[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2566 18:23:37



หัวข้อ: คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2566 18:23:37
(https://m.media-amazon.com/images/I/51hYNivYGeL._AC_SL1500_.jpg)

คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต “แท้จริง!..”ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้..ที่สมบูรณ์แบบหรอก...”

ปากกาขนนก / สกุล บุณยทัต

 “รอยปริแตกของสรรพสิ่ง นับเป็นสภาวะที่เป็นนัยของการเรียนรู้ที่จะเยียวยา ซ่อมแซม และแก้ไขให้คืนกลับมาสู่สภาพ

...ท่ามกลางความลึกเร้นแห่งใจอันเปราะบางและยับเยิน สำนึกรู้ในทางจิตวิญญาณอันล้ำลึกและสูงส่งผ่านธารสำนึกของตัวบุคคลย่อมคือรูปรอยทางความคิดที่มีค่า

...เป็นประจักษ์พยานอันสำคัญต่อการเรียนรู้และรับรู้ในวิถีแห่งเจตจำนงที่ต้องปรับแต่งแก้ไข

...ภาวะดังกล่าวนี้คือปรากฏการณ์ทางความคิดที่แทรกอยู่กับตัวตนของคนทุกคน

..สุดแต่ว่าใครจะหยั่งเห็นได้..เพียงนั้น....”

นี่คือนัยสำคัญที่ถอดรูปรอยความหมายออกมาจากหนังสืออันทรงคุณค่าของยุคสมัยเล่มสำคัญ “คินสึงิ”(Kintsugi):ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต

..งานเขียนของ “โทมัส นาวาโร” (Thomas Navarrow)จิตแพทย์ชื่อดังชาวสเปนผู้มีผู้บาดเจ็บทางใจเป็นคนไข้มายาวนานหลายสิบปี/เขาเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ในการเยียวยารักษาด้วยมุมมองของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อความพังพินาศในชีวิต

...การเรียนรู้จากชิ้นส่วนอันแตกหักที่ถูกเก็บกอบขึ้นมา เพื่อประจงใช้สมานรอยแผลให้งดงามและดำรงอยู่ต่อไป อาจกล่าวได้ว่าผู้คนในยุคสมัยของวันนี้ ล้วนต่างมีภาวะอาการที่เหงา เศร้าซึม และหมดไฟที่จะใฝ่หาสิ่งอันเป็นแรงใจ ทุกคนดูเหมือนว่าต่างเต็มไปด้วยอาการที่บอบช้ำและเจ็บช้ำ ความรู้สึกเช่นนี้แม้บางคนจะหายไปได้ง่ายๆในบางครั้ง..แต่กับส่วนใหญ่กลับจะดำดิ่งอยู่กับหายนะทางความรู้สึก จนไม่สามารถดึงตัวเองออกมาให้พ้นจากความทุกข์เศร้าอันแสนจะทรมานนั้นได้..

แบบแผนแห่งการใช้เทคนิค”คินสึงิ”อันหมายเทคนิคแห่งการผนึกเครื่องปั้นดินเผาที่แตกหักให้กลับมาเข้าด้วยกันในสภาพที่ดีเหมือนเก่าจากการซ่อมแซมด้วยทองคำ..ที่ถือเป็นการนำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการที่เรียกกันว่า “Kinsukoroi” อันหมายถึง..การช่วยรักษาและปลดปล่อยคนออกจากความเศร้า และ ความเหงาเศร้า..ได้ไม่ยาก.. “คินสึงิ” จริงๆโดยปกติจะนำไปใช้ซ่อมแซมของใช้ที่แตกหักเช่น จาน ชาม ถ้วย ที่เป็นเซรามิก และเจ้าของต้องการซ่อมแซมรักษาให้ใช้งานได้เหมือนเดิม จึงได้ใช้ครั่งทองอุดรอยแตกบิ่นของภาชนะนั้นๆ

