[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 04:45:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พจนานุกรมพุทธศาสน์ (เรียงตามตัวพยัญชนะ ก ถึงพยัญชนะตัวสุดท้าย อ)  (อ่าน 24070 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 มกราคม 2556 12:31:42 »

.
 
ยิ้ม
- พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ เป็นตำราทางพระพุทธศาสนา รวบรวมและเรียบเรียงโดย  พระราชวรมุนี (ประยุทธ์  ปยุตฺโต) สมณศักดิ์ปัจจุบัน พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์เผยแพร่ โดย "ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์" เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗  

- หนังสือดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทหนังสืออ้างอิง ซึ่งอธิบายคำศัพท์ทั่วไปทุกประเภทที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น หลักธรรม พระวินัย พิธีกรรม  ประวัติบุคคลสำคัญ  ตำนาน และวรรณคดีที่สำคัญ  เห็นว่าหนังสือดังกล่าว มีประโยชน์เกื้อกูลแก่การศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทำการคัดลอกเผยแพร่ใน www.sookjai.com



พจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลศัพท์
โดย พระราชวรมุนี (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)


หมวดพยัญชนะ

กกุธานที  แม่น้ำที่พระอานนท์ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้า ให้ไปเสวยและสรงชำระพระกาย ในระหว่างเดินทางไปเมืองกุสินารา ในวันปรินิพพาน

กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;  ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน  โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติพอสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)  ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา  เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒  ขยายต่ออีกไปถึงกลางเดือน ๔);  ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้นเรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);  สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;  ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน  ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
 
ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา; ดู จำพรรษา)  ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น

คำถวายผ้ากฐิน แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม (ว่า ๓ จบ)  แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ,  กฐินจีวรทุสฺสํ,  สงฺฆสฺส,  โอโณชยาม,  สาธุ  โน  ภนฺเต,  สงฺโฆ,  อิมํ,  สปริวารํ,  กฐินทุสฺสํ,  ปฏิคฺคณฺหาตุ,  ปฎิคฺคเหตฺวาจ,  อิมินา  ทุสฺเสน,  กฐินํ,  อตฺถรตุ,  อมฺหากํ,  ทีฆรตฺตํ,  หิตาย,  สุขาย.  แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ  ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร  กับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์  ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้  เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ

กฐินทาน  การทอดกฐิน,  การถวายผ้ากฐิน  คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร  นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้า
กฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้ว ปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่น ๆ อีกด้วยจำนวนมากเรียกว่า บริวารกฐิน)

กฐินัตถารกรรม  การกรานกฐิน

กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ ได้รู้แล้ว สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว  นิโรธ ควรทำให้แจ้งได้ทำให้แจ้งแล้ว มรรค ควรเจริญ ได้เจริญคือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว

กตเวทิตา ความเป็นคนกตเวที,  ความเป็นผู้สนองคุณท่าน

กตัญญุตา ความเป็นคนกตัญญู,  ความเป็นผู้รู้คุณท่าน

กตัญญูกตเวทิตา ความเป็นคนกตัญญูกตเวที

กตัญญูกตเวที ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน  แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน;  ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต  แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)
  
กตัตตากรรม  กรรมสักว่าทำ,  กรรมที่เป็นกุศลก็ตามอกุศลก็ตาม  สักแต่ว่าทำคือไม่ได้จงใจจะให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง หรือมีเจตนาอ่อนไม่ชัดเจน  ย่อมให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่น ท่านเปรียบเสมือนคนบ้ายิงลูกศร ย่อมไม่มีความหมายจะให้ถูกใคร  ทำไปโดยไม่ตั้งใจชัดเจน (ดู กรรม ๑๒)

กติกา (ในคำว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”)  ข้อตกลง,  ข้อบังคับ, กติกาของสงฆ์ในกรณีนี้ คือข้อที่สงฆ์ ๒ อาวาส มีข้อตกลงกันไว้ว่า ลาภเกิดในอาวาสหนึ่ง  สงฆ์อีกอาวาสหนึ่งมีส่วนได้รับแจกด้วย  ทายกกล่าวคำถวายว่า “ข้าพเจ้าถวายตามกติกาของสงฆ์”  ลาภที่ทายกถวายนั้น ยอมตกเป็นของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสที่ทำกติกากันไว้ด้วย

กถา  ถ้อยคำ, เรื่อง, คำกล่าว, คำอธิบาย

กถาวัตถุ  ถ้อยคำที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย  ๒. สันตุฎฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ  ๓. ปวิเวกกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายสงัดใจ  ๔. อสังสัคคกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่  ๕. วิริยารัมภกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร  ๖. สีลกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล  ๗. สมาธิกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น  ๘. ปัญญากถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา  ๙. วิมุตติกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์  ๑๐. วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

กนิฏฐภาดา, กนิษฐภาดา,  น้องชาย

กบิลดาบส  ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์  พระราชบุตรและพระราชบุตรี ของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส  จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส

กบิลพัสดุ์  เมืองหลวงของแคว้นสักกะ หรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส  บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
กปิสีสะ  ไม้ที่ทำเป็นรูปหัวลิง  ในวันที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน  พระอานนทเถระ ยืนเหนี่ยวไม้นี้ร้องไห้เสียใจว่าตนยังไม่สำเร็จพระอรหัต พระพุทธเจ้าก็จักปรินิพพานเสียแล้ว

กพฬิงการาหาร  อาหารคือคำข้าวได้แก่อาหารที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย, อาหารที่เป็นวัตถุ

กรณียะ เรื่องที่ควรทำ, ข้อที่พึงทำ, กิจ

กรมการ  เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่ง ๆ เช่น กรรมการจังหวัด  กรมการอำเภอ เป็นต้น

กรมพระสุรัสวดี  ชื่อกรมสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรวบรวมบัญชีเลข หรือชายฉกรรจ์

กรรโชก  ขู่เอากิริยาหรือวาจาให้กลัว (แผลงมาจาก กระโชก)

กรรณ  หู

กรรม  การกระทำ  หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม  แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตายก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า “กรรมดี”  ที่ชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว”

กรรม ๒  กรรมจำแนกตามคุณภาพหรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุมี ๒ คือ ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล กรรมชั่ว คือเกิดจากอกุศลมูล  ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี คือเกิดจากกุศลมูล

กรรม ๓ กรรมจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม มี ๓ คือ ๑. กายกรรม การกระทำทางกาย ๒. วจีกรรม การกระทำทางวาจา  ๓. มโนกรรม การกระทำทางใจ

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือจำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้  ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า  ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไป  ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล  หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด  ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือ เข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม  ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาลงหรือสั้นเข้า  ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว  หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรกในการให้ผล ได้แก่ ๙. ครุกกรรม กรรมหนักให้ผลก่อน  ๑๐. พหุลกรรม หรืออาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชินให้ผลรองลงมา  ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มีสองข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒. กตัตตากรรม หรือกตัตตาวาปนกรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือเจตนาอ่อนหรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

กรรมกรณ์ เครื่องลงอาชญา, ของสำหรับใช้ลงโทษ เช่น โซ่ ตรวน ขื่อ คา เป็นต้น

กรรมการ  บุคคลในคณะซึ่งร่วมกันทำงานบางอย่างที่ได้รับมอบหมาย

กรรมกิเลส   กรรมเครื่องเศร้าหมอง, การกระทำที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง มี ๔ อย่างคือ ๑. ปาณาติบาต   การทำชีวิตให้ตกล่วงคือ ฆ่าฟันสังหารกัน  ๒. อทินนาทาน   ถือเอาของที่เจ้าของเขามิได้ให้คือลักขโมย  ๓. กาเมสุมิจฉาจาร   ประพฤติผิดในกาม  ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

กรรมฐาน  ดู กัมมัฏฐาน

กรรมลักษณะ  ดู กัมมลักขณะ

กรรมวัฏฏ์  ดู  กัมมวัฏฏ์

กรรมวาจา  คำประกาศกิจในท่ามกลางสงฆ์,  การสวดประกาศ แบ่งเป็น ๒ คือ ญัตติ ๑  อนุสาวนา ๑

กรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจาประกาศในท่ามกลางสงฆ์ในการอุปสมบท

กรรมวาจาวิบัติ เสียเพราะกรรมวาจา, กรรมวาจาบกพร่องใช้ไม่ได้

กรรมวาจาสมบัติ ความสมบูรณ์แห่งกรรมวาจา, คำสวดประกาศถูกต้องใช้ได้

กรรมวิปากญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม  แม้จะมีกรรมต่าง ๆ ให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะล่วงรู้ได้ว่าอันใดเป็นผลของกรรมใด

กรรมสิทธิ์ ความเป็นเจ้าของทรัพย์, สิทธิที่ได้ตามกฎหมาย

กรรมมารหะ  ดู กัมมารหะ

กรรแสง  ร้องไห้  บัดนี้เขียน กันแสง

กรวดน้ำ  ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่;  เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป;  คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า “อิทัง  โน  ญาตีนัง  โหตุ”  ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่.....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ)  และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด  จะต่ออีกก็ได้ว่า “สุขิตา  โหนฺตุ  ญาตโย”  ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด

กระทู้  หัวข้อ, เค้าเงื่อน

กระแสความ แนวความ

กระแสเทศนา  แนวเทศนา

กระหย่ง (ในคำว่า “นั่งกระหย่ง”)  นั่งคุกเข่าเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น  ส้นเท้าทั้งสองรับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่งก็ได้;  บางแห่งว่าหมายถึงนั่งยอง ๆ

กรานกฐิน  ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง  เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์ เพื่ออนุโมทนา  ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่าผู้กราน

พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบสามเดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป)  ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ  ภิกษุรูปนั้นทำกิจ ตั้งแต่ ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งใน-ไตรจีวร  แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้เพื่ออนุโมทนา  และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน  ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม ก็ไม่มี (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง  คือทำให้ตึง  กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่าไม้สะดึง  กรานกฐิน ก็คือ ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)  เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี

กรีษ, กรีส  คูถ  อุจจาระ  ขี้

กรุณา ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์, ความหวั่นใจ เมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์ของเขา  ดู พรหมวิหาร

กรุย หลักที่ปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวทางหรือระยะทาง

กล่าวคำอื่น ในประโยคว่า “เป็นปาจิตติยะ   ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น”  ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย

กวฬิงการาหาร   ดู  กพฬิงการาหาร

กษัตริย์  พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย, ชนชั้นปกครอง หรือนักรบ

กสาวเภสัช  น้ำฝาดเป็นยา,  ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา  น้ำฝาดกระดอม  น้ำฝาดบอระเพ็ด เป็นต้น

กสิกรรม  การทำนา,  การเพาะปลูก

กสิณ  วัตถุอันจูงใจ คือ จูงใจให้เข้าไปผูกอยู่  เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔:- ๑) ปฐวี ดิน  ๒) อาโป น้ำ  ๓) เตโช ไฟ  ๔) วาโย ลม วรรณกสิณ ๔:- ๕) นีลํ  สีเขียว  ๖) ปีตํ  สีเหลือง  ๗)  โลหิตํ  สีแดง  ๘)  โอทาตํ  สีขาว  และ ๙)  อาโลโก   แสงสว่าง  ๑๐)  อากาโส   ที่ว่าง

กหาปณะ  ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท

กะเทย  คนหรือสัตว์ที่ไม่ปรากฏว่าเป็นชายหรือหญิง

กังขาเรวตะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเดิมเป็นบุตรของตระกูลที่มั่งคั่ง  ชาวพระนครสาวัตถี  ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง มีความเลื่อมใสขอบวช  ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัต  ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นผู้ยินดีในฌานสมาบัติ

กังสดาล  ระฆังวงเดือน

กัจจานโคตร,  กัจจายนโคตร  ตระกูลพราหมณ์กัจจานะ หรือกัจจายนะ

กัจจายนปุโรหิต  ปุโรหิตชื่อกัจจายนะ เป็นปุโรหิตของพระเจ้าจันฑปัชโชต กรุงอุชเชนี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า บรรลุพระอรหัตแล้วขออุปสมบท  มีชื่อในพระศาสนาว่า พระมหากัจจายนะ  พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางอธิบายความของคำย่อให้พิสดาร

กัจฉะ, กัจฉะประเทศ  รักแร้

กัญจนา  เจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระมเหสีของพระเจ้าสีหหนุ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระชนนีของพระเจ้าสุทโธทนะ  เป็นพระอัยยิกาของเจ้าชายสิทธิตถะ

กัณฐกะ   ชื่อม้าสีขาวที่พระมหาบุรุษทรงในวันออกผนวช

กัณฐชะ  อักษรเกิดในคอ คือ อ อา  ก ข ค ฆ ง

กัณฑ์  หมวด,  ตอน,  ส่วนของเรื่อง

กัณฑกสามเณร  ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล  ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย  เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี

กัณหปักข์ ๑. ข้างแรม  ๒. ฝ่ายดำ คือ ฝ่ายตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง เขียน กัณหปักษ์ ก็มี

กัตติกมาส เดือน ๑๒

กัตติกา ๑. ดาวลูกไก่  ๒. เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ  ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

กัตตุกัมยตาฉันทะ  ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ,  ความต้องการที่จะทำ  ได้แก่ ฉันทะที่เป็นกลาง ๆ ดีก็ได้ ชั่วก็ได้  ต่างจากกามฉันทะที่เป็นแต่ฝ่ายชั่ว

กันดาร  อัตคัด,  ฝืดเคือง,  หายาก,  ลำบาก,  แห้งแล้ง  ทางที่ผ่านไปยาก

กัป, กัลป์  กาลกำหนด,  ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาล  ประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)  ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี  มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง  จนกว่าภูเขาลูกนั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น;  กำหนดอายุของโลก;  กำหนดอายุเรียกเต็มว่า อายุกัป  เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

กัปปมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คนของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

กัปปาสิกะ  ผ้าทำด้วยฝ้าย  คือผ้าสามัญ

กัปปิยะ  สมควร,  ควรแก่สมณะบริโภค,  ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉันได้ เช่น ข้าวสุก จีวร  ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ  แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ  สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ

กัปปิยการก  ผู้ทำของที่สมควรแก่สมณะ,  ผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ,  ลูกศิษย์พระ

กัปปิยกุฎี  เรือนเก็บของที่เป็นกัปปิยะ ดู กัปปิยภูมิ

กัปปิยบริขาร   เครื่องใช้สอยที่สมควรแก่สมณะ,  ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ

กัปปิยภัณฑ์ ของใช้ที่สมควรแก่ภิกษุ  สิ่งของที่สมควรแก่สมณะ

กัปปิยภูมิ ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา  กับปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้กันแต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า “กปฺปิยภูมึกโรม” แปลว่าเราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑  โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑  สัมมติกา  กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ  ได้แก่กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑

กปฺปิเย  อกปฺปิยสญฺญิตา   อาการที่ต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร

กัปปิละ  ชื่อพราหมณ์นายบ้านของหมู่บ้านพราหมณ์หมู่หนึ่ง ในแขวงกรุงราชคฤห์  เป็นบิดาของปิปผลิมาณพ

กัมปิลละ  ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นปัญจาละ

กัมพล  ผ้าทอด้วยขนสัตว์ เช่นสักหลาด

กัมโพชะ   แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อ ทวารกะ  บัดนี้อยู่ในประเทศอาฟกานิสถาน

กัมมขันธกะ  ชื่อหมวดหนึ่งในคัมภีร์จุลลวรรค  พระวินัยปิฎก ว่าด้วยนิคหกรรม ๕ ประเภท

กัมมลักขณะ  การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้,  กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่น ๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน  เป็นกัมมลักขณะ  ในอปโลกนกรรม  การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย  เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม  ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย  เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม

กัมมวัฏฏ์  วนคือกรรม,  วงจรส่วนกรรม หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท  ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ  ดู ไตรวัฏฏ์

กมฺมวิปากชา  อาพาธา   ความเจ็บไข้เกิดแต่วิบากของกรรม

กัมมสัทธา  ดู สัทธา

กัมมัฏฐาน   ที่ตั้งแห่งการงาน,  อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ,  อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน  อุบายสงบใจ ๑  วิปัสสนากัมมัฏฐาน  อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน)  ดู ภาวนา

กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ กสิณ ๑๐  อสุภะ ๑๐  อนุสสติ ๑๐  พรหมวิหาร ๔  อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑  จตุธาตุววัตถาน ๑  อรูป ๔

กัมมัญญตา  ความควรแก่การงาน, ภาวะที่ใช้การได้ หรือเหมาะแก่การใช้งาน, ความเหมาะงาม

กัมมัสสกตาสัทธา   ความเชื่อว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  ดู สัทธา

กัมมารหะ  ผู้ควรแก่กรรม คือบุคคลที่ถูกสงฆ์ทำกรรม เช่น ภิกษุที่สงฆ์พิจารณาทำปัพพาชนียกรรม  คฤหัสถ์ที่ถูกสงฆ์ดำเนินการคว่ำบาตร เป็นต้น

กัลบก  ช่างตัดผม,  ช่างโกนผม

กัลป์  ดู กัป

กัลปนา  ๑. ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด  ๒ ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย

กัลยาณคุณ  คุณอันบัณฑิตพึงนับ,  คุณธรรมที่ดีงาม,  คุณงามความดี

กัลยาณชน  คนประพฤติดีงาม, คนดี

กัลยาณธรรม  ธรรมอันดี,  ธรรมดีงาม,  ธรรมของกัลยาณชน  ดู เบญจธรรม

กัลยาณปุถุชน  คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี,  ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

กัลยาณมิตร  เพื่อนที่ดี,  มิตรผู้มีคุณอันบัณฑิตพึงนับ (คุณสมบัติ  ดู เพื่อน)

กัลยาณมิตตตา  ความมีเพื่อนเป็นคนดี ไม่คบคนชั่ว

กัลยาณี  นางงาม,  หญิงงาม,  หญิงที่มีคุณธรรมน่านับถือ

กัลลวาลมุตตคาม  ชื่อหมู่บ้าน อยู่ในแคว้นมคธ  พระโมคคัลลานะอุปสมบทได้ ๗ วัน ไปทำความเพียรจนอ่อนใจ นั่งโงกง่วงอยู่ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรด จนได้สำเร็จพระอรหัตที่หมู่บ้านนี้

กัสสปะ  ๑. พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต  ดู พระพุทธเจ้า ๕  ๒. ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ  ๓. หมายถึง กัสสปสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ  นทีกัสสปะ  คยากัสสปะ  เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์  ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งสามพี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า

กัสสปโคตร ตระกูลพราหมณ์กัสสปะ

กัสสปสังยุตต์  ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่งในคัมภีร์สังยุตตนิกาย  รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่

กาจ ร้าย, กล้า, เก่ง

กาพย์ คำร้อยกรองที่แต่งทำนองฉันท์ แต่ไม่นิยมครุลหุเหมือนฉันท์ทั้งหลาย

กาม  ความใคร่,  ความอยาก,  ความปรารถนา,  สิ่งที่น่าปรารถนา  น่าใคร่,  กามมี ๒ คือ ๑. กิเลสกาม   กิเลสที่ทำให้ใคร่  ๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ

กามฉันท์  ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,  ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓

กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม,  โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น  

กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม,  ความใคร่กาม

กามสมบัติ  สมบัติคือกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์

กามสังวร  ความสำรวมในกาม,  การรู้สึกยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)

กามสุข  สุขในทางกาม,  สุขที่เกิดจากกามารมณ์
กามสุขัลลิกานุโยค  การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่งในบรรดาที่สุดสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ๑  อัตตกิลมถานุโยค ๑



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 12:55:50 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 26 มกราคม 2556 12:37:29 »

.

กัสสปะ ๑. พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต  ดู พระพุทธเจ้า ๕  ๒. ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลมาณพ  ๓. หมายถึง กัสสปสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ  นทีกัสสปะ  คยากัสสปะ  เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์  ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้งสามพี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า

กัสสปโคตร   ตระกูลพราหมณ์กัสสปะ

กัสสปสังยุตต์ ชื่อเรียกพระสูตรหมวดหนึ่งในคัมภีร์สังยุตตนิกาย  รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับพระมหากัสสปไว้เป็นหมวดหมู่

กาจ ร้าย, กล้า, เก่ง

กาพย์ คำร้อยกรองที่แต่งทำนองฉันท์ แต่ไม่นิยมครุลหุเหมือนฉันท์ทั้งหลาย

กาม  ความใคร่,  ความอยาก,  ความปรารถนา,  สิ่งที่น่าปรารถนา  น่าใคร่,  กามมี ๒ คือ ๑. กิเลสกาม  กิเลสที่ทำให้ใคร่  ๒. วัตถุกาม  วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ

กามฉันท์  ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น,  ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

กามตัณหา  ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓

กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม,  โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น
  
กามราคะ  ความกำหนดด้วยอำนาจกิเลสกาม,  ความใคร่กาม

กามสมบัติ สมบัติคือกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์

กามสังวร ความสำรวมในกาม,  การรู้สึกยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์ไม่ให้หลงใหลหมกมุ่นในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส (ข้อ ๓ ในเบญจธรรม)

กามสุข  สุขในทางกาม,  สุขที่เกิดจากกามารมณ์

กามสุขัลลิกานุโยค   การประกอบตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข เป็นที่สุดอย่างหนึ่งในบรรดาที่สุดสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค ๑  อัตตกิลมถานุโยค ๑

กามสุคติภูมิ  กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่าสุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)

กามารมณ์ ๑. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ  ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง ๒. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม

กามาวจร  ซึ่งท่องเที่ยวไปในกามภพ, ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับกาม

กามาสวะ  อาสวะคือกาม,  กิเลสดองอยู่ในสันดานที่ทำให้เกิดความใคร่  ดู อาสวะ

กามุปาทาน  ความยึดติดถือมั่นในกาม  ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นของเรา  จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน  ลุ่มหลวง  เข้าใจผิด  ทำผิด

กาเมสุมิจฉาจาร  ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,  ความผิดประเวณี

กาเมสุ  มิจฉาจารา  เวรมณี  เว้นจากประพฤติในกาม,  เว้นการล่วงประเวณี

กายกรรม  การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์  เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น

กายกัมมัญญตา ความควรแก่การงานแห่งนามกาย,  ธรรมชาติที่ทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้อยู่ในภาวะที่จะทำงานได้ดี (ข้อ ๑๔ ในโสภณเจตสิก ๒๕

กายคตาสติ,  กายสติ สติที่เป็นไปในกาย,  สติอันพิจารณากายให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด  ไม่งาม น่ารังเกียจ  ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา

กายทวาร ทวารคือกาย, กายในฐานเป็นทางทำกรรม, ทางกาย

กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ ๑.ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์  ๒. อทินนาทาน   ลักทรัพย์  ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม  ดู ทุจริต

กายบริหาร การรักษาร่างกายให้เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะ เช่น ไม่ไว้ผมยาวเกินไป  ไม่ไว้หนวดเครา  ไม่ไว้เล็บยาว  ไม่ผัดหน้า  ไม่แต่งเครื่องประดับกาย  ไม่เปลือยกาย เป็นต้น

กายประโยค การประกอบทางกาย,  การกระทำทางกาย

กายปัสสันธิ  ความสงบรำงับแห่งนามกาย,  ธรรมชาติทำนามกาย คือเจตสิกทั้งหลายให้สงบเย็น (ข้อ ๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายปาคุญญตา   ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย,  ธรรมชาติทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลาย ให้แคล่วคล่องว่องไวรวดเร็ว (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายมุทุตา  ความอ่อนโยนแห่งนามกาย,  ธรรมชาติทำนามกาย คือ เจตสิกทั้งหลายให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๒ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายลหุตา  ความเบาแห่งนามกาย,  ธรรมชาติทำนามกาย คือ กองเจตสิกให้เบา (ข้อ ๑๐ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

กายวิญญัติ  ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมาย เช่น สั่นศีรษะ  โบกมือ  ขยิบตา  ดีดนิ้ว เป็นต้น

กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย,  โผฎฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น

กายสมาจาร  ความประพฤติทางกาย

กายสังขาร ๑. ปัจจัยปรุงแต่งกาย ได้แก่ลมหายใจเข้า หายใจออก  ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ กายสัญเจตนา หรือความจงใจทางกาย ซึ่งทำให้เกิดกายกรรม

กายสังสัคคะ   ความเกี่ยวข้องด้วยกาย,  การเคล้าคลึงร่างกาย, เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๒ ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัดถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม,  การจับต้องกายหญิงโดยมีจิตกำหนัด

กายสัมผัส  สัมผัสทางกาย,  อาการที่กาย  โผฎฐัพพะ  และกายวิญญาณประจวบกัน

กายสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัส,  ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่กาย โผฏฐัพพะและกายวิญญาณประจวบกัน

กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์  เว้นจากลักทรัพย์  เว้นจากประพฤติผิดในกาม  ดู กายทุจริต, สุจริต

กายานุปัสสนา สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นสติปัฏฐานข้อหนึ่ง  ดู สติปัฏฐาน

กายิกสุข  สุขทางกาย  เช่น ได้ยินเสียงไพเราะ ลิ้มรสอร่อย ถูกต้องสิ่งที่อ่อนนุ่ม เป็นต้น

กายุชุกตา   ความซื่อตรงแห่งนามกาย, ธรรมชาติที่ทำนามกายคือเจตสิกทั้งหลายให้ซื่อตรง (ข้อ ๑๘ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

การก ผู้กระทำกรรมได้ตามพระวินัย มี ๓ คือ สงฆ์ คณะ และ บุคคล เช่น ในการทำอุโบสถ  ภิกษุตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปเรียก สงฆ์  สวดปาฏิโมกข์ได้  ภิกษุสองหรือสามรูป เรียก คณะ  ให้บอกความบริสุทธิ์ได้  ภิกษุรูปเดียวเรียกว่า บุคคล ให้อธิษฐาน

การกสงฆ์ สงฆ์ผู้กระทำ หมายถึงสงฆ์หมู่หนึ่งผู้ดำเนินการในกิจสำคัญ เช่น การสังคายนา หรือในสังฆกรรมต่าง ๆ
 
การงานชอบ  ดู สัมมากัมมันตะ

กาล  เวลา  

กาละ  เวลา,  คราว,  ครั้ง,  หน

กาลกิริยา  “การกระทำกาละ”, การตาย, มรณะ

กาลทาน ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน  การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น  ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้

กาลเทศะ  เวลาประเทศ, เวลา และสถานที่

กาลวิภาค  การแจกกาลออกเป็นเดือน ปักษ์ เป็นต้น

กาลัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในการประกอบกิจนั้น ๆ เช่น รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร เป็นต้น (สัปปุริสธรรม ๗  ข้อ ๕)

กาลามสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาตรอังคุตตรนิกาย  พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล  ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา, ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา,  ด้วยการเล่าลือ,  ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์,  ด้วยตรรก,  ด้วยการอนุมาน,  ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล,  เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน,  เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ,  เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา ; ต่อเมื่อใดพิจาณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น  เรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร  

กาลิก  เนื่องด้วยกาล, ขึ้นอยู่กับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้ฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด  จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก   รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ  ๒. ยามกาลิก   รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต  ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้งห้า  ๔. ยาวชีวิก   รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา  นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)

กาววาว  ฉูดฉาด,  หรูหรา,  บาดตา

กาสะ  ไอ (โรคไอ)

กาสาวะ ผ้าย้อมฝาด, ผ้าเหลืองสำหรับพระ

กาสาวพัสตร์  ผ้าที่ย้อมด้วยรสฝาด,  ผ้าย้อมน้ำฝาด,  ผ้าเหลืองสำหรับพระ

กาสี  แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีนครหลวงชื่อพาราณสี ในสมัยพุทธกาล กาสีได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโกศลแล้ว

กาฬเทวิลดาบส เป็นอีกชื่อหนึ่งของอสิตดาบส  ดู อสิตดาบส

กาฬปักษ์  ซีกมืด คือ ข้างแรม

กาฬสิลา สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ  อยู่ข้างภูเขาอิสีคิลิ  พระนครราชคฤห์  ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์และเป็นที่ที่พระโมคคัลลานะ ถูกคนร้ายซึ่งรับจ้างจากพวกเดียรถีย์ไปลอบฆ่าด้วยการทุบตีจนร่างแหลก

กาฬิโคธา  มารดาของพระภัททิยะ กษัตริย์ศากยวงศ์

กาฬุทายี อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นสหชาติและเป็นพระสหายสนิทของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์  พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์  กาฬุทายีไปเฝ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

กำลังของพระมหากษัตริย์  ดู พละ

กิงกรณีเยสุ  ทักขตา   ความเป็นผู้ขยันช่วยเอาใจใส่ในกิจธุระของเพื่อนภิกษุสามเณร (นาถกรณธรรมข้อ ๕)

กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือรู้ว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้  สมุทัยควรละ  นิโรธควรทำให้แจ้ง  มรรคควรเจริญคือควรปฏิบัติ

กิจจาธิกรณ์  การงานเป็นอธิกรณ์ คือเรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำหรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ;  อรรถกถาพระวินัยว่าหมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชุมสงฆ์  ได้แก่ สังฆกรรมทั้ง ๔ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม  ญัตติทุติยกรรม  ญัตติจตุตถกรรม

กิจในอริยสัจจ์  ข้อที่ต้องทำในอริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่าง คือ ปริญญา การกำหนดรู้  เป็นกิจในทุกข์  ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย  สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้งหรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ  ภาวนา การเจริญคือปฏิบัติบำเพ็ญ เป็นกิจในมรรค

กิจเบื้องต้น  ในการอุปสมบท หมายถึงให้บรรพชา ถือนิสัย ถืออุปัชฌายะ จนถึงถามอันตรายิกธรรมในที่ประชุมสงฆ์ (คำเดิมเป็น บุพกิจ)

กิตติศัพท์  เสียงสรรเสริญ, เสียงเล่าลือความดี

กินร่วม  ในประโยคที่ว่า "ภิกษุใดรู้อยู่ กินร่วมก็ดี อยู่ร่วมก็ดี สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี"  คบหากันในทางให้หรือรับอามิส และคบหากันในทางสอนธรรมเรียนธรรม

กิมพิละ  เจ้าศากยะองค์หนึ่ง  ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐

กิริยา  การกระทำ

กิริยากิตตกะ (กิริยากิตก์)  เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี  ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น "ปรินิพฺพุโต" (ดับรอบแล้ว) "ปพฺพชิตฺวา" (บวชแล้ว) เป็นต้น

กิริยาอาขยาต  เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระทำของประธาน เช่น "คจฺฉติ" (ย่อมไป) "ปรินิพฺพายิ" (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น

กิลาโส  โรคกลาก

กิเลส  สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง,  ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์

กิเลสกาม  กิเลสเป็นเหตุใคร่,  กิเลสที่ทำให้อยาก,  เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

กิเลสธุลี  ธุลีคือกิเลส, ฝุ่นละอองคือกิเลส

กิเลสมาร  มารคือกิเลส,  กิเลสเป็นมาร  โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจขัดขวางไม่ให้ทำความดี  ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสวัฏฏ์  วนคือกิเลส,  วงจรส่วนกิเลส,  หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน ดู ไตรวัฏฏ์

กิเลสานุสัย  กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน  จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

กิโลมก  พังผืด

กีสาโคตมี  พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายไปในที่ต่าง ๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานพระโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง

กุกกุจจะ  ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำตนมิได้ทำ  สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้น ๆ แล้วหรือมิใช่  สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้น ๆ เป็นความผิดข้อนี้ ๆ เสียแล้วกระมัง

กุกฺกุจฺจปกตตา  อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง

กุฎี  กระท่อมที่อยู่ของนักบวช เช่น พระภิกษุ, เรือนหรือตึกที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร

กุฎุมพี  คนมีทรัพย์,  คนมั่งคั่ง

กุฏกะ  เครื่องลาดที่ใหญ่ ชนิดที่มีนางฟ้อน ๑๖ คนยืนฟ้อนรำได้ (เช่นพรมปูห้อง)

กุฏฐัง  โรคเรื้อน





.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2556 09:03:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 มกราคม 2556 17:46:05 »

.

กุฏิภัต  อาหารที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อยู่ในกุฏิอันเขาสร้าง

กุฑวะ  ชื่อมาตราตวง  แปลว่า ฟายมือ คือ เต็มอุ้งมือหนึ่ง  ดู มาตรา

กุณฑธานะ  พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี  เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้วได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต  รูปนั้นจึงหายไป ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม

กุปปธรรม  ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้ หมายถึงผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่ยังไม่ชำนาญ อาจเสื่อมได้

กุมมาส  ขนมสด คือขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะบูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น  พระพุทธเจ้า หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส

กุมาร  เด็ก,  เด็กชาย,  เด็กหนุ่ม

กุมารกัสสปะ  พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์  คลอดเมื่อมารดาบวชเป็นภิกษุณีแล้ว  พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม ทารกนั้นได้นามว่า กัสสปะ  ภายหลังเรียกกันว่ากุมารกัสสปะ  เพราะท่านเป็นเด็กสามัญ แต่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างราชกุมาร  ท่านอุปสมบทในสำนักของพระศาสดา ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงธรรมวิจิตร

กุมารี  เด็กหญิง,  เด็กรุ่นสาว,  นางสาว

กุมารีภูตวรรค  ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา  คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยภัณฑ์ ในภิขุนีวิภังค์

กุมารีภูตา  ผู้เป็นนางสาวแล้ว หมายถึงสามเณรีที่จะอุปสมบทเป็นภิกษุณีเช่นในคำว่า "อีฉันเป็นนางสาว (กุมารีภูตา) ของแม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุ ๒๐ ปีเต็ม มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์เจ้าข้า"

กุรุ  แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป นครหลวงชื่อ อินทปัตถ์

กุล  ตระกูล,  วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์

กุลทูสก  ผู้ประทุษร้ายตระกูล  หมายถึงภิกษุผู้ประจบคฤหัสถ์ เอาใจเขาต่าง ๆ ด้วยอาการอันผิดวินัย มุ่งเพื่อให้เขาชอบตนเป็นส่วนตัว เป็นเหตุให้เขาคลายศรัทธาในพระศาสนาและเสื่อมจากกุศลธรรม เช่นให้ของกำนัลเหมือนอย่างคฤหัสถ์เขาทำกัน ยอมตัวให้เขาใช้ เป็นต้น

กุลธิดา  ลูกหญิงผู้มีตระกูล มีความประพฤติดี

กุลบุตร  ลูกชายผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี

กุลปสาทกะ  ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส

กุลมัจฉริยะ  ตระหนี่ตระกูล ได้แก่หวงแหนตระกูล ไม่ยอมให้ตระกูลอื่นมาเกี่ยวดองด้วย ถ้าเป็นบรรพชิตก็หวงอุปัฏฐาก ไม่พอใจให้ไปบำรุงภิกษุอื่น  ดู มัจฉริยะ

กุลสตรี  หญิงมีตระกูลมีความประพฤติดี

กุลุปกะ,  กุลูปกะ  "ผู้เข้าถึงสกุล" ,  พระที่คุ้นเคยสนิท ไปมาหาสู่ประจำของตระกูล,  พระที่เขาอุปถัมภ์และเป็นที่ปรึกษาประจำของครอบครัว

กุศล  บุญ,  ความดี,  ฉลาด,  สิ่งที่ดี,  กรรมดี

กุศลกรรม  กรรมดี,  กรรมที่เป็นกุศล,  การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

กุศลกรรมบถ  ทางแห่งความดี,  ทางทำดี,  ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,  กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ ก. กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต  ๒. อทินนาทานา  เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้  ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม  ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่  ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ  ๕. ปิสุณายวาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด  ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ  ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ  ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่  ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา  ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา  ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เป็นชอบตามคลองธรรม

กุศลธรรม  ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

กุศลบุญจริยา  ความประพฤติที่เป็นบุญเป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

กุศลมูล  รากเหง้าของกุศล, ต้นเหตุของกุศล, ต้นเหตุของความดีมี ๓ อย่าง คือ  ๑. อโลภะ   ไม่โลภ (จาคะ)  ๒. อโทสะ ไม่คิดประทุษร้าย (เมตตา)  ๓. อโมหะ ไม่หลง (ปัญญา)

กุศลวัตร  ข้อปฏิบัติที่ดี, กิจที่พึงทำที่ดี

กุศลวิตก  ความตริตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงามมี ๓  คือ ๑. เนกขัมมวิตก   ความตรึกปลอดจากกาม  ๒. อพยาบาทวิตก   ความตรึกปลอดจากพยาบาท  ๓. อวิหิงสาวิตก ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน

กุสาวดี  ชื่อเก่าของเมืองกุสินารา  นครหลวงของแคว้นมัลละ  เมื่อครั้งเป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัศน์ จักรพรรดิครั้งโบราณ

กุสิ  เส้นคั่นดุจคันนายืนระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร

กุสินารา  เมืองหลวงแห่งหนึ่งของแคว้นมัลละ (อีกแห่งหนึ่งคือ ปาวา)  สมัยพุทธกาล กุสินาราเป็นเมืองเล็ก ๆ มีมัลลกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองนี้

กูฏทันตสูตร  สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค  สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทานและการทำความดีอื่น ๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวายขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตน ๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัยพลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตนปล่อยสัตว์ทั้งหมด และประกาศตนเป็นอุบาสิกา

เกตุมาลา  รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า

เก็บปริวาส  ดู เก็บวัตร

เก็บมานัต  ดู เก็บวัตร

เก็บวัตร  โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสกำลังอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้ก็ดี กำลังประพฤติมานัตยังไม่ครบ ๖ ราตรีก็ดี เมื่อมีเหตุอันสมควรก็ไม่ต้องประพฤติติดต่อกันเป็นรวดเดียว พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า นั่งกระหย่ง ประนมมือ ถ้าเก็บปริวาสพึงกล่าวว่า ปริวาสํ นิกฺขิปามิ แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาส หรือว่า วตฺตํ  นิกฺขิปามิ  แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บวัตร ว่าคำใดคำหนึ่ง ก็เป็นอันพักปริวาส ;  ถ้าเก็บมานัต พึงกล่าวว่า มานตฺตํ นิกฺขิปามิ  แปลว่า ข้าพเจ้าเก็บมานัต หรือว่า วตฺตํ นิกฺยิปามิ ข้าพเจ้าเก็บวัตร ดังนี้  ว่าคำใดคำหนึ่งก็เป็นอันพักมานัต  ต่อไปเมื่อมีโอกาสก็ให้สมาทานวัตรใหม่ได้อีก

เกษม  ปลอดภัย,  พ้นภัย,  สบายใจ

เกษมจากโยคธรรม  ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก ดู โยคเกษมธรรม

เกสา  ผม

เกินพิกัด  เกินกำหนดที่จะต้องเสียภาษีอากร

แกงได  รอยกากบาทหรือขีดเขียนซึ่งคนไม่รู้หนังสือขีดเขียนลงไว้เป็นสำคัญ

โกฏิ ชื่อมาตรานับ เท่ากับสิบล้าน

โกณฑัญญะ พราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร ต่อมาออกบวชตามพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกกันภายหลังว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ

โกธะ  ความโกรธ,  เคือง,  ขุ่นเคือง

โกนาคมน์  พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต  ดู พระพุทธเจ้า ๕

โกรัพยะ  พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ

โกละ  ผลกระเบา

โกลังโกละ  "ผู้ไปจากตระกูลสู่ตระกูล"  หมายถึงพระโสดาบัน ซึ่งจะต้องไปเกิดอีก ๒-๓ ภพ แล้วจึงบรรลุพระอรหัต

โกลิตะ  ชื่อเดิมของพระมหาโมคคัลลานะ  เรียกตามชื่อหมู่บ้านที่เกิด (โกลิตคาม) เพราะเป็นบุตรของตระกูลหัวหน้าในหมู่บ้านนั้น สมัยเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัยก็ยังใช้ชื่อว่า โกลิตะ  ต่อมาภายหลังคือเมื่อบวชในพระพุทธศาสนา จึงเรียกกันว่า โมคคัลลานะหรือพระมหาโมคคัลลานะ

โกลิตปริพาชก  พระโมคคัลลานะเมื่อเข้าไปบวชเป็นปริพาชกในสำนักของสญชัย มีชื่อเรียกว่า โกลิตปริพาชก

โกลิยชนบท  แคว้นโกลิยะ หรือดินแดนของกษัตริย์โกลิยวงศ์ เป็นแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาลมีนครหลวงชื่อเทวทหะ  และรามคาม บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

โกลิยวงศ์  ชื่อวงศ์กษัตริย์ข้างฝ่ายพระพุทธมารดา ที่ครองกรุงเทวทหะ;  พระนางสิริมหามายา พุทธมารดา และพระนางพิมพา  ชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าหญิงฝ่ายโกลิยวงศ์

โกศล  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล  มีนครหลวงชื่อสาวัตถี  บัดนี้เรียกสะเหต-มะเหต

โกสละ  ดู โกศล

โกสัชชะ  ความเกียจคร้าน

โกสัมพิกขันธกะ  ชื่อขันกะที่ ๑๐ (สุดท้าย) แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน จนเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่ารักขิตวัน  ตำบลปาริไลยกะ  ในที่สุด พระภิกษุเหล่านั้นถูกมหาชนบีบคั้นให้ต้องกลับปรองดองกัน บังเกิดสังฆสามัคคีอีกครั้งหนึ่ง

โกสัมพี ชื่อนครหลวงของแคว้นวังสะ อยู่ตอนใต้ของแม่น้ำยมุนา บัดนี้เรียกว่าโกสัม (Kosam)

โกสิยเทวราช  พระอินทร์, จอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกท้าวโกสีย์ บ้าง ท้าวสักกเทวราช บ้าง

โกสิยวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องขนเจียมเจือด้วยไหมเป็นวรรคที่ ๒ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์ในพระวินัยปิฎก

โกเสยยะ, โกไสย  ผ้าทำด้วยใยไหม ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร

โกฬิวิสะ  ดู โสณะ  โกฬิวิสะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มกราคม 2556 16:03:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 มกราคม 2556 11:32:12 »

.

หมวดพยัญชนะ 


ขจร  ฟุ้งไป, ไปในอากาศ

ขณิกสมาธิ  สมาธิชั่วขณะ,  สมาธิขั้นต้นพอสำหรับใช้ในการเล่าเรียนทำการงานให้ได้ผลดี ให้จิตใจสงบสบายได้พักชั่วคราว และใช้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนาได้ (ขั้นต่อไป คือ อุปจารสมาธิ)

ขณิกาปีติ  ความอิ่มใจชั่วขณะ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เป็นขณะ ๆ เหมือนฟ้าแลบ (ปีติ ๕ ข้อ ๒)

ขนบ  แบบอย่างที่ภิกษุควรประพฤติในกาลนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ แก่บุคคลนั้น ๆ

ขนบธรรมเนียม  แบบอย่างที่นิยมกัน

ขนาบ  กระหนาบ

ขมา  ความอดโทษ,  การยกโทษให้

ขรรค์  อาวุธมีคม ๒ ข้าง ที่กลางทั้งหน้าและหลังเป็นสัน ด้ามสั้น

ขราพาธ  อาพาธหนัก,  ป่วยหนัก

ขลุปัจฉาภัตติกังคะ  องค์แห่งผู้ถือ  ห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีกก็ไม่รับ (ธุดงค์ข้อ ๗)

ของต้องพิกัด  ของเข้ากำหนดที่จะต้องเสียภาษี

ขอนิสัย  ดู นิสัย

ขอโอกาส  ดู โอกาส

ขัชชภาชกะ   ภิกษุผู้ได้รับสมมติ  คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่แจกของเคี้ยว

ขัณฑ์  ตอน, ท่อน, ส่วน, ชิ้น, จีวรมีขัณฑ์ ๕ ก็คือมี ๕ ชิ้น

ขัณฑสีมา   สีมาเล็กผูกเฉพาะโรงอุโบสถที่อยู่ในมหาสีมา มีสีมันตริกคั่น

ขัดบัลลังก์  ดู บัลลังก์

ขัตติยธรรม  หลักธรรมสำหรับกษัตริย์, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน

ขัตติมหาสาล  กษัตริย์ผู้มั่งคั่ง

ขันติ   ความอดทน คือ ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ, ความหนักเอาเบาสู้ เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม

ขันธ์  กอง, พวก, หมวด, หมู่, ลำตัว; หมวดหนึ่ง ๆ ของรูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นห้ากอง คือ รูปขันธ์ กองรูป  เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา  สังขารขันธ์   กองสังขาร  วิญญาณขันธ์   กองวิญญาณ  เรียกรวมว่า เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕)

ขันธกะ  หมวด, พวก, ตอน  หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับพระวินัย และสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ที่จัดประมวลเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่า ขันธกะ, ขันธกะหนึ่ง ๆ ว่าด้วยเรื่องหนึ่ง ๆ เช่น อุโบสถขันธกะ  หมวดที่ว่าด้วยการทำอุโบสถ  จีวรขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยจีวรเป็นต้น  รวมทั้งสิ้นมี ๒๒ ขันธกะ (พระวินัยปิฎกเล่ม ๔-๕-๖-๗)  ดู ไตรปิฎก

ขันธปัญจก  หมวดห้าแห่งขันธ์  อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (นิยมเรียก ขันธปัญจก)  ดู ขันธ์

ขันธมาร  ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นมาร  เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ถูกปัจจัยต่าง ๆ มีอาพาธเป็นต้น บีบคั้นเบียดเบียนเป็นเหตุขัดขวางหรือรอนโอกาส มิให้สามารถทำความดีงามได้เต็มที่ หรืออาจตัดโอกาสนั้นโดยสิ้นเชิง (ข้อ ๒ ในมาร ๕)

ขาทนียะ  ของควรเคี้ยว, ของขบของเคี้ยว ได้แก่ผลไม้ต่าง ๆ และเหง้าต่าง ๆ เช่น เผือกมัน เป็นต้น

ข้าวสุก  ในโภชนะ ๕ อย่างคือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑  ข้าวสุกในที่นี้หมายถึงธัญญชาติทุกชนิดที่หุงให้สุกแล้ว เช่นข้าวเจ้าข้าวเหนียว หรือที่ตกแต่งเป็นของต่างชนิด เช่น ข้าวมัน ข้าวผัด เป็นต้น

ขิปปาภิญญา  รู้ฉับพลัน

ขีณาสพ  ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว,  ผู้หมดกิเลส, พระอรหันต์

ขึ้นใจ  เจนใจ,  จำได้แม่นยำ

ขึ้นปาก  เจนปาก,  คล่องปาก,  ว่าปากเปล่าได้อย่างว่องไว

ขึ้นวัตร  โวหารเรียกวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือเมื่อภิกษุต้องครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสสแล้วอยู่ปริวาสยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดอาบัติไว้หรือประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันสมควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตร คือการสมาทานวัตรนั่นเอง  ถ้าขึ้นปริวาสพึงกล่าวคำในสำนักภิกษุรูปหนึ่งว่า  ปริวาสํ สมาทิยามิ  ข้าพเจ้าขึ้นปริวาส  วตฺตํ  สมาทิยามิ  ข้าพเจ้าขึ้นวัตร ถ้าขึ้นมานัต พึงกล่าวว่า มานตฺตํ  สมาทิยามิ  ข้าพเจ้าขึ้นมานัต  หรือ วตฺตํ  สมาทิยามิ  ข้าพเจ้าขึ้นวัตร

ขุชชโสภิตะ  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

ขุททกาปีติ  ปีติเล็กน้อย, ความอิ่มใจอย่างน้อย เมื่อเกิดขึ้นทำให้ขนชันน้ำตาไหล (ข้อ ๑ ในปีติ ๕)

เขต  ๑. แดนที่กันไว้เป็นกำหนด เช่น นา ไร่ ที่ดิน แคว้น เป็นต้น  ๒. ข้อที่ภิกษุระบุถึงเพื่อการลาสิกขา เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น

เขนง  เขาสัตว์,  ภาชนะที่ทำด้วยเขา

เขมา  พระเถรีมหาสาวิการูปหนึ่งประสูติในราชตระกูลแห่งสาคลนครในมัททรัฐ ต่อมาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร  มีความมัวเมาในรูปสมบัติของตน ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องราคะ และการกำจัดราคะ พอจบพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัต แล้วบวชเป็นภิกษุณี  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีปัญญามาก และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายขวา

เขฬะ  น้ำลาย

เข้าที่  นั่งภาวนากรรมฐาน
  
เข้ารีต  เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น (มักใช้แก่ศาสนาคริสต์), ทำพิธีเข้าถือศาสนาอื่น

โขมะ  ผ้าทำด้วยเปลือกไม้  ใช้เปลือกไม้ทุบเอาแต่เส้น  แล้วนำเส้นนั้นมาทอเป็นผ้า

โขมทุสสนิคม  นิคมหนึ่งในแคว้นสักกะ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มกราคม 2556 11:34:55 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 31 มกราคม 2556 12:00:01 »

.

หมวดพยัญชนะ  

คณญัตติกรรม  การประกาศให้สงฆ์ทราบแทนคณะคือพวกฝ่ายตน ได้แก่ การที่ภิกษุรูปหนึ่งในนามแห่งภิกษุฝ่ายหนึ่ง สวดประกาศขออนุมัติเป็นผู้แสดงแทนซึ่งอาบัติของฝ่ายตนและของตนเองด้วยติณวัตถารกวิธี (อีกฝ่ายหนึ่งก็พึงทำเหมือนกันอย่างนั้น);   เป็นขั้นตอนหนึ่งแห่งการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย

คณปูรกะ   ภิกษุผู้เป็นที่ครบจำนวนในคณะนั้น ๆ เช่น สังฆกรรมที่ต้องมีภิกษุ ๔ รูป หรือยิ่งขึ้นไป เป็นผู้ทำยังขาดอยู่เพียงจำนวนใดจำนวนหนึ่ง มีภิกษุอื่นมาสมทบ ทำให้ครบองค์สงฆ์ในสังฆกรรมนั้น ๆ ภิกษุที่มาสมทบนั้นเรียกว่าคณปูรกะ

คณโภชน์  ฉันเป็นหมู่ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ออกชื่อโภชนะแล้วฉัน ;  อีกนัยหนึ่งว่า นั่งล้อมโภชนะฉัน หรือฉันเข้าวง

คณะธรรมยุต  คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่  ๓ ; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี;  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)

คณะมหานิกาย  คณะสงฆ์ไทยเดิมที่สืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุติขึ้นแล้ว ;  สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิดธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น.๙๐)

คณาจารย์  อาจารย์ของหมู่คณะ

คณิกา  หญิงแพศยา, หญิงงามเมือง

คดีธรรม  ทางธรรม,  คติแห่งธรรม

คดีโลก   ทางโลก, คติแห่งโลก

คติ  ๑. การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง  ๒. ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑. นิรยะ  นรก  ๒. ติรัจฉานโยนิ  กำเนิดดิรัจฉาน  ๓. เปรตวิสัย  แดนเปรต  ๔. มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล  ๕. เทพ  ชาวสวรรค์  ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิษฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตติวิสัยด้วย)  ๓. คติแรกเป็นทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี)  ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)

คมิยภัต  ภัตเพื่อผู้ไป, อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้จะเดินทางไปอยู่ที่อื่น ; คมิกภัต ก็ว่า

คยา  จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้ ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์

คยากัสสป  นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลคยาสีสะเป็นน้องชายคนเล็กของอุรุเวลกัสสปะ ออกบวชตามพี่ชาย พร้อมด้วยชฎิล ๒๐๐ ที่เป็นบริวาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตและเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก

คยาสีสะ  ชื่อตำบล ซึ่งเป็นเนินเขาแห่งหนึ่งในจังหวัดคยา พระพุทธเจ้าเทศนาอาทิตตปริยายสูตร  โปรดภิกษุสงฆ์ปุราณชฎิลทั้งหมดให้สำเร็จพระอรหัตที่ตำบลนี้

ครรภ์  ท้อง, ลูกในท้อง, ห้อง

ครรโภทร  ท้อง,  ท้องมีลูก

ครองผ้า  นุ่งห่มผ้า

คราวใหญ่  คราวที่ภิกุอยู่มากด้วยกัน บิณฑบาตไม่พอฉัน (ฉันเป็นหมู่ได้ ไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์)

ครุ  เสียงหนัก ได้แก่ทีฆสระ คือ อา อี อู เอ โอ และสระที่มีพยัญชนะสะกด ซึ่งเรียกว่า สังโยค เช่น พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน

ครุกกรรม  ดู ครุกรรม

ครุกรรม   กรรมหนักทั้งเป็นกุศลและอกุศล ในฝ่ายกุศลได้ญาณสมาบัติ  ในฝ่ายอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม กรรมนี้ให้ผลก่อนกรรมอื่นเหมือนคนอยู่บนที่สูงเอาวัตถุต่าง ๆ ทิ้งลงมาอย่างไหนหนักที่สุด อย่างนั้นถึงพื้นก่อน

ครุกาบัติ  อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ภิกษุต้องแล้วจำต้องสึกเสีย และอาบัติสังฆาทิเสส อยู่กรรมจึงจะพ้นได้

ครุธรรม  ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ ๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้วก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว  ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้  ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน  ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจ หมายถึงระแวงสงสัยหรือเห็นพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง)  ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา  ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใด ๆ ๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้

