[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 พฤศจิกายน 2566 01:03:21



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - พร/คำสาป จดหมายลูกโซ่ และโพธิสัตว์ ในหนังเรื่อง “มนตรา" (Incantation)
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 09 พฤศจิกายน 2566 01:03:21
พร/คำสาป จดหมายลูกโซ่ และโพธิสัตว์ ในหนังเรื่อง “มนตรา" (Incantation)
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-11-08 22:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>เจษฎา บัวบาล
11 พฤศจิกายน 2566</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>มนตรา หรือ Incantation ของไต้หวันเรื่องนี้ออกมาในปี 2022 ซึ่งเป็นเรื่องลี้ลับชวนสยอง อีกมุมหนึ่งก็สื่อความสัมพันธ์ของแม่กับลูก (วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส, 2022) เราอาจพบได้ในหนังผีทั่วไปที่แม่อาจต้องทำทุกอย่างเพื่อรักษาชีวิตลูกไว้ และในเรื่องนี้เธอก็ยอมตายแทนลูก แต่บทความสั้นนี้จะชวนเราไปดูมุมของ คำสาป คำอวยพร จดหมายลูกโซ่ และแนวคิดโพธิสัตว์ ซึ่งหนังอาจไม่ได้ต้องการสื่อเรื่องโพธิสัตว์ก็ได้ แต่หากเราทำความเข้าใจเรื่องโพธิสัตว์โดยเฉพาะของมหายาน อาจช่วยให้มองหนังเรื่องนี้เปลี่ยนไป</p>
<p><strong>พุทธแบบตันตระในอาเซียน</strong>
Emma Burleigh (2022) ระบุว่า หนังได้เเรงบันดาลใจจากเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในปี 2005 มีครอบครัวหนึ่งใน Kaohsiung ของไต้หวันอ้างว่าถูกผีเข้าสิง พวกเขาทำพิธีกรรมลี้ลับและได้ฆ่าลูกสาวสองคน แต่หนังได้ดัดแปลงและเพิ่มรายละเอียดลงไปโดยหยิบเอาศาสนาพุทธแนวตันตระซึ่งผสมกับฮินดู และบอกที่มาผ่านตัวละครว่า เป็นความเชื่อที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การอ้างนี้ไม่ได้เกินเลย เพราะพุทธศาสนาแบบจีนก็รับอิทธิพลจากอินเดียจริง และมณฑลยูนนาน ซึ่งมีพระภิกษุที่ปฏิบัติตันตระและช่วยแปลคาถาให้ตัวละครเอกในเรื่อง (Li Ronan) ก็เป็นพื้นที่ที่ใกล้กับพม่า ไทย ลาว และเวียดนาม</p>
<p>การปฏิบัติแบบตันตระกระจายไปหลายที่ในอาเซียน รวมถึงอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเชื่อว่าเป็นเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียขึ้นมาจนถึงภาคใต้ของไทยอย่างสุราษฏร์ธานี หรือในภาคเหนือก็มีกรณีของการทำสมาธิแบบโบราณหรือการท่องบทธารณีเพื่อให้พรของครูบาบุญชุ่มที่ว่า “โอม มุนี มุนี มหามุนี ศักยะมุนี สะวาหะ” (GHOST GURU, 2019) ซึ่งอาจดูแปลกในสายตาของเถรวาทสมัยใหม่</p>