..อันหมายถึง การใช้ครั่ง ผสมกับผงทองคำ ผงเงิน หรือผงทองคำขาว มาผสานกับรอยแตกร้าวของภาชนะนั้นๆ คำว่า “คินสึงิ” (Kintsuki)มาจากคำว่า “Kin” ที่แปลว่าทองคำ..และคำว่า “Tsugi” อันหมายถึง “การผนึกหรือผนึก” เมื่อรวมคำและรวมความกันแล้วจึงได้ความหมายว่า..การซ่อมเครื่องปั้นดินเผาด้วยครั่ง เรซิน และผงทอง รวมทั้งกาวที่ทำจากยางรัก ประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของ “คินสึงิ” นั้น เริ่มมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 15 “โชกุนAshikaga Yoshimasha” ได้ส่งถ้วยชาที่แตกแล้วไปซ่อมที่จีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชากลับมาญี่ปุ่นอีกครั้ง มันถูกซ่อม แต่กลับทำให้ดูน่าเกลียดกว่าเดิม ด้วยการใช้ลวดเย็บแปะตามรอยแตกของถ้วยชานั้น เหตุนี้ช่างซ่อมถ้วยชาวญี่ปุ่นจึงนำมันมาซ่อมใหม่อีกครั้งให้ดูดีขึ้นเสมือนเป็นถ้วยชาใหม่ ด้วยเทคนิค “คินสึงิ” นี้ หากเปรียบกับภาวะชีวิต..ก็แน่นอนว่าชีวิตของเราทุกคนล้วนต่างจมอยู่และเผชิญหน้ากับความผิดพลาดทุกผู้ทุกคน

...เราต่างประสบกับความผิดพลาดและเผชิญหน้ากับความล้มเหลวและล้มเหลวมาแทบทั้งสิ้น.แต่ตามหลักการของคินสึงิ

..ถือกันว่า ไม่มีประสบการณ์ใดที่นับว่าสูญเปล่า

..ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้ทำไปแล้วมีทั้งดีและร้าย ทั้งแย่มากและเลวร้ายมาก ครั้นเมื่อมันได้เกิดขึ้นกับชีวิตแล้วมันกลับคือบทเรียนที่ทำให้ผู้คนได้เรียนรู้มากกว่า

...มากกว่าการจะนำชีวิตให้ไปสู่ความผิดพลาดอีกหลายต่อหลายครั้ง

..ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบหรอก..เหตุนี้ “คินสึงิ” จึงเปรียบเป็นตัวช่วยให้คนเราได้มีโอกาสมองเห็นความงดงามของชีวิตที่ไม่เต็มส่วนและไม่สมบูรณ์นั้น

...ดั่งนี้ “คินสึงิ” จึงคือหลักคิดที่ทำให้คนที่ตกอยู่ในสภาพที่เลวร้าย ที่เมื่อมีโอกาสได้เข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้แล้ว ก็สามรถคืนกลับสู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิมได้

...ความล้มเหลวจักกลายเป็นบทเรียนสำคํญที่จะทำให้คนเราได้เรียนรู้ กระทั่งเกิดความตระหนักและรู้สึกขอบคุณสิ่งที่เคยทำให้เจ็บปวด อันถือเป็นการหยั่งรู้ และสอนชีวิตให้เติบโตในวันที่ชีวิตมีรอยปริแตกและบุบสลาย

...แม้จะต้องใช้เวลาที่ยาวนาน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะกระทำ

..แต่มันก็ไม่ยากจนเกินกว่าชีวิตหนึ่งจะกระทำได้

.. พัฒนาการของ “คินสึงิ” ล่วงเลยมาร่วม 400 ปี

...จุดเด่นของมันคือร่องรอยแตกหัก บาดแผลของเครื่องถ้วย

...นั่นได้กลมกลืนและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ และบางครั้งกระบวนการสร้างสรรค์ในการซ่อมแซมสิ่งที่แตกหักผุพัง ก็สามารถกลายเป็นสิ่งใหม่ที่สวยงามไม่เหมือนใคร และยืดหยุ่นกว่าทุกสิ่งที่เคยเป็น

...หลักการเช่นนี้สามารถนำมาใช้ได้ในช่วงตอนที่ชีวิตต้องเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤต

... “คินสึงิ” ยังจะช่วยเผยให้เห็นว่า ผู้คนจะเยียวยาตนเอง และเผยให้โลกได้มองเห็นรอยบิ่นที่แตกหักสีทองหลังการเยียวยา โดยสามารถเทียบเคียงกับชีวิตได้ว่า ภายหลังการซ่อมแซมเยียวยาแล้ว ชีวิตมีคุณค่าขึ้นมามากเพียงไหน

..แท้จริงแล้ว

...มนุษย์มักไม่ตระหนักถึงศักยภาพที่ตัวเองมี จวบจนจะสามารถก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่แสนสาหัสของชีวิตมาได้.. เหตุนี้มันจึงจะสอนให้ผู้คน ได้เรียนรู้ที่จะโอบกอด ทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิต

...ความไม่สมบูรณ์แบบทั้งหลายเหล่านี้ จะทำให้ชีวิตของคนเราแข็งแกร่งขึ้น

...มันคือความสามารถที่จะอดทน อดทนที่จะสงบจิตใจลงได้ นั่นเป็นสิ่งที่ผู้คนควรที่จะต้องฝึกการเรียนรู้ในทุกๆวัน เหมือนดั่งการทำสมาธิ

