัยจริยคุณ วัดจันเสน อดีตเจ้าคณะอำเภอตาคลี จ.นครสวรรค์ ระบุว่า..... “......วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมานานแล้วแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในดินแดนแถบนี้ อายุของวัดประมาณพันกว่าปี เท่ากับวัดจันเสน เมืองโบราณ ซึ่งชาวบ้านได้เข้าไปหักร้างถางป่าก็พบโบสถ์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ทำด้วยศิลาแลง ใบสีมาทำด้วยหิน มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้วย องค์พระเป็นสีดำ ชาวบ้านพากันเรียกว่า หลวงพ่อดำ”
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย ปางสะดุ้งมาร เนื้อหินทรายดำ หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่บนแท่นพระอุโบสถหลังเก่า ที่ทำด้วยศิลาแลง
เนื่องจากพระพุทธรูปถูกปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง ไม่มีหลังคาปกคลุมเป็นเวลานาน บางส่วนจึงชำรุดแตกหัก ซึ่งได้ซ่อมแซมและประดิษฐานไว้ในวิหารให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา
กรมการศาสนาอนุญาตให้สร้างเป็นวัด เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2520 ต่อมาได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการให้ตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2520 มีนามว่า “วัดโบสถ์เทพนิมิต” มีพระภิกษุผลัดเปลี่ยนกันมาจำพรรษาที่วัดนี้มาโดยตลอด แต่ยังไม่มีพระรูปใดได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
พ.ศ.2524 พระครูนิสัยจริยคุณ (หลวงพ่อโอด) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอตาคลี ได้มีบัญชาให้พระครูปลัดนุวัตร ฐิตญาโณ ประจำอยู่วัดนี้ และมีบัญชาให้สร้างอุโบสถหลังใหม่ ห่างจากอุโบสถหลังเดิม 15 เมตร โดยพระครูนิสัยจริยคุณอุปถัมภ์การก่อสร้างอุโบสถจนแล้วเสร็จ
ย้อนไปปี พ.ศ.2551 พระครูนิมิตสันตยากร เจ้าคณะตำบลหัวหวาย เขต 1 และเจ้าอาวาสวัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) รูปปัจจุบัน ผู้สืบสายธรรมและพุทธคุณาคมจากหลวงพ่อจำนงค์ วัดสว่างวงษ์คณะกิจ ได้จัดสร้าง “พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก” มี เนื้อนวะ, เนื้อทองเหลือง, เนื้อทองแดง และเนื้อตะกั่ว รวม 4 เนื้อ เนื้อละ 500 องค์ เพื่อมอบให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างกำแพงวัด
ลักษณะวัตถุมงคล “พระอู่ทองหลวงพ่อดำ รุ่นแรก” เป็นรูปหล่อลอยองค์ ปางสะดุ้งมาร ที่ฐานด้านหน้ามีอักษรไทย “อู่ทอง” ส่วนที่ฐานด้านหลังก็มีอักษรไทย “วัดโบสถ์เทพนิมิต” อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม ฐานเรียบไม่มีกริ่ง
มีพระเกจิคณาจารย์ร่วมอธิษฐานจิต 5 รูป อาทิ หลวงปู่เสงี่ยม วัดใหม่สันติธรรม, หลวงพ่อเพี้ยน วัดเกริ่นกฐิน, หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค, หลวงพ่อเร่ง วัดดงแขวน, หลวงพ่อ โฉม วัดเขาปฐวี เป็นต้น
ติดต่อบูชาได้ที่วัดโบสถ์เทพนิมิต (โคกกระดี่) ต.ตาคลี อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โทร.08-1284-3754 ทุกวัน
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #16 เมื่อ:
22 เมษายน 2559 20:04:50 »
.
เหรียญพระสมุห์ขิง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เหรียญรูปพระเกจิอาจารย์ต่างๆ นั้น โดยเฉพาะเหรียญที่สร้างในสมัยเก่าๆ มีศิลปะสวยงามอยู่หลายเหรียญ เหรียญพระสมุห์ขิงเป็นเหรียญหนึ่งที่มีศิลปะสวยงามมาก และพระสมุห์ขิงก็เป็นพระสงฆ์ที่ชาวสมุทรปราการเคารพนับถือมากครับ
ข้อมูลของพระสมุห์ขิงเท่าที่ค้นดูก็ไม่พบข้อมูลของท่านมากนัก เท่าที่พอจะสืบความได้ก็คือ เกิดประมาณปี พ.ศ.2402 นามเดิมชื่อขิง ทราบเพียงว่าโยมบิดาชื่อ ก๋ง เป็นชาวบ้านเกาะ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ต่อมาได้อุปสมบทที่วัดกลางวรวิหาร ในปี พ.ศ.2422 โดยมีพระครูสุนทรสมุทร (เงิน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการคูณ วัดในเดิมสองวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดจัน วัดพิไชยสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จนฺทสโร"
ท่านเป็นพระสงฆ์ซึ่งเพียบพร้อมด้วยจริยาวัตรหมดจดงดงาม น่าศรัทธาเลื่อมใส ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมของพระครูสุนทรสมุทร (เล็ก คงคสุวณฺโณ) เจ้าอธิการองค์ที่ 10 ของวัดกลางฯ สมุทรปราการ ท่านสมุห์ขิงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางมาโดยตลอด จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2468 ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ครับเรื่องประวัติของท่านสมุห์ขิงก็สืบค้นได้เพียงเท่านี้
ทีนี้เรามาคุยกันถึงเหรียญรูปท่านกันสักหน่อย เนื่องในงานฌาปนกิจศพของท่านนั้น พระวินัยธรรม (เทียน) ซึ่งเป็นพระที่เคยจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพรหมมุนี เป็นผู้ที่สร้างเหรียญนี้ไว้แจกเป็นที่ระลึก ซึ่งพระวินัยธรรมก็มีความเกี่ยวพันอยู่กับพระสมุห์ขิงอย่างแนบแน่น ในฐานะใดนั้นยังสืบไม่ได้แน่ชัด แต่จากอักขระขอมที่อยู่หลังเหรียญนั้น ถอดความได้ว่า "กตัญญูกตเวที" นั้นเข้าใจว่าคงจะสร้างเพื่อตอบแทนคุณความดี ของท่านสมุห์ขิงก็เป็นได้ครับ
ในงานฌาปนกิจศพพระสมุห์ขิงนั้น พระวินัยธรรมได้สร้างเหรียญปั๊มหูในตัว มีทั้งเนื้อเงิน สัมฤทธิ์ และทองแดง เพื่อแจกเป็นที่ระลึก ลักษณะโดยรวมคล้ายๆ กับรูปอาร์ม มีรูปพระสมุห์ขิงครึ่งองค์ ใต้ห่วงมีรูปใบโพธิ์ประกบอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหลังมีอักขระขอมแปลความได้ว่า "กตัญญูกตเวที อายุวัณโณสุขังพลัง" และมีคำว่า ที่ระลึกสมุห์ขิง ระบุปี พ.ศ.2468 เหรียญนี้ได้ทำพิธีพุทธาภิเษกโดยพระคณาจารย์สายสมุทรปราการหลายรูปด้วยกัน นอกจากนี้สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านยังทรงกรุณาร่วมปลุกเสกเหรียญนี้ให้ด้วย
ครับเหรียญพระสมุห์ขิงนี้นอกจากจะเป็นเหรียญที่สวยงามในด้านศิลปะแล้ว ก็ยังเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ สนนราคาในปัจจุบันก็ยังไม่สูงมากนักและก็ยังพอหาเช่าได้ไม่ยากนักครับ เช่นเคยครับผมได้นำรูปเหรียญเนื้อเงินซึ่งหายากกว่าเหรียญเนื้ออื่นๆ ในรุ่นเดียวกันมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์
หลวงพ่อเพ็ชร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ ต.พุดเลา อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพระเกจิผู้ทรงวิทยาคมและคุณูปการอย่างสูงต่อพระพุทธศาสนาและการศึกษาทั้ง พระภิกษุ-สามเณรและกุลบุตรกุลธิดา
เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวบ้านในพื้นที่และละแวกใกล้เคียง รวมทั้งสาธุชนโดยทั่วไป วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังที่ท่านสร้างนั้น ล้วนทรงพุทธาคม เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่นิยมสะสม
โดยเฉพาะ "เหรียญรูปเหมือน ปี 2489" ซึ่งนับเป็นเหรียญรุ่นแรกและเป็นรุ่นเดียวที่ท่านสร้างไว้ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเบญจภาคีเหรียญเมืองกรุงเก่า ที่มีค่านิยมสูง อันดับต้นๆ ของจังหวัดอีกด้วย ปัจจุบันนับว่าหาดูหาเช่าได้ยากยิ่ง
พระครูธรรมการศึกษา หรือหลวงพ่อเพ็ชร์ สิริวัฑฒโน เป็นชาว อ.บางปะหัน เกิดเมื่อปี พ.ศ.2410 ที่ ต.บ้านลี่
ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยและขอมกับพระสมุห์ดิษย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดนนทรีย์ จนอายุ 16 ปี จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่ในความปกครองของพระครูปรากรมุนี (เกิด) ได้ศึกษามูลกัจจายน์กับอาจารย์ช้าง ผู้เป็นฆราวาส และเรียนบาลีกับพระประสิทธิสุตคุณ (จุ๊ย) และพระอาจารย์ทอง
เมื่ออายุ 22 ปี จึงกลับมาอุปสมบทที่วัดทอง อ.บางปะหัน โดยมีพระอุปัชฌาย์ปั้น วัดศรีโพ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการเปรม วัดม่วง และพระอาจารย์ป้อม วัดนาค เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายา "สิริวัฑฒโน" จากนั้นเดินทางกลับไปจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ
หลวงพ่อเพ็ชร์ปกครองวัดและพระลูกวัดด้วยความยุติธรรม พัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่วัดและท้องถิ่น พัฒนาด้านการศึกษา สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและโรงเรียนประชาบาล ท่านเป็นพระแบบครู ตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ลูกศิษย์อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ท่านยังเชี่ยวชาญทางด้านแพทย์แผนโบราณช่วยรักษาชาวบ้านและญาติโยมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านยังได้สร้างวัตถุมงคลและเครื่องรางเพื่อแจกจ่ายแก่สาธุชนไว้ป้องกันตัวและเสริมสิริมงคล อาทิ ตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์ ธงค้าขาย ธงกันไฟ ผ้าประเจียด ตะกรุดสาลิกา สีผึ้ง และน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ซึ่งล้วนมีประสบการณ์เป็นที่ปรากฏและเป็นที่หวงแหนยิ่งนัก
หลวงพ่อเพ็ชร์ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา เป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2470, เป็นเจ้าคณะตำบลพุดเลา ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2478 และสมณศักดิ์สุดท้ายได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระครูธรรมการศึกษา ในปี พ.ศ.2489 ซึ่งเป็นปีที่ท่านจะมีอายุครบ 80 ปีพอดี บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจึงพร้อมใจกันขออนุญาตจัดงานฉลองสมณศักดิ์และทำบุญอายุให้ท่านเป็นงานใหญ่ พร้อมขออนุญาตจัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก" เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญทั้งสองท่านมรณภาพอย่างสงบในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2493
สำหรับ "เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489" เหรียญรุ่นแรกและรุ่นเดียวนี้ ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หูเชื่อม ด้านหน้ายกขอบโดยรอบ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ห่มจีวรลดไหล่ครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักษรไทยกำกับว่า "พระครูธรรมการ เพ็ชน์ วัดนนทรีย์" (สันนิษฐานว่า คำว่า "เพ็ชร์" ช่างแกะแม่พิมพ์ผิดจาก "ร" เป็น "น") ด้านหลัง เป็นหลังเรียบ ตรงกลางเป็นอักขระขอม อ่านว่า "สัตถาระนุง อากัตทิตุง วิสัตเชตุง นาทาสิ สัตถาธะนุง นาทาสิ" คาถาบทนี้มีในตำนานพุทธชาดก เป็น "พระคาถามหาอุด" ล่างสุดเป็นอักษรไทยว่า "ที่ระลึกครบอายุ ๘๐ ปี พ.ศ.๒๔๙๘"
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อเพ็ชร์ ปี 2489 นี้ โด่งดังมากมาแต่โบราณ พุทธคุณเป็นเลิศเป็นที่ปรากฏ ยิ่งด้านคงกระพันชาตรีนั้นว่ากันว่า "จะฟันก็ฟันไม่เข้า ยิงเท่าไหร่ไม่มีออก" ทีเดียว
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระเนื้อผงพญาไม้ผุ รุ่นแรกของหลวงปู่เพิ่ม
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วัดกลางบางแก้วแต่เดิมมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" เป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ในอดีต ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อกันเรื่อยมา ในนิราศพระปฐมของสุนทรภู่ยังมีกล่าวไว้ว่า
"ถึงบางแก้วมองเขม้นไม่เห็นแก้ว
เห็นแต่แนวคงคาพฤษาสลอน
มีวัดหนึ่งโตใหญ่ใกล้สาคร
สง่างอนช่อฟ้าศาลาตะพาน
ดูเบื้องบนอาวาสก็ลาดเลี่ยน
ต้นตะเคียนร่มรกปกวิหาร"
แสดงว่า วัดกลางบางแก้วนั้นเป็นวัดใหญ่ที่เจริญรุ่งเรือง สะอาดสะอ้านร่มรื่นมาตั้งแต่สมัยนั้น และตั้งอยู่ริมน้ำ ต่อมาในสมัยพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเสด็จมาที่วัดคงคารามเห็นว่าเป็นวัดที่อยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรีตรงปากคลองบางแก้ว ตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 วัด คือ วัดตุ๊กตาและวัดใหม่สุประดิษฐ์ ท่านจึงได้ประทานนามวัดให้ใหม่ว่า "วัดกลางบางแก้ว" เมื่อราวๆ พ.ศ.2465 ในสมัยที่หลวงปู่บุญเป็นเจ้าอาวาส
พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน) ศิษย์เอกของหลวงปู่บุญ นามเดิมว่า "เพิ่ม" ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2429 ที่ตำบลไทยวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โยมบิดาชื่อเกิด โยมมารดาชื่อวรรณ ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 8 ขวบ สืบต่อมาจนอายุครบบวช จึงได้อุปสมบทในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2450 ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว
มีสมเด็จพระสังฆราชแพ เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และถือได้ว่าเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่บุญมากที่สุด เพราะบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ก็อยู่ปฏิบัติรับใช้หลวงปู่บุญมาตลอดจนกระทั่งหลวงปู่บุญมรณ ภาพ เป็นเวลาถึง 39 ปี ตลอดเวลานั้นท่านได้รับการถ่าย ทอดวิชาความรู้ทั้งทางด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ตลอดจนเวทวิทยาคมต่างๆ ไว้มากมาย
หลวงปู่เพิ่มเป็นพระสงฆ์ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องด้วยศีล สมาธิ และปัญญาธรรม เปลี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรม หมดสิ้นกิเลสทั้งปวง หลวงปู่เป็นพระที่พูดจาไพเราะอ่อนหวาน สำเนียงของท่านนั้นมีแววความเมตตาผสานเอาไว้ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกชุ่มชื่นใจ ใครๆ ได้สนทนากับท่านแล้วจะรู้สึกเคารพศรัทธาท่านทุกคนไป
หลวงปู่เพิ่มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 ปี พ.ศ.2482 ได้รับแต่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ.2483 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี ปี พ.ศ.2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูพุทธวิถีนายก
ปี พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานสมณ ศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในราชทินนามเดิม ปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมีราชทินนามว่า พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่มมรณภาพด้วยโรคชราด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2526 สิริอายุได้ 97 ปี พรรษาที่ 76
หลวงปู่เพิ่มได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุดและเบี้ยแก้ นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องอีกหลายอย่าง ในวันนี้ผมได้นำรูปพระเนื้อผงพญาไม้ผุ รุ่นแรกของหลวงปู่เพิ่มมาให้ชม ปัจจุบันหายากมากครับ
ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #17 เมื่อ:
25 เมษายน 2559 19:43:48 »
.
