[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:21:27 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทังก้า มันดาลา..... พุทธศิลป์ชั้นสูง  (อ่าน 30205 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มกราคม 2553 17:47:58 »





mandala ที่แม่ชี 4 รูปจากธิเบต มาสร้างขึ้นที่วัดจีนในเมืองไทย
ได้ทำพิธีสลายไปแล้วเมื่อไม่นานนี้เอง







ทังก้า มันดาลา..... พุทธศิลป์ชั้นสูง



http://a.imageshack.us/img39/3604/1242385602.jpg
ทังก้า มันดาลา..... พุทธศิลป์ชั้นสูง



“ ทังก้า ” คือภาพวาดแทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เปรียบเสมือนพระพุทธรูป
นั้นเอง โดยปกติแล้วทังก้าจะเขียนบอกเล่าเกี่ยวกับพุทธองค์

เหมือนจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย แต่เขียนลงบนผ้าแทน ชาวทิเบตไม่มีพระพุทธรูป
แต่จะมีทังก้าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า

ที่สำคัญในการทำแบบโบราณดั้งเดิม สีที่ใช้เขียนเป็นสีธรรมชาติที่ต้องสรรหาแร่ธาตุ
ตามเทือกเขาหิมาลัย นำมาบดผสมกับยางไม้ เขียนด้วยเกรียงเขาจามรี

ส่วนสีทองก็จะใช้เนื้อทองคำแท้ น้ำที่ใช้ผสมสียังต้องใช้น้ำแร่ผสมกับสีธรรมชาติในการวาด
ภาพทังก้าทุกภาพเป็นงานแฮนด์เมดทั้งสิ้น

ภาพเขียนแต่ละชิ้นใช้เวลานาน มีความประณีตและทนทาน สีและภาพที่เขียน
จะมีความคมชัด สดใสยาวนานกว่าร้อยปี

ภาพที่ดีที่สุดนั้นใช้เวลาในการทำถึง 60 วัน และอยู่ได้นานเป็นเวลาถึง 400 ปีทีเดียว



  http://board.palungjit.com/members/pucca2101-212829







มณฑลศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกว่า มันดาลา ในภาษาญี่ปุ่น เป็นแนวคิด
ของพระพุทธศาสนามหายาน ประเภทตันตระ หรือวัชรยาน หรือมนตรยาน ว่า
เป็นการเรียงแนวของจักรวาลของพระพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ ในแต่ละพระองค์ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ในแต่ละพุทธเกษตร

เช่น รูปนี้ แสดงถึงมณฑลศักดิ์สิทธิ์ ของพระพุทธเจ้าไภสัชยคุรุ
(พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งการรักษา โรคทางกาย และโรคกิเลส) ในรูปแบบธิเบต


   http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=7489&sid=bd76a78800538981b15a6dc275438fec


Mandala ( มัน-ดา-ลา ) เป็นรูปวาดในคติพุทธแบบทิเบต กล่าวกันว่า
สืบทอดมาจากอินเดียโบราณ

พระธิเบตจะเป็นผู้วาดเพื่อสื่อหลักการ ปรัชญา และ คติธรรม ของชาวพุทธ
ที่เชื่อมโยงกันในขอบเขตวงกลม


บางทีก็แสดงพระโพธิญาณ หรือบางทีก็รวมจักรวาลเข้าด้วย
คำว่า Mandala มาจากคำสันสกฤต ว่า มณฑล หมายถึง ขอบเขต หรือ วงกลม

การสร้าง Mandala ขึ้นจากเม็ดทรายสีต่างๆ นับเป็นสิ่งสุดยอดของ ศิลปะธิเบต

ต้องใช้เวลา และ สมาธิ อย่างสูงในการทำแต่ละครั้ง และสุดท้าย ก็จะทำการ
ละลาย Mandala ที่สร้างขึ้น
เพื่อเป็นการสอนสัจจธรรมว่า ทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ เสื่อมสลายไป


ดูการสร้างและสลายได้ที่ลิงค์นี้ครับ


   http://blognew.cnbb.com.cn/317792/viewspace-22163

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2553 10:15:42 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพที่หายไป,เน้นข้อความค่ะ » บันทึกการเข้า
 