<p>ความเชื่อเร้นลับที่หนังเรื่องนี้เสนอคือ การบูชาเจ้าแม่องค์ดำ ใช้คำภาษาอังกฤษว่า Dahei Buddha Mother สันนิษฐานว่าคล้ายกับลัทธิบูชาเจ้าแม่กาลี (ซึ่งแปลว่า ดำ) การต้องบูชาด้วยสัตว์หรือเลือด หรือตัดอวัยวะบางอย่างเพื่อถวายท่านยังพบเห็นได้ เช่น ในปี 2016 หญิงชาวอินเดียอายุ 19 ปีได้ตัดลิ้นถวายเจ้าแม่กาลี โดยเชื่อว่าเธอจะได้รับพรให้สมหวัง (Indiatimes, 2016) ทั้งนี้ ความเชื่อเรื่องเจ้าแม่กาลียังพบในภาคใต้ของไทยในรูปของเทพเจ้าเเห่งความตาย (เจ้าเมรุเผาศพ) ชื่อ ตากาหลา-ยายกาหลี กาหลาคือพระกาฬ เป็นชื่อหนึ่งของพระศิวะ และ ยายกาหลีคือเจ้าแม่กาลี เป็นปางหนึ่งของพระแม่อุมา ชายาพระศิวะ (เรื่องเล่าจากนักท่องมิติ, 2017) พระกาฬ หรือ กาล เป็นเทพแห่งกาลเวลาที่กลืนกินทุกอย่าง ในหนังเรื่องนี้ เจ้าแม่องค์ดำถูกทำออกมาในรูปขององค์เทพที่ไม่มีหน้าตา มีศีรษะที่มีรูกว้าง ซึ่งผมสันนิษฐานว่าเป็นเหมือนปากขนาดใหญ่ที่เปิดกว้างพร้อมจะกลืนกินทุกสิ่ง โดยเฉพาะ “ชีวิต”</p>
<p><strong>พรและคำสาปอยู่ด้วยกัน </strong>
Li Ronan ทำคลิปให้ผู้ติดตามช่วยสวดมนต์อวยพรให้ลูกเธอ (Dodo) หายจากความเจ็บป่วย เธอขึ้นซับไทเทิลให้คนได้สวดตามว่า “Hou ho xiu yi, si sei wu ma” ซึ่งพระที่ปฏิบัติตันตระในยูนนานแปลไว้ว่า “โชคร้ายและโชคดีอาศัยกันและกัน ความตายและชีวิตอยู่ในชื่อ” เพราะเชื่อว่าชื่อเป็นตัวกำหนดชีวิต การเปลี่ยนชื่อจะช่วยเปลี่ยนชีวิตจึงพบได้ในหลายวัฒนธรรม (Stollznow, 2014, p. 21) รวมทั้งพุทธศาสนา ที่มักมีชื่อทางศาสนา (ฉายา) ให้คนที่จะบวช (มักอ้างว่า เพื่อให้เป็นภาษาบาลีและสวดง่าย) หรือแม้อุบาสกอุบาสิกาชาวพุทธก็มักได้ชื่อใหม่ไป เพื่อแยกชื่อในทางโลกออกจากชื่อทางจิตวิญญาณ เช่นเดียวกับการได้ชื่อใหม่เมื่อเข้าศาสนาคริสต์</p>
<p>คงไม่มีใครสวดมนต์ให้ตัวเองป่วยตาย ดังนั้น การสวดมนต์อธิษฐานคงเป็นไปในทางบวกทั้งหมด ยกเว้นกรณีทำของใส่คนอื่น (ซึ่งไม่รู้ว่ามีจริงไหม) แต่ถ้าเราเชื่อว่า การสวดมนต์ขอพรจะทำให้เกิดสิ่งดีดีขึ้นมาได้ ทำไมจะเชื่อต่อว่า การสวดมนต์/สร้างคำสาปที่จะทำให้สิ่งร้ายๆ เกิดขึ้นจะเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อทั้งสองอย่างนั้น “อิงอาศัย/อยู่ด้วยกัน” </p>
<p>ตอนผมเป็นเณรช่วงปี 2543 ในจังหวัดตรัง มีการนิมนต์พระไปสวดให้ผู้ที่ป่วยหนักตามบ้าน และหลวงพ่อมักจะพูดกับพวกเราว่า “เมื่อพระมาสวดแล้ว ถ้าเขาไม่ดีขึ้น เขาก็จะตายเร็วขึ้น” ผมไม่ต้องการยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นจริงไหม แต่อย่างน้อยคำพูดหลวงพ่อสะท้อนชัดว่า พรและคำสาปอยู่ด้วยกัน นั่นคือถ้าพรในฝ่ายความดีไม่ทำงาน ความชั่วร้ายอาจทำงานแทน (?) </p>