ครุภัณฑ์  ของหนัก เช่น กุฎี ที่ดิน เตียง ตั่ง เป็นต้น

ครูทั้ง ๖  ดู ติตถกร

คฤหบดี  ผู้เป็นใหญ่ในเรือน, พ่อเจ้าเรือน, ผู้มั่งคั่ง

คฤหบดีจีวร  ผ้าจีวร ที่ชาวบ้านถวายพระ

คฤหัสถ์  ผู้ครองเรือน, ชาวบ้าน

คลองธรรม  ทางธรรม

ควรทำความไม่ประมาท  ในที่ ๔ สถาน  ดู อัปปมาท

ความปรารถนา  ของบุคคลในโลกที่ได้สมหมายด้วยยาก ๔ อย่าง  ดู ทุลลภธรรม

ควัมปติ  ชื่อกุลบุตรผู้เป็นสหายของพระยสะ  เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี  ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวช จึงบวชตามพร้อมด้วยสหายอีกสามคน คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ  ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตทั้งหมด

ความค้ำ  ในประโยคว่า “เราจักไม่ทำความค้ำ ไปในละแวกบ้าน” เดินเอามือค้ำบั้นเอว นั่งเท้าแขน

ความไม่ประมาท   ดู อัปปมาท

คว่ำบาตร  การที่สงฆ์ลงโทษอุบาสกผู้ปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย โดยประกาศให้ภิกษุทั้งหลายไม่คบด้วยคือไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับไทยธรรม คู่กับ หงายบาตร

คหปติกา “เรือนของคฤหบดี” คือเรือนอันชาวบ้านสร้างถวายเป็นกัปปิยกุฎี  ดู กัปปิยภูมิ

คหปตมหาสาล  คฤหบดีผู้มั่งคั่ง หมายถึง คฤหบดีผู้ร่ำรวย มีสมบัติมาก

คัคคภิกษุ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล เคยเป็นบ้า และได้ต้องอาบัติหลายอย่างในระหว่างเวลานั้น ภายหลังหายเป็นบ้าแล้ว ได้มีผู้โจทว่าเธอต้องอาบัตินั้น ๆ ในคราวที่เป็นบ้าไม่รู้จบ พระพุทธองค์จึงได้ทรงมีพุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วย อมูลฬหวินัย เป็นครั้งแรก

คณฺโฑ  โรคฝี

คันถะ  ๑. กิเลสที่ร้อยรัดมัดใจสัตว์ให้ติดอยู่  ๒. ตำรา, คัมภีร์

คันถธุระ  ธุระฝ่ายคัมภีร์, ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์, การศึกษาปริยัติธรรม; เทียบ วิปัสสนาธุระ

คันถรจนาจารย์  อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์

คันธาระ  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวงชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่างสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์ พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ

คันโพง  คันชั่งที่ถ่วงภาชนะสำหรับตักน้ำ เพื่อช่วยทุนแรงเวลาตักน้ำขึ้นจากบ่อลึก ๆ (คัน = คันชั่งที่ใช้ถ่วง, โพง = ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อลึก ๆ), เครื่องสำหรับตักน้ำ หรือโพงน้ำ มีคันยาวที่ปลายเพื่อถ่วงให้เบาแรง เวลาตักหรือโพงน้ำขึ้น (โพง=ตัก, วิด)

คัพภเสยยกสัตว์  สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ คือ สัตว์ที่เกิดเป็นตัวตั้งแต่อยู่ในครรภ์

คัมภีร์  ลึกซึ้ง, ตำราที่ยกย่อง เช่นตำราทางศาสนา ตำราโหราศาสตร์

คัมภีรภาพ  ความลึกซึ้ง

คากรอง  เครื่องปกปิดร่างกายที่ทำด้วยหญ้า หรือเปลือกไม้

คามเขต  เขตบ้าน,  ละแวกบ้าน

คามสีมา “แดนบ้าน” คือเขตที่กำหนดด้วยบ้าน, สีมาที่ถือกำหนดตามเขตบ้าน เป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง

คารวโวหาร   ถ้อยคำแสดงความเคารพ

คารวะ  ความเคารพ, ความเอื้อเฟื้อ, ความใส่ใจมองเห็นความสำคัญที่จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ให้ถูกต้องเหมาะสม มี ๖ อย่างคือ ๑. พุทฺธคารวตา   ความเคารพในพระธรรม  ๒. ธมฺมคารวตา   ความเคารพในพระธรรม  ๓. สงฺฆคารวตา  ความเคารพในพระสงฆ์  ๔. สิกฺขาคารวตา  ความเคารพในการศึกษา  ๕.  อปฺปมาทคารวตา   ความเคารพในความไม่ประมาท  ๖. ปฏิสนฺถารคารวตา   ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย

คาวุต  ชื่อมาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๘๐ อุสภะ หรือ ๑๐๐ เส้น (๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์) ดู มาตรา

คาหาปกะ  ผู้ให้รับ คือผู้แจก

คำรบ
 ครบ, ถ้วน, เต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้

คำไวยากรณ์  คำร้อยแก้ว ตรงข้ามกับคำว่า คาถา คือ คำร้อยกรองแห่งภาษาบาลี

คิชฌกูฏ  ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในบรรดาภูเขาห้าลูกที่เรียกว่าเบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์

คิมหฤดู  ฤดูร้อน

คิลานปัจจัย  ปัจจัยสำหรับคนไข้, ยารักษาโรค

คิลานภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาพาธ

คิลานศาลา  โรงพักคนไข้,  หอรักษาคนไข้, สถานพยาบาล

คิลานุปฐาก  ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้

คิลานุปัฏฐากภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุผู้พยาบาลไข้

คิหิณี  หญิงผู้ครองเรือน, คฤหัสถ์หญิง

คิหิปฏิบัติ  ข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์

คืบพระสุคต  ชื่อมาตราวัด ตามอรรถกถานัยว่า เท่ากับ ๓ คืบ ของคนปานกลาง คือ เท่ากับศอกคืบช่างไม้ แต่มตินี้ไม่สมจริง ปัจจุบันยุติกันว่าให้ถือตามไม้เมตร คือ เท่ากับ ๒๕ เซนติเมตร ประมาณกันกับคืบช่างไม้ ซึ่งเป็นการสะดวก และถ้าหากจะสั้นกว่าขนาดจริงก็ไม่เสีย เพราะจะไม่เกินกำหนด ไม่เสียทางวินัย

คุณของพระรัตนตรัย  คุณของรัตนะ ๓ คือ ๑. พระพุทธเจ้า   รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย  ๒. พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว  ๓. พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย

คุณธรรม  ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล

คุณบท  บทที่แสดงคุณ, บทที่กล่าวถึงคุณงามความดี, คำแสดงคุณสมบัติ

คูถภักขา  มีคูถเป็นอาหาร ได้แก่สัตว์จำพวก ไก่ สุกร สุนัข เป็นต้น

คู้บัลลังก์  ดู บัลลังก์

เครื่องกัณฑ์  สิ่งของสำหรับถวายพระเทศน์

เครื่องต้น  เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์ สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย

เครื่องราง  ของที่นับถือว่าป้องกันอันตรายได้ เช่น ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า

เคลือบแฝง  อาการชักให้เป็นที่สงสัย, แสดงความจริงไม่กระจ่างทำให้เป็นที่สงสัย

เคหสถาน  ที่ตั้งเหย้าเรือน

เคหสิตเปมะ  ความรักอันอาศัยเรือน ได้แก่รักกันโดยฉันเป็นคนเนื่องถึงกัน เป็นญาติกัน เป็นคนร่วมเรือนเดียวกัน ความรักฉันพ่อแม่ลูกและญาติพี่น้อง

เคารพ  ความนับถือ,  ความมีคารวะ


เคาะ  ในประโยคว่า “เหมือนชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาว” พูดให้รู้เท่า

เคาะแคะ   พูดแทะโลม,  พูดเกี้ยว

โคจรคาม  หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกขาจาร, หมู่บ้านที่ภิกษุไปเที่ยวบิณฑบาต

โคจรวิบัติ  วิบัติแห่งโคจร, เสียในเรื่องที่เที่ยว, ความเสียหายในการไปมาหาสู่ เช่นภิกษุไปในที่อโคจรมีร้านสุรา หญิงแพศยา แม่หม้าย บ่อนการพนัน เป็นต้น

โคณกะ   ผ้าขน  มีขนยาวกว่า ๔ นิ้ว

โคดม, โคตมะ  ชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า มหาชนเรียกพระพุทธเจ้าตามพระโคตรว่า พระโคดม พระโคตมะ หรือ  พระสมณโคดม

คตมกเจดีย์  ชื่อเจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเวสาลี เป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้งและเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

โคตมโคตร   ตระกูลโคตมะ เป็นชื่อตระกูลของพระพุทธเจ้า


โคตมนิโครธ   ตำบลที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ อยู่ที่พระนครราชคฤห์

โคตมี  ชื่อเรียกสตรีแห่งโคตมโคตร เช่น พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระแม่น้าของพระสิทธัตถะ เป็นต้น

โคตร  ตระกูล, เผ่าพันธุ์, วงศ์

โคตรภู  ผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับที่จะถึงอริยมรรค,  ผู้อยู่ในหัวต่อระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล

โคตรภูญาณ  ญาณครอบโคตร คือปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรคหรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้นสู่ภาวะเป็นอริยะ ดู ญาณ ๑๖

โคตรภูสงฆ์  พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย  แต่ยังมีเครื่องหมายเพศเช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา

โคธาวรี  ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง ระหว่างเมืองอัสสกะ กับ เมืองอาฬกะ  พราหมณ์พาวรี ตั้งอาศรมสอนไตรเพทอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสายนี้ (มักเพี้ยนเป็นโคธาวารี)

โคนิสาทิกา “กัปปิยภูมิอันดุจเป็นที่โคจ่อม” คือเรือนครัวน้อย ๆ ที่ไม่ได้ปักเสา ตั้งอยู่กับที่ ตั้งฝาบนคาน ยกเลื่อนไปจากที่ได้ ดู กัปปิยภูมิ

โคมัย  ขี้วัว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มกราคม 2556 12:03:38 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556 10:03:44 »

.

หมวดพยัญชนะ  

ฆฏิการพรหม  พระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวเสด็จออกบรรพชา (มติของพระอรรถกถาจารย์)

ฆนะ  ก้อน, แท่ง

ฆนสัญญา   ความสำคัญว่าเป็นก้อน, ความสำคัญเห็นเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งบังปัญญาไม่ให้เห็นภาวะที่เป็นอนัตตา

ฆนิโตทนะ  กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๕ ของพระเจ้าสีหนุ เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

ฆราวาส  การอยู่ครองเรือน, มีชีวิตชาวบ้าน;  ในภาษาไทย มักใช้หมายถึงผู้ครองเรือน คือ คฤหัสถ์

ฆราวาสธรรม  หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑. สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน  ๒. ทมะ ความฝึกฝนปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี  ๓. ขันติ ความอดทน  ๔. จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ

ฆราวาสวิสัย  วิสัยของฆราวาส, ลักษณะที่เป็นภาวะของผู้ครองเรือน, เรื่องของชาวบ้าน

ฆราวาสสมบัติ   สมบัติของการครองเรือน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน

ฆานะ จมูก

ฆานวิญญาณ  ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น

ฆานสัมผัส  อาการที่จมูก กลิ่น และ ฆานวิญญาณประจวบกัน

ฆานสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่จมูก กลิ่น และฆานวิญญาณประจวบกัน

โฆสัปปมาณิกา  คนพวกที่ถือเสียงเป็นประมาณ, คนที่นิยมเสียง เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเพราะเสียง ชอบฟังเสียงไพเราะ เช่น เสียงสวดสรภัญญะ เทศน์มหาชาติเป็นทำนอง เสียงประโคม เป็นต้น: อีกนัยหนึ่งว่า ผู้ถือชื่อเสียง กิตติศัพท์ หรือความโด่งดังเป็นประมาณ เห็นใครมีชื่อเสียงก็ตื่นไปตาม

โฆสิตาราม   ชื่อวัดสำคัญในกรุงโกสัมพีครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเคยประทับหลายครั้ง เช่น คราวที่ภิกษุชาวโกสัมพีแตกกัน เป็นต้น


หมวดพยัญชนะ  

งมงาย  ไม่รู้เท่า, ไม่เข้าใจ, เซ่อเซอะ, หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังผู้อื่น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กุมภาพันธ์ 2556 10:05:25 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2556 10:47:47 »

.

หมวดพยัญชนะ 

จงกรม  เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

จตุกกะ  หมวด ๔

จตุตถฌาน  ฌานที่ ๔ มีองค์  ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา

จตุธาตุวรัตถาน  การกำหนดธาตุ ๔ คือ พิจารณาร่างกายนี้ แยกแยะออกไปมองเห็นแต่ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จัดเข้าในธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย ทำให้รู้ภาวะความเป็นจริงของร่างกายว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ประชุมกันเข้าเท่านั้น ไม่เป็นสัตว์บุคคลที่แท้จริง

จตุบริษัท  บริษัทสี่เหล่า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก  อุบาสิกา

จตุปัจจัย  เครื่องอาศัยของชีวิต หรือสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต สี่อย่าง คือ จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช (เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยา)

จตุรงคินีเสนา  กองทัพมีกำลังสี่เหล่าคือ เหล่าช้าง เหล่าม้า เหล่ารถ เหล่าราบ

จตุรบท สัตว์สี่เท้า มีช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น

จตุรพิธพร  พร ๔ ประการ คือ อายุ (ความมีอายุยืน) วรรณะ (ความมีผิวพรรณผ่องใส) สุขะ (ความสุขกายสุขใจ) พละ (ความมีกำลังแข็งแรง มีสุขภาพดี)

จตุรวรรค, จตุวรรค  สงฆ์พวกสี่, สงฆ์ที่กำหนดจำนวนภิกษุอย่างต่ำเพียง ๔ รูป เช่น สงฆ์ที่ทำอุโบสถกรรมเป็นต้น

จตุราริยสัจจ์  อริยสัจจ์สี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค  ดู อริยสัจจ์

จรณะ  เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ สีลสัมปทา  ความถึงพร้อมด้วยศีล  อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ และ ฌาน ๔

จริต  ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้วยด้านใดด้านหนึ่งแตกต่างกันไปคือ ๑. ราคจริต  ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)  ๒. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)  ๓. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึมงมงาย)  ๔. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)  ๕. พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)  ๖. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

จริมกจิต  จิตดวงสุดท้าย ซึ่งจะดับไปเมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่ในสมัยหลัง ใช้หมายถึงจิตดวงสุดท้ายในภพหนึ่ง ๆ ก็มี (ดู เช่น อุ.อ.๒๗๑ ; ธรรมวิจารณ์ น. ๗๖ ; พจนฯ เขียนจริมจิต)

จักกวัตติสูตร   ชื่อสูตรที่ ๓ แห่งทีฆนิกาย ปาฏิวรรค พระสุตตันตปิฎก  พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตน คือ พึ่งธรรม ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะทำให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ดำเนินอยู่ในแดนของตนเองที่สืบมาแต่บิดา จะมีแต่ความดีงามเจริญขึ้นไม่เปิดช่องให้แก่มาร เช่นเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงประพฤติตามหลักจักรวรรดิวัตร  อันสืบกันมาแต่บรรพชนของพระองค์ ย่อมทำให้จักรรัตนะบังเกิดขึ้นมาเอง,  จักรวรรดิวัตร นั้นมี ๔ ข้อใหญ่ ในความว่า ๑. พระเจ้าจักรพรรดิเป็นธรรมาธิปไตย และจัดการคุ้มครองป้องกันโดยชอบธรรมแก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน ตลอดไปถึงสัตว์ที่ควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย  ๒. มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในแผ่นดิน  ๓. ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ไร้ทรัพย์  ๔. ปรึกษาสอบถามการดีชั่ว  ข้อควรและไม่ควรประพฤติ กะสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ  อยู่เสมอ ; จักรวรรดิวัตร ๔ ข้อนี้ บางทีจัดเป็น ๕ โดยแยกข้อ ๑. เป็น ๒ ข้อ คือ เป็นธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่อย่างหนึ่ง กับจัดการครองป้องกันอันชอบธรรมอย่างหนึ่ง, นอกจากนั้นสมัยต่อมา อรรถกถาจัดแบ่งซอยออกไป และเพิ่มเข้ามาอีก รวมเป็น ๑๒ ข้อ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร ๑๒ : พระสูตรนี้ถือว่าเป็นคำสอนแสดงหลักวิวัฒนาการของสังคมตามแนวจริยธรรม กล่าวถึงหลักการปกครอง และหลักความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับจริยธรรม;  เรื่องพระศรีอารยเมตไตรยก็มีต้นเค้ามาจากพระสูตรนี้

จักขุวิญญาณ  ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น

จักขุสัมผัส  อาการที่ ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักขุสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะการที่ตา รูป และจักขุวิญญาณประจวบกัน

จักร  ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี  ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ  ๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม  ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมาย มี ๔ อย่าง  ดู จักร

จักรพรรดิ  พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่  มีราชอาณาเขตปกครองกว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศัตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี

จักรพรรดิราชสมบัติ  สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

จักรรัตนะ  จักรแก้ว หมายถึงตัวอำนาจแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ

จักรวรรดิวัตร ๑๒  ๑. อนฺโตชนสฺมํ พลกายสฺมํ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา  ๒. ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ  ๓. อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร  ๔. พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย  ๕. เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย  ๖. สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์  ๗. มิคปกฺขีสุ แก่เปล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์  ๘. อธมฺมการปฏิกฺเขโป  ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม  ๙. อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์  ๑๐. สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาสมณพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา  ๑๑. อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒. วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นการโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร

* จักรวรรดิวัตร ๑๒ นี้ มาในอรรถกถา โดยแบ่งซอยและเพิ่มเติมจากของเดิมใน จักกวัตติสูตร

จักษุ  ตา, นัยน์ตา

จักษุทิพย์  ตาทิพย์ คือดูอะไรเห็นได้หมด  ดู ทิพพจักขุ

จังหัน ข้าว, อาหาร (ใช้แก่พระสงฆ์)

จัญไร  ชั่วร้าย, เลวทราม, เสีย

จัณฑปัชโชต  พระเจ้าแผ่นดินแคว้นอวันตี ครองราชย์สมบัติอยู่ที่กรุงอุชเชนี

จัณฑาล  ลูกต่างวรรณะ เช่นบิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์ มีลูกออกมาเรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนต่ำทราม ถูกเหยียดหยามที่สุดในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์

จันทน์   ไม้จันทน์ เป็นไม้มีกลิ่นหอมใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม

จันทรคติ  การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น คู่กับ สุริยคติ

จันทรุปราคา การจับจันทร์ คือเงาโลกเข้าไปปรากฏที่ดวงจันทร์ ขณะเมื่อดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์อยู่ตรงกันข้ามโดยมีโลกอยู่ระหว่างกลางที่เรียกว่า ราหูอมจันทร์

จัมปา  ชื่อนครหลวงของแคว้นอังคะ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำจัมปา ไม่ห่างไกลมากนักจากที่บรรจบกับแม่น้ำคงคา

จัมเปยยขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๙ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยข้อควรทราบบางแง่เกี่ยวกับนิคหกรรมต่าง ๆ

จัมมขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่าง ๆ มีรองเท้าและเครื่องลาด เป็นต้น

จาคะ  การสละ, การให้ปัน, การเสียสละ,  การสละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ; การสละกิเลส (ข้อ ๔ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๓ ในอธิษฐานธรรม ๔, ข้อ ๖ ในอริยทรัพย์ ๗)

จาคสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น  ดู สัมปรายิกัตถฯ

จาคานุสสติ  ระลึกถึงการบริจาค คือ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นจาคธรรมที่มีในตน  ดู อนุสติ

จาตุมหาราช  ท้าวมหาราชสี่, เทวดาผู้รักษาโลกในสี่ทิศ,  ท้าวโลกบาลทั้งสี่คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก  ๒. ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้  ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก  ๔. ท้าวกุเวร หรือ เวสสุวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ

จาตุมหาราชิกา  สวรรค์ชั้นที่ ๑ มีมหาราช ๔ องค์ เป็นประธาน ปกครองประจำทิศทั้ง ๔  ดู จาตุมหาราช

จาตุรงคสันนิบาต  การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์  (เพ็ญเดือนสาม)  ๒. พระสงฆ์ ๑๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย  ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖   ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ดู มาฆบูชา

จ่าย ในประโยคว่า “ภิกษุใดมีบาตรมีแผลหย่อน ๕ ให้จ่ายบาตรใหม่” ให้จ่าย คือให้ขอบาตรใหม่

จาร  เขียนตัวหนังสือหรือเลขลงบนใบลาน เป็นต้น โดยใช้เหล็กแหลมขีด,  ใช้เหล็กแหลมเขียนตัวหนังสือ 

จาริก เที่ยวไป, เดินทางเพื่อศาสนกิจ

จารีต  ธรรมเนียมที่ประพฤติกันมา, ประเพณี, ความประพฤติที่ดี

จารึก  เขียน, เขียนเป็นตัวอักษร, เขียนรอยลึกเป็นตัวอักษรลงในใบลาน หรือลงแผ่นศิลา แผ่นโลหะ

จำนำพรรษา  ดู ผ้าจำนำพรรษาจำเนียรกาล  เวลาช้านาน

จำปา  ชื่อเมืองในมัธยมประเทศ ที่ถูกเขียน จำปา

จำพรรษา  อยู่ประจำวัดสามเดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง) ; วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษาว่า อิมสฺมํ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ;  ทุติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเรจะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา  ๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ  ๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้  ๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา  ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้งห้านี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)

จำวัด  นอนหลับ (สำหรับพระสงฆ์)

จำศีล  อยู่รักษาศีล, ถือศีลเป็นกิจวัตร

จำหลัก  แกะให้เป็นลวดลาย, สลัก

จิต  ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ: ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)  วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐ ; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔  รูปาวจรจิต ๑๕  อรูปาวจรจิต ๑๒  และ โลกุตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)

จิตกาธาน  เชิงตะกอน, ที่เผาศพ

จิตตะ  เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ,  ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)

จิตตกัมมัญญตา  ความควรแก่การงานแห่งจิต, ธรรมชาติทำจิตให้เหมาะแก่การใช้งาน (ข้อ ๑๕ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตกา  เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ ที่ปักหรือทอเป็นลวดลายต่าง ๆ

จิตตคฤหบดี  ชื่ออุบาสกคนหนึ่ง มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกธรรมกถึก; ท่านผู้นี้เคยถูกภิกษุชื่อสุธรรมด่า เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติปฏิสาราณียกรรมคือการลงโทษภิกษุผู้ด่าว่าคฤหัสถ์ที่ไม่มีความผิด ด้วยการให้ไปขอขมาเขา

จิตตปาคุญญตา    ความคล่องแคล่วแห่งจิต,  ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวยคล่องแคล่วว่องไว (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตภาวนา   ดู ภาวนา

จิตตมาส  เดือน ๕

จิตตมุทุตา  ความอ่อนแห่งจิต,  ธรรมชาติทำจิตให้นุ่มนวลอ่อนละมุน (ข้อ ๑๓ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตลหุตา  ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

จิตตวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งจิต คือได้ฝึกอบรมจิตจนเกิดสมาธิพอเป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา (ข้อ ๒ ใน วิสุทธิ ๗)

จิตตสังขาร  ๑. ปัจจัยปรุงแต่งจิตได้แก่สัญญาและเวทนา  ๒. สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ เจตนาที่ก่อให้เกิดมโนกรรม ดู สังขาร

จิตตสันดาน  การสืบต่อมาโดยไม่ขาดสายของจิต;  ในภาษาไทยหมายถึงพื้นความรู้สึกนึกคิดหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตหรืออุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตใจมาแต่กำเนิด (ความหมายนัยหลังนี้ มิใช่มาในบาลี)

จิตตสิกขา  ดู อธิจิตตสิกขา

จิตตานุปัสสนา  สติพิจาณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ ว่าใจนี้ก็สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตน เราเขา กำหนดรู้จิตตามสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ เช่นจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี ราคะ โทสะ โมหะ จิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจาก ราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๓ ในสติปัฏฐาน ๔)

จิตตุชุกตา  ความซื่อตรงแห่งจิต,  ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณจิต ๒๕)

จินตกวี  นักปราชญ์ผู้ชำนาญคิดคำประพันธ์,  ผุ้สามารถในการแต่งร้องกรองตามแนวความคิดของตน

จีวร  ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ)  ผ้าห่ม (อุตราสงค์)  และผ้านุ่ง (อันตรวาสก);  แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ ว่าจีวร  ดู ไตรจีวร ด้วย

จีวรกรรม  การทำจีวร,  งานเกี่ยวกับจีวร เช่น ตัด เย็บ ย้อม เป็นต้น

จีวรการสมัย  คราวที่พระทำจีวร,  เวลาที่กำลังทำจีวร

จีวรกาล  ฤดูถวายจีวร,  ฤดูถวายผ้าแก่พระสงฆ์  ดู จีวรกาลสมัย

จีวรกาลสมัย  สมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร;  งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึง เพ็ญเดือนสิบสอง (คือเดินเดียว),  อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาวคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)

จีวรทานสมัย  สมัยที่เป็นฤดูถวายจีวร ตรงกับจีวรกาลสมัย

จีวรนิทหกะ  ผู้เก็บจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าที่เก็บรักษาจีวร  เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

จีวรปฏิคคาหก  ผู้รับจีวร  คือภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวร เป็น ตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

จีวรปลิโพธ  ความกังวลในจีวร  คือภิกษุยังไม่ได้ทำจีวร  หรือทำค้างหรือหายเสียในเวลาทำ แต่ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรอีก

จีวรภาชก  ผู้แจกจีวร  คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร,  เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร

จีวรมรดก  จีวรของภิกษุหรือสามเณรผู้ถึงมรณภาพ (มตกจีวร)  สงฆ์พึงมอบให้แก่คิลานุปฐาก (ผู้พยาบาลคนไข้) ด้วยญัตติทุติยกรรม  อย่างไรก็ตามอรรถกถาแสดงมติไว้ว่า กรณีเชื่นนี้เป็นกรรมไม่สำคัญนัก จะทำด้วยอปโลกนกรรม ก็ควร

จีวรลาภ   การได้จีวร

จีวรวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องจีวร เป็นวรรคที่ ๑ แห่งนิสสัคคิยกัณฑ์

จีวรอธิษฐาน  จีวรครอง,  ผ้าจำกัดจำนวน ๓ ผืนที่อธิษฐานคือ กำหนดไว้ใช้ประจำตัวตามที่พระวินัยอนุญาตไว้ ตรงข้ามกับ อดิเรกจีวร

จีวรักขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องจีวร

จุณณ์  ละเอียด

จุณณิยบท   คำร้อยแก้ว, บางแห่งว่าบทบาลีเล็กน้อย  ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ (พจนานุกรมเขียน จุณณียบท)

จุติ  เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)

จุตูปปาตญาณ  ปรีชารู้จิตและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย, มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน ดู วิชชา

จุนทะ  พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ และเป็นผู้นำอัฐธาตุของพระสารีบุตรจากบ้านเกิดที่ท่านปรินิพพานมาถวายแด่พระพุทธองค์ที่พระเชตวัน
 
จุนทกัมมารบุตร  นายจุนทะ บุตรช่างทอง เป็นชาวเมืองปาวา ผู้ถวายภัตตาหารครั้งสุดท้ายแก่พระพุทธเจ้าในเช้าวันปรินิพพาน

จุลกาล  ชื่อน้องชายของพระมหากาลที่บวชตามพี่ชาย แต่ไม่ได้บรรลุมรรคผล สึกเสียในระหว่าง

จุลคัณฐี   ชื่อนิกายพระสงฆ์พม่านิกายหนึ่ง

จุลวรรค  ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ; คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ ๑. กัมมขันธกะ  ว่าด้วยเรื่อง นิคหกรรม  ๒. ปาริวาสิกขันธกะ  ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน  ๓. สมุจจยขันธกะ  ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี ๔. สมถขันธกะ  ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์  ๕. ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น  การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่าง ๆ เป็นต้น  ๖. เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ  ๗. สังฆเภทขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี  ๘. วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่าง ๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นต้น  ๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่  ๑๐. ภิกขุณีขันธกะ  ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก  ๑๑. ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑  ๑๒. สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗) ; ต่อจาก มหาวรรค

จุลศักราช  ศักราชน้อย  ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์พม่าองค์หนึ่งใน พ.ศ. ๑๑๘๒  ภายหลังมหาศักราช, เป็นศักราชที่เราใช้กันมาก่อนใช้รัตนโกสินทรศก,  นับรอบตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน  เขียนย่อว่า จ.ศ. (พ.ศ. ๒๕๒๒ ตรงกับ จ.ศ. ๑๓๔๐-๑๓๔๑)

จุฬามณีเจดีย์  พระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระพุทธเจ้าในดาวดึงสเทวโลก  อรรถกถาเล่าว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกบรรพชาเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้วจะอธิษฐานเพศบรรพชิต  ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับเอาไปประดิษฐานในพระเจดีย์จุฬามณี ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปริพพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้มานำเอาพระทาฐธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ข้างขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะใส่ผอบทอง นำไปบรรจุในจุฬามณีเจดีย์ด้วย

จูฬปันถกะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้ จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพบพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้น ๆ ว่า “รโช หรณํ ๆ ๆ “ ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้ท่านมองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต  ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์;  ชื่อท่านเรียกง่าย ๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็น จุลลบันถก

จูฬเวทัลลสูตร  ชื่อสูตรหนึ่งในมัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฏก แสดงโดยพระธรรมทินนาเถรี เป็นคำตอบปัญหาที่วิสาขอุบาสกถาม

จูฬสังคาม  ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก

จูฬสุทธันตปริวาส  สุทธันตปริวาสอย่างเล็ก หมายความว่า ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายคราวด้วยกัน จำจำนวนอาบัติและวันที่ปิดได้บ้างอยู่ปริวาสไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์

เจดีย์    ที่เคารพนับถือ, บุคคล สถานที่หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา, เจดีย์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้ามี ๔ อย่างคือ ๑. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย  ๓.ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรม คือ พุทธพจน์  ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป;  ในทางศิลปกรรมไทยหมายถึงสิ่งที่ก่อเป็นยอดแหลมเป็นที่บรรจุสิ่งที่เคารพนับถือเช่นพระธาตุและอัฐิบรรพบุรุษ เป็นต้น

เจตนา  ความตั้งใจ, ความมุ่งใจหมายจะทำ, เจตน์จำนง, ความจำนง, ความจงใจ, เป็นเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงเป็นตัวนำในการคิดปรุงแต่ง หรือเป็นประธานในสังขารขันธ์ และเป็นตัวการในการทำกรรม หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวกรรมทีเดียว ดังพุทธพจน์ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ” แปลว่าเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

เจตภูต  สภาพเป็นผู้คิดอ่าน, ตามที่เข้าใจกัน หมายถึงดวงวิญญาณหรือดวงชีพอันเที่ยงแท้ที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจาร่างได้ในเวลานอนหลับและเป็นตัวไปเกิดใหม่เมื่อกายนี้แตกทำลาย เป็นคำที่ไทยเราใช้เรียกแทนคำว่า อาตมัน หรือ อัตตาของลัทธิพราหมณ์และเป็นความเชื่อนอกพระพุทธศาสนา

เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕

เจตสิกสุข  สุขทางใจ, ความสบายใจ แช่มชื่นใจ ดู สุข

เจตี   แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป  ตั้งอยู่ลุ่มแม่น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะ นครหลวงชื่อ โสตถิวดี

เจโตปริยญาณ  ปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้,  รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น ดู วิชชา, อภิญญา

เจโตวิมุตติ  ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญพร   คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณรมีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (เทียบได้กับคำว่าเรียนและครับหรือขอรับ)

เจริญวิปัสสนา  ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

เจ้ากรม หัวหน้ากรมในราชการ หรือในเจ้านายที่ทรงกรม

เจ้าภาพ เจ้าของงาน

เจ้าสังกัด  ผู้มีอำนาจในหมู่คนที่ขึ้นอยู่กับตน

เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์  ภิกษุผู้ได้รับสมมติ  คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งได้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร  ๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร  ๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ  ๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม  ๕. เจ้าอธิการแห่งคลัง

เจ้าอธิการแห่งคลัง  ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่าง คือ ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก)  และผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชกะ)

เจ้าอธิการแห่งจีวร  คือ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับจีวร ๓ อย่างคือ ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก)  ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก)  ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)

เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ  ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก)  และผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

เจ้าอธิการแห่งอาราม  ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก) ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก)  และผู้ดูแลการปลูกสร้าง (นวกัมมิก)

เจ้าอธิการแห่งอาหาร   ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือ ผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทศก์) ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก)  ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)

เจ้าอาวาส  สมภารวัด, หัวหน้าสงฆ์ในวัด มีอำนาจและหน้าที่ปกครองดูแลอำนวยกิจการทุกอย่างเกี่ยวกับวัด

โจท  ฟ้องร้อง; ทักท้วง  ดู โอกาส

โจทก์  ผู้ฟ้องร้อง

โจทนา  กิริยาที่โจท, การโจท, การฟ้อง, การทักท้วง, การกล่าวหา;  คำฟ้อง

โจทนากัณฑ์  ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวารแห่งพระวินัยปิฎก

โจรกรรม  การลัก, การขโมย, การกระทำของขโมย

โจรดุจผูกธง   โจรผู้ร้ายที่ขึ้นชื่อโด่งดัง

ใจจืด  ขาดเมตตา เช่น พ่อแม่ มีกำลังพอที่จะเลี้ยงดูลูกได้ก็ไม่เลี้ยงดูลูกให้สมควรแก่สถานะ เป็นต้น, ไม่เอื้อเฟื้อแก่ใคร

ใจดำ  ขาดกรุณา คือตนมีกำลังสามารถจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้ก็ไม่ช่วย เช่น เห็นคนตกน้ำแล้วไม่ช่วยเป็นต้น

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556 11:45:26 »

.

หมวดพยัญชนะ

ฉกามาพจรสวรรค์  สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม ๖ ชั้น คือ  ๑. จาตุมหาราชิกา  ๒. ดาวดึงส์  ๓. ยามา  ๔. ดุสิต  ๕. นิมมานรดี  ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี

ฉงน  สงสัย, ไม่แน่ใจ, เคลือบแคลง, สนเท่ห์

ฉลอง  ๑. แทน, ตอบแทน  ๒. ทำบุญสมโภชหรือบูชา

ฉลองพระบาท  รองเท้า

ฉลองพระองค์  เสื้อ

ฉวี  ผิวกาย

ฉ้อ  โกง เช่นรับฝากของ ครั้นเจ้าของมาขอคืน กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้หรือได้ให้คืนไปแล้ว

ฉักกะ  หมวด ๖


ฉัน  กิน, รับประทาน (ใช้สำหรับภิกษุ สามเณร)

ฉันท์  คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง กำหนดด้วยครุ-ลหุ  และกำหนดจำนวนคำตามข้อบังคับ

ฉันทะ  ๑. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่ในสิ่งนั้น ๆ, ความรักงาน (เป็นกลาง ๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่น ในกามฉันทะ  ที่เป็นกุศล เช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) ๒. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้น ๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะ คือ แสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้น ๆ ได้

ฉันทาคติ  ลำเอียงเพราะรักใคร่ (ข้อ ๑ ในอคติ ๔)

ฉันนะ  อำมาตย์คนสนิทผู้เป็นสหชาติและเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวันเสด็จออกบรรพชา ฉันนะตามเสด็จไปด้วย ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไม่ฟังเกิดความบ่อยๆ  หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศ และได้สำเร็จพระอรหันต์

ฉัพพรรณรังสี  รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง  ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน  ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน  ๕. มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

ฉายา  ๑. เงา, อาการที่เป็นเงา ๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง  ๒. ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวช เป็นภาษาบาลี เรียกว่าชื่อฉายา ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายาคือเงาแดดด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท  เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่น ๆ เช่น ชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่าชื่อฉายา

ฉายาปาราชิก  เงาแห่งปาราชิก คือประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่าฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ

ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่  ไม่ได้บรรลุโลกุตตรธรรม, หมดโอกาสที่จะบรรลุโลกุตตรธรรม

เฉทนกปาจิตตีย์  อาบัติปาจิตตีย์ที่ต้องตัดสิ่งของที่เป็นเหตุให้ต้องอาบัติเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก ได้แก่ สิกขาบทที่ ๕-๗-๘-๙-๑๐ แห่งรตนวรรค (ปาจิตตีย์ข้อ ๘๗, ๘๙, ๙๐, ๙๑, ๙๒)

เฉวียง  (ในคำว่า “ทำผ้าอุตตราสงค์ เฉวียงบ่า”) ซ้าย, ในที่นี้หมายถึง พาดจีวรไว้ที่บ่าซ้าย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556 12:15:53 »

.

หมวดพยัญชนะ

ชฎา  ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น, เครื่องประดับสำหรับสวมศีรษะ รูปคล้ายมงกุฎ

ชฎิล  นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี

ชฎิลสามพี่น้อง   ดู ชฎิลกัสสปะ

ชฎิลกัสสปะ  กัสสปะสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสปะ  นทีกัสสปะ  คยากัสสปะ  ผู้เป็นนักบวชประเภทชฎิล (ฤาษีกัสสปะสามพี่น้อง)

ชตุกัณณีมาณพ   ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

ชตุเภสัช  พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น

ชนกกรรม  กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้ (ข้อ ๕ ในกรรม ๑๒)

ชนนี  หญิงผู้ให้เกิด, แม่

ชนมายุกาล  เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่แต่ปีที่เกิดมา

ชนเมชยะ  พระเจ้าแผ่นดินในครั้งโบราณ เคยทำพิธีอัศวเมธ เพื่อประกาศความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ชนวสภสูตร   สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้นเพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ชมพูทวีป  ชื่อประเทศอินเดียครั้งโบราณ ดู อินเดีย

ชมพูพฤกษ์  ต้นหว้า

ชนเสนะ  พระราชบิดาของพระเจ้าสีหหนุ ครองนครกบิลพัสดุ์

ชราธรรม  มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่

ชราภาพ  ความแก่, ความชำรุดทรุดโทรม

ชลาพุชะ, ชลามพุชะ  สัตว์เกิดในครรภ์ ได้แก่มนุษย์และสัตว์เดียรัจฉานที่ออกลูกเป็นตัว ดู โยนิ

ชลาลัย  “ที่อยู่ของน้ำ”, แม่น้ำ, ทะเล

ชโลทกวารี  น้ำ

ชะตา  เวลาที่ถือกำเนิดของคนและสิ่งที่สำคัญ

ชักสื่อ  นำถ้อยคำหรือข่าวสาสน์ของชายและหญิง  จากฝ่ายหนึ่งไปบอกอีกฝ่ายหนึ่ง หรือจากทั้งสองฝ่ายให้รู้ถึงกัน เพื่อให้เขาสำเร็จความประสงค์ในทางเมถุน (สังฆาทิเสส  สักขาบทที่ ๕)

ชั่งเกียจ  ตราชั่งที่ไม่ซื่อตรง ทำไว้เอาเปรียบผู้อื่น

ชัชวาล  รุ่งเรือง, สว่าง, โพลงขึ้น

ชัยมงคล  มงคลคือความชนะ, ความชนะที่เป็นมงคล

ชาคริยานุโยค  การประกอบความเพียร เครื่องตื่นอยู่ คือ เพียรพยายามปฏิบัติธรรม ไม่เห็นแก่นอน ตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตไม่ให้มีนิวรณ์ ดู อปัณณกปฏิปทา

ชาตปฐพี  ดินเกิดเอง, ปฐพีแท้ คือมีดินร่วนล้วน มีดินเหนียวล้วน หรือมีของอื่น เช่นหินกรวด กระเบื้อง แร่และทรายน้อย มีดินร่วน ดินเหนียวมาก ดินนี้ประสงค์เอาที่ยังไม่ได้เผาไฟกองดินร่วนก็ดี กองดินเหนียวก็ดี มีฝนตกรดเกิน ๔ เดือนมาแล้วนับเข้าในปฐพีแท้

ชาติสระ  สระเกิดเอง, ที่น้ำขังอันเป็นเอง เช่น บึง, หนอง, ทะเลสาบ ฯลฯ

ชาติ  การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน

ชาติปุกกุสะ  พวกปุกกุสะ เป็นคนชั้นต่ำพวกหนึ่งในระบบวรรณะของศาสนาพราหมณ์  มีอาชีพคอยเก็บกวาดขยะดอกไม้ตามสถานที่บูชา

ชาติสงสาร  ความท่องเที่ยวไปด้วยความเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด

ชาติสุททะ  พวกสุททะ, คนพวกวรรณะศูทร เป็นคนชั้นต่ำในชมพูทวีป  ดู ศูทร

ชานุมณฑล  เข่า, ตอนเข่า

ชาวปาจีน  คำเรียกภิกษุชาววัชชีบุตรอีกชื่อหนึ่ง หมายถึงอยู่ด้านทิศตะวันออก, ชาวเมืองตะวันออก

ชิวหา  ลิ้น

ชิวหาวิญญาณ  ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส

ชิวหาสัมผัส  อาการที่ลิ้น รส และชิวหาวิญญาณประจวบกัน

ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ลิ้น รส และชิวหาวิญญาณประจวบกัน

ชี  นักบวช, หญิงถือบวช, อุบาสิกาที่นุ่งขาวห่มขาวโกนผมโกนคิ้ว ถือศีล

ชีต้น  พระสงฆ์ที่คุ้นเคยใกล้ชิดกับครอบครัวหรือตระกูล ซึ่งเขาเคารพนับถือเป็นอาจารย์เป็นที่ปรึกษา เรียกอย่างคำบาลีว่า กุลุปกะ, กุลูปกะ หรือ กุลุปก์  ดู กุลุปกะ

ชีเปลือย  นักบวชจำพวกหนึ่ง ถือเพศเปลือยกาย

ชีพ  ชีวิต, ความเป็นอยู่

ชีวก  ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย, เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์

* หมอชีวกเกิดที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นบุตรของนางคณิกา (หญิงงามเมือง) ชื่อว่าสาลวดี แต่ไม่รู้จักมารดาบิดาของตน เพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์ เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทารกไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ เจ้าชายอภัย โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะไปเข้าเฝ้า เสด็จผ่านไป เห็นการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิตอยู่ จึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ในขณะที่ทรงทราบว่าเป็นทารกเจ้าชายอภัยได้ตรัสถามว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ (หรือยังเป็นอยู่) หรือไม่ และทรงได้รับคำตอบว่ายังมีชีวิตอยู่ (ชีวติ = ยังเป็นอยู่ หรือยังมีชีวิตอยู่) ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า ชีวก (ผู้ยังเป็น) และเพราะเหตุที่เป็นผู้อันเจ้าชายเลี้ยงจึงได้มีสร้อยนามว่า โกมารภัจจ์ (ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง)

ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัว จึงได้เดินทางไปศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ ๗ ปี  อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให้ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยา ชีวกหาไม่พบ กลับมาบอกอาจารย์ ๆ ว่าสำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์เมื่อเสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมืองสาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้า เดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็นค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา  เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอาและโปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์ ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ นางให้เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมอชีวกได้รักษาโรครายสำคัญหลายครั้งเช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าในคราวที่พระบาทห้อพระโลหิตเนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขา เพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ

หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไป จึงสร้างวัดถวายในอัมพวันคือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวันของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล

ชีวกโกมารภัจจ์  ผู้ที่พระราชกุมารเลี้ยง ชื่อชีวก  ดู ชีวก

ชีวิต  ความเป็นอยู่

ชีวิตสมสีสี  ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต,  ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี

ชีวิตักษัย  การสิ้นชีวิต, ตาย

ชีวิตินทรีย์  อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการตามรักษาสหชาตธรรม (ธรรมที่เกิดร่วมด้วย) ดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว เป็นต้น มี ๒ ฝ่ายคือ ๑. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นชีวิตรูป เป็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๑๓) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงเหล่ากรรมชรูป (รูปที่เกิดแต่กรรม) บางทีเรียก รูปชีวิตินทรีย์  ๒. ชีวิตินทรีย์ที่เป็นเจตสิกเป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวง) อย่างหนึ่ง (ข้อที่ ๖) เป็นเจ้าการในการรักษาหล่อเลี้ยงนามธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย บางทีเรียก อรูปชีวิตินทรีย์ หรือ นามชีวิตินทรีย์

ชีโว   ผู้เป็น, ดวงชีพ ตรงกับ อาตมัน หรือ “อัตตา” ของลัทธิพราหมณ์

ชุณหปักษ์  ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง, ข้างขึ้น

ชูงวง   ในประโยคว่า “เราจักไม่ชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล” ถือตัว

เชษฐ, เชษฐา  พี่

เชฏฐภคินี  พี่สาวคนโต

เชฏฐมาส  เดือน ๗

เชาวน์  ความนึกคิดที่แล่นไป, ความเร็วของปัญญาหรือความคิด, ไหวพริบ

เชื่อดายไป   เชื่อเรื่อยไป, เชื่อดะไปโดยไม่นึกถึงเหตุผล




หมวดพยัญชนะ

ซัดไปประหาร   ฆ่าหรือทำร้ายโดยยิงด้วยศรหรือด้วยปืน พุ่งด้วยหอก ขว้างด้วยศิลา เป็นต้น



หมวดพยัญชนะ

ฌาน  การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ญาณ ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน   มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)  ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓. ตติยฌาน   มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)   ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา)

ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ  ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

ฌาปนกิจ  กิจเผาศพ, การเผาศพ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กุมภาพันธ์ 2556 18:15:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2556 15:18:36 »

.

หมวดพยัญชนะ

ญัตติ  คำเผดียงสงฆ์, การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน, วาจานัด

ญัตติกรรม  กรรมอันกระทำด้วยตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือ ประกาศให้สงฆ์ทราบ เพื่อทำกิจร่วมกัน เรียกว่าเผดียงสงฆ์อย่างเดียว ไม่ต้องขอมติ เช่น อุโบสถ และ ปวารณา เป็นต้น

ญัตติจตุตถกรรม  กรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่ สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบท เป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวดอนุสาวนาคำประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์คือที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยว ว่าจะอนุมัติหรือไม่

ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม  ได้แก่วิธีอุปสมบทที่สงฆ์เป็นผู้กระทำอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยภิกษุประชุมครบองค์กำหนด ในเขตชุมนุมซึ่งเรียกว่าสีมา กล่าววาจาประกาศเรื่องความที่จะรับคนนั้นเข้าหมู่ และได้รับความยินยอมของภิกษุทั้งปวงผู้เข้าประชุมเป็นสงฆ์นั้น; พระราธะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับอุปสมบทอย่างนี้

ญัตติทุติยกรรม  กรรมมีญัตติเป็นที่สอง หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผ้ากฐิน เป็นต้น
 
ญาณ  ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้ ; ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต  ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต  ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน; อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง  ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ  ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;  อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

ญาณ ๑๖  ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ  ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป  ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ   ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป  ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์  ๔. – ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙) ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน  ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค  ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล  ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;  ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส; ดู วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณจริต  คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

ญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔ ดู วิสุทธิ

ญาณวิปปยุต   ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

ญาตปริญญา  กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือกำหนดรู้สิ่งนั้น ๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกจากสิ่งอื่น ๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา  เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)

ญาตัตถจริยา   พระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระญาติ, ทรงประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ,  เช่น ทรงอนุญาตให้พระญาติที่เป็นเดียรถีย์เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนก่อนเหมือนเดียรถีย์อื่น และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำ เป็นต้น ดู พุทธจริยา

ญาติ  พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านนับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้างล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน), เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ

ญาติพลี  สงเคราะห์ญาติ, ช่วยเหลือเกื้อกูลญาติ (ข้อ ๑ ในพลี ๕ อย่างแห่งโภคอาทิยะ ๕)

ญาติสาโลหิต  พี่น้องร่วมสายโลหิต (ญาติ=พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, สาโลหิต=ผู้ร่วมสายเลือดคือญาติที่สืบสกุลมาโดยตรง)

ญายะ, ญายธรรม  ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูก, วิธีการที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน

ญายปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หรือปฏิบัติเป็นธรรม คือปฏิบัติปฏิปทาที่จะให้เกิดความรู้ หรือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ อีกนัยหนึ่งว่าปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกเป็นประมาณ (ข้อ ๓ ในสังฆคุณ  ๙)

ไญยธรรม  ธรรมอันควรรู้, สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจ; เญยธรรม ก็เขียน



หมวดพยัญชนะ

ฎีกา ๑. ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลัง แต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา  ๒. หนังสือนิมนต์พระสงฆ์  ๓. ใบบอกบุญเรี่ยไร

หมวดพยัญชนะ

ฐานะ  เหตุ, อย่าง, ประการ, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, โอกาส, ความเป็นไปได้

ฐานาฐานญาณ  ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)

ฐานานุกรม  ลำดับตำแหน่งยศที่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์แล้ว มีอำนาจตั้งให้แก่พระภิกษุชั้นผู้น้อยตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นต้น

ฐานานุรูป  สมควรแก่ตำแหน่ง, สมควรแก่เหตุที่จะเป็นได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กุมภาพันธ์ 2556 15:21:02 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 01 มีนาคม 2556 11:07:03 »

.

หมวดพยัญชนะ

ด้น  เย็บผ้าให้ติดกันเป็นตะเข็บโดยฝีเย็บ

ดนตรี  ลำดับเสียงอันไพเราะ

ดวงตาเห็นธรรม  แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา  ดู ธรรมจักษุ

ดับไม่มีเชื้อเหลือ  ดับหมด  คือดับทั้งกิเลสทั้งขันธ์ (=อนุปาทิเสสนิพพาน)

ดาบส  ผู้บำเพ็ญตบะ,  ผู้เผากิเลส

ดาวเคราะห์  ดู  ดาวพระเคราะห์

ดาวดึงส์  สวรรค์ชั้นที่ – แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีจอมเทพผู้ปกครองชื่อท้าวสักกะ แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าพระอินทร์

ดาวนักษัตร  ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ
๑. อัศวินี (ดาวม้า) มี ๗ ดวง  ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง  ๓. กฤติกา  (ดาวลูกไก่)  มี ๘ ดวง  ๔. โรหิณี (ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง  ๕. มฤคศิร (ดาวหัวเนื้อ) มี ๓ ดวง  ๖. อารทรา (ดาวตาสำเภา) มี   ๑  ดวง  ๗. ปุนัพสุ (ดาวสำเภาทอง)  มี ๓ ดวง  ๘. บุษย (ดาวสมอสำเภา)  มี ๕ ดวง  ๙. อาศเลษา (ดาวเรือน)  มี ๕ ดวง  ๑๐. มฆา  (ดาวงูผู้)  มี ๕ ดวง  ๑๑. บุรพผลคุณี (ดาวงูเมีย)  มี ๒ ดวง  ๑๒. อุตรผลคุณี (ดาวเพดาน) มี ๒ ดวง  ๑๓. หัสต (ดาวศอกคู้)  มี ๕ ดวง  ๑๔. จิตรา  (ดาวตาจระเข้)  มี ๑ ดวง  ๑๕. สวาติ (ดาวช้างพัง) มี ๕ ดวง  ๑๖. วิศาขา (ดาวคันฉัตร) มี ๕ ดวง  ๑๗. อนุราธา (ดาวประจำฉัตร)  มี ๔ ดวง   ๑๘. เชษฐา (ดาวช้างใหญ่) มี ๑๔ ดวง  ๑๙. มูลา (ดาวช้างน้อย) มี ๙ ดวง  ๒๐. บุรพาษาฒ (ดาวสัปคับช้าง) มี ๓ ดวง  ๒๑. อุตราษาฒ (ดาวแตรงอน) มี ๕ ดวง  ๒๒. ศรวณะ (ดาวหลักชัย) มี ๓ ดวง  ๒๓. ธนิษฐา (ดาวไซ) มี ๔ ดวง  ๒๔. ศตภิษัช (ดาวพิมพ์ทอง) มี ๔ ดวง  ๒๕. บุรพภัทรบท (ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง  ๒๖. อุตรภัทรบท (ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง  ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน) มี ๑๖ ดวง

ดาวพระเคราะห์  ในทางโหราศาสตร์หมายถึงดาวทั้ง ๙ ที่เรียกว่า นพเคราะห์ คืออาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ; แต่ในทางดาราศาสตร์เรียก ดาวเคราะห์ หมายถึงดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๙ ดวง คือ พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ มฤตยู (ยูเรนัส) เกตุ หรือพระสมุทร (เนปจูน) พระยม (พลูโต)

ดาวฤกษ์ ดู ดาวนักษัตร

ดำริ  คิด, ตริตรอง

ดำริชอบ  ดำริออกจากกาม ดำริในอันไม่พยาบาท ดำริในอันไม่เบียดเบียน ดู สัมมาสังกัปปะ

ดำฤษณา  ความอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา (ตัณหา)

ดิถี  วันตามจันทรคติ  ใช้ว่า ค่ำหนึ่ง สองค่ำ เป็นต้น

ดิถีเพ็ญ  ดิถีมีพระจันทร์เต็มดวง, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ดิรัจฉาน  สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)

ดิรัจฉานกถา  ดู ดิรัจฉานกถา

ดิรัจฉานวิชา  ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน เช่นรู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้คนถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทางทำนาย เช่นหมอดู เป็นต้น  เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลงงมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล

ดึกดำบรรพ์  ครั้งเก่าก่อน, ครั้งโบราณ

ดุษณีภาพ  ความเป็นผู้นิ่ง

ดุสิต  สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนจุติลงมาสู่มนุษย์โลกและตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย

เดาะ  (ในคำว่าการเดาะกฐิน) เสียหาย คือกฐินใช้ไม่ได้หมดประโยชน์ หมดอานิสงส์ ออกมาจากคำว่า อุพฺภาโร, อุทฺธาโร  แปลว่ายกขึ้น หรือรื้อ เข้ากับศัพท์กฐินแปลว่ารื้อไม้สะดึง คือหมดโอกาสได้ประโยชน์จากกฐิน

เดียงสา   รู้ความควรและไม่ควร, รู้ความเป็นไปบริบูรณ์แล้ว, เข้าใจความ

เดียรฉาน, เดียรัจฉาน  สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้

เดียรถีย์  นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

เดือน  ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ดั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา

โดยชอบ  ในประโยคว่า “เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ”  ความตรัสรู้นั้นชอบ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่วิปริต ให้สำเร็จประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่น

ได้รับสมมติ  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ หรือทำกิจที่สงฆ์มอบหมายอย่างใดอย่างนึ่ง
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 01 มีนาคม 2556 12:20:56 »

.