พระพุทธรูปอู่ทองแข็งสันคางคน
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระพุทธรูปบูชาประจำบ้านกันครับ เราๆ ท่านๆ ก็คงเคยได้ยินผู้ใหญ่ในสมัยก่อนมักจะพูดถึงพระพุทธรูปบูชาประจำบ้านว่า พระพุทธรูปบูชานั้นควรจะหาพระพุทธรูปให้ครบสามอย่างก็คือ พระพุทธรูปอู่ทอง พระพุทธรูปเชียงแสน พระพุทธรูปสุโขทัย หรือที่เรียกกันสั้นๆ ให้เป็นมงคลนามว่า "อู่ แสน สุข" อันเป็นการนำชื่อศิลปะยุคสมัยของพระแต่ละยุคนำมาเป็นคำมงคล
พระพุทธรูปที่ผมจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้ก็คือพระพุทธรูปอู่ทอง ซึ่งเป็นศิลปะการสร้างพระที่มีอายุยาวนาน เป็นศิลปะการสร้างพระพุทธรูปที่มีกำเนิดขึ้นทางภาคกลางของประเทศไทย และดินแดนแถบนี้เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรทวารวดี และต่อมาก็ถูกชาวขอมเข้ามาครอบครอง ศิลปะแบบอู่ทองจึงเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลจากที่ต่างๆ ผสมผสานกัน แต่การสร้างเป็นสกุลช่างไทย ศิลปะอู่ทองสามารถแบ่งได้ถึง 3 ยุค
พระพุทธรูปอู่ทองยุคแรกหรือบางท่านอาจจะเรียกอู่ทองสุวรรณภูมิ นั้นมีเกิดขึ้นมาตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 ศิลปะของพระพุทธรูปยุคนี้ยังมีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีและขอมผสมกัน พระรัศมีมักทำเป็นรูปดอกบัวตูม หรือคล้ายฝาละมี พระพุทธรูปในยุคนี้มักพบมากแถบจังหวัดสุพรรณบุรี
พระพุทธรูปอู่ทองยุคกลาง พระพุทธรูปยุคนี้ ยังคงมีอิทธิพลของขอมอยู่ แต่เริ่มคลี่คลายลงมามาก พระพักตร์ยังคงดูขรึม พระรัศมีบนพระเกตุมาลาเริ่มเป็นแบบเปลวเพลิง ลักษณะพระรัศมีแบบนี้อาจเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นในศิลปะอู่ทองก่อน แล้วจึงให้อิทธิพลแก่ศิลปะสุโขทัยต่อมาก็เป็นได้ ศิลปะยุคนี้เกิดขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 พระพุทธรูปยุคนี้มักพบมากแถบ อ.สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
พระพุทธรูปอู่ทองยุคปลาย พระพุทธรูปแบบนี้มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปะปนมากขึ้น แต่ลักษณะเด่นของศิลปะอู่ทองยังคงอยู่ คือมีไรพระศก และฐานเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าใน ศิลปะยุคนี้อยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 พระพุทธรูปยุคนี้ได้ค้นพบเป็นจำนวนมากในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.1967
พุทธลักษณะสำคัญเด่นของศิลปะอู่ทองก็คือ มีไรพระศก ชายจีวรหรือสังฆาฏิยาวปลายตัดเป็นเส้นตรง เน้นขอบสบงเด่นชัด ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย และฐานเป็นแบบหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน พระทั้ง 3 ยุคจะมีลักษณะเด่นแบบนี้ทั้ง 3 ยุคครับ
พระพุทธรูปที่นิยมกันมาก ก็คือพระพุทธรูปอู่ทองยุคกลางหรือยุคที่ 2 ซึ่งมีพุทธศิลปะที่งดงามมาก มักเรียกกันแบบชาวบ้านว่า "แข็งสันคางคน" ตามพุทธลักษณะขององค์พระ พุทธลักษณะที่โดดเด่นก็ตามที่สายตามองเห็น หน้าแข้งขององค์พระมักจะเป็นสันหน้าแข้งเด่นชัดคือไม่กลมมน คางขององค์พระก็จะเห็นได้ชัดว่ามีการเน้นทำเป็นคางยื่นออกมาเล็กน้อย และตรงกลางของคางจะบุ๋มเว้าเด่นชัด เป็นจุดเด่นของพระยุคนี้ ฐานหน้ากระดานก็เน้นแอ่นเว้าเข้าในสวยงาม พระพุทธรูปอู่ทองยุคนี้การเททองนับว่ามีความชำนาญในการหล่อหลอมโลหะได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากพระที่พบส่วนใหญ่จะเทโลหะได้บางมาก จนครูบาอาจารย์รุ่นเก่ามักจะเปรียบเปรยว่า "บางแบบเปลือกไข่" คือเทโลหะได้บางมากกว่ายุคอื่นๆ
พระพุทธรูปอู่ทองยุคกลางนี้แหละครับ ที่คนรุ่นเก่ายกย่องและมักจะหามาจัดชุดเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำบ้าน ในชุด "อู่ แสน สุข" เนื่องจากพุทธศิลปะของพระพุทธรูปอู่ทองยุคนี้มีศิลปะที่สวยงามมาก ถือว่าเป็นศิลปะที่คลาสสิคมากของยุคนี้ครับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธรูปอู่ทองแข็งสันคางคน (อู่ทองยุคกลาง) มาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (สิงห์หนึ่ง) แบบพระเกศลูกแก้ว
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ชมรมพระเครื่องอาจจะกลายเป็นชมรมพระบูชา เนื่องจากคุยเรื่องพระบูชาไปเมื่อวาน ก็คุยกันต่อนะครับ เรื่อง "อู่ แสน สุข" จะได้ครบๆ ได้พูดไปแล้วถึงอู่ หมายถึงพระศิลปะอู่ทอง
วันนี้มาคุยกันต่อถึงพระศิลปะเชียงแสนต่อครับ
เราคงจะเคยได้ยินผู้ใหญ่สมัยก่อนพูดถึงพระพุทธรูปเชียงแสนว่า พระเชียงแสนสิงห์หนึ่ง พระเชียงแสนสิงห์สองหรือสิงห์สาม อะไรประมาณนี้ ซึ่งเป็นการเรียกชื่อพระแบบพื้นบ้านไม่ใช่แบบวิชาการ ซึ่งความจริงก็คือการแยกยุคสมัยของพระเชียงแสนยุคต้น ยุคกลาง หรือ ยุคปลายเท่านั้นครับ เนื่องจากพระศิลปะแบบเชียงแสนมีการสร้างติดต่อกันมายาวนานครับ
พระศิลปะเชียงแสน หรือล้านนา เป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบลัทธิเถรวาทแบบเชียงแสน ซึ่งพบมากทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งแยกไว้เป็น 2 รุ่น รุ่นแรกเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดีย คือมีรัศมีสั้นเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม ลำพระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรหรือสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวนม ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบมักทำเป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ฐานมีกลีบบัวคว่ำบัวหงาย และเกสรบัวประกอบ ซึ่งเป็นศิลปะที่งดงามมาก
โดยพบที่เมืองเชียงแสนเป็นครั้งแรก จึงตั้งชื่อเรียกศิลปะแบบนี้ว่าศิลปะเชียงแสน ศิลปะแบบนี้ได้รับอิทธิพลทางศิลปะจากศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรกอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18-19
สำหรับศิลปะเชียงแสนรุ่นที่สอง หรือเชียงใหม่นั้น เป็นแบบที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนแล้ว อายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 พระรัศมีรูปดอกบัวตูมเริ่มสูงขึ้น หรือในยุคต่อๆ มาเริ่มเป็นรูปเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์มักเป็นรูปไข่ แต่บางครั้งก็ยังคงกลมอยู่
แม้ลำพระองค์บางครั้งจะอวบอ้วนและพระอุระนูนตามแบบเดิม แต่ชายจีวรก็ยาวลงมาถึงพระนาภี ในยุค หลังๆ มักทำประทับนั่งขัดสมาธิราบ ฐานบางครั้งก็มีแบบเป็นลวดลายประกอบหรือเรียบไม่มีลวดลายประกอบก็มี ที่ทำเป็นแบบพระพุทธ รูปทรงเครื่องก็มี
พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนยุคหลังๆ ได้แพร่หลายออกไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก แต่ฝีมือสู้แบบเชียงแสนไม่ได้ ศิลปะแบบเชียงแสนมีการสร้างต่อๆ มา ในตอนปลายอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 21-23
พระพุทธรูปบูชาที่คนรุ่นเก่าพูด ถึงคำว่า "แสน" มักหมายถึงพระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (เชียงแสนสิงห์หนึ่ง) ซึ่งมีความงดงามมาก เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์ ปัจจุบันหาชมยากมาก
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระพุทธรูปเชียงแสนยุคแรก (สิงห์หนึ่ง) แบบพระเกศลูกแก้วมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง และพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระนางพญา พิษณุโลก พิมพ์เข่าตรง ซึ่งพระพิมพ์นี้แตกต่างจากพระพิมพ์อื่นในกรุเดียวกัน คือมีแม่พิมพ์อยู่สองแม่พิมพ์ ส่วนพิมพ์อื่นๆ เช่นพิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา(อกแฟบ) พิมพ์อกนูนเล็ก มีแม่พิมพ์อยู่เพียงแม่พิมพ์เดียวเท่านั้น
พระนางพญา ถูกขุดพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2444 ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และเสด็จประพาสวัดนางพญาด้วย ในครั้งนั้นได้มีการสร้างพลับพลารับเสด็จขึ้นที่บริเวณวัดนางพญา ในตอนที่ขุดหลุมปักเสาสร้างพลับพลานั้น ก็ได้พบกับกรุพระนางพญา และทางการได้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จำนวนหนึ่ง ตลอดจนแจกจ่ายข้าราชบริพารที่โดยเสด็จในครั้งนั้นด้วย
พระนางพญาที่ถูกขุดพบ มีการบันทึกไว้ว่า มีพระอยู่หลายพิมพ์ เช่น พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่ พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ พระนางพญาพิมพ์เทวดา พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก เป็นต้น
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงและพิมพ์เข่าโค้งมีพุทธลักษณะคล้ายๆ กัน ที่เห็นได้ชัดก็คือที่บริเวณหน้าตัก พระพิมพ์เข่าโค้งจะมีลักษณะโค้งงอนขึ้น ส่วนพระพิมพ์เข่าตรงหน้าตักจะเป็นเส้นตรง ในส่วนพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงนั้น ยังสามารถแยกออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าตรง และพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงที่มีอยู่ 2 พิมพ์ มีส่วนที่แตกต่างกันคือ พิมพ์เข่าตรงธรรมดาจะมีมือขวาขององค์พระทอดลงมาที่หัวเข่าขวา (ปางมารวิชัย) และปลายมือก็สิ้นสุดที่หน้าตัก ส่วนพระพิมพ์มือตกเข่านั้น มือขวาขององค์พระจะวางเลยหัวเข่าลงมาเล็กน้อย และส่วนมากพิมพ์มือตกเข่าจะตัดเลยหน้าตักลงมาแบบพระพิมพ์มือตกเข่า แต่จะเห็นได้ชัดว่ามือไม่ได้เลยลงมาจากหน้าตัก และในส่วนพระพิมพ์มือตกเข่าก็มีบ้างเหมือนกันที่บางองค์ตัดชิดหน้าตัก
ทีนี้ถ้าพระพิมพ์ตกเข่าในองค์ที่ตัดชิดหน้าตัก เราก็ไม่เห็นมือที่วางลงมาตกเข่าล่ะ จะสังเกตอย่างไร จุดสังเกตง่ายๆ อีกอย่างก็คือ พระทั้งสองพิมพ์จะมีเส้นชายจีวรที่แตกต่างกัน ให้สังเกตเส้นชายจีวรที่ห่มพาดลดไหล่ลงมาทางด้านขวาขององค์พระ (ซ้ายมือเรา) ถ้าเป็นพิมพ์เข่าตรง จะเป็นเส้นโค้งปลายตวัดงอนขึ้นสูงเข้าหาใต้รักแร้ ส่วนพิมพ์มือตกเข่าเส้นชายจีวรจะพาดลงมาค่อนข้างตรงและยื่นลงมาเฉียงๆ ไม่ตวัดงอนขึ้นใต้รักแร้ และขนาดของเส้นชายจีวรก็มักจะเป็นเส้นที่หนาใหญ่กว่าพระพิมพ์เข่าตรงครับ
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง กับพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า ก็มีจุดสังเกตที่แตกต่างกันง่ายๆ ดังนี้ครับ แต่ความจริงในส่วนอื่นๆ ก็มีข้อแตกต่างกันเช่นกันครับ แต่สามารถแยกกันที่เห็นง่ายๆ ก็เพียงแค่นี้ครับ
ในวันนี้ผมได้นำพระนางพญาพิมพ์เข่าตรง และพระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า มาให้ชมเปรียบเทียบกันทั้งสองพิมพ์ครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระหูยานลพบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ถ้าจะพูดถึงพระกรุเนื้อชินเงิน โดยส่วนตัวผมเองชอบพระหูยานลพบุรีมาก ชอบที่ศิลปะขององค์พระ และตอนที่ยังเป็นวัยรุ่นนั้น ได้รับฟังผู้ใหญ่กล่าวขวัญถึงพระหูยานลพบุรีในทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีกันมาก
พระหูยานลพบุรี ตามรูปแบบศิลปะแล้วจัดอยู่ในรูปแบบศิลปะลพบุรี บางท่านอาจเรียกว่าศิลปะขอม ผมขออนุญาตขยายความเรียกชื่อศิลปะแบบลพบุรีหรือขอมกันสักหน่อย ศิลปะแบบนี้ขุดพบในประเทศไทยหลายแห่ง รูปแบบศิลปะคล้ายกับศิลปะที่พบในประเทศกัมพูชา ที่พบในประเทศไทยนั้นมีพบทั้งสถาปัตยกรรมและประติมากรรม พร้อมทั้งที่เป็นพระพิมพ์ และพบในหลายจังหวัดของประเทศไทย ทางโบราณคดีกำหนดเรียกศิลปกรรมแบบนี้ว่า "ศิลปะลพบุรี"