<p>พุทธเถรวาทเองก็พูดเรื่องสิ่งที่เป็นคู่กัน เช่น มีลาภ/เสื่อมลาภ มียศ/เสื่อมยศ นินทา/สรรเสริญ สุข/ทุกข์ กล่าวคือ ทั้งโชคดีและโชคร้ายจะอยู่ด้วยกัน อยู่ที่ว่าอะไรจะวนเวียนมา ซึ่งการหวังให้สิ่งดีเท่านั้นเข้ามาก็ดูจะขัดกับหลักความไม่เที่ยงหรือผันแปรตลอดเวลาของชาวพุทธ คำอธิบายที่ลึกลงกว่านั้นคือ จริงๆ โลกหรือสังสารวัฏนี้เต็มไปด้วยทุกข์ ทุกข์จึงแปลว่า “อดทนได้ยาก” ในขณะที่ สุข แปลว่า “อดทนได้ง่าย” หมายความว่า การอดทนง่ายหรือที่เเม้จะเรียกว่าสุข ก็ยังเป็นทุกข์อยู่นั่นเอง ตรงที่ต้องอดทน แค่มันเบาและสบายกว่าเมื่อเทียบกับความทุกข์ อริยสัจจึงพูดแต่เรื่องทุกข์และการพ้นทุกข์ ที่เล่ามาก็เเค่จะยืนยันว่า ตามคำสอนของศาสนาพุทธ สุขก็อยู่ในทุกข์นั่นแหละ </p>
<p><strong>จดหมายลูกโซ่และโพธิสัตว์</strong>
หนังเรื่องนี้เฉลยในตอนท้ายว่า “ผู้ติดตามที่ช่วยเธอสวดมนต์ขอพรให้ลูกหายป่วย แท้จริงแล้วพวกเขากำลังสวดมนต์เพื่อรับเอาคำสาป” ซึ่งทำให้อาการป่วยของลูกเธอเบาบางลงได้จริง ยิ่งคนสวดมนต์ไปมากเท่าไหร่ คำสาปหรือสิ่งชั่วร้ายก็จะกระจายไปมากเท่านั้น แน่นอนว่า พวกเขาถูกหลอก รวมทั้งคนดูหนังเรื่องนี้ที่สวดมนต์ไปพร้อมกับเธอด้วย และอันนี้ก็ยังสร้างความสยองให้คนดูแม้จะออกจากโรงหนังไปแล้ว เพราะเขารู้สึกว่าได้รับคำสาปติดตัวมา ซึ่งทางเดียวที่พอจะช่วยได้คือ ต้องหาคนอื่นๆ มาช่วยสวดมนต์บทนั้นเพื่อแบ่งเบา/รับคำสาปนั้นต่อๆ ไป เหมือนจดหมายลูกโซ่</p>
<p>พระโพธิสัตว์คือคนที่เห็นว่าชีวิตนี้เต็มไปด้วยทุกข์ และตั้งใจจะหาทางช่วยให้ตนเองและผู้อื่นพ้นไปจากความทุกข์ให้ได้ พระโพธิสัตว์ในเถรวาทคือคนที่จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แต่แม้จะเป็นพระพุทธเจ้าก็มีความสามารถจำกัด ช่วยได้แค่บางคนเท่านั้น (ตถาคตเเค่บอกทาง) และเมื่อหมดอายุขัยก็นิพพานไปโดยไม่มีกิเลสให้กลับมาเกิดอีก แต่มหายานสอนให้ทุกคนทำตัวเป็นโพธิสัตว์ และมีตัวอย่างเช่น พระกษิติครรภ์ ที่ตั้งปณิธานเลยว่า หากในทุคติเช่น นรก ยังมีสัตว์อยู่ ตนก็จะไม่ขอเป็นพระพุทธเจ้า/นิพพาน หรือกวนอิม (พระอวโลกิเตศวร) ที่เลือกจะช่วยสรรพสัตว์ดีกว่าการบรรลุนิพพานไป </p>