..คือถ้ารู้จักอดทนให้มาก ก็จะเกิดความแข็งแกร่งภายในจิตใจได้มาก

...การแคร์และการฟังเสียงภายในใจของตนเองอย่างถี่ถ้วน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น การใส่ใจที่จะดูแลภายในจิตใจของตัวเราเอง ถือเป็นมิติของการเรียนรู้ที่จะดูแลและรักตนเอง กระทั่งสามารถมองเห็นว่าตัวเองนั่นแหละคือเพื่อนที่ดีที่สุดของตัวเอง นอกจากนี้การดูแลตนเองให้ดี การทำให้ตัวเองมีสุขภาพที่ดี การทำอาหารกินเอง การนั่งสมาธิ การมองโลกในแง่บวก

..ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อการมีชีวิตอยู่ที่เป็นสุข

..โดยนัยแห่งความเป็นเนื้อแท้

...ชีวิตหาได้ต้องการที่จะที่เสพสุขผ่านการบำรุงบำเรอชีวิตอย่างท่วมท้น มากมาย แต่เพียงแค่

..ร่างกายกับจิตใจของเราได้มีส่วนสัมผัส สัมพันธ์กันผ่านอาหารที่เรากิน

...การได้รับพลังงานที่ดีผ่านกายเช่นนี้ จึงมีส่วนทำให้จิตใจก็จะได้รับพลังงานที่ดีด้วยเช่นกัน

..ที่สุดแล้วการเรียนรู้ที่จะรู้จักขอบคุณอย่างจริงใจ ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญที่สุดของ”คินสึงิ”

..ที่คนเราต้องตระหนักรู้ที่จะแสดงความขอบคุณต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต

..ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีหรือร้าย

..หรือไม่ว่าจะเป็นในแง่ดีหรือร้ายก็ตาม เป็นการปล่อยให้ แรงขับแห่งอัตตา(Ego)ของตน

..ได้มีโอกาสจัดการกับประสบการณ์ที่เกิดขึ้น

.. “เทคนิค “คินสึงิ” เป็นเทคนิคที่มีการเหลือรอยต่อสีทองอันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ นับแต่ศตวรรษที่15 เทคนิคนี้ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมาก รู้สึกชื่นชมเทคนิคนี้มาก จนถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อจะได้ซ่อมแซมมัน โดยใช้เทคนิคคินสึงิ โดยเครื่องปั้นดินเผานั้นๆ จะมีความงดงามยิ่งขึ้น หลังการซ่อมแซมทุกครั้ง

..” ว่ากันว่าการทำงานแบบ “คินสึงิ” ทำให้เราสามารถมองย้อนกลับมาถึงโลกทัศน์ที่เราเลือกมาใช้กับตัวเราได้เสมอ

..ที่สุดเราจะเชื่อว่ารอยแตกนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องปิดบัง เพราะรอยแตกเองก็นับว่ามีชีวิต มีอายุ มีเรื่องที่ตัวมันเองก็น่าจะภาคภูมิใจ “หากเรามีข้อบกพร่องอะไรบางอย่าง

...ก็ไม่ต้องหาวิธีที่จะปกปิดมัน

...แต่ควรที่จะยอมให้มันเป็นไปต่างหาก

...” เหตุนี้ “คินสึงิ”

...จึงไม่ต่างอะไรกับการชุบชีวิตใหม่อีกครั้ง

...ชุบทั้งคนในอดีตและคนในปัจจุบันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ตลอดไป แม้จะไม่ได้อยู่ในสภาวะชีวิตที่สมบูรณ์แท้จริง เหมือนดั่งเดิมที่เคยเป็นก็ตาม ให้ถือเสียว่า จุดที่แตกหักและเสียหายไปนั้นไม่ใช่จุดจบ

...แต่มันคือร่องรอยของสิ่งที่เคยเกิดขึ้น แล้วดำเนินต่อไป

...และนี่คือปรัชญาของตัว “คินสึงิ” เอง ที่สุดแล้ว

...ในข้อสรุปที่สำคัญ เราต่างไม่เคยสร้างรอยแตกให้เกิดขึ้นด้วยจงใจ

...การแตกจะต้องมีเหตุผลและเป็นปตามธรรมชาติ

...มันคือศิลปะที่เกิดขึ้นจากจังหวะและเวลา

... “สังเกตได้ว่า จังหวะแตกของแต่ละใบ จะทำให้เกิดรอยแตกที่ไม่เหมือนกัน รอยทองบนถ้วยที่แตกก็เช่นกัน แต่ละใบย่อมไม่มีทางที่จะเหมือนกัน นั่นคือรากฐานของความคิดที่ทำให้คิดได้ว่า

.. คนเรานั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แม้จะเรียนมาจากที่เดียวกัน

...ทั้งนี้ก็เพราะว่า

...เราแต่ละคนต่างผ่านเรื่องราวมาไม่เหมือนกัน.ร่องรอยชีวิตก็ไม่เหมือนกัน

...หากแม้นใครก็ตามไม่เคยเจออุปสรรคอะไรในชีวิต

...มีชีวิตที่สมบูรณ์ก็ต้องถือว่าพวกเขาโชคดีจริงๆ

...ด้วยเหตุนี้ คนโดยทั่วไปจึงอย่าไปหวังถึงชีวิตที่สมบูรณ์อะไรกันให้มาก แต่ขอให้ตั้งมั่นและรับรู้เพียงว่า

..คนเรานั้นถ้ามีบาดแผลเกิดแก่ชีวิตบ้างก็จะดี” นี่คือหนังสือแห่งการสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิตอย่างมีความหมายต่อการดำรงอยู่และดำเนินไปของตัวตนอันสัตย์ซื่อ

...ผ่านรอยบาดเจ็บของชีวิตอันสาหัส การสื่อสารความคิดออกมาเพื่อการทำความเข้าใจต่อการเยียวยาชีวิตที่แตกหัก ผ่านหลักการของ “คินสึงิ” มันคือภาวะเปรียบเทียบอันสูงส่ง

...ต่อความใฝ่รู้ และตีความหมายของโลกและชีวิตเข้าด้วยกันในนัยของการหยั่งรู้อันถาวรล้ำลึก “ง่ายงาม และดูเหมือนจะแสนธรรมดา”

..หากแต่ผลลัพธ์ที่ปรากฏกลับมีค่าเสมอจิตใจ และหลักคิดทางปัญญาญาณเสมอ

.. “โทมัส นาวาโร”สร้างสรรค์ทิศทางในการเขียนหนังสือเล่มนี้ผ่านศาสตร์ของการเรียนรู้ในหลายๆส่วนที่นำมาประกอบสร้างกันเป็นใจความทางความคิดอันเอกอุ

..นับแต่คุณค่าของความฝัน

...ศิลปะแห่งแก่นแท้

...การมีชีวิตอยู่กับเรื่องอันเลวร้าย

...กระทั่งมาถึงการกอบเก็บซาก การซ่อมแซมการงาน ศิลปะแห่งความอุตสาหะ

...สู่การหลอมรวมในศิลปะแห่งการซ่อมแซมชีวิต รายละเอียดที่ผูกโยงและร้อยเรียงให้เห็นถึงความงามของบาดแผล

..ช่วยทำให้หนังสือจากการสรรค์สร้างของ “โทมัส นาวาโร” เล่มนี้

...มีชีวิตที่ยึดโยงกับชีวิตได้อย่างแน่นหนักโดยทันที

...สำนวนแปลและนัยแห่งการถอดความโดย “วุฒิชัย กฤษณปกรณ์กิจ”

...ถือเป็นคุณค่าหนึ่งต่อการนบน้อมในการแพร่ขยายความคิดและความหมายแห่ง “คินสึงิ” ให้เป็นภาวะที่งดงาม

...และแทรกลึกลงไปต่อความมั่นใจในการฟื้นตัวใหม่ของคนทั้งโลก

...ดั่งนั้น “ก็เป็นเช่นเดียวกับแผลบนร่างกาย

...เมื่อเราถูกทำร้ายร่างกายจนเป็นแผลบาดลึก เราก็ควรรักษามันให้หายดี ไม่ควรทำเป็นลืมๆมันไปหรือปล่อยให้กัดหนอง เพราะเส้นทางชีวิตนั้นยาวไกล และหากเราจะเดินทางไปพร้อมรอยแผลบาดเจ็บตลอดเวลา เราอาจอ่อนล้าจนไม่เห็นความงามรายทาง หรือที่จะแย่ไปกว่านั้นก็คืออาจจะหลงทิศหลงทางไปเลย เหตุนี้ การเยียวยาแผลใจจากการโดนทำร้ายจึงเป็นเรื่องสำคัญ และหนังสือ “คินสึงิ” เล่มนี้ก็อาจจะเป็นดั่งรักทอง ที่สามารถ นำไปใช้สมานแผลในใจที่เจ็บปวดมายาวนาน

..ให้หายขาดได้”

จาก https://siamrath.co.th/n/215734

อ่านไปก้อน เด๋ว จัดอักษรและเอาภาพมาแปะคั่นสายตา จะได้พักตา อ่านสบายตา สักครู่