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 18:03:56 »







มันดาลา หรือ เบญจคุณ
พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี 


เบญจคุณ แนวทางการเรียนรู้ภายในอย่างเป็นองค์รวม
 
ไอรีนี่ รอคเวล
 
เวลานี้ เป็นเวลาที่ผู้คนแสดงหาชีวิตที่เต็มเปี่ยม มีความหมาย ทั้งในตัวเองและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น มหาวิทยาลัยจึงน่าจะเป็นแหล่งวิทยาการที่จะช่วยให้เกิดการค้นพบและหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตทั้งหลายนี้ (สก็อต ๒๐๐๐)
 
การเรียนรู้ของเราเป็นการเดินทางตลอดชีวิต จากทารกสู่ที่สิ้นของชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาสแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความสำคัญพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ หากสังคมได้แต่สร้างสถาบันการศึกษาชั้นสูงเพื่อส่งเสริมชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านและความเครียด ทั้งๆที่สิ่งที่เราปรารถนาคือชีวิตที่ดี มีความสุข สมดุล ที่เรารู้สึกเพียงพอมิใช่หรือ? เราต้องยอมสูญเสียอะไรบ้างในการแลกมาเพื่อความสำเร็จที่สูงยิ่งขึ้นในชีวิตอย่างไม่ลืมหูลืมตา? ทำไมเราจึงติดอยู่ในแบบแผนพฤติกรรมและระบบที่มีแต่จะเพิ่มความสับสนปั่นป่วนให้กับชีวิตเล่า? ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ในการค้นพบและนำเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเราออกมา?
 
สถาบันการศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาโดยเริ่มจากส่วนที่เป็นโครงสร้างและระบบ งานของผมเน้นพัฒนาในส่วนของตัวมนุษย์ที่สร้างระบบและโครงสร้างที่ว่านี้ โดยเริ่มจากการสำรวจเรียนรู้ความเป็นตัวเราในปัจจุบันขณะ แนวทางที่ผมทำงานในการหลอมรวมปัจเจกเข้ากับองค์รวมเป็นการนำหลักการของเบญจคุณทั้ง ๕ มาใช้ ได้แก่ ความเปิดกว้าง ความกระจ่างชัด ความมั่งคั่ง พลังอารมณ์ และ การลงไม้ลงมือ ซึ่งองค์ประกอบในการเป็นมนุษย์ที่เต็มเหล่านี้เป็นแนวทางสำหรับระบบการศึกษาแนวจิตวิญญาณอันหนึ่ง ทั้งนี้การศึกษาอย่างมีจิตวิญญาณ ที่ความเข้าใจภายในรวมกับความรู้ทางโลกสมัยปัจจุบันในแขนงต่างๆนั้น ได้รับแรงบันดานใจจากหลักการปฏิบัติธรรมแนวพุทธ แนวทางการแสวงปัญญาต่างๆ รวมทั้งโลกทัศน์ที่ว่าด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เช่น แนวทั้งของชนเผ่าพื้นเมือง—ผู้แปล]
 
พลังแห่งเบญจคุณทั้ง ๕
 
หลักการแห่งเบญจคุณทั้ง ๕ เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับพลังรูปแบบต่างๆในตัวเรา ที่มีอยู่ในบุคลิกภาพ อาณาบริเวณแห่งอารมณ์ของเรา และการที่เราปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างและกับโลก เราต่างมีวิธีในการแสดงพลังเหล่านี้ออกมาอย่างเป็นตัวของตัวเอง ผ่านแสดงออกทางอากัปกิริยา การแสดงออกทางใบหน้า แบบแผนพฤติกรรม หรือแม้แต่การเลือกใช้คำพูดในโทนเสียงและจังหวะการพูด เราแสดงพลังเหล่านี้มาในทัศนคติ อารมณ์ การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงแบบแผนการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับโลก พลังเหล่านี้ยังครอบคลุมอยู่ในโลกแห่งปรากฏการณ์ และยังแฝงตัวอยู่ในระบบและโครงสร้างทางสังคมที่เราสร้างขึ้นมา
 