<p>มองได้ว่า โพธิสัตว์ในมหายานคือคนที่อยากอยู่ร่วมกับคนอื่นซึ่งยังมีทุกข์ และยังต้องทำงานช่วยเหลือหรือ “ช่วยเเชร์” ความทุกข์ของคนอื่น ถ้ามองด้วยสายตาเถรวาท โพธิสัตว์พวกนี้คงเป็นคนโง่ และอาจมองว่า จดหมายลูกโซ่นั้นมันช่างเลวร้าย เราจึงต้องรีบปฏิบัติให้บรรลุนิพพานหนีสังสารวัฏไปดีกว่า แต่ในสายตามหายาน ถ้าคนอื่นยังมีทุกข์และทราบว่าตนพอจะช่วยได้ เเม้ต้องแบ่งเบาคำสาปหรือความทุกข์ของผู้นั้น โพธิสัตว์ก็จะทำ นั่นคือถ้าสวมจิตใจโพธิสัตว์ เวลาดูหนังเรื่องนี้ นอกจากจะไม่กลัวคำสาปและไม่โกรธ Li Ronan แล้ว ยังพร้อมที่จะช่วยแบ่งเบาคำสาปด้วย</p>
<p>มหายานทำงานกันเป็นกลุ่มใหญ่ พระโพธิสัตว์ในสังคมมหายานหนึ่งๆ ไม่ได้มีแค่คนเดียว แต่อาจมีเป็นพัน ฉะนั้น หากต้องแบ่งเบาคำสาปหรือความโชคร้ายจากคนอื่น คำสาปก็จะถูกเเบ่งเป็นชิ้นน้อยมากๆ เทียบคำสาปเป็นเกลือ 1 ถุง (ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องป่วยตาย เเบบในหนังเรื่องนี้) เเต่เมื่อผู้คนจำนวนพันช่วยเฉลี่ยไปก็อาจได้เกลือคนละก้อนจนเหลือแค่ทุกคนป่วยเป็นหวัดกัน 2-3 วัน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำสาปหรือความโชคร้ายจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป หากอาศัยอยู่ในสังคมที่คนเห็นอกเห็นใจกัน คือต่างคนต่างรู้สึกว่าตนเป็นโพธิสัตว์และตั้งใจจะช่วยคนอื่นอยู่เสมอ </p>
<p>นี่เป็นข้อดีของมหายานที่สาวกเถรวาทมักมองข้าม ป.อ.ปยุตโต (พระเถระที่คนไทยจำนวนมากยกให้เป็นนักปราชญ์พุทธ) ก็มองมหายานในแง่ลบ ท่านอธิบายว่า โพธิสัตว์มหายานทำหน้าที่เป็นเทพเจ้าที่คอยประทานพร ทำให้สาวกเอาแต่สวดมนต์ร้องขอแล้วรอรับผล ไม่ลงมือทำด้วยตัวเอง ซึ่งขัดกับหลักเถรวาทที่ท่านอธิบายว่าเน้นให้พัฒนา/พึ่งตัวเอง (ปยุตโต, 2566, น. 470-474) ซึ่งโพธิสัตว์ในมหายานไม่ได้เป็นเช่นนั้น โพธิสัตว์มีปัญญาหรืออุปายโกศล เขาช่วยสัตว์เพื่อให้สัตว์ได้พัฒนาตนจนพ้นทุกข์ อาจแปลงเป็นร่างต่างๆ เพื่อให้เข้ากับคน/ชุมชนนั้นๆ </p>
<p>ไม่ใช่การตั้งตนเป็นเทพศักดิ์สิทธิ์ที่ใครมาขออะไรก็ให้แบบที่ปยุตโตกล่าว เพราะตัวโพธิสัตว์เองก็ฝึกตนเอง และยังตั้งใจที่จะไม่ละทิ้งสังคม ตัวอย่างเช่น ลูกศิษย์เจ้าแม่กวนอิมก็พยายามกินเจ เพื่อจะเลิก/ตัดวงจรการฆ่าสัตว์ และบริจาคโลงศพหรือสิ่งของช่วยเหลือคนยากจน ฯลฯ และที่สำคัญ สาวกเหล่านั้นจำนวนมากก็ตั้งใจจะเป็นโพธิสัตว์ด้วย</p>
