[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 ธันวาคม 2566 23:33:30



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - กสม. จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล ปี 2566 ‘ไอลอว์-SWING’ รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานเด่นด้
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 15 ธันวาคม 2566 23:33:30
กสม. จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล ปี 2566 ‘ไอลอว์-SWING’ รับรางวัลองค์กรที่มีผลงานเด่นด้านสิทธิฯ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-12-15 15:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ที่มาภาพ:  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม. จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล ปี 2566  มอบ 9 รางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานเด่นด้านสิทธิฯ ‘ไอลอว์-SWING’ ติดโผด้วย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53399279274_0acb05107b_b.jpg" /></p>
<p>15 ธ.ค. 2566 วานนี้ (14 ธ.ค.)  ทีมสื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแจ้งต่อผู้สื่อข่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม ประจำปี 2566 ในหัวข้อ 75 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน “ศักดิ์ศรี เสรีภาพ และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” ณ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ</p>
<p>พรประไพ  กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดงานว่า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ลงมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 48 ประเทศแรกที่ร่วมรับรองปฏิญญาสากลฉบับนี้ อันถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์สำคัญที่เป็นพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติต่างดำเนินการและผลักดันเพื่อให้สิทธิที่ระบุไว้ในปฏิญญาเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ดี ผ่านไป 75 ปี สิทธิมนุษยชนก็ยังคงเป็นประเด็นที่ท้าทายอย่างมากในปัจจุบัน ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบอยู่ทั่วไป ซึ่งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ ล้วนเห็นตรงกันว่า สถานการณ์ในขณะนี้เลวร้ายกว่าเมื่อ 5-10 ปีที่ผ่านมา และนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง มีความเหลื่อมล้ำในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง</p>
<p>สำหรับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ยังมีปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ความตระหนักรู้และเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน กสม. จึงได้นำประเด็นที่มีเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก มากำหนดเป็นนโยบายการขับเคลื่อนงานที่สำคัญสำหรับปี 2567 ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่</p>
<p>สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกสม. จะร่วมกับทุกภาคส่วนพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นหลักประกันการเข้าถึงความยุติธรรมสำหรับทุกคนตลอดทั้งกระบวนการ (Access to Justice for All) โดยขับเคลื่อน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และผลักดันร่าง พระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม เพื่อให้มีหน่วยงานกลางและมีการจัดการเรื่องทะเบียนประวัติอาชญากรรมที่ไม่กระทบต่อสิทธิของประชาชนจนเกินสัดส่วน</p>
<p>สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) อันเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่กระทบต่อสิทธิในชีวิตและสุขภาพ และ</p>
<p>สิทธิผู้สูงอายุ โดย กสม. จะผลักดันทั้งในระดับประเทศและกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ให้สิทธิของผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนกระแสหลัก และสร้างหลักประกันว่าผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยังมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์</p>
<p>“ในโอกาสครบรอบ 75 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในปีนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญที่ผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะได้ถอดบทเรียนของภารกิจงานส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมา และมองไปข้างหน้าถึงการทำงานเพื่อจัดการกับความท้าทายที่ยังมีอยู่ และปัญหาในอนาคต”  พรประไพ กล่าว</p>
<p>เอกสิริ  ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงระบุถึงพัฒนาการเชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในช่วงที่ผ่านมา เช่น ไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้แผนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรียังได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... หรือร่างพระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งเป็นการปูทางสู่กระบวนการพิจารณาและผ่านกฎหมายที่จะมีผลส่งเสริมสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ เห็นความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ และนำมาตรฐานระหว่างประเทศมาส่งเสริมการพัฒนาในประเทศ จึงมุ่งมั่นดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ HRC วาระปี ค.ศ. 2025 - 2027 ของไทย เพื่อสานต่อความร่วมมือกับประชาคมโลกในการแสวงหาแนวทางการป้องกันและรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน</p>
<p>จากนั้น กสม. ได้มอบรางวัลบุคคลและองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยผู้รับรางวัลทั้ง 9 รางวัล ได้ขึ้นรับโล่เกียรติยศและกล่าวถึงความรู้สึก และความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในมิติต่าง ๆ ตามลำดับ ดังนี้</p>
<ol>
<li>โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw</li>
<li>อลงกรณ์  เหมือนดาว บรรณาธิการ รายการข่าว 3 มิติ</li>
<li>เดโช  ไชยทัพ นายกสมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ</li>
<li>รองศาสตราจารย์ บุญเลิศ  วิเศษปรีชา อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</li>
<li>รอซิดะห์  ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (N-Wave)</li>
<li>จำนงค์  จิตรนิรัตน์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาชุมชน/เครือข่ายกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล 5 จังหวัดอันดามัน</li>
<li>ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)</li>
<li>มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)</li>
<li>ธนานุช  สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวอิสระ</li>
</ol>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53399271274_119c6e56d2_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตัวแทนโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53398960271_7ec7a1dc24_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตัวแทนมูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)</span></p>
<p>ช่วงท้ายของงานยังมีการเสวนา หัวข้อ “ศักดิ์ศรี เสรีภาพ และความยุติธรรมสำหรับทุกคน” ร่วมเสวนาโดย พิศาล  มาณวพัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา พันตำรวจโท ประวุธ  วงศ์สีนิล รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เสาวลักษณ์  ทองก๊วย นายกสมาคมส่งเสริมศักยภาพสตรีพิการ สมพงค์  สระแก้ว ผู้อำนวยมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน จำนงค์  หนูพันธ์ ประธานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ดำเนินรายการโดย วสันต์  ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ</p>
<p>โดยวงเสวนาได้กล่าวถึงหลักการสิทธิมนุษยชนที่เป็นเรื่องของทุกคน เกี่ยวโยงกัน มีผลต่อการยอมรับในระดับสากล และยังมีผลกระทบต่อการค้าการลงทุนด้วย โดยรัฐมีหน้าที่ในการเคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม ทำให้สิทธินั้นเกิดขึ้นได้จริง นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนายังได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน เช่น สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องเป็นความยุติธรรมสำหรับทุกคน สิทธิในที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มคนจนเมืองที่พบอุปสรรคและความเหลื่อมล้ำในการพิสูจน์สิทธิหรือไม่ได้รับโอกาสในการจัดสรรที่ดินอย่างเหมาะสม อุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมาตรฐานขั้นต่ำของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ คนไร้รัฐไร้สัญชาติ คนพิการ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ทั้งนี้ ในเวทียังได้กล่าวถึงการออกแบบนโยบายสาธารณะที่ต้องครอบคลุมและคำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างกันของประชากรแต่ละกลุ่ม โดยหน่วยงานของรัฐควรมีการทำงานที่เชื่อมประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้คนทุกกลุ่มได้มีสิทธิและศักดิ์ศรีเสมอภาคกัน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สังคม[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วัฒนธรรม[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุณภาพชีวิต[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">วันสิทธิมนุษยชนสากล[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/ilaw" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">iLaw[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-swing" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING)[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107250