แม้ว่า ในแต่ละกลุ่มพลังก็จะมีแฝงไว้ซึ่งปัญญา แต่ก็มีความวิปลาสดำรงอยู่ด้วย การเรียนรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นการรับรู้ชื่นชมความเข้มแข็ง และทำงานกับด้านที่อ่อนแอของเราเองด้วย นั่นคือการรับรู้พลังติดขัดเป็นลบในตัวเราอย่างเมตตาและเป็นมิตรอย่างไร้เงื่อนไขใดๆ เพื่อแปรเปลี่ยนพลังลบที่กักขังเรา ให้การเป็นการคลี่คลายขยายออกในตัวเรา การที่เราสามารถเป็นมิตรกับตัวเองได้ คือรู้สึกถึงความอบอุ่น ความรู้สึกผ่อนคลาย และเปิดออก จะเป็นการโอบประคองสิ่งที่มีคุณค่าหรือคุณลักษณะที่ดีที่สุดที่ดำรงอยู่ในตัวเรา เราไม่จำเป็นต้องพยายามตัดคุณลักษณ์ที่เราคิดว่าเลวร้ายในตัวเราทิ้งไป หากโอบประคองสิ่งเหล่านี้ไว้ เพื่อค้นพบว่ามันส่วนที่ดีที่สุดของเรา ภูมิปัญญาของเราคือการโอบประคองไว้ทั้งความสับสนและความดีงามในตัวเราเอง
 
โดยพื้นฐานแล้ว ไม่ว่าเราจะรับรู้ได้หรือไม่ก็ตาม พลังเหล่านี้แผ่ซ่านปกคลุมอยู่ในชีวิตของเรา มันคือความมีชีวิตชีวาแห่งการดำรงอยู่ โดยเป็นคุณลักษณะ เนื้อหนัง สภาพแวดล้อม บรรยากาศ และซุ่มเสียง ของทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งที่มองเห็นและที่มองไม่เห็น มันเป็นพลังชีวิตของการดำรงอยู่ การทำความเข้าใจ รู้จักคุ้นเคยกับพลังเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถหลอมรวมและเจริญงอกงามที่ไปพ้นอัตตาอันคับแคบ และเปิดประตูชีวิตไปสู่ระดับการดำรงอยู่ที่ลึกซึ้งลงไปอีก เราสามารถสัมผัสพลังที่แฝงในตัวเราได้ในความคิดและอารมณ์ของเราเอง และเรียนรู้สัมผัสพลังรอบๆตัวเราผ่านการรับรู้ทางผัสสะ (การเห็น การได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รส และสัมผัสทางกาย)
 
พลังที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกตัวเรานี้ เป็นสิ่งที่สามารถรับรู้และเข้าถึงได้ทุกเวลา การที่จะทำงานกับพลังเหล่านี้ เราต้องพัฒนาการตื่นรู้เท่าทัน และความใส่ใจต่อปัจจุบันขณะโดยการสังเกตเรียนรู้ปัจจุบันขณะอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นพื้นพรมแดนแห่งอารมณ์ภายในตัวเรา หรือการรับรู้ผู้อื่น เราสามารถฝึกตัวเองได้ การฝึกสติและการรับรู้ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญนั้นทำได้โดยการนั่งภาวนาซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยให้จิตตั้งมั่น ทำให้ใจมีความกระจ่างชัดและเข้มแข็ง ทั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถทำงานด้านในและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกได้ดีขึ้น แต่ถ้าเราไม่สามารถรับรู้พลังเหล่านี้ได้ มันก็อาจมาควบคุมกำหนดชีวิตเราได้ แต่ถ้าเราเท่าทันมัน เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น


                                             พลังทั้งห้าได้แก่

 
ความเป็นพื้นที่ว่าง

ภาวะปกติ: ความสงบ สุขุมรอบคอบ คบหาง่าย เปิดรับ เรียบง่าย เป็นมิตร พอใจในการดำรงอยู่อย่างธรรมดา

ภาวะสับสน: ซบเซา ขี้เกียจ ความหนืดไม่เคลื่อนไหวหรือกระตือรือร้น ขาดอารมณ์ขัน ดื้อรั้น รับรู้ความรู้สึกช้า ชอบปฏิเสธ
ทั่วไป: พลังนี้เกี่ยวข้องกับพื้นที่กว้าง ผัสสะรับรู้ต่างๆ สีขาว
 
ความกระจ่างชัด

ภาวะปกติ: จิตใจผ่องใส ความคิดอ่านฉับไว คมชัดแม่นยำ ปราศจากอคติ เต็มไปด้วยคุณธรรม

ภาวะสับสน: คิดวิเคราะห์มากเกินเหตุ ช่างติ ถือว่าตัวถูกและถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ใช้อำนาจ เรียกร้องให้สมบูรณ์ มีโทสะ
ทั่วไป: ธาตุน้ำ การมองเห็น สีน้ำเงิน
 
ความมั่งคั่ง

ภาวะปกติ: มีความพอพึงใจอย่างลุ่มลึก รู้สึกรุ่มรวย ขยายตัว เต็มไปด้วยศักยภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง มีท่าทีที่ชื่นชม

ภาวะสับสน: ถือตัวเองว่าสำคัญ เย่อหยิ่ง โอ้อวดเอาหน้า กดขี่ โลภ ตามใจตัวเอง มีความต้องการทางอารมณ์สูง ปรารถนาที่จะครอบครอง
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุดิน สัมผัสของกลิ่นและรส สีเหลือง
 
อารมณ์

ภาวะปกติ: หมายมั่นสัมพันธ์ แผ่กระจายความอบอุ่น ดึงดูด มีเสน่ห์ รับฟังอย่างลึกซึ้ง พูดออกมาจากใจ มีความสามารถในญาณทัศนะ สังเกตหรือมองเห็นสิ่งที่เล็กน้อยได้ sensual

ภาวะสับสน: รู้สึกไม่มั่นคง แสวงหาการได้รับการยืนยัน เจ้าราคะ ยึดติดในการฉวยยึด แสวงหาความพึงพอใจ จัดการครอบงำควบคุมผู้อื่น เจ้าอารมณ์จนเกินเลย
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุไฟ ผัสสะด้านการฟัง สีแดง
 
กระทำการ

ภาวะปกติ: มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นนักปฏิบัติ เต็มได้ด้วยพลังบวก มั่นใจในความสามารถ กระทำการได้เหมาะสมกับเวลา หลอมรวมเชื่อมประสานกับโลกได้ดี

ภาวะสับสน: ไม่สงบ รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง ทำอะไรเร็ว ควบคุม ครอบครอง หิวกระหายในอำนาจ ต้องการแข็งขัน กลัวความล้มเหลว วิตกกังวล อิจฉาริษยา
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุอากาศ ผัสสะของความรู้สึกทางกาย สีเขียว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2553 10:37:56 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เน้นข้อความค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 18:15:43 »






มันดาลา บวกและลบ

ตรงนี้ก็เป็นหยินและหยางหรือไม่ เมื่อรัตนาเป็นลบ มันคือความต้องการ ความปรารถนาจะมีจะได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภพภูมิของมันเมื่อเป็นลบคือเปรต ปากเล็กท้องโต คือจะต้องการ จะปรารถนาอยู่ตลอดเวลา แต่ในความเป็นบวกของมันก็คือ ความรู้สึกมั่งคั่งพรั่งพร้อม แม้ในสิ่งที่มีอยู่ธรรมดา เช่น เพียงได้ดื่มน้ำเปล่า หรือแม้แต่การได้สูดลมหายใจอันบริสุทธิ์สดชื่น ๆ ธรรมดา ๆ นี่เอง พลังบริสุทธิ์ของมันคืออุเบกขา
 
ส่วนวชิระ หรือวัชรานั้นตีความเป็นคำ ๆ เดียวว่า “ความคิด” รวมความทั้งคิดแบบหมีและอินทรีเอาไว้ ความเป็นบวกของมันก็คือปัญญาแห่งการเป็นกระจกใส สะท้อนความเป็นจริง ความเป็นลบของมันก็คือความแข็งตัวของกรอบคิด ความไม่ยืดหยุ่น ก็คือติดลบของหมี อนุรักษ์นิยม และไม่ยืดหยุ่น ร่างกายของคนที่มีกรอบคิดตายตัวพวกนี้ ไหล่หลังก็จะแข็งทื่อไปด้วย พลังบริสุทธิ์ของมันคือปัญญา
 
ปัทมะ ปัทมาคืออารมณ์ความรู้สึก คือความสัมพันธ์ คือความอ่อนหวานที่ทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่น ความเป็นลบของมันคือความเจ้าอารมณ์ และความไม่คงเส้นคงวา ความปรารถนาในความตื่นเต้นและความเข้มข้นทางอารมณ์อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน แม้ว่า อารมณ์นั้นจะเป็นความเจ็บปวด ก็ยังดีกว่า ไม่มีอารมณ์อันใดเลย เวลาอยู่ในโหมดปกป้อง ปัทมะจะพยายามเอาใจผู้คน ปัทมะต้องการความรัก อย่างไม่มีจบสิ้นเมื่อมันอยู่ในแดนลบ แต่จะให้ความรักได้อย่างใจกว้าง เมื่อมันอยู่แดนบวก พลังบริสุทธิ์ของมันคือกรุณานั่นเอง
 
แล้วกรรมะเล่าเป็นเช่นไร ด้านบวกของมันก็คือทุกสิ่งเป็นไปได้ ทำให้เกิดขึ้นได้ ทำงานกับมันได้ ไม่ทึบตัน แบบเจาะเข้าไปทำอะไรไม่ได้เลย เวลาเข้าแดนลบ มันไปในทางต้องการจะควบคุม เวลาอยู่ในโหมดปกป้อง ความต้องการควบคุมนี้จะเด่นดวงขึ้นมา เวลาเป็นบวก มันคือการจัดทำจัดสรร ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการได้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ โลกเต็มไปด้วย ความสร้างสรรค์ของพลังแห่งกรรมะ หรือพลังแห่งการก่อเกิด ในด้านลบอีกด้าน ก็คือ มันจะทำโน่นทำนี่ไม่รู้จักหยุดหย่อน ปราศจากสมดุลความพอดี มันจะไปอยู่ในคลื่นสมองแบบเบต้าแก่ ๆ ซึ่งทำให้เป็นเทปม้วนเก่า อันปราศจากปัญญา ที่จะพิจารณาใคร่ครวญ จะขาดวัชระ และเมื่อมัน แก่ ๆ เช่นนี้ การรับฟังความอื่นก็น้อยลง หรือไม่มี ก็เป็นการขาดพุทธะ หรือ การให้พื้นที่แก่คนอื่น ๆ
 
สุดท้ายคือพุทธะจริต พื้นฐานและพลังบริสุทธิ์ของมันคือพื้นที่ หรือความว่าง คือเป็นพื้นที่ให้อะไรต่ออะไรเกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นบวกคือการเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่น เมื่อเป็นลบ คือความรู้สึกหดแคบลงของพื้นที่ แบบว่า “ไม่เอา ฉันไม่แคร์” คือฉันไม่แคร์และไม่เอาอะไรกับใครทั้งนั้น พื้นที่ หรือ ความว่าง อันนี้คือ ธรรมธาตุ คือตัวความรู้นั้นเอง ตรงกันข้ามของมันคือ “ไม่รู้” สับสน เวลาใครถามอะไร ด้านลบของพุทธะก็จะตอบว่า ไม่รู้ หรือไม่ก็สับสน เมื่อกลับมาสู่ความเป็นปกติ ก็จะเห็นความเป็นไปได้ของทุก ๆ สิ่ง เปิดพื้นที่ให้ และรอคอยได้อย่างเป็นอนันตกาล
 
นี้แลคือลบและบวกของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ทั้งหลาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2553 14:08:38 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 18:23:18 »



เทียบเคียงกับ Voice Dialogue


กระบวนการในวอยซ์ไดอะล็อค หนึ่ง น่าจะให้ความสำคัญกับตัวตนเล็ก ๆ ตัวตนย่อยทั้งหมดที่มี ว่าจะเก็บไพ่ที่ทิ้งไปให้ได้ครบสำรับอย่างไร เอาไพ่มาถือไว้ในมือ พร้อมจะใช้ได้ทุกใบ
 
วิถีแบบมันดาลา ก็คงไม่ได้ปฏิเสธ Totality หรือ ความเป็นทั้งหมด
 
และทั้งสองต่างก็ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของไพ่ใบต่าง ๆ มันดาลาอาจมีไพ่เพียงห้าใบ มั๊ง แต่ว่า แต่ละใบก็ยังแตกออกไปได้ในทางลบ และทางบวกอีกด้วย วอยซ์ไดอะล็อคมีไพ่ได้ไม่จำกัด เพราะไม่ได้ตั้งเอาไว้อย่างตายตัว ยังสำรวจตรวจตรา สืบค้นออกไปได้อีกเรื่อย ๆ กระมัง ที่สำคัญวอยซ์ไดอะล็อคให้ความสำคัญว่า ไพ่แต่ละใบจะมีไพ่ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เป็นหยินกับหยาง เป็นคู่ปรับสมดุลกัน เช่น pusher จะตรงกันข้ามกับ Being หรือแปลไทยก็ว่า คนที่ผลักดันตัวเอง และคนอื่น ๆ จะพยายามทำอะไรให้ได้มาก ๆ ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับคนที่ ไม่ขวนขวาย หากพอใจกับตัวเองแล้ว ก็จะมีคู่แบบนี้ไปในทุก ๆ ตัวตนย่อย ๆ หรืออวัยวะแห่งจิตต่าง ๆ นี้ ไม่รู้ว่าจะใช้คำว่า เจตสิกได้ไหม? เอ่ย?
 
Pusher ในมันดาลา อาจเป็น กรรมจริต โดยที่คนที่นิ่งและพอใจ อาจเป็นพุทธจริต นิ่งพอใจ เปิดพื้นที่ให้คนอื่น ในมันดาลา มันเป็นเรื่องสมดุลกระมัง คือกรรมะนั้นต้องการเข้าไปกระทำกับโลก และอยากให้โลกเป็นไปตามความคิดของเรา พุทธะ รู้และพอใจ จะกระทำบ้าง ตามจังหวะที่มันควรจะเป็น ด้วยความรู้ที่ตัวมีอยู่ และพื้นฐานก็ไม่ได้ต้องการผลักดันอะไรมากนัก
 
คือในมันดาลา ไดริน่า รอคเวล (Irina Rockwell) เขียนไว้ว่า สมดุลมันจะได้มาจาก การทำสมดุลของจริตต่าง ๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พลัง” ต่าง ๆ ในห้าพลังนั้น อาจมีตัวหลักตัวรอง เพราะฉะนั้น การเสริมกัน จึงเป็นไปได้








จากภาพ...

คือการสรรสร้าง Sand Mandala
ลวดลายอันสวยงามซึ่งใช้เวลานานนับเดือนในการสร้างสรรค์
แต่สุดท้ายจะถูกลบละลายหายไปกับสายลม
อันเป็นปริศนาธรรมอันล้ำลึกของชีวิต


คำว่า “แมนดาล่า” ในภาษาทิเบตคือ “kyil-khor”
มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลาง”
โดยทั่วไปแล้ว แมนดาล่าจะถูกแสดงไว้เป็นรูปแบบสองมิติ
ซึ่งโดยปกติก็จะทำจากกระดาษ สิ่งทอ และผงทรายย้อมสี
และโดยเฉพาะสำหรับแมนดาล่าทรายจะมีชื่อเรียกว่า
dul-tson-kyil-khor ในภาษาทิเบต ซึ่งแปลว่า “แมนดาล่าที่ทำจากผงสี”

แมนดาล่า คือการแสดงออกแห่งสภาวะของการรู้แจ้งอย่างถ่องแท้
และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ
แมนดาล่าแสดงให้เห็นวิมานสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้รู้แจ้งอย่างชัดเจน
และในกรณีนี้ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งความเมตตาอันเป็นสากล
ที่รู้จักกันในนามว่า “เชนรีซิก” ในภาษาทิเบต
พระอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต และกวนอิมในภาษาจีน
(สำหรับประเทศไทย ก็จะเป็นพระไภษัชยคุรุ)
อย่างไรก็ตาม ในระดับที่เป็นนัยขึ้นไปอีก แมนดาล่าจะเป็นสัญลักษณ์
ของสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งจิตใจเรา
ซึ่งสมมติไว้ในรูปแบบของวิมานสวรรค์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์
โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะในเนื้อแท้ของเรา



 ยิ้ม    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nayrotsung&month=10-03-2010&group=4&gblog=20
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 สิงหาคม 2553 14:48:34 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 18:40:58 »




ระดับความเข้าใจและประสบการณ์
 
เมื่อเราเริ่มรับรู้เท่าทันพลังเหล่านี้ เราจะเห็นรูปแบบพฤติกรรม อารมณ์ ความคิดความรู้สึกของเราที่ตอบสนองต่อพลังเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างในพลัง ๕ อย่างนี้ การเท่าทันทันนี้จะเป็นพื้นฐานในการฝึกปฏิบัติที่จะพัฒนาการดำรงอยู่ร่วมกับผู้อื่น กับปรากฏการณ์ของโลก และกับตัวเราเอง มันไม่ใช่ว่าเราต้องมานั่งกรองหาพลังเหล่านี้ทุกวี่ทุกวัน อย่างไรก็ตาม เราจะเจอว่าในบางสถานการณ์ หากเราสามารถเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของพลังเหล่านี้ได้ เราจะสามารถทำงานกับพลังเหล่านี้ได้อย่างสอดคล้อง
 
เราสามารถฝึกฝนตัวเองให้สามารถเป็นเครื่องตรวจวัดภาวะทางกายภาพและจิตใจได้อย่างละเอียดประณีต เราสามารถตรวจจับรับรู้ระดับพลังเหล่านี้ได้ในผู้คนในสถานการณ์ต่างๆได้ เมื่อเราเข้าใจถึงสภาวะแห่งพลังภายในตัวเอง เราก็จะสามารถเรียนรู้ที่จะชื่นชมยินดีกับธรรมชาติภายในทั้งของเราเองและผู้อื่น เราสามารถใช้พลังเหล่านี้พัฒนาการรู้เท่าทันตัวเอง การสื่อสารและการแสดงออกที่สร้างสรรค์ในสถานการณ์ต่างๆ การฝึกฝนในการทำงานกับพลังต่างๆนั้นมีหลายวิถีทาง การรับรู้เท่าทันพลังคือก้าวแรก
 
ในการฝึกปฏิบัติที่เข้มข้นลงไปนั้น เป็นการฝึกกับสิ่งแวดล้อมของสีต่างๆอย่างจำเพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นการฝึกในห้องที่ออกแบบมาให้มีสีใดสีหนึ่งเป็นการเฉพาะ หรือใช้แว่นตาที่มีสี จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดคุณภาพทางจิตตามแบบแผนของพลังใดพลังหนึ่งได้โดยตรงอย่างฉับพลัน แต่ละห้องจะมีลักษณะคล้ายกล่อง ทาสีตามพลังแบบใดแบบหนึ่ง เป็นห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาวด้านละ ๗ ฟุต ฝาผนังทาสีทั่ว และใช้หน้าต่างมีสีตามสีของห้อง และมีรูปเฉพาะไม่เหมือนกัน เพื่อให้ทำให้เกิดแสงสีนั้นๆ ห้องของพื้นที่ว่างจะเงียบสงบ มีแสงแบบอินไดเร็กจากด้านบนเหนือศีรษะ ห้องความกระจ่างชัดมีสีน้ำเงินเข้ม มีหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางแนวนอน ห้องแห่งความมั่งคั่งมีสีเหลือง หน้าต่างเป็นรูปวงกลมใหญ่ ห้องแห่งอารมณ์มีสีแดง หน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ห้องแห่งการกระทำเป็นสีเขียวสด มีหน้าต่างรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสติดด้านบนเพดาน ด้วยองค์ประกอบของพื้นที่ สีและการจัดวางท่าเหล่านี้ จะทำให้คุณลักษณะแห่งพลังชนิดต่างๆจะเกิดขึ้นอย่างเข้มข้น เราอาจรู้สึกว่าห้องเหมือนคุกหรือไม่ก็เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ การนำตัวเราเข้าไปอยู่ในห้องเหล่านี้พร้อมกับการกำหนดอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นกระบวนการทำงานเพื่อเรียนรู้และผ่านพ้นจุดติดขัดภายใน และเพื่อค้นพบปัญญาที่ดำรงอยู่ในตัวเรา
 