<p><strong>ถ้าเราอยากได้การเกิด เราปฏิเสธความตายได้หรือ? คำสอนที่ว่า คำอวยพรและคำสาปอยู่ด้วยกันจึงฟังดูมีเหตุผล สำหรับมหายานแล้ว การช่วยเเชร์ความทุกข์หรือคำสาปของคนอื่นไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะโพธิสัตว์คือคนที่พร้อมจะเเบกรับหรือเเชร์ความทุกข์กับผู้อื่นจนวินาทีสุดท้าย บางทีการใช้วิธีคิดแบบโพธิสัตว์ อาจช่วยให้เรามองปัญหาสังคมในมุมที่กว้างมากขึ้นได้ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการถูกละเมิดเสรีภาพ ฯลฯ เพราะคนอื่นทุกข์ก็เหมือนเราทุกข์ เนื่องจากเรากับเขาอิงอาศัยกัน ฯลฯ ซึ่งต่างกับการถือคติแบบเถรวาทที่ต้องเอาตัวรอด แล้วรีบสลัดตนให้พ้นไปจากทุกข์</strong></p>
<p><strong>อ้างอิง</strong>
ปยุตโต. (2566). จาริกบุญ จารึกธรรม. เข้าถึงจาก https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/124 (https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/124).</p>
<p>เรื่องเล่าจากนักท่องมิติ, 2017 ประวัติพระกาฬ เข้าถึงจาก https://shorturl.at/enPX9 (https://shorturl.at/enPX9).</p>
<p>วีรวัฒน์ อัจจุตมานัส (2022) Incantation (มนตรา) หนังจากเรื่องจริงบนเกาะไต้หวัน ที่ดูสนุกดีแต่ไม่มีอะไรใหม่. เข้าถึงจาก https://thestandard.co/incantation/ (https://thestandard.co/incantation/).</p>
<p>Emma Burleigh. (2022). The not-so-scary truth behind horror sensation ‘Incantation’. เข้าถึงจาก https://shorturl.at/knop5 (https://shorturl.at/knop5).</p>
<p>GHOST GURU. (2019). พุทธคาถาของ ครูบาพ่อบุญชุ่ม ญาณสังวโร. เข้าถึงจาก https://shorturl.at/gswU1 (https://shorturl.at/gswU1).</p>
<p>Indiatimes. (2016). A dream to cut off her tongue and offer it to Goddess Kali. เข้าถึงจาก https://shorturl.at/aBY05 (https://shorturl.at/aBY05).</p>
<p>Stollznow, K. (2014). Language Myths, Mysteries and Magic. Palgrave Macmillan.
 
<strong>ที่มาภาพ: </strong>https://broadly-specific.com/INCANTATION: The Anatomy of a Film That Places a Curse on its Viewers (https://broadly-specific.com/2023/05/11/incantation-the-anatomy-of-a-film-that-places-a-curse-on-its-viewers/?fbclid=IwAR0ULcSlyfMPSQsd4H3qDcl-IEtYg5_6vrl8PmrpwW9v_BOXnwc_5pzEytg)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทความ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เจษฎา บัวบาล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มนตรา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พุทธศาสนา[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ภาพยนตร์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106722