การกำหนดอายุสมัยของศิลปะลพบุรีที่พบในประเทศไทยยังค้นคว้าไม่พบอักษรจารึกยืนยันอายุแน่ชัด จึงกำหนดอายุสมัยอนุโลมตามแบบอย่างศิลปกรรมในประเทศกัมพูชาซึ่งละม้ายคล้ายคลึงกัน
ศิลปะที่พบในประเทศกัมพูชานั้นสามารถแยกออกเป็น
สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร (
Pre-Angkorian Period
)
ศิลปะแบบพมนดา ราว พ.ศ.1090-1150
ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก ราว พ.ศ.1150-1200
ศิลปะแบบไพรกเมง ราว พ.ศ.1185-1250
ศิลปะแบบกำพงพระ ราว พ.ศ.1256-1350
ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ ได้แก่ ศิลปะแบบกุเลน ราว พ.ศ.1375-1425
สมัยเมืองพระนคร (
Angkorian Period
)
ศิลปะแบบพะโค ราว พ.ศ.1425-1436
ศิลปะแบบบาเค็ง ราว พ.ศ.1436-1475
ศิลปะแบบเกาะแกร์ ราว พ.ศ.1464-1495
ศิลปะแบบแปรรูป ราว พ.ศ.1490-1515
ศิลปะแบบบันทายไสรย ราว พ.ศ.1510-1550
ศิลปะแบบเกลียง ราว พ.ศ.1515-1560
ศิลปะแบบบาปวน ราว พ.ศ.1560-1630
ศิลปะแบบนครวัด ราว พ.ศ.1650-1715
ศิลปะแบบบายน ราว พ.ศ.1720-1780
สมัยหลังเมืองพระนคร (
Post-Angkorian Period
)
ตั้งแต่ราว พ.ศ.1780
ครับก็นอกเรื่องไปหน่อยครับ ก็เพื่อจะได้เทียบเคียงอายุสมัยของศิลปะพระเครื่องที่เราพบ พระหูยานลพบุรี ค้นพบตั้งแต่ราวปี พ.ศ.2440 เป็นครั้งแรก และก็มีการพบกันต่อๆ มาอีกหลายครั้ง พระที่พบในครั้งแรกๆ ที่พระปรางค์องค์ประธาน จะเรียกกันว่าพระกรุเก่า ผิวจะออกดำๆ ต่อมาได้มีการพบอีกครั้งในปี พ.ศ.2508 ที่บริเวณเจดีย์องค์เล็กหน้าองค์พระปรางค์ มีแบบพิมพ์เหมือนกันกับพระกรุเก่าทุกประการ แต่ผิวของพระจะมีผิวปรอทจับขาวทั้งองค์พระ มักเรียกกันว่า "กรุใหม่" แต่ก็เป็นพระที่สร้างในสมัยยุคเดียวกัน มีแบบพิมพ์เหมือนกันทุกอย่าง พิมพ์ที่พบมีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นอกจากนั้นก็ยังมีพิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์ข้างรัศมีอีก แต่ก็มีจำนวนไม่มากนัก
พระหูยานยังมีพบอีกที่วัดปืน วัดอินทราราม ศิลปะเหมือนๆ กัน แต่ตัวแม่พิมพ์เป็นคนละแม่พิมพ์กัน พระหูยานที่พบในจังหวัดลพบุรีไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใด หรือพบในกรุใดล้วนได้รับความนิยมทั้งสิ้น ปัจจุบันหายากมากครับ
ศิลปะของพระหูยาน เมื่อเทียบเคียงกับศิลปะที่พบตามปราสาทต่างๆ ของกัมพูชาแล้ว จะเหมือนกับศิลปะแบบบายน จึงทำให้เราสามารถเทียบเคียงอายุได้ว่า อยู่ในช่วงราว พ.ศ.1720-1780
ครับพระหูยานลพบุรีเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่มาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์ แต่ปัจจุบันก็หายากและมีสนนราคาสูงมาก ยิ่งพระที่สวยๆ ก็ยิ่งแพงมากตามลำดับ
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระหูยานลพบุรี จากหนังสือ อมตพระกรุ อันล้ำค่าของไทย มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตาเนื้อผงคลุกรักยอดนิยมที่มีประสบการณ์ทางด้านเมตตามหานิยมสูง และมีมูลค่าสูงเช่นกัน ก็คือ พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ชลบุรี ในปัจจุบันหาพระแท้ๆ ยากมาก จึงทำให้มีผู้ที่อยากได้ไว้บูชายอมเช่าในราคาหลักหลายล้านบาทแต่ก็ใช่ว่าจะหาพระแท้ๆ ได้ เนื่องด้วยมีจำนวนน้อยส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งผู้ที่ครอบครองไม่ยอมให้เช่าบูชา
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ ตามประวัติที่สืบค้นกันมาว่า ท่านเป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.2346-2351 บวชที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อบวชแล้วได้ออกธุดงค์มาทางภาคตะวันออก และมาถึงจังหวัดชลบุรี ปักกลดพักแรมอยู่ที่บริเวณวัดเครือวัลย์ ในสมัยนั้นบริเวณนี้ยังคงเป็นป่ารก และท่านก็ได้เทศน์โปรดญาติโยมให้เข้าถึงหลักธรรม จนชาวบ้านเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อแก้วมาก และอาราธนาขอให้ท่าน อยู่จำพรรษาและชาวบ้านก็ได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น ต่อมาได้ชื่อว่า "วัดเครือวัลย์"
หลวงพ่อแก้วเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านในแถบนั้นมาก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนใดๆ ไม่ว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเรื่องการทำมาหากิน หลวงพ่อก็ช่วยเหลือชาวบ้านมาโดยตลอด ชาวบ้านก็ได้ช่วยกันทำนุบำรุงวัดเครือวัลย์จนเจริญรุ่งเรือง มีเรื่องเล่ากันสืบต่อมาว่ามีแม่ค้าคนหนึ่งขายปลาอยู่ในตลาด บ้านแกอยู่ใกล้ๆ วัด ต้องเดินผ่านวัดทุกวันเพื่อไปตลาด วันหนึ่งเดินบ่นผ่านวัดมา หลวงพ่อแก้วได้ยินเข้าก็สอบถามดูเรื่องค้าขาย แม่ค้าคนนั้นก็บอกหลวงพ่อว่า ช่วงนี้ค้าขายไม่ค่อยดี ขายไม่หมด หลวงพ่อแก้วจึงให้พรว่า "เอ้าวันนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่านะ" ผลปรากฏว่าวันนั้นแม่ค้าคนนี้ก็ขายดี ขายหมดอย่างรวดเร็ว พอเช้าก็ไปใส่บาตรและเล่าให้หลวงพ่อฟัง หลวงพ่อก็ให้ศีลให้พร หลังจากนั้นต่อมาแม่ค้าคนนี้ก็ร่ำรวยขึ้นมาก และเป็นคหบดีคนหนึ่งของชลบุรีในสมัยนั้น
เมื่อหลวงพ่อแก้วสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก ก็มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า เนื้อผงที่หลวงพ่อทำไว้นั้น มีพุทธคุณทางเมตตา สูงมาก ขนาดผงที่ติดตัวเด็กวัดในตอนทำพระและได้ไปล้างน้ำ ผงก็หล่นไปในตุ่มน้ำ พอดีมีหญิงสาวมาตักน้ำในตุ่มนั้นไปล้างหน้าก็เกิดจิตพิศวาสเด็กวัดคนนั้นขึ้นมา และได้แต่งงานกัน พอเรื่องนี้ร่ำลือกันไป คนที่มีพระผงปิดตาของหลวงพ่อแก้วบางคนก็เกิดนึกพิเรนทร์ นำพระของท่านไปขูดใส่น้ำให้หญิงสาวกิน และหญิงสาวก็เกิดหลงรักขึ้นมา และเกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้น มีคนไปฟ้องหลวงพ่อ ท่านจึงได้ห้ามปรามลูกศิษย์ และผู้ที่มีพระของท่าน นอกจากนี้หลวงพ่อยังแช่งไว้ว่า "ถ้าใครนำพระของท่านไปให้หญิงสาวกิน แล้วไม่รับเลี้ยงดูให้ดี ก็ขอให้เกิดความวิบัติ" จากนั้นก็ไม่มีใครกล้าทำอีกเลย
เรื่องเมตตามหานิยมของพระหลวงพ่อแก้วนั้นมีมากมายจนเล่ากันไม่หมด ชาวชลบุรีทราบดี ในสมัยก่อนมีคนในเมืองชลคนหนึ่ง ทำพระของหลวงพ่อแก้วปลอมแล้วนำไปหลอกขาย เมื่อได้เงินมาก็ได้ใจทำต่อไปอีกเรื่อยๆ จนได้เงินมามากพอสมควรก็ยังไม่หยุด ต่อมาก็มีสติวิปลาส และหมดเนื้อหมดตัวในที่สุด เรื่องนี้คนเมืองชลรุ่นเก่าๆ รู้ดี
หลวงพ่อแก้วสั่งสอนแก่ลูกศิษย์เสมอ ว่า ให้ประพฤติตนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม ห้ามผิดลูกผิดเมียใคร ห้ามลักเขากิน ให้ขยันทำมาหากิน แล้วจะไม่อดตาย
ครับวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ พิมพ์ใหญ่หลังแบบมาให้ชมกันด้วยครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497
"พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 ที่จัดสร้างโดยหลวงปู่ทิมเป็นรุ่นแรกนั้น นับเป็นสุดยอดแห่งวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงและค่านิยมสูงสุด ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระคณาจารย์"
หลวงปู่ทวด หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ชาติไทยและทางพระบวรพุทธศาสนาอย่างคณานับ สร้างปาฏิหาริย์ต่างๆ มากมาย เป็นที่เคารพเลื่อมใสและกล่าวขานกันสืบมา
แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีการสร้างวัตถุมงคล จนเมื่อถึงสมัยพระครูวิสัยโสภณ หรือหลวงพ่อทิม ธมฺมธโร แห่งวัดช้างให้ หรือ วัดราษฎร์บูรณะ จ.ปัตตานี
หลวงพ่อทิม ธมฺมธโร ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2455 ที่บ้านนาประดู่ จ.ปัตตานี ช่วงเยาว์วัยได้ศึกษาร่ำเรียนกับ พระครูภัทรภรณ์โกวิท (พระแดง ธมฺโธโต) พออายุได้ 18 ปี บวชเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดนาประดู่ ได้รับฉายา "ธมฺมธโร" จำพรรษาได้ 2 พรรษาก็เดินทางไปศึกษาที่สำนักวัดมุจลินทวาปีวิหาร แล้วจึงกลับมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนาประดู่
จนปี พ.ศ.2484 ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ จนได้เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.2493 และได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เรื่อยมา จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ.2509 ท่านมรณภาพใน พ.ศ.2512 สิริอายุ 57 ปี 36 พรรษา
หลวงปู่ทิมท่านมีความเคารพเลื่อมใสใน "หลวงปู่ทวด" เป็นอย่างสูง ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดช้างให้ จึงนับว่ามีความสำคัญยิ่งกับวัดช้างให้และหลวงปู่ทวด ท่านได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่วที่มีความรัก เคารพหลวงปู่ทวดด้วยเช่นกัน ท่านยังมีฌานสมาบัติที่สามารถติดต่อสื่อสารกับหลวงปู่ทวดได้ด้วย
หลวงปู่ทิมให้ความสำคัญกับการสร้าง "พระพิมพ์หลวงปู่ทวด" อย่างมาก มูลเหตุปรากฏตามบันทึกของ นายอนันต์ คณานุรักษ์ ได้เขียนถึงการจัดสร้างพระหลวงปู่ทวดที่ได้เกิดนิมิตเห็นพระภิกษุชรานั่งบนดอกบัว เมื่อปรึกษากับหลวงปู่ทิมจึงได้มีการจัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด" ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับการอนุญาตจากหลวงปู่ทวด เป็น "พระพิมพ์หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497" ซึ่งเป็นที่ปรากฏและยอมรับกันว่าผู้ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม เมื่อบูชาวัตถุมงคลรูปเหมือนหลวงปู่ทวดแล้วต่างก็ประสบปาฏิหาริย์นานัปการ ทั้งเมตตามหานิยม โชคลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ฯลฯ นอกจากนี้ ยังสามารถอธิษฐานขอความเป็นสิริมงคลและให้ประสบความสำเร็จในการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
พระพิมพ์หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 มีเนื้อมวลสารประกอบด้วย พระธาตุ ว่าน 108 และผงสีขาวใส บางองค์จะมีความละเอียดจับตัวแน่น บางองค์ก็หยาบฟู เนื้อในจะมีสีดำหม่นแกมเทาแก่ พื้นผิวปรากฏแร่ดินดำ หรือที่เรียกว่า "ว่านกากยายักษ์" อยู่ทั่วองค์พระ ไม่ว่าจะแก่ดินหรือแก่ว่าน จะมีมวลสารประกอบที่เห็นได้ชัดเจนทุกองค์ และมีผงขาวใสเป็นจุดอยู่ประปรายสัณฐานไม่แน่นอนสังเกตเห็นโดยง่าย ถ้ามองให้ดีๆ จะพบสีแดงคล้ายดอกพิกุลซอกซอนอยู่ตามเนื้อขององค์พระ
ลักษณะผิวขององค์พระ ถ้าไม่ผ่านการใช้หรือสัมผัสเหงื่อมาเลย หรือที่เรียกว่า "ผิวเดิม" จะออกสีดำหรืออมน้ำตาล บางองค์จะปรากฏ "ยางว่าน" ของมวลสาร ลักษณะเป็นไขขาวปูดขึ้นมาจากเนื้อในคล้ายๆ ยางมังคุด และมีฝ้าขาวเหมือนแป้งบางๆ ปกคลุมอยู่โดยทั่ว ลักษณะเนื้อจะต้องแห้งตามกาลเวลา ไม่ใหม่สดใสเหมือนของที่สร้างใหม่ๆ
พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน ปี 2497 จะมีพิมพ์มากมายทั้งหมด 16 พิมพ์ อาทิ พิมพ์กรรมการ, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์พระรอด, พิมพ์กลาง, พิมพ์ต้อ, พิมพ์ชะลูด ฯลฯ ซึ่งในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ต่างกันแต่เพียงขนาดใหญ่ กลาง เล็กเท่านั้น และแต่ละพิมพ์จะมีความชัดเจน พระบางองค์มีรูเสียบไม้ส่วนล่างใต้ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขอบด้านข้างจะห่อเข้าหากันเล็กน้อยพอสังเกตได้ บางองค์บิดงออย่างเป็นธรรมชาติ และปรากฏรอยนิ้วมือคีบจับขึ้นจากเบ้าพิมพ์ บริเวณขอบข้างด้านล่างขององค์พระ
สำหรับด้านหลังเป็นหลังอูมนูนเล็กน้อยและหลังเรียบ บางส่วนจะปรากฏประกายดำวาวอย่างกากเพชร แต่ไม่ปรากฏทุกองค์ สันนิษฐานว่าเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาแตะไว้ สำหรับองค์พระที่มีความสมบูรณ์มากๆ ไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อน ผู้ที่ไม่สันทัดจะไม่ค่อยสามารถสังเกตเห็นมวลสารดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ อย่างเด่นชัด
พระหลวงปู่ทวดพิมพ์ที่นิยมมากสุดในปัจจุบัน จะเป็นพิมพ์กรรมการและพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะ "พิมพ์ใหญ่
A
ไหล่จุดหัวขีด" ที่นักสะสมเรียกกันสั้นๆ ว่า "พิมพ์หัวมีขีด" ครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระกรุวัดตะไกร เมืองกรุงเก่า
พระกรุวัดตะไกร เป็นพระกรุเก่าแก่อีกหนึ่งพิมพ์ของเมืองกรุงเก่า หรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสม พระเครื่องพระบูชามาแต่โบราณ โดดเด่นมาพร้อมกับ "พระกริ่งคลองตะเคียน" โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหาดูของแท้ๆ กันค่อนข้างยากเช่นกัน
วัดตะไกร ตั้งอยู่ที่คลองสระบัว อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง แม้แต่ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่าก็ไม่พบชื่อวัด มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่หลงเหลือไว้ เช่น เจดีย์ และพระอุโบสถ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และคงมีการบูรณะกันเรื่อยมาตามลำดับ ที่ปรากฏชัดคือ ในราวสมัยพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากปรากฏพระปรางค์ร้างอยู่องค์หนึ่งเป็นพุทธศิลปะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง
การค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เล่ากันว่า ชาวบ้านได้พบเจอพระเนื้อดินที่วัดตะไกรมาราว 100 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งมีการแตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมาพระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ต่อมาปรากฏว่า ผู้ที่บูชาพระติดตัวต่างมีประสบการณ์กันโดยถ้วนทั่วในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จึงต่างนำมาบูชาขึ้นคอ จากนั้นมาผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบมาถึงปัจจุบัน
พระกรุวัดตะไกร ที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อชินสนิมแดง แต่เนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงมีจำนวนน้อยมาก "พระเนื้อดิน" จึงเป็นที่นิยมมากกว่า องค์พระบางองค์ยังปรากฏมีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี
พระกรุวัดตะไกร มีพุทธลักษณะองค์ พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย องค์ที่ติดชัด พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ นอกจากนี้ เส้นสังฆาฏิยังปรากฏชัดเจน
พุทธลักษณะโดยรวมของพระกรุวัดตะไกรจะคล้ายคลึงกันทุกองค์ แต่เพียงในส่วนพระพักตร์ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดการแบ่งแยกออกเป็นพิมพ์ย่อยได้ทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าครุฑ, พิมพ์หน้าฤๅษี และพิมพ์หน้ามงคล โดย "พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ" ถือเป็นพิมพ์นิยม ด้วยเชื่อกันว่า นอกจากจะอยู่ยงคงกระพันแล้ว ยังสามารถป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอได้อีกด้วย
พระกรุวัดตะไกร เนื้อดินเผา จะมีเอกลักษณ์เฉพาะสำคัญ คือ ที่ใต้ฐานจะมีรูรอยไม้เสียบทุกองค์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการใช้ไม้เสียบเพื่อนำองค์พระออกจากแม่พิมพ์ แต่สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงจะไม่มีรูดังกล่าว จุดสังเกตที่ใช้ในการพิจารณา มีดังนี้
- รูใต้ฐานขององค์พระจะมีรูปร่างไม่แน่นอน
- ขอบหรือปีกขององค์พระค่อนข้างบาง ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ จะสังเกตได้ว่าองค์พระที่พบเห็นส่วนใหญ่มักขอบบิ่น
- ด้านหลังจะมีรอยนิ้วมือจากการกดพิมพ์พระ
นอกจากนี้ ให้พิจารณาความเก่าของเนื้อองค์พระของพระกรุเก่า และสีสันวรรณะจากการเผาตามหลักการพิจารณาพระเนื้อดินเผาทั่วไป
สำหรับ พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ ซึ่งเป็นพิมพ์นิยมนั้น มีจุดตำหนิเพิ่มเติมดังนี้
- พระกรรณข้างขวาขององค์พระเป็นเส้นใหญ่หนา
- ปลายสังฆาฏิด้านล่างมีเส้นน้ำตก
- เหนือพระหัตถ์ซ้ายจะมีเนื้อนูนเป็นเส้นวิ่งขนานกับพระหัตถ์
- ชายจีวรบริเวณพระอุระมีเส้นขนาน
- บริเวณพระเพลาของบางองค์ปรากฏรอยเขยื้อนของพิมพ์
พระกรุวัดตะไกร นับเป็นพระกรุเก่าที่เป็นที่เลื่องลือมาแต่โบร่ำโบราณว่าเป็นเลิศยิ่งนักในด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี นอกจากนี้ยังช่วยเสริมยศศักดิ์ ป้องกันเขี้ยวงา และเมตตามหานิยม
ปัจจุบันแทบไม่ค่อยพบเจอพระแท้ เพราะผู้บูชาต่างเก็บไว้สืบทอดสู่ลูกหลานครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 เมษายน 2559 19:45:54 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #18 เมื่อ:
27 เมษายน 2559 20:02:56 »
.
เสืองาแกะของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จ.นครสวรรค์
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในบรรดาเครื่องรางงาแกะของนครสวรรค์นั้น โดยส่วนมากเราก็จะนึกถึงสิงห์งาแกะของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ แต่ก็ยังมีคชสิงห์และเสือของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน ที่หายากมากเช่นกัน
หลวงพ่อเฮงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมากในอดีต และในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นไปเมืองกำแพงเพชรทางชลมารค ก่อนที่ขบวนเสด็จฯจะมาถึง 2-3 วัน หลวงพ่อเฮงได้บอกให้ชาวบ้านสร้างปะรำพิธีต้อนรับเสด็จ โดยที่ชาวบ้านยังไม่มีใครรู้เรื่องการเสด็จประพาสทางชลมารค ต่างก็งงว่าจะสร้างไปทำไม แต่พอถึงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2449 ขบวนเสด็จฯก็ผ่านมาทางหน้าวัดเขาดิน และมีบันทึกจดหมายเหตุของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 บันทึกถึงการเสด็จฯ แวะเยี่ยมวัดเขาดิน โดยมิได้มีกำหนดการล่วงหน้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปที่วัดและพบกับหลวงพ่อเฮง ทรงแวะชมวัด ซึ่งหลวงพ่อเฮงกำลังสร้างศาลาการเปรียญอยู่ พระองค์พระราชทานเงินช่วยในการสร้างศาลาการเปรียญด้วย เป็นเงิน 100 บาท
หลวงพ่อเฮงเป็นที่เคารพรักของชาวบ้านในย่านนั้นมาก โดยได้นิมนต์หลวงพ่อให้ปกครองวัดถึงสองวัด คือวัดเขาดินและวัดมหาโพธิ์ใต้ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันสองฝั่งแม่น้ำปิง หลวงพ่อเฮงเป็นพระปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาสูง ชาวบ้านเดือดร้อนในเรื่องใดมาปรึกษาหลวงพ่อก็ช่วยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเรื่องใดๆ ก็ตาม ต่างก็สมปรารถนาทุกคนไป ของขลังก็มีคนไปขอท่านมาก มีทั้งแหวนพิรอดทำด้วยด้ายถัก คชสิงห์งาแกะ เสืองาแกะ หมูโทนงาแกะ เป็นต้น ศิลปะของ คชสิงห์และเสืองาแกะนั้นสวยงามมาก
พุทธคุณนั้นเป็นที่ประจักษ์กันมามากต่อมาก ทั้งทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก เพราะหายากมากในปัจจุบัน สนนราคาสูง ของปลอมทำเลียนแบบมีกันมานานแล้วและมีมาก ของแท้นานๆ จะพบสักครั้ง
หลวงพ่อเฮงเกิดปี พ.ศ.2402 มรณภาพ ปี พ.ศ.2485 สิริอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 63
หลวงพ่อเฮงยังเป็นที่รักเคารพของชาว นครสวรรค์ตลอดมาจนทุกวันนี้ครับ ในวันนี้ผมขอนำรูปเสืองาแกะของหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จากหนังสือตามรอยตำนานเครื่องรางของขลังขมังเวท มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดใหญ่อินทราราม จ.ชลบุรี
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดชลบุรีมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้เคารพศรัทธามากมาย วันนี้ผมจะมาเล่าถึงพระเกจิอาจารย์ของชลบุรีอีกรูปหนึ่ง ซึ่งท่านก็เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชลบุรีเช่นกัน ท่านก็คือหลวงพ่อแดง วัดใหญ่อินทราราม อ.เมือง จ.ชลบุรีครับ
ในด้านประวัติภูมิหลังของท่านนั้น สืบค้นไม่ได้มากนัก ทราบเพียงแต่ว่าท่านเป็นชาวเขมร เกิดที่เมืองพระตะบอง ต่อมาได้บวชเป็นสามเณร แล้วเดินทางเข้ามาศึกษาบาลีในกรุงเทพฯ ครั้นอายุครบบวชก็เดินทางกลับไปพระตะบองและอุปสมบทที่วัดกำแพง เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน
จากนั้นก็กลับมาศึกษาบาลีต่อที่กรุงเทพฯ ในระหว่างที่ท่านมาศึกษาอยู่กรุงเทพฯ นั้น นานๆ ท่านก็จะมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่สักระยะหนึ่ง ครั้นต่อมาหลวงพ่อช้าง เจ้าอาวาสวัดกำแพงมรณภาพ ชาวบ้านก็ได้อาราธนาเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ซึ่งท่านก็ได้รับเป็นภาระ จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ฯ ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นสืบมาจนทุกวันนี้ หลวงพ่อแดงเป็นพระสงฆ์ที่บวชทั้งกายและใจ มีเมตตาต่อบุคคลโดยทั่วไป ท่านจึงเป็นพระเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลจริยวัตรหมดจดงดงามเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้ในด้านคุณวิเศษนั้น ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในหลายๆ ด้าน
มีเรื่องเล่าบอกขานกันต่อๆ มา เช่น ท่านให้หวยจับยี่กีแม่นมาก มีคนไปขอหวยจากท่าน ถ้าท่านให้แล้วไม่เคยพลาด เจ้ามือหวยไม่เชื่อให้คนไปสืบดูว่าท่านให้ตัวอะไร พอทราบก็คัดเอาตัวนั้นออก ต่างก็นึกเยาะว่าหวยวันนี้เจ้ามือรับประทานแน่ แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก หวยตัวที่ท่านให้และเจ้ามือก็เอาออกแล้ว กลับเข้าไปอยู่ในถุงออกให้เขาถูกกันจนได้ คุณวิเศษของท่านอีกอย่างหนึ่งก็คือ น้ำมนต์ของท่านวิเศษนักใช้ได้สารพัด แม้กระทั่งท่านเจ้าคุณวรพตปัญญาจารย์ วัดป่าฯ ก็เป็นลูกศิษย์ของท่าน โดยเฉพาะหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ในยุคเดียวกัน ก็ให้ความเคารพนับถือหลวงพ่อแดงมาก ไปมาหาสู่และมักจะมาค้างอยู่กับหลวงพ่อแดงเป็นระยะ
หลวงพ่อแดงสร้างวัตถุมงคลไว้อยู่รุ่นหนึ่ง เนื่องมาจากในปี พ.ศ.2487 ท่านพร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ลูกศิษย์ของท่านได้จัดทอดกฐินที่วัดกำแพง เมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และเป็นวัดที่ท่านอุปสมบท ในการนี้ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวเมืองชลและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอันมาก มีผู้ร่วมเดินทางไปทอดกฐินประมาณ 800-900 คน ในสมัยนั้นถือว่ายิ่งใหญ่มาก โดยมีคุณสำเภา กีรติสุนทร เป็นผู้ดำเนินงานทั้งสิ้น งานนี้ก็สำเร็จไปด้วยดี
หลวงพ่อแดงได้สร้างวัตถุมงคลเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2486 เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่ร่วมมือร่วมใจทำบุญทอดกฐินกับท่านในครั้งนั้น และวัตถุมงคลรุ่นนี้ก็เป็นรุ่นแรกและรุ่นเดียวเท่านั้นที่ท่านสร้างวัตถุมงคลดังกล่าวนี้ประกอบด้วยเหรียญรูปไข่ใหญ่ มีด้วยกันสองเนื้อคือเนื้อเงินและเนื้อทองแดง เหรียญรูปไข่เล็กเนื้อเงินลงยาราชาวดี เหรียญรูปใบสาเกเล็กเนื้อทองเหลือง แหนบ และแหวนเนื้อทองเหลือง
วัตถุมงคลของหลวงพ่อแดง วัดใหญ่นี้ชาวเมืองชลต่างก็หวงแหนกันมาก ในวันนี้ผมได้นำรูปเหรียญรูปไข่ เครดิตภาพจากเว็บท่าพระจันทร์ดอทคอม มาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตา เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ยันต์น่อง หลวงพ่อทับ วัดทอง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระปิดตามหาอุดที่เป็นเนื้อโลหะและมีศิลปะงดงามที่สุด ผมว่าพระปิดตาของหลวงพ่อทับ วัดทอง เป็นที่หนึ่งครับ นอกจากความงดงามทางด้านศิลปะแล้ว ในด้านพุทธาคมก็ยอดเยี่ยมมากและจัดเป็นพระปิดตามหาอุดเนื้อโลหะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเช่นกัน สนนราคาในปัจจุบันสูงมาก
วัดสุวรรณารามหรือที่ชาวบ้านมักจะเรียกว่า วัดทองนั้น ตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอก น้อย กทม. เป็นวัดเก่าแก่มาแต่เดิม ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งอยู่ที่จิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยจิตรกรที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น คือครูทองอยู่และครูคงแป๊ะ ปัจจุบันกรมศิลปากรก็ยังคงทำนุบำรุงให้คงสภาพอยู่จนทุกวันนี้ ถือเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมากของกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยที่พระครูเทพสิทธิเทพาธิบดี (ทับ) เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งชาวบ้านเคารพนับถือหลวงพ่อทับมาก ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายด้าน ทั้งทางด้านวิทยาคม ด้านงานช่างศิลป์ และเป็นพระสงฆ์ที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ ทรงเคารพนับถือ
หลวงพ่อทับได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง แต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมากก็คือพระปิดตามหาอุด หลวงพ่อทับสร้างไว้หลายเนื้อ มีทั้งที่เป็นเนื้อชินตะกั่ว เนื้อโลหะผสมประเภทเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อเมฆพัด และเนื้อผงคลุกรัก
พระปิดตาของหลวงพ่อทับสร้างไว้ด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์นั่งบัวเศียรแหลม (หายากมาก) พิมพ์บายศรี พิมพ์ยันต์น่อง พิมพ์เศียรบาตรหรือพิมพ์เศียรโต พิมพ์ตุ๊กตา และพิมพ์ครึ่งซีก เป็นต้น
พระปิดตาทุกพิมพ์ของหลวงพ่อทับท่านจะกำหนดรูปแบบ การวางยันต์ที่องค์ โดยในขั้นตอนแรกจะทำหุ่นองค์พระด้วยขี้ผึ้งก่อน จากนั้นจึงมาวางตัวยันต์เป็นองค์ๆ ไป ตัวเลขยันต์หลวงพ่อทับจะเป็นผู้กำหนด โดยจะฟั่นเทียนขี้ผึ้งให้เป็นเส้นกลมยาวๆ คล้ายเส้นขนมจีน จากนั้นก็นำมาวางเป็นเลขยันต์ตามที่หลวงพ่อทับกำหนดทีละองค์ ดังนั้นพระปิดตาของหลวงพ่อทับจึงมีลักษณะคล้ายกัน แต่จะไม่มีองค์ใดที่เหมือน กันเป๊ะๆ เพราะการวางเลขยันต์นั้นจะวางทีละองค์ ตัวเส้นยันต์เองขอบก็จะม้วนเข้าในอย่างเส้นขนมจีนที่วางลงบนหุ่นองค์พระ สิ่งนี้ก็เป็นจุดสังเกตอย่างหนึ่งของการพิจารณาพระแท้ได้
หลวงพ่อทับมรณภาพในปี พ.ศ.2455 จึงถือได้ว่า หลังจากนั้นก็ไม่มีการสร้างพระของหลวงพ่อทับอีก ดังนั้นจึงพิจารณาความเก่าขององค์พระได้ ความเก่าของเนื้อโลหะก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาที่จะบ่งบอกได้ว่าเนื้อโลหะเก่า ถึงหรือไม่ ปัจจุบันมีการปลอมแปลงพระปิดตาของหลวงพ่อทับมาก เนื่องจากสนนราคาสูงและหาพระแท้ๆ ยากมาก จึงเป็นเหตุจูงใจให้มีการปลอมแปลงกันมาก และพยายามทำให้ออกมาคล้ายคลึงพอสมควร การเช่าหาก็ต้องระวังหรือหาเช่าจากผู้ที่ไว้วางใจได้
ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อสัมฤทธิ์ พิมพ์ยันต์น่องของหลวงพ่อทับ วัดทอง มาให้ชมครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ
"หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ ปี 2502 ใช้สูตรการสร้างสูตรเดียวกับ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497" และมีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายคลึงที่สุด อีกทั้งมีชื่อลือเลื่องและปรากฏเหตุการณ์ปาฏิหาริย์เป็นที่อัศจรรย์เช่นกัน"
กิตติศัพท์และกิตติคุณของ "พระหลวงปู่ทวด" ที่สร้างโดยพระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ขจรขจายเลื่องลือไปทั่วหล้าไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่น นับเป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงแบบไม่มีตกยุคมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เมื่อปีพ.ศ.2497 ที่วัดช้างให้ได้จัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน" เป็นที่ฮือฮาไปทั่ว ผู้คนต่างแห่แหนเช่าบูชาจนจำนวนการสร้างไม่เพียงพอ ต้องเรียกร้องให้สร้างเพิ่มเติม เป็นเหตุให้มีการจัดสร้าง "เหรียญรูปเหมือน" และ "พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีด เนื้อโลหะ" ในเวลาต่อมา
แม้ในส่วนกลางอย่าง "กรุงเทพมหานคร" ก็มีพิธีการจัดสร้าง "พระหลวงปู่ทวด" ขึ้นมาเช่นกัน อันได้แก่ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" หรือ "วัดโพธิ์ท่าเตียน" สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2502 ซึ่งเมื่อเทียบอายุการสร้างแล้ว นับว่าเป็นรุ่นที่ใกล้เคียงกับปีพ.ศ.2497 มากที่สุด ณ ปัจจุบันหาดูหาเช่า ค่อนข้างยาก และสนนราคาสูงเอาการ
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 นี้ใช้สูตรการสร้างเป็นสูตรเดียวกับ "หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" โดยพระครูวิสัยโสภณ หรือ พระอาจารย์ทิม เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด และได้ตั้งฌานสมาบัติติดต่อกับดวงพระวิญญาณหลวงปู่ทวดโดยตรง ซึ่งได้รับอนุญาตให้สร้างเป็นเนื้อว่าน 108 ผสมดินกากยายักษ์ผสมด้วยใบลานที่ใช้จารึกตำราพิชัยสงครามเป็นหลักเช่นเดียวกัน
ทั้งยังได้เนื้อเก่าบางส่วนของพระหลวงปู่ทวด รุ่นปี 2497 มาผสมเพิ่มเติมด้วย พุทธลักษณะพิมพ์ทรงก็ใกล้เคียงกัน เท่าที่พบเห็นจะเป็นพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กหรือพิมพ์พระรอด ในแต่ละพิมพ์จะมีพุทธลักษณะองค์พระเหมือนๆ กัน คือ หลวงปู่ทวดนั่งขัดสมาธิเพชร บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ซึ่งล้วนได้รับความนิยมทั้งสิ้น
พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีนั่งปรก ปลุกเสกจะเป็นพระคุณเจ้าที่เคยรับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสก "พระหลวงปู่ทวด ในปี 2497" ที่วัดช้างให้ มีอาทิ พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว และ พ่อท่านฉิ้น วัดเมือง จ.ยะลา รวมทั้งหลวงพ่อสงัด วัดโพธิ์ สหธรรมิกของพระอาจารย์ทิม
พิธีพุทธาภิเษกได้นิมนต์ สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ "พระอาจารย์ทิม" ก็ได้เข้าร่วมอธิษฐานจิตร่วมกับพระเกจิคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย รวม 108 รูป เช่น หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อสุด วัดกาหลง, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน, หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์, หลวงพ่อคง วัดสรรพรส, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงปู่ดู่ วัดสะแก, หลวงปู่สี วัดสะแก หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม, หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อหวล วัดพิกุล, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อผล วัดหนัง บางขุนเทียน, หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์, หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง, หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม, หลวงพ่ออุตตมะ กาญจนบุรี, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง และหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรี เป็นต้น
หลวงปู่ทวด เนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 ได้ทยอยนำมาให้บูชาตั้งแต่ปีพ.ศ.2503 เป็นต้นมา เพื่อนำปัจจัยไปสร้างเสนาสนะเป็นกุศลถวายให้กับวัดโพธิ์ สนนราคาตอนนั้นแพงถึงองค์ละ 1,000 บาท ผู้ที่ไปเช่าถึงวัดได้เล่าให้ฟังว่า เลือกก็ไม่ได้ เพราะพระมีหลายสภาพ
นอกจากนี้ พระบางส่วนได้นำไปบรรจุกรุและเก็บไว้บนขื่อใต้หลังคาโบสถ์วัดโพธิ์ ในวิหารกรมหลวงชุมพรฯ แต่ก็มีบางส่วนที่ถูกลักลอบนำออกมา จนทางวัดเข้าไปดูแล ในส่วนที่เหลือบรรจุไว้ใต้หลังคาโบสถ์นั้น ถือว่าได้ผ่านพิธีการสวดมนต์และพิธีกรรมต่างๆ มาจนถึงปี 2536 ซึ่งทางวัดได้มีการบูรณะหลังคาโบสถ์ และช่างที่ซ่อมแซมได้พบพระที่เก็บไว้ใต้หลังคาโบสถ์
นับได้ว่าหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดโพธิ์ ปี 2502 เป็นพระหลวงปู่ทวดที่เก่าแก่และสำคัญองค์หนึ่งในวงการ แม้จะไม่ได้ออกที่วัดช้างให้โดยตรง องค์พระบางองค์มีคราบกรุขึ้นเป็นไขขาว บางองค์มีสีขาวซึ่งหาได้ยากยิ่ง สนนราคาพอเช่าหาได้อยู่ บูชาติดตัวเป็นสิริมงคล
โดยอาราธนาพระคาถาหลวงปู่ทวดกำกับ คือ "นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติ ภะคะวา" ครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505
อีกรุ่น "พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505" มูลเหตุของการจัดสร้างนั้น เป็นเพราะหลังจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497" สร้างและปลุกเสกแล้วเสร็จออกให้เช่าบูชา ปรากฏว่ามีผู้ร่วมบุญจำนวนมาก จำนวนพระไม่พอกับความต้องการ จึงเกิดเสียงเรียกร้องให้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดขึ้นอีก โดยในครั้งนี้จัดสร้างเป็นพระเนื้อโลหะตามความประสงค์ของ "หลวงปู่ทวด" ผ่านทาง "หลวงปู่ทิม" ปรากฏว่า ได้สร้างประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับ "พระหลวงปู่ทวด ปี พ.ศ.2497" ทุกประการ
ปัจจุบันจะหาดูของแท้ๆ นั้นยากยิ่งนัก เพราะของทำเทียมมีมากมาแต่ดั้งเดิม
พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด จัดสร้างในปี พ.ศ.2505 โดยสร้างเป็นเนื้อโลหะหลากหลายชนิด ทั้งเนื้อทองคำผสม เนื้อนวโลหะ เนื้อเมฆพัด และเนื้อโลหะผสม โดยเนื้อโลหะผสมจะมี 2 วรรณะ สืบเนื่องจากส่วนผสมของโลหะ คือวรรณะแดง (แก่ทองแดง) และวรรณะเหลือง (แก่ทองเหลือง
)
ทั้งหลายทั้งมวลนี้ การจัดสร้างจึงจำเป็นต้องมีทุนมากกว่าการหล่อแบบเดิม ซึ่งก็ได้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือ "พระองค์ชายกลาง" ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ ตามคำอนุญาตจาก "หลวงปู่ทวด" ผ่าน "หลวงปู่ทิม" เช่นกัน
ขั้นตอนการจัดสร้าง เริ่มด้วยทางวัดประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะและลงแผ่นทอง "ชนวน" จากนั้น พระองค์ชายกลาง ได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกไปหล่อที่ วัดคอกหมู (วัดสิตาราม) กรุงเทพฯ โดยหล่อขึ้นเป็น 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก ใช้กรรมวิธีการเทหล่อแบบเป็นช่อ เมื่อแล้วเสร็จตามขั้นตอนออกมาเป็นองค์พระ ช่างจะคัดเลือกองค์ที่เทไม่สวยออกมา ให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกครั้งเป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" ส่วนการเท "พระเนื้อเมฆพัด" ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์
จากนั้นนำพระทั้งหมดกลับมาประกอบพิธีปลุกเสกใหญ่ที่วัดช้างให้ ซึ่งประกอบพิธีพร้อมกับ "งานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่" ประจำวัดช้างให้ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤษภาคม พ.ศ.2505 ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็น "งานประจำปีของวัดช้างไห้" จวบจนปัจจุบัน
พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 เป็นการจำลองแบบมาจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" ดังนั้น เอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ จึงจะคล้ายกับพระหลวงปู่ทวด ปี 2497 มาก จุดสังเกตแม่พิมพ์เบื้องต้น ถ้าเป็น "พิมพ์กลาง" ปลายจะมนเหมือนกลีบบัว ส่วนพิมพ์อื่นๆ นั้นปลายจะแหลมเหมือนเตารีด โดยแบ่งได้เป็น
- พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำผสม จำนวน 99 องค์
- พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัด จำนวนไม่ถึง 1,000 องค์
- พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสม อีกจำนวนหลายหมื่นองค์
ที่เหลือเป็น "พิมพ์กลาง" และ "พิมพ์เล็ก" นอกจากนี้ยังมีการปั๊ม "หลวงปู่ทวด รุ่นหลังตัวหนังสือ" และ "พระกริ่ง" อีกด้วย
เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 มีดังนี้ :
- หูด้านซ้ายของหลวงปู่จะไม่กางมาก และจะแนบติดกับศีรษะมากกว่าหูด้านขวา
- ทุกพิมพ์จะเห็นก้อนชายจีวรมือซ้ายย้วยนูนชัดเจน
- ช่างจะแต่งเส้นหน้าผาก และขอบข้างรอยต่อระหว่างชายจีวรกับหน้าแข้งให้เห็นเด่นชัด และนิ้วเท้าก็จะเห็นเป็นนิ้วๆ อีกด้วย เข้าใจว่าคงจะเอาแม่พิมพ์ของหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 มาเป็นแบบให้ช่างแต่ง
ข้อสังเกตในการพิจารณาประการหนึ่ง คือ ตอนขนส่งองค์พระทั้งหมดไปวัดช้างให้นั้น อาจารย์สวัสดิ์ได้ใช้น้ำยาชนิดหนึ่งสีออกดำๆ ชุบองค์พระเพื่อรักษาเนื้อองค์พระไว้ ส่งผลให้องค์พระมีคราบคล้ายน้ำมัน ผนึกติดแน่นอยู่ในซอก หากสังเกตให้ดีองค์พระจะดูเหมือนเป็นมันเยิ้ม เนื้อไม่แห้ง จะมีน้ำหนักและความแกร่งในตัว และอีกประการก็คือ ถ้าพบพระบางองค์ ด้านหน้า มีตัว "ฉ" ปรากฏอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือด้านหลังมีรอยตอกคำว่า "หลวงปู่ทวดวัดช้างให้" ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นเป็นเจตนาของพระองค์ชายกลางทรงให้ตอกไว้ การพิจารณาของแท้ให้พิจารณาที่ตัวอักษร จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมลึกและชัดเจน
สำหรับ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" นั้น พระพิมพ์ใหญ่เนื้อโลหะผสมและพิมพ์กลางจะถูกนำไปปั๊มซ้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะ "พิมพ์กลาง" เกือบทั้งหมดเป็นพระปั๊มซ้ำ ให้สังเกตจากรอยเขยื้อนของการปั๊ม และให้ดูที่ฐานบัว แทนที่จะเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วมีเส้นขีดกึ่งกลาง กลับมีเส้นพาดแบ่งบัวตอนบนออกอีก ความจริงเป็นเส้นระหว่างบัวแต่เขยื้อน เลยแบ่งบัวออกกลายเป็นบัวสามชุด
ปรากฏชัดเจนใน "พิมพ์กลาง" แต่ในพิมพ์เล็กไม่ปรากฏการปั๊มซ้ำครับผม
ราม วัชรประดิษฐ์
พระกรุเงินคลองเตย พิมพ์สังกัจจายน์ พิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหู
สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระเนื้อผง ซึ่งเป็นพระกรุเก่ากรุหนึ่ง พระกรุนี้เราอาจจะรู้จักกันดี คือกรุวัดเงินคลองเตย ที่เรารู้จักกันหลายพิมพ์ที่นิยมกันมากๆ ก็คือพิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์เล็บมือ เป็นต้น วันนี้เรามาคุยกันถึงวัดเงินคลองเตย ซึ่งบางท่านอาจจะไม่รู้ว่าที่ตั้งวัดอยู่ ณ จุดใดของคลองเตย
ณ อาณาบริเวณที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งซ้าย ซึ่งใช้เป็นสถานที่ตั้งที่ทำการท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย กรุงเทพฯ นั้นในอดีตแต่เดิมมาเป็นที่ตั้งของวัดเงิน วัดทอง และวัดพระธาตุ รวม 3 วัดที่ล้วนแต่เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณทั้งสิ้น ในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณที่ตั้งของทั้ง 3 วัดเพื่อก่อสร้างท่าเรือคลองเตย วัดพระธาตุและวัดทองได้รื้อถอนไปสร้างรวมกันเป็นวัดใหม่ขึ้นที่ริมถนนสุขุมวิท มีชื่อเรียกใหม่ว่า วัดธาตุทอง ส่วนวัดเงินนั้นได้รื้อถอนไปสร้างวัดใหม่เช่นกันคือ วัดไผ่เงิน ตรอกจันทร์นั่นเอง
วัดพระธาตุและวัดทอง เมื่อรื้อถอนไปสร้างใหม่แล้วชื่อเสียงเรียงนามนับวันก็เลือนรางไปจากความทรงจำ แต่วัดเงินคลองเตยนั้นแม้จะถูกรื้อถอนไปแล้วแต่ยิ่งนานวันก็มีชื่อเสียงที่คนรู้จักจดจำได้ เนื่องจากพระเครื่องที่ถูกบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ปรากฏชื่อเสียงไปทั่วนั่นเอง แต่ที่ตั้งของวัดอาจจะไม่ค่อยมีคนทราบเท่าไรนัก
พระเครื่องของกรุวัดเงินนั้นถูกพบในขณะที่มีการรื้อถอนเจดีย์รายและฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถได้พบ พระเครื่องเนื้อผงสีขาวเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นองค์ มีมากมายหลายพิมพ์และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะพระพิมพ์สังกัจจายน์ ซึ่งมีสนนราคาค่านิยมสูงพิมพ์หนึ่ง พระพิมพ์อื่นที่พบมากก็คือพิมพ์เล็บมือ พระส่วนใหญ่ของกรุวัดเงินคลองเตยที่พบเป็นพระเนื้อผงสีขาวทั้งสิ้น นอกจากพระพิมพ์ปิดตาเท่านั้น ที่แปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ คือเป็นพระเนื้อผงแต่เป็นสีออกดำและดำปนเทา แบบพระเนื้อผงใบลาน
พระกรุวัดเงินคลองเตยประวัติการสร้างพระเครื่องยังไม่มีใครทราบแน่ชัด เนื่องจากเป็นพระเก่าแก่ที่ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าสร้างเมื่อใด แต่พุทธคุณนั้นเยี่ยมยอดในด้านเมตตามหานิยมและคุ้มครองป้องกันภยันตรายทั้งปวงจนเป็นที่นิยมเลื่อมใสของนักสะสมพระทั่วไป พระวัดเงินคลองเตยส่วนมากจะมีคราบกรุออกสีนวลๆ บ้าง ออกไปทางสีน้ำตาลบ้าง บางองค์ก็ปรากฏคราบฟองเต้าหู้แบบพระกรุเนื้อผงทั่วๆ ไป
วันนี้ผมนำรูปพระกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์พระสังกัจจายน์ พิมพ์มีหู และพิมพ์ไม่มีหูมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ แทนท่าพระจันทร์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 กรกฎาคม 2559 19:43:32 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์
Thailand
กระทู้: 2457
ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ
Re: พระเครื่อง
«
ตอบ #19 เมื่อ:
13 พฤษภาคม 2559 17:44:09 »
.
พระปิดตารุ่นเงินล้าน และรุ่นปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะ
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน ในช่วงเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้สังคมพระเครื่องก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การซื้อ-ขายก็เงียบเหงาพอสมควรครับ ราคาพระเครื่องเกือบทุกอย่างตกลงไปประมาณ 20-30% มีบางอย่างก็ตกลงมามากกว่านั้นบ้าง
ครับก็เป็นไปตามสภาวะของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ สอบถามบรรดาศูนย์พระเครื่องต่างๆ ก็บอกว่าช่วงนี้เงียบมาก พระที่เขาจะรับเช่าก็ต้องเป็นพระที่สวยๆ เท่านั้น สนนราคาก็ว่ากันตามราคาปัจจุบัน ซึ่งก็ลดลงจากเดิม ผมสอบถามดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นว่าพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ราคาไม่ตกลงมาเลยยังคงราคาเดิมอยู่ได้ เนื่องจากพระของหลวงปู่โต๊ะนั้นมีผู้ที่ศรัทธาในตัวหลวงปู่โต๊ะมาก และราคาพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะตั้งแต่ในอดีตก็ค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ ไม่ขึ้นพรวดพราด จึงทำให้ในปัจจุบันยังคงราคาอยู่ ไม่ตกลง ยิ่งถ้าในสภาพสวยๆ ก็หายาก ไม่ค่อยมีคนปล่อยให้เช่าบูชา
พระผงปิดตาของหลวงปู่โต๊ะก็นิยมกันทุกรุ่น ทุกพิมพ์ สนนราคาก็แล้วแต่ความนิยมและความสวยเป็นหลัก พระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะรุ่น ปิดตาเงินล้าน ที่สร้างในปี พ.ศ.2521 ขณะนี้ไม่ค่อยได้เห็นตามศูนย์พระเลย โดยเฉพาะพระสวยๆ หายไปหมดหาเช่าไม่ได้เลยในปัจจุบัน สอบถามตามศูนย์พระที่เล่าหาพระหลวงปู่โต๊ะ ต่างก็บอกว่าไม่รู้หายไปไหนหมด คนเก็บกันเงียบเลย
พระปิดตาเงินล้านของหลวงปู่โต๊ะ สร้างในปี พ.ศ.2521 มีแบบตะกรุดเดี่ยว เนื้อผงเกสร 4,500 องค์ เนื้อผงใบลาน 3,000 องค์ แบบตะกรุดคู่ เนื้อผงเกสร 300 องค์ เนื้อผงใบลาน 700 องค์ และมีพิเศษแบบตะกรุด 3 ดอก เนื้อผงใบลานให้เฉพาะกรรมการ 5 องค์ พระปิดตาเงินล้าน ด้านหลังจะเป็นยันต์ตรีทุกองค์ บางองค์จะเห็นเส้นเกศาของหลวงปู่โต๊ะ
พระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะเป็นพระเครื่องที่นิยมกันมาก ต่างก็จะหวงแหนและหาเก็บกันเงียบๆ จนปัจจุบันพระสวยๆ บางพิมพ์แทบหากันไม่ค่อยได้ เป็นพระเครื่องที่ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพื่อนผมคนหนึ่งเขาได้ไปค้ำประกันให้ญาติ ต่อมาญาติเขาถูกฟ้องล้มละลาย ตัวเขาเองกลับต้องถูกฟ้องไปด้วย และถึงขั้นกำลังถูกบังคับคดี มูลหนี้หลายสิบล้านทีเดียว เขาก็มาหาผมนำพระเครื่องต่างๆ ที่มีมาให้ผมช่วยออกให้ เพื่อนำเงินไปผ่อนชำระให้กับธนาคาร และเพื่อนผมคนนี้เขาก็ไม่ค่อยรู้เรื่องพระ แต่ก็มีพระที่คุณพ่อเขาให้ไว้ ผมเหลือบไปเห็นพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะ จึงบอกว่าพระองค์นี้เก็บไว้และให้ไปเลี่ยมห้อยคอ เป็นพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะ และเมื่อวันไปขึ้นศาลก็ให้อาราธนาบอกหลวงปู่ และขอให้เจ้าหนี้ยอมประนอมหนี้เพื่อผ่อนชำระ ต่อมาเขาก็มาเล่าให้ฟังว่าเจ้าหนี้กลับยอมประนอมหนี้และก็ให้ผ่อนมาเรื่อยๆ จนหมดหนี้แล้ว ทุกวันนี้เพื่อนผมห้อยพระปิดตาของหลวงปู่โต๊ะองค์เดียวตลอด
เรื่องราวของเพื่อนผมนี้เป็นเรื่องจริงที่ผมพบเห็นมาด้วยตัวเอง ที่แนะนำเพื่อนไปก็เพราะเคยได้ยินเรื่องราวทำนองนี้มาก่อน แต่ก็ไม่นึกว่าจะได้แนะนำช่วยเพื่อนผมได้ แต่ที่เพื่อนผมหมดหนี้หมดสินได้นั้นก็เนื่องจากหนี้ที่เขาไม่ได้ทำ และเขาก็เป็นคนดี ทำมาหากินสุจริต และด้วยบารมีของหลวงปู่โต๊ะได้ช่วยให้ผ่อนหนักเป็นเบา และเห็นช่องทางในการผ่อนชำระจนหมดหนี้หมดสินครับ
ในวันนี้ผมขอนำรูปพระปิดตารุ่นเงินล้าน และรุ่นปลดหนี้ของหลวงปู่โต๊ะมาให้ชมกันครับ
ด้วยความจริงใจ
แทน ท่าพระจันทร์
พระปิดตาของหลวงปู่เจียม วัดกำแพง
พระครูชลโธปมคุณมุนี หรือ หลวงปู่เจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง จ.ชลบุรี พระเกจิผู้ทรงคุณบารมียิ่งใหญ่รูปหนึ่งแห่งเมืองชลบุรี ได้รับการยกย่องสูงสุดจากคณะสงฆ์ทั้งจังหวัด และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน
วัตถุมงคลของท่าน โดยเฉพาะ "พระปิดตา" นับเป็นวัตถุมงคลที่มีพุทธศิลป์งดงาม เป็น "เพชรน้ำเอกแห่งสุดยอดพระปิดตาภควัมปติ" หนึ่งในสุดยอดพระปิดตาเมืองชลบุรี หรือที่ขนานนามกันว่า "ห้าเสือเมืองชล" อันประกอบด้วย พระปิดตา หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงปู่ภู่ วัดนอก, หลวงพ่อโต วัดเนิน, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง และหลวงพ่อครีพ วัดสมถะ ซึ่งในปัจจุบันนับว่าหายากยิ่งทุกองค์
ในสมัยก่อน การจะสืบค้นประวัติของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ของเมืองชลนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากไม่มีการจดบันทึกไว้ ต้องอาศัยการสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่สืบทอดและบอกต่อๆ กันมา สำหรับหลวงปู่เจียมนั้น ทราบมาว่าท่านเป็นชาวชลบุรีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2398 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏหลักฐานเป็นบัญชีตรวจการคณะสงฆ์ในแขวงเมืองชลบุรี ปี ร.ศ.118 ระบุนาม "เจ้าอธิการเจียม" พรรษา 22 อายุ 44 เป็นอุปัชฌาย์ วัดกำแพง และในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ร.ศ.126 บรรจุพระนามพระสงฆ์ที่ได้รับตำแหน่งสมณ ศักดิ์ให้ พระครูเจียม วัดกำแพง เป็น "พระครูชลโธปมคุณมุนี" ที่สังฆปาโมกข์ เจ้าคณะใหญ่ เมืองชลบุรี ในปี พ.ศ.2449
หลวงปู่เจียมนับเป็นพระเกจิผู้มีอิทธิบารมีและคุณวิเศษเป็นที่ร่ำลือ ยังได้อนุเคราะห์ญาติโยมและพุทธศาสนิกชนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ นอกจากนี้ยังนับเป็นเสาหลักแห่งคณะสงฆ์เมืองชลมาอย่างยาวนาน ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2454 สิริอายุ 56 ปี 34 พรรษา
วัตถุมงคลที่หลวงปู่เจียมสร้างมีหลายประเภท แต่ที่ขึ้นชื่อลือชา คือ พระปิดตา ที่ทำจากเนื้อผงที่เป็นสูตรเฉพาะของท่านเอง มีอาทิ ผงพุทธคุณ ผสมเกสรดอกไม้ ว่าน ฯลฯ จัดสร้างด้วยความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน โดยนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ารวมกัน แล้วกรองเพื่อให้ได้เนื้อมวลสารที่ละเอียดและบริสุทธิ์ เนื้อขององค์พระจึงละเอียดแน่น มีสีออกน้ำตาลอมเหลือง จัดสร้างเป็นเนื้อผงคลุกรัก และเนื้อผงทารัก
หลวงปู่เจียมสร้างพระปิดตาไว้หลายแบบหลายพิมพ์ ซึ่งล้วนเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมทั้งสิ้น โดยแต่ละพิมพ์จะมีจำนวน การสร้างไม่มากนัก ด้วยข้อจำกัดในการสร้างที่ละเอียดอ่อนและพิถีพิถันของท่าน ทั้งการผสมเนื้อหามวลสาร รวมถึงการให้ความสำคัญเกี่ยวกับฤกษ์พานาทีที่เป็นมงคล ต้องสมบูรณ์ตามพิกัดเวลา ทั้งฤกษ์บน-ฤกษ์ล่าง-ฤกษ์การบรรจุอิทธิคุณนั่นเอง
กระบวนการผลิตพระปิดตาของหลวงปู่เจียม จะมีแม่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว ส่วนด้านหลังจะประทับด้วย "ยันต์" ซึ่งมีลักษณะ ใกล้เคียงกับยันต์ที่ใช้ในพระปิดตาหลวงพ่อภู่ วัดนอก ก็คือ ยันต์ "อุใหญ่" ซึ่งลักษณะเป็น "อุขึ้น-อุลง" ที่เรียกกันว่า "อุชี้ฟ้าชี้ดิน" นอกจากนี้ยังมี ยันต์ "อุเล็ก" ประทับด้วย โดยสามารถจำแนกพิมพ์ได้ดังนี้
1.พิมพ์ปิดตามหาอุตม์ (พิมพ์ปิดตาโยงก้น) เป็นพระปิดตาในลักษณะปิดทวารทั้ง 9 คือ นอกจากยกพระหัตถ์ขึ้นไปปิดพระพักตร์แล้ว ยังมีอีก 2 พระหัตถ์ ขึ้นไปปิดกรรณทั้ง 2 ข้าง และอีก 2 พระหัตถ์ ล้วงลงไปปิดทวารด้านล่าง มีทั้ง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก ด้านหลังเป็นแบบหลังยันต์ มีทั้งหลังยันต์อุใหญ่ และหลังยันต์อุเล็ก บางองค์มีการบรรจุเม็ดกริ่ง ซึ่งหาได้ยากมาก
2.พิมพ์ปิดตา 2 มือ มีลักษณะคล้าย พระปิดตาของหลวงปู่ภู่ วัดนอก ในวงการจึงเรียก "พิมพ์เจียมภู่"
3.พิมพ์ปิดตา 2 หน้า ด้านหนึ่งจะเป็นพิมพ์ปิดตามหาอุตม์ หลวงปู่เจียม ส่วนอีกด้านจะคล้ายพิมพ์พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ วงการพระจึงเรียกกันว่า "พิมพ์แก้วเจียม"
พระปิดตาของหลวงปู่เจียมนั้น นอกจากพุทธศิลปะและเนื้อหามวลสารที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แล้ว ด้านพุทธคุณยัง เป็นเอกเป็นที่ปรากฏแก่ผู้บูชา ทั้งเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ครบเครื่องครบครัน ทำให้ได้รับความนิยมและแสวงหาอย่างสูง แต่ด้วยจำนวนพระที่สร้างน้อยดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีการทำเทียมเลียนแบบมาตั้งแต่อดีต
สิ่งที่ต้องจดจำ คือ "พระปิดตาของหลวงปู่เจียม" ทุกองค์ ยกเว้น "พิมพ์ปิดตา 2 หน้า" จะต้องมียันต์ประทับด้านหลัง อันนับเอกลักษณ์สำคัญในการพิจารณา นอกจากนี้ด้านข้างขององค์พระจะเป็นการตัดพิมพ์ในลักษณะของ "มุมฉาก" คือ มุมตัดเป็นเหลี่ยมแทบทุกองค์
แต่อย่างไรก็ดี การจะเช่าหาควรใช้ วิจารณญาณ หรือหากูรูผู้เชี่ยวชาญและจริงใจเป็น "ตัวช่วย" ในการตัดสินใจครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระกริ่งไพรีพินาศ หนึ่งในพระกริ่งยอดนิยมของวัดบวรนิเวศวิหาร และเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่จำลองแบบพิมพ์มาจาก พระบูชาไพรีพินาศ องค์ต้นแบบ ที่มีผู้นำมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ นับที่เป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องมาแต่อดีต ปัจจุบันมีค่านิยมสูงและหาดูหาเช่ายากยิ่ง
ในโอกาสที่สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ สุจิตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ.2495 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุถวายเป็นพระราชกุศล มีการประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธปฏิมา เพื่อเป็นทีฆายุมหามงคลแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และจัดสร้างพระบูชาและพระเครื่องนามว่า พระไพรีพินาศ อันเป็นพระเครื่องพระบูชาที่จะเป็นเครื่องเตือนสติให้บุคคลพึงกำจัดกิเลส ความหลง อันเป็นไพรีภายในใจตนเอง ประกอบด้วย พระบูชา พระเครื่อง เหรียญ ฯลฯ รวมทั้ง พระกริ่งไพรีพินาศ แต่พิธีการสร้างได้ดำเนินการมาถึงปีพ.ศ.2496
สำหรับพระกริ่งไพรีพินาศ นั้น จะมีพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ กล่าวคือ เนื้อโลหะที่สร้างพระกริ่ง เป็นเนื้อทองเหลืองที่มีลักษณะพิเศษคือ สีสันของเนื้อทองเหลือง แม้ตกมาถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นสีเหลืองสดใสที่อมเขียวอย่างเจือจางเล็กน้อย เพียงพื้นผิวจะคล้ำลงบ้างเท่านั้นเนื่องจากอายุการสร้างที่ยาวนาน
นอกจากนี้กรรมวิธีการสร้างยังจัดสร้างตามแบบตำนานพระกริ่ง ที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นพุทธศิลปะการเทแบบโบราณ ไม่มีการแต่งผิวหรือแต่งองค์พระ หรือที่เรียกว่าหล่อโบราณ คือ หลังจากได้เป็นองค์พระกริ่งที่ฉีดเทียนเรียบร้อยแล้ว นำเทียนพระกริ่งมาแนบติดกับก้านชนวนเทียนพระกริ่ง ซึ่งเป็นก้านยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ติดก้านพระกริ่งได้ประมาณ 20-30 องค์ เมื่อตากก้านหล่อเทียนของพระกริ่งจนแห้งเรียบร้อยต้องนำมาพอกด้วยดินขี้วัว อันเป็นสูตรสำคัญ หรือโบราณเรียกว่า ดินไทย พอกให้หนา จากนั้นดามด้วยเหล็กให้แข็งแรง เสร็จแล้วพอกด้วยดินขี้วัวอีกครั้งให้มีความหนาโดยรอบพระกริ่งประมาณไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว นำไปผึ่งลมให้แห้งสนิท รอกรรมวิธีการหล่อโลหะอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เอกลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ผิวขององค์พระจะปรากฏดินขี้วัวจับอยู่ ซึ่งจะไม่หนาเป็นปึก และจับอยู่ในรูพรุนละเอียดทั้งองค์พระ โดยสีของดินขี้วัวจะเป็นสีเขียวอมดำเข้ม
พระกริ่งไพรีพินาศมีทั้งหมด 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม และพิมพ์ฐานบัวแหลม ซึ่งมีพุทธลักษณะที่เหมือนกันคือ จะมีขนาดเท่ากันทุกองค์ ลักษณะการถอดหุ่นเทียนด้านข้างโดยรอบซึ่งเกิดจากการประกบพิมพ์จะเป็นตะเข็บให้เห็นคมชัด นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นพระกริ่งแบบเทตันแล้วนำมาเจาะอุดเม็ดกริ่งที่ใต้ฐาน ที่ก้นของพระกริ่งจะเป็นรอยตะไบและรอยเสี้ยนอันเกิดจากร่องรอยของการตะไบให้เรียบหลังจากการอุดก้นหลังใส่เม็ดพระกริ่งลงไป อันนับเป็นตำหนิสำคัญ ของการดูพระแท้อีกประการหนึ่ง
- เม็ดพระศกด้านหน้าเป็นเม็ดกลมโต มี 9 เม็ด
- พระเนตรจะมีเม็ดตาดำรูปกลมแบน ค่อนข้างนูนต่ำ
- พระหัตถ์ข้างขวาหงายขึ้น
- ฐานด้านหลังด้านล่างเป็นตัวหนังสือบุ๋ม ไพรีพินาศ ซึ่งติดคมชัดเจน
- สัณฐานขององค์พระด้านขวาจะยกสูง ด้านซ้ายทรุดต่ำลงเล็กน้อย
ส่วนความแตกต่างของพระกริ่งไพรีพินาศทั้ง 2 พิมพ์จะอยู่ที่ฐานบัว ตามชื่อของพิมพ์ คือ บัวเหลี่ยม และบัวแหลม นอกจากนี้เกสรบัวของพิมพ์บัวแหลมจะค่อนข้างชัดกว่า และเม็ดพระศกด้านหลังของพิมพ์บัวเหลี่ยมจะเป็นเม็ดกลมโตเหมือนด้านหน้า แต่พิมพ์บัวแหลม จะไม่ติดเป็นเม็ดกลมครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
พระปิดตา เนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้อง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน จังหวัดราชบุรีมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอยู่หลายท่าน มีที่ท่านสร้างพระปิดตาเนื้อเมฆพัดไว้ และมีประสบการณ์สูง ปัจจุบันหาชมยากเช่นกันครับ ท่านก็คือพระครูธรรมาภินันท์ (ปล้อง สุลีโล)
หลวงพ่อปล้องเป็นชาว ต.ท่าราบ อ.เมืองราชบุรี โยมบิดาชื่อแพง โยมมารดาชื่อหุ่น เกิดเมื่อปี พ.ศ.2419 วัยเด็กได้เรียนหนังสือที่วัดบางลี่ ต.โคกหม้อ อยู่หลายปี แล้วได้ย้ายไปอยู่กับพระยอด น้าชายที่วัดกันมาตุยาราม กทม. จนอายุได้ 18 ปี จึงกลับมาบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุรชายาราม 1 พรรษา แล้วจึงลาสิกขามาช่วยบิดามารดาทำนาจนอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบทในปี พ.ศ.2439 ที่วัดสุรชายาราม โดยมีพระพุทธวิริยากร (จิตร) วัดสัตตนารถปริวัตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยา วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการเกิด วัดท่าโขลง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ได้ศึกษาบาลีกับพระวินัยธร (เบี้ยว) วัดท่าโขลง จนมีความรู้แปลหนังสือได้
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2448 ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมาภินันท์ หลวงพ่อปล้องเป็นพระสงฆ์ที่มีศีลาจารวัตรงดงามน่าเลื่อมใสศรัทธาเป็นที่เคารพรักของชาวบ้าน หลวงพ่อปล้องได้สร้างวัตถุมงคลเป็นพระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด มีอยู่สองแบบคือ เป็นแบบพระปิดตากับพระกลีบบัว เป็นการสร้างในปี พ.ศ.2471 เพื่อแจกเป็นที่ระลึกในการสร้างศาลาการเปรียญ และมีชื่อเสียงโด่งดังในครั้งสงครามอินโดจีน
เนื่องจากมีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย จากนั้นก็มีผู้คนและทหารเข้าขอพระเครื่องจากหลวงพ่อมากมาย พระเครื่องได้หมดไปจากวัดอย่างรวดเร็ว ทางวัดได้จัดสร้างเพิ่มก็สร้างไม่ทัน ต้องทำผ้าประเจียดพิมพ์เป็นรูปพระปิดตาแล้วทำพิธีปลุกเสกแทน พระเครื่องทั้งหมดของหลวงพ่อปล้องแจกฟรี หลวงพ่อปล้องมรณภาพ ด้วยโรคอัมพาตในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2484 เวลา 10.35 น. สิริอายุได้ 66 ปี พรรษาที่ 45
พระปิดตาของหลวงพ่อปล้องมีทั้งแบบลอยองค์และแบบพิมพ์ครึ่งซีก ที่เรียกว่าพิมพ์จั๊กจั่นและพระพิมพ์กลีบบัว เนื้อเมฆพัด ที่องค์พระหรือด้านหลังมักจะมีรอยจารด้วยลายมือหลวงพ่อปล้องแทบทุกองค์ครับ ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตา เนื้อเมฆพัด ของหลวงพ่อปล้องมาให้ชมครับ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกริ่งสวนเต่า
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน สำหรับท่านที่ชื่นชอบพระกริ่งพระชัยวัฒน์นั้น มีพระกริ่งเก่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ประวัติความเป็นมายังไม่ชัดเจนนัก คือ พระกริ่งสวนเต่า มีการสืบค้นกันมานานแล้ว ก็มีความเห็นแตกต่างกันไป แต่พระกริ่งสวนเต่านั้นเป็นพระเก่าแน่นอน มีความสวยงามและนิยมกันมากสนนราคาก็สูงพอสมควรครับ
ทำไมพระกริ่งเก่าที่ไม่มีประวัติชัดเจนนักจึงมีความนิยม เท่าที่เคยได้รับฟังมาก็มีการเล่นหาสะสมกันมานานมาก ตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายเลยทีเดียว ศิลปะของพระกริ่งสวนเต่านั้นนับว่าสวยงาม มีการตบแต่งสวยมาแต่เดิม เท่าที่สังเกตดูแต่ละองค์จะมีพิมพ์ไม่ค่อยเหมือนกันนัก อย่างที่เรียกว่าปั้นหุ่นเทียนทีละองค์
เนื้อของพระกริ่งสวนเต่าก็เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวกลับ สีน้ำตาลอมดำสวยงาม พระพักตร์เป็นแบบศิลปะไทย มีขอบไรพระศกทุกองค์ พระเกศเป็นรูปดอกบัวตูม ประทับนั่งบนฐานบัวสองชั้น ส่วนพระหัตถ์นั้นมีแบบต่างๆ มากมายไม่ซ้ำแบบกัน บางองค์ทรงถือดอกบัว บางองค์ทรงอุ้มบาตร หรือหอยสังข์ ส่วนมากที่เห็นจะขัดสมาธิเพชร และส่วนใหญ่มีประคำที่พระศอ ฝีมือช่างที่ปั้นหุ่นและตบแต่งเป็นช่างคนเดียวกัน
ด้วยศิลปะของพระกริ่งสวนเต่าที่สวยงาม จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือช่างหลวง และการมีรายละเอียดที่ไม่ค่อยซ้ำกันเลย จึงคาดว่าคงมีจำนวนไม่มากนัก และพระแท้ๆ ก็ ไม่ค่อยพบเช่นกัน
มีการสันนิษฐานกันไปหลายทางในเรื่องของประวัติการสร้าง และใครคือผู้สร้างพระกริ่งสวนเต่า แต่ก็เรียกชื่อนี้กันมานานตั้งแต่โบราณ มีกระแสหนึ่งที่กล่าวไปในทางเดียวกันว่าพระกริ่งสวนเต่านี้สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำพิธีเททองหล่อในพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ณ บริเวณสวนเต่า ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้นยังไม่ทราบว่าพระสงฆ์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสกบ้าง แต่ก็เชื่อกันมาแบบนี้ยาวนานแล้ว
ครับเรื่องประวัติที่ชัดเจนก็ยังไม่มีเอกสารยืนยันได้ แต่ฝีมือการสร้างที่สวยงาม เนื้อโลหะยอดเยี่ยมนี้ จึงเป็นพระกริ่งที่มีความสำคัญแน่นอนและน่าจะเป็นช่างหลวง เพียงแต่ยังเป็นความลึกลับอยู่จนถึงปัจจุบันในยุคหลังๆ ต่อมาก็มีบางวัดสร้างพระกริ่งรูปแบบพระกริ่งสวนเต่าเช่นกัน แต่ศิลปะยังสู้กันไม่ได้ และกระแสเนื้อมักจะออกเป็นแบบทองเหลืองเสียเป็นส่วนใหญ่
ถึงแม้ว่าประวัติการสร้างยังไม่มีเอกสารยืนยันที่ชัดเจนก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันและก็หาแท้ๆ ยากเสียด้วย ผู้ที่ครอบครองก็มักจะหวงแหนกันมาก และส่วนใหญ่ก็ได้รับมรดกตกทอดเสียเป็นส่วนใหญ่
พระอีกหลายๆ อย่างก็ยังไม่ทราบประวัติที่ชัดเจนนัก ก็เป็นเรื่องที่น่าศึกษาและค้นคว้ามาก เนื่องจากเป็นพระเก่าและเป็นพระแท้แน่นอน เพียงแต่ประวัติที่ยังคลุมเครือว่าเป็นพระของวัดใดใครสร้าง และในสมัยโบราณก็ไม่ค่อยได้มีการบันทึกการสร้างเท่าใดนัก จึงเป็นเรื่องของนักนิยมพระเครื่องรุ่นต่อๆ มาต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
ในวันนี้ผมขอนำรูปพระกริ่งสวนเต่า มาให้ชมกันสัก 2 องค์ครับ
แทน ท่าพระจันทร์
พระกริ่งสวนเต่า
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่ง หรือพระไภษัชยคุรุ คือพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่ได้รับการเคารพนับถือกันมากในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน (ฝ่ายเหนือ) ก่อนที่พระองค์จุติลงมาได้ตั้งปณิธานไว้อย่างแน่วแน่ที่จะโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยากทั้งทางกายและทางใจ ตลอดจนบำบัดความเจ็บไข้ให้ปลาสนาการไปสิ้น ด้วยเหตุนี้พระกริ่งหรือพระไภษัชยคุรุ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสแก่พุทธศาสนิกชน
ในสมัยโบราณ พุทธศาสนาลัทธิมหายานนิยมสร้างพระไภษัชยคุรุขึ้นเป็นรูปเคารพขนาดใหญ่ไว้ประจำพระอุโบสถและวิหารในลักษณะพระบูชาขนาดใหญ่เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับนั่งมีทั้งแบบปางสมาธิและมารวิชัย มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ในอุ้งพระหัตถ์จะถือหม้อหรือบาตรน้ำมนต์เป็นพุทธบริโภค เมื่อพุทธศาสนิกชนผู้ประสงค์จะให้พระโพธิสัตว์พระไภษัชยคุรุทรงโปรดนั้นจะต้องเข้าไปเฉพาะพระพักตร์แล้วเคาะเกราะ สั่นกระดิ่ง เป่าสังข์หรือเป่าหลอดเพื่อให้พระองค์ทรงรับทราบเสียก่อน แล้วจึงตั้งจิตอธิษฐานตามแต่จะปรารถนา เสร็จแล้วจึงนำเอาน้ำมนต์ไปทาหรือรับประทาน
สืบต่อมาท่านโบราณาจารย์ผู้ชาญฉลาดเห็นว่า พระไภษัชยคุรุส่วนใหญ่สร้างเป็นพระประธานประจำอยู่ในพระอุโบสถนั้นไม่สามารถที่จะพกติดตัวเดินทางไป ณ ต่างถิ่นต่างแดนทุรกันดาร ยามเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่สามารถที่จะอาราธนาขอน้ำมนต์ได้ ท่านจึงได้จำลองรูปลักษณ์ในพระไภษัชยคุรุให้มีขนาดเล็กลง มีขนาดที่จะพกพาไปไหนได้อย่างสะดวกสบาย
อนึ่ง เกรา กระดิ่ง หลอดหรือสังข์เครื่องทำให้เกิดเสียงดังได้ยินไปถึงพระองค์ท่านนั้นเล่า ล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เป็นการยากที่จะนำติดตัวในการเดินทาง ท่านจึงได้บรรจงประดิษฐ์คิดแต่งให้เป็นเม็ดกริ่งบรรจุไว้ที่ใต้ฐานเวลาเขย่าจึงเกิดเสียงกริ๊กๆ ทำนองเดียวกับการเลาะเกราะหรือสั่นกระดิ่ง ให้เกิดเสียงดังได้ยินไปถึงสรวงสวรรค์จึงจะเกิดความขลังประสิทธิ์
ด้วยปฐมเหตุดังกล่าวแล้ว จึงได้เกิดพระพุทธประติมากรรมองค์น้อย ประทับนั่งแบบลอยองค์ในอุ้งพระหัตถ์ถือหม้อหรือบาตรน้ำมนต์ ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุ และเหตุด้วยพระไภษัชยคุรุเวลายกขึ้นเขย่าจะเกิดเสียงดังกังวานด้วยเม็ดกริ่งที่บรรจุไว้ที่ใต้ฐานตามที่เรารู้จักกันในนามพระกริ่ง
สำหรับพระกริ่งที่สร้างในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ที่เราทราบและมีหลักฐานปรากฏ ก็คือพระกริ่งปวเรศ ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ครองวัดบวรนิเวศ ได้ทรงสร้างไว้ และต่อมาก็สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ซึ่งเป็นพระกริ่งที่นิยมกันมาก
ตำราการสร้างพระกริ่งของไทยนั้น มีการสันนิษฐานกัน 2 สาย บ้างว่ามาจากสายพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ (เขมร) และอีกสายหนึ่งว่า สืบทอดมาจากตำราของสมเด็จพนรัตน์ วัดป่าแก้ว สมัยอยุธยา และตกทอดสืบต่อกันมา
วันนี้ผมได้นำรูปพระกริ่งสวนเต่า ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นกันดีในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องมาเนิ่นนาน เชื่อกันว่าเป็นพระกริ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 กระทำพิธีหล่อ ณ ที่บริเวณสวนเต่าในพระบรมมหาราชวัง ว่ากันไว้อย่างนั้น มีหลายแบบหลายพิมพ์ เนื้อแบบสัมฤทธิ์ วรรณะออกสีนากปนทอง ผิวสีน้ำตาลอมดำ พระหัตถ์ทรงถือวัสดุหลายอย่าง เช่น อุ้มบาตรบ้าง ถือดอกบัวบ้าง หอยสังข์บ้าง สวมประคำบ้างไม่สวมบ้าง ไม่มีองค์ใดที่เหมือนกันเลย เข้าใจว่าเป็นการปั้นหุ่นเทียนทีละองค์ ฝีมือการตกแต่งสวยงามประณีต ไม่มีรอยตะไบให้เห็น ผิวตึงเรียบเนียนทุกองค์ ปัจจุบันหาชมพระแท้ๆ ยาก ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนักครับ
แทน ท่าพระจันทร์
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤษภาคม 2559 20:08:39 โดย 自由人
»
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
[
1
]
2
3
...
10
ขึ้นบน
พิมพ์
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
จากใจถึงใจ
-----------------------------
=> หน้าบ้าน สุขใจ
===> สุขใจ ป่าวประกาศ (ข้อความจากทีมงาน)
===> สุขใจ เสนอแนะ (ข้อความจากสมาชิก)
===> สุขใจ ให้ละเลง (มุมทดสอบบอร์ด)
-----------------------------
สุขใจในธรรม
-----------------------------
=> พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
===> พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
===> ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
===> ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
===> นิทาน - ชาดก
=====> ชาดก พระเจ้า 500 ชาติ
=> ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
===> ธรรมะจากพระอาจารย์
===> เกร็ดครูบาอาจารย์
=> ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
=> สมถภาวนา - อภิญญาจิต
=> จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
=> เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
===> เอกสารธรรม
===> เสียงธรรมเทศนา
=====> ธรรมะจาก สมเด็จโต
=====> ธรรมะจาก หลวงปู่มั่น
=====> เสียงบทสวดมนต์
=====> เพลงสวดมนต์
=====> เพลงเพื่อจิตสำนึก แด่บุพการี
=====> ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
===> ห้อง วีดีโอ
=> เกร็ดศาสนา
=> กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
=> ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
=> บทสวด - คัมภีร์ คาถา - วิชา อาคม
=> พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม
===> พุทธวัจนะ ในธรรมบท
===> พุทธศาสนสุภาษิต
===> คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
===> รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน
===> รู้ เพื่อ รอด (การเตรียมการ)
=> ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
===> ฐานข้อมูล มูลนิธิต่าง ๆ ในประเทศไทย (Donation Exchange Center)
-----------------------------
วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
-----------------------------
=> วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
===> เรื่องราว จากนอกโลก
=====> ประสบการณ์เกี่ยวกับ UFO
=====> หลักฐาน และ การพิสูจน์ยูเอฟโอ
=====> คลิปวีดีโอ ยูเอฟโอ
=> ไขตำนาน - ประวัติศาสตร์ - การค้นพบ อารยธรรม
=> เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
===> ร้อยภูติ พันวิญญาณ
=====> ประสบการณ์ ผี ๆ
=======> เรื่องเล่าในรั้วมหาลัย
=====> ประวัติ ต้นกำเนิด ตำนานผี
===> ดูดวง ทำนายทายทัก
===> ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
===> กระบวนการ NEW AGE
=> เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
-----------------------------
นั่งเล่นหลังสวน
-----------------------------
=> สุขใจ จิบกาแฟ
=> สุขใจ ร้านน้ำชา
=> สุขใจ ห้องสมุด
===> สุขใจ หนังสือแนะนำ
===> สุขใจ คลังความรู้ลวงโลก
===> สยาม ในอดีต
=> สุขใจ ใต้เงาไม้
=> สุขใจ ตลาดสด
=> สุขใจ อนามัย
=> สุขใจ ไปเที่ยว
=> สุขใจ ในครัว
===> เกร็ดความรู้ งานบ้าน งานครัว
=> สุขใจ ไปรษณีย์
=> สุขใจ สวนสนุก
===> ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
===> เวที จำอวด (จำอวดหน้าม่าน)
===> หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
===> หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
=====> เพลงไทยเดิม
===> แผงลอยริมทาง (รวมคลิปโฆษณาโดน ๆ)
คุณ
ไม่สามารถ
ตั้งกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
ตอบกระทู้ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ได้
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความได้
BBCode
เปิดใช้งาน
Smilies
เปิดใช้งาน
[img]
เปิดใช้งาน
HTML
เปิดใช้งาน
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ
เริ่มโดย
ตอบ
อ่าน
กระทู้ล่าสุด
ที่มาของคำว่า พระเครื่อง รู้หรือไม่ว่าเกิดจากรับสั่งนำเข้าเครื่องจักรของ ร.๕
เกร็ดศาสนา
Compatable
0
2819
12 มิถุนายน 2556 13:32:53
โดย
Compatable
พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
Kimleng
0
2869
23 ธันวาคม 2558 17:02:47
โดย
Kimleng
จาก พระเครื่อง สู่ พระธรรม (พระภาสกร ภาวิไล)
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
มดเอ๊ก
0
3164
05 กรกฎาคม 2559 02:45:00
โดย
มดเอ๊ก
จาก “พระพิมพ์” สู่ “พระเครื่อง”
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ใบบุญ
0
1927
05 กรกฎาคม 2561 11:21:04
โดย
ใบบุญ
กำลังโหลด...