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า แต่ละคนจะมีความสามารถ ความถนัดเฉพาะด้านและความต้องการต่างกัน ฉะนั้นแต่ละคนก็มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง หลายคนสามารถค้นพบปัญญาทั้ง ๕ ที่นำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีในวิถีชีวิตและในหน้าที่การงานของตนได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่หลายๆคนไม่สามารถซึมซับปัญญาทั้ง ๕ ได้ดีนัก เวลาที่ผมทำงานกับผู้คน ผมพบว่าระยะเวลาหรือความเข้มข้นในการปฏิบัติของแต่ละคนไม่ได้เป็นปัจจัยที่จำเป็นนัก แต่ขึ้นอยู่กับความชอบและความเหมาะสมของแต่ละคนมากกว่า
 
การประยุกต์ใช้
 
การประยุกต์ใช้ปัญญาทั้ง ๕ นั้นมีไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในชีวิตส่วนตัวหรือหน้าที่การงาน เพราะสามารถปรับประยุกต์ให้เข้ากับเงื่อนไขความจำเป็นและความสนใจของแต่ละสาขาวิชาชีพและการเติบโตภายในของปัจเจกบุคคล ในเมื่อแต่ละสาขาอาชีพมีวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมจำเพาะ ก็ย่อมต้องการชุดภาษาที่จำเพาะ รวมทั้งรูปแบบและกระบวนวิธีที่ต่างกันออกไป ในช่วงระยะเวลา ๒๕ ปีที่ผ่านมา ผมทำงานในเงื่อนไขต่างๆ และได้ออกแบบแนวปฏิบัติและวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของแต่ละกลุ่ม ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ (เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด อเมริกา) ผมสอนและทำงานกับแนวทางปัญญา ๕ ที่มีหลักสูตรเต็มรูปแบบ ที่เปิดสอนในภาควิชาจิตวิทยา การศึกษา ศิลปศึกษา และศาสนศึกษาที่สถาบันการพัฒนาโรงเรียนแห่งชาติ (ในประเทศเนเธอแลนด์) ผมทำงานกับผู้ฝึกอบรมให้กับครูที่ออกไปทำงานอบรมให้กับครูผู้สอนตามโรงเรียนต่างๆ พวกเขากำลังพัฒนาโรงเรียนต้นแบบในระดับประถมและมัธยมอยู่ พวกเรากำลังอยู่ในกระบวนการสนทนาเพื่อหาวิธีนำเอาคุณลักษณะเหล่านี้ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ของโรงเรียน โครงการฝึกอบรมก็มีความยาวตั้งแต่ ๔ ชั่วโมง ไปจนถึง ๓ ปี โดยจัดให้กับผู้สนใจกลุ่มต่างๆได้แก่ นักการศึกษา ผู้นำองค์กร บุคลากรด้านสุขภาพ ศิลปิน
 
การให้ความรู้เบื้องต้นให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่แตกต่างกันตามแต่เงื่อนไขความต้องการในแต่ละอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น บุคลากรที่ทำงานด้านสุขภาพจิตจะลองปฏิบัