[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 04:13:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 2 [3]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พจนานุกรมพุทธศาสน์ (เรียงตามตัวพยัญชนะ ก ถึงพยัญชนะตัวสุดท้าย อ)  (อ่าน 24065 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #40 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2556 17:47:09 »

.

สามัญ  ๑. ปรกติ,  ธรรมดา,  ทั่ว ๆไป ๒. ความเป็นสมณะ; มักเขียนสามัญญะ

สามัญญผลสูตร  สูตรที่ ๒ ในคัมภีร์ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยผลของความเป็นสมณะ คือประโยชน์ที่จะได้จากการดำรงเพศเป็นสมณะ หรือบำเพ็ญสมณธรรม

สามัญญลักษณะ  ดู  สามัญลักษณะ

สามัญญสโมธาน  ดู  โอธานสโมธาน

สามัญผล  ผลแห่งความเป็นสมณะ;  ดู  สามัญญผลสูตร

สามัญลักษณะ  ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง ได้แก่  ๑. อนิจจตา  ความเป็นของไม่เที่ยง ๒. กขตา  ความเป็นทุกข์หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้  ๓. อนัตตตา  ความเป็นของไม่ใช่ตัวตนแสดงความตามบาลี ดังนี้  ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง  ๒. สพฺเพ  สงฺขารา  ทุกฺขา  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  ๓. สพฺเพ  ธมฺมา  อนตฺตา  ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวตน;  ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง  จึงเรียกว่าไตรลักษณ์,  ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน  เป็นกฎธรรมดา  จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม

สามันตราช  พระราชาแคว้นใกล้เคียง

สามิษ,  สามิส   เจือด้วยอามิษ  คือ  เครื่องล่อ,  ต้องขึ้นต่อวัตถุหรืออารมณ์ภายนอก

สามิสสุข  สุขเจืออามิส,  สุขที่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ  ได้แก่  สุขที่เกิดจากกามคุณ  (ข้อ ๑ ในสุข ๒)

สามีจิกรรม  การชอบ,  กิจชอบ,  การกระทำที่สมควร,  การแสดงความเคารพ

สามีจิปฏิปนฺโน  พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ,  ปฏิบัติสมควรได้รับสามีจิกรรม  คือ ปฏิบัติน่าเคารพนับถือ (ข้อ ๔ ในสังฆคุณ ๙)

สามุกกังสิกา  แปลตามอรรถกถาว่า  พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง  คือ  ทรงเห็นด้วย  พระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง)  ได้แก่  อริยสัจจเทศนา, ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง  ได้แก่  เทศนาเรื่องอริยสัจ

สายโยค  สายโยก,  สายรัด  ใช้กับถุงต่าง ๆ เช่น ที่ประกอบกับถุงบาตร แปลกันว่า สายโยกบาตร (บาลีว่า  อํสวทฺธก);  บางแห่งแปล อาโยค คือ ผ้ารัดเข่า หรือสายรัดเข่า ว่า สายโยค ก็มี แต่ในพระวินัยปิฎก ไม่แปลเช่นนั้น

สายัณห์  เวลาเย็น

สารณา   การให้ระลึก  ได้แก่  กิริยาที่สอบถามเพื่อฟังคำให้การของจำเลย,  การสอบสวน

สารท  เทศกาลทำบุญสิ้นเดือนสิบ  เดิมเป็นฤดูทำบุญด้วยเอาข้าวที่กำลังท้อง  (ข้าวรวงเป็นน้ำนม)  มาทำยาคูและกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์  อย่างนี้เรียกว่ากวนข้าวทิพย์  ส่วนผู้นับถือพุทธศาสนานำคตินั้นมาใช้ แต่เปลี่ยนเป็นถวายแก่พระภิกษุสงฆ์อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในปรโลก สำหรับชาวบ้านทั่วไปมักทำแต่ กระยาสารท  เป็นต้น (ต่างจาก ศราทธ์)

สารนาถ  ชื่อปัจจุบันของอิสิปตนมฤคทายวัน  ใกล้นครพาราณสี  สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา  เคยเจริญรุ่งเรืองมาก  เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่ง  มีเจดีย์ใหญ่สูง  ๒๐๐  ฟุต  ถูกชาวฮินดูทำลายก่อนแล้วถูกนาย
ทัพมุสลิมทำลายสิ้นเชิงใน  พ.ศ.  ๑๗๓๘  (สารนาถมาจาก สารังคนาถ แปลว่าที่พึ่งของเหล่ากวางเนื้อ)

สารันทเจดีย์  เจดียสถานแห่งหนึ่งที่เมืองเวสาลี  นครหลวงของแคว้นวัชชี  ณ  ที่นี้พระพุทธเจ้าเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์  บาลีเป็น  สารันททเจดีย์

สารัมภะ   แข่งดี  (ข้อ ๑๒ ในอุปกิเลส ๑๖)

สาราค  ราคะกล้า,  ความกำหนัดย้อมใจ

สาราณียธรรม  ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง,  ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำให้มีความเคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกัน  มี ๖ อย่าง  คือ  ๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร  ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร  ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร  ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม  ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร  (มีสีลสามัญญตา)  ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่น ๆ  (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน

สารี  ชื่อนางพราหมณีผู้เป็นมารดาของพระสารีบุตร

สารีบุตร  พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า  เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ  (บางแห่งเรียกว่า  นาลันทะ)  ไม่ไกลจากเมืองรา
ชคฤห์  เป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านนั้น  บิดาชื่อวังคันตพราหมณ์  มารดาชื่อสารี  จึงได้ นามว่า  สารีบุตร  แต่เมื่อ
ยังเยาว์เรียกว่าอุปติสสะ   มีเพื่อนสนิทชื่อโกลิตะ   ซึ่งต่อมาคือพระโมคคัลลานะ  มีน้องชาย ๓ คนชื่อ จุนทะ อุปเสนะและเรวตะ น้องหญิง ๓ คน  ชื่อ จาลา อุปจาลา และสีสุปจาลา  ซึ่งต่อมาได้บวชในพระธรรมวินัยทั้งหมด  เมื่ออุปติสสะและโกลิตะจะบวชนั้น  ทั้งสองคนไปเที่ยวดูมหรสพที่ยอดเขาด้วยกัน  คราวหนึ่งไปดูแล้วเกิดความสลดใจ  คิดออก
แสวงหาโมกขธรรม  และต่อมาได้ไปบวชอยู่ในสำนักของสัญชัยปริพาชกแต่ก็ไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย  พบพระอัสสชิเถระขณะ
ท่านบิณฑบาต  เกิดความเลื่อมใส ติดตามไปสนทนาขอหลักคำสอนได้ฟังความย่อเพียงคาถาเดียวก็ได้ดวงตาเห็นธรรม  
กลับไปบอกข่าวแก่โกลิตะแล้วพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  มีปริพาชกที่เป็นศิษย์ตามไปด้วยถึง ๒๕๐ คน  ได้รับเอหิภิกขุ
อุปสมบท ทั้งหมดที่เวฬุวัน  เมื่อบวชได้ ๑๕ วัน  พระสารีบุตรได้ฟังพระธรรมเทศนาเวทนาปริคคหสูตรที่พระพุทธเจ้า ทรง
แสดงแก่ทีฆนขะปริพาชก  ณ ถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌกูฏ  ก็ได้บรรลุพระอรหัต  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในทางมีปัญญามาก  และเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา   ท่านได้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระศาสนา  และได้รับยกย่องเป็นพระธรรมเสนาบดี  คำสอนของท่านปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นอันมาก เช่น สังคีติสูตร และทสุตตรสูตร  เป็น
แบบอย่างแห่งการสังคายนา เป็นต้น  ท่านปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน เมื่อจวนจะปรินิพพานท่านเดินทางไปโปรด
มารดาของท่านซึ่งยังเป็นมิจฉาทิฐิให้มารดาได้เป็นพระโสดาบันแล้วปรินิพพานที่บ้านเกิด ด้วยปักขันทิกาพาธ  หลังจาก
ปลงศพแล้วพระจุนทะน้องชายของท่าน นำอัฐธาตุไปถวายพระบรมศาสดา  พระองค์ตรัสว่าให้ก่อสถูปบรรจุอัฐธาตุของท่าน
ไว้  ณ พระเชตวัน เมืองสาวัตถี  (อรรถกถาว่าท่านปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน ๑๒ จึงเท่ากับ ๖ เดือนก่อนพุทธปรินิพพาน)
พระสารีบุตรมีคุณธรรมและจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างหลายประการ เช่น เป็นผู้มีความกตัญญูสูง ดังได้แสดงออกเกี่ยวกับ
พระอัสสชิ  (นอนหันศีรษะไปทางพระอัสสชิพำนักอยู่) และราธพราหมณ์  (ระลึกถึงบิณฑบาตหนึ่งทัพพีและรับเป็น
อุปัชฌาย์แก่ราธะ) สมบูรณ์ด้วยขันติธรรมต่อคำว่ากล่าว  (ยอมรับคำแนะนำ แม้ของสามเณร ๗  ขวบ)  เป็นผู้เอาใจใส่
อนุเคราะห์เด็ก  (เช่น ช่วยเอาเด็กยากไร้มาบรรพชา มีสามเณรอยู่ในความปกครองดูแล ซึ่งเก่งกล้าสามารถหลายรูป)  และ
เอาใจใส่คอยดูแลภิกษุอาพาธ เป็นต้น

สารีริกธาตุ  พระอัฐธาตุของพระพุทธเจ้า,  กระดูกของพระพุทธเจ้า

สารูป   เหมาะ,  สมควร;  ธรรมเนียมควรประพฤติในเวลาเข้าบ้าน,  เป็นหมวดที่ ๑ แห่งเสขิยวัตร มี ๒๖ สิกขาบท

สาละ  ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งของอินเดีย  พระพุทธเจ้าประสูติและปรินิพพานใต้ร่มไม้สาละ  (เคยแปลกันว่า ต้นรัง)

สาลคาม  ชื่อตำบลหนึ่งในสักกชนบท

สาลพฤกษ์  ต้นสาละ

สาลวโนทยาน  สวนป่าไม้สาละ

สาลวัน  ป่าไม้สาละ

สาโลหิต  สายโลหิต,  ผู้ร่วมสายเลือด

สาวก  ผู้ฟัง,  ผู้ฟังคำสอน,  ศิษย์

สาวนะ, สาวนมาส   เดือน  ๙

สาวัตถี  นครหลวงของแคว้นโกศล;  แคว้นโกศลตั้งอยู่ระหว่างภูเขาหิมาลัยกับแม่น้ำคงคาตอนกลาง  อาณาเขต  ทิศเหนือจดเทือกเขาเนปาล  ทิศตะวันออก จดแคว้นกาสี ต่อกับแคว้นมคธ  ทิศใต้และทิศตะวันตกจดแม่น้ำคงคา;  พระนครสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งพุทธกาลเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุด  รวมถึง ๒๕ พรรษา บัดนี้เรียก สะเหต-มะเหต  (Sahet-Mahet)

สาวิกา  หญิงผู้ฟังคำสอน,  สาวกหญิง,  ศิษย์ผู้หญิง  คู่กับ  สาวก

สาสวะ  เป็นไปกับด้วยอาสวะ,  ประกอบด้วยอาสวะ,  ยังมีอาสวะ, เป็นโลกิยะ

สาหัตถิกะ  ทำด้วยมือของตนเอง หมายถึง ลักด้วยมือของตนเอง เป็นอวหารอย่างหนึ่งใน ๒๕ อย่างที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้ในปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

สาฬหะ  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์  ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สำนอง  รับผิดชอบ,  ต้องรับใช้,  ตอบแทน

สำนัก  อยู่,  ที่อยู่,  ที่พัก,  ที่อาศัย,  แหล่ง

สำรวม  ระมัดระวัง,  เหนี่ยวรั้ง,  ระวังรักษาให้สงบเรียบร้อย  เช่น สำรวมตา, สำรวมกาย, ครอง เช่น สำรวมสติ คือ ครองสติ, ดู สังวร;  รวม ประสม ปนกัน เช่น อาหารสำรวม

สำรวมอินทรีย์  ดู  อินทรีย์สังวร

สำรอก  ทำสิ่งที่ไม่ต้องการให้หลุดออกมา, นำออก, เอาออก  เช่น สำรอกสี จิตสำรอกจากอาสวะ อวิชชาสำรอกไป  (วิราคะ)

สำลาน  สีเหลืองปนแดง

สำเหนียก  กำหนด,  จดจำ,  คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ,  ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระ เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์  (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

สิกขมานา  นางผู้กำลังศึกษา,  สามเณรี  ผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว  อีก ๒ ปีจะครบบวชเป็นภิกษุณี  ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติ  คือ  ตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ  ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี  นถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดเลย  ตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม  (ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่งต้องสมาทาน ตั้งต้นไปใหม่อีก ๒ ปี)  ครบ ๒ ปี  ภิกษุณีสงฆ์จึงทำพิธีอุปสมบทให้  ขณะที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการอย่างเคร่งครัดนี้  เรียกว่า นางสิกขมานา

สิกขา  การศึกษา,  การสำเหนียก,  ข้อที่จะต้องศึกษา,  ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา   ฝึกอบรมในเรื่องศีล  ๒. อธิจิตตสิกขา   ฝึกอบรมในเรื่องจิต  เรียกง่าย ๆ ว่า  สมาธิ  ๓. อธิปัญญาสิกขา   ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา

สิกขาคารวตา ดู คารวะ

สิกขานุตตริยะ   การศึกษาอันเยี่ยม  ได้แก่  การฝึกอบรมในอธิศีล  อธิจิตต์  และอธิปัญญา  (ข้อ ๔ ในอนุตตริยะ ๖)

สิกขาบท  ข้อที่ต้องศึกษา,  ข้อศีล,  ข้อวินัย,  บทบัญญัติข้อหนึ่ง ๆ ในพระวินัยที่ภิกษุพึงศึกษาปฏิบัติ,  ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ แต่ละข้อ ๆ เรียกว่า สิกขาบท เพราะเป็นข้อที่จะต้องศึกษา หรือเป็นบทฝึกฝนอบรมตนของสาธุชน อุบาสก  อุบาสิกา  สามเณร  สามเณรี  ภิกษุ  และภิกษุณี  ตามลำดับ

สิกขาสมมติ  ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้สามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีเต็มแล้ว  เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ประการ ตลอดเวลา ๒ ปี  ก่อนที่จะได้อุปสมบท,  เมื่อภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติแล้ว  สามเณรีนั้นได้ชื่อว่าเป็น สิกขมานา

สิขี  พระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต,  ดู  พระพุทธเจ้า ๗

สิคาลมาตา  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง  เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครราชคฤห์  เจริญวัยแล้วแต่งงาน  มีบุตรคนหนึ่ง  ชื่อสิงคาลกุมาร  วันหนึ่งได้ฟังธรรมีกถาของพระศาสดามีความเลื่อมใส  (คัมภีร์อปทานว่า ได้ฟังสิงคาลกสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บุตรของนาง  ซึ่งว่าด้วยเรื่องอบายมุข  มิตรแท้มิตรเทียม ทิศ ๖ เป็นต้น และได้โสดาปัตติผล)  ขอบวชเป็นภิกษุณี ต่อมาได้ไปฟังธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดง  นางคอยตั้งตาดูพระพุทธสิริสมบัติด้วยศรัทธาอันแรงกล้า  พระพุทธองค์
ทรงทราบดังนั้นก็ทรงแสดงธรรมให้เหมาะกับอัธยาศัยของนาง  นางส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระ
อรหัต  ได้รับยกย่องว่า  เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาธิมุต,  สิคาลกมาตา  หรือสิงคาลมาตา  ก็เรียก

สิง  อยู่,  เข้าอยู่

สิงคิวรรณ  ผ้าเนื้อเกลี้ยงสีดังทองสิงคี  บุตรของมัลลกษัตริย์  ชื่อปุกกุสะ ถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันที่จะปรินิพพาน

สิงหล,  สิงหฬ,  สีหฬ  ชาวสิงหล,  ชาวลังกา,  ซึ่งมีหรืออยู่ในประเทศลังกา, ชนเชื้อชาติสิงหลหรือเผ่าสิงหล ที่ต่างหากจากชนเชื้อชาติอื่น  มีทมิฬ  เป็นต้น  ในประเทศลังกา

สิถิล  พยัญชนะออกเสียงเพลา  ได้แก่  พยัญชนะที่ ๑  ที่ ๓  ในวรรคทั้ง ๕  คือ  ก  ค,  จ  ช,  ฏ  ฑ,  ต  ท,  ป  พ

สิทธัตถกุมาร  พระนามเดิมของพระพุทธเจ้าก่อนเสด็จออกบรรพชา  ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  และพระนางสิริมหามายา  คำว่า  สิทธัตถ  แปลว่า มีความต้องการสำเร็จหรือสำเร็จตามที่ต้องการ  คือสมประสงค์  จะต้องการอะไรได้หมด  ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา  เมื่อพระชนมายุ ๑๖ ปี  เสด็จออก บรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี  ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี  ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี

สินไถ่  เงินไถ่ค่าตัวทาส

สินธพ  ม้าพันธุ์ดีเกิดที่ลุ่มน้ำสินธู

สิ้นพระชนม์  หมดอายุ,  ตาย

สิลิฏฐพจน์  คำสละสลวย,  คำไพเราะ,  ได้แก่  คำควบกับอีกคำหนึ่งเพื่อให้ฟังไพเราะในภาษา หาได้มีใจความพิเศษออกไปไม่  เช่นคำว่า  คณะสงฆ์  คณะก็คือสงฆ์ซึ่งแปลว่าหมู่  หมายถึงหมู่แห่งภิกษุจำนวนหนึ่ง  “คณะ”  คำนี้เรียกว่าเป็นสิลิฏฐพจน์  ในภาษาไทยเรียกว่าคำติดปาก  ไม่ได้เพ่งเนื้อความ

สีกา  คำที่พระภิกษุใช้เรียกผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ  เลือนมาจากอุบาสิกา  บัดนี้ได้ยินใช้น้อย

สีต  เย็น,  หนาว

สีมันตริก  เขตคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมาเพื่อมิให้ระคนกัน  เช่นเดียวกับชานที่กั้นเขตของกันและกันในระหว่าง

สีมา  เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์,  เขตชุมนุมของสงฆ์,  เขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน  แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่  คือ ๑. พัทธสีมา แดนที่ผูก ได้แก่ เขตที่สงฆ์กำหนดขึ้นเอง  ๒. อพัทธสีมา   แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่  เขตที่ทางบ้านเมืองกำหนดไว้แล้วตามปกติของเขา  หรือที่มีอย่างอื่นในธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด  สงฆ์ถือเอาตามกำหนดนั้นไม่วางกำหนดขึ้นเองใหม่

สีมามีฉายาเป็นนิมิต  สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง  มีเงาภูเขา  เป็นต้นเป็นนิมิต  (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า  สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต)  จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง

สีมาวิบัติ   ความเสียโดยสีมา,  เสียเพราะเขตชุมนุม  (ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์),  สีมาใช้ไม่ได้  ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำ  ณ ที่นั้นวิบัติคือเสียหรือใช้ไม่ได้  (เป็นโมฆะ)  ไปด้วย,  คัมภีร์ปริวารแสดงเหตุให้กรรมเสียโดยสีมา ๑๑ อย่าง  เช่น  ๑. สมมติสีมาใหญ่เกินกำหนด  (เกิน ๓ โยชน์)  ๒. สมมติสีมาเล็กเกินกำหนด  (จุไม่พอภิกษุ  ๒๑ รูปนั่งเข้าหัตถบาสกัน)  ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด  ๔. สมมติสีมามีฉายาเป็นนิมิต  ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต  ฯลฯ,  สังฆกรรมที่ทำในที่เช่นนี้ก็เท่ากับทำในที่มิใช่สีมานั่นเอง  จึงย่อมใช้ไม่ได้  ดู วิบัติ  (ของสังฆกรรม)

สีมาสมบัติ  ความพร้อมมูลโดยสีมา,  ความสมบูรณ์แห่งเขตชุมนุม,  สีมาซึ่งสงฆ์สมมติแล้วโดยชอบ  ไม่วิบัติ  ทำให้สังฆกรรมซึ่งทำในสีมานั้นมีผลสมบูรณ์  กล่าวคือ  สีมาปราศจากข้อบกพร่องต่าง  ๆ  ที่เป็นเหตุให้สีมาวิบัติ  (ดูสีมาวิบัติ)  สังฆกรรมซึ่งทำ  ณ ที่นั้นจึงชื่อว่าทำในสีมา  จึงใช้ได้ในข้อนี้  ดู สมบัติ  (ของสังฆกรรม)

สีมาสังกระ  สีมาคาบเกี่ยวกัน,  เป็นเหตุสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง

สีลกถา  ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล  (ข้อ ๖ ในกถาวัตถุ ๑๐)

สีลขันธ์  กองศีล,  หมวดธรรมว่าด้วยศีล  เช่น  กายสุจริต  สัมมาอาชีวะ  อินทรียสังวร  โภชเนมัตตัญญุตา  เป็นต้น  (ข้อ ๑ ในธรรมขันธ์ ๕)

สีลขันธวรรค  ตอนที่ ๑ ใน ๓  ตอนแห่งคัมภีร์ทีฑนิกาย  พระสุตตันตปิฎก

สีลมัย  บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล,  ทำบุญด้วยการประพฤติดีงาม  (ข้อ ๒ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

สีลวิบัติ  เสียศีล,  สำหรับภิกษุ  คือ  ต้องอาบัติปาราชิกหรือสังฆาทิเสส  (ข้อ ๑  ในวิบัติ ๔)

สีลวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งศีล  คือ  รักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตนซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้  (ข้อ ๑ ในวิสุทธิ ๗)

สีลสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยศีล  คือ  ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็รักษากายวาจาให้เรียบร้อย  ประพฤติอยู่ในคลองธรรม  ถ้าเป็นภิกษุก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์  มีมารยาทดีงาม  เป็นต้น  (ข้อ ๒ในสัมปรายิกัตถฯ,  ข้อ ๑ ในจรณะ ๑๕)

สีลสามัญญตา  ความสม่ำเสมอกันโดยศีล  คือ  รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณร  ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ  (ข้อ ๕ ในสาราณียธรรม ๖)

สีลสิกขา  ดู  อธิสีลสิกขา

สีลัพพตปรามาส  ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและวัตร  (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและวัตรให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้  ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม  ถือศีลและวัตรที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม),  ความถือศีลพรต  โดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย  หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์  ไม่เข้าใจความหมายและความมุ่งหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีลหรือพรตอย่างนั้นอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย  (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐)

สีลัพพตุปาทาน  ความยึดมั่นศีลและวัตรด้วยอำนาจกิเลส,  ความถือมั่นศีลพรต  คือ  ธรรมเนียมที่ประพฤติกันมาจนชินโดยเชื่อว่าขลังเป็นเหตุให้งมงาย,  คัมภีร์ธัมมสังคณีแสดงความหมายอย่างเดียวกับ  สีลัพพตปรามาส  (ข้อ ๓ ในอุปาทาน ๔)

สีลานุสติ  ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดีบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย  (ข้อ ๔ ในอนุสติ ๑๐)

สีวลี  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นพระโอรสของพระนางสุปปวาสา  ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ  ปรากฏว่าตั้งแต่ท่านปฏิสนธิในครรภ์เกิดลาภสักการะแก่พระมารดาเป็นอันมาก  ตามตำนานว่าอยู่ในครรภ์มารดาถึง ๗ ปี  พระมารดาเจ็บพระครรภ์ถึง ๗ วัน  ครั้นประสูติแล้วก็ทำกิจการต่าง ๆ ได้ทันที  ต่อมาท่านบวชในสำนักของพระสารีบุตร  ในวันที่บวชพอมีดโกนตัดกลุ่มผมครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล  ครั้งที่ ๒ ได้บรรลุสกทาคามิผล  ครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล  พอปลงผมเสร็จก็ได้สำเร็จพระอรหัต  ท่านสมบูรณ์ด้วยปัจจัยลาภและทำให้ลาภเกิดแก่ภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางมีลาภมาก

สีหล,  สีหฬ  ดู  สิงหล

สีหลทวีป  “เกาะของชาวสิงหล”,  เกาะลังกา,  ประเทศลังกา

สีหไสยา  นอนอย่างราชสีห์  คือ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า  มีสติสัมปชัญญะ  กำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้  (มีคำอธิบายเพิ่มอีกว่า  มือซ้ายพาดไปตามลำตัว  มือขวาช้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา)

สีหหนุ  กษัตริย์ศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรของพระเจ้าชยเสนะ เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระอัยกาของพระพุทธเจ้า

สุกกะ  น้ำกาม,  น้ำอสุจิ

สุกโกทนะ  กษัตริย์ศากยวงศ์  เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าสีหหนุ  เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ  เป็นพระบิดาของพระอานนท์

สุกขวิปัสสก  พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก  เช่น ไม่ได้ฌาณสมาบัติ  ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น  ดู  อรหันต์

สุกรขาตา  ชื่อถ้ำ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พระนครราชคฤห์  ณ  ที่นี้พระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหัต  เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อ  ทีฆนขะ  ดู ทีฆนขะ

สุข  ความสบาย,  ความสำราญ,  มี ๒ คือ  ๑. กายิกสุข  สุขทางกาย  ๒. เจตสิกสุข  สุขทางใจ,  อีกหมวดหนึ่ง   มี ๒ คือ  ๑. สามิสสุข  สุขอิงอามิส คือ อาศัยกามคุณ  ๒. นิรามิสสุข  สุขไม่อิงอามิส  คือ  อิงเนกขัมมะ  (ท่านแบ่งเป็นคู่ ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)

สุขของคฤหัสถ์   สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี  และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ  มี ๔ อย่าง  คือ  ๑. สุขเกิดจากความมีทรัพย์  (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน  โดยทางชอบธรรม)  ๒. สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์  (เลี้ยงตน  เลี้ยงคนควรเลี้ยง  และทำประโยชน์)  ๓. สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้  ๔. สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ  (มีสุจริตทั้ง  กาย  วาจา  และใจ), เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า  สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

สุขสมบัติ  สมบัติคือความสุข,  ความถึงพร้อมด้วยความสุข

สุขาวดี  แดนที่มีความสุข,  เป็นชื่อสวรรค์ของพระอมิตาภพุทธ  ฝ่ายมหายาน

สุขุม   ละเอียด,  ละเอียดอ่อน,  นิ่มนวล,  ซึ้ง

สุขุมาลชาติ  มีพระชาติละเอียดอ่อน,  มีตระกูลสูง

สุคต   ผู้เสด็จไปดีแล้ว,  เป็นพระนามพระพุทธเจ้า  ดู  สุคโต  ด้วย

สุคตประมาณ   ขนาดหรือประมาณของพระสุคต  คือ พระพุทธเจ้า,  เกณฑ์หรือมาตราวัดของพระสุคต

สุคตาณัตติพจน์  พระดำรัสสั่งของพระสุคต

สุคติ  คติดี,  ทางดำเนินที่ดี,  สถานที่ที่ดีที่สัตว์โลกซึ่งทำกรรมดีตายไปแล้วไปเกิด  ได้แก่มนุษย์และเทพ  ดู คติ, ทุคติ

สุคโต  “เสด็จไปดีแล้ว”  คือ  ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค,  เสด็จไปสู่ที่ดีงามกล่าวคือพระนิพพาน,  เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ  กล่าวคือ  ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสที่ทรงละได้แล้ว  ทรงดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง  ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึง  ทรงดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา  ไม่เฉเชือนไปในทางผิดคือกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค  เสด็จไปดี  เสด็จที่ใดก็ทรงทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น  เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดี  แม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรใจร้ายก็ทรงกลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัย  เสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี  ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์  ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เพื่อชาวโลก  ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาใน
ภายหลัง,  ทรงมีพระวาจาดี  หรือตรัสโดยชอบ  คือ  ตรัสแต่คำจริงแท้  ประกอบด้วยประโยชน์ในกาลที่ควรตรัส  และแก่
บุคคลที่ควรตรัส  (ข้อ ๔ ในพุทธคุณ ๙)

สุคนธชาติ   ของหอม,  เครื่องหอม

สุคนธวารี  น้ำหอม

สุงกฆาตะ  ด่านภาษี

สุงสุมารคีระ   ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นภัคคะ  ที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาที่ ๘;  สุงสุมารคีรี  ก็เรียก

สุจริต  ประพฤติดี,  ประพฤติชอบ,  ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม  มี ๓ คือ ๑. กายสุจริต  ประพฤติชอบด้วยกาย  ๒. วจีสุจริต  ประพฤติชอบด้วยวาจา  ๓. มโนสุจริต  ประพฤติชอบด้วยใจ เทียบ ทุจริต

สุชาดา  อุบาสิกาสำคัญคนหนึ่ง  เป็นธิดาของผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม  ตำบลอุรุเวลา  ได้ถวายข้าวปายาสแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่จะตรัสรู้  มีบุตรชื่อยส  ซึ่งต่อมาออกบวชเป็นพระอรหันต์  นางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกา  พร้อมกับภรรยาเก่าของยสะและได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม

สุญญตวิโมกข์   ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ  มหะ หมายถึงมองเห็นความว่างหมดความยึดมั่นคือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา พูดสั้น ๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา  (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)

สุญญตสมาธิ  สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง  ได้แก่  วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ  (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๓)

สุตตนิบาต  ชื่อคัมภีร์ที่ ๕ แห่งขุททกนิกาย  พระสุตตันตปิฎก

สุตตันตปิฎก  ดู  ไตรปิฎก

สุตบท  คำว่า  “สุต”  “สุตา”  ดู ปาฏิโมกข์ย่อ

สุตพุทธะ  ผู้รู้เพราะได้ฟัง,  ผู้รู้โดยสุตะ  หมายถึง บุคคลที่เป็นพหูสูต  ดู พุทธะ

สุทธันตปริวาส  ปริวาสที่ภิกษุผู้ต้องการจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสอยู่ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์  หมายความว่า  ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปิดไว้หลายคราวจนจำจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดไม่ได้  หรือจำได้แต่บางจำนวน  ท่านให้ขอปริวาสประมวลจำนวนอาบัติและจำนวนวันที่ปิดเข้าด้วยกันแล้วอยู่ใช้ไปจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์  มี ๒ อย่าง  คือ จูฬสุทธันตปริวาส  และมหาสุทธันตปริวาส

สุทธาวาส  ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือที่เกิดของพระอนาคามี  ได้แก่  พรหม ๕ ชั้นที่สูงสุดในขั้นรูปาวจร  คือ  อวิหา  อตัปปา  สุทัสสา  สุทัสสี  อกนิฏฐา

สุทธิ  ความบริสุทธิ์,  ความสะอาดหมดจด  มี  ๒  คือ ๑. ปริยายสุทธิ   บริสุทธิ์โดยเอกเทศ  (คือเพียงบางส่วนบางแง่)  ๒. นิปปริยายสุทธิ   บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง  (ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์)

สุทธิกปาจิตติยะ  อาบัติปาจิตตีย์ล้วน  คืออาบัติปาจิตตีย์ที่ไม่ต้องให้เสียสละสิ่งของ  มี ๙๒ สิกขาบท  ตามปกติเรียกกันเพียงว่า  ปาจิตติยะหรือปาจิตตีย์

สุทโธทนะ   กษัตริย์ศากยวงศ์ซึ่งเป็นราชาผู้ครองแคว้นศากยะ  หรือสักกชนบท  ณ นครกบิลพัสดุ์  มีมเหสีพระนามว่าพระนางสิริมหามายา  หรือเรียกสั้น ๆ ว่ามายา เมื่อพระนางมายาสวรรคตแล้ว  พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้เป็นพระมเหสีต่อมา  พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าสีหหนุ  เป็นพระราชบิดาของพระสิทธัตถะ  เป็นพระ
อัยกาของพระราหุล  และเป็นพระพุทธบิดา  พระองค์สวรรคตในปีที่ ๕ แห่งพุทธกิจ ก่อนสวรรคตพระพุทธเจ้าได้เสด็จไป
แสดงธรรมโปรดให้ได้ทรงบรรลุอรหัตตผล  และได้เสวยวิมุตติสุข ๗ วัน ก่อนปรินิพพาน

สุธรรมภิกษุ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งมีความมักใหญ่ ได้ด่าจิตตคฤหบดีและถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม  ให้ไปขอขมาคฤหบดีนั้น นับเป็นต้นบัญญัติในเรื่องนี้

สุนทร  ดี,  งาม,  ไพเราะ

สุนทรพจน์   คำพูดที่ไพเราะ,  คำพูดที่ดี,  คำพูดอันเป็นพิธีการ,  คำกล่าวแสดงความรู้สึกที่ดีอย่างเป็นพิธีการในที่ประชุม

สุเนตตะ  นามของพระศาสดาองค์หนึ่งในอดีต  มีคุณสมบัติคือ  กาเมสุ  วีตราโค  (มีราคะไปปราศแล้วในกามทั้งหลาย)  มีศิษย์จำนวนมาก  ได้เจริญเมตตาจิตถึง ๗ ปี  แต่ก็ไม่อาจพ้นจากชาติ  ชรา  มรณะ  เพราะไม่รู้อริยศีล  อริยสมาธิ  อริยปัญญาและอริยวิมุตติ

สุปฏิปนฺโน  พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี  คือ  ปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา  ปฏิบัติไม่ถอยหลัง  ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า  ดำรงอยู่ในธรรมวินัย  (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ ๙)

สุปปพุทธะ  กษัตริย์โกลิยวงศ์  เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๑ ของพระเจ้าอัญชนะ  เป็นพระบิดาของพระเทวทัตและนางยโสธราพิมพา

สุพาหุ  บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี  เป็นสหายของยสกุลบุตร  ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวชจึงได้บวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมละปุณณชิ และควัมปติ  ได้เป็นสาวกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าส่งไปประกาศพระศาสนา

สุภาพ  เรียบร้อย,  อ่อนโยน,  ละมุนละม่อม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 สิงหาคม 2556 17:49:46 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #41 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2556 17:48:47 »

.

สุภาษิต   ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว, คำพูดที่ถือเป็นคติได้

สุภูติ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรสุมนเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี ได้ไปร่วมงานฉลองวัดเชตวันของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใสบวชในพระพุทธศาสนา  ต่อมาเจริญวิปัสสนาทำเมตตาฌานให้เป็นบาทได้สำเร็จพระอรหัต  พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ๒ ทาง คือ ในทางอรณวิหาร  (เจริญฌาน
ประกอบด้วยเมตตา) และเป็นทักขิไณยบุคคล

สุมนะ  ชื่อพระเถระองค์หนึ่งในการกสงฆ์ ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ ๒

สุรนาทโวหาร  ถ้อยคำที่ฮึกห้าว

สุรสิงหนาท   การเปล่งเสียงพูดอย่างองอาจกล้าหาญ  หรือพระดำรัสที่เร้าใจ  ปลุกให้ตื่นฟื้นสติขึ้นเหมือนดั่งเสียงบันลือของราชสีห์  เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  “กิจอย่างใดอันพระศาสดาผู้เอ็นดู  แสวงประโยชน์เพื่อสาวกทั้งหลายจะพึงทำ  กิจนั้นอันเราทำแล้วแก่พวกเธอทุกอย่าง”

สุรเสนะ   ชื่อแคว้นหนึ่งในมัชฌิมชนบทในชมพูทวีป ตั้งอยู่ทางใต้ของแคว้นกุรุในระหว่างแม่น้ำสินธูกับแม่น้ำยมุนาตอนล่าง นครหลวงชื่อ มถุรา

สุรา  เหล้า,  น้ำเมาที่กลั่นแล้ว

สุราบาน   การดื่มเหล้า,  น้ำเหล้า

สุราปานวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องดื่มน้ำเมา เป็นต้น เป็นวรรคที่ ๖ในปาจิตติยกัณฑ์

สุรามฤต   น้ำที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตายของเทวดา,  น้ำอมฤตของเทวดา

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี  เว้นจากน้ำเมา  คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท  (ข้อที่ ๕ ในศีล ๕ ศีล ๘ และศีล ๑๐)

สุริยคติ  การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระอาทิตย์เป็นหลัก เช่น วันที่  ๑-๒-๓  เดือนเมษายน  เป็นต้น

สุริยุปราคา  การจับอาทิตย์  คือ เงาดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์

สุวรรณภูมิ   “แผ่นดินทอง”,  “แหลมทอง”,  ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ  หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่แปด  (ใน ๙ สาย)  ไปประกาศพระศาสนา  ราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่า  ได้แก่  ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม (พม่าว่าได้แก่  เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)

สู  ท่าน

สูญ   ว่างเปล่า,  หายสิ้นไป

สูตร  พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่ง ๆ ในพระสุตตันตปิฎก  แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน,  ถ้าพูดว่าพระสูตร  มักหมายถึง  พระสุตตันตปิฎกทั้งหมด

สูปะ   แกง

เสกขสมมต   ผู้ได้รับสมมติเป็นเสขะ หมายถึงครอบครัวที่สงฆ์ประชุมตกลงแต่งตั้งให้เป็นเสขะ  ภิกษุใดไม่เจ็บไข้และเขาไม่ได้นิมนต์ไว้  ไปรับเอาอาหารจากครอบครัวนั้นมาขบฉัน  ต้องอาบัติเป็นปาฏิเทสนียะสิกขาบทที่ ๓

เสขะ  ผู้ยังต้องศึกษา  ได้แก่  พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล  โดยพิสดารมี ๗ คือ  ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล  ในสกทาคามิมรรค  ในสกทาคามิผล  ในอนาคามิมรรค  ในอนาคามิผล  และในอรหัตตมรรค,  พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓  คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

เสขบุคคล  บุคคลที่ยังต้องศึกษาอยู่  ดู เสขะ

เสขปฏิปทา  ทางดำเนินของพระเสขะ,  ข้อปฏิบัติของพระเสขะ  ได้แก่  จรณะ ๑๕

เสขภูมิ   ภูมิของพระเสขะ,  ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา

เสขิยวัตร  วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา,  ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ  มี ๗๕ สิกขาบทจำแนกเป็น สารูป ๒๖ โภชนปฏิสังยุต ๓๐  ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ และปกิรณะ คือ เบ็ดเตล็ด ๓,  เป็นหมวดที่ ๗ แห่งสิกขาบทในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ  ท่านให้สามเณรถือปฏิบัติด้วย

เสตกัณณิกนิคม นิคมที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท  ด้านทิศใต้

เสโท, เสท  น้ำเหงื่อ,  ไคล

เสนา   กองทัพ  ในครั้งโบราณหมายถึง  พลช้าง  พลม้า  พลรถ  พลเดินเท้า  เรียกว่า  จตุรงคินีเสนา  (เสนามีองค์๔  หรือเสนาสี่เหล่า)

เสนานิคม   ชื่อหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา  นางสุชาดาผู้ถวายข้าวปายาสแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้อยู่ที่หมู่บ้านนี้)

เสนามาตย์  ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน

เสนามาร  กองทัพมาร,  ทหารของพระยามาร

เสนาสนะ   เสนะ ที่นอน อาสนะ ที่นั่ง หมายเอาที่อยู่อาศัย เช่น กุฏิ วิหาร และเครื่องใช้เกี่ยวกับสถานที่  เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แม้โคนไม้  เมื่อใช้เป็นที่อาศัยก็เรียก  เสนาสนะ
เสนาสนขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเสนาสนะ

เสนาสนคาหาปกะ  ผู้ให้ถือเสนาสนะหมายถึงภิกษุผู้ได้รับสมมติ  คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้ทำหน้าที่จัดแจกเสนาสนะของสงฆ์

เสนาสนปัจจัย  ปัจจัยคือเสนาสนะ,  เครื่องอาศัยของชีวิตคือที่อยู่  เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัยสี่

เสนาสนปัญญาปกะ  ผู้แต่งตั้งเสนาสนะหมายถึงภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดแจงแต่งตั้งดูแลความเรียบร้อยแห่งเสนาสนะสำหรับภิกษุทั้งหลายจะได้เข้าพักอาศัย

เสนาสนวัตร  ธรรมเนียมหรือข้อที่ภิกษุควรปฏิบัติเกี่ยวกับเสนาสนะ เช่น ไม่ทำเปรอะเปื้อน รักษาความสะอาด จัดวางของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ใช้สอยระวังไม่ทำให้ชำรุด  ละเก็บของใช้ไม่ให้กระจัดกระจายสับสนกับที่อื่น  เป็นต้น

เสนาสนะป่า  เสนาสนะอันอยู่ไกลจากบ้านคนอย่างน้อย ๒๕ เส้น

เสพ  บริโภค,  ใช้สอย,  อยู่อาศัย,  คบหา

เสพเมถุน  ร่วมประเวณี,  ร่วมสังวาส

เสมหะ  เสลด,  เมือกที่ออกจากลำคอหรือลำไส้

เสมฺหสมุฏฺฐานา  อาพาธา  ความเจ็บใข้  มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน

เสละ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เกิดในตระกูลพราหมณ์ในอังคุตตราปะ  เรียนจบไตรเพท  เป็นคณาจารย์สอนศิษย์ ๓๐๐ คน ได้พบพระพุทธเจ้าที่อาปณนิคม  เห็นว่าพระองค์สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะครบถ้วนและได้ทูลถามปัญหาต่าง ๆ เมื่อฟังพระดำรัสตอบแล้วมีความเลื่อมใส  ขอบวชต่อมาไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต

แส่โทษ  หาความผิดใส่,  หาเรื่องผิดให้

แสนยากร  หมู่ทหาร,  กองทัพ

โสกาดูร   เดือดร้อนด้วยความโศก,  ร้องไห้สะอึกสะอื้น

โสณกุฏิกัณณะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นบุตรของอุบาสิกา ชื่อกาฬี ซึ่งเป็นพระโสดาบัน เกิดที่บ้านเดิมของมารดาในเมืองราชคฤห์แล้วกลับไปอยู่ในตระกูลบิดาที่แคว้นอวันตี  ทักขิณาบถ พระมหากัจจายนะให้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วรอต่อมาอีก ๓ ปี  เมื่อท่านหาภิกษุได้ครบ ๑๐ รูปแล้ว  จึงให้อุปสมบทเป็นภิกษุ  บวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต  ต่อมาท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เมืองสาวัตถีพร้อมทั้งนำความที่พระอุปัชฌาย์สั่งมากราบทูลขอพระพุทธานุญาตด้วย  รวม
๘  ข้อ ทำให้เกิดมีพระพุทธานุญาตพิเศษสำหรับปัจจันตชนบท  เช่น ให้สงฆ์มีภิกษุ ๕ รูปให้อุปสมบทได้ ให้ใช้รองเท้า
หนาหลายชั้นได้  ให้อาบน้ำได้ตลอดทุกเวลา เป็นต้น ท่านแสดงธรรมมีเสียงไพเราะแจ่มใสชัดเจนจึงได้รับยกย่องจากพระ
ศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในทางกัลยาณพจน์

โสณโกฬิวิสะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เดิมเป็นกุลบุตรชื่อโสณะ ตระกูลโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอุสภเศรษฐีแห่งวรรณะแพศย์ ในเมืองกาฬจัมปาก  แคว้นอังคะ  โสณกุลบุตรมีลักษณะพิเศษในร่างกาย  คือ  มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม  และมีขนอ่อนขึ้นภายใน อีกทั้งมีความเป็นอยู่อย่างดี  ได้รับการบำรุงบำเรอทุกประการ  อยู่ในปราสาท ๓ ฤดู  จึงได้สมญาว่าเป็น สุขุมาลโสณะ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับกิติศัพท์จึงรับสั่งให้โสณะ เดินทางไปเฝ้าและให้แสดงขนที่ฝ่ามือฝ่าเท้าให้ทอดพระเนตร  คราวนั้นโสณะมีโอกาสได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  ได้สดับพระธรรมเทศนาเกิดความเลื่อมใสขอบวช  ท่านทำ
ความเพียรอย่างแรงกล้าจนเท้าแตกและเริ่มท้อแท้ใจ  พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานโอวาทด้วยข้ออุปมาเรื่องพิณสามสาย  ท่าน
ปฏิบัติตาม  ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต  พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

โสณทัณฑพราหมณ์  พราหมณ์ชื่อโสณทัณฑะ เป็นผู้ที่พระเจ้าพิมพิสารให้ปกครองนครจัมปา

โสณทัณฑสูตร  สูตรที่ ๔  นคัมภีร์ทีฑนิกาย สีลขันธวรรค พระสุตตันตปิฎก ทรงแสดงแก่โสณทัณฑพราหมณ์ 

โสณา  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง  เป็นธิดาของผู้มีตระกูลในพระนครสาวัตถี  นางมีสามีแล้ว  มีบุตร ๑๔ คน  เป็นชาย ๗ คน หญิง ๗ คน  ภายหลังสามีถึงแก่กรรม  ลูกชายหญิงก็แต่งงานไปหมดจึงออกบวชเป็นภิกษุณี  มีความเพียรอย่างแรงกล้า เจริญวิปัสสนาอยู่ในเรือนไฟ  ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปรารภความเพียร

โสดาบัน  ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่นิพพาน,  พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล  มี ๓ ประเภท  คือ ๑. เอกพีซี  เกิดอีกครั้งเดียว  ๒. โกลังโกละ  เกิดอีก ๒-๓ ครั้ง  ๓. สัตตักขัตตุปรมะ  เกิดอีก ๗ ครั้ง  เป็นอย่างมาก

โสดาปัตติผล   ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,  ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ  จิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค  ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน

โสดาปัตติมรรค  ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล  คือ ความเป็นพระโสดาบัน,  ญาณ  คือ  ความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

โสต  หู,  ช่องหู

โสตถิยะ   ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้  พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์  ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ  ด้านทิศตะวันออก  แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกจนกระทั่งตรัสรู้

โสตถิวดี  ชื่อนครหลวงของแคว้นเจตี

โสตวิญญาณ  ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, 

โสตสัมผัส  อาการที่หู เสียง และโสตวิญญาณประจวบกัน เกิดการได้ยิน

โสตสัมผัสสชาเวทนา  เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่หู เสียง และโสตวิญญาณกระทบกัน

โสภณเจตสิก  เจตสิกฝ่ายดีงาม  มี ๒๕ แบ่งเป็น  ก. โสภณสาธารณเจตสิก  (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงาม ทุกดวง) ๑๙ คือ สัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ  ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์ นั้น ๆ = อุเบกขา)  กายปัสสิทธิ (ความสงบแห่งแห่งกองเจตสิก)  จิตตปัสสัทธิ (แห่งจิต) กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก) จิตตลหุตา (แห่งจิต) กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก) จิตตมุทุตา (แห่งจิต) กายกัมมัญญตา  (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก) จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต) กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)  จิตตปาคุญญตา  (แห่งจิต) กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก) จิตตุชุกตา (แห่งจิต) ข. วีรตีเจตสิก  (เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น)  ๓  คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ค. อัปปมัญญาเจตสิก  (เจตสิก  คือ  อัปปมัญญา) ๒ คือ  กรุณา  ทิตา  (อีก ๒ ซ้ำกับอโทสะและตัตรมัชฌัตตตา)  ง. ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ

โสภิตะ   พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดามีความเลื่อมใส ขอบวช  ม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

โสมนัส  ความดีใจ,  ความสุขใจ, ความปลาบปลื้ม  ดู เวทนา

โสรัจจะ   ความเสงี่ยม, ความมีอัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย (ข้อ ๒ ในธรรมทำให้งาม ๒)

โสวจัสสตา   ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล  (ข้อ ๔ นาถกรณธรรม ๑๐)

โสสานิกังคะ  องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร  คือ อยู่แรมคืนในป่าช้าเป็นประจำ  (ข้อ ๑๑ ในธุดงค์ ๑๓)

โสโส  โรคมองคร่อ  (มีเสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด)

ไสยาวสาน  การนอนครั้งสุดท้าย, การนอนครั้งที่สุด

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #42 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2556 17:56:37 »

.

หมวดพยัญชนะ

หงายบาตร  การระงับโทษอุบาสกซึ่งเคยปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัย  สงฆ์ประกาศคว่ำบาตรไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบหาด้วย ต่อมาอุบาสกนั้นรู้สึกโทษตนกลับประพฤติดี  สงฆ์จึงได้ประกาศระงับโทษนั้น  ให้ภิกษุทั้งหลายคบกับเขาได้อีก เช่น  รับบิณฑบาต  รับนิมนต์  รับไทยธรรมของเขาได้  เป็นต้น  การที่สงฆ์ประกาศ ระงับการลงโทษนั้น  เรียกว่า หงายบาตร

หทัย   หัวใจ

หน  ทิศ  เช่น  หนบูร  (ทิศตะวันออก)

หฤทัย  หัวใจ

หลักกำหนดธรรมวินัย  หลักตัดสินธรรมวินัย  หรือลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ อย่าง  คือ ก. ธรรมเหล่าใดเป็นไป  ๑. เพื่อความย้อมใจติด ๒. เพื่อความประกอบทุกข์ ๓. เพื่อความพอกพูนกิเลส  ๔. เพื่อความมักมากอยากใหญ่  ๕. เพื่อความไม่สันโดษ  ๖. เพื่อความคลุกคลีในหมู่  ๗. เพื่อความเกียจคร้าน  ๘. เพื่อความเลี้ยงยาก,  ธรรมเหล่านี้  พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม  ไม่ใช่วินัย  ไม่ใช่สัตถุศาสน์,  ข. ธรรมเหล่าใดเป็นไป   ๑. เพื่อความคลายหายติด  ๒. เพื่อความไม่ประกอบทุกข์  ๓. เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส  ๔  เพื่อความมักน้อย   ๕. เพื่อความสันโดษ  ๖. เพื่อความสงัด  ๗. เพื่อการประกอบความเพียร  ๘. เพื่อความเลี้ยงง่าย,  ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า  เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์

หลิททวสนนิคม  นิคมหนึ่งอยู่ในโกลิยชนบท

หัตถ์  มือ

หัตถกรรม  การทำด้วยฝีมือ,  การช่าง

หัตถบาส  บ่วงมือ  คือ  ที่ใกล้ตัวชั่วคนหนึ่ง  (นั่งตัวตรง)  เหยียดแขนออกไปจับตัวอีกคนหนึ่งได้  ท่านว่าเท่ากับ  ช่วงสองศอกคืบ  (สองศอกกับหนึ่งคืบหรือสองศอกครึ่ง)  วัดจากส่วนสุดด้านหลังของผู้เหยียดมืออกไป  (เช่น ถ้ายืน วัดจากส้นเท้า, ถ้านั่ง  วัดจากสุดหลังอวัยวะที่นั่ง) โดยนัยนี้ ท่านว่า นั่งห่างกันได้ไม่เกิน ๑ ศอก

หายนะ  ความเสื่อม

หิตานุหิต  ประโยชน์เกื้อกูลน้อยใหญ่

หิมพานต์  มีหิมะ,  ปกคลุมด้วยหิมะ, ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย  บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย,  ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ก็เรียกกันว่า  ป่าหิมพานต์,  หิมวันต์  ก็เรียก
หิมวันต์  ดู  หิมพานต์

หิรัญญวดี  แม่น้ำสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าเสด็จข้าม  เมื่อเสด็จไปเมืองกุสินาราในวันที่จะปรินิพพาน  สาลวโนทยาน  ของมัลลกษัตริย์ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน  อยู่ริมฝั่งแม่น้ำนี้,  ปัจจุบันเรียก  แม่น้ำคัณฑักน้อย  (Little  Gandak)  อยู่ห่างจากแม่น้ำคัณฑักใหญ่ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๓ กิโลเมตร และไหลลงไปบรรจบแม่น้ำสรภู ซึ่งปัจจุบันเรียก Gogra

หิริ  ความละลายแก่ใจ  คือ  ละอายต่อความชั่ว  (ข้อ ๑ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒,  ข้อ  ๓ ในอริยทรัพย์ ๗,  ข้อ ๒ ในสัทธรรม ๗)

หีนยาน  ยานเลว,  ยานที่ด้อย,  เป็นคำที่พวกอุตรนิกาย  (พุทธศาสนาฝ่ายเหนือ)  เรียก ทักษิณนิกาย  (พุทธศาสนาฝ่ายใต้  อย่างที่นับถือกันในไทย  พม่า  ลังกา  เป็นต้น)  ปัจจุบันนิยมเรียกว่า เถรวาท

เหฏฐิมทิส  ทิศเบื้องต่ำ  หมายถึง บ่าว  คือ คนรับใช้หรือคนงาน  ดู ทิศหก

เหตุ  สิ่งที่ให้เกิดผล,  เค้ามูล,  เรื่องราว,  สิ่งที่ก่อเรื่อง

เหตุผลสนธิ  หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน  หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต  ในวงจรปฏิจจสมุปบาท  (เหตุในอดีต  คืออวิชชาและสังขาร,  ผลในปัจจุบัน  คือวิญญาณ  นามรูป  สฬายตนะ  ผัสสะ  เวทนา, เหตุในปัจจุบัน  คือตัณหา  อุปาทาน  ภพ,  ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)

เห็นชอบ  ดู  สัมมาทิฏฐิ

เหมกมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน  ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์

เหมันตฤดู  ฤดูหนาว

ให้กล่าวธรรมโดยบท  สอนธรรมโดยให้ว่าพร้อมกันกับตน  คือ ว่าขึ้นพร้อมกัน จบลงพร้อมกัน (สิกขาบทที่ ๓ แห่งมุสาวาทวรรค  ปาจิตติยกัณฑ์)

ให้ทานโดยเคารพ  ตั้งใจให้อย่างดี  เอื้อเฟื้อแก่ของที่ตัวให้และผู้รับทาน ไม่ทำอาการดุจทิ้งเสีย

ให้นิสัย  ดู  นิสัย

ให้ลำบาก  ดู  วิเหสกกรรม

ให้โอกาส  ดู  โอกาส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 12:58:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #43 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:39:15 »

.

หมวดพยัญชนะ


อกนิษฐ์  รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหมสิบหกชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุด  (ข้อ ๕ ในสุทธาวาส ๕)

อกรณียะ  กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ  ๑. เสพเมถุน  ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป  ๓. ฆ่ามนุษย์  ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘)  ดู อนุศาสน์

อกัปปิยะ ไม่ควร, ไม่สมควรแก่ภิกษุจะบริโภคใช้สอย คือ ต้องห้ามด้วยพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุใช้หรือฉัน, สิ่งที่ตรงข้ามกับ กัปปิยะ

อกัปปิยวัตถุ  สิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร  คือ ภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย

อกปฺปิเย  กปฺปิยสญฺตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร

อกาละ   เวลาอันไม่ควร

อกาลจีวร   จีวรที่เกิดขึ้นนอกเขตจีวรกาล  นอกเขตอานิสงส์กฐิน

อกาลิโก  พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล, ให้ผลไม่จำกัดกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่จำกัดด้วยกาล ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา ทุกโอกาส บรรลุเมื่อใดก็ได้รับผลเมื่อนั้นไม่เหมือนผลไม้ที่ให้ผลตามฤดู,  อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป (ข้อ ๓ ในธรรมคุณ ๖)

อกิริยทิฏฐิ  ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ,  เห็นว่าการกระทำไม่มีผล  อธิบายอย่างง่าย  เช่น ทำชั่ว  หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชมไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ  ๓)

อกุปปธรรม  ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบคือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหมด เทียบ  กุปปธรรม

อกุศล  บาป,  ชั่ว,  ไม่ฉลาด,  ความชั่ว,  กรรมชั่ว

อกุศลกรรม  กรรมที่เป็นอกุศล,  กรรมชั่ว,  บาป,  การกระทำที่ไม่ดี คือเกิดจาก อกุศลมูล  ดู กรรม

อกุศลกรรมบถ  ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ  มี ๑๐ อย่าง คือ  ก. กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต   การทำลายชีวิต  ๒. อทินนาทาน   ถือเอาของที่เขามิได้ให้  ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่  ๔. มุสาวาท   พูดเท็จ  ๕. ปิสุณาวาจา   พูดส่อเสียด  ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ  ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ  ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา  
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ

อกุศลจิตตุบาท  จิตอกุศลเกิดขึ้น,  ความคิดชั่ว

อกุศลเจตนา  เจตนาที่เป็นอกุศล,  ความตั้งใจชั่ว,  ความคิดชั่ว

อกุศลเจตสิก  เจตสิกอันเป็นอกุศล ได้แก่ ความชั่วที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่งจิตให้เป็นบาป มี ๑๔ อย่าง แยกเป็น ก. สัพพากุศล สาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง) ๔ คือ โมหะ อหิริกะ (ไม่ละอายต่อบาป) อโนตตัปปะ (ไม่กลัวบาป) อุทธัจจะ ข. ปกิณณกอกุศลเจตสิก (อกุศลเจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตเรี่ยรายไป) ๑๐ คือ โลภะ ทิฏฐิ มานะ โทสะ อิสสา (ริษยา) มัจฉริยะ กุกกุจจะ  (เดือดร้อนใจ)  ถีนะ (หดหู่)  มิทธะ (ง่วงงุน) วิจิกิจฉา

อกุศลธรรม  ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล,  ธรรมที่ชั่ว,  ธรรมฝ่ายชั่ว

อกุศลมูล  รากเหง้าของอกุศล,  ต้นเหตุของอกุศล,  ต้นเหตุของความชั่ว  มี ๓ อย่าง  คือ โลภะ โทสะ โมหะ

อกุศลวิตก  ความตริตรึกที่เป็นอกุศล,  ความนึกคิดที่ไม่ดี  มี ๓  ย่าง  คือ  ๑. กามวิตก   คิดแส่ไปในทางกาม  หาทางปรนปรือตน  ๒. พยาบาทวิตก   คิดในทางพยาบาท  ๓. วิหิงสาวิตก   คิดในทางเบียดเบียนผู้อื่น

อคติ   ฐานะอันไม่พึงถึง,  ทางความประพฤติที่ผิด,  ความลำเอียง มี ๔ คือ  ๑. ฉันทาคติ   ลำเอียงเพราะรัก  ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง ๓. โมหาคติ   ลำเอียงเพราะเขลา  ๔. ภยาคติ   ลำเอียงเพราะกลัว

อโคจร  บุคคลและสถานที่อันภิกษุไม่ควรไปมาหาสู่  มี ๖ คือ หญิงแพศยา หญิงหม้าย สาวเทื้อ ภิกษุณี บัณเฑาะก์ (กะเทย) และร้านสุรา

องค์  ๑. ส่วน, ภาค,  ตัว, อวัยวะ, ลักษณะ, คุณสมบัติ, ส่วนประกอบ ๒. ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร  นักบวชอื่นบางพวก และสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๒ องค์ พระเจดีย์ ๔ องค์,  สำหรับภิกษุสามเณร ในภาษาเขียนท่านให้ใช้ รูป

องค์แห่งธรรมกถึก  ๕  คือ  ๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสนหรือขาดความ  ๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ  ๓. สอนเขาด้วยเมตตา  ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง  ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ  ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือไม่ยกตนไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น

องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕ คือ  ๑. ปาฏิโมกขสังวร   สำรวมในพระปาฏิโมกข์  ๒. อินทรียสังวร  สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖  ๓. ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา ๔. กายวูปกาสะ   อยู่ในเสนาสนะอันสงัด  ๕. สัมมาทัสสนะ ตั้งตนไว้ในความเห็นชอบ

องคุลิมาล  พระมหาสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า  เคยเป็นมหาโจรโด่งดังเป็นบุตรของภัคควพราหมณ์  ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าโกศล  มารดาชื่อ  นางมันตานีพราหมณี  เดิมชื่ออหิงสกะ (แปลว่า ผู้ไม่เบียดเบียน) ไปศึกษาศิลปะศาสตร์ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์  เมืองตักสิลา มีความรู้และความประพฤติดี  พื่อนศิษย์ด้วยกันริษยา  ยุอาจารย์ให้กำจัดเสีย อาจารย์ลวงด้วยอุบายให้ไปฆ่าคนครบหนึ่งพันแล้วจะมอบวิชาวิเศษอย่างหนึ่งให้  จึงกลายเป็นมหาโจรผู้โหดร้ายทารุณตัดนิ้วมือคนที่ตนฆ่าตายแล้วร้อยเป็นพวงมาลัย  จึงได้ชื่อว่า องคุลิมาล  (แปลว่ามีนิ้วเป็นมาลัย) ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด กลับใจได้ขอบวช  ต่อมาก็ได้สำเร็จพระอรหัต  ท่านเป็นต้นแห่งพุทธบัญญัติไม่ให้บวชโจรที่ขึ้นชื่อโด่งดัง

อจิตตกะ   ไม่มีเจตนา  เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานที่แม้ไม่มีเจตนา คือ ถึงแม้ไม่จงใจทำก็ต้องอาบัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ดื่มน้ำเมา เป็นต้น

อเจลก  ชีเปลือย,  นักบวชไม่นุ่งผ้า

อเจลกวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับชีเปลือย  เป็นต้น, เป็นชื่อหมวดอาบัติปาจิตตีย์ วรรคที่ ๕

อชปาลนิโครธ  ต้นไทรเป็นที่พักอาศัยของคนเลี้ยงแพะ,  ชื่อต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา ๗ วัน  อยู่ทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์  ดู วิมุตติสุข

อชาตปฐพี  ปฐพีไม่แท้  คือ  ดินที่เป็นหินเป็นกรวด เป็นกระเบื้อง เป็นแร่ เป็นทรายล้วน หรือมีดินร่วนดินเหนียวน้อย  เป็นของอื่นมากก็ดี ดินที่ไฟเผาแล้วก็ดี กองดินร่วน หรือกองดินเหนียวที่ฝนตกรดหย่อนกว่า ๔ เดือนก็ดี

อชาตศัตรู  โอรสของพระเจ้าพิมพิสารกับพระนางโกศลเทวี  กษัตริย์แคว้นมคธ  ขณะพระนางโกศลเทวีทรงครรภ์ ได้แพ้ท้องอยากเสวยโลหิตของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบจึงเอาพระขรรค์แทงพระชานุ (เข่า) รองพระโลหิตให้พระนางเสวย โหรทำนายว่าพระโอรสที่อยู่ในครรภ์เกิดมาจะทำปิตุฆาต พระนางโกศลเทวีพยายามทำลายด้วยการให้แท้งเสียแต่ไม่สำเร็จ  ในที่สุดคิดจะรีดแต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้  เมื่อครบกำหนดประสูติเป็นกุมารจึงตั้งพระนามพระโอรสว่า อชาตศัตรู  แปลว่า  เป็นศัตรูตั้งแต่ยังไม่เกิด  ในที่สุดเจ้าชายอชาตศัตรูก็คบคิดกับพระเทวทัตฆ่าพระราชบิดาตามที่โหรทำนายไว้  และได้ขึ้นครองราชสมบัติแคว้นมคธ ณ กรุงราชคฤห์  แต่ทรงสำนึกและกลับพระทัยได้  หันมาทรงอุปถัมภ์บำรุงพระศาสนา และได้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ในการสังคายนาครั้งที่ ๑  (คำ “อชาตศัตรู” บางท่านแปลใหม่ว่า มิได้เกิดมาเป็นศัตรู)

อชิตมาณพ  หัวหน้าศิษย์  ๑๖  คน  ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามปัญหากับพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

อชินปเวณิ เครื่องสาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ  ขนอ่อนนุ่ม จัดเป็นอุจจาสยนะมหาสยนะอย่างหนึ่ง

อญาณตา   อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่รู้

อณุ, อณู  สิ่งเล็ก ๆ,  ละเอียด

อดิเรก  ๑. เกินกำหนด, ยิ่งกว่าปกติ, ส่วนเกิน, เหลือเฟือ, ส่วนเพิ่มเติม, ส่วนเพิ่มพิเศษ ๒. ถวายอติเรก หรือถวายอดิเรก คือ พระสงฆ์ถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และหรือสมเด็จพระบรมราชินี  ท้ายพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล  ในระหว่างอนุโมทนา  ถ้ากล่าวในพระราชฐานต้องต่อท้ายด้วยถวายพระพรลา,  เรียกอย่างนี้เพราะขึ้นต้นว่า อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุฯ

อดิเรกจีวร   ดู อติเรกจีวร

อดีต ล่วงแล้ว

อดีตกาล  วลาที่ล่วงแล้ว

อติถิพลี  ต้อนรับแขก (ข้อ ๒ ในพลี ๕ แห่งโภคอาทิยะ ๕)

อติมานะ  ดูหมิ่นท่าน, ความถือตัวว่าเหนือกว่ายิ่งกว่าเขา (ข้อ ๑๔ ในอุปกิเลส ๑๖)

อติเรก  ดู  อดิเรก

อติเรกจีวร  จีวรเหลือเฟือ,  ผ้าส่วนเกิน  หมายถึง ผ้าที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามานอกจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร

อติเรกบาตร  บาตรของภิกษุที่เขาถวายเพิ่มเข้ามา นอกจากบาตรอธิษฐานพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีบาตรไว้ใช้ใบเดียว ซึ่งเรียกว่าบาตรอธิษฐาน หากมีหลายใบ ตั้งแต่ใบที่ ๒ ขึ้นไป เรียกว่าอติเรกบาตร

อติเรกปักษ์  เกินเวลาปักษ์หนึ่ง คือ เกิน ๑๕ วัน แต่ยังไม่ถึงเดือน

อติเรกมาส  เกินเวลาเดือนหนึ่ง

อติเรกลาภ  ลาภเหลือเฟือ,  ลาภส่วนพิเศษ,  ลาภเกินปรกติ

อติเรกวีสติวรรค  สงฆ์พวกที่กำหนดจำนวนเกิน ๒๐ รูป

อตีตานาคตังสญาณ   ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงเรื่องที่ล่วงมาแล้ว  และเรื่องที่ยังไม่มาถึง, ญาณหยั่งรู้ทั้งอดีตและอนาคต

อตีตังสญาณ  ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต,  ปรีชากำหนดรู้เหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้วอันเป็นเหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

อเตกิจฉา   แก้ไขไม่ได้,  เยียวยาไม่ได้ หมายถึง อาบัติมีโทษหนักถึงที่สุดต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก คู่กับ สเตกิจฉา

อถัพพนเพท  ชื่อคัมภีร์พระเวทลำดับที่  ๔  ว่าด้วยคาถาอาคมทางไสยศาสตร์  การปลุกเสกต่าง ๆ เป็นส่วนเพิ่มเข้ามาต่อจาก ไตรเพท, อาถัพพนเวท อถรรพเวท อาถรรพณเวท ก็เขียน

อทินนาทาน  ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย,  ขโมยสิ่งของ,  ลักทรัพย์  (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อทินนาทานา  เวรมณี เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐)

อทิสสมานกาย  กายที่มองไม่เห็น,  ผู้มีกายไม่ปรากฏ, ไม่ปรากฏร่าง, มองไม่เห็นตัว กล่าวคือ เป็นวิสัยของผู้มีฤทธิ์บางประเภท  (วิกุพพนฤทธิ์) อาจทำการบางอย่างโดยไม่ให้ผู้อื่นมองเห็นร่างกาย;  อีกอย่างหนึ่ง เป็นความเชื่อของพวกพราหมณ์ว่าบรรพบุรุษที่ตายไปมีถิ่นที่อยู่เรียกว่าปิตฤโลก  ยังทรงอยู่ด้วยเป็นอทิสสมานกาย  ความเชื่อนี้คนไทยก็รับมาแต่ให้บรรพบุรุษเท่านั้น คงอยู่ที่บ้านเรือนเดิมอย่างที่เรียกว่า ผีเรือน

อทุกขมสุข  ไม่ทุกข์ไม่สุข,  ความรู้สึกเฉย ๆ  (ข้อ ๓  ในเวทนา  ๓)

อโทสะ  ความไม่คิดประทุษร้าย,  ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์  คือ ตรงข้ามกับโทสะ ได้แก่ เมตตา  (ข้อ ๒ ในกุศลมูล ๓)  

อธรรม ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม, ชั่วร้าย

อธิกมาส  เดือนที่เพิ่มขึ้นตามจันทรคติ (คือในปีนั้นมีเดือน ๘ สองหน รวมเป็น ๑๓ เดือน)

อธิกรณ์ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ ๑.วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ  การปรับอาบัติ  และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ ๔. กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่นให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็นคดีความ โทษ เป็นต้น

อธิกรณสมถะ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์,  วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์  มี ๗ อย่าง  คือ  ๑. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า ๒. สติวินัย   วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก ๓. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า  ๔. ปฏิญญาตกรณะ การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด(ที่ไม่รับ) ๖. เยภุยยสิกา   การตัดสินตามคำของคนข้างมาก  ๗. ติณวัตถารกวินัย   วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)

อธิกวาร  วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ  (คือในปีนั้นเดิมให้เดือนเจ็ดเป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน)

อธิกสุรทิน  วันทางสุริยคติที่เพิ่มขึ้น  (คือเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่ง เป็น ๒๙ วัน)

อธิการ ๑. เรื่อง, ตอน เช่น ในอธิการนี้ หมายความว่าในเรื่องนี้ ในตอนนี้ ๒. อำนาจ,  การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ, เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่าพระอธิการ และเรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ

อธิจิตตสิกขา  การศึกษาในอธิจิตติ์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง,  การฝึกฝนอบรมจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข  ผ่องใส  เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา  เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)  เรียกกันง่าย ๆ ว่า สมาธิ

อธิบดี ใหญ่ยิ่ง, ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า

อธิบาย ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง; ความประสงค์

อธิปเตยยะ, อธิปไตย ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง  คือ  ๑. อัตตาธิปไตย   ความมีตนเป็นใหญ่  ๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่  ๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่

อธิปัญญาสิกขา การศึกษาในอธิปัญญา,  ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญาเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูงมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ  ปราศจากกิเลสและความทุกข์  (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่าย ๆ ว่าปัญญา

อธิมุตติ  อัธยาศัย,  ความโน้มเอียง,  ความคิดมุ่งไป,  ความมุ่งหมาย

อธิวาสนขันติ  ความอดทนคือความอดกลั้น

อธิศีลสิกขา  การศึกษาในอธิศีล,  ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง,  การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา  คือระเบียบวินัย  การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย  เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา),  เขียนอย่างบาลีเป็นอธิสีลสิกขา  และเรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีล

อธิษฐาน  ๑. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือตั้งเอาไว้เป็นของนั้น ๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้น ๆ เช่นได้ผ้ามาผืนหนึ่งตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร  คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้น ๆ  เมื่ออธิษฐานแล้วของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน  เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน ส่วนของชนิดนั้นที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น  เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร, คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏิ อธิฏฺฐามิ” (ถ้าอธิษฐานของอื่นก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้นเป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)  ๒. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่  
ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐), ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ,ธรรมเป็นที่มั่น  มี ๔ อย่าง คือ ๑. ปัญญา  ๒. สัจจะ  ๓. จาคะ ๔. อุปสมะ รู้จักหาความสงบใจ)

อธิษฐานพรรษา  ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา  ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดไตรมาส (๓ เดือน) ดู จำพรรษา

อธิษฐานอุโบสถ อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐานได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ กล่าวคือเมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึงวันอุโบสถ  เธอพึงอธิษฐาน  คือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า  อชฺช  เม อุโปสโถ แปลว่าวันนี้อุโบสถของเรา  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล)  ดู อุโบสถ

อนติริตตะ (อาหาร) ซึ่งไม่เป็นเดน (ที่ว่าเป็นเดน มี ๒ คือ เป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑)

อนธการ ความมืด, ความโง่เขลา; เวลาค่ำ

อนภิชฌา  ไม่โลภอยากได้ของเขา, ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา (ข้อ ๘ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

อนริยปริเยสนา   การแสวงหาที่ไม่เป็นอริยะ  คือ  แสวงหาสิ่งที่ยังตกอยู่ในชาติ  ชรามรณะ  หรือสิ่งที่ระคนอยู่ด้วยทุกข์ กล่าวคือ  แสวงหาสิ่งอันทำให้ติดอยู่ในโลก,  สำหรับชาวบ้านท่านว่า  หมายถึง การแสวงหาในทางมิจฉาชีพ  (ข้อ ๑ ในปริเยสนา ๒)

อนวเสส หาส่วนเหลือมิได้, ไม่เหลือเลย, สิ้นเชิง

อนังคณสูตร ชื่อสูตรที่ ๕ แห่งมัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  พระสุตตันตปิฎกเป็นคำสนทนาระหว่างพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ  ว่าด้วยกิเลสอันยวนใจ  และความต่างแห่งผู้มีกิเลสยวนใจกับผู้ไม่มีกิเลสยวนใจ

อนัตตตา  ความเป็นอนัตตาคือ มิใช่ตัวมิใช่ตน  (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์)  ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักขณสูตร  ชื่อพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระศาสดาทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์  ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้สำเร็จพระอรหัต  ด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้ (มาในมหาวรรค พระวินัยปิฎก และในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

อนัตตลักษณะ  ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่ ๑. เป็นของสูญ  คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อย ๆ ทั้งหลาย  ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่าง ๆ ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้  ไม่เป็นของใครจริง  ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ   ไม่เป็นไปตามความปรารถนา  ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใคร ๆ  ๔.  เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย  ขึ้นต่อเหตุปัจจัย  ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว  แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์  อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่น ๆ  ๕. โดยสภาวะของมันเองก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา  มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา

อนัตตสัญญา  กำหนดหมายถึง  ความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งหลาย  (ข้อ ๒ ในสัญญา ๑๐)

อนัตตา  ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน  ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเห็นในสภาพที่เป็นอนัตตา  คือ หาตัวตนเป็นแก่นสารมิได้

อนันต์  ไม่มีที่สิ้นสุด,  มากเหลือเกิน,  มากจนนับไม่ได้

อนันตริยกรรม กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย  มี ๕ อย่าง  คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป  ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

อนาคต  ยังไม่มาถึง, เรื่องที่ยังไม่มาถึง, เวลาที่ยังไม่มาถึง

อนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต,  ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้าอันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น  (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์  คือ  กามราคะ  และปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรค  อันทำให้เป็นพระอนาคามี

อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล  คือ ความเป็นพระอนาคามี, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ทั้ง ๕ (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

อนาคามี  พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน) ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะสิ้นอายุ  ๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้นิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก  ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก ๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี  ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

อนาจาร  ความประพฤติไม่ดีไม่งามไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต  แยกเป็น ๓ ประเภท  คือ ๑. การเล่นต่าง ๆ  เช่น เล่นอย่างเด็ก ๒. การร้อยดอกไม้  ๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์

อนาณัตติกะ  อาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง  ไม่ต้องเพราะสั่ง  คือสั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ  เช่น  สังฆาทิเสส  สิกขาบทที่ ๑ (แต่สั่งให้ทำแก่ตนไม่พ้นอาบัติ)

อนาถบิณฑิก อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์  เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี  ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล  เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า  สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่าอนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า  ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา  ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก

อนาถา  ไม่มีที่พึ่ง,  ยากจน,  เข็ญใจ

อนาบัติ  ไม่เป็นอาบัติ

อนาปัตติวาร   ตอนว่าด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปรับอาบัตินั้น ๆ  ตามปกติอยู่ท้ายคำอธิบายสิกขาบทแต่ละข้อในคัมภร์วิภังค์พระวินัยปิฎก

อนามัฏฐบิณฑบาต  อาหารที่ภิกษุบิณฑบาตได้มายังไม่ได้ฉัน จะให้แก่ผู้อื่นที่ไม่ใช่ภิกษุด้วยกันไม่ได้  นอกจากมารดาบิดา

อนามาส   วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรี เงินทอง อาวุธ เป็นต้น

อนาโรจนา การไม่บอก  คือ  ไม่บอกประจานตัวแก่ภิกษุทั้งหลายภายในเขต ๒  เลฑฑุบาตรจากเครื่องล้อมหรือจากอุปจารแห่งอาวาส  ให้รู้ทั่วกันว่าตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส  กำลังอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์;  เป็นเหตุอย่างหนึ่งของการขาดราตรีแห่งมานัตต์หรือปริวาส  ผู้ประพฤติมานัตต์ต้องบอกทุกวัน  แต่ผู้อยู่ปริวาสไม่ต้องบอกทุกวัน  ปกตัตตภิกษุรูปใดยังไม่ได้รับบอก  เธอบอกแก่ภิกษุรูปนั้นครั้งหนึ่งแล้ว  ไม่ต้องบอกอีกตลอดกาลที่อยู่ในอาวาสหรือในอนาวาสนั้นแต่ต้องบอกในท้ายอุโบสถ  ท้ายปวารณาเมื่อถึงวันนั้น ๆ และภิกษุใดได้รับบอกแล้วออกจากอาวาสหรืออนาวาสนั้นไปเมื่อกลับมาใหม่
ต้องได้รับบอกอีก  ดู  รัตติเฉท

อนาวรณญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ที่ไม่มีอะไร ๆ มากั้นได้  หมายความว่า  รู้ตลอด,  รู้ทะลุปรุโปร่ง  เป็นพระปรีชาญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้า  ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

อนาวาส  ถิ่นที่มิใช่อาวาส  คือ  ไม่เป็นวัด

อนาสวะ  ไม่มีอาสวะ,  อันหาอาสวะมิได้

อนิจจตา  ความเป็นของไม่เที่ยง,  ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่  (ข้อ ๑  ในไตรลักษณ์)

อนิจจลักษณะ  ลักษณะที่เป็นอนิจจะ,  ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง  ไม่คงที่  ได้แก่  ๑. เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป  คือเกิดดับ ๆ มีแล้วก็ไม่มี  ๒. เป็นของแปรปรวน คือเปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อย ๆ  ๓. เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะ ๆ  ๔. แย้งต่อความเที่ยง คือโดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

อนิจจสัญญา  กำหนดหมายถึง ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)

อนิจจัง  ไม่เที่ยง, ไม่คงที่, สภาพที่เกิดมีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป  ดู อนิจลักษณะ,  ไตรลักษณ์

อนิมิตตวิโมกข์  หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต คือหลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้ (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)

อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต  คือ วิปัสสนาที่ให้เห็นถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

อนิมิสเจดีย์  สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน  อยู่ทางทีศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์  ดู วิมุตติสุข

อนิยต  ไม่แน่,  ไม่แน่นอน  เป็นชื่ออาบัติที่ยังไม่แน่  ระหว่างปาราชิก  สังฆาทิเสสหรือปาจิตตีย์  ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย

อนิยตสิกขาบท  สิกขาบทที่วางอาบัติไว้ไม่แน่  คือ  ยังไม่ระบุชัดลงไปว่าเป็นปาราชิก  หรือสังฆาทิเสส  หรือปาจิตตีย์,  มี ๒ สิกขาบท

อนึก กองทัพ คือ ช้าง ม้า รถ พลเดินที่จัดเป็นกอง ๆ แล้วอนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ,  ช่วยเหลือ, ความเอื้อเฟื้อ, การช่วยเหลือ

อนุชน  คนที่เกิดตามมา, คนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อ ๆ ไป

อนุชา ผู้เกิดทีหลัง, น้อง

อนุญาต  ยินยอม, ยอมให้, ตกลง

อนุฎีกา  ปกรณ์ที่อาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมฎีกา

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส  พระสงฆ์เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก  เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีอย่างสูงสุด  เพราะพระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์  เป็นผู้ฝึกฝนอบรมตน  และเป็นผู้เผยแพร่ธรรม  ไทยธรรมที่ถวายแก่ท่าน  ย่อมมีผลอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางและตลอดกาลยาวนานเหมือนนามีพื้นดินอันดี  พืชที่หว่านไปย่อมเผล็ดผลไพบูลย์  (ข้อ ๙ ในสังฆคุณ ๙)

อนุตตริยะ  ภาวะที่ยอดเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ คือ ๑. ทัสสนานุตตริยะ   การเห็นอันเยี่ยม  คือ เห็นธรรม ๒. ปฏิปทานุตตริยะ   การปฏิบัติอันเยี่ยม  คือ  มรรคมีองค์  ๘ ๓. วิมุตตานุตตริยะ   การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์; อนุตตริยะ อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ  ๑. ทัสสนานุตตริยะ   การเห็นอันเยี่ยม ๒. สวนานุตตริยะ   การฟังอันเยี่ยม ๓. ลาภานุตตริยะ   ลาภหรือการได้อันเยี่ยม   ๔. สิกขานุตตริยะ  การศึกษาอันเยี่ยม  ๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม  ๖. อนุสสตานุตตริยะ  การระลึกอันเยี่ยม  ดู คำอธิบายที่คำนั้น ๆ

อนุตฺตโร  ปุริสทมฺมสารถิ  ทรงเป็นสารถี  ฝึกคนที่ควรฝึกได้เป็นเยี่ยม  ทรงรู้จักใช้อุบายให้เหมาะแก่บุคคลสอนเขาได้โดยไม่ต้องใช้อาชญา  และทำให้เขาบรรลุผลที่พึงได้  เต็มตามกำลังความสามารถของเขา  (ข้อ ๖  ในพุทธคุณ  ๙)

อนุทูต  ทูตติดตาม, ในพระวินัย หมายถึง ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นตัวแทนของสงฆ์เดินทางร่วมไปกับภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงโทษด้วย ปฏิสารณียกรรม  ให้ไปขอขมาคฤหัสถ์  ในกรณีที่เธอไม่อาจไปตามลำพัง  อนุทูตทำหน้าที่ช่วยพูดกับคฤหัสถ์นั้นเป็นส่วนตนหรือในนามของสงฆ์เพื่อให้ตกลงรับขมา  เมื่อตกลงกันแล้วรับอาบัติที่ภิกษุนั้นแสดงต่อหน้าเขาแล้วจึงให้ขมา

อนุบัญญัติ  บัญญัติเพิ่มเติม, บทแก้ไขเพิ่มเติมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเสริมหรือผ่อนพระบัญญัติที่วางไว้เดิม  คู่กับ บัญญัติ หรือ มูลบัญญัติ

อนุบุรุษ  คนรุ่นหลัง,  คนที่เกิดทีหลัง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:43:43 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:42:47 »

.

อนุปสัมบัน  ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี), ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี  เทียบ อุปสัมบัน

อนุปาทินนกสังขาร  สังขารที่กรรมไม่ยึดครอง  แปลกันง่าย ๆ ว่า สังขารที่ไม่มีใจครอง เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสังขาร  ๒)

อนุปาทิเสสนิพพาน  นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ,  ดับกิเลสไม่มีเบญขันธ์เหลือ  คือ  สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต  หมายถึง  พระอรหันต์สิ้นชีวิต, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ; เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน

อนุปาทิเสสบุคคล บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่  พระอเสขะ  คือ พระอรหันต์;  เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล

อนุปิยนิคม  นิคมแห่งหนึ่งของมัลลกษัตริย์  ในแขวงมัลลชนบทอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกบิลพัสดุ์

อนุปิยอัมพวัน  ชื่อสวน  อยู่ในเขตอนุปิยนิคม  แขวงมัลลชนบท  เป็นที่พระมหาบุรุษเสด็จพักแรม ๗ วัน  หลังจากเสด็จออกบรรพชาใหม่ ๆ  ก่อนเสด็จต่อไปสู่เมืองราชคฤห์ ในแคว้นมคธ และต่อมาเป็นที่เจ้าศากยะ มีอนุรุทธ และอานนท์  เป็นต้น พร้อมด้วยอุบาลี ออกบวช

อนุปุพพปฏิปทา  ข้อปฏิบัติโดยลำดับ,  การปฏิบัติตามลำดับ

อนุปุพพวิหาร  ธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ,  ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ  มี ๙ คือ  รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔  และสัญญาเวทยิตนิโรธ  (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)

อนุปุพพิกถา  เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ  เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ  มี  ๕  คือ  ๑.  ทานกถา  พรรณนาทาน  ๒. สีลกถา พรรณนาศีล  ๓. สัคคกถา พรรณนาสวรรค์  คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม  ๔. กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม  ๕. เนกขัมมานิสังสกถา  พรรณนาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม

อนุพยัญชนะ  ลักษณะน้อย ๆ,  พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ  (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒)  อีก ๘๐ ประการ  คือ  ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม  ๒. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาท  เรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย  ๓. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี  ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ  มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก ๘.  พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา  ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์ ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์  บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือ มิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี  คืองามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนาที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปานมูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้ง เบื้องบนแลเบื้องล่าง ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ  ประมาณถึงพันโกฏิช้าง  ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง ๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์ ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์ ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรงบ่มิได้ค้อมคด ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ  ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวย  บ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้นบ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕. พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙. ลมอัสสาสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด  ๗๐. พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕. พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖. พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุก ๆ เส้น  ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา  กล่าวคือ ถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น  ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ  นิยมเรียกว่า  อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ

อนุพุทธ   ผู้ตรัสรู้ตามคือตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย  ดู พุทธะ

อนุพุทธปวัตติ  ประวัติของพระสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า; เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

อนุมัติ  เห็นตาม,  ยินยอม,  เห็นชอบ  ตามระเบียบที่กำหนดไว้

อนุมาน  คาดคะเน,  คาดความหมาย

อนุมานสูตร   สูตรที่ ๑๕  ในมัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  พระสุตตันตปิฎก  เป็นภาษิตของพระมหาโมคคัลลานะ  กล่าวสอนภิกษุทั้งหลาย  ว่าด้วยธรรมอันทำคนให้เป็นผู้ว่ายากหรือว่าง่าย  การแนะนำตักเตือนตนเอง  และการพิจารณาตรวจสอบตนเองของภิกษุ

อนุโมทนา  ๑.  ความยินดีตาม, ความยินดีด้วย, การพลอยยินดี, การแสดงความเห็นชอบ; เห็นด้วย, แสดงความชื่นชมหรือซาบซึ้งเห็นคุณค่าแห่งการกระทำของผู้อื่น (บัดนี้ บางทีใช้ในความหมายคล้ายคำว่าขอบคุณ)  ๒. ในภาษาไทย  นิยมใช้สำหรับพระสงฆ์  หมายถึงให้พร เช่น เรียกคำให้พรของพระสงฆ์ว่าคำอนุโมทนา

อนุโยค   ความพยายาม, ความเพียร, ความประกอบเนือง ๆ

อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม และบำเพ็ญให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ (ข้อ ๔ ในปธาน ๔)

อนุรักษ์ รักษาและเสริมทวี, รักษาสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วและทำสิ่งที่เกิดมีขึ้นแล้วนั้นให้งอกงามเพิ่มทวียิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์; ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า รักษาให้คงเดิม

อนุราธ ชื่อเมืองหลวงของลังกาสมัยโบราณ; เรียกกันว่า อนุราธปุระบ้าง อนุราชบุรีบ้าง

อนุรุทธะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นเจ้าชายในศากยวงศ์  เป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ  และเป็นอนุชาของเจ้ามหานามะ  ภายหลังออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอานนท์  เป็นต้น  เรียนกรรมฐานในสำนักของพระสารีบุตร ได้บรรลุพระอรหัตที่ป่าปาจีนวังสทายวัน ในแคว้นเจตี พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทิพยจักษุ

อนุรูป  สมควร,  เหมาะสม,  พอเพียง,  เป็นไปตาม

อนุโลม เป็นไปตาม, คล้อยตาม, ตามลำดับ เช่น ว่าตจปัญจกรรมฐานไปตามลำดับอย่างนี้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ (ตรงข้ามกับปฏิโลม คือ ทวนลำดับว่า ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา); สาวออกไปตามลำดับจากเหตุไปหาผลข้างหน้า เช่น อวิชชาเป็นเหตุ สังขารเป็นผล, สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเป็นผล เป็นต้น; จัดเข้าได้, นับได้ว่าเป็นอย่างนั้น  เช่น  
อนุโลมมุสา

อนุโลมมุสา  ถ้อยคำที่เป็นพวกมุสา,  ถ้อยคำที่จัดได้ว่าเป็นมุสา  คือ  พูดเท็จ

อนุวัต  ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม; บางแห่งเขียน อนุวัตน์ อนุวรรต อนุวรรตน์ อนุวัตร  หรือ อนุวัติ ก็มี

อนุวาต  ผ้าขอบจีวร

อนุวาท  การโจท,  การฟ้อง,  การกล่าวหากันด้วยอาบัติ

อนุวาทาธิกรณ์  การโจทที่จัดเป็นอธิกรณ์  คือ  การโจทกันด้วยอาบัติ,  เรื่องการกล่าวหากัน  ดู  อธิกรณ์

อนุศาสน์  การสอน,  คำชี้แจง;  คำสอนที่อุปัชฌาย์หรือกรรมวาจาจารย์บอกแก่ภิกษุใหม่  ในเวลาอุปสมบทเสร็จ ประกอบด้วย นิสสัย ๔ และ อกรณียกิจ ๔ นิสสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต มี ๔  ย่าง ได้แก่ ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๓. อยู่โคนไม้ ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า (ท่านบอกไว้เป็นทางแสวงหาปัจจัย ๔ พร้อมทั้งอติเรกลาภของภิกษุ),  อกรณียกิจ  กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึงกิจที่บรรพชิตทำไม่ได้  มี ๔ อย่าง  ได้แก่  ๑.  เสพเมถุน ๒. ลักของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ (ที่ให้ขาดจากความเป็นภิกษุหมายเอาฆ่ามนุษย์)  ๔.  พูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน

อนุศาสนีปาฏิหาริยะ  ดู  อนุสาสนีปาฏิหาริย์

อนุสติ  ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนือง ๆ  มี ๑๐ อย่าง  คือ ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒. ธัมมานุสติ  ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔. สีลานุสติ  ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕. จาคานุสติ  ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖. เทวตานุสติ  ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗. มรณัสสติ  ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา  ๘. กายคตาสติ  ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม  ๙. อานาปานสติ  ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์  คือ นิพพาน

อนุสนธิ  การติดต่อ,  การสืบเนื่อง, ความ หรือเรื่องที่ติดต่อหรือสืบเนื่องกันมา

อนุสสตานุตตริยะ   การระลึกอันเยี่ยม  ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ล่วงพ้นทุกข์ได้  (ข้อ ๖ ในอนุตตริยะ ๖)

อนุสัย  กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน  มี ๗ คือ ๑. กามราคะ   ความกำหนัดในกาม  ๒. ปฏิฆะ   ความหงุดหงิด  ๓. ทิฏฐิ   ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา   ความลังเลสงสัย  ๕. มานะ ความถือตัว ๖. ภวราคะ   ความกำหนดในภพ ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง

อนุสาวนา  คำสวดประกาศ,  คำประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์,  คำขอมติ

อเนกนัย  นัยมิใช่น้อย,  หลายนัย

อเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตกฌาน (ข้อ ๓ ในอภิสังขาร ๓); ตามหลักเขียน อาเนญชาภิสังขาร

อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ, เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ  เช่น หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม  ทำวิญญัติคือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ  ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์  ต่อลาภด้วยลาภคือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น

อโนมา  ชื่อแม่น้ำกั้นพรมแดนระหว่างแคว้นสักกะกับแคว้นมัลละ  พระสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชามาถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ตรัสสั่งนายฉันนะให้นำม้าพระที่นั่งกลับคืนพระนคร  ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต ณ ฝั่งแม่น้ำมโนมานี้

อบท  สัตว์ไม่มีเท้า เช่น  งู และไส้เดือน เป็นต้น

อบาย,  อบายภูมิ  มิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง  คือ ๑. นิรยะ   นรก ๒. ติรัจฉานโยนิ  กำเนิดดิรัจฉาน ๓. ปิตติวิสัย   ภูมิแห่งเปรต  ๔. อสุรกาย   พวกอสุรกาย

อบายมุข  ช่องทางของความเสื่อม,  เหตุเครื่องฉิบหาย,  เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์,  ทางแห่งความพินาศ  มี  ๔ อย่าง คือ ๑. เป็นนักเลงหญิง  ๒. เป็นนักเลงสุรา  ๓. เป็นนักเลงการพนัน  ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร;  อีกหมวดหนึ่ง  มี ๖ คือ  ๑. ติดสุราและของมึนเมา  ๒. ชอบเที่ยวกลางคืน  ๓. ชอบเที่ยวดูการเล่น  ๔. เล่นการพนัน  ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร  ๖. เกียจคร้านการงาน

อปจายนมัย  บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน  (ข้อ ๔ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)

อปฏิจฉันนาบัติ อาบัติ (สังฆาทิเสส) ที่ภิกษุต้องแล้วไม่ได้ปิดไว้

อปมาโร  โรคลมบ้าหมู

อปรกาล  เวลาช่วงหลัง,  ระยะเวลาของเรื่องที่มีขึ้นในภายหลัง  คือหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้แก่ เรื่องถวายพระเพลิง และแจกพระบรมสารีริกธาตุ

อปรัณณะ ของที่ควรกินทีหลัง  เช่น  ถั่วและงา;  เทียบ  ปุพพัณณะ

อปราปริยเวทนียกรรม  กรรมที่เป็นกุศลก็ดี  อกุศลก็ดี  ซึ่งให้ผลในภพต่อ ๆ ไป  (ข้อ ๓ ในกรรม ๑๒)

อปริหานิยธรรม  ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม,  ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม  เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง  ดังนี้ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม  เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก  และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ  ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น  ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว  สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔. ภิกษุเหล่าใด  เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์  เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น  เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน  ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น  ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า  ๗. ตั้งใจอยู่ว่า  เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล  ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส  ขอให้มา  ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข

อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานิยธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง มีอีกหมวดหนึ่ง  คือ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม  พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม  พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้  ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ  ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม  ๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี  เคารพนับถือท่านเหล่านั้นเห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง  ๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลายมิให้อยู่อย่างข่มเหงรังแก  ๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งภายในและภายนอก  ไม่ละเลยการทำธรรมิกพลี  ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์  (หมายถึงบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน)  ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้นที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก

อปโลกน์ บอกเล่า, การบอกเล่า, การบอกกล่าวแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับทราบพร้อมกัน  หรือขอความเห็นชอบร่วมกันในกิจบางอย่างของส่วนรวม,  ใช้ใน อปโลกนกรรม

อปโลกนกรรม  กรรมคือการบอกเล่า,  กรรมอันทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติคือคำเผดียง  ไม่ต้องสวด อนุสาวนา คือ ประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์  เช่น  ประกาศลงพรหมทัณฑ์  นาสนะสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า  อปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน  เป็นต้น

อปัณณกปฏิปทา  ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด,  ทางดำเนินที่ไม่ผิด  มี ๓  คือ  ๑. อินทรียสังวร   การสำรวมอินทรีย์  ๒. โภชเนมัตตัญญุตา   ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค  ๓. ชาคริยานุโยค   การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน

อปัสเสนธรรม  ธรรมเป็นที่พึ่งที่พำนักดุจพนักพิง  มี ๔ คือ ๑. ของอย่างหนึ่งพิจารณาแล้วเสพ  เช่น  ปัจจัยสี่  ๒. ของอย่างหนึ่ง  พิจารณาแล้วอดกลั้น  ได้แก่  อนิฏฐารมณ์ต่าง ๆ ๓. ของอย่างหนึ่ง  พิจารณาแล้วเว้นเสีย  เช่น สุราเมรัย  การพนัน  คนพาล  ๔. ของอย่างหนึ่ง  พิจารณาแล้ว  บรรเทาเสีย  เช่น  อกุศลวิตกต่าง ๆ

อปุญญาภิสังขาร  สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว  ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)

อพยาบาท  ความไม่คิดร้าย,  ไม่พยาบาทปองร้ายเขา,  มีเมตตา  (ข้อ ๙ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

อพยาบาทวิตก  ความตรึกในทางไม่พยาบาท,  การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น  ปรารถนาให้เขามีความสุข  (ข้อ  ๒  ในกุศลวิตก  ๓)

อพัทธสีมา  “แดนที่ไม่ได้ผูก”  หมายถึง  เขตชุมนุมสงฆ์ที่สงฆ์ไม่ได้กำหนดขึ้นเอง  แต่ถือเอาตามเขตที่เขาได้กำหนดไว้ตามปรกติของบ้านเมือง  หรือมีบัญญัติอย่างอื่นเป็นเครื่องกำหนด  แบ่งเป็น ๓ ประเภท  คือ ๑. คามสีมาหรือนิคมสีมา ๒. สัตตัพภันตรสีมา  ๓. อุทกุกเขป

อภยคิริวิหาร  ชื่อวัดที่พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย  ได้สร้างถวายพระติสสเถระในเกาะลังกา  ซึ่งได้กลายเป็นเหตุให้สงฆ์ลังกาแตกแยกกัน  แบ่งเป็นคณะมหาวิหารเดิมฝ่ายหนึ่ง  คณะอภยคิริวิหารฝ่ายหนึ่ง;  มักเรียก  อภัยคีรี

อภัพ  ไม่ควร,  ไม่อาจ,  ไม่สามารถ,  เป็นไปไม่ได้

อภัพบุคคล   บุคคลผู้ไม่สมควร,  มีความหมายตามข้อความแวดล้อม  เช่น  คนที่ไม่อาจบรรลุโลกุตตรธรรมได้  คนที่ขาดคุณสมบัติ  ไม่อาจให้อุปสมบทได้  เป็นต้น

อภัยทาน  ให้ความไม่มีภัย,  ให้ความปลอดภัย

อภิชฌา   โลภอยากได้ของเขา,  ความคิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น  (ข้อ ๘  ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

อภิชฌาวิสมโลภ  ละโมบไม่สม่ำเสมอ,  ความโลภอย่างแรงกล้า  จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร  (ข้อ ๑  ในอุปกิเลส ๑๖)

อภิญญา  ความรู้ยิ่ง,  ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,  ความรู้ชั้นสูง  มี ๖  อย่าง  คือ  ๑. อิทธิวิธิ  แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้  ๒. ทิพพโสต หูทิพย์  ๓. เจโตปริยญาณ  ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้  ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ  ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้  ๕. ทิพพจักขุ   ตาทิพย์  ๖. อาสวักขยญาณ   ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,  ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา  ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

อภิญญาเทสิตธรรม  ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง  หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗  ประการ มีสติปัฏฐาน ๔  เป็นต้น

อภิฐาน  ฐานะอย่างหนัก,  ความผิดสถานหนัก  มี ๖ อย่าง  คือ  ๑. มาตุฆาต  ฆ่ามารดา  ๒. ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา  ๓. อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์  ๔. โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต  ๕. สังฆเภท  ทำสงฆ์ให้แตกกัน  ๖. อัญญสัตถุทเทส  ถือศาสดาอื่น

อภิณหปัจจเวกขณ์  ข้อที่ควรพิจารณาเนือง ๆ,  เรื่องที่ควรพิจารณาทุก ๆ วัน  มี ๕ อย่าง   คือ  ๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้  ๒. ว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้  ๓. ว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้  ๔. ว่า  เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น  ๕. ว่าเรามีกรรมเป็นของตัว  เราทำดีจักได้ดี  เราทำชั่วจักได้ชั่ว;  อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต  แปลว่า  ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ  ๑๐  อย่าง  (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์)  คือ  ๑.  รรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า  บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว  ๒. ว่า  การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น  ๓. ว่า  เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ  ๔. ว่า  ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่  ๕. ว่า  เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู  ใคร่ครวญแล้วยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่  ๖. ว่า  เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น  ๗.  า  เรามีกรรมเป็นของตน  เราทำดีจักได้ดี  เราทำชั่วจักได้ชั่ว  ๘. ว่าวันคืนล่วงไป ๆ  บัดนี้เราทำอะไรอยู่  ๙. ว่า  เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่  ๑๐. ว่า  คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่  ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน  เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง  (ข้อ ๑  ท่านเติมท้ายว่าอาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ  เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ  ข้อ  ๒. เติมว่าเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย  ข้อ ๗. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก  ไม่ใช่เพียงเท่านี้)

อภิธรรมปิฎก  หมวดแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา  ฝ่ายปรมัตถธรรมว่าด้วยจิต  เจตสิก  รูป  นิพพาน,  เป็นปิฎกที่สามในพระไตรปิฎก  ดู ไตรปิฎก

อภินิหาร  อำนาจแห่งบารมี,  อำนาจบุญที่สร้างสมไว้

อภิเนษกรมณ์  การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่ง  หมายถึง  การออกบวช,  ผนวช

อภิบาล  เลี้ยงดู,  ดูแล,  บำรุงรักษา,  ปกปักรักษา,  คุ้มครอง,  ปกครอง

อภิรมย์  รื่นเริงยิ่ง,  ยินดียิ่ง,  พักผ่อน

อภิลักขิตกาล,  อภิลักขิตสมัย  เวลาที่กำหนดไว้,  วันกำหนด

อภิวันทน์,  อภิวาท,  อภิวาทน์  การกราบไหว้

อภิเษก  การรดน้ำ,  การแต่งตั้งโดยการทำพิธีรดน้ำ,  การได้บรรลุ

อภิสมาจาร  ความประพฤติดีงามที่ประณีตยิ่งขึ้นไป,  ขนบธรรมเนียมเพื่อความประพฤติดีงามยิ่งขึ้นไปของพระภิกษุ

อภิสมาจาริกวัตร  วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี,  ธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม

อภิสมาจาริกาสิกขา  หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ  ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป,  สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร  เทียบ  อาทิพรหมจริยกาสิกขา

อภิสังขาร   สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของบุคคล,  เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม  มี ๓ อย่าง  คือ  ๑. ปุญญาภิสังขาร  อภิสังขารที่เป็นบุญ  ๒. อปุญญาภิสังขาร  อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญ  คือ  บาป  ๓. อาเนญชาภิสังขาร  อภิสังขารที่เป็นอเนญชา  คือ  กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร  ๔;  เรียกง่าย ๆ  ได้แก่  บุญ  บาป  ฌาน

อภิสังขารมาร  อภิสังขารเป็นมารเพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม  ทำให้เกิดชาติชรา  เป็นต้น  ขัดขวางไม่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏฏ์  (ข้อ ๓  ในมาร ๕)

อมร,  อมระ  ผู้ไม่ตาย  เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต

อมฤต  เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย  ตามเรื่องว่า  เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย  พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร  เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง  วางข้างบนลูกหนึ่ง  ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง  เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง  อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา  ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา  ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว  เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร  เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง

อมฤตธรรม  ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย, ธรรมซึ่งเปรียบด้วยน้ำอมฤตอันทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย  หมายถึง  พระนิพพาน

อมาตย์ ข้าราชการ, ข้าเฝ้า, ขุนนาง, มักเรียก อำมาตย์

มาวสี ดิถีที่เป็นอยู่ร่วมแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์, วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ คือ วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ (แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ)

อมิตา เจ้าหญิงศากยวงศ์ เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าสีหหนุ  เป็นพระกนิฏฐภคินีของพระเจ้าสุทโธทนะ  เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า

อมิโตทนะ  กษัตริย์ศากยวงศ์  เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๓  ของพระเจ้าสีหหนุ  เป็นพระอนุชาองค์ที่ ๒ ของ  พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า  มีโอรสชื่อมหานามะ และอนุรุทธะ

อมูฬหวินัย  ระเบียบที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว,  วิธีระงับอธิกรณ์สำหรับภิกษุผู้หายจากเป็นบ้า  ได้แก่  กิริยาที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว  เพื่อระงับอนุวาทาธิกรณ์  อธิบายว่า  จำเลยเป็นบ้า  ทำการล่วงละเมิดอาบัติ  แม้จะเป็นจริงก็เป็นอาบัติ  เมื่อเธอหายบ้าแล้วมีผู้โจทด้วยอาบัติระหว่างเป็นบ้านั้น ไม่รู้จบ  ท่านให้สงฆ์สวดกรรมวาจาประกาศความข้อนี้ไว้  เรียกว่า  อมูฬหวินัย  ยกฟ้องของโจทเสีย  ภายหลังมีผู้โจทด้วยอาบัตินั้น  หรืออาบัติเช่นนั้น  ในคราวที่เป็นบ้าก็ให้อธิกรณ์เป็นอันระงับด้วยอมูฬหวินัย (ข้อ ๓ ในอธิกรณสมถะ ๗)

อโมหะ ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ  คือ ความรู้จริง ได้แก่ ปัญญา (ข้อ ๓  ในกุศลมูล ๓)

อยู่กรรม  ดู  ปริวาส

อยู่ปริวาส  ดู  ปริวาส

อยู่ร่วม   ในประโยคว่า  “ภิกษุใดรู้อยู่กินร่วมก็ดี  อยู่ร่วมก็ดี  สำเร็จการนอนด้วยกันก็ดี”  ร่วมอุโบสถสังฆกรรม

อโยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ;  เทียบ โยนิโสมนสิการ

อรดี  ธิดามารคนหนึ่งใน ๓ คน  อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา  เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่าง ๆ ในสมัย ที่พระองค์เสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธภายหลังตรัสรู้ใหม่ ๆ  (อีก ๒ คน คือ ตัณหา กับ  ราคา)

อรติ  ความขึ้งเคียด,  ความไม่ยินดีด้วย,  ความริษยา

อรรค  ดู อัคร

อรรคสาวก   สาวกผู้เลิศ,  สาวกผู้ยอดเยี่ยม,  ศิษย์ผู้เลิศกว่าศิษย์อื่นของพระพุทธเจ้า  หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ  ดู อัครสาวก

อรรถ  เนื้อความ, ใจความ, ความหมาย, ความมุ่งหมาย, ผล, ประโยชน์

อรรถ ๓ ดู อัตถะ

อรรถกถา  ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้อรรถแห่งบาลี,  คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก

อรรถกถาจารย์  อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา

อรรถกถานัย  เค้าความในอรรถกถา,  แนวคำอธิบายในอรรถกถา,  แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา

อรรถคดี  เรื่องที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล,  ข้อที่กล่าวหากัน

อรรถรส  “รสแห่งเนื้อความ”,  “รสแห่งความหมาย”  สาระที่ต้องการของเนื้อความ,  เนื้อแท้ของความหมาย,  ความหมายแท้ที่ต้องการ,  ความมุ่งหมายที่แทรกซึมอยู่ในเนื้อความ  คล้ายกับที่มักพูดกันในบัดนี้ว่า  เจตนารมณ์  (พจนานุกรมว่า  ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 20:09:27 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #45 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:45:53 »

.

อรรถศาสน์ คำสอนว่าด้วยเรื่องประโยชน์ ๓ อย่าง คือ ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน  ๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้า ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน

อรหํ   เป็นพระอรหันต์  คือ  เป็นผู้ไกลจากกิเลสและบาปกรรม  ทรงความบริสุทธิ์,  หรือเป็นผู้กำจัดข้าศึกษา คือ กิเลสสิ้นแล้ว, หรือเป็นผู้หักกรรมแห่งสังสารจักร อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม, หรือเป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอน เป็นผู้ควรรับความเคารพ  ควรแก่ทักษิณา และการบูชาพิเศษ, หรือเป็นผู้ไม่มีข้อลับ คือไม่มีข้อเสียหายอันควรปกปิด  (ข้อ  ๑ ในพุทธคุณ ๙)

อรหัต  ความเป็นพระอรหันต์,  ชื่อมรรคผลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา  ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด;  เขียน อย่างคำเดิมเป็น  อรหัตต์

อรหัตตผล  ผลคือการสำเร็จเป็นพระอรหันต์,  ผลคือความเป็นพระอรหันต์,  ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ทั้งหมดอันสืบเนื่องมาจากอรหัตตมรรค  ทำให้เป็นพระอรหันต์

อรหัตตมรรค  ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล  คือ ความเป็นพระอรหันต์,  ญาณ  คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ ได้ทั้ง ๑๐

อรหัตตวิโมกข์   ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต  หรือเพราะสำเร็จอรหัต  คือหลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด  สำเร็จเป็นพระอรหันต์

อรหันต์  ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา,  พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด  ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล, พระอรหันต์  ๒ ประเภท  คือพระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก;  พระอรหันต์ ๔ คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก  ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)  ๓. พระฉฬภิญญะ  (ผู้ได้อภิญญา ๖)  ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔); พระอรหันต์ ๕ คือ ๑. พระปัญญาวิมุต ๒. พระอุภโตภาควิมุต ๓. พระเตวิชชะ ๔. พระฉฬภิญญะ ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ดู อริยบุคคล

พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของ  “อรหันต์”  ไว้ ๕ นัย  คือ  ๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)  ๒. กำจัดข้าศึก  (อริ + หต) คือ กิเลสหมดสิ้นแล้ว  ๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ  (อร + หต)  แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว  ๔. เป็นผู้ควร  (อรหะ)  แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ๕. ไม่มีที่ลับ  (น + รหะ)  ในการทำบาป  คือ  ไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง;  ความหมายที่ ๕ นี้  ตามปกติใช้อธิบาย คำว่าอรหันต์ที่เป็นพุทธคุณข้อที่ ๑ ดู อรหํ

อรหันตขีณาสพ  พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว  ใช้สำหรับพระสาวก,  สำหรับพระพุทธเจ้า  ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง

อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์  (ข้อ ๓ ในอนันตริยกรรม ๕)

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง  หมายถึง พระพุทธเจ้า

อรัญญิกธุดงค์  องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสของผู้ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร  ได้แก่ธุดงค์ข้ออารัญญิกังคะ

อรัญญิกวัตร  ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า,  ธรรมเนียมในการอยู่ป่าของภิกษุ  ดู อารัญญกวัตร

อริ ข้าศึก, ศัตรู, คนที่ไม่ชอบกัน

อริฏฐภิกษุ  ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล  เป็นบุคคลแรกที่ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

อริยะ  เจริญ,  ประเสริฐ,  ผู้ไกลจากข้าศึก  คือ  กิเลส,  บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ  มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น  ดู อริยบุคคล

อริยกะ  คนเจริญ,  คนประเสริฐ,  คนได้รับการศึกษาอบรมดี,  เป็นชื่อเรียกชนชาติหนึ่งที่อพยพจากทางเหนือเข้าไปในอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาลถือตัวว่าเป็นพวกเจริญ  และเหยียดพวกเจ้าถิ่นเดิมลงว่าเป็นมิลักขะ  คือ  พวกคนป่าคนดอย,  พวกอริยกะอพยพเข้าไปในยุโรปด้วย  คือพวกที่เรียกว่าอารยัน

อริยกชาติ  หมู่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมดี, พวกที่มีความเจริญ, พวกชนชาติอริยกะ

อริยชาติ  เกิดเป็นอริยะ  คือ  บรรลุมรรคผล  กลายเป็นอริยบุคคล  เปรียบเหมือนเกิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง  ด้วยการเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นพระอริยะ,  อีกอย่างหนึ่งว่า  ชาติอริยะหรือชาวอริยะ  ซึ่งเป็นผู้เจริญในทางพระพุทธศาสนา  หมายถึงผู้กำจัดกิเลสได้  ซึ่งชนวรรณะไหน เผ่าไหน ก็อาจเป็นได้ ต่างจากอริยชาติ หรืออริยกชาติที่มีมาแต่เดิมซึ่งจำกัดด้วยชาติคือกำเนิด

อริยทรัพย์  ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่น เงินทองเป็นต้น เพราะโจรหรือใคร ๆ แย่งชิงไม่ได้  และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง  มี ๗ คือ  สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา

อริยบุคคล  บุคคลผู้เป็นอริยะ,  ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค  เป็นต้น  มี ๔ คือ  ๑. พระโสดาบัน  ๒. พระสกทาคามี  (หรือสกิทาคามี)  ๓. พระอนาคามี  ๔. พระอรหันต์;  แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ  พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค  และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คู่ ๑,  พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค  และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑,  พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่ ๑,  พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑

อริยปริเยสนา  การแสวงหาที่ประเสริฐ คือ แสวงหาสิ่งที่ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งชาติ  ชรามรณะ  หรือกองทุกข์โดยความ ได้แก่  แสวงหาโมกขธรรมเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์,  ความหมายอย่างง่าย  ได้แก่การแสวงหาในทางสัมมาชีพ  (ข้อ ๒ ในปริเยสนา ๒)

อริยผล  ผลอันประเสริฐ  มี ๔ ชั้น  คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล  อนาคามิผล  และอรหัตตผล

อริยมรรค  ทางอันประเสริฐ,  ทางดำเนินของพระอริยะ,  ญาณอันให้สำเร็จความเป็นพระอริยะ  มี ๔  คือ  โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค  อนาคามิมรรค  และอรหัตตมรรค;  บางทีเรียกมรรคมีองค์ ๘ ว่า  อริยมรรคก็มี  แต่ควรเรียกเต็มว่า  อริยอัฏฐังคิกมรรค

อริยวงศ์  ปฏิปทาที่พระอริยบุคคลผู้เป็นสมณะ  ปฏิบัติสืบกันมาไม่ขาดสาย,  อริยประเพณี  มี ๔ คือ  . สันโดษ  ด้วยจีวร ๒. สันโดษด้วยบิณฑบาต  ๓. สันโดษด้วยเสนาสนะ  ๔. ยินดีในการบำเพ็ญกุศล ละอกุศล

อริยสัจ  ความจริงอย่างประเสริฐ,  ความจริงของพระอริยะ,  ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ  มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค  (เรียกเต็มว่า ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)

อริยสัจจ์  ดู อริยสัจ

อริยสาวก   ๑. สาวกผู้เป็นพระอริยะ,  สาวกผู้บรรลุธรรมวิเศษ  มีโสดาปัตติมรรค  เป็นต้น  ๒. สาวกของพระอริยะ  (คือ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นอริยะ)

อริยสาวิกา  สาวิกาที่เป็นพระอริยะ, อริยสาวกหญิง

อริยอัฏฐังคิกมรรค  มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ  ดู  มรรค

อรุณ  เวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดง (แสงทอง), เวลาย่ำรุ่ง

อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม  มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)  ๒. วิญญาญัญจายตนะ   (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๓. อากิญจัญญายตนะ  (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ  (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่  ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์  มี ๔ ดู อรูป

อรูปพรหม  พรหมผู้เข้าถึงอรูปฌาน,  พรหมไม่มีรูป,  พรหมในอรูปภพ  มี ๔ ดู  รูป

อรูปภพ  โลกเป็นที่อยู่ของพรหมไม่มีรูป ดู อรู

อรูปราคะ  ความติดใจในอรูปธรรม,  ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)

อรูปาวจร  ซึ่งท่องเที่ยวไปในอรูปภพ,  ยังเกี่ยวข้องกับอรูปธรรม

อลังการ   เครื่องประดับประดา

อลชฺชิตา   อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่ละอาย

อลัชชี ผู้ไม่มีความละอาย, ผู้หน้าด้าน, ภิกษุผู้มักประพฤติละเมิดพุทธบัญญัติ

อเลอ  แปลง,  ที่อเลออื่น  คือที่แปลงอื่น

อโลภะ ความไม่โลภ, ไม่โลภอยากได้ของเขา, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ  คือ ความคิดเผื่อแผ่เสียสละ,  จาคะ  (ข้อ ๑ ในกุศลมูล ๓)

อวตาร  การลงมาเกิด,  การแบ่งภาคมาเกิด,  เป็นความหมายในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู  เช่น  พระนารายณ์อวตาร คือ แบ่งภาคลงมาจากสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์  เป็นต้น

อวสาน  ที่สุด,  ที่จบ

อวสานกาล  เวลาสุดท้าย,  ครั้งสุดท้าย

อวหาร  การลัก,  อาการที่ถือว่าเป็นการลักทรัพย์  ในอรรถกถาแสดงไว้  ๒๕ อย่าง พึงทราบในที่นี้ ๑๓ อย่าง  คือ ๑. ลัก ๒.ชิงหรือวิ่งราว ๓.  กต้อน  ๔. แย่ง  ๕. ลักสับ  ๖. ตู่  ๗. ฉ้อ ๘. ยักยอก ๙. ตระบัด ๑๐. ปล้น ๑๑. หลอกลวง ๑๒. กดขี่ หรือกรรโชก ๑๓. ลักซ่อน

อวันตี  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป  ตั้งอยู่ทางเหนือของภูเขาวินธัย  ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นวังสะ  มีนครหลวงชื่อ  อุชเชนี  ราชาผู้ครองอวันตีในพุทธกาล  มีพระนามว่า พระเจ้าจัณฑปัชโชต

อวัสดา   ฐานะ,  ความเป็นอยู่,  ความกำหนด,  เวลา,  สมัย

อวิชชา  ความไม่รู้จริง,  ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง  มี ๔ คือ  ความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง  (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์  ม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์),  อวิชชา ๘  คือ อวิชชา ๔ นั้น  และเพิ่ม ๕. ไม่รู้อดีต ๖.ไม่รู้อนาคต  ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

อวิชชาสวะ  อาสวะคืออวิชชา,  กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน  ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง  (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓,  ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔)

อวิญญาณกะ พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ  เช่น  เงิน  ทอง  ผ้านุ่งห่ม  และเครื่องใช้สอย  เป็นต้น  เทียบ  สวิญญาณกะ

อวิทยา   ความไม่รู้,  อวิชชา

อวิทูเรนิทาน  เรื่องไม่ไกลนัก หมายถึงเรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงตรัสรู้

อวินิพโภครูป  “รูปที่แยกออกจากกันไม่ได้”,  รูปที่มีอยู่ด้วยกันเป็นประจำเสมอไปอย่างขาดมิได้เลยในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่างกล่าวคือ  ในสิ่งที่เป็นรูปทุกอย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดก็จะต้องมีรูปธรรมชุดนี้อยู่เป็นอย่างน้อย,  คุณสมบัติพื้นฐานที่มีอยู่เป็นประจำในวัตถุ,  มี ๘ อย่าง  คือ ปฐวี   (ภาวะแผ่ขยายหรือรองรับ) อาโป  (ภาวะเอิบอาบเกาะกุม) เตโช (ภาวะร้อน) วาโย  (ภาวะเคลื่อนไหวเคร่งตึง)  วัณณะ (สี) คันธะ (กลิ่น) รสะ   (รส) โอชา (อาหารรูป);  ใน ๔ อย่างนี้  สี่อย่างแรกเป็นมหาภูตรูปหรือธาตุ ๔,  สี่อย่างหลังเป็นอุปาทายรูป

อวิหิงสาวิตก ความตริตรึกในทางไม่เบียดเบียน,  ความตรึกด้วยอำนาจกรุณา  ไม่คิดทำความลำบากเดือดร้อนแก่ผู้อื่น  คิดแต่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์  (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)

อศุภ  ดู อสุภ

อโศกมหาราช  พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป  และเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง  เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓  แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ  ณ พระนครปาฏลีบุตร  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๖๐  (นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันส่วนมากว่า  พ.ศ.  ๒๗๐-๓๑๒)  เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา  ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้  ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย  แต่ในการสงครามนั้นมีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมายทำให้พระองค์สลดพระทัย  พอดีได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิกการทำสงคราม  หันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ  ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง  ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓  และการส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในนานาประเทศ  เช่น  พระมหินทเถระไปยังลังกาทวีป  และพระโสณะพระอุตตระมายังสุวรรณภูมิ  เป็นต้น  ชาวพุทธไทยมักเรียกพระองค์ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

อโศการาม  ชื่อวัดสำคัญที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างในกรุงปาฏลีบุตร  เป็นที่ทำ  สังคายนาครั้งที่ ๓

อสมานาสนิกะ   ภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนแก่กว่ากันเกิน ๓ พรรษา  นั่งอาสนะคือเตียงตั่งสำหรับ ๒ รูป  เสมอกันไม่ได้  (แต่นั่งอาสนะยาวด้วยกันได้)  เทียบ สมานาสนิกะ

อสังขตะ ธรรมที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง, ธรรมที่ไม่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ พระนิพพาน

อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน (ข้อ ๒ ในธรรม ๒)

อสังขารปรินิพพายี พระอนาคามี  ผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก (ข้อ ๓ ในอนาคามี ๕)

อสังสัคคกถา  ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้คลุกคลีด้วยหมู่  (ข้อ ๔  ในกถาวัตถุ ๑๐)

อสังหาริมะ  ซึ่งนำเอาไปไม่ได้,  เคลื่อนที่ไม่ได้,  ของติดที่  ขนเอาไปไม่ได้  เช่น  ที่ดิน  โบสถ์  วิหาร  เจดีย์  ต้นไม้  เรือน เป็นต้น  เทียบ  สังหาริมะ

อสังหาริมทรัพย์  ทรัพย์เคลื่อนที่ไม่ได้  ได้แก่  ที่ดินและทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่  เช่น  ตึก  โรงรถ  เป็นต้น,  คู่กับ สังหาริมทรัพย์

อสัญญีสัตว์  สัตว์จำพวกไม่มีสัญญา  ไม่เสวยเวทนา  (ข้อ ๕  ในสัตตาวาส ๙)

อสัทธรรม ธรรมของอสัตบุรุษ  มีหลายหมวด  เช่น  อสัทธรรม ๗ คือ ที่ตรงข้ามกับ  สัทธรรม ๗  มีปราศจากศรัทธาปราศจากหิริ  เป็นต้น; ในคำว่า “ทอดกายเพื่อเสพอสัทธรรมก็ดี” หมายถึง  เมถุนธรรม คือการร่วมประเวณี

อสาธารณสิกขาบท สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป  หมายถึง  สิกขาบทเฉพาะของภิกษุณี  ที่แผกออกไปจากสิกขาบทของภิกษุ  เทียบ สาธารณสิกขาบท

อสิตดาบส  ดาบสผู้คุ้นเคย  และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล  อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์  ได้ทราบข่าวว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่จึงเข้าไปเยี่ยม  ได้เห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาปุริสลักษณะ  จึงกราบลงที่พระบาททั้งสองของพระราชโอรสแล้วกล่าวคำทำนายว่า  ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ  ถ้าทรงออกผนวชจักได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระศาสดาเอกในโลก; มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส

อสีตยานุพยัญชนะ อนุพยัญชนะ ๘๐  ดู อนุพยัญชนะ

อสีติมหาสาวก  พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์  บางทีเรียกอนุพุทธ ๘๐ องค์  มีรายนามตามลำดับอักษร  ดังนี้   (ที่พิมพ์ตัวเอน คือ  ท่านที่เป็นเอตทัคคะด้วย); กังขาเรวต,  กัปป, กาฬุทายี, กิมพิล, กุมารกัสสป,  กุณฑธาน,  คยากัสสป,  ควัมปติ,  จุนท, จูฬปันถก, ชตุกัณณิ,  ติสสเมตเตยย, โตเทยย, ทัพพมัลลบุตร, โธตก, นทีกัสสป, นันท,  นันทก, นันทก, นาคิต, นาลก, ปิงคิย, ปิณโฑลภารทวาช, ปิลินทวัจฉ, ปุณณก, ปุณณชิ,  ปุณณมันตานีบุตร, โปสาล, พากุละ (พักกุละก็เรียก), พาหิย ทารุจีริย,  ภคุ, ภัททิย   (ศากยะ), ภัททิย, ภัทราวุธ, มหากัจจายน,  มหากัปปิน, มหากัสสป, มหาโกฏฐิต, มหานาม, มหา
ปรันตป, มหาปันถก, มหาโมคคัลลาน, เมฆิย, เมตตคู, โมฆราช, ยส, ยโสช, รัฏฐปาล, ราธ, ราหุล, เรวต  ขทิรวนิย, ลกุณฏกภัททิย, วักกลิ, วังคีส, วัปป, วิมล, สภิย, สาคต, สารีบุตร, สีวลี, สุพาหุ, สุภูติ, เสล, โสณกุฏิกัณณ, โสณโกฬิวิส, โสภิต, เหมก, องคุลิมาล, อชิต, อนุรุทธ, อัญญาโกณฑัญญ, อัสสชิ, อานนท,  อุทย, อุทายี, อุบาลี, อุปวาณ, อุปสีว, อุปเสนวังคันตบุตร, อุรุเวลกัสสป

อสุภ,  อสุภะ   สภาพที่ไม่งาม,  พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นสภาพที่ไม่งาม,  ในความหมายเฉพาะ  หมายถึงซากศพในสภาพต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน  รวม ๑๐ อย่าง  คือ ๑. อุทธุมาตกะ   ซากศพที่เน่าพอง ๒. วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ ๓. วิปุพพกะ   ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกอยู่  ๔. วิจฉิททกะ   ซากศพที่ขาดกลางตัว ๕. วิกขายิตกะ ซากศพที่สัตว์กัดกินแล้ว  ๖. วิกขิตตกะ   ซากศพที่มีมือเท้า  ศีรษะขาด ๗. ตวิกขิตตกะ   ซากศพที่คนมีเวรเป็นข้าศึกกัน  สับฟันเป็นท่อน ๆ ๘. โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารด้วยศัสตรามีโลหิตไหลอาบอยู่  ๙. ปุฬุวกะ ซากศพที่มีตัวหนอนคลานคล่ำไป  ๑๐. อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก

อสุภสัญญา  กำหนดหมายถึงความไม่งามแห่งร่างกาย  (ข้อ ๓ ในสัญญา ๑๐)

อสุรกาย  พวกอสูร,  ภพแห่งสัตว์เกิดในอบายพวกหนึ่ง  เป็นพวกสะดุ้ง  หวาดหวั่นไร้ความรื่นเริง  ถ้าเปรียบกับในโลกนี้ก็เหมือนดังคนอดอยาก  เที่ยวทำโจรกรรมในเวลาค่ำคืน  หลอกลวงฉกชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น  (ข้อ ๔ ในอบาย ๔)

อเสขะ  ผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว  ได้แก่  บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์, คู่กับ  เสขะ

อเสขบุคคล  บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา  ดู อเสขะ

อเหตุกทิฏฐิ  ความเห็นว่าไม่มีเหตุ  คือ  ความเห็นผิดว่า  คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์  ถึงคราวจะดีก็ดีเอง  ถึงคราวจะร้ายก็ร้ายเอง  ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)

อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก  ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่เลิกให้ผล  เหมือนพืชที่หมดยางเพาะปลูกไม่ขึ้นอีก  (ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)

อักโกสวัตถุ เรื่องสำหรับด่า มี ๑๐ อย่าง  คือ ๑. ชาติ ได้แก่ ชั้นหรือกำเนิดของคน ๒. ชื่อ ๓. โคตร  คือ ตระกูลหรือแซ่ ๔. การงาน ๕. ศิลปะ ๖. โรค ๗. รูปพรรณสัณฐาน ๘. กิเลส ๙. อาบัติ ๑๐. คำสบประมาทอย่างอื่น ๆ

อักขระ  ตัวหนังสือ, วิชาหนังสือ, คำ, เสียง, สระ และพยัญชนะ

อักขรวิธี  ตำราว่าด้วยวิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง

อักษร  ตัวหนังสือ

อัคคสาวก  ดู  อัครสาวก

อัคคัญญสูตร  ชื่อสูตรที่ ๔ แห่งทีฆนิกาย  ปาฏิกวรรค  พระสุตตันตปิฎก  ทรงแสดงแก่สามเณรวาเสฏฐะ  และสามเณรภารัทวาชะ  ผู้ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์  ทรงคัดค้านคำกล่าวอ้างของพวกพราหมณ์ที่ถือว่าพราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐที่สุดและถือว่าชาติกำเนิดเป็นเครื่องตัดสินความประเสริฐและความต่ำทรามของมนุษย์  ทรงแสดงให้เห็นว่าความประเสริฐหรือต่ำทรามนั้นอยู่ที่ความประพฤติ  โดยมีธรรมเป็นเครื่องตัดสิน  คนวรรณะต่าง ๆ ออกบวชในพระพุทธศาสนาแล้วย่อมเชื่อว่าเป็นผู้เกิดจากธรรมเสมอกันหมด  แล้วทรงแสดงความเป็นมาของสังคมมนุษย์  เริ่มแต่เกิดมีสัตว์ขึ้นในโลกแล้วเปลี่ยนแปลงตามลำดับจนเกิดมีมนุษย์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นพวก  เกิดความจำเป็นต้องมีการปกครองและมีการประกอบอาชีพการงาน
ต่าง ๆ กัน  วรรณะทั้งสี่ก็เกิดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้  มิใช่เป็นเรื่องของพรหมสร้างสรรค์  แต่เกิดจากธรรม (ธรรมดา, กฎธรรมชาติ) ทุกวรรณะประพฤติชั่วก็ไปอบาย ได้ปฏิบัติธรรมก็บรรลุนิพพานได้ ธรรมเป็นเครื่องตัดสินและธรรมเป็นของประเสริฐสุด  ผู้ที่สิ้นอาสวกิเลสแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุดในวรรณะทั้งสี่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดในบรรดาเทวะ  และมนุษย์ทั้งปวง

อัคคิ ไฟ, ไฟกิเลส, กิเลสดุจไฟเผาลนจิตใจให้เร่าร้อน มี ๓ คือ ๑. ราคัคคิ  ฟคือราคะ ๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ ๓. โมหัคคิ  ไฟคือโมหะ

อัคคิเวสสนโคตร  ตระกูลอัคคิเวสสนะเป็นตระกูลของปริพาชกคนหนึ่งชื่อ  ทีฆนขะ

อัคฆสโมธาน  การประมวลโดยค่า,  เป็นชื่อปริวาสที่ภิกษุผู้ปรารถนาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งต้องหลายคราว  มีจำนวนวันปิดไม่เท่ากัน  ประมวลอาบัติและวันเข้าด้วยกัน  อยู่ปริวาสเท่าจำนวนวันที่มากที่สุด  เช่น  ต้องอาบัติ ๓ คราว คราวหนึ่งปิดไว้ ๓ วัน  คราวหนึ่งปิดไว้ ๕  วัน คราวหนึ่งปิดไว้ ๗ วัน อยู่ปริวาสเท่าจำนวนมากที่สุดคือ ๗ วัน  ดู สโมธานปริวาส

อัคร  เลิศ,  ยอด,  ล้ำเลิศ,  ประเสริฐ,  สูงสุด

อัครพหูสูต  พหูสูตผู้เลิศ,  ยอดพหูสูต,  ผู้คงแก่เรียนอย่างยอดเยี่ยม  หมายถึง  พระอานนท์

อัครสาวก  สาวกผู้เลิศ,  สาวกผู้ยอดเยี่ยม  หมายถึงพระสารีบุตร  (เป็นอัครสาวกเบื้องขวา)  และพระมหาโมคคัลลานะ (เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย)

อังคะ  ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของแคว้นมคธ  มีแม่น้ำจำปากั้นแดนและมีนครหลวงชื่อ จัมปา ในพุทธกาลแคว้นอังคะขึ้นกับแคว้นมคธ

อังคาร  ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

อังคารสตูป  พระสถูปที่บรรจุพระอังคาร  ซึ่งโมริยกษัตริย์สร้างไว้ที่เมืองปิปผลิวัน

อังคาส  ถวายพระ,  เลี้ยงพระ

อังคุดร  หมายถึง  อังคุตตรนิกาย

อังคุตตรนิกาย  ชื่อนิกายที่สี่ในบรรดานิกาย ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก  เป็นที่ชุมนุมพระสูตรซึ่งจัดเข้าลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรม  เป็นหมวด๑  (เอกนิบาต)  หมวด ๒ (ทุกนิบาต)  เป็นต้น  จนถึงหมวด ๑๑ (เอทาทสกนิบาต)

อังคุตตราปะ  ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล  เมืองหลวงเป็นเพียงนิคม  ชื่อ อาปณะ

อังคุลิมาละ  ดู  องคุลิมาล

อังสะ  ผ้าที่ภิกษุใช้ห้อยเฉวียงบ่า

อัจเจกจีวร  จีวรรีบร้อน หรือผ้าด่วน  หมายถึง ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกผู้มีเหตุรีบร้อน ขอถวายก่อนกำหนดเวลาปกติ(กำหนดเวลาปกติสำหรับถวายผ้าจำนำพรรษา  คือ  จีวรกาลนั่นเอง  กล่าวคือ ต้องผ่านวันปวารณาไปแล้ว  เริ่มแต่แรม ๑ ค่ำ  เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๒ และถ้ากรานกฐินแล้ว  นับต่อไปอีกถึงขั้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๔;  เหตุรีบร้อนนั้น  เช่น เขาจะไปทัพหรือเจ็บไข้ไม่ไว้ใจชีวิต  หรือมีศรัทธาเลื่อมใสเกิดขึ้นใหม่)  อัจเจกจีวรเช่นนี้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับเก็บไว้ได้ แต่ต้องรับก่อนวันปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน  (คือตั้งแต่ขึ้น ๖ ค่ำ  ถึง ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๑)  (สิกขาบทที่ ๘ แห่งปัตตวรรคนิสสัคคิยปาจิตตีย์)

อัชฌาจาร  ความประพฤติชั่ว,  การละเมิดศีล,  การล่วงมรรยาท,  การละเมิดประเพณี

อัชฌาสัย  นิสัยใจคอ,  ความนิยม,  ความมีน้ำใจ

อัญชนะ กษัตริย์โกลิยวงศ์ผู้ครองเทวทหนคร  มีมเหสีพระนามว่า  ยโสธรา  เป็นพระชนกของพระมหามายาเทวี  ผู้เป็นพระพุทธมารดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี (ตำนานว่ามีโอรสด้วย  ๒  องค์  คือ ทัณฑปาณิ และสุปปพุทธะ)

อัญชลีกรรม  การประนมมือแสดงความเคารพ

อญฺชลีกรณีโย  พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับอัญชลีกรรม  คือ  การกราบไหว้  ประนมมือไหว้  เพราะมีความดีที่ควร แก่การไหว้ ทำให้ผู้ไหว้ผู้กราบไม่ต้องกระดากใจ (ข้อ ๘ ในสังฆคุณ ๙)

อัญญเดียรถีย์  ผู้ถือสิทธินอกพระพุทธศาสนา

อัญญภาคิยสิกขาบท  ชื่อสิกขาบทที่ ๙ แห่งสังฆาทิเสส  (ภิกษุหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก),  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท

อัญญวาทกกรรม  กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น  คือ  ภิกษุประพฤติอนาจาร  สงฆ์เรียกตัวมาถาม  แกล้งยกเรื่องอื่น ๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย  ไม่ให้การตามตรง,  สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม  เรียกว่า  ยกอัญญาวาทกกรรมขึ้น,  เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว  ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก  ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค  ปาจิตตยกัณฑ์),  คู่กับ วิเหสกกรรม

อัญญสมานาเจตสิก เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น  ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก   (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ  (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)  ข. ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย  คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลแต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก   (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ  ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

อัญญสัตถุเทศ การถือศาสดาอื่น จัดเป็นความผิดพลาดสถานหนัก  (ข้อ  ๖  ในอภิฐาน ๖)

อัญญสัตววิสัย  วิสัยของสัตว์อื่น,  วิสัยของสัตว์ทั่ว ๆ ไป

อัญญาโกณฑัญญะ พระมหาสาวกผู้เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า  เป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์  เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล  เกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุ  ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์  เดิมชื่อ  โกณฑัญญะ  เป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร  และเป็นผู้เดียวที่ทำนายว่า  พระกุมารจะทรงออกบรรพชาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน  มีคติเป็นอย่างเดียว  ต่อมาท่านออกบวชตามเสด็จพระสิทธัตถะ  ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นหัวหน้าพระเบญจวัคคีย์  และได้นำคณะหลีกหนีไป เมื่อพระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยากลับเสวยพระกระยาหาร  ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรด ท่านสดับปฐมเทศนาได้ดวงตาเห็นธรรม  ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า

โกณฑัญญะ ที่ได้ชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เพราะเมื่อท่านฟังปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า  และได้ธรรมจักษุ  
พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า  “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ ๆ”  (โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ)  คำว่า อัญญาจึงมารวมเข้ากับชื่อของท่าน  ต่อมาท่านได้สำเร็จอรหัตด้วยฟังอนัตตลักขณสูตร  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน คือ บวชนาน รู้เห็นเหตุการณ์มากมาแต่ต้น) ท่านทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ฝั่งสระมันทากินีในป่าฉัททันตวัน แดนหิมพานต์  อยู่ ณ ที่นั้น ๑๒ ปี  ก็ปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน  ดู โกณฑัญญะ   ด้วย

อัฏฐกะ  หมวด  ๘

อัฏฐบาน ปานะทั้ง ๘, น้ำปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ ๘ อย่าง ดู ปานะ

อัฏฐารสเภทกรวัตถุ เรื่องทำความแตกกัน ๑๘ อย่าง, เรื่องที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกแก่สงฆ์ ๑๘ ประการ ท่านจัดเป็น ๙ คู่ (แสดงแต่ฝ่ายคี่) คือ ภิกษุแสดงสิ่งมิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม,  แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นวินัย, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้ประพฤติว่าได้ประพฤติ, แสดงสิ่งที่พระตถาคตมิได้บัญญัติว่าได้บัญญัติ,  แสดงอาบัติว่ามิใช่อาบัติ,  แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก,  แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ, แสดงอาบัติหยาบคายว่ามิใช่อาบัติหยาบคาย (ฝ่ายคู่ก็ตรงข้ามจากนี้ตามลำดับ เช่น แสดงธรรมว่ามิใช่ธรรม,  แสดงวินัยว่าไม่ใช่วินัย  ฯลฯ  แสดงอาบัติไม่หยาบคายว่าเป็นอาบัติหยาบคาย)

อัฏฐิ  กระดูก,  บัดนี้เขียน อัฐิ

อัฏฐิมิญชะ  เยื่อในกระดูก

อัฐบริขาร  บริขาร  ๘  ดู  บริขาร

อัฑฒกุสิ  เส้นคั่นดุจคันนาขวางระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร,  เทียบ  กุสิ

อัณฑชะ  สัตว์เกิดในไข่  คือ ออกไข่เป็นฟองแล้วจึงฟักออกเป็นตัว  เช่น ไก่  นก จิ้งจก เป็นต้น (ข้อ ๒ ในโยนิ ๔)

อัฑฒมณฑล กระทงน้อย คือ ชิ้นส่วนของจีวรพระที่เป็นผืนผ้ารูปสี่เหลี่ยม  มีแผ่นผ้าแคบคั่นแต่ละด้าน ลักษณะเหมือนกระทงนามีคันนากั้น, มี ๒ ขนาด กระทงเล็กเรียกอัฑฒมณฑล  กระทงใหญ่เรียกมณฑล, กระทงเล็ก หรือกระทงน้อย  มีขนาดครึ่งหนึ่งของกระทงใหญ่  ในจีวรผืนหนึ่ง  มีกระทงน้อยอย่างต่ำ ๕ ชิ้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:50:37 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:49:45 »

.

อัตตกิลมถานุโยค การประกอบตนให้ลำบากเปล่า  คือ  ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่หมายด้วยวิธีทรมานตนเอง  เช่น การบำเพ็ญตบะต่าง ๆ  ที่นิยมกันในหมู่นักบวชอินเดียจำนวนมาก  (ข้อ ๒ ในที่สุด ๒ อย่าง)

อัตตภาพ  ความเป็นตัวตน,  ชีวิต,  เบญจขันธ์,  บัดนี้เขียน  อัตภาพ

อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน  คือความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่านั่นนี่เป็นตัวตน  เช่น  มองเห็น เบญจขันธ์  เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น  ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา  พวกเขา  และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)

อัตตวินิบาต  ทำลายตัวเอง,  ฆ่าตัวเอง;  บัดนี้เขียน  อัตวินิบาต

อัตตสัมมาปณิธิ  การตั้งตนไว้ชอบ  คือ  ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม  และดำเนินแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม (ข้อ ๓ ในจักร ๔)

อัตตสุทธิ  การทำตนให้บริสุทธิ์จากบาป

อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน เช่นรู้ว่า  เรามีความรู้  ความถนัด  คุณธรรม  ความสามารถ  และฐานะ เป็นต้น แค่ไหนเพียงไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดี  (ข้อ ๓ ในสัปปุริสธรรม ๗)

อัตตัตถะ ประโยชน์ตน, สิ่งที่เป็นคุณแก่ชีวิต ช่วยให้เป็นอยู่ด้วยดี สามารถพึ่งตน  หรือเป็นที่พึ่งแก่ตนได้  ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ ก็ตาม, เทียบ ปรัตถะ

อัตตา   ตัวตน,  อาตมัน;  ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือทั้งหมดเป็นอัตตา  หรือยึดถือว่ามีอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง;  เทียบ อนัตต

อัตตาธิปเตยยะ  ดู อัตตาธิปไตย

อัตตาธิปไตย ความถือตนเป็นใหญ่จะทำอะไรก็นึกถึงตน  คำนึงถึงฐานะ  เกียรติศักดิ์ศรี  หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ, พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี  คือ  เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน  (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)

อัตตานุทิฏฐิ  ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน

อัตถะ   ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย  มี ๓ คือ  ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ   ประโยชน์ปัจจุบัน ๒. สัมปรายิกัตถะ   ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า ๓. ปรมัตถะ   ประโยชน์อย่างยิ่ง,  ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน; อัตถะ ๓ อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒. ปรัตถะ   ประโยชน์ผู้อื่น ๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อัตถจริยา  ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น,  การบำเพ็ญประโยชน์  (ข้อ ๓ ในสังคหวัตถุ ๔)

อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ,  ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ  (ข้อ ๑ ในปฏิสัมภิทา ๔)

อัตถสาธกะ  ยังอรรถให้สำเร็จ, ทำเนื้อความให้สำเร็จ

อัตถัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น  รู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล; ตามบาลีว่า รู้ความหมายเช่นว่า ธรรมข้อนี้ ๆ มีความหมายอย่างนี้ ๆ  หลักข้อนี้ ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ ๆ (ข้อ ๒ในสัปปุริสธรรม ๗)

อัตถุปปัตติ   เหตุที่ให้มีเรื่องขึ้น,  เหตุให้เกิดเรื่อง

อัธยาจาร  ดู  อัชฌาจาร

อัธยาศัย  นิสัยใจคอ,  ความนิยมในใจ

อันต  ไส้ใหญ่

อันตคาหิกทิฏฐิ  ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด  คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่ง ๆ  มี ๑๐ อย่าง  คือ ๑.โลกเที่ยง  ๒. โลกไม่เที่ยง ๓. โลกมีที่สุด ๔. โลกไม่มีที่สุด  ๕. ชีพอันนั้น  สรีระก็อันนั้น  ๖. ชีพก็อย่าง  สรีระก็อย่าง  ๗. สัตว์ตายแล้ว  ยังมีอยู่  ๘. สัตว์ตายแล้ว  ย่อมไม่มี  ๙. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่  ทั้งไม่มี  ๑๐. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ก็ไม่ใช่  ไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่

อันตคุณ  ไส้น้อย,  ไส้ทบ

อันตรธาน  หายไป,  เสื่อมสิ้นไป,  สูญหายไป

อันตรวาสก  ผ้านุ่ง,  สบง,  เป็นผืนหนึ่งในไตรจีวร

อันตราบัติ อาบัติสังฆาทิเสส  ที่ต้องใหม่อีกในระหว่างประพฤติวุฏฐานวิธี  คือ  ตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน

อันตราปรินิพพายี  พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน  ในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง  (ข้อ ๑ ในอนาคามี ๕)

อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่  เหตุที่จะทำให้ผู้บวชในธรรมวินัยนี้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน มี ๔ อย่าง คือ ๑. อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้ ๒. เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๓. ฝันใฝ่ทะยานอยากได้กามคุณ  ๔. รักผู้หญิง

อันตราย ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดข้องที่ทรงอนุญาตให้เลิกสวดปาฏิโมกข์ได้  โดยให้สวดปาฏิโมกข์ย่อแทน มี ๑๐ อย่าง  คือ  ๑. ราชันตราย  พระราชาเสด็จมา  (เลิกสวดเพื่อรับเสด็จ)  ๒. โจรันตราย  โจรมาปล้น  (เพื่อหนีภัย)  ๓. อัคยันตราย ไฟไหม้ (เพื่อดับหรือป้องกันไฟ)  ๔. อุทกันตราย น้ำหลากมา (หรือฝนตกเมื่อสวดกลางแจ้ง; เพื่อหนีน้ำ)  ๕. มนุสสันตราย  คนมามาก (เพื่อรู้เหตุหรือเพื่อปฏิสันถาร)  ๖. อมนุสสันตราย  ผีเข้าภิกษุ (เพื่อขับผี)  ๗. วาฬันตราย สัตว์ร้ายเช่นเสือมาในวัด (เพื่อไล่สัตว์)  ๘. สิริงสปันตราย งูเลื้อยเข้ามา (เพื่อไล่งู)  ๙. ชีวิตันตราย มีเรื่องเป็นตาย เช่น  ภิกษุอาพาธโรคร้าย (เพื่อช่วยแก้ไข)  ๑๐. พรหมจริยันตราย มีอันตรายแก่พรหมจรรย์  เช่น  มีคนมาจับภิกษุ (เลิกเพราะอลหม่าน) ดู ปาฏิโมกข์ย่อ,  อุเทศ

อนึ่ง  ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสถ้ามีอันตรายเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง  แม้ไม่ได้บอกอาบัติของตนพ้นคืนไป  ยังไม่ถือว่าปิดอาบัติ

อันตรายิกธรรม  ธรรมอันกระทำอันตราย  คือ  เหตุขัดขวางต่าง ๆ  เช่น  เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็นโรคเรื้อน  เป็นต้น

อันติมวัตถุ  วัตถุมีในที่สุด  หมายถึง  อาบัติปาราชิก  ซึ่งทำให้ภิกษุและภิกษุณีผู้ต้อง  มีโทษถึงที่สุด คือ ขาดจากภาวะของตน

อันเตวาสิก ผู้อยู่ในสำนัก, ภิกษุผู้ขออยู่ร่วมสำนัก,  ศิษย์  (ภิกษุผู้รับให้อยู่ร่วมสำนักเรียกอาจารย์); อันเตวาสิก มี ๔ ประเภท  คือ ๑. ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา  ๒. อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท  ๓. นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย ๔. ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม

อันธกวินทะ  ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งในแคว้นมคธ  อยู่ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ  ๑ คาวุต (คัมภีร์ฉบับสีหฬว่า ๓ คาวุต)

อัปปณิหิตวิโมกข์  ความหลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา  คือ  พิจารณาเห็นนามรูปเป็นทุกข์  แล้วถอนความปรารถนาเสียได้ (ข้อ ๓ ในวิโมกข์ ๓)

อัปปณิหิตสมาธิ   การเจริญสมาธิที่ทำให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ (ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่  คือฝึกสมาธิถึงขั้นอัปปนา เป็นขั้นบรรลุปฐมฌาน (ข้อ ๓ ในภาวนา ๓)

อัปปนาสมาธิ  สมาธิแน่วแน่, จิตตั้งมั่นสนิท เป็นสมาธิในฌาน (ข้อ ๒ ในสมาธิ  ๒,  ข้อ ๓ ในสมาธิ ๓)

อัปปมัญญา ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ  หมายถึง  เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  ที่แผ่ทั่วไปในมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอย่างกว้างขวางสม่ำเสมอกัน  ไม่จำกัดขอบเขต  มี ๔ คือ  เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ที่กล่าวแล้วนั้น ดู พรหมวิหาร

อัปปมัตตกวิสัชชกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ  คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้จ่ายของเล็กน้อย  เช่น  เข็มเย็บผ้า  มีดตัดเล็บ ประคด  เภสัชทั้งห้า  เป็นต้น  ให้แก่ภิกษุทั้งหลาย

อัปปมาท  ความไม่ประมาท,  ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ,  ความไม่เผลอ,  ความไม่เลินเล่อเผลอสติ,  ความไม่ปล่อยปละละเลย,  ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหายและไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจริญ  ความมีสติรอบคอบ

ความไม่ประมาท  พึงกระทำในที่ ๔ สถาน คือ ๑. ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต ๒. ในการละวจีทุจริต ประพฤติวจีสุจริต ๓. ในการละมโนทุจริต  ประพฤติมโนสุจริต ๔. ในการละความเห็นผิด  ประกอบความเห็นที่ถูก;  อีกหมวดหนึ่งว่า  ๑. ระวังใจไม่ให้กำหนัด  ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด  ๒. ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง  ๓. ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง  ๔. ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

อัปปมาทคารวตา  ดู  คารวะ

อัปปมาทธรรม  ธรรมคือความไม่ประมาท

อัปยศ  ปราศจากยศ,  เสียชื่อเสียง,  เสื่อมเสีย,  น่าขายหน้า

อัปปิจฉกถา   ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย  หรือมักน้อย  (ข้อ  ๑  ในกถาวัตถุ  ๑๐)

อัปปิยารมณ์  อารมณ์ที่ไม่น่ารัก  ไม่น่าชอบใจ  ไม่น่าปรารถนา  เช่น  รูปที่ไม่สวยไม่งาม  เป็นต้น

อพฺพุฬฺหสลฺโล  มีลูกศรอันถอนแล้ว  หมายถึงหมดกิเลสที่ทิ่มแทง,  เป็นคุณบทของพระอรหันต์

อัพโพหาริก  กล่าวไม่ได้ว่ามี,  มีแต่ไม่ปรากฏ  จึงไม่ได้โวหารว่ามี,  มีเหมือนไม่มี  เช่น  สุราที่เขาใส่ในอาหารบางอย่างเพื่อฆ่าคาวหรือชูรส  และเจตนาที่มีในเวลาหลับ  เป็นต้น

อัพภันดร  มาตราวัดในภาษามคธเทียบไทยได้ ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา

อัพภาน การเรียกเข้า  (การรับกลับเข้าหมู่), เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งวุฏฐานวิธี  คือ  ระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติขั้นสังฆาทิเสส  ได้แก่การที่สงฆ์สวดระงับอาบัติ  รับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส  และได้ทำโทษตนเองตามวิธีที่กำหนดเสร็จแล้ว  ให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์  วิธีปฏิบัติ  คือ  ถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้ปิดไว้  พึงประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรี แล้วขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค  สงฆ์สวดอัพภานแล้วชื่อว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัติ, แต่ถ้าภิกษุผู้ต้องปกปิดอาบัติไว้ล่วงวันเท่าใดต้องประพฤติวัตรเรียกว่า  อยู่ปริวาสชดใช้ครบจำนวนวันเท่านั้นก่อน  จึงประพฤติมานัตเพิ่มอีก ๖ ราตรี  แล้วจึงขออัพภานกะสงฆ์วีสติวรรค  เมื่อสงฆ์อัพภานแล้ว  อาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องชื่อว่าเป็นอันระงับ

อัพภานารหะ ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน  ได้แก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตสิ้น ๖ ราตรี  ครบกำหนดแล้ว  เป็นผู้ควรแก่อัพภาน  คือควรที่สงฆ์วีสติวรรคจะสวดอัพภาน (เรียกเข้าหมู่) ได้ต่อไป

อัพภานารหภิกษุ  ดู อัพภานารหะ

อัพโภกาสิกังคะ องค์แห่งผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร คืออยู่เฉพาะกลางแจ้งไม่อยู่ในที่มุงบัง หรือแม้แต่โคนไม้ (ห้ามถือในฤดูฝน)  (ข้อ ๑๐ ในธุดงค์ ๑๓)

อัมพปาลีวัน  สวนที่หญิงแพศยาชื่อ อัมพปาลีถวายเป็นสังฆารามไม่นานก่อนพุทธปรินิพพาน อยู่ในเขตเมืองเวสาลี

อัมพวัน สวนมะม่วง  มีหลายแห่ง  เพื่อกันสับสน  ท่านมักใส่ชื่อเจ้าของสวนนำหน้าด้วย  เช่น สวนมะม่วงของหมอชีวก ในเขตเมืองราชคฤห์  ซึ่งถวายเป็นสังฆาราม เรียกว่า ชีวกัมพวัน  เป็นต้น

อัยการ  เจ้าพนักงานที่ศาลฝ่ายอาณาจักร  จัดไว้เป็นเจ้าหน้าที่ฟ้องร้อง,  ทนายแผ่นดิน,  ทนายหลวง

อัศวเมธ  พิธีเอาม้าบูชายัญ  คือ ปล่อยม้าอุปการให้ผ่านดินแดนต่าง ๆ เป็นการประกาศอำนาจจนม้านั้นกลับแล้วเอาม้านั้นฆ่าบูชายัญเป็นพิธีประกาศอานุภาพของราชาธิราชในอินเดียครั้งโบราณ

อัสดงค์  ตกไป  คือ  พระอาทิตย์ตก,  พจนานุกรม  เขียน  อัสดง

อัสมิมานะ  การถือตัวว่านี่ฉัน  นี่กู  กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเขาถือเรา

อัสสกะ ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป  ตั้งอยู่ลุ่มน้ำโคธาวรี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือแห่งแคว้นอวันตี  นครหลวงชื่อโปตลิ (บางทีเรียกโปตนะ)

อัสสชิ  ๑. พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์  เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกและเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร ๒. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุ ๖ รูป  ซึ่งประพฤติเหลวไหลที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์  คู่กับพระปุนัพพสุกะ

อัสสพาชี  ม้า

อัสสยุชมาส,  ปฐมกัตติกมาส  เดือน ๑๑;  ปุพพกัตติกา หรือ บุพกัตติกา  ก็เรียก

อัสสัตถพฤกษ์  ต้นไม้อัสสัตถะ;  ต้นพระศรีมหาโพธิ  ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมอันเป็นสถานที่ที่พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ดู โพธิ์

อัสสาทะ  ความยินดี,  ความพึงพอใจ,  รสอร่อย  เช่น รสอร่อยของกาม,  ส่วนดี,  ส่วนที่น่าชื่นชม

อัสสาสะ  ลมหายใจเข้า

อัสสุ  น้ำตา

อากร  หมู่,  กอง,  บ่อเกิด, ที่เกิด  เช่น ทรัพยากร ที่เกิดทรัพย์ ศิลปากร บ่อเกิดศิลป, ค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติ  หรือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อการค้า

อากัปกิริยา  การแต่งตัวดี  และมีท่าทางเรียบร้อยงดงาม;  กิริยาท่าทาง

อาการ   ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, ท่าทาง, ท่วงที, ทำนอง, กิริยา,  กิริยาที่ทำ, ลักษณะของการกระทำหรือความเป็นไป

อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน  มี ๓ อย่าง  คือ ๑. ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว  จึงทรงสั่งสอนผู้อื่น  เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น  ๒. ทรงสั่งสอนมีเหตุผลซึ่งผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้  ไม่เลื่อนลอย  ๒. ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์  ทำให้ผู้ฟังยอมรับและนำไปปฏิบัติตามได้รับผลจริงบังเกิดประโยชน์สมควรแก่การปฏิบัติ

อากาศ  ที่ว่างเปล่า,  ช่องว่าง;  ท้องฟ้า

อากาศธาตุ  สภาวะที่ว่าง,  ความเป็นที่ว่างเปล่า,  ช่องว่างในร่างกาย  ที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน  เช่น  ช่องหู  ช่องจมูก  ช่องปาก  ช่องอวัยวะต่าง ๆ  ดู ธาตุ

อากาสานัญจายตนะ  ฌานกำหนดอากาศ  คือ  ช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์,  ภพของผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน  (ข้อ ๑ ในอรูป ๔)

อากิญจัญญายตนะ  ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์,  ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน  (ข้อ ๓ ในอรูป ๔)

อากูล  วุ่นวาย,  ไม่เรียบร้อย,  สับสน,  คั่งค้าง

อาคม  ปริยัติที่เรียน,  การเล่าเรียนพุทธพจน์;  ในภาษาไทยว่าเวทมนตร์

อาคันตุกะ   ผู้มาหา,  ผู้มาจากที่อื่น,  ผู้จรมา,  แขก;  (ในคำว่า  “ถ้าปรารถนาจะให้อาคันตุกะได้รับแจกด้วย”)  ภิกษุผู้จำพรรษามาจากวัดอื่น, ถ้าภิกษุผู้มีหน้าที่เป็นจีวรภาชกะ  (ผู้แจกจีวร)  ปรารถนาจะให้อาคันตุกะมีส่วนได้รับแจกจีวรด้วย  ต้องอปโลกน์ คือ บอกเล่าขออนุมัติต่อภิกษุเจ้าถิ่น  คือ  ผู้จำพรรษาในวัดนั้น (ซึ่งเรียกว่า วัสสิกะหรือวัสสาวาสิกะ แปลว่าภิกษุผู้อยู่จำพรรษา)

อาคันตุกภัต  อาหารที่เขาถวายเฉพาะภิกษุอาคันตุกะ  คือ ผู้จรมาจากต่างถิ่น

อาคันตุกวัตร ธรรมเนียมที่ภิกษุควรปฏิบัติต่ออาคันตุกะ คือภิกษุผู้จรมา  เช่น ขวนขวายต้อนรับ  แสดงความนับถือ จัดหรือบอกให้น้ำให้อาสนะ  ถ้าอาคันตุกะจะมาพักมาอยู่  พึงแสดงเสนาสนะ บอกที่ทางและกติกาสงฆ์  เป็นต้น

อาจริยมัตต์  ภิกษุผู้มีพรรษาพอที่จะเป็นอาจารย์ให้นิสสัยแก่ภิกษุอื่นได้,  พระปูนอาจารย์  คือ  มีพรรษา ๑๐ ขึ้นไป หรือแก่กว่าราว ๖ พรรษา;  อาจริยมัต  ก็เขียน

อาจริยวัตร กิจที่อันเตวาสิกควรประพฤติปฏิบัติต่ออาจารย์  (เช่นเดียวกับอุปัชฌายวัตร  ที่สัทธิวิหาริกพึงปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์)

อาจริยวาท  วาทะของพระอาจารย์,  มติของพระอาจารย์;  บางทีใช้เป็นคำเรียกพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ  คือ มหายาน

อาจาระ   ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา

อาจารย์  ผู้สั่งสอนวิชาความรู้, ผู้ฝึกหัดอบรมมรรยาท, อาจารย์ ๔ คือ ๑. บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา ๒. อุปสัมปทาจารย์  อาจารย์ในอุปสมบท  ๓. นิสสยาจารย์  อาจารย์ผู้ให้นิสสัย ๔. อุทเทศาจารย์  หรือธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม

อาจารวิบัติ  เสียอาจาระ,  เสียจรรยา,  มรรยาทเสียหาย,  ประพฤติย่อหย่อน  รุ่มร่าม  มักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมาถึงทุพภาสิต  (ข้อ ๒ ในวิบัติ ๔)

อาจิณ  เคยประพฤติมา, เป็นนิสัย,  เสมอ ๆ, ทำจนชิน

อาจิณณจริยา  ความประพฤติเนือง ๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน

อาจิณณวัตร  การปฏิบัติประจำ, การปฏิบัติเสมอ ๆ

อาชญา  อำนาจ, โทษ

อาชีวะ  อาชีพ,  การเลี้ยงชีพ,  วามเพียรพยายามในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ, การทำมาหากิน

อาชีวก  นักบวชชีเปลือยพวกหนึ่งในครั้งพุทธกาล เป็นสาวกของมักขลิโคสาล

อาชีวปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ  คือ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา เช่น ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เป็นต้น  (ข้อ ๓  นปาริสุทธิศีล ๔)

อาชีววิบัติ  เสียอาชีวะ,  ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ คือ ประกอบมิจฉาอาชีวะมีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น (ข้อ ๔ ในวิบัติ ๔)

อาญา  อำนาจ, โทษ

อาญาสิทธิ์  อำนาจเด็ดขาด  คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม เป็นต้น

อาณัติ   ข้อบังคับ,  คำสั่ง,  กฎ;  เครื่องหมาย

อาณัติสัญญา   ข้อบังคับที่ได้นัดหมายกันไว้, เครื่องหมายที่ตกลงกันไว้

อาณา  อำนาจปกครอง

อาณาเขต   เขตแดนในอำนาจปกครอง, ที่ดินในบังคับ

อาณาจักร  เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของรัฐบาลหนึ่ง, อำนาจปกครองทางบ้านเมือง ใช้คู่กับพุทธจักร ซึ่งหมายความว่า  ขอบเขตการปกครองในพุทธศาสนา

อาณาประชาราษฎร์   ราษฎรชาวเมืองที่อยู่ในอำนาจปกครอง

อาณาประโยชน์   ผลประโยชน์ที่ตนมีอำนาจปกครองส่วนตัว

อาณาปวัติ  ความเป็นไปแห่งอาณา, ขอบเขตที่อำนาจปกครองแผ่ไป; เป็นไปในอำนาจปกครอง, อยู่ในอำนาจปกครอง

อาณาสงฆ์  อำนาจของสงฆ์,  อำนาจปกครองของสงฆ์  คือ สงฆ์ประชุมกันใช้อำนาจโดยชอบธรรม ระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น

อาดูร  เดือดร้อน, กระวนกระวาย, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ

อาตมภาพ  ฉัน,  ข้าพเจ้า  (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เรียกตัวเองเมื่อพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดิน)

อาตมัน  ตัวตน,  คำสันสกฤต  ตรงกับบาลี อัตตา

อาตมา  ฉัน,  ข้าพเจ้า  (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้พูดกับผู้มีบรรดาศักดิ์ แต่บัดนี้นิยมใช้พูดอย่างให้เกียรติแก่คนทั่วไป)

อาถรรพณ์  เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน  หรือ  ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพ์  (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ ๔ คือ อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท) อาถรรพ์  ก็ใช้

อาทร  ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่

อาทิ  เป็นต้น; ทีแรก, ข้อต้น

อาทิกัมมิกะ  ผู้ทำกรรมทีแรก  หมายถึง  ภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนั้น ๆ

อาทิตตปริยายสูตร   ชื่อพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐  รูป  มีอุรุเวลกัสสป เป็นต้น ซึ่งเคยเป็นชฎิลบูชาไฟมาก่อน ว่าด้วยอายตนะทั้ง ๖ ที่ร้อนติดไฟลุกทั่วด้วยไฟราคะ ไฟโทสะ และไฟโมหะ ตลอดจนร้อนด้วยทุกข์ มีชาติ ชรามรณะ เป็นต้น  ทำให้ภิกษุเหล่านั้นบรรลุอรหัตตผล (มาในคัมภีร์มหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก และสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค  พระสุตตันตปิฎก)

อาทิตยโคตร  ตระกูลพระอาทิตย์, เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์,  ตระกูลที่สืบเชื้อสายนางอทิติผู้เป็นชายาของพระกัศยป ประชาบดี, ท่านว่าสกุลของพระพุทธเจ้าเป็นอาทิตยโคตร  (โคตมโคตรกับอาทิตยโคตร  มีความหมายอย่างเดียวกัน)

อาทิตยวงศ์ วงศ์พระอาทิตย์  ดู  อาทิตยโคตร

อาทิพรหมจรรย์  หลักเบื้องต้นของพรหมจรรย์ หลักการพื้นฐานของชีวิตประเสริฐ

อาทิพรหมจริยกาสิกขา  หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์  สำหรับป้องกันความประพฤติเสียหาย,  ข้อศึกษาที่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง สิกขาบท ๒๒๗ ที่มาในพระปาฏิโมกข์ เทียบ อภิสมาจาริกาสิกขา

อาทีนพ, อาทีนวะ  โทษ,  ข้อเสีย,  ข้อบกพร่อง,  ผลร้าย

อาทีนวญาณ  ดู  อาทีนวานุปัสสนาญาณ

อาทีนวสัญญา  การกำหนดหมายโทษแห่งร่างกายซึ่งมีอาพาธคือโรคต่าง ๆ เป็นอันมาก  (ข้อ ๔ ในสัญญา ๑๐)

อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ,  ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์  เช่น  เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้  (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์  คือ  การทายใจ,  รอบรู้กระบวนของจิต  อ่านความคิดและอุปนิสัยของผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์  (ข้อ ๒ ในปาฏิหาริย์ ๓)

อาธรรม์, อาธรรม  ดู อธรรม

อานนท์  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์  เป็นโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ  ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ  ท่านออกบวชในพระพุทธศาสนาพร้อมกับอนุรุทธะและอุบาลี  เป็นต้น  และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า  ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้าน  คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐาก ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน  เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา  คือ เป็นผู้วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม  ท่านดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศ เหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่าย คือ ศากยะและโกลิยะ

อานันทเจดีย์ เจดียสถานแห่งหนึ่งอยู่ในเขตโภคนครระหว่างทางจากเมืองเวสาลีสู่เมืองปาวา  เป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทส ๔ ฝ่ายพระสูตร

อานาปานสติกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานที่ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก

อานาปานัสสติ  สติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ข้อ ๙ ในอนุสติ ๑๐, ข้อ ๑๐ ในสัญญา ๑๐ เป็นต้น) บัดนี้นิยมเขียน อานาปานสติ

อานิสงส์  ผลแห่งความดี, ผลแห่งบุญกุศล, ประโยชน์, ผลดี

อานุภาพ   อำนาจ, ฤทธิ์เดช, ความยิ่งใหญ่

อาเนญชาภิสังขาร  ดู อเนญชาภิสังขาร

อาบัติ  การต้อง,  การล่วงละเมิด,  โทษที่เกิดแต่การละเมิดสิกขาบท;  อาบัติ ๗ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลสัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต;  อาบัติ ๗ กองนี้จัดรวมเป็นประเภทได้หลายอย่างโดยมากจัดเป็น ๒ เช่น ๑. ครุกาบัติ อาบัติหนัก (ปาราชิกและสังฆาทิเสส)  ๒. ลหุกาบัติ อาบัติเบา (อาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ);  คู่ต่อไปนี้ก็เหมือนกัน คือ ๑. ทุฏฐุลลาบัติ  อาบัติชั่วหยาบ  ๒. อทุฏฐุลลาบัติ  อาบัติไม่ชั่วหยาบ;  ๑. อเทสนาคามินี  อาบัติที่ไม่พ้นได้ด้วยการแสดง ๒. เทสนาคามินี อาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง คือ เปิดเผยความคิดของตน;  คู่ต่อไปนี้จัดต่างออกไปอีกแบบหนึ่งตรงกันทั้งหมด  คือ  ๑. อเตกิจฉา เยียวยาแก้ไขไม่ได้ (ปาราชิก)  ๒. สเตกิจฉา  เยียวยาแก้ไขได้ (อาบัติ ๖ อย่างที่เหลือ);  ๑. อนว
เสส  ไม่มีส่วนเหลือ  ๒. สาวเสส ยังมีส่วนเหลือ;  ๑. อัปปฏิกัมม์ หรือ อปฏิกรรม ทำคืนไม่ได้ คือ แก้ไขไม่ได้ ๒. สัปปฏิกัมม์ หรือ สปฏิกรรม ยังทำคืนได้ คือ แก้ไขได้

อาบัติชั่วหยาบ  ในประโยคว่า  “บอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน”  อาบัติปาราชิก  และอาบัติสังฆาทิเสส  ดู ทุฏฐุลลาบัติ

อาบัติที่เป็นโทษล่ำ อาบัติปาราชิกและสังฆาทิเสส

อาปณะ  ชื่อนิคม  ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นอังคุตตราปะ

อาปัตตาธิกรณ์   อธิกรณ์คืออาบัติ  หมายความว่า  การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ  เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ  คือ  ระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ  หรือการอยู่กรรม เป็นต้น ตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้

อาปุจฉา  บอกกล่าว,  ถามเชิงขออนุญาต  เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ, แจ้งให้ทราบ  เช่น  ภิกษุผู้อ่อนพรรษาจะแสดงธรรมต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน

อาโปธาตุ  ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ดูดซึม, แปลสามัญว่า ธาตุน้ำ, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษ หนังสือ ในก้อนหิน ก้อนเหล็ก และแผ่นพลาสติก  ดู ธาตุ

อาพาธ  ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)

อาภัพ  ไม่สมควร, ไม่สามารถ, เป็นไปไม่ได้  (จากคำบาลีว่า อภพฺพ เช่น ผู้กระทำมาตุฆาต ไม่สามารถบรรลุมรรคผล, พระโสดาบันไม่สามารถทำมาตุฆาต เป็นต้น); ไทยใช้เฉพาะในความว่า ไม่ควรจะได้จะถึงสิ่งนั้น ๆ, ไม่มีทางจะได้สิ่งที่มุ่งหมาย, วาสนาน้อยตกอับ ดู อภัพบุคคล

อาภัสสระ   ผู้มีรัศมีแผ่ซ่าน, เปล่งปลั่ง, ชื่อพรหมโลกชั้นที่ ๖ ดู พรหมโลก   (พจนานุกรมเขียน อาภัสระ)

อาภา  แสง,  รัศมี,  ความสว่าง

อามะ  คำรับในภาษาบาลี  ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ  ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์  กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต  ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากกว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวต่อว่า อาวุโสเป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลีเป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)

อามัย  ความป่วยไข้,  โรค,  ความไม่สบาย; ตรงข้ามกับ อนามัย คือ ความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

อามิส  เครื่องล่อใจ, เหยื่อ, สิ่งของ

อามิสบูชา  การบูชาด้วยอามิส คือ ด้วยสิ่งของมีดอกไม้ ของหอม อาหาร และวัตถุอื่น ๆ  (ข้อ ๑ ในบูชา ๒)

อามิสปฏิสันถาร  การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำบริโภค เป็นต้น (ข้อ ๑ ในปฏิสันถาร ๒)

อามิสสมโภค  คบหากันในทางอามิส ได้แก่ ให้หรือรับอามิส

อายตนะ  ที่ต่อ,  เครื่องติดต่อ,  แดนต่อความรู้,  เครื่องรู้และสิ่งที่รู้  เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้  เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท  คือ อายตนะภายใน  ๖ อายตนะภายนอก ๖

อายตนะภายนอก  เครื่องต่อภายนอก,  สิ่งที่ถูกรู้มี  ๖  คือ ๑. รูป   รูป  ๒. สัททะ   เสียง  ๓. คันธะ   กลิ่น  ๔. รส   รส  ๕. โผฏฐัพพะ   สิ่งต้องกาย ๖. ธัมมะ   ธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดกับใจหรือสิ่งที่ใจรู้;  อารมณ์ ๖ ก็เรียก

อายตนะภายใน  เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ  ๑. จักขุ  ตา  ๒. โสต   หู ๓. ฆาน   จมูก ๔. ชิวหา   ลิ้น  ๕. กาย กาย  ๖.  มโน  ใจ;  อินทรีย์ ๖ ก็เรียก

อายาจนะ  การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ

อายุกษัย, อายุขัย  การสิ้นอายุ, ความตาย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:53:13 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #47 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:52:31 »

.

อายุกัป, อายุกัปป์  กาลกำหนดแห่งอายุ,  กำหนดอายุ,  ช่วงเวลาแต่เกิดถึงตายตามปกติหรือที่ควรจะเป็นของสัตว์ประเภทนั้น ๆ  ในยุคสมัยนั้น ๆ  ดู กัป

อายุวัฒนะ  ความเจริญอายุ, ยืดอายุ, อายุยืน

อารมณ์  เครื่องยึดหน่วงของจิต,  สิ่งที่จิตยึดหน่วง,  สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้  ได้แก่  อายตนะภายนอก ๖ คือ  รูป เสียง กลิ่น รส  โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์; ในภาษาไทย ความหมายเลือนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่ง ๆ  เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น

อารยะ  คนเจริญ,  คนมีอารยธรรม;  พวกชนชาติอารยะ (ตรงกับบาลีว่า อริย แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายต่างกัน)

อารยชน ชนที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม,  คนมีอารยธรรม

อารยชาติ  ชาติที่เจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม

อารยธรรม  ธรรมอันดีงาม,  ธรรมของอารยชน,  ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดีงาม;  ในทางธรรม หมายถึง กุศลกรรมบถ ๑๐

อารยอัษฎางคิกมรรค  ทางมีองค์  ๘  ประการ  อันประเสริฐ  ดู มรรค

อารักขกัมมัฏฐาน  กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน,  กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ  ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์  เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ  ทรงไว้ มี ๔ อย่าง  คือ ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์  และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น  ๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิต คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า  ๓. อสุภะ   พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม  ๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรม

อารักขสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รักษาทรัพย์ที่แสวงหามาได้ด้วยความหมั่นไม่ให้เป็นอันตรายและรักษาการงานไม่ให้เสื่อมเสียไป (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถ์ฯ)

อารักขา การขอความคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เมื่อมีผู้ปองร้ายข่มเหงหรือถูกลักขโมยสิ่งของ เป็นต้น เรียกว่าขออารักขา ถือเป็นการปฏิบัติชอบตามธรรมเนียมของภิกษุแทนการฟ้องร้องกล่าวหาอย่างที่ชาวบ้านทำกันเพราะสมณะไม่พอใจจะเป็นถ้อยความกับใคร ๆ

อารักษ์, อารักขา การป้องกัน, การคุ้มครอง, การดูแลรักษา

อารัญญกวัตร  ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้  ก. ๑. ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้  พาดจีวรบนไหล่  สวมรองเท้า  เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน  ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจากเสนาสนะ  (ที่พักอาศัย)  ไป  ๒. ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำ ๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้  มุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็นสองชั้นกลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี  ม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเข้าสู่นิเวศน์  พึงกำหนดว่าเราจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป  ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่
ไกลเกินไป  ไม่ใกล้เกินไป  ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป  เมื่อยืนอยู่  พึงกำหนดว่า  เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ฯลฯ  เมื่อเขาถวายภิกษา  พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้ายน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับภิกษา  ไม่พึงมองหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า  เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ  เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย  ม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี  สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓. ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว)  เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป  ข. ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้  พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้  พึงติดไฟเตรียมไว้  พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค. พึงเรียนทางนักษัตรไว้  (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

อารัญญิกังคะ  องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร คือ ไม่อยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านแต่อยู่ป่าห่างจากบ้านอย่างน้อย ๒๕ เส้น (ข้อ ๘ ในธุดงค์ ๑๓)

อารัมภกถา  คำปรารภ,  คำเริ่มต้น, คำนำ

อาราธนา  การเชื้อเชิญ,  นิมนต์, ขอร้อง, อ้อนวอน (มักใช้สำหรับพระสงฆ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์)

อาราธนาธรรม   กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม  (ให้เทศน์)  ว่าดังนี้ :
     พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
     กตฺอชลี อนฺธิวรํ ยถาจถ
     สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
     เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ  ฯ

อาราธนาพระปริตร  กล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้สวดพระปริตร  ว่าดังนี้  :
     วิปตฺติปฏิพาหาย
     สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
    สพฺทุกฺขวินาสาย
     ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ

(ว่า๓ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข  เป็น ภย; ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)

อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล, สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้: มยํ ภนฺเต, (วิสุ วิสุ รกฺขณตฺถาย), ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม;  ทุติยมฺปิ มยํ.....;  ตติยมฺปิ มยํ.....  (คำในวงเล็บ จะไม่ใช้ก็ได้)

คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกัน เปลี่ยนแต่  ปญฺจ เป็น อฏฺฐ

อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคนดังนี้  :  มยํ  ภนฺเต,  ติสรเณน  สห,  อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม (ว่า ๓ จบ)

อาราม  วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย  เกี่ยวกับของสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้

อารามวัตถุ  ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด

อารามิก  คนทำงานวัด, คนวัด

อารามิกเปสกะ  ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้ใช้คนทำงานวัด

อาลกมันทา   ราชธานีซึ่งเป็นทิพยนครของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

อาลปนะ  คำร้องเรียก

อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)

อาลัย  ๑. ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง  ๒. ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน มักหมายถึงตัณหา; ในภาษไทยใช้ว่า  ห่วงใย  หวนคิดถึง

อาโลก  แสงสว่าง

อาโลกกสิณ  กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์  (ข้อ ๙ ในกสิณ ๑๐)

อาโลกเลณสถาน ชื่อถ้ำแห่งหนึ่งในมลัยชนบท เกาะลังกา เป็นที่ทำสังคายนาครั้งที่ ๕  จารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน

อาโลกสัญญา  ความสำคัญในแสงสว่าง,  กำหนดหมายแสงสว่าง  คือ  ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ  ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน  เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง

อาวรณ์  เครื่องกั้น,  เครื่องกำบัง;  ไทยมักใช้ในความหมายว่า ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง

อาวัชนาการ  ความรำพึง, การรำลึก, นึกถึง

อาวาส  ที่อยู่, โดยปรกติหมายถึงที่อยู่ของพระสงฆ์ คือวัด

อาวาสปลิโพธ  ความกังวลในอาวาส  คือภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไปแต่ยังผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา (เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้กฐินยังไม่เดาะ); ในการเจริญกรรมฐาน หมายถึงความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย  เช่น ห่วงงานก่อสร้างในวัด  มีสิ่งของที่สะสมเอาไว้มาก เป็นต้น  เมื่อจะเจริญกรรมฐานพึงตัดปลิโพธนี้ให้ได้  ดู ปลิโพธ

อาวาสมัจฉริยะ  ตระหนี่ที่อยู่  ได้แก่ หวงแหน ไม่พอใจให้ใคร ๆ เข้ามาอยู่แทรกแซง  รือกีดกันผู้อื่นที่มิใช่พวกของตนไม่ให้เข้าอยู่  (ข้อ ๑ ในมัจฉริยะ ๕)

อาวาหะ   การแต่งงาน, การสมรส, การพาหญิงมาบ้านตัว

อาวาหวิวาหมังคลาภิเษก พิธีรดน้ำอันเป็นมงคลในการแต่งงาน, พิธีรดน้ำในงานมงคลสมรส

อาวุโส  “ผู้มีอายุ”  เป็นคำเรียกหรือทักทายที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า  (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุน้อย)  หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์  คู่กับคำ ภนฺเต  ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ;  ในภาษาไทยมักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่าหรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก

อาศรม  ที่อยู่ของนักพรต;  ตามลัทธิของพราหมณ์ ในยุคที่กลายเป็นฮินดูแล้วได้วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวฮินดูวรรณะสูง  โดยเฉพาะวรรณะพราหมณ์  โดยแบ่งเป็นขั้นหรือช่วงระยะ ๔  ขั้น หรือ ๔ ช่วง เรียกว่า อาศรม ๔ กำหนดว่า  ชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์ทุกคนจะต้องครองชีวิตให้ครบทั้ง ๔ อาศรมตามลำดับ  (แต่ในทางปฏิบัติน้อยคนนักได้ปฏิบัติเช่นนั้น  โดยเฉพาะปัจจุบันไม่ได้ถือกันแล้ว)  คือ ๑. พรหมจารี   เป็นนักเรียนศึกษาพระเวท  ถือพรหมจรรย์ ๒. คฤหัสถ์   เป็นผู้ครองเรือน  มีภรรยาและมีบุตร  ๓. วานปรัสถ์   ออกอยู่ป่าเมื่อเห็นบุตรของบุตร  ๔. สันยาสี (เขียนเต็มเป็นสันนยาสี)  เป็นผู้สละโลก มีผ้านุ่งผืนเดียวถือภาชนะขออาหารและหม้อน้ำเป็นสมบัติ จาริกภิกขาจารเรื่อยไปไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวโลก (ปราชญ์บางท่านว่าพราหมณ์ได้ความคิดจากพระพุทธศาสนาไปปรับปรุงจัดวางระบบของตนขึ้น  เช่น  สันยาสี  ตรงกับภิกษุ แต่หาเหมือนจริงไม่)

อาสนะ  ที่นั่ง,  ที่สำหรับนั่ง

อาสภิวาจา  วาจาแสดงความเป็นผู้องอาจ, วาจาองอาจ  คือ คำประกาศพระองค์ว่าเป็นเอกในโลก  ตามเรื่องว่าพระมหาบุรุษเมื่อประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา  ย่างพระบาทไป ๗ ก้าว แล้วหยุดยืนตรัสอาสภิวาจาว่า “อคฺโคหมสฺมิ  โลกสฺส” ดังนี้เป็นต้น  แปลว่า เราเป็นอัครบุคคลของโลก ฯลฯ

อาสวะ  กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ มี ๓ อย่าง  คือ ๑. กามาสวะ  อาสวะคือกาม  ๒. ภวาสวะ  อาสวะคือภพ ๓. อวิชชาสวะ  อาสวะคืออวิชชา;  อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ  ๑. กามาสวะ  ๒. ภวาสมะ  ๓. ทิฏฐาสวะ  อาสวะคือทิฏฐิ ๔. อวิชชาสวะ;  ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ  หมายถึงเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้

อาสวักขยญาณ  ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ,  ญาณหยั่งรู้ในธรรมที่เป็นสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,  ความตรัสรู้  (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)  (ข้อ ๓ ในวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)

อาสัญ  ไม่มีสัญญา,  หมดสัญญา;  เป็นคำใช้ในภาษไทย  หมายความว่า  ความตาย,  ตาย

อาสัตย์  ไม่มีสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก

อาสันทิ  ม้านั่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส นั่งได้คนเดียว (ศัพท์เดิมเรียก อาสันทิก, ส่วนอาสันทิเป็นเตียงหรือเก้าอี้นอน)

อาสันนกรรม  กรรมจวนเจียน,  กรรมใกล้ตาย หมายถึงกรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ที่ทำเมื่อจวนตายยังจับใจอยู่ใหม่ ๆ  ถ้าไม่มีครุกกรรม และพหุลกรรม ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น ๆ เหมือนโคที่ยัดเยียดกันอยู่ในคอกเมื่อคนเลี้ยงเปิดคอกออก  ตัวใดอยู่ใกล้ประตู ตัวนั้นย่อมออกก่อน  แม้จะเป็นโคแก่  (ข้อ ๑๑ ในกรรม ๑๒)

อาสา  ความหวัง, ความต้องการ; ไทยว่า รับทำโดยเต็มใจ, สมัคร, แสดงตัวขอรับทำการนั้น ๆ

อาสาฬหะ  เดือน ๘ ทางจันทรคติ

อาสาฬหบูชา  การบูชาในเดือน ๘ หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘  เพื่อรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นการพิเศษ  เนื่องในวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะคำรบพระรัตนตรัย

อาสาฬหปุรณมี  วันเพ็ญเดือน ๘,  วันกลางเดือน ๘,  วันขึ้น ๑๕  ค่ำ  เดือน ๘

อาสาฬหมาส  ดู อาสาฬหะ

อาหัจจบาท   เตียงที่เขาทำเอาเท้าเสียบเข้าไปในแม่แคร่ ไม่ได้ตรึงสลัก

อาหาร  ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล,  เครื่องค้ำจุนชีวิต,  เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต มี ๔ คือ  ๑. กวฬิงการาหาร  อาหารคือคำข้าว ๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ  ๓. มโนสัญเจตนหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ

อาหารปริเยฏฐิทุกข์  ทุกข์เกี่ยวกับการแสวงหาอาหาร,  ทุกข์ในการกิน  ได้แก่ อาชีวทุกข์ คือทุกข์เนื่องด้วยการเลี้ยงชีวิต

อาหาเรปฏิกูลสัญญา  กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร, ความสำคัญหมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของน่าเกลียดโดยอาการต่าง ๆ  เช่น ปฏิกูล โดยบริโภค, โดยประเทศที่อยู่ของอาหาร,  โดยสั่งสมอยู่นาน เป็นต้น (ข้อ ๓๕ ในกรรมฐาน ๔๐)

อาหุดี  การเซ่นสรวง

อาหุเนยฺโย  พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ คือเครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่าง ๆ  (ข้อ ๕ ในสังฆคุณ  ๙)

อาฬกะ  ชื่อแคว้นหนึ่ง  ตั้งอยู่ที่ลุ่มน้ำโคธาวรี ตรงข้ามกับแคว้นอัสสกะ

อาฬารดาบส   อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ท่านผู้นี้ได้สมาบัติถึงขั้นอากิญจัญญายตนฌาน;  เรียกเต็มว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร

อำมาตย์  ดู อมาตย์

อิจฉา   ความปรารถนา,  ความอยากได้; ไทยมักใช้ในความหมายว่า ริษยา

อิตถีภาวะ  ความเป็นหญิง,  สภาวะที่ทำให้ปรากฏลักษณะอาการต่าง ๆ อันแสดงถึงความเป็นเพศหญิง  เป็นภาวรูปอย่างหนึ่งคู่กับ ปุริสภาวะ  ดู  อุปาทายรูป

อิทธาภิสังขาร  การปรุงแต่งฤทธิ์ขึ้นทันใด, การบันดาลด้วยฤทธิ์

อิทธิฤทธิ์,  อำนาจศักดิ์สิทธิ์;  อำนาจที่บันดาลผลสำเร็จ,  ความสำเร็จ,  ความรุ่งเรืองงอกงาม

อิทธิบาท  คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ,  คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์,  ทางแห่งความสำเร็จ  มี ๔ คือ  ๑. ฉันทะ  ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น  ๒. วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น ๓. จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔. วิมังสา  ความพิจารณาใคร่ครวญหา
เหตุผลในสิ่งนั้น; จำง่าย ๆ ว่า มีใจรัก พากเพียรทำ  อาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน

อิทธิบาทภาวนา  การเจริญอิทธิบาท, การฝึกฝนปฏิบัติให้อิทธิบาทเกิดมีขึ้น

อิทธิปาฏิหาริย์  ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น  (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)

อิทธิวิธิ  แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ  เช่น  นิรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว ล่องหน ดำดิน เดินน้ำ เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖,  ข้อ ๓ ในวิชชา ๘)

อินเดีย  ชื่อประเทศ  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวง ชื่อ นิวเดลี (New  Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร  อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร  มีพลเมืองใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน  ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร

อินทปัตถ์  ชื่อนครหลวงของแคว้นกุรุ  แคว้นกุรุอยู่  ณ บริเวณลุ่มน้ำยมุนาตอนบน รวมมณฑลปัญจาบลงมา เมืองอินทปัตถ์ อยู่  ณ บริเวณเมืองเดลี นครหลวงของอินเดียปัจจุบัน

อินทร์  ผู้เป็นใหญ่,  ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และจาตุมหาราช; ในบาลีนิยมเรียกว่าท้าวสักกะ;  ดู วัตรบท ๗

อินทริยปโรปริยัตตญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย  คือรู้ว่า สัตว์พวกไหนมีอินทรีย์  คือ สัทธาเป็นต้นอ่อน พวกไหนมีอินทรีย์แก่กล้า พวกไหนมีจริต มีอัธยาศัย เป็นต้น อย่างไร ๆ พวกไหนสอนยาก พวกไหนสอนง่าย ดังนี้เป็นต้น  (ข้อ ๖ ในทศพลญาณ)

อินทรีย์  ความเป็นใหญ่,  สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา  เป็นต้น ๑. อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ๒. อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา  ธรรม  ๕  อย่างชุดเดียวกันนี้  เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง  ตามหน้าที่ที่ทำ คือ  เรียกชื่อว่า  พละ  โดยความหมายว่า  เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้  เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่า เป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือ ความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ

อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ  ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ (ข้อ ๑ ในอปัณณกปฏิปทา ๓, ข้อ ๒ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๒ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕) อิริยาบถ  อาการเคลื่อนไหวของร่างกาย,  อิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

อิรุพเพท  คำบาลีเรียกคัมภีร์หนึ่งในไตรเพท  ตรงกับที่เรียกอย่างสันสกฤตว่า  ฤคเวท;  ดู ไตรเพท

อิศวร  พระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์  ตามปกติหมายถึง พระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย

อิสระ  ผู้เป็นใหญ่,  เป็นใหญ่,  เป็นใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัว ไม่ขึ้นแก่ใคร

อิสรภาพ  ความเป็นอิสระ

อิสราธิบดี  ผู้เป็นเจ้าใหญ่เหนือกว่าผู้เป็นใหญ่ทั่วไป, ราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

อิสริยยศ  ยศคือความเป็นใหญ่,  คู่กับเกียรติยศ (ยศ คือ เกียรติ หรือ กิตติคุณ)

อิสสา  ความริษยา,  ความรู้สึกไม่พอใจเมื่อเห็นเขาได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, ไม่อยากให้ใครดีกว่าตน, ความคิดตัดรอนผู้ที่ดีกว่าตน; ความหึงหวง  (ข้อ ๓ ในมละ ๙,  ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)

อิสิ, อิสี  ผู้แสวงหาคุณความดี, ผู้ถือบวช, ฤษี

อิสิคิลิบรรพต  ภูเขาชื่อ  อิสิคิลิ  เป็นภูเขาลูกหนึ่งในห้าลูกที่เรียก เบญจคีรี ล้อมรอบพระนครราชคฤห์

อิสิปตนมฤคทายวัน  ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ  ชื่อ อิสิปตนะ อยู่ใกล้เมืองพาราณสี เป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา  ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ บัดนี้เรียก สารนาถ

อุกกลชนบท   ชื่อชนบทที่พ่อค้า ๒ คน  คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากมาแล้วได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ ๆ

อุกโกฏนะ  การรื้อฟื้น,  การฟื้นเรื่อง, ฟื้นคดี

อุกฺขิตฺตโก  ผู้อันสงฆ์ยกแล้ว  หมายถึง ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ทำอุกเขปนียกรรมตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว (จนกว่าสงฆ์จะยอมระงับกรรมนั้น)

อุกเขปนียกรรม  กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงยกเสีย หมายถึง วิธีการลงโทษที่สงฆ์กระทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ หรือไม่ยอมทำคืนอาบัติ หรือมีความเห็นชั่วร้าย (ทิฏฐิบาป) ไม่ยอมสละซึ่งเป็นทางเสียสีลสามัญญตา หรือ ทิฏฐิสามัญญตา โดยยกเธอเสียจากการสมโภคกับสงฆ์ คือ ไม่ให้ฉันร่วมไม่ให้อยู่ร่วม ไม่ให้มีสิทธิเสมอกับภิกษุทั้งหลาย  พูดง่าย ๆ ว่า ถูกตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว

อุคคหนิมิต นิมิตติดตา หมายถึง นิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ  หรือที่เพ่งดู  จนติดตาติดใจ  แม้หลับตาก็เห็น (ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)

อุคฆฏิตัญญู   ผู้อาจรู้ได้ฉับพลัน  แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง  คือ  มีปัญญาเฉียบแหลม  พูดให้ฟังเพียงหัวข้อก็เข้าใจ  (ข้อ ๑ ในบุคคล ๔)

อุจจารธาตุ  ในคำว่าโรคอุจจารธาตุ  หมายถึง  โรคท้องเสีย  ท้องเดิน  หรือ  ท้องร่วง

อุจเฉททิฏฐิ   ความเห็นว่าขาดสูญ  เช่น  เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญ (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ  ๒)

อุชเชนี  ชื่อนครหลวงของแคว้นอวันตี  บัดนี้เรียกว่า  อุชเชน  ดู อวันตี
อุชุปฏิปนฺโน  พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง  คือไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง หรือดำเนินทางตรง  คือ  
มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ ๙)

อุฏฐานสัญญามนสิการ  ทำในพระทัยถึงความสำคัญในอันที่จะลุกขึ้น,  ตั้งใจว่าจะลุกขึ้นอีก

อุฏฐานสัมปทา  ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  คือ  ขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพที่สุจริต  ในการศึกษาเล่าเรียน  และในการทำธุระหน้าที่การงาน  รู้จักใช้ปัญญาสอดส่อง  หาวิธีจัดการดำเนินการให้ได้ผลดี  (ข้อ ๑ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ)

อุณหะ  ร้อน,  อุ่น

อุณหิส   กรอบหน้า,  มงกุฎ

อุดรทวาร   ประตูด้านเหนือ

อุดรทิศ   ทิศเบื้องซ้าย,  ทิศเหนือ  ดู อุตตรทิส

อุตกฤษฎ์  อย่างสูง,  สูงสุด  (พจนานุกรมเขียน อุกฤษฎ์)

อุตตรทิส  ทิศเบื้องซ้าย  หมายถึง  มิตร;  ดู  ทิศหก

อุตตรนิกาย  ดู  อุตรนิกาย

อุตตรนิคม  ชื่อนิคมหนึ่งในโกลิยชนบท

อุตตราวัฏฏ์  เวียนซ้าย,  เวียนรอบโดยหันข้างซ้ายให้ คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายย้อนเข็มนาฬิกา (พจนานุกรมเขียน อุตราวัฏ)

อุตตราสงค์  ผ้าห่ม,  เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน ๓ ผืน  ของไตรจีวร ได้แก่  ผืนที่เรียกกันสามัญว่า  จีวร (พจนานุกรมเขียน อุตราสงค์)

อุตตริมนุสสธรรม  ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์,  ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง, ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์  สมาธิ  สมาบัติมรรคผล,  บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง  (พจนานุกรม เขียน อุตริมนุสธรรม)

อุตรนิกาย  นิกายฝ่ายเหนือ หมายถึง พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือกันแพร่หลายในประเทศฝ่ายเหนือ มี จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น ที่เรียกตัวเองว่า มหายาน ใช้ภาษาสันสกฤต)

อุตสาหะ  ความบากบั่น, ความพยายาม, ความขยัน, ความอดทน

อุตุกาล  ชั่วฤดูกาล, ชั่วคราว

อุตุปริณามชา อาพาธา ความเจ็บไข้ เกิดแต่ฤดูแปรปรวน, เจ็บป่วยเพราะดินฟ้าอากาศผันแปร

อุทก  น้ำ

อุทกสาฏิกา  ผ้าอาบ, เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ อย่างของภิกษุณี ดู สังกัจฉิกะ ด้วย

อุทกุกเขป  เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำหรือ ทะเล ชาตสระ  (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาป) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือ บนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้นกับหลักหรือต้นไม้บนตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน); อุทกุกเขปนี้จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง

อุททกดาบส  อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา  ท่านผู้นี้ได้สมาบัติถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ;  เรียกเต็มว่า อุททกดาบส รามบุตร

อุทเทศาจารย์  อาจารย์ผู้บอกธรรม, อาจารย์สอนธรรม  (ข้อ ๔ ในอาจารย์ ๔);  คู่กับ ธรรมันเตวาสิก

อุทเทส  ดู  อุเทศ

อุทเทสภัต  อาหารอุทิศสงฆ์หรือภัตที่ทายกถวายตามที่สงฆ์แสดงให้  หมายถึง  ของที่เขาถวายสงฆ์แต่ไม่พอแจกทั่วกัน  ท่านให้แจกไปตามลำดับ  เริ่มตั้งแต่พระสังฆเถระลงมา  ของหมดแค่ลำดับไหน  กำหนดไว้  เมื่อของมีมาอีกจึงแจกต่อไปตั้งแต่ลำดับที่ค้างอยู่  อย่างนี้เรื่อยไปจนทั่วกัน  แล้วจึงเวียนขึ้นต้นใหม่อีก  เทียบ  สังฆภัต

อุทเทสวิภังคสูตร  ชื่อสูตรที่ ๓๘ แห่งมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก  พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวิญญาณไว้โดยย่อ  ภิกษุทั้งหลายอยากฟังโดยพิสดาร  จึงขอให้พระมหากัจจายนะอธิบายความ  พระมหากัจจายนะแสดงได้เนื้อความถูกต้องชัดเจนดีมาก  จนได้รับคำยกย่องชมเชยจากพระพุทธเจ้า

อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า, เจดีย์ที่สร้างเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า  ได้แก่  พระพุทธรูป  (ข้อ ๔ ในเจดีย์ ๔)

อุทธรณ์  การยกขึ้น, การรื้อฟื้น, การขอร้องให้รื้อฟื้นขึ้น, ขอให้พิจารณาใหม่

อุทธโลมิ  เครื่องลาดที่มีขนตั้ง

อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี  พระอนาคามีผู้จะปรินิพพาน ต่อเมื่อเลื่อนขึ้นไปเกิดในชั้นสูงขึ้นไปจนถึงชั้นอกนิฏฐะ (ข้อ ๕ ในอนาคามี ๕)

อุทธัจจะ  ความฟุ้งซ่าน, จิตส่าย,  จวอกแวก  (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ)

อุทธัจจกุกกุจจะ   ความฟุ้งซ่านและรำคาญ,  ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ (ข้อ ๔ ในนิวรณ์  ๕)

อุทธัมภาคิยสังโยชน์  สังโยชน์เบื้องสูง ได้แก่  กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด  มี ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา  พระอรหันต์จึงละได้;  ดู สังโยชน์

อุทยมาณพ  ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรี ที่ไปทูลถามปัญหากะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

อุทยัพพยญาณ  ปรีชาหยั่งรู้ความคิดและความดับแห่งสังขาร;  ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร, ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ  (ข้อ ๑ ใน วิปัสสนาญาณ ๙)

อุทยาน  สวน

อุทร  ท้อง

อุทริยะ  อาหารใหม่,  อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้องในลำไส้ กำลังผ่านกระบวนการย่อยแต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ

อุทัย   การขึ้น, การโผล่ขึ้น, พระอาทิตย์แรกขึ้น

อุทาน  วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ  มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา; ในภาษาไทย หมายถึง เสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ หรือตกใจ

อุทาหรณ์  ตัวอย่าง, การอ้างอิง, การยกขึ้นให้เห็น

อุทิศ  เฉพาะ, เจาะจง, เพ่งเล็งถึง, ทำเพื่อ; แผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี

อุทิสสมังสะ  เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อถวายภิกษุ ท่านมิให้ภิกษุฉัน, หากภิกษุฉันทั้งได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อถวายตน  ต้องอาบัติทุกกฎ

อุเทน  พระเจ้าแผ่นดินแคว้นวังสะ ครั้งพุทธกาล ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงโกสัมพี

อุเทนเจดีย์  เจดียสถานแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเวสาลี  นครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคยทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

อุเทศ การยกขึ้นแสดง,  การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน, การสวดปาฏิโมกข์, ปาฏิโมกข์ที่ยกขึ้นสวด, หมวดหนึ่ง ๆ แห่งปาฏิโมกข์ที่จัดไว้สำหรับสวด,  ในคำว่า  สงฆ์มีอุเทศเดียวกัน  หมายความว่า ร่วมฟังสวดปาฏิโมกข์ด้วยกัน;  อุเทศในปาฏิโมกข์จัดโดยย่อมี ๕ คือ ๑. นิทานุทเทส  ๒. ปาราชิกุทเทส ๓. สังฆาทิเสสุทเทส ๔.อนิยตุทเทส ๕. วิตถารุทเทส, อุทเทสที่ ๕ นั้น รวมเอา นิสสัคคิยุทเทส ปาจิตติยุทเทส ปาฏิเทสนียุทเทส เสขิยุทเทส  และสมถุทเทส  เข้าไว้ด้วยกัน  ถ้าแยกออกนับโดยพิสดารก็จะเป็น ๙ อุทเทส  การรู้จักอุเทศหรืออุทเทสเหล่านี้เป็นประโยชน์สำหรับการตัดตอนสวดปาฏิโมกข์ย่อได้ในคราวจำเป็น  ดู  ปาฏิโมกข์ย่อ

อุบล  บัว,  ดอกบัว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:55:25 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #48 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:54:37 »

.

อุบลวรรณา  พระมหาสาวิกาองค์หนึ่งเป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี  ได้ชื่อว่า  อุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณ  ดังดอกนิลุบล  (อุบลเขียว)  มีความงามมาก  จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีปหลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อ ท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจจึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบาย  แต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้วจึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง  คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ  นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต  ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ  และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย

อุบัติ   เกิดขึ้น, กำเนิด, เหตุให้เกิด

อุบาย  วิธีสำหรับประกอบ,  หนทาง, วิธีการ, กลวิธี, ไทยใช้หมายถึง เล่ห์เหลี่ยมด้วย

อุบาลี  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง  เดิมเป็นกัลบกของพระเจ้าศากยะ  ได้ออกบวชที่อนุปิยอัมพวันพร้อมกับพระอานนท์  และพระอนุรุทธะ เป็นต้น มีอุปัชฌาย์ชื่อ พระกัปปิตก  ครั้นบวชแล้วเรียนกรรมฐานจะไปอยู่ป่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ท่านเล่า
เรียนและเจริญวิปัสสนาไม่ช้าก็สำเร็จพระอรหัต  เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในพระวินัยมาก จนพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า  เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)  พระอุบาลีเป็นกำลังสำคัญในการทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย

อุบาสก  ชายผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นชาย,  คฤหัสถ์ผู้ชายที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนาโดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ได้แก่ ตปุสสะและภัลลิกะ ปฐมอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะ คือ บิดาของพระยสะ

อุบาสกธรรม  ดู คุณสมบัติของอุบาสก

อุบาสิกา หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนาโดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ปฐมอุบาสิกา ได้แก่ มารดา (นางสุชาดา) และภรรยาเก่าของพระยสะ

อุเบกขา ๑.    ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ  และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู  เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้  หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง,  ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้น ๆ  สิ่งนั้น ๆ  ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน  ไม่เข้าข้าง  ไม่ตกเป็นฝักฝ่าย  ไม่สอดแส่  ไม่จู้จี้สาระแน  ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง  (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔,  ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗,  ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ใน
วิปัสสนูปกิเลส ๑๐)

อุโบสถ ๑. การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน  เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย  และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย  อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค  คือ ๔ รูปขึ้นไป  ถ้าสงฆ์ครบองค์ กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ  เรียกว่าสังฆอุโบสถ   แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป  เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์  เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ   ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว  ท่านให้ทำเพียงอธิษฐาน คือ ตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช  เม  อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ;  อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ  เรียกว่า  จาตุทสิก  ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕  ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี  เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ ๒. การอยู่จำ,  การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมี  ฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ  วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ ๓. วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ  (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ  (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำเมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์  คือ  วันพระ ได้แก่ วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ  ๔. สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า  อุโปสถาควร หรือ อุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียก โบสถ์

อุโบสถกรรม  การทำอุโบสถ  หมายถึง  การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน

อุโบสถศีล  ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือศีลที่รักษาในวันอุโบสถ  ได้แก่  ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ  คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ (แรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด)

อุปกะ  ชื่ออาชีวกผู้หนึ่งซึ่งพบกับพระพุทธเจ้าในระหว่างทาง ขณะที่พระองค์เสด็จจากพระศรีมหาโพธิ์ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์

อุปการะ  ความเกื้อหนุน,  ความอุดหนุน,  การช่วยเหลือ

อุปกิเลส  โทษเครื่องเศร้าหมอง,  สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก  มี ๑๖ อย่าง  คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร  ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย ๓. โกธะ โกรธ ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖. ปลาสะ ตีเสมอ ๗. อิสสา ริษยา ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙. มายา เจ้าเล่ห์  ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑. กัมภะ หัวดื้อ ๑๒. สารัมภ  แข่งดี ๑๓. มานะ ถือตัว ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน ๑๕. มทะ มัวเมา ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย

อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา  ดู วิปัสสนูปกิเลส

อุปฆาตกกรรม   กรรมตัดรอน  ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี ที่เป็นอกุศลก็ดี ซึ่งมีกำลังแรง  เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรมหรือ  อุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตนเสีย  แล้วให้ผลแทนที่  (ข้อ ๘ ในกรรม ๑๒)

อุปจาร  เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบ ๆ;  ดังตัวอย่างคำว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน  แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
      
อาคารที่ปลูกขึ้นร่วมในแค่ระยะน้ำตกที่ชายคาเป็นเรือน,  บริเวณรอบ ๆ เรือนซึ่งกำหนดเอาที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะออกไป หรือแม่บ้านยืนอยู่ภายในเรือนโยนกระด้งหรือไม้กวาดออกไปภายนอก ตกที่ใดระยะรอบ ๆ กำหนดนั้นเป็นอุปจารเรือน

บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดี ยืนอยู่ที่เขตอุปจารเรือน ขว้างก้อนดินไป ก้อนดินที่ขว้างนั้นตกลงที่ใด ที่นั้นจากรอบ ๆ บริเวณอุปจารเรือน เป็นกำหนดเขตบ้าน บุรุษวัยกลางคนมีกำลังดีนั้นแหละ ยืนอยู่ที่เขตบ้านนั้นโยนก้อนดินไปเต็มกำลัง ก้อนดินตกเป็นเขตอุปจารบ้าน;  สีมาที่สมมติเป็นติจีวราวิปปวาสนั้น จะต้องเว้นบ้านและอุปจารบ้านดังกล่าวนี้เสียจึงจะสมมมติขึ้น  คือ ใช้เป็นติจีวราวิปปวาสสีมาได้;  ดู ติจีวราวิปปวาสสีมา   ด้วย

อุปจารภาวนา  ภาวนาขั้นจวนเจียน  คือ เจริญกรรมฐานถึงขั้นเกิดอุปจารสมาธิ  (ข้อ ๒ ในภาวนา ๓)

อุปจารสมาธิ  สมาธิจวนจะแน่วแน่,  สมาธิที่ยังไม่ดิ่งถึงที่สุด  เป็นขั้นทำให้กิเลสมีนิวรณ์เป็นต้นระงับ  ก่อนจะเป็นอัปปนาคือถึงฌาน (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๒,  ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)

อุปจารแห่งสงฆ์  บริเวณรอบ ๆ เขตสงฆ์ชุมนุมกัน

อุปฐาก  ดู อุปัฏฐาก

อุปติสสะ  ดู สารีบุตร

อุปติสสปริพาชก  คำเรียกพระสารีบุตรเมื่อบวชเป็นปริพาชกอยู่ในสำนักของสญชัย

อุปถัมภ์  การค้ำจุน, เครื่องค้ำจุน, อุดหนุน, ช่วยเหลือ, หล่อเลี้ยง

อุปธิ  สิ่งนุงนัง,  สภาวะกลั้วกิเลส,  สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส  ๑.  ร่างกาย  ๒.  สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์  ได้แก่  กามกิเลส  เบญจขันธ์  และอภิสังขาร

อุปนาหะ  ผูกโกรธไว้,  ผูกใจเจ็บ  (ข้อ ๔ ในอุปกิเลส  ๑๖)

อุปนิสัย  ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน,  ความดีที่เป็นทุนหรือเป็นพื้นอยู่ในจิต,  ธรรมที่เป็นเครื่องอุดหนุน

อุปนิสินนกถา  “ถ้อยคำของผู้เข้าไปนั่งใกล้”,  การนั่งคุยหรือสนทนาอย่างกันเองหรือไม่เป็นแบบแผนพิธีเพื่อตอบคำซักถามแนะนำชี้แจง  ให้คำปรึกษา  เป็นต้น

อุปบารมี  บารมีขั้นรอง, บารมีขั้นจวนสูงสุด คือ บารมีที่บำเพ็ญยิ่งกว่าบารมีตามปกติ แต่ยังไม่ถึงที่สุดที่จะเป็นปรมัตถบารมี  เช่น  สละทรัพย์ภายนอกเป็นทานบารมี สละอวัยวะเป็นทานอุปบารมี สละชีวิตเป็นทานปรมัตถบารมี;  ดู บารมี

อุปปถกิริยา  การทำนอกรีตนอกรอยของสมณะ, ความประพฤตินอกแบบแผนของภิกษุสามเณร ท่านจัดรวมไว้ เป็น ๓ ประเภท  คือ ๑. อนาจาร ประพฤติไม่ดีไม่งาม และเล่นไม่เหมาะสมต่าง ๆ  ๒. ปาปสมาจาร ความประพฤติเลวทราม คือ คบหากับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร ทำตนเป็นกุลทูสก ๓. อเนสนา หาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควร เช่น เป็นหมอเสกเป่า ให้หวย  เป็นต้น

อุปปลวัณณา  ดู  อุบลวรรณา

อุปปัชชเวทนียกรรม  กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด  คือ  ในภพถัดไป  (ข้อ ๒ ในกรรม ๑๒)

อุปปัตติเทพ  เทวดาโดยกำเนิด  ได้แก่  พวกเทวดาในกามาพจรสวรรค์  และพระพรหมทั้งหลาย  (ข้อ ๒ ในเทพ ๓)

อุปปีฬกกรรม  กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี  อกุศลก็ดี  ซึ่งบีบคั้นการให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมซึ่งตรงข้ามกับตน  ให้แปรเปลี่ยนไป เช่น ถ้าเป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่ให้ได้รับผลเต็มที่ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เกียดกันให้ทุเลา  (ข้อ ๗ ในกรรม ๑๒)

อุปมา  ข้อความที่นำมาเปรียบเทียบ, การอ้างเอามาเปรียบเทียบ, ข้อเปรียบเทียบ

อุปไมย  ข้อความที่ควรจะนำสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ควรจะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ, สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ

อุปริมทิส  ทิศเบื้องบน  หมายถึง  สมณพราหมณ์  ดู ทิศหก

อุปวาณะ  พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้มั่งคั่งในนครสาวัตถี ได้เห็นพระพุทธเจ้าในพิธีถวายวัดพระเชตวัน  เกิดความเลื่อมใสจึงได้มาบวชในพระศาสนาและได้บรรลุอรหัตตผล  ท่านเคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์  แม้ในวันปรินิพพาน  พระอุปวาณะก็ถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์  เรื่องราวเกี่ยวกับท่านปรากฏในพระไตรปิฎก ๔-๕ แห่ง เช่นเรื่องที่ท่านสนทนากับพระสารีบุตรเกี่ยวกับโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น

อุปสมะ  ความสงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ, การทำใจให้สงบ, สภาวะอันเป็นที่สงบ  คือนิพพาน (ข้อ ๔ ใน อธิษฐานธรรม ๔)

อุปสมบท  การให้กุลบุตรบวชเป็นภิกษุ หรือให้กุลธิดาบวชเป็นภิกษุณี การบวชเป็นภิกษุ หรือภิกษุณี ดู อุปสัมปทา

อุปสมานุสติ  ระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็นที่ระงับกิเลสและกองทุกข์  (ข้อ ๑๐ ในอนุสติ ๑๐)

อุปสรรค  ความขัดข้อง, สิ่งที่เข้าไปขัดข้อง, เครื่องกีดกั้น, สิ่งขัดขวาง

อุปสัมบัน  ผู้ได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุหรือภิกษุณีแล้ว, ผู้อุปสมบทแล้ว ได้แก่  ภิกษุและภิกษุณี ดู อนุปสัมบัน

อุปสัมปทา  การบวช,  การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี;  วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง  แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลัก มี ๓ อย่าง คือ  ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา   การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา   หรือสรณคมนูปสัมปทา  การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล  เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก  เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ววิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร ๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา   การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ  ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว  และเป็นวิธีที่ใช้สืบมาจนทุกวันนี้; วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่างที่เหลือ  เป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษจำเพาะบุคคลบ้าง  ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่  (จัดเรียงลำดับใหม่  เอาข้อ ๓. เป็นข้อ ๘. ท้ายสุด)  ๓. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ ๔. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา   การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร  ๕. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา)  การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี  ๖. ทูเตนะอุปสัมปทา   การอุปสมบทด้วยทูต  เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี)  ชื่อ อัฑฒกาสี ๗. อัฏฐาวาจิกาอุปสัมปทา   การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒ ครั้ง จากสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ จากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี ๘. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา   (ข้อ ๓. เดิม)

อุปสัมปทาเปกขะ   บุคคลผู้เพ่งอุปสมบท คือผู้มุ่งจะบวชเป็นภิกษุ,  ผู้ขอบวช, นาค

อุปสัมปทาเปกขา  หญิงผู้เพ่งอุปสัมปทา คือผู้ขอบวชเป็นภิกษุณี

อุปสีวมาณพ ศิษย์คนหนึ่งในจำนวน ๑๖ คน ของพราหมณ์พาวรีที่ไปทูลถามกะพระศาสดาที่ปาสาณเจดีย์

อุปเสน วังคันตบุตร พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชื่อ วังคันตะ มารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายของพระสารีบุตร เกิดที่หมู่บ้านนาลกะ เติบโตขึ้นเรียนไตรเพทจบแล้วต่อมาได้ฟังธรรม  มีความเลื่อมใส  จึงบวชในพระพุทธศาสนา หลังจากบวชได้ ๒ พรรษา จึงได้สำเร็จพระอรหัต ท่านออกบวชจากตระกูลใหญ่  มีคนรู้จักมากและทั้งเป็นนักเทศก์ที่สามารถ  จึงมีกุลบุตรเลื่อมใสมาขอบวชด้วยเป็นจำนวนมาก  ตัวท่านเองเป็นผู้ถือธุดงค์  และสอนให้สัทธิวิหาริกถือธุดงค์ด้วยปรากฏว่าทั้งตัวท่านและบริษัทของท่านเป็นที่เลื่อมใสของคนทั่วไปหมด จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทำให้เกิดความเลื่อมใสทั่วทุกด้าน (คือไม่เฉพาะตนเองน่าเลื่อมใส  แม้คณะศิษย์ก็น่าเลื่อมใสไปหมด)

อุปหัจจปรินิพพายี  พระอนาคามีผู้จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว  คือจะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ  (ข้อ ๒ ในอนาคามี ๕)

อุปัชฌาย์, อุปัชฌายะ “ผู้เพ่งโทษน้อยใหญ่” หมายถึง  ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์,  เป็นทั้งผู้นำเข้าหมู่  และเป็นผู้ปกครองคอยดูแลผิดและชอบ ทำหน้าที่ฝึกสอนอบรมให้การศึกษาต่อไป; อุปัชฌาย์ในฝ่ายภิกษุณีเรียกว่า  ปวัตตินี

อุปัชฌายมัตต์   ภิกษุผู้พอจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ คือ มีพรรษาครบ ๑๐, พระปูนอุปัชฌาย์

อุปัชฌายวัตร ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่ออุปัชฌาย์ของตน, หน้าที่ต่ออุปัชฌาย์โดยย่อ คือ เอาใจใส่ ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น  รักษาน้ำใจของท่าน  มีความเคารพจะไปไหนบอกลาไม่เที่ยวตามอำเภอใจและเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เทียบ สัทธิวิหาริกวัตร

อุปัชฌายาจารย์  อุปัชฌาย์และอาจารย์

อุปัฏฐาก  ผู้บำรุง,  ผู้รับใช้,  ผู้ดูแลความเป็นอยู่, ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร; อุปฐาก ก็เขียน

อุปัฏฐายิกา  อุปัฏฐากที่เป็นหญิง

อุปัตติเหตุ  เหตุที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกิด เช่น ควรเทศนาให้เหมาะแก่อุปัตติเหตุ คือ แสดงธรรมให้เข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น; บัดนี้เขียน อุบัติเหตุ และใช้ในความหมายที่ต่างออกไป

อุปัตถัมภกกรรม  กรรมสนับสนุน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่เข้าช่วยสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม  เหมือนแม่นมเลี้ยงทารกที่เกิดจากผู้อื่น  ถ้ากรรมดีก็สนับสนุนให้ดีขึ้น  ถ้ากรรมชั่วก็ซ้ำเติมให้เลวลงไปอีก (ข้อ ๖ ในกรรม ๑๒)

อุปัสสยะของภิกษุณี  ส่วนที่อยู่ของภิกษุณี  ตั้งอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุอยู่ด้วยแต่อยู่โดยเอกเทศ  ไม่ปะปนกับภิกษุ; เรียกตามศัพท์ว่า  ภิกขุนูปัสสยะ

อุปาทาน  ความยึดมั่น,  ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ  ๑. กามุปาทาน  ความถือมั่นในกาม  ๒. ทิฏฐุปาทาน  ความถือมั่นในทิฏฐิ  ๓. สีลัพพตุปาทาน  ความถือมั่นในศีลและพรต  ๔. อัตตวาทุปาทาน  ความถือมั่นในวาทะว่าตน

อุปาทานขันธ์  ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,  ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่  เบญจขันธ์  คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ

อุปาทายรูป  รูปอาศัย,  รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,  อาการของมหาภูตรูปตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ  ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ, ตา, โสต หู,  ฆาน จมูก,  ชิวหา ลิ้น,  กาย, มโน ใจ   ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับ ปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป) ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย ง. หทัยรูป ๑
คือ หทัยวัตถุ  หัวใจ จ.  ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่ ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา ช. ปริจเฉทรุป ๑ คือ อากาศธาตุ  ช่องว่าง  ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือ พูดได้  ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่าง ๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา, มุทุตา ความอ่อน, กัมมัญญตา  ความควรแก่งาน, (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก) ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้, สันตติ  สืบต่อได้, ชรตา  ทรุดโทรมได้,  อนิจจตา  ความสลายไม่ยั่งยืน  (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้  ๒๔);  
ดู  มหาภูต ด้วย

อุปาทิ  ๑. สภาพที่ถูกกรรมกิเลสถือครอง, สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น, เบญจขันธ์  ๒. กิเลสเป็นเหตุถือมั่น, ความยึดติดถือมั่น, อุปาทาน

อุปาทินนกสังขาร  สังขารที่กรรมครอบครอง พูดเข้าใจกันอย่างง่าย ๆ ว่า สังขารที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ เทวดา (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒)

อุปายาส  ความคับแค้นใจ, ความสิ้นหวัง

อุปาลิปัญจกะ  ชื่อตอนหนึ่งในคัมภีร์บริวาร พระวินัยปิฎก

อุปาลิวงศ์   ชื่อนิกายพระสงฆ์ลังกาที่บวชจากพระสงฆ์สยาม  (พระอุบาลีเป็นหัวหน้า  นำคณะสงฆ์ไทยไปอุปสมบทกุลบุตรในประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สมัยอยุธยาตอนปลาย)

อุปาสกัตตเทสนา  การแสดงความเป็นอุบาสก  คือ ประกาศตนเป็นอุบาสก โดยถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

อุปาหนา  ดู รองเท้า

อุโปสถขันธกะ  ชื่อขันธกะที่ ๒ แห่งคัมภีร์มหาวรรค พระวินัยปิฎก  ว่าด้วยการทำอุบาสก คือ สวดปาฏิโมกข์ และเรื่องสีมา

อุโปสถิกะ, อุโปสถิกภัต  อาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ  คือ วันพระ ในเดือนหนึ่งสี่วัน, เป็นของจำพวกสังฆภัตหรืออุทเทสภัตนั่นเอง แต่มีกำหนดวันเฉพาะคือ ถวายเฉพาะในวันอุโบสถ

อุพพาหิกา  กิริยาที่ถอนนำไป,  การเลือกแยกออกไป,  หมายถึง  วิธีระงับวิวาทาธิกรณ์  ในกรณีที่ที่ประชุมสงฆ์ มีความไม่สะดวก  ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งสงฆ์จึงเลือกภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้นตั้งเป็นคณะ แล้วมอบเรื่องให้นำเอาไปวินิจฉัย (เป็นทำนองตั้งคณะกรรมการพิเศษ)

อุพภตกสัณฐาคาร  ท้องพระโรงชื่ออุพภตก  เป็นท้องพระโรง หรือหอประชุมที่สร้างขึ้นใหม่ของมัลลกษัตริย์  แห่งเมืองปาวา  มัลลกษัตริย์ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนจะเปิดใช้งาน ณ ที่นี้ พระสารีบุตรได้แสดงสังคีติสูตร อันเป็นต้นแบบของการสังคายนา

อุภโตพยัญชนก  คนมีทั้ง ๒ เพศ

อุภโตภาควิมุต  “ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน”  คือ  พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว  จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตตผล;  หลุดพ้นทั้งสองส่วน  (และสองวาระ) คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ  (เป็นวิกขัมภนะ) หนหนึ่งแล้ว จึงหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค (เป็นสมุจเฉท) อีกหนหนึ่ง เทียบ ปัญญาวิมุต

อุภโตสุชาต  เกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย  คือ ทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา หมายความว่า  สกุลสูง เป็นเชื้อสายวรรณะนั้นต่อเนื่องกันมาโดยตลอด  ทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา,  เป็นคุณสมบัติที่พวกพราหมณ์และกษัตริย์บางวงศ์ถือเป็นสำคัญมาก

อุภยัตถะ  ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย,  ประโยชน์ร่วมกัน, สิ่งที่เกื้อกูลแก่ส่วนรวม เป็นคุณแก่ชีวิตทั้งของตนเองและของผู้อื่นช่วยให้เป็นอยู่กันด้วยดีพากันประสบทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ ยิ่งขึ้นไป;  ดู อัตถะ

อุรุเวลกัสสป  พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นนักบวชประเภทชฎิล  นับถือลัทธิบูชาไฟ ถือตัวว่าเป็นพระอรหันต์ สร้างอาศรมสั่งสอนลัทธิของตนอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลา  เพราะเหตุที่เป็นชาวกัสสปโคตร และอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา  จึงได้ชื่อว่า  อุรุเวลกัสสป  ท่านผู้นี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่ชาวราชคฤห์นับถือมาก มีน้องชายสองคน คนหนึ่งชื่อนทีกัสสป  อีกคนหนึ่งชื่อคยากัสสป  ล้วนเป็นหัวหน้าชฎิล ตั้งอาศรมอยู่ถัดกันไปบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ไม่ห่างไกลจากอาศรมของพี่ชายใหญ่  ต่อมาพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาทรงทรมาน อุรุเวลกัสสปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จนท่านชฎิลใหญ่คลายพยศ ยอมมอบตัวเป็นพุทธสาวกขอบรรพชา ทำให้ชฎิลผู้น้องทั้งสองพร้อมด้วยบริวารออกบวชตามด้วยทั้งหมด  ครั้นบวชแล้วได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร  จากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต  ทั้งสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวารทั้งหมดรวมหนึ่งพันองค์  พระอุรุเวลกัสสปได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีบริษัทใหญ่  คือ มีบริวารมาก

อุรุเวลา  ชื่อตำบลใหญ่ในแคว้นมคธ  ตั้งอยู่ ณ  ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา  เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์  พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียรได้ประทับอยู่  ณ ที่นี้นานถึง ๖ ปี  ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา  จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์  ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้

อุสสาวนันติกา กับปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศ ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันแต่ต้นว่าจะทำเป็นกัปปิยกุฎี ในเวลาที่ทำ พอช่วยกันยกเสาหรือตั้งฝาทีแรก ก็ร้องประกาศให้รู้กันว่า “กปฺปยกุฏิํ  กโรม” ๓ หน (แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี); ดู กัปปิยภูมิ

อุสีรธชะ   ภูเขาที่กั้นอาณาเขตของมัชฌิมชนบทด้านเหนือ

อูเน คเณ จรณํ การประพฤติ (วัตร) ในคณะอันพร่อง คือ ประพฤติในถิ่น เช่น อาวาส ที่มีปกตัตตภิกษุไม่ครบองค์สงฆ์  คือไม่ถึง ๔ รูป  แต่ที่นิยมปฏิบัติกันมาไม่ต่ำกว่า ๕ รูป;  เป็นเหตุอย่างหนึ่งของรัตติเฉท แห่งมานัตต์  ดู  รัตติเฉท

อูรุ  ขาอ่อน,  โคนขา

เอกฉันท์  มีความพอใจอย่างเดียวกัน,  เห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด

เอกเทศ  ภาคหนึ่ง,  ส่วนหนึ่ง,  เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก

เอกพีชี  ผู้มีพืชคืออัตภาพอันเดียว  หมายถึง  พระโสดาบันซึ่งจะเกิดอีกครั้งเดียวก็จะบรรลุพระอรหัตตผล ในภพที่เกิดขึ้น (ข้อ ๑ ในโสดาบัน ๓, บางแห่งท่านจัดกลับเป็นข้อ ๓)

เอกภัณฑะ  ทรัพย์สิ่งเดียวซึ่งมีราคาเพียงพอที่จะเป็นวัตถุแห่งปาราชิก

เอกวจนะ   คำกล่าวถึงสิ่งของสิ่งเดียว

เอกสิทธิ  สิทธิพิเศษ,  สิทธิโดยเฉพาะ

เอกเสสนัย  อาการกำหนดด้วยเหลือศัพท์เดียว, เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในไวยากรณ์บาลี กล่าวคือ บุคคล วัตถุ หรือภาวะบางอย่าง เป็นของควบคู่กัน มาด้วยกันเสมอ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันรู้ถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย หรือเป็นของชุดเดียวกันจำพวกเดียวกัน  เมื่อเรียกชื่ออย่างหนึ่ง จะหมายถึงอย่างหนึ่งอย่างใดในชุดหรือในจำพวกนั้นก็ได้  ในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านกล่าวถึงหรือออกชื่อไว้อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอันเดียวให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังหมายรู้อีกอย่างหนึ่งด้วย หรือให้เข้าใจเอาเองจากข้อความแวดล้อมว่า ในที่นั้นหมายถึง อย่างไหนข้อใดในชุดหรือในจำพวกนั้น จึงเรียกว่า เหลือไว้อย่างเดียว หรือเหลือไว้ศัพท์เดียว เช่น พูดอย่างคำบาลีว่า พระสารีบุตรทั้งหลาย หมายถึง พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ  หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท  คำว่า  นามรูป  เป็นเอกเสส  หมายถึง นามหรือรูป หรือทั้งนามและรูป คำว่า สฬายตนะ ก็เป็นเอกเสส  หมายถึง อายตนะที่ ๖ ก็ได้ อายตนะทั้ง ๖ ก็ได้  ดังนั้น เมื่อพูดว่านามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ถ้าหมายถึง อรูปภพ ก็ต้องแปลความว่า นามเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะที่ ๖  (คือ มโน) อนึ่ง เมื่อสิ่งอื่นในชุดเดียวกันมีคำเฉพาะระบุชัดอยู่แล้ว  คำที่เป็นชื่อรวม ๆ ของชุดก็ย่อมหมายถึงสิ่งที่ยังไม่ถูกระบุด้วยคำอื่น เช่น ในคำว่า สุคติ (และ) โลกสวรรค์ สวรรค์ก็เป็นสุคติ  แต่มีคำเฉพาะระบุไว้แล้ว ดังนั้น คำว่าสุคติในกรณีนี้จึงหมายถึงโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นสุคติ อย่างเดียวที่เหลือนอกจากสวรรค์

เอกอุ  เลิศ,  สูงสุด (ตัดมาจากคำว่า เอกอุดม)

เอกัคคตา  ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ (พจนานุกรม เขียน เอกัคตา)  ดู ฌาน

เอกันตโลมิ  เครื่องลาดที่มีขนตกไปข้างเดียวกัน

เอกายนมรรค  ทางอันเอก  คือ ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจด หมดความทุกข์ และบรรลุนิพพาน ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔;  อย่างกว้าง เช่น ในมหานิทเทส หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ด้วย

เอกาสนิกังคะ  องค์แห่งผู้ถือนั่งฉันที่อาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ฉันวันละมื้อเดียว ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีกในวันนั้น (ข้อ ๕ ในธุดงค์ ๑๓)

เอตทัคคะ  พระสาวกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เป็นเอตทัคคะในทางธรรมกถึก หมายความว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในทางแสดงธรรม  เป็นต้น;  ดู

อสีติมหาสาวก

เอตทัคคฐาน  ตำแหน่งเอตทัคคะ,  ตำแหน่งที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในคุณนั้น ๆ

เอหิปสฺสิโก   พระธรรมควรเรียกให้มาดู  คือ  เชิญชวนให้มาชมเหมือนของวิเศษที่ควรป่าวร้องให้มาดูหรือท้าทายต่อการพิสูจน์  เพราะเป็นของจริงและดีจริง  (ข้อ ๔ ในธรรมคุณ ๖)

เอหิภิกขุ  เป็นคำเรียกภิกษุที่ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรงด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา; พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นเอหิภิกขุองค์แรก

เอหิภิกขุอุปสัมปทา  เป็นวิธีอุปสมบทที่พระพุทธเจ้าประทานด้วยพระองค์เองด้วยการเปล่งพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”  วิธีนี้  ทรงประทานแก่พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นบุคคลแรก  ดู อุปสัมปทา

เอหิภิกษุ   ดู  เอหิภิกขุ  

โอกกันติกาปีติ  ปีติเป็นระลอก,  ความอิ่มใจเป็นพัก ๆ เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกซู่ซ่าเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง (ข้อ ๓ ในปีติ  ๕)

โอกกากราช  กษัตริย์ผู้เป็นต้นสกุลของศากยวงศ์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:57:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #49 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:57:03 »

.

โอกาส  ช่อง,  ที่ว่าง,  ทาง,  เวลาที่เหมาะ,  จังหวะ;  ในวิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์  มีระเบียบว่า  ก่อนจะกล่าวคำโจทนา  คือ  คำฟ้องขึ้นต่อหน้าสงฆ์ โจทก์พึงขอโอกาสต่อจำเลย  คำขอโอกาส ว่า  “กโรตุ  เม  อายสฺมา  โอกาสํ,  อหนฺตํ  วตฺตุกาโม” แปลว่า“ขอท่านจงทำโอกาสแก่ข้าพเจ้า ๆ  ใคร่จะกล่าวกะท่าน”  ถ้าโจทโดยไม่ขอโอกาส  ต้องอาบัติทุกกฏ  คำให้โอกาสท่านไม่ได้แสดงไว้ อาจใช้ว่า  “กโรมิ  อายสฺมโต  โอกาสํ” แปลว่า “ข้าพเจ้าทำโอกาสแก่ท่าน”;  ภิกษุพร้อมด้วยองค์  ๕  แม้จะขอให้ทำโอกาสก็ไม่ควรทำ (คือไม่ควรให้โอกาส) กล่าวคือ  เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์  มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์  มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้เขลา ถูกซักเข้า  ม่อาจให้คำตอบข้อที่ซัก, องค์ ๕ อีกหมวดหนึ่งว่า  เป็นอลัชชีเป็นพาล  มิใช่ปกตัตตะ กล่าวด้วยปรารถนาจะกำจัด  มิใช่เป็นผู้มีความปรารถนาในอันให้ออกจากอาบัติ

โอกาสโลก โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, โลกซึ่งเป็นโอกาสแก่สัตว์ทั้งหลายที่จะอยู่อาศัย, โลกคือแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย, จักรวาฬ  (ข้อ ๓ ในโลก ๓)

โอฆะ  ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายตายเกิด, กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา

โอตตัปปะ  ความกลัวบาป, ความเกรงกลัวต่อทุจริต, ความเกรงกลัวความชั่ว เหมือนกลัวอสรพิษ ไม่อยากเข้าใกล้  พยายามหลีกให้ห่างไกล  (ข้อ ๒ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒, ข้อ ๔ ในอริยทรัพย์ ๗,  ข้อ ๓ ในสัทธรรม ๗)

โอธานสโมธาน  ชื่อปริวาสประเภทสโมธานปริวาสอย่างหนึ่ง ใช้สำหรับอาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องหลายคราวแต่มีจำนวนวันที่ปิดไว้เท่ากัน เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว  ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ให้ขอปริวาสรวมอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันเพื่ออยู่เพียง ๕ วันเท่านั้น;  (แต่ตามนัยอรรถกถาท่านแก้ว่า  สำหรับอันตราบัติมีวันปิดที่ประมวลเข้ากับอาบัติเดิม)  ดู สโมธานปริวาส

โอปนยิโก  พระธรรมควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น (ข้อ ๕ ในธรรมคุณ ๖)

โอปปาติกะ  สัตว์เกิดผุดขึ้น คือเกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔);  บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก

โอปกฺกมิกา  อาพาธา ความเจ็บไข้เกิดจากความพยายามหรือจากคนทำให้, เจ็บป่วยเพราะการกระทำของคน คือ ตนเองเพียรเกินกำลัง  หรือถูกเขากระทำ เช่น ถูกจองจำใส่ขื่อคา เป็นต้น

โอมสวาท  คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจหรือให้ได้ความอัปยศ ได้แก่ การพูดแดกหรือประชดก็ตาม ด่าก็ตาม กระทบถึงอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ มีชาติกำเนิด ชื่อ ตระกูล เป็นต้น ภิกษุกล่าวโอมสวาทแก่ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์แก่อนุปสัมบันต้องอาบัติทุกกฎตามสิกขาบทที่ ๒ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์

โอรส  “ผู้เกิดแต่อก”, ลูกชาย

โอรัมภาคิยสังโยชน์  สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ;  ดู สังโยชน์

โอวาท  คำกล่าวสอน, คำแนะนำ,  ตักเตือน;  อวาทของพระพุทธเจ้า ๓ คือ  ๑. เว้นจากทุจริต คือ ประพฤติชั่วด้วยกาย วาจาใจ (= ไม่ทำความชั่วทั้งปวง)  ๒. ประกอบสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ  (=ทำแต่ความดี)  ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น  (= ทำจิตของตนให้สะอาดบริสุทธิ์), โอวาท ๓ นี้ รวมอยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์  หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง  พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์ อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา), คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
     สพฺพาปาปสฺส  อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
     สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ  พุทฺธาน  สาสนํฯ
     ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา
     นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา
     น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
     สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
     อนูปวาโท  อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
     มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมิํ ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ
     อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ  พุทฺธาน  สาสนํฯ

แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ  คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพาน เป็นบรมธรรม,  ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑  ความเพียรในอธิจิต ๑  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทวรรค  ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี  เป็นต้น เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์  พระวินัยปิฎก

โอวาทานุสาสนี  คำกล่าวสอนและพร่ำสอน,  คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน

โอษฐ์  ปาก,  ริมฝีปาก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 สิงหาคม 2556 19:59:51 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5482


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #50 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2556 19:59:08 »

.

โอสารณา  การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม  (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อมอันตรายิกธรรมแล้วเข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม  (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี)  เป็นญัตติจตุตถกรรม (เช่น ระงับนิคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)



จบบริบูรณ์


คัดจาก : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
ตำราทางพระพุทธศาสนา รวบรวมและเรียบเรียงโดยพระเดชพระคุณ  พระราชวรมุนี (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)
สมณศักดิ์ปัจจุบัน พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต),  
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์เผยแพร่ โดย "ทุนพิมพ์พจนานุกรมพุทธศาสน์" เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗  

หนังสือดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทหนังสืออ้างอิง ซึ่งอธิบายคำศัพท์ทั่วไปทุกประเภทที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เช่น หลักธรรม พระวินัย พิธีกรรม  ประวัติบุคคลสำคัญ ตำนาน และวรรณคดีที่สำคัญ  

จึงหวังว่าการคัดลอกนำมาเผยแพร่ใน www.sookjai.com นี้
จะอำนวยประโยชน์เกื้อกูลแก่การศึกษาค้นคว้าวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่ผู้สนใจไขว่คว้าหาความรู้ได้เป็นอย่างดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 สิงหาคม 2556 06:50:12 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  1 2 [3]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.908 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 08 พฤษภาคม 2567 12:40:02