หมวดพยัญชนะ

ตจะ   หนัง

ตจปัญจกกัมมัฏฐาน  กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมันไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส  พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)

ตติยฌาน  ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา

ตถาคต  พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือเสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น  ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง  ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น  ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น  ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ

ตถาคตโพธิสัทธา  ดู สัทธา

ตทังคปหาน  “การละด้วยองค์นั้น”,  การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่าการละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ เช่น ละโกรธด้วยเมตตา (แปลกันมาว่าการละกิเลสได้ชั่วคราว)

ตทังควิมุตติ  พ้นด้วยองค์นั้นๆ หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา หายโกรธ เกิดสังเวช หายกำหนัด เป็นต้น  เป็นการหลุดพ้นชั่วคราวและเป็นโลกียวิมุตติ  ดู วิมุตติ

ต้นโพธิ์  ดู  โพธิ

ตบะ  ๑. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส. การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส ๒. พิธีข่มกิเลส โดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล

ตปุสสะ  พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบท คู่กับภัลลิกะ  พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล  ข้าวสัตตุก้อน  แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก

ตโปทาราม  สวนซึ่งอยู่ใกล้ บ่อน้ำพุร้อน ชื่อ ตโปทา  ใกล้พระนครราชคฤห์ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

ตระกูลอันมั่งคั่ง  จะตั้งอยู่นานไม่ได้ เพราะเหตุ ๔ คือ ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว  ๒. ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า  ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ  ๔. ตั้งสตรีหรือบุรุษทุศีลให้เป็นแม่บ้านพ่อเรือน

ตระบัด   ยืมของเขาไปแล้วเอาเสีย เช่น ขอยืมของไปใช้แล้วไม่ส่งคืน กู้หนี้ไปแล้วไม่ส่งต้นทุนและดอกเบี้ย

ตระหนี่  เหนียว, เหนียวแน่น, ไม่อยากให้ง่ายๆ, ขี้เหนียว (มัจฉริยะ)

ตรัสรู้  รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ตรุษ  นักษัตรฤกษ์เมื่อเวลาสิ้นปี

ต้อง   ถูก, ถึง, ประสบ (ในคำว่า “ต้องอาบัติ”  คือ ถึงความละเมิด  หรือมีความผิดสถานนั้นๆ คล้ายในคำว่า ต้องหา ต้องขัง ต้องโทษ ต้องคดี)

ต่อตาม  พูดเกี่ยงราคาในเรื่องซื้อขาย, พูดเกี่ยงผลประโยชน์ในการทำความตกลงกัน

ต่อหนังสือค่ำ  วิธีที่ใช้สอนให้จำ ในยุคที่ยังไม่ได้ใช้หนังสือ โดยอาจารย์สอนให้ว่าทีละคำหรือทีละวรรค ศิษย์ก็ว่าตามว่าซ้ำหลายๆ ครั้งเพื่อให้จำได้ เมื่อศิษย์จำได้แล้ว อาจารย์ก็สอนต่อไปทุกๆ วัน วันละมากหรือน้อยแล้วแต่ความสามารถของศิษย์ นี่เรียกว่าต่อหนังสือ และมักต่อในเวลาค่ำ จึงเรียกว่าต่อหนังสือค่ำ

ตะเบ็งมาน  เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้สองข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กันขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง

ตะโพน  เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีหนังสองหน้า ตรงกลางป่อง ริม ๒ ข้างสอบลง

ตักสิลา  ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ  ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป  ตักสิลามีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล เคยรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ เป็นสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุคโบราณ เรียกกันว่า เป็นเมืองมหาวิทยาลัย สันนิษฐานกันว่า บัดนี้ อยู่ในเขตราวัลปินดิ ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน
• ตักสิลาเป็นราชธานีที่มั่งคั่งรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายศตวรรษ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ มีเรื่องราวเล่าไว้ในชาดกเป็นอันมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตักสิลาเป็นศูนย์กลางการศึกษา มีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่างๆ แก่ศิษย์ซึ่งเดินทางมาเล่าเรียนจากทุกถิ่นในชมพูทวีป แต่ในยุคก่อนพุทธกาล ชนวรรณะสูงเท่านั้นจึงมีสิทธิเข้าเรียนได้ บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยพุทธกาลสำเร็จการศึกษาจากนครตักสิลา เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้ามหาลิลิจฉวี พันธุลเสนาบดี หมอชีวกโกมารภัจ และองคุลิมาลเป็นต้น   ต่อมาภายหลังพุทธกาลตักสิลาได้ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์กรีกยึดครอง มีหนังสือที่คนชาติกรีกกล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองตักสิลา เช่นว่า ประชาชนชาวตักสิลา ถ้าเป็นคนยากจนไม่สามารถจะปลูกฝังธิดาให้มีเหย้าเรือนตามประเพณีได้ ก็นำธิดาไปขายที่ตลาดโดยเป่าสังข์ตีกลองเป็นอาณัติสัญญาณ  ประชาชนก็พากันมาล้อมดู ถ้าผู้ใดชอบใจก็ตกลงราคากันนำไปเป็นภรรยา  หญิงที่สามีตายจะต้องเผาตัวตายไปกับสามี

นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา  ตักสิลาได้เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนา ซึ่งเจริญขึ้นมาเคียงข้างศาสนาฮินดู เป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของการศึกษาพระพุทธศาสนา ดังมีซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และประติมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมากปรากฏเป็นหลักฐาน

ต่อมาราว พ.ศ. ๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียนได้มาสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย  ยังได้มานมัสการพระสถูปเจดีย์ที่เมืองตักสิลา  แสดงว่าเมืองตักสิลายังคงบริบูรณ์ดีอยู่ แต่ต่อมาราว พ.ศ. ๑๐๕๐  ชนชาติฮั่นยกมาตีอินเดียและได้ทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักสิลาพินาศสาบสูญไป ครั้นถึง พ.ศ. ๑๑๘๖ หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) มาสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย กล่าวว่าเมืองตักสิลาตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เป็นเพียงเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในแคว้นกัษมีระ  โบสถ์วิหาร สถานศึกษา แลปูชนียสถานถูกทำลายหมด จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองตักสิลาอีก;  เขียนเต็มตามบาลีเป็น ตักกสิลา  เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ตักษศิลา  อังกฤษเขียน Taxila

ตั่ง  ม้า ๔ เหลี่ยมรี นั่งได้ ๒ คนก็มี

ตัชชนียกรรม  กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่, สังฆกรรมประเภทนิคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิโทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์  เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร

ตั้งใจชอบ  ดู  สัมมาสมาธิ

ตณฺหกฺขโย   ความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นไวพจน์อย่างหนึ่งแห่งวิราคะและนิพพาน

ตัณหา ๑  ความทะยานอยาก,  ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความแส่หา มี ๓ คือ ๑. กามตัณหา  ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่  ๒. ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่  ๓. วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

ตัณหา ๒  ธิดามารนางหนึ่งใน ๓ นาง ที่อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ (อีก ๒ นาง คือ อรดีกับราคา)

ตัตรมัชฌัตตตา  ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ,  ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียก อุเบกขา (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

ตัสสปาปิยสิกากรรม   กรรมอันสงฆ์พึงทำเพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้เลวทราม,  กรรมนี้สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้เป็นจำเลยในอนุวาทาธิกรณ์ ให้การกลับไปกลับมา เดี๋ยวปฏิเสธ เดี๋ยวสารภาพ พูดถลากไถล พูดกลบเกลื่อนข้อที่ถูกซัก พูดมุสาซึ่งหน้า สงฆ์ทำกรรมนี้แก่เธอเป็นการลงโทษตามความผิดแม้ว่าเธอจะไม่รับ หรือเพื่อเพิ่มโทษจากอาบัติที่ต้อง

ตาลุ  เพดานปาก

ตำรับ, ตำหรับ  ตำราที่กำหนดไว้เป็นเฉพาะแต่ละเรื่องละราย

ติกะ  หมวด ๓

ติจีวรวิปปวาส   การอยู่ปราศจากไตรจีวร

ติจีวรอวิปปวาส  การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร  ดู ติจีวราวิปปวาส

ติจีวราวิปปวาส   การไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร คือ ภิกษุอยู่ในแดนที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสแล้ว อยู่ห่างจากไตรจีวรก็ไม่เป็นอันอยู่ปราศ ไม่ต้องอาบัติด้วยนิสสัคคิยปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๑

ติจีวราวิปปวาสสีมา  แดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติแล้วภิกษุอยู่ห่างจากไตรจีวรในสีมานั้นก็ไม่เป็นอันปราศ

ติณชาติ  หญ้า

ติณวัตถารกวิธี  วิธีแห่ง ติณวัตถารกวินัย

ติณวัตถารกวินัย   ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับด้วยวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก

ติตถกร  เจ้าลัทธิ  หมายถึงคณาจารย์ ๖ คน คือ ๑. ปูรณกัสสป  ๒. มักขลิโคสาล  ๓. อชิตเกสกัมพล  ๔. ปกุทธกัจจายนะ  ๕. สัญชัยเวลัฏฐบุตร  ๖. นิครนถนาฏบุตร มักเรียกว่า ครูทั้ง ๖

ติตถิยะ  เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา

ติตถิยปริวาส  วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมบทได้

ติตถิยปักกันตกะ   ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)

ติรัจฉานกถา  ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน, เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าพระราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้ โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่าโจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)

ติรัจฉานโยนิ  กำเนิดดิรัจฉาน

ติรัจฉานวิชา  ดู ดิรัจฉานวิชา

ติสรณคมนูปสัมปทา  อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ เป็นวิธีบวชพระที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชกุลบุตรในครั้งต้นพุทธกาล ต่อมาเมื่อทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยญัตติจจุตถกรรมแล้ว ก็ทรงอนุญาตการบวชด้วยไตรสรณคมน์นี้ ให้เป็นวิธีบวชสามเณรสืบมา

ติสสเถระ  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในเกาะลังกา เคยอุปการะพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย คราวเสียราชสมบัติแก่ทมิฬ ภายหลังทรงกู้ราชสมบัติคืนได้แล้ว ได้สร้างวัดอภัยคีรีวิหารถวาย

ติสสเมตเตยยมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่  ปาสาณเจดีย์

ตีรณปริญญา   กำหนดรู้ขั้นพิจารณาคือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ข้อ ๒ ในปริญญา ๓)

ตุมพสตูป  พระสถูปบรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ โทณพราหมณ์เป็นผู้สร้าง

ตุลาการ  ผู้วินิจฉัยอรรถคดี,  ผู้ตัดสินคดี

ตู่,  กล่าวตู่  กล่าวอ้างหรือทักทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธเจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ , กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่าไม่จริงหรือไม่สำคัญ

ตู่กรรมสิทธิ์  กล่าวอ้างเอากรรมสิทธิ์ของผู้อื่นว่าเป็นของตัว

เตจีวริกังคะ  องค์แห่งภิกษุผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร  คือถือเพียงผ้าสามผืน ได้แก่ จีวร สบง สังฆาฏิอย่างละผืนเท่านั้น ไม่ใช้จีวรนอกจากผ้าสามผืนนั้น (ข้อ ๒ ในธุดงค์ ๑๓)

เตโชธาตุ  ธาตุไฟ, ธาตุที่มีลักษณะร้อน, ความร้อน; ในร่างกาย ได้แก่ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เผาอาหารให้ย่อย

เตรสกัณฑ์  “กัณฑ์สิบสาม”  ตอนที่ว่าด้วยสิกขาบท ๑๓ หมายถึง หมวดความในพระวินัยปิฎก ส่วนที่ว่าด้วยบทบัญญัติเกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งมี ๑๓ สิกขาบท

เตวาจิก   มีวาจาครบสาม  หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะครบทั้งสามอย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ บิดาพระยสเป็นคนแรก ที่ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต (เทียบ เทฺวาจิก)

เตียง  ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่ ๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)

โตเทยยมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา  ที่ปาสาณเจดีย์

ไตรจีวร  จีวรสาม, ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ๑. สังฆาฏิ ผ้าทาบ  ๒. อุตราสงค์ ผ้าห่ม เรียกสามัญในภาษาไทยว่าจีวร  ๓. อันตรวาสก   ผ้านุ่ง เรียกสามัญว่า สบง

ไตรทวาร  ทวารสาม, ทางทำกรรม ๓ ทาง คือ กายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร

ไตรปิฎก “ปิฎกสาม” ;    ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว  โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด   หรือ  ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก  สุตตันตปิฎก และ อภิธรรมปิฎก;  พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้
๑. พระวินัยปิฎก  ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปาราชิกถึงอนิยต  ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด  ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ  ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย

พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่งเป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อ ในแบบต้นนั้นใหม่) คือ ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ)  ฝ่ายภิกษุสงฆ์  ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์  ๓. มหาวรรค  ๔. จุลวรรค  ๕. ปริวาร

บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสักขาบทในปาฏิโมกข์ ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน)  ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒ ขันธกะ หรือ ๒๒ บทตอน (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)  ๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)

๒. พระสุตตันตปิฎก  ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อ หรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ)  คือ ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร  ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร   ๓. สังยุตตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร  ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร  ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์

๓. พระอภิธรรมปิฎก  ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ  ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ  ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ  ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓  ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ  ๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑  ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐินจีวร นิคหกรรม และการทะเลาะวิวาท และสามัคคี
เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑  มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคหกรรม วุฏฐานวิธี และ การระงับอธิกรณ์
เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี  เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
เล่ม ๘  ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม
๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๙  สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และ สังคีติสูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์   บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์  บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์  บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร

๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๑๕ สคาถวรรค  รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น  จัดเป็น กลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์
เล่ม ๑๖ นิทานวรรค  ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะเป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน  ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล  จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)

๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
เล่ม ๒๐  เอก-ทุก-ติกนิบาต  ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต  ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
เล่ม ๒๔  ทสก-เอกาทสกนิบาต  ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะ ถึงปรมัตถะ  ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน

๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
เล่ม ๒๕  รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)  ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)  อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐)  อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ”  แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร)  และ สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ  ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
เล่ม ๒๖  มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์ อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)  เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง)  เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น) เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑  รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก  ภาค ๒  รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก
เล่ม ๒๙ มหานิทเทส  ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส  ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค   ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปานอินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑  คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒  คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์   เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์  พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2556 12:30:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 01 มีนาคม 2556 12:32:00 »

.

ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ  และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม  โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น  รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา  จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา  ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
เล่ม ๓๕ วิภังค์  ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องบๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔  อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌานอัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญานประเภทต่างๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่าง ๆ อธิบายเรื่องใดก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่น อธิบายขันธ์๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์
เล่ม ๓๖ ธาตุกถา  นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหน ๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑  คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง  ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด)เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก
เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒  ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑  คัมภีร์ปัฏฐานอธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ  ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรมซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)  โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่ากุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ)  กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอะปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ) อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะ หรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ ) กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธ จึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน  ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมมณปัจจัย (พิจารณารูปเสียงเป็นต้นที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ ) เป็นต้น
เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน  อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุ วิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็อนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม ที่เป็นโลกียธรรม โดย อธิปติปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น  อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา)   อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น  อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นชุดโลกียะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖   เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร  อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม  ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรมเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร  ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน  ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)

คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ไตรเพท   พระเวท ๓ อย่าง ซึ่งเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ประมวลบทสรรเสริญเทพเจ้า  ๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่างๆ  ๓. สามเวท ประมวลบทเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาเพิ่มอถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท อันว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์เข้ามาอีกเป็น ๔

ไตรมาส  สามเดือน

ไตรรัตน์  แก้วสามประการ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ไตรลักษณ์  ลักษณะสาม คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน (อนิจฺจตา ทุกฺขตา อนตฺตตา)  ดู สามัญลักษณะ

ไตรลิงค์  สามเพศ  หมายถึง คำศัพท์ที่เป็นได้ทั้งสามเพศในทางไวยากรณ์ กล่าวคือ ปุริงค์ เพศชาย  อิตถีลิงค์ เพศหญิง  นุปุสกลิงค์ มิใช่เพศชายและหญิง ;  คำบาลีที่เป็นไตรลิงค์ เช่น นิพฺพุโต  นิพฺพุตา  นิพฺพุตํ เป็น ปุลิงค์  อิตถีลิงค์ และ นปุสกลิงค์ ตามลำดับ

ไตรวัฏฏ์,  ไตรวัฏ  วัฏฏะ ๓,  วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก เรียกเต็มว่า ๑. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน  ๒. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓. วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา  ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลสคือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ไตรสรณะ  ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ไตรสรณคมน์  การถึงสรณะสาม, การถึงรัตนะสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
คำถึงไตรสรณะดังนี้ : พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ), ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะ),  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้า ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ) ;  ทุติยมฺปิ พทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่ ๒),  ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณฺ คจฺฉามิ, ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ;  ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ (ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแม้ครั้งที่ ๓),  ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,  ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

ไตรสิกขา  สิกขาสาม, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 มีนาคม 2556 12:34:06 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 01 มีนาคม 2556 12:43:00 »

.

หมวดพยัญชนะ

ถ้วนทศมาส  ครบสิบเดือน

ถวายพระเพลิง   ให้ไฟ คือ เผา

ถอน (ในคำว่า “รู้จักถอนไตรจีวร”) ยกเลิกของเดิม ออกมาจากศัพท์ ปัจจุทธรณ์

ถัมภะ  หัวดื้อ (ข้อ ๑๑ ในอุปกิเลส ๑๖)

ถาวรวัตถุ  สิ่งของที่มั่นคง  ได้แก่ของที่สร้างด้วยอิฐ  ปูน  หรือโลหะ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร เป็นต้น

ถีนะ  ความหดหู่,  ความท้อแท้ใจ

ถีนมิทธะ  ความหดหู่และเซื่องซึม,  ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม, ความง่วงเหงาซึมเซา (ข้อ ๓ ในนิวรณ์ ๕)

ถึงที่สุดเพท  เรียนจบไตรเพท

ถือ  (ในคำว่า การให้ถือเสนาสนะ) รับแจก, รับมอบ, ถือสิทธิ์ครอบครอง

ถือบวช  ถือการเว้นต่าง ๆ ตามข้อกำหนดทางศาสนา

ถือบังสุกุล  ใช้ผ้าเฉพาะที่ได้จากกองฝุ่นกองหยากเยื่อ คือผ้าที่เขาทิ้งแล้วมาทำเครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ผ้าที่ชาวบ้านถวาย ดู ปังสุกูลิกังคะ

ถุลลโกฏฐิตนิคม  นิคมแห่งหนึ่งอยู่ในแคว้นกุรุ

ถุลลัจจัย   “ความล่วงละเมิดที่หยาบ”,  ชื่ออาบัติหยาบอย่างหนึ่งเป็นความผิดชั้นถัดรองลงมาจากอาบัติสังฆาทิเสส เช่น ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุชักสื่อบัณเฑาวะก์ (กะเทย) ต้องอาบัติถุลลัจจัย  ภิกษุนุ่งห่มหนังเสืออย่างเดียรถีย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย  ดู อาบัติ

ถูณคาม  ตำบลที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท  ด้านทิศตะวันตก เขียนถูนคามก็มี

ถูปารหบุคคล บุคคลผู้ควรแก่สถูป คือ บุคคลที่ควรนำกระดูกบรรจุสถูปไว้บูชา มี ๔ คือ ๑. พระพุทธเจ้า  ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระอรหันตสาวก  ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ

เถยยสังวาส  ลักเพศ,  มิใช่ภิกษุ แต่ปลอมเพศเป็นภิกษุ (พจนานุกรมเขียน เถยสังวาส, เขียนอย่างบาลีเป็น เถยยสังวาสก์)

เถระ  พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป

เถรภูมิ   ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป และรู้ปาฏิโมกข์ เป็นต้น

เถรวาท  วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้  ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)

เถรานุเถระ  “เถระและอนุเถระ”,  พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย

เถรี  พระเถระผู้หญิง

ไถ้  ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ

ไถยจิต  จิตคิดจะลัก,  จิตคิดขโมย,  จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556 17:48:45 »

.

หมวดพยัญชนะ

ทธิ  นมส้ม, นมเปรี้ยว

ทนต์   ฟัน

ทมะ  การฝึก,  การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ  บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าดีงามสมควรเป็นประโยชน์  รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ (ข้อ – ใน ฆราวาสธรรม ๔)

ทมิฬ  ชื่อชนเผ่าหนึ่งในเกาะลังกา เคยชิงราชสมบัติพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยได้

ทรกรรม  การทำให้ลำบาก

ทรง   ในประโยคว่า “ภิกษุทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง” ครอง, นุ่งห่ม, มีไว้เป็นสิทธิ์, เก็บไว้, ครอบครอง

ทรง  ในประโยคว่า “พึงทรงอติเรกบาตรไว้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง” ใช้, มี, เก็บไว้, รักษาไว้, ครอบครอง

ทรมาน  ข่ม, ปราบ, ฝึก, ทำให้เสื่อมพยศ, ทำให้เสื่อมการถือตัว, ทำให้กลับใจ บัดนี้มักหมายถึง ทำให้ลำบาก

ทรยศ  คิดร้ายต่อมิตรหรือผู้มีบุญคุณ

ทวาร  ประตู, ทาง, ช่องตามร่างกาย  ๑. ทางรับรู้อารมณ์ มี ๖ คือ ๑. จักขุทวาร ทางตา  ๒. โสตทวาร ทางหู  ๓. ฆานทวาร ทางจมูก  ๔. ชิวหาทวาร ทางลิ้น  ๕. กายทวาร ทางกาย  ๖. มโนทวาร ทางใจ  ๒. ทางทำกรรม มี ๓ คือ ๑. กายทวาร ทางกาย  ๒. วจีทวาร ทางวาจา  ๓. มโนทวาร ทางใจ

ทวารบาล  คนเฝ้าประตู

ทวารเบา  ช่องปัสสาวะ

ทวารหนัก  ช่องอุจจาระ

ทวิช  ชื่อหนึ่งสำหรับเรียกพราหมณ์ ในภาษาไทยเป็นทิชาจารย์หรือทวิชาจารย์ก็มี แปลว่าเกิดสองหน หมายถึงเกิดโดยกำเนิดครั้งหนึ่ง  เกิดโดยได้รับครอบเป็นพราหมณ์ครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนนกซึ่งเกิดสองหนเหมือนกัน คือเกิดจากท้องแม่ออกเป็นไข่หนหนึ่ง เกิดจากไข่เป็นตัวอีกหนหนึ่ง นกจึงมีชื่อเรียกว่า ทวิช หรือ ทิช  ซึ่งแปลว่า เกิดสองหนอีกชื่อหนึ่งด้วย

ทวิบท  สัตว์สองเท้า  มี กา ไก่ นก เป็นต้น

ทศพลญาณ  ดู ทสพลญาณ

ทศพิธราชธรรม  ดู ราชธรรม

ทศมาส  สิบเดือน

ทศวรรค  สงฆ์มีพวกสิบ คือ สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวน ๑๐ รูปเป็นอย่างน้อยจึงจะครบองค์ ทำสังฆกรรมประเภทนั้นๆ ได้ เช่น การอุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องใช้สงฆ์ทศวรรค

ทสกะ  หมวด ๑๐

ทศพลญาณ  พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต)  ๑๐ คือ ๑. ฐานาฐานญาณ  ๒. กรราวิปากญาณ  ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ  ๔. นานาธาตุญาณ  ๕. นานาธิมุตติกญาณ  ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ  ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ  ๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ  ๙. จุตูปปาตญาณ  ๑๐. อาสวักขยญาณ; นิยมเขียน ทศพลญาณ;  ดู ญาณ ชื่อนั้นๆ

ทองอาบ  ของอาบด้วยทอง,  ของชุบทอง,  ของแช่ทองคำให้จับผิว

ทอด  ในประโยคว่า “ทอดกรรมสิทธิ์ของตนเสีย”  ทิ้ง, ปล่อย, ละ

ทอดกฐิน  ดู กฐิน,  กฐินทาน

ทอดธุระ   ไม่เอาใจใส่,  ไม่สนใจ,  ไม่เอาธุระ

ทอดผ้าป่า เอาผ้าถวายโดยทิ้งไว้เพื่อให้พระชักเอาเอง  ดู ผ้าป่า

ทักขิณ, ทักษิณ  ขวา, ทิศใต้

ทักขิณทิส  ทิศเบื้องขวา  หมายถึง อาจารย์ (ตามความหมายในทิศ ๖)  ดู ทิศหก

ทักขิณา,  ทักษิณา   ทานที่ถวายเพื่อผลอันเจริญ,  ของทำบุญ

ทักขิณานุปทาน   ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

ทักขิณาบถ  เมืองแถบใต้, ประเทศฝ่ายทิศใต้

ทักขิณาวัฏ   เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เขียน ทักขิณาวัฏฏ์ หรือ ทักษิณาวรรต ก็มี

ทักขิเณยยบุคคล   บุคคลผู้ควรรับทักษิณา

ทกฺขิเณยฺโย  ผู้ควรแก่ทักขิณา,  พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)

ทักขิโณทก   น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน

ทักขิไณย  ผู้ควรแก่ทักขิณา,  ผู้ควรรับของทำบุญที่ทายกถวาย

ทักขิไณยบุคคล  บุคคลผู้ควรรับทักษิณา  ดู ทักขิไณย

ทักษิณนิกาย  นิกายพุทธศาสนาฝ่ายใต้ที่พวกอุตรนิกายตั้งชื่อให้ว่าหีนยาน ใช้บาลีมคธ บัดนี้ นิยมเรียกว่า เถรวาท

ทักษิณา  ทานเพื่อผลอันเจริญ, ของทำบุญ

ทักษิณานุประทาน   ทำบุญอุทิศผลให้แก่ผู้ตาย

ทักษิโณทก  น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่องหมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น  ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้

ทัณฑกรรม  การลงอาชญา, การลงโทษ;  ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณรคล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุ ได้แก่ กักบริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น

ทัณฑกรรมนาสนา   ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ  หมายถึง การไล่ออกจากสำนัก เช่น ที่ทำแก่กัณฑกสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง

ทัณฑปาณิ   กษัตริย์โกลิยวงศ์  เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าอัญชนะ  เป็นเชษฐาของพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา

ทันต์  ฟัน

ทันตชะ  อักษรเกิดแต่ฟัน คือ ต ถ ท ธ น และ ส

ทัพพมัลลบุตร  พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามัลลราช เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เวลาปลงผม พอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตตผล  ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล  ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล พอปลงผมเสร็จก็ได้บรรลุพระอรหัต ท่านรับภาระเป็นเจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ในตำแหน่งเสนาสนปัญญาปกะ (ผู้ดูแลจัดสถานที่พักอาศัยของพระ) และภัตตเทศก์ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาเสนาสนปัญญาปกะ

ทัพสัมภาระ  เครื่องเคราและส่วนประกอบทั้งหลาย, สิ่งและเครื่องอันเป็นส่วนประกอบที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เรือ รถหรือเกวียนเป็นต้น ; เขียนเต็มว่า ทัพพสัมภาระ

ทัศนีย์  งาม, น่าดู

ทัสสนะ  การเห็น, การเห็นด้วยปัญญา, ความเห็น, สิ่งที่เห็น

ทัสสนานุตตริยะ  การเห็นที่ยอดเยี่ยม (ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ  ๓  หมายถึงปัญญาอันเห็นธรรม  ตลอดถึงเห็นนิพพาน;  ข้อ ๑ ในอนุตตริยะ ๖ หมายถึง เห็นพระตถาคตสาวก และสิ่งอันบำรุงจิตใจให้เจริญ)

ทัฬหีกรรม  การทำให้มั่น เช่น การให้อุปสมบทซ้ำ

ทาฐธาตุ,  ทาฒธาตุ  พระธาตุคือเขี้ยว, พระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้ามีทั้งหมด ๔ องค์  ตำนานว่า พระเขี้ยวแก้วบนขวา ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์ในดาวดึงสเทวโลก,  องค์ล่างขวาไปอยู่ ณ แคว้นกาลิงคะ แล้วต่อไปยังลังกาทวีป,  องค์บนซ้ายไปอยู่ ณ แคว้นคันธาระ,  องค์ล่างซ้ายไปอยู่ในนาคพิภพ

ทาน  การให้,  สิ่งที่ให้,  ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ; ทาน ๒ คือ ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ  ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม; ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม  ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

ทานกถา   เรื่องทาน, พรรณนาทาน คือการให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไร เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา)

ทานบน ถ้อยคำหรือสัญญาว่าจะไม่ทำผิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้

ทานบารมี  จรรยาอย่างเลิศคือทาน (ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)

ท่านผู้มีอายุ  เป็นคำสำหรับพระผู้ใหญ่ ใช้เรียกพระผู้น้อย คือ พระที่มีพรรษาอ่อนกว่า (บาลีว่า อาวุโส)

ทานมัย  บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน (ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

ทายก  ผู้ให้ (ชาย)

ทายาท  ผู้สืบสกุล,  ผู้ควรรับมรดก

ทายิกา  ผู้ให้ (หญิง)

ทารก  เด็กที่ยังไม่เดียงสา

ทารุณ  หยาบช้า, ร้ายกาจ, รุนแรง, ดุร้าย, โหดร้าย

ทารุณกรรม  การทำโดยความโหดร้าย

ทาส  บ่าวทั่วไป, คนรับใช้

ทำกรรมเป็นวรรค   สงฆ์ทำสังฆกรรมโดยแยกเป็นพวกๆ ไม่สามัคคีกัน

ทำกัปปะ  ทำเครื่องหมายด้วยของ ๓ อย่าง คือ คราม ตม และดำคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งในเอกเทศ คือส่วนหนึ่งแห่งจีวร เรียกสามัญว่า พินทุ

ทำการเมือง  งานของแว่นแคว้น, งานของหลวง

ทำการวัด  งานของวัด, งานของพระในอาราม

ทำกาละ  ตาย

ทำคืน  แก้ไข

ทำบุญ  ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ
 
ทำร้ายด้วยวิชา  ได้แก่ ร่ายมนต์อาคมต่างๆ ใช้ภูตใช้ผีเพื่อทำผู้อื่นให้เจ็บตาย จัดเป็นดิรัจฉานวิชา เทียบตัวอย่างที่จะเห็นในบัดนี้ เช่น ฆ่าด้วยกำลังไฟฟ้า ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้

ทำโอกาส  ให้โอกาส ดู โอกาส

ทิฆัมพร   ท้องฟ้า

ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม  กรรมอันให้ผลในปัจจุบัน,  กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งให้ผลทันตาเห็น (ข้อ ๑ ในกรรม ๑๒)

ทิฏฐธัมมิกัตถะ  ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น  อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา  ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี  ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

ทิฏฐานุคติ  การดำเนินตามสิ่งที่ได้เห็น, แบบอย่าง, ตัวอย่าง, การทำตามอย่าง, ทางดำเนินตามที่ได้มองเห็น, เช่น พระผู้ใหญ่ปฏิบัติตนชอบ ก็เป็นทิฏฐานุคติของพระผู้น้อย

ทิฏฐาวิกัมม์  การทำความเห็นให้แจ้ง ได้แก่ แสดงความเห็นแย้ง คือ ภิกษุผู้เข้าประชุมในสงฆ์บางรูปไม่เห็นร่วมด้วยคำวินิจฉัยอันสงฆ์รับรองแล้ว ก็ให้แสดงความเห็นแย้งได้

ทิฏฐิ  ความเห็น,  ทฤษฎี ;  ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑. สัสสตทิฏฐิ   ความเห็นว่าเที่ยง  ๒. อุจเฉททิฏฐิ   ความเห็นว่าขาดสูญ;  อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ  ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ  ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น;  ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)

ทิฏฐิบาป  ความเห็นลามก

ทิฏฐิมานะ  ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข  มานะ ความถือตัว รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี

ทิฏฐิวิบัติ  วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย  ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)

ทิฏฐิวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)

ทิฏฐิสามัญญตา  ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ,  มีความเห็นร่วมกัน,  มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)

ทิฏฐชุกัมม์  การทำความเห็นให้ตรง, การแก้ไขปรับปรุงความคิดเห็นให้ถูกต้อง (ข้อ ๑๐ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ทิฏฐปาทาน  ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ (ข้อ ๒ ในอุปาทาน ๔)

ทิพพจักขุ จักษุทิพย์, ตาทิพย์ ญาณพิเศษของพระพุทธเจ้า และท่านผู้ได้อภิญญาทั้งหลาย ทำให้สามารถเล็งเห็นหมู่สัตว์ที่เป็นไปต่างๆ กันเพราะอำนาจกรรม เรียกอีกอย่างว่า จุตูปปาตญาณ  ดู อภิญญา

ทิพพจักขุญาณ  ญาณ คือ ทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงตาทิพย์

ทิพพโสต  หูทิพย์, ญาณพิเศษที่ทำให้ฟังอะไรได้ยินหมดตามปรารถนา  ดู อภิญญา

ทิพย์  เป็นของเทวดา, วิเศษ,  เลิศกว่าของมนุษย์

ทิพพจักษุ  ตาทิพย์,  ญาณพิเศษที่ทำให้ดูอะไรเห็นได้หมดตามปรารถนา  ดู ทิพพจักขุ

ทิวงคต  ไปสู่สวรรค์, ตาย

ทิวาวิหาร การพักผ่อนในเวลากลางวัน

ทิศ  ด้าน,  ข้าง,  ทาง,  แถบ;  ทิศแปด คือ อุดร อีสาน บูรพา อาคเนย์ ทักษิณ หรดี ประจิม (หรือ ปัจจิม)  พายัพ;  ทิศสิบ คือ ทิศแปดนั้น และทิศเบื้องบน (อุปริมทิศ)  ทิศเบื้องล่าง (เหฏฐิมทิศ)

ทิศทักษิณ  ทิศใต้,  ทิศเบื้องขวา

ทิศบูร  ทิศตะวันออก,  ทิศเบื้องหน้า

ทิศบูรพา  ทิศตะวันออก

ทิศปัจจิม  ทิศตะวันตก,  ทิศเบื้องหลัง

ทิศพายัพ  ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศหก  บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์  ดุจทิศที่อยู่รอบตัว จัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้ ๑. ปุรัตถิมทิส   ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา :  บุตรธิดา พึงบำรุงมารดาบิดา  ดังนี้ ๑.ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ  ๒. ช่วยทำกิจของท่าน  ๓. ดำรงวงศ์สกุล  ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท  ๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน;  มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา  ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว  ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี  ๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา  ๔. หาคู่ครองที่สมควรให้  ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร  ๒. ทักขิณทิส   ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ : ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ  ๒. เข้าไปหา  ๓. ใฝ่ใจเรียน  ๔. ปรนนิบัติ  ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ;  ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ดังนี้  ๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี  ๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง  ๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง  ๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน  ๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศ คือสอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้  ๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา: สามีพึงบำรุงภรรยาดังนี้ ๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา  ๒. ไม่ดูหมิ่น  ๓. ไม่นอกใจ  ๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้  ๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส;  ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้ ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย  ๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี  ๓. ไม่นอกใจ  ๔. รักษาสมบัติที่หามาได้  ๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง  ๔. อุตตรทิส   ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย : พึงบำรุงมิตรสหาย  ดังนี้ ๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน  ๒. พูดจามีน้ำใจ  ๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย  ๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน; มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบดังนี้  ๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน  ๒. เมื่อเพื่อประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน  ๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้  ๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก  ๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร  ๕. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน: นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ดังนี้  ๑.จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ  ๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่  ๓. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น  ๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้  ๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร; คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นายดังนี้ ๑. เริ่มทำงานก่อน  ๒. เลิกงานทีหลัง  ๓. เอาแต่ของที่นายให้  ๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น  ๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่  ๖. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์: คฤหัสถ์ถึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ ๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา  ๒. จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา  ๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา  ๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ  ๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔; พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว  ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี  ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี  ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  ๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง  ๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

ทิศหรดี  ทิศตะวันตกเฉียงใต้

ทิศอาคเนย์   ทิศตะวันออกเฉียงใต้

ทิศอีสาน  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ทิศอุดร  ทิศเหนือ, ทิศเบื้องซ้าย

ทิศานุทิศ  ทิศน้อยทิศใหญ่, ทิศทั่วๆ ไป

ทิศาปาโมกข์  อาจารย์ผู้เป็นประธานในทิศ,  อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง

ทีฆะ  สระมีเสียงยาว ได้แก่ อา อี อู เอ โอ

ทีฆนขะ   ชื่อปริพาชก ผู้หนึ่ง ตระกูลอัคคิเวสสนะ ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตรโปรดปริพาชกผู้นี้  พระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ ได้ฟังเทศนานั้น ได้สำเร็จพระอรหัต ส่วนทีฆนขะ เพียงแต่ได้ดวงตาเห็นธรรมแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา

ทีฆนิกาย  นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก  ดู ไตรปิฎก

ทีฆายุ  อายุยืน

ทีฆาวุ  พระราชโอรสของพระเจ้าทีฆีติ ราชาแห่งแคว้นโกศล ซึ่งถูกพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกาสีชิงแคว้นจับได้ และประหารชีวิตเสีย  ทีฆาวุกุมารดำรงอยู่ในพระโอวาทของพระบิดาที่ตรัสก่อนจะถูกประหาร ภายหลังได้ครองราชย์สมบัติทั้ง  ๒ แคว้น คือ แคว้น กาสีกับแคว้นโกศล

ที่ลับตา   ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ พอจะทำความชั่วได้

ที่ลับหู  ที่แจ้งไม่มีอะไรบัง แต่อยู่ห่างคนอื่นไม่ได้ยิน พอจะพูดเกี้ยวกันได้

ที่สุด ๒ อย่าง  ข้อปฏิบัติที่ผิดพลาดไม่อาจนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ ๒ อย่าง คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกามทั้งหลาย เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค  ๒. การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตนเปล่า หรือการทรมานตนให้ลำบากเปล่า เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ทุกะ  หมวด ๒

ทุกกฎ  “ทำไม่ดี” ชื่ออาบัติเบาอย่างหนึ่ง เป็นความผิดถัดรองลงมาจากปาฏิเทสนียะ เช่น ภิกษุสวมเสื้อ สวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะต้องอาบัติทุกกฏ  ดู อาบัติ

ทุกข์  ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง  ๒. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓)  ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ  คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

ทุกขขันธ์  กองทุกข์

ทุกขขัย  สิ้นทุกข์, หมดทุกข์

ทุกขตา  ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทน อยู่ไม่ได้ ดู ทุกขลักษณะ

ทุกขนิโรธ  ความดับทุกข์  หมายถึง พระนิพพาน เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  หมายถึงมรรคมีองค์แปด เรียกสั้นๆ ว่า มรรค

ทุกขลักษณะ  เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์,  ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑. ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา  ๒. ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้  ๓. เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์  ๔. แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข

ทุกขเวทนา  ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย

ทุกขสมุทัย   เหตุให้เกิดทุกข์  หมายถึง ตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกสั้นๆ ว่า สมุทัย

ทุกขสัญญา  ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์

ทุกรกิริยา  กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใครๆ จะทำได้  ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่างๆ เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง; เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

ทุคติ  คติชั่ว,  ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว, ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต (บางทีรวม อสุรกาย ด้วย)  ดู คติ, อบาย

ทุจริต  ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดีมี ๓ คือ ๑. กายทุจริต  ประพฤติชั่วด้วยกาย  ๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา  ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ
ทุฏฐุลลวาจา  วาจาชั่วหยาบ เป็นชื่ออาบัติสังฆาทิเสสข้อที่ ๓ ที่ว่าภิกษุผู้มีความกำหนัด พูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบ คือ พูดเกี้ยวหญิง กล่าววาจาหยาบโลนพาดพิงเมถุน

ทุฏฐุลลาบัติ  อาบัติชั่วหยาบ  ได้แก่ อาบัติปาราชิก  และสังฆาทิเสส  แต่ในบางกรณีท่านหมายเอาเฉพาะอาบัติสังฆาทิเสส

ทุติยฌาน  ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา

ทุติยสังคายนา  การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน ดู สังคายนา ครั้งที่ ๒

ทุติยสังคีติ  การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒

ทุพภาสิต  “พูดไม่ดี”  “คำชั่ว”  “คำเสียหาย”  ชื่ออาบัติเบาที่สุดที่เกี่ยวกับคำพูด เป็นความผิดในลำดับถัดรองจากทุกกฏ เช่น ภิกษุพูดกับภิกษุที่มีกำเนิดเป็นจัณฑาล ว่าเป็นคนชาติจัณฑาล ถ้ามุ่งว่ากระทบให้อัปยศ ต้องอาบัติทุกกฏ แต่ถ้ามุ่งเพียงล้อเล่น ต้องอาบัติทุพภาสิต  ดู อาบัติ

ทุลลภธรรม  สิ่งที่ได้ยาก, ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ ๑.ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม  ๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง  ๓. ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน  ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์ ; ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมายด้วย

ทุศีล   มีศีลชั่ว คือ ประพฤติไม่ดี มักละเมิดศีล

ทูต  ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนทางราชการแผ่นดิน, ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเจรจาแทน

ทูตานุทูต  ทูตน้อยใหญ่, พวกทูต

ทูตานุทูตนิกร  หมู่พวกทูต

ทูเรนิทาน  เรื่องห่างไกล  หมายถึงพุทธประวัติตั้งแต่เริ่มเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเสวยพระชาติในอดีตมาโดยลำดับ จนถึงชาติสุดท้าย คือเวสสันดร และอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต

เทพ  เทพเจ้า,  ชาวสวรรค์,  เทวดา;  ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ  ๑. สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = พระราชา,  พระเทวี  พระราชกุมาร  ๒. อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด  = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย  ๓. วิสุทธิเทพ   เทวดาโดยความบริสุทธิ์ =  พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย

เทพเจ้า  พระเจ้าบนสวรรค์  ลัทธิพราหมณ์ถือว่าเป็นผู้บันดาลสุขทุกข์ให้แก่มนุษย์

เทพธิดา  นางฟ้า, หญิงชาวสวรรค์, เทวดาผู้หญิง

เทพบุตร   เทวดาผู้ชาย,  ชาวสวรรค์เพศชาย

เทวะ  เทวดา, เทพ, เทพเจ้า (ชั้นสวรรค์และชั้นพรหม)

เทวดา  หมู่เทพ, ชาวสวรรค์ เป็นคำรวม เรียกชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง

เทวตานุสติ  ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)

เทวตาพลี  ทำบุญอุทิศให้เทวดา (ข้อ ๕ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)

เทวทหะ ชื่อนครหลวงของแคว้นโกลิยะ ที่กษัตริย์โกลิยวงศ์ปกครอง พระสิริมหามายาพุทธมารดา เป็นชาวเทวทหะ

เทวทหนิคม  คือ กรุงเทวทหะ นครหลวงของแคว้นโกลิยะนั่นเอง แต่ในพระสูตรบางแห่งเรียก นิคม

เทวทัตต์  ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร  เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์ และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกียอภิญญา ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวายในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด

เทวทูต  ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิต มิให้มีความประมาท  จัดเป็น ๓ ก็มี  ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย,  จัดเป็น ๕ ก็มี  ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย  ติกนิบาต,  เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร  มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์) ;  ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรกเป็นเทวทูต  ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย  เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔  หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่  อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้งสี่อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)

เทวบุตร  เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย

เทวปุตตมาร  มารคือเทพบุตร, เทวบุตรเป็นมาร เพราะเทวบุตรบางตนที่มุ่งร้าย คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ไม่ให้สละความสุขออกไปบำเพ็ญคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นพินาศจากความดี,  คัมภีร์สมัยหลังๆ ออกชื่อว่า พญาวสวัตดีมาร (ข้อ ๕ ในมาร ๕)

เทวรูป  รูปเทวดาที่นับถือ ตามลัทธิที่นับถือเทวดา

เทวรูปนาคปรก  เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์

เทวโลก   โลกของเทวดา, ที่อยู่ของเทวดา  ได้แก่สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น คือ ๑. จาตุมหาราชิกา  ๒. ดาวดึงส์  ๓. ยามา  ๔. ดุสิต  ๕. นิมมานรดี  ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี

เทฺววาจิก  มีวาจาสอง  หมายถึง ผู้กล่าววาจาถึงสรณะสอง คือ พระพุทธและพระธรรม ในสมัยที่ยังไม่มีพระสงฆ์ ได้แก่ พาณิชสอง คือ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ

เทวสถาน  ที่ประดิษฐานเทวรูป, โบสถ์พราหมณ์

เทวาธิบาย  ความประสงค์ของเทวดา

เทเวศร์  เทวดาผู้ใหญ่,  หัวหน้าเทวดา

เทศกาล  คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณี เพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษสงกรานต์ เข้าพรรษา สารท เป็นต้น

เทศนา  การแสดงธรรมสั่งสอนในทางศาสนา, การชี้แจงให้รู้จักดีรู้จักชั่ว, คำสอน;  มี ๒ อย่าง คือ ๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา  เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง  ๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา เทศนาธรรมเป็นที่ตั้ง

เทศนาคามินี  อาบัติที่ภิกษุต้องเข้าแล้วจะพ้นได้ด้วยวิธีแสดง, อาบัติที่แสดงแล้วก็พ้นได้, อาบัติที่ปลงตกด้วยการแสดงที่เรียกว่า แสดงอาบัติ หรือปลงอาบัติ ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ทุกกฎ ทุพภาสิต;  ตรงข้ามกับ อเทสนาคามินี  ซึ่งเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง ได้แก่ ปาราชิก และสังฆาทิเสส

เทสนาปริสุทธิ  ความหมดจดแห่งการแสดงธรรม

เทือกเถา  ต้นวงศ์ที่นับสายตรงลงมา, ญาติโดยตรงตั้งแต่บิดามารดาขึ้นไปถึงทวด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2556 17:59:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 14 มีนาคม 2556 17:51:20 »

.

โทณพราหมณ์  พราหมณ์ผู้ใหญ่ซึ่งมีฐานะเป็นครูอาจารย์ เป็นที่เคารพนับถือของคนจำนวนมากในชมพูทวีป  เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้สำเร็จได้โดยสันติวิธี  เป็นผู้สร้างตุมพสตูป บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ

โทมนัส  ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ  ดู เวทนา

โทสะ ความคิดประทุษร้าย (ข้อ ๒ ใน อกุศลมูล ๓)

โทสจริต  คนมีพื้นนิสัยหนักในโทสะ หงุดหงิด โกรธง่าย  แก้ด้วยเจริญเมตตา (ข้อ ๒ ในจริต ๖)

โทสาคติ  ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน,  ลำเอียงเพราะชัง (ข้อ ๒ ในอคติ ๔)

ไทยธรรม  ของควรให้,  ของทำบุญต่างๆ,  ของถวายพระ

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 มีนาคม 2556 16:11:10 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 24 มีนาคม 2556 16:10:20 »

.

หมวดพยัญชนะ

ธงแห่งคฤหัสถ์  เครื่องนุ่งห่มของคฤหัสถ์, การนุ่งห่มอย่างนิยมกันของชาวบ้าน

ธงแห่งเดียรถีย์  เครื่องนุ่งห่มของเดียรถีย์ เช่น หนังเสือ ผ้าคากรอง  เป็นต้น,  การนุ่งห่มอย่างที่ชื่นชมกันของนักบวชนอกพระศาสนา

ธนสมบัติ  สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง

ธนิต  พยัญชนะออกเสียงแข็ง ได้แก่ พยัญชนะที่ ๒ ที่ ๔ ในวรรคทั้ง ๕ คือ ข ฆ, ฉ ฌ, ฐ ฒ, ถ ธ, ผ ภ

ธนิยะ  ชื่อพระที่เอาไม้หลวงไปทำกุฎีเป็นต้น บัญญัติทุติยปาราชิกสิกขาบท

ธนู  มาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๑ วา คือ ๔ ศอก

ธมกรก  กระบอกกรองน้ำของพระสงฆ์, เครื่องกรองน้ำด้วยลมเป่า, กระบอกก้นผูกผ้า

ธรรม  สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง;  เหตุ, ต้นเหตุ,;  สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด:  คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;  หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;  ความชอบ, ความยุติธรรม;  พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม  ในประโยคว่า “ให้กล่าวธรรมโดยบท”  บาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ท่านเรียงไว้ จะเป็นพุทธภาษิตก็ตาม สาวกภาษิตก็ตาม ฤษีภาษิตก็ตาม เทวดาภาษิตก็ตาม เรียกว่าธรรม ในประโยคนี้

ธรรม (ในคำว่า “การกรานกฐินเป็นธรรม”)  ชอบแล้ว, ถูกระเบียบแล้ว

ธรรม ๒ หมวดหนึ่ง คือ ๑. รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด  ๒. อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔  และนิพพาน;  อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. โลกียธรรม  ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก  ๒. โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ;  อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ ขันธ์ ๕  ทั้งหมด  ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

ธรรมกถา  การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม

ธรรมกถึก  ผู้กล่าวสอนธรรม, ผู้แสดงธรรม, นักเทศก์

ธรรมกามะ  ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบติตรองสอดส่องธรรม

ธรรมกาย  “ผู้มีธรรมเป็นกาย”  เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)  หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรม อันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก;  อนึ่ง ธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี  เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน......รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”;  สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกาย ก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรืออริยสัจ

ธรรมของฆราวาส ๔  ดู ฆราวาสธรรม

ธรรมขันธ์  กองธรรม,  หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐  สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐  และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ และพระธรรมขันธ์

ธรรมคุณ  คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ  ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม  พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว  ๒. สนฺทิฏฺฐิโก  อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง  ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล  ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู  ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา  ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

ธรรมคุ้มครองโลก  ดู โลกบาลธรรม

ธรรมจริยา การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกตามธรรม เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐

ธรรมจักร  จักรคือธรรม, วงล้อธรรม หรืออาณาจักรธรรม หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

ธรรมจักษุ  ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญารู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา: ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือ ญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

ธรรมจารี   ผู้ประพฤติธรรม,  ผู้ประพฤติเป็นธรรม,  ผู้ประพฤติถูกธรรม

ธรรมเจดีย์  เจดีย์บรรจุพระธรรม คือ จารึกพระพุทธพจน์ เช่น อริยสัจปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ลงในใบลาน แล้วนำไปบรรจุในเจดีย์ (ข้อ ๓ ในเจดีย์ ๔)

ธรรมเจติยสูตร  สูตรหนึ่งในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยข้อความที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้า พรรณนาความเลื่อมใสศรัทธาของพระองค์ที่มีต่อพระรัตนตรัย

ธรรมชาติ   ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

ธรรมฐิติ  ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา

ธรรมดา  อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้นๆ

ธรรมทาน  การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  ดู ทาน

ธรรมทำให้งาม ๒  คือ ๑. ขันติ ความอดทน  ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต

ธรรมทินนา   ดู ธัมมทินนา

ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐  ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

ธรรมเทศนา  การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม

ธรรมเทศนาปฏิสังยุต  ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

ธรรมเทศนาสิกขาบท   สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย (สิกขาบทที่ ๗. ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)

ธรรมนิยาม  กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง, สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา  ดู ไตรลักษณ์

ธรรมเนียม  ประเพณี, แบบอย่างที่เคยทำกันมา, แบบอย่างที่นิยมใช้กัน

ธรรมบท   บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม  ; ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่งจัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถา

ธรรมปฏิบัติ  การปฏิบัติธรรม ; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

ธรรมปฏิรูป  ธรรมปลอม,  ธรรมที่ไม่แท้,  ธรรมเทียม

ธรรมปฏิสันถาร  การต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถาร โดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ คือ การต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือดร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร

ธรรมเป็นโลกบาล ๒  คือ ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ  ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป  ดู โลกบาลธรรม

ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย  ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา  ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล  ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค  ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

ธรรมพิเศษ  ธรรมชั้นสูง หมายถึง โลกุตตรธรรม

ธรรมภาษิต  ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม

ธรรมมีอุปการะมาก ๒  คือ ๑. สติ ความระลึกได้  ๒.สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

ธรรมยุติ, ธรรมยุติกนิกาย  ดู คณะธรรมยุต

ธรรมราชา  พระราชาแห่งธรรม, พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้าและบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ

ธรรมวัตร  ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาเรียบๆ  ที่แสดงอยู่ทั่วไป อันต่างไปจากทำนองเทศน์แบบมหาชาติ, ทำนองแสดงธรรม ซึ่งมุ่งอธิบายตามแนวเหตุผล มิใช่แบบเรียกร้องอารมณ์

ธรรมวิจัย  การเฟ้นธรรม  ดู ธัมมวิจยะ

ธรรมวิจารณ์   การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถคือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไรแล้วแสดงความคิดเห็นออกมาว่าธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถคือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

ธรรมวินัย  ธรรมและวินัย, คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ธรรม=คำสอนแสดงหลักความจริงและแนะนำความประพฤติ, วินัย=บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ;  ธรรม=เครื่องควบคุมใจ,  วินัย=เครื่องควบคุมกายและวาจา

ธรรมวิภาค  การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ

ธรรมสภา  ที่ประชุมฟังธรรม,  โรงธรรม

ธรรมสมโภค  คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่ สอนธรรมให้หรือขอเรียนธรรม

ธรรมสมาทาน  การสมาทานยึดถือปฏิบัติธรรม, การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน  และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป, บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

ธรรมสวนะ  การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริงความถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียน อ่านและสดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ที่ปราศจากโทษ;  ธัมมัสสวนะ ก็เขียน

ธรรมสวามิศร  ผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม  หมายถึงพระพุทธเจ้า

ธรรมสังคาหกะ  พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์  ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา

ธรรมสังคาหกาจารย์  อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม,  ดู ธรรมสังคาหกะ

ธรรมสังคีติ  การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรมเป็นหมวดหมู่

ธรรมสังเวช  ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์)  ดู สังเวช

ธรรมสากัจฉา  การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

ธรรมสามัคคี  ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น

ธรรมสามิสร  ดู ธรรมสวามิศร

ธรรมสามี  ผู้เป็นเจ้าของธรรม เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า

ธรรมเสนา  กองทัพธรรม,  กองทัพพระสงฆ์ผู้ประกาศพระศาสนา

ธรรมเสนาบดี  แม่ทัพธรรม,  ผู้เป็นนายทัพธรรม เป็นคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร ซึ่งเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสดาในการประกาศพระศาสนา

ธรรมันเตวาสิก   อันเตวาสิกผู้เรียนธรรมวินัย, ศิษย์ผู้เรียนธรรมวินัย

ธรรมาธิปไตย  ถือธรรมเป็นใหญ่, ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงามและเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วยปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ ดู อธิปไตย

ธรรมาธิษฐาน  มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือเทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่าศรัทธาศีล คืออย่างนี้  ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับบุคลาธิษฐาน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ  การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย  ดู วุฑฒิ

ธรรมาภิสมัย  การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล

ธรรมารมณ์  อารมณ์ทางใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด

ธรรมาสน์  ที่สำหรับนั่งแสดงธรรม

ธรรมิกอุบาย  อุบายที่ประกอบด้วยธรรม, อุบายที่ชอบธรรม, วิธีที่ถูกธรรม

ธรรมิศราธิบดี  ผู้เป็นอธิบดีโดยฐานเป็นใหญ่ในธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า (คำกวี)

ธรรมีกถา  ถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรม, การพูดหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม

ธรรมุเทศ  ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อ, หัวข้อธรรม

ธัญชาติ  ข้าวชนิดต่างๆ,  พืชจำพวกข้าว

ธัมมกามตา  ความเป็นผู้ใคร่ธรรม,  ความพอใจและสนใจในธรรม,  ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาธรรม และใฝ่ในความดี  ดู นาถกรณธรรม

ธัมมคารวตา  ดู คารวะ

ธัมมทินนา  พระเถรีมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นกุลธิดาชาวพระนครราชคฤห์ เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชในสำนักนางภิกษุณี บำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก (เขียนธรรมทินนา ก็มี)

ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ข้อ ๙ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

ธัมมปฏิสันถาร  ดู ธรรมปฏิสันถาร

ธัมมปฏิสัมภิทา  ปัญญาแตกฉานในธรรม, เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้ เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ (ข้อ ๒ ในปฏิสัมภิทา ๔)

ธัมมมัจฉริยะ  ตระหนี่ธรรม ได้แก่ หวงแหนความรู้ ไม่ยอมบอก ไม่ยอมสอนคนอื่น เพราะเกรงว่าเขาจะรู้เท่าตน (ข้อ ๕ ในมัจฉริยะ ๕)

ธัมมวิจยะ  ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม (ข้อ ๒ ในโพชฌงค์๗)

ธมฺมสมฺมุขตา  ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย

ธัมมสากัจฉา  ดู ธรรมสากัจฉา

ธัมมัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์; ตามอธิบายในบาลีหมายถึง รู้หลัก หรือรู้หลักการ เช่น ภิกษุเป็นธัมมัญญู คือ รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่จัดเป็นนวังคสัตถุศาสน์  ดู สัปปุริสธรรม

ธัมมัปปมาณิกา  ถือธรรมเป็นประมาณ,  ผู้เลื่อมใสเพราะพอใจในเนื้อหาธรรมและการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เช่น ชอบฟังธรรม ชอบเห็นภิกษุรักษามารยาทเรียบร้อยสำรวมอินทรีย์

ธัมมัสสวนะ  การฟังธรรม, การสดับคำแนะนำสั่งสอน  ดู ธรรมสวนะธัมมัสสวนมัย  บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม (ข้อ ๘ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐) 

ธัมมัสสวนานิสงส์  อานิสงส์แห่งการฟังธรรม,  ผลดีของการฟังธรรม, ประโยชน์ที่จะได้จากการฟังธรรม มี ๕ อย่างคือ ๑. ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง  ๒. สิ่งที่เคยฟัง ก็เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น  ๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้  ๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้  ๕. จิตของเขาย่อมผ่องใส

ธัมมาธิปเตยยะ  ถือธรรมเป็นใหญ่คือ นึกถึงความจริง ความถูกต้องสมควรก่อนแล้วจึงทำ บัดนี้นิยมเขียน ธรรมาธิปไตย  ดู อธิปเตยยะ

ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ดู ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

ธรรมานุปัสสนา  การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, สติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรมไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา (ข้อ ๔ ในสติปัฏฐาน ๔)

ธัมมานุสติ  ระลึกถึงคุณของพระธรรม (ข้อ ๒ ในอนุสติ ๑๐)

ธัมมีกถา  ดู ธรรมีกถา

ธาตุ (๑)  สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,  ธาตุ ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่เรียกสามัญว่าธาตุแข้นเข็งหรือธาตุดิน  ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ  ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ  ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม;  ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม ๕. อากาสธาตุ  สภาวะที่ว่าง  ๖. วิญญาณธาตุ  สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์หรือธาตุรู้

ธาตุ (๒)  กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวมๆ ว่าพระธาตุ (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาต หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้นๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

ธาตุกถา  ชื่อคัมภีร์ที่สามแห่งพระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยการสงเคราะห์ธรรมทั้งหลายเข้ากับ ขันธ์ อายตนะ และธาตุ (พระไตรปิฎกเล่ม ๓๖)

ธาตุกัมมัฏฐาน  กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์, กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา

ธาตุเจดีย์  เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (ข้อ ๑ ในเจดีย์ ๔)

ธิติ  ๑. ความเพียร, ความเข้มแข็งมั่นคง, ความหนักแน่น, ความอดทน  ๒. ปัญญา

ธีระ  นักปราชญ์,  ผู้ฉลาด

ธุดงค์  องค์คุณเรื่องกำจัดกิเลส, ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส  ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น  มี ๑๓ ข้อ คือ  หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับจีวร มี ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล  ๒. เตจีวริกังคะ  ใช้ผ้าเพียงสามผืน;  หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับบิณฑบาต มี ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ  ๔. สปทานจาริกังคะ  บิณฑบาตตามลำดับแถว  ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว  ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ  ฉันเฉพาะในบาตร  ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม;  หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังขยุตต์ เกี่ยวกับเสนาสนะมี ๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้  ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ  อยู่กลางแจ้ง  ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า  ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้;  หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับความเพียร  มี ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ )

ธุระ  “สิ่งที่จะต้องแบกไป”, หน้าที่, ภารกิจ, การงาน, เรื่องที่จะต้องรับผิดชอบ, กิจในพระศาสนา แสดงไว้ในอรรถกถา ๒ อย่างคือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

ธุลี  ฝุ่น, ละออง, ผง

ธุวยาคู  ยาคูที่เขาถวายเป็นประจำ เช่น ที่นางวิสาขาถวายเป็นประจำหรือที่จัดทำเป็นของวัดแจกกันเอง

โธตกมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ ปาสาณเจดีย์

โธโตทนะ กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๔ ของพระเจ้าสีหหนุ เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 05 เมษายน 2556 19:50:47 »

.

หมวดพยัญชนะ

นกุลบิดา “พ่อของนกุล”, คฤหบดีชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา  สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้งสองสามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน  ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้งสองท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน  ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืนตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย”  ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนามคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)  ท่านนกุลมารดาก็เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้สนิทสนมคุ้นเคยเช่นเดียวกัน

นขา  เล็บ

นคร  เมืองใหญ่, กรุง

นครโศภินี  หญิงงามเมือง, หญิงขายตัว (พจนานุกรมเขียน นครโสภิณี, นครโสเภณี)

นที  แม่น้ำ ในพระวินัย หมายเอาแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลอยู่ ไม่ใช่แม่น้ำตัน

นทีกัสสป  นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร น้องชายของอุรุเวลกัสสปะ  พี่ชายของคยากัสสปะ  ออกบวชตามพี่ชาย พร้อมด้วยชฎิลบริวาร ๓๐๐ คน  สำเร็จอรหัตด้วยฟังอาทิตตปริยายสูตร เป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก

นทีปารสีมา  สีมาฝั่งน้ำ คือ สีมาที่สมมติคร่อมฝั่งน้ำทั้งสอง เปิดแม่น้ำไว้กลาง

นพเคราะห์  ดู ดาวพระเคราะห์

นมัสการ  การไหว้, การเคารพ, นอบน้อม

นรก  เหวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย, ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นรก ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย  ดู นิรยะ

นวกะ  ๑. หมวด ๙ . ภิกษุใหม่, ภิกษุมีพรรษายังไม่ครบ ๕

นวกภูมิ  ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหม่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยังต้องถือนิสัย เป็นต้น เทียบ เถรภูมิ, มัชฌิมภูมิ

นวกรรม  การก่อสร้าง

นวกัมมาธิฏฐายี  ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระมหาโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี

นวกัมมิกะ  ผู้ดูแลนวกรรม,  ภิกษุผู้ได้รับสมมติคือแต่งตั้งจากสงฆ์  ให้ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์ในอาราม

นวโกวาท  คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่, คำสอนสำหรับภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่, ชื่อหนังสือแบบเรียนนักธรรมชั้นตรี  เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

นวรหคุณ  คุณของพระอรหันต์ ๙  หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่ พุทธคุณ ๙ นั่นเอง  เขียน นวารหคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี

นวังคสัตถุศาสตร์  คำสั่งสอนของพระศาสดา  มี องค์ ๙,  พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง,  ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑. สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส)  ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด)  ๓. เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือ ความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น)  ๔. คาถา (ความร้อยกรองล้วน เช่น ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา เป็นต้น)  ๕. อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร)  ๖. อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร)  ๗. ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง)  ๘. อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือ พระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ )  ๙. เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้วซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น);  เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์  ดู ไตรปิฎก

นหารู  เอ็น

นหุต  ชื่อมาตรานับ เท่ากับหนึ่งหมื่น

นอนร่วม  นอนในที่มุงที่บังอันเดียวกัน แลเห็นกันได้ในเวลานอน

น้อม  ในประโยคว่า “ภิกษุน้อมลาภเช่นนั้นมาเพื่อตน”  ขอหรือพูดเลียบเคียงชักจูงเพื่อจะให้เขาให้

นักบุญ  ผู้ใฝ่บุญ,  ผู้ถือศาสนาอย่างเคร่งครัด,  ผู้ทำประโยชน์แก่พระศาสนา

นักปราชญ์  ผู้รู้,  ผู้มีปัญญา

นักพรต  คนถือบวช,  ผู้ประพฤติพรต

นักษัตรฤกษ์  ดาวฤกษ์ซึ่งอยู่บนท้องฟ้า มีชื่อต่างๆ กัน เช่น ดาวม้า ดาวลูกไก่ ดาวคางหมู ดาวจระเข้ ดาวคันฉัตร เป็นต้น  ดู ดาวนักษัตร

นัตถิกทิฏฐิ  ความเห็นว่าไม่มี เช่น เห็นว่าผลบุญผลบาปไม่มี  บิดามารดาไม่มี  ความดีความชั่วไม่มี  เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง  ดู ทิฏฐิ

นันทะ  พระอนุชาของพระพุทธเจ้าแต่ต่างพระมารดา คือประสูติแต่พระนางมหาปชาบดีโคตมี  ได้ออกบวชในวันมงคลสมรสกับนางชนปทกัลยาณี เบื้องแรกประพฤติพรหมจรรย์อยู่ด้วยความจำใจ  แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงสอนด้วยอุบาย จนพระนันทะเปลี่ยนใจมาปฏิบัติธรรม และในที่สุดก็ได้บรรลุอรหัตตผล ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์  พระนันทะมีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ต่ำกว่าพระพุทธองค์ ๔ นิ้ว

นันทกะ  พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลผู้ดีมีฐานะในพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีความเลื่อมใส ขอบวชเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้สำเร็จพระอรหัต  ท่านมีความสามารถในการแสดงธรรมแก่นางภิกษุณีปรากฏว่านางภิกษุณีได้สำเร็จพระอรหัตถึง ๕๐๐ องค์  ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางให้โอวาทแก่นางภิกษุณี

นันทกุมาร  พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนะ   และพระนางปชาบดีโคตมี  ต่อมาออกบวชมีชื่อว่าพระนันทะ คือ องค์ที่มีรูปพรรณสัณฐานคล้ายพระพุทธองค์นั่นเอง

นันทมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

นันทมารดา  ชื่ออุบาสิกาคนหนึ่งเป็นอนาคามี  เป็นผู้ชำนาญในฌาน ๔  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะทางบำเพ็ญฌาน ชื่อเต็มว่า อุตตรา นันทมารดา

นันทาเถรี  ชื่อภิกษุณี  ผู้เป็นพระน้องนางของพระเจ้ากาลาโศก

นัย  อุบาย, อาการ, วิธี, ข้อสำคัญ, เค้าความ, เค้าเงื่อน, แง่ความหมาย

นัยนา  ดวงตา

นาค  งูใหญ่ในนิยาย;  ช้าง;  ผู้ประเสริฐ; ใช้เป็นคำเรียกคนที่กำลังจะบวชด้วย

นาคเสน  พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคลประเทศ  ดังมีคำโต้ตอบปัญหามาในคัมภีร์มิลินทปัญหา ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ  เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ  ท่านเป็นผู้ชำนาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท  โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์;  ดู มิลินท์,  มิลินทปัญหา

นาคาวโลก  การเหลียวมองอย่างพญาช้าง,  มองอย่างช้างเหลียวหลัง  คือเหลียวดูโดยหันกายกลับมาทั้งหมด เป็นกิริยาของพระพุทธเจ้า;  เป็นชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง  ซึ่งทำกิริยาอย่างนั้น

นาคิตะ  พระเถระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ มีพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ท่านเกี่ยวกับเนกขัมมสุข  ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ๒-๓ แห่ง

นางเร็ด  ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำเป็นแผ่นกลมโรยน้ำตาล  พจนานุกรมเขียน นางเล็ด

นาถ  ที่พึ่ง,  ผู้เป็นที่พึ่ง

นาถกรณธรรม  ธรรมทำที่พึ่ง, ธรรมสร้างที่พึ่ง, คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่างคือ ๑. ศีล   มีความประพฤติดี  ๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก  ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม  ๔. โสวจัสสตา   เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล  ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา   เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ  ๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม  ๗. วิริยะ ขยันหมั่นเพียร  ๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ  ๙. สติ มีสติ  ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

นานาธาตุญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

นานาธิมุตติกญาณ  ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

นานานิกาย  นิกายต่างๆ คือหมู่แห่งสงฆ์ต่างหมู่ต่างคณะ

นานาภัณฑะ   ทรัพย์ต่างกันคือหลายสิ่ง, ภัณฑะต่างๆ, สิ่งของต่างชนิดต่างประเภท

นานาสังวาส  มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน,  สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือ ไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส

นาบี, นบี  ศาสดาผู้ประกาศศาสนาอิสลาม ทำหน้าที่แทนพระผู้เป็นเจ้า, ผู้เทศนา, ผู้ประกาศข่าว ชาวมุสลิม ถือว่าพระมะหะหมัดเป็นนาบีองค์สุดท้าย

นาม  ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ,  สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้  ๑. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔  คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ  ๒. บางแห่ง หมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ)  ๓. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท  บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย  เทียบ รูป

นามกาย  กองแห่งนามธรรม  หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย

นามขันธ์  ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นามธรรม  สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ  คือ จิตและเจตสิก,  สิ่งของที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ  ดู นาม

นามรูป  นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ ทั้งหมด

นามรูปปริจเฉทญาณ  ญาณกำหนดแยกนามรูป,  ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)

นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ  ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป,  ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ

นารายณ์  ชื่อเรียกพระวิษณุ  ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์

นารี  ผู้หญิง, นาง

นาลกะ  ๑. หลานชายขอวงอสิตดาบสออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ในป่าหิมพานต์  ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏิปทา และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์  ได้บรรลุอรหัตแล้ว  ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน  ก็ปรินิพพานในป่าหิมพานต์นั้นเอง;  ท่านจัดเป็นมหาสาวกองค์อนึ่งในอสีติมหาสาวกด้วย ๒. ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่เกิดของพระสารีบุตรไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ บางทีเรียกนาลันทคาม

นาลันทะ  ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ เป็นบ้านเกิดของพระสารีบุตร  ดู นาลกะ ๒.

นาลันทา  ชื่อเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งในแคว้นมคธ อยู่ห่างจากพระนครราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ ณ เมืองนี้ มีสวนมะม่วง ชื่อปาวาริกัมพวัน (สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี)  ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับแรมหลายครั้ง  คัมภีร์ฝ่ายมหายานกล่าวว่า พระสารีบุตร อัครสาวก เกิดที่เมืองนาลันทา  แต่คัมภีร์ฝ่ายบาลีเรียกถิ่นเกิดของพระสารีบุตรว่า หมู่บ้านนาลกะหรือนาลันทคาม

ภายหลังพุทธกาล ชื่อเมืองนาลันทาเงียบหายไประยะหนึ่ง หลวงจีนฟาเหียนซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ราว พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ บันทึกไว้ว่า ได้พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา แต่ต่อมาไม่นาน กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะพระองค์หนึ่งพระนามว่าศักราทิตย์ หรือ กุมารคุปตะที่ ๑ ซึ่งครองราชย์ประมาณ พ.ศ. ๙๕๘-๙๙๘  ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองนาลันทา และกษัตริย์พระองค์ต่อๆ มาในราชวงศ์นี้ก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง ๖ วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ  ทำให้วัดทั้ง ๖ รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร  และได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ แห่งสำคัญยิ่ง ที่นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า “มหาวิทยาลัยนาลันทา”  

พระเจ้าหรรษวรรธนะ มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย  ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑  ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา  หลวงจีนเหี้ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง)  ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ในช่วง พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗  ได้มาศึกษาที่นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม  ท่านเล่าถึงกิจกรรมทางการศึกษา ที่รุ่งเรืองยิ่ง นักศึกษามีประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีอาจารย์ประมาณ ๑,๕๐๐ คน พระมหากษัตริย์พระราชทานหมู่บ้าน ๒๐๐ หมู่โดยรอบถวายโดยทรงยกภาษีที่เก็บได้ให้เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย  ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น  วิชาที่สอนมีทั้งปรัชญา โยคะ ศัพทศาสตร์ เวชศาสตร์ ตรรกศาสตร์ นิติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์  ตลอดจนโหราศาสตร์  ไสยศาสตร์  และตันตระ  แต่ที่เด่นชัดก็คือนาลันทาเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

และเพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก  จึงมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น อาเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมงโกเลีย เป็นต้น

หอสมุดของนาลันทาใหญ่โตมาก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก  เมื่อคราวที่ถูกเผาทำลายในสมัยต่อมา มีบันทึกกล่าว่าหอสมุดนี้ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน  หลวงจีนอี้จิง ซึ่งจาริกมาในระยะประมาณ พ.ศ. ๑๒๒๓ ก็ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก  นาลันทารุ่งเรืองสืบมาช้านานจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕)  กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ  โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ อย่างไรก็ดี ในระยะหลังๆ นาลันทาได้หันไปสนใจการศึกษาพุทธศาสนาแบบตันตระ ที่ทำให้เกิดความย่อหย่อนและหลงเพลินทางกามารมณ์ และทำให้พุทธศาสนากลมกลืนกับศาสนาฮินดูมากขึ้นเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งแห่งความเสื่อมโทรมของพระพุทธศาสนา

ครั้นถึงประมาณ พ.ศ. ๑๗๔๒ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และเข้าครอบครองดินแดนโดยลำดับ กองทัพมุสลิมเติรกส์ได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด และสังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย

มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้นและมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา  ซากของนาลันทาที่ถูกขุดค้นพบในภายหลังยังประกาศยืนยันอย่างชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของนาลันทาในอดีต

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ อินเดียได้เริ่มตื่นตัว และตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป  รวมทั้งบทบาทของมหาวิทยาลัยนาลันทานี้ด้วย  และใน พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็ได้มีการจัดตั้งสถาบันบาลีนาลันทา  ชื่อว่า “นวนาลันทามหาวิหาร” (นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่)  ขึ้น  เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นาลันทามหาวิหาร  มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในอดีตสมัย

นาสนะ  ดู นาสนา

นาสนา  ให้ฉิบหายเสีย คือ การลงโทษบุคคลผู้ไม่สมควรถือเพศ มี ๓ อย่าง คือ ลิงคนาสนา  ให้ฉิบหายจากเพศ คือ ให้สึกเสีย ๑  ทัณฑกรรมนาสนา ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ ๑  สังวาสนาสนา ให้ฉิบหายจากสังวาส ๑

นาสิก  จมูก

นาฬี  ชื่อมาตราตวง  แปลว่า ทะนาน  ดู มาตรา

น้ำทิพย์  น้ำที่ทำให้ผู้ดื่มให้ไม่ตาย หมายถึงน้ำอมฤต หรือน้ำสุรามฤต

น้ำอมฤต   ดู อมฤต

นิกร  หมู่, พวก

นิกรสัตว์  หมู่สัตว์

นิกาย  พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง;  ๑. หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็น ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ดู ไตรปิฎก  ๒. คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกับที่แยกเป็นพวกๆ ;  ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตรนิกาย) พวกหนึ่ง และเถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย)  ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง;  ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช)  ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะธรรมยุต

นิคคหะ  ดู นิคหะ

นิคคหกรรม  ดู นิคหกรรม

นิคคหวิธี  วิธีข่ม, วิธีทำนิคหะ, วิธีลงโทษ  ดู นิคหกรรม

นิคคหิต  อักขระที่ว่ากดเสียง, อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นพินทุ เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ; บัดนี้นิยมเขียน นิคหิต

นิคม  ๑. หมู่บ้านใหญ่,  เมืองขนาดเล็ก,  ย่านการค้า  ๒. คำลงท้ายของเรื่อง

นิคมสีมา   แดนนิคม,  อพัทธสีมาที่สงฆ์กำหนดด้วยเขตนิคมที่ตนอาศัยอยู่

นิครนถ์  นักบวชนอกพระพุทธศานาที่เป็นสาวกของนิครนถนาฏบุตร, นักบวชในศาสนาเชน

นิครนถนาฏบุตร  คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าน พระมหาวีระบ้าง  เป็นต้น  ศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย

นิคหะ  การข่ม, การกำราบ, การลงโทษ

นิคหกรรม การลงโทษตามพระธรรมวินัย, สังฆกรรมประเภทลงโทษผู้ทำความผิด  ท่านแสดงไว้ ๖ อย่างคือ ดัชชนียกรรม  นิยสกรรม  ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม  อุกเขปนียกรรม และตัสสปาปิยสิกากรรม

นิคัณฐนาฏบุตร  ดู นิครนถนาฏบุตร

นิโครธ ต้นไทร

นิโครธาราม  อารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบัลพัสดุ์

นิจศีล  ศีลที่พึงรักษาเป็นประจำ, ศีลประจำตัวของอุบาสกอุบาสิกา ได้แก่ ศีล ๕

นิตย์  เที่ยง, ยั่งยืน, เสมอ, เป็นประจำ

นิตยกาล  ตลอดเวลา, ตลอดกาลเป็นนิตย์

นิตยภัต  อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายแก่ภิกษุสามเณรเป็นประจำ

นิทเทส  คำแสดง, คำจำแนกอธิบาย, คำไขความ (พจนานุกรม เขียน นิเทศ)

นิทัศนะ, นิทัสน์  ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์ (พจนานุกรม เขียน นิทัศน์)

นิทาน  เหตุ, ต้นเรื่อง

นิทานวจนะ  คำแถลงเรื่องเดิม,  บทนำ

นิบาต  ศัพท์ภาษาบาลีที่วางไว้ระหว่างข้อความในประโยคเพื่อเชื่อมข้อความหรือเสริมความ เป็นอัพยยศัพท์อย่างหนึ่ง

นิปปริยาย  ไม่อ้อมค้อม, ตรง, สิ้นเชิง, (พจนานุกรมเขียน นิปริยาย)

นิปปริยายสุทธิ  ความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง ไม่มีการละและการบำเพ็ญอีก ได้แก่ ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์  ดู สุทธิ

นิปัจจการ  การเคารพ, การอ่อนน้อม, การยอมเชื่อฟัง

นิพพาน  การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดู นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ  ภาวะแห่งนิพพาน;  นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน   ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑

นิพพิทา  ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน  หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์

นิพพิทาญาณ  ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย  ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ  ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ
นิพัทธทุกข์  ทุกข์เนืองนิตย์,  ทุกข์ประจำ,  ทุกข์เป็นเจ้าเรือน ได้แก่ หนาวร้อน หิวกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

นิมนต์  เชิญ หมายถึงเชิญพระ เชิญนักบวช

นิมมานรดี  สวรรค์ชั้นที่ ๕ มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด นิรมิตเอาได้

นิมันตนะ  การนิมนต์ หรืออาหารที่ได้ในที่นิมนต์ หมายเอาการนิมนต์ของทายกเพื่อไปฉันที่บ้านเรือนของเขา

นิมิต  ๑. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ  ๒. (ในคำว่าทำนิมิต)  ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ  ๓. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑. บริกรรมนิมิต   นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน  ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ  ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น  ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา  ๔. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง  ดู เทวทูต

นิมิตขาด  (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด)  สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน;  ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิตไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น

นิมิตต์  ดู นิมิต

นิมิตต์โอภาส  ตรัสความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป

นิยม  กำหนด, ชอบ, นับถือ

นิยยานิกะ  เป็นเครื่องนำสัตว์ออกไปจากกองทุกข์

นิยสกรรม  กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ  ได้แก่การถอดยศ, เป็นชื่อนิคหกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้มีอาบัติมาก หรือคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร โดยปรับให้ถือนิสัยใหม่อีก  ดู นิคหกรรม

นิยาย  เรื่องที่เล่ากันมา,  นิทานที่เล่าเปรียบเทียบเพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต

นิรยะ  นรก,  ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย อสุรกาย  ดู นรก

นิรยบาล  ผู้คุมนรก,  ผู้ลงโทษสัตว์นรก

นิรฺวาณมฺ  ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า “นิพพาน” นั่นเอง

นิรันดร  ติดต่อกัน, เสมอมา, ไม่มีระหว่างคั่น, ไม่เว้นว่าง

นิรันตราย  ปราศจากอันตราย

นิรามิษ, นิรามิส  หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษคือเหยื่อที่เป็นเครื่องล่อใจ, ไม่ต้องอาศัยวัตถุ

นิรามิสสุข   สุขไม่เจืออามิส,  สุขไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อหรือกามคุณ ได้แก่ สุขที่อิงเนกขัมมะ  ดู สุข

นิรุตติปฏิสัมภิทา  ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ  ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ (ข้อ ๓ ในปฏิสัมภิทา ๔)

นิโรธ  ความดับทุกข์  คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน

นิโรธสมาบัติ  การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์  เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ (ข้อ ๙ ใน อนุปุพพวิหาร ๙)

นิโรธสัญญา  ความสำคัญหมายในนิโรธ คือ กำหนดหมายการดับตัณหาอันเป็นอริยผลว่า เป็นธรรมละเอียดประณีต  ดู สัญญา

นิวรณ์, นิวรณธรรม  ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ  ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น  ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา  ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ  ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

นิวรณูปกิเลส  โทษเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์

นิเวศน์  ที่อยู่

นิสสยาจารย์  อาจารย์ผู้ให้นิสัย

นิสสรณวิมุตติ  ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป ได้แก่ นิพพาน, เป็นโลกุตตรวิมุตติ (ข้อ ๕ ในวิมุตติ ๕)

นิสสัคคิยะ  “ทำให้สละสิ่งของ”  เป็นคุณบทแห่งอาบัติปาจิตตีย์ หมวดหนึ่งที่เรียกว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์

นิสสัคคิยกัณฑ์  ตอน หรือ ส่วนอันว่าด้วยอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

นิสสัคคิยปาจิตตีย์  อาบัติปาจิตตีย์ อันทำให้ต้องสละสิ่งของ ภิกษุต้องอาบัติประเภทนี้ต้องสละสิ่งของที่ทำให้ต้องอาบัติก่อนจึงจะปลงอาบัติตก

นิสสัคคิยวัตถุ  ของที่เป็นนิสสัคคีย์,  ของที่ต้องสละ,  ของที่ทำให้ภิกษุต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จำต้องสละก่อนจึงจะปลงอาบัติตก

นิสสารณา  การไล่ออก, การขับออกจากหมู่  เช่น นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าออกไปเสียจากหมู่ (อยู่ในอปโลกนกัมม์)  ประกาศถอนธรรมกถึกผู้ไม่แตกฉานในธรรมในอรรถ คัดค้านคดีโดยหาหลักฐานมิได้  ออกเสียจากการระงับอธิกรณ์ (อยู่ในญัตติกัมม์) คู่กับ โอสารณา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 เมษายน 2556 20:02:39 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 05 เมษายน 2556 20:05:18 »

.

นิสัย   ๑. ที่พึ่ง, ที่อาศัย เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท (คือกล่าวคำขอร้องต่ออุปัชฌาย์ในพิธีอุปสมบท  ขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ที่อาศัยของตน ทำหน้าที่ปกครองสั่งสอนให้การศึกษาอบรมต่อไป) อาจารย์ผู้ให้นิสัย (อาจารย์ผู้รับที่จะทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง ที่อาศัยปกครองแนะนำในการศึกษาอบรม) ๒. ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ๔ อย่าง คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช  ๓. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย

การขอนิสัย (ขออยู่ในปกครอง หรือขอให้เป็นที่พึ่งในการศึกษา)  สำเร็จด้วยการถืออุปัชฌาย์ (ขอให้เป็นอุปัชฌาย์) นั่นเอง ในพิธีอุปสมบทอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่  การขอนิสัยถืออุปัชฌาย์เป็นบุพกิจตอนหนึ่งของการอุปสมบท  ก่อนจะทำการสอนซ้อมถามตอบอันตรายิกธรรม  ผู้ขออุปสมบทเปล่งวาจาขอนิสัยถืออุปัชฌาย์ ดังนี้ (เฉพาะข้อความในเครื่องหมาย “....” เท่านั้นเป็นวินัยบัญญัติ  นอกนั้น ท่านเสริมเข้ามาเพื่อให้หนักแน่น) : อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ,  ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ,  ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ,  “อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ,  อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ,  อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต โหหิ”  ลำดับนั้นผู้จะเป็นอุปัชฌายะกล่าวตอบว่า “สาหุ” (ดีละ)  “ลหุ” (เบาใจดอก)  “โอปายิกํ” (ชอบแก่อุบาย)  “ปฏิรูปํ” (สมควรอยู่) “ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ” (จงให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด)  คำใดคำหนึ่ง หรือให้รู้เข้าใจด้วยอาการทางกายก็ตาม ก็เป็นอันได้ถืออุปัชฌาย์แล้ว  แต่นิยมกันมาให้ผู้ขอกล่าวรับคำของท่านแต่ละคำว่า สาธุ ภนฺเต หรือ สมฺปฏิจฺฉามิ แล้วกล่าวต่อไปอีกว่า อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร, อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร (ว่า ๓ หน)  (= ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเถระเป็นภาระของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็เป็นภาระของพระเถระ)

ภิกษุนวกะถ้าไม่ได้อยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้นิสัยระงับ เช่น อุปัชฌาย์ไปอยู่เสียที่อื่น  ต้องถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์และอาศัยท่านแทน  วิธีถืออาจารย์ก็เหมือนกับวิธีถืออุปัชฌาย์ เปลี่ยนแต่คำขอว่า “อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ,  อายสฺมโต  นิสฺสาย  วจฺฉามิ”  (ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าๆ จักอยู่อาศัยท่าน)

นิสัยมุตตกะ  ภิกษุผู้พ้นการถือนิสัย หมายถึงภิกษุมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้ธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว ไม่ต้องถือนิสัยในอุปัชฌาย์ หรืออาจารย์ต่อไป;  เรียกง่ายว่า นิสัยมุตก์

นิสัยสีมา  คามสีมาเป็นที่อาศัยของพัทธสีมา

นิสิต  ศิษย์ผู้เล่าเรียนอยู่ในสำนัก,  ผู้อาศัย, ผู้ถือนิสัย

นิสิตสีมา  พัทธสีมาอาศัยคามสีมา

นิสีทนะ  ผ้าปูนั่งสำหรับภิกษุ

เนกขัมมะ  การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรมเขียน เนกขัม)

เนกขัมมวิตก  ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)

เนตติ  แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม (พจนานุกรม เขียน เนติ)

เนตร  ตา, ดวงตา

เนปาล  ชื่อประเทศอันเคยเป็นที่ตั้งของแคว้นศากยะบางส่วน รวมทั้งลุมพินีอันเป็นที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน มีเนื้อที่ ๑๔๐,๙๗๙ ตารางกิโลเมตร  มีพลเมืองประมาณ ๑๓,๔๒๐,๐๐๐ คน (พ.ศ. ๒๕๒๑); หนังสือเก่าเขียนเนปอล

เนยยะ  ผู้พอแนะนำได้ คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ต่อไป (ข้อ ๓ ในบุคคล ๔ เหล่า)

เนรเทศ  ขับไล่ออกจากถิ่นเดิม, ให้ออกไปเสียจากประเทศ

เนรัญชรา  ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์  ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้

เนวสัญญานาสัญญายตนะ   ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔

เนวสัญญีนาสัญญี  มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

เนสัชชิกังคะ  องค์แห่งภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ถือ นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น  ไม่นอน (ข้อ ๑๓ ในธุดงค์ ๑๓)

เนา  เอาผ้าทาบกันเข้า  เอาเข็มเย็บเป็นช่วงยาวๆ พอกันผ้าเคลื่อนจากกัน ครั้นเย็บแล้วก็เลาะเนานั้นออกเสีย
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5483


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 21 เมษายน 2556 12:54:12 »

.

หมวดพยัญชนะ

บทภาชนะ   บทไขความ,  บทขยายความ

บทภาชนีย์  บทที่ตั้งไว้เพื่อขยายความ, บทที่ต้องอธิบาย

บรม  อย่างยิ่ง, ที่สุด

บรมธาตุ  กระดูกพระพุทธเจ้า

บรมพุทโธบาย  อุบาย คือ วิธีของพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม จากศัพท์ว่า บรม (ปรม) + พุทธ (พุทฺธ) + อุบาย (อุปาย)

บรมศาสดา  ศาสดาที่ยอดเยี่ยม,  พระผู้เป็นครูที่สูงสุด, พระบรมครู  หมายถึง พระพุทธเจ้า

บรมสุข  สุขอย่างยิ่ง  ได้แก่ พระนิพพาน

บรมอัฏฐิ  กระดูกกษัตริย์

บรรจบ  ครบ, ถ้วน, จดกัน, ประสมเข้า, ติดต่อกัน, สมทบ

บรรทม   นอน

บรรเทา   ทำให้สงบ, คลาย, เบาลง, ทำให้เบาลง, ทุเลา

บรรพ  ข้อ, เล่ม, หมวด, ตอน, กัณฑ์  ดังคำว่า กายานุปัสสนา พิจารณาเห็นซึ่งกาย โดยบรรพ ๑๔ ข้อ มี อาณาปานบรรพ ข้อที่ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออก เป็นต้น

บรรพชา  การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชา อัครสาวกบรรพชา เป็นต้น  ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้ควบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)

บรรพชิต  ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุ สมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี)  มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)

บรรพต  ภูเขา

บรรยาย  การสอน,  การแสดง, การชี้แจง ; นัยโดยอ้อม, อย่าง ทาง

บรรลุ  ถึง, สำเร็จ

บริกรรม ๑. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จดีอยู่”)  การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว  ๒. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มน้ำลาย หรือนั่งพิง ๓. การนวดฟั้น ประคบ หรือถูตัว ๔. การกระทำขึ้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ  ๕. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า

บริกรรมภาวนา  ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
บริขาร เครื่องใช้สอยของนักพรต, เครื่องใช้สอยของพระในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ นิยมเรียกรวมว่า อัฐบริขาร (บริขาร ๘)

บริขารโจล  ท่อนผ้าใช้เป็นบริขาร เช่น ผ้ากรองน้ำ ถุงบาตร ย่าม ผ้าห่อของ

บริจาค  สละให้, เสียสละ บัดนี้มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญ

บริโภค  กิน, ใช้สอย, เสพ; ในประโยคว่า “ภิกษุใดรู้อยู่ บริโภคน้ำ มีตัวสัตว์ เป็นปาจิตติยะ”  หมายถึง ดื่ม อาบ และใช้สอยอย่างอื่น

บริโภคเจดีย์  เจดีย์คือสิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอยเกี่ยวข้อง ได้แก่ ตุมพสตูป อังคารสตูป และสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตลอดถึง

บาตร จีวร เตียง ตั่ง กุฏี วิหาร ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย

บริวาร  ๑. ผู้แวดล้อม, ผู้ห้อมล้อมติดตาม, ผู้รับใช้  ๒. สิ่งแวดล้อม, ของสมทบ, สิ่งประกอบร่วม เช่น ผ้าบริวาร บริวารกฐิน เป็นต้น ๓. ชื่อคัมภีร์พระวินัยปิฎก หมวดสุดท้ายใน ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร

บริษัท  หมู่เหล่า,  ที่ประชุม, คนรวมกัน, กลุ่มชน

บริษัท ๔  ชุมชนชาวพุทธ ๔ พวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

บริสุทธ์, บริสุทธิ์  สะอาด, หมดจด,ปราศจากมลทิน, ผุดผ่อง;  ครบถ้วน, ถูกต้องตามระเบียบอย่างบริบูรณ์

บริหาร  ดูแล, รักษา, ปกครอง

บริหารคณะ  ปกครองหมู่, ดูแลหมู่

บวงสรวง  บูชา (สำหรับผีสาง เทวดา)

บ่วงแห่งมาร  ได้แก่ วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่ารักใคร่น่าพอใจ

บวช  การเว้นทั่ว  คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช)  หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป;  บวชพระ คือบวชเป็นภิกษุเรียกว่า อุปสมบท,  บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณรเรียกว่า บรรพชา

บอก  ในประโยคว่า “ภิกษุใด ไม่ได้รับบอกก่อน  ก้าวล่วงธรณีเข้าไป” ไม่ได้รับบอก คือยังไม่ได้รับอนุญาต

บอกวัตร  บอกข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เมื่อทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว ภิกษุรูปเดียวเป็นผู้บอก อาจใช้วิธีหมุนเวียนกันไปทีละรูป ข้อความที่บอกว่าเป็นภาษาบาลี กล่าวถึงปฏิบัติบูชา คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ คุณานิสงส์แห่งขันติธรรม  คำเตือนให้ใส่ใจในธรรมในเมื่อได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ความไม่ประมาท เร่งเพียรพยายามในทางธรรมเพื่อน้อมไปสู่พระนิพพาน และพ้นจากทุคติ แล้วกล่าวถึงพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการ  ลำดับกาลในพระพุทธประวัติ สิ่งแทนพระองค์ภายหลังพุทธปรินิพพาน ชื่อวัน เดือน ปี และดาวนักษัตร ๒๗ จบลงด้วยคำเชื้อเชิญให้ตั้งอยู่ในพระพุทธโอวาท บำเพ็ญปฏิบัติบูชา เพื่อบรรลุสมบัติทั้งที่เป็นโลกียะและโลกุตตระ :    ธรรมเนียมนี้ บัดนี้ เลือนลางไปแล้ว

บอกศักราช  เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทย การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา ๕ พันปี แต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ. เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน  ทั้งบาลีและคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่นใช้กันดื่นทั่วไป

บังคม  ไหว้

บังสุกุล  ผ้าบังสุกุล หรือบังสุกุลจีวร; ในภาษาไทยปัจจุบัน มักใช้เป็นคำกริยา หมายถึงการที่พระสงฆ์ชักเอาผ้าซึ่งเขาทอดวางไว้ที่ศพ ที่หีบศพ หรือที่สายโยงศพ

บังสุกุลจีวร  ผ้าที่เกลือกกลั้วด้วยฝุ่น, ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น กองหยากเยื่อ  ซึ่งเขาทิ้งแล้ว ตลอดถึงผ้าห่มคลุมศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ไม่ใช่ผ้าที่ชาวบ้านถวาย, ปัจจุบันมักหมายถึงผ้าที่พระชักจากศพโดยตรงก็ตาม จากสายโยงศพก็ตาม

บัญญัติ  การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

บัณฑิต  ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

บัณฑิตชาติ  เผ่าพันธุ์บัณฑิต, เหล่านักปราชญ์, เชื้อนักปราชญ์

บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์  แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่ประทับของพระอินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (อรรถกถาว่า สีแดง)

บัณเฑาะก์  กระเทย, คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่ กระเทยโดยกำเนิด ๑  ชายผู้ถูกตอนที่เรียกว่าขันที ๑  ชายมีราคะกล้าประพฤตินอกจารีตในทางเสพกามและยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑

บัณเฑาะว์ (อ่านว่าบันเดาะ)  กลองเล็กชนิดหนึ่งมีหนังสองหน้าตรงกลางคอด ริมทั้งสองใหญ่ พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ ขับโดยใช้ลูกตุ้มกระทบหน้ากลองทั้งสองข้าง; สีมามีสัณฐานดุจ

บัณเฑาะว์ คือมีลักษณะทรวดทรงเหมือนบัณเฑาะว์

บันดาล  ให้เกิดมีขึ้นหรือให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยฤทธิ์หรือด้วยแรงอำนาจ

บัลลังก์  ในคำว่า “นั่งขัดบัลลังก์” หรือ “นั่งคู้บัลลังก์” คือ นั่งขัดสมาธิ; ความหมายทั่วไปว่า แท่น, พระแท่น, ที่นั่งผู้พิพากษาเมื่อพิจารณาคดีในศาล, ส่วนของสถูปเจดีย์บางแบบ มีรูปเป็นแท่นเหนือคอระฆัง

บัว ๔ เหล่า  ดู บุคคล ๔ จำพวก

บาตร  ภาชนะของนักบวชสำหรับรับอาหาร เป็นอย่างหนึ่งในบริขาร ๘ ของภิกษุ

บาตรอธิษฐาน  บาตรที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวหนึ่งใบ

บาทยุคล คู่แห่งบาท, พระบาททั้งสอง (เท้าสองข้าง)

บ้าน   ที่อยู่ของคนครัวเดียวกัน มีเรือนหลังเดียว สองหลัง สามหลัง หรือมากกว่านั้น หรือรวมบ้านเหล่านั้นเข้าเป็นหมู่ก็เรียกว่าบ้าน  คำว่า คามสีมี หมายถึงแดนบ้านตามนัยหลังนี้

บาป  ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง ให้เสื่อมลง

บารมี  คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง มี ๑๐ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา

บาลี  ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ ๒. คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ คัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา, พระพุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก

บาลีประเทศ  ข้อความตอนหนึ่งแห่งบาลี, ข้อความจากพระไตรปิฎก

บาลีพุทธอุทาน  คำอุทานที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งเป็นบาลี เช่นที่ว่า
       ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
       อาตาปิโน  ฌายโต  พฺราหฺมณสฺส
       อถสฺส กงฺยา วปยนฺติ สพฺพา
                     ฯ เป ฯ
(ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้เพียรเพ่งพิจารณา ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป...)

บำบวง  บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา

บำเพ็ญ  ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้กับสิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)

บิณฑจาริกวัตร  วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต, ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย สำรวมกิริยาอาการ ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่ รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด

บิณฑบาต  อาหารที่ใส่ลงในบาตรพระ, อาหารถวายพระ;  ในภาษาไทยใช้ในความหมายว่า รับของใส่บาตร เช่นที่ว่า พระไปบิณฑบาต คือ ไปรับอาหารที่เขาจะใส่ลงในบาตร

บุคคล ๔ จำพวก คือ ๑. อุคฆฏิตัญญู  ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน  แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒. วิปจิตัญญู  ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ  ๓. เนยยะ   ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้  ๔. ปทปรมะ  ผู้แค่ได้ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
พระอรรถกถาจารย์เปรียบบุคคล ๔ จำพวกนี้กับบัว ๔ เหล่าตามลำดับ คือ ๑. ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้  ๒. ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้  ๓. ดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ ยังไม่โผล่พ้นน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป  ๔. ดอกบัวจมอยู่ในน้ำที่กลายเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า (ในพระบาลี ตรัสถึงแต่บัว ๓ เหล่าต้นเท่านั้น)

บุคคล ๔ จำพวก ที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่ รูปัปปมาณิกา  โฆสัปปมาณิกา  ลูขัปปมาณิกา  และธัมมัปปมาณิกา  ดู ประมาณ

บุคคลหาได้ยาก ๒ คือ ๑. บุพการี  ๒. กตัญญูกตเวที

บุคคลาธิษฐาน   มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง คู่กับธรรมาธิษฐาน

บุคลิก  เนื่องด้วยบุคคล, จำเพาะคน (=ปุคคลิก)

บุญ  เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม

บุญกิริยาวัตถุ  สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,  หมวด ๓ คือ ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้  ๒. สีลมัย   ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี  ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;  หมวด ๑๐ คือ ๑. ทานมัย ๒. สีลมัย ๓. ภาวนามัย ๔. อปจายนมัย  ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม  ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้  ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น  ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดีความดีของผู้อื่น  ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม  ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

บุญเขต  เนื้อนาบุญ ดู สังฆคุณบุญญาภิสังขาร  ดู ปุญญาภิสังขาร

บุญนิธิ  ขุมทรัพย์คือบุญ

บุญราศี  กองบุญ

บุญฤทธิ์  ความสำเร็จด้วยบุญ, อำนาจบุญ

บุณฑริก  บัวขาว

บุปผวิกัติ  ดอกไม้ที่ทำให้แปลก, ดอกไม้ที่ทำให้วิจิตรประดิษฐ์เป็นรูปต่างๆ

บุพกรณ์  ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ  ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑  ดังนี้ เป็นต้น

บุพการี   บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในบุคคลหาได้ยาก ๒)

บุพกิจ  กิจอันจะพึงทำก่อน, กิจเบื้องต้น เช่น บุพกิจในการทำอุโบสถ ได้แก่ ก่อนสวดปาฏิโมกข์ต้องนำปาริสุทธิของภิกษุอาพาธมาแจ้งให้สงฆ์ทราบ นำฉันทะของภิกษุอาพาธมา บอกฤดูนับภิกษุ ให้โอวาทนางภิกษุณี: บุพกิจแห่งการอุปสมบทมี การให้บรรพชา ขอนิสัย ถืออุปัชฌาย์ จนถึงสมมติภิกษุ ผู้สอบถามอันตรายิกธรรมกะอุปสัมปทาเปกขะท่ามกลางสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น

บุพประโยค  อาการหรือการทำความพยามยามเบื้องต้น, การกระทำทีแรก

บุพเปตพลี  บุญที่อุทิศให้แก่ญาติผู้ตายไปก่อน, การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย

บุพพสิกขาวัณณนา  หนังสืออธิบายพระวินัย พระอมราภิรักขิต (อมร เกิด) วัดบรมนิวาส เป็นผู้แต่ง

บุพพัณณะ  ของที่ควรกินก่อน ได้แก่ ข้าวทุกชนิดเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง เป็นต้น; เทียบ อปรัณณะ

บุพพัณหสมัย  เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า

บุพพาจารย์  ๑. อาจารย์ก่อนๆ, อาจารย์รุ่นก่อน, อาจารย์ปางก่อน,  ๒. อาจารย์ต้น, อาจารย์คนแรก คือ มารดาบิดา

บุพพาราม  วัดที่นางวิสาขาสร้างถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับที่วัดนี้ รวมทั้งสิ้น ๖ พรรษา ดู  วิสาขา

บุพเพนิวาสานุสติญาณ  ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้  ดู วิชชา, อภิญญา

บุพเพสันนิวาส  การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อนผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่ ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น)

บุพภาค  ส่วนเบื้องต้น, ตอนต้น

บุรณะ, บูรณะ  ทำให้เต็ม, ซ่อมแซม

บุรณมี  วันเพ็ญ, วันกลางเดือน, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

บุรพทิศ  ทิศตะวันออก

บุรพนิมิตต์  เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน  บัดนี้ เขียน บุพนิมิต

บุรพบุรุษ  คนก่อนๆ, คนรุ่นก่อน, คนเก่าก่อน, คนผู้เป็นต้นวงศ์ตระกูล, บรรพบุรุษ

บุรพประโยค  ดู บุพประโยค

บุรพาจารย์  ดู  บุพพาจารย์

บุรพาราม  ดู บุพพาราม

บูชนียสถาน สถานที่ควรบูชา

บูชา  ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา

บูชามยบุญราศี  กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

บูชายัญ การเซ่นสรวงเทพเจ้าของพราหมณ์ ด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา

บูร  ทิศตะวันออก

บูรณะ  ดู บุรณะ

เบญจกัลยาณี  หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ ผมงาม เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม)  ฟันงาม  ผิวงาม  วัยงาม (คือดู งามทุกวัย)

เบญจกามคุณ  สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

เบญจขันธ์  ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑. รูปขันธ์  กองรูป  ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา  ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร  ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

เบญจธรรม  ธรรม ๕ ประการ,  ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้  ๑. เมตตากรุณา  ๒. สัมมาอาชีวะ  ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม)  ๔. สัจจะ  ๕. สติสัมปชัญญะ ;  บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ ๒. ทาน  ๓. สทารสันโดษ=พอใจเฉพาะภรรยาของตน  ๕. อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ; เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก

เบญจวัคคีย์  ดู ปัญจวัคคีย์

เบญจศีล  ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑. ปาณาติปาตา  ๒. อทินฺนาทานา  ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา  ๔. มุสาวาทา  ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ต่อท้ายด้วยเวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ

เบญจางค์  อวัยวะทั้ง ๕ คือ ศีรษะ ๑ มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒

เบญจางคประดิษฐ์  การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น คือกราบเอาเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น

เบียดบัง  การถือเอาเศษ เช่น ท่านให้เก็บเงินค่าเช่าต่างๆ เก็บได้มากแต่ให้ท่านแต่น้อย ให้ไม่ครบจำนวนที่เก็บได้

โบกขรณี  สระบัว

โบราณ  มีในกาลก่อน, เป็นของเก่าแก่

ใบฎีกา  ๑. หนังสือนิมนต์พระ ตัวอย่าง “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก....รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดมนต์ หรือ แสดงพระธรรมเทศนา) ในงาน........ที่บ้าน เลขที่........ตำบล.............อำเภอ............ในวันที่.......เดือน..................พ.ศ. ...........เวลา.........น.” (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาตเช้าหรือเพล หรือมีการตักบาตรใช้ปิ่นโต ก็ให้ระบุไว้ด้วย) ๒. ตำแหน่งพระฐานานุกรมรองจากสมุห์ลงมา

ใบปวารณา  ใบแจ้งแก่พระว่าให้ขอได้ ตัวอย่าง “ข้าพเจ้าขอถวายจตุปัจจัยอันควรแก่สมณบริโภค แด่พระคุณเจ้าเป็นมูลค่า..................บาท..........สต. หากพระคุณเจ้าต้องประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการก  ผู้ปฏิบัติของพระคุณเจ้า เทอญ”

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 เมษายน 2556 13:00:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  [1] 2 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.993 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 27 เมษายน 2567 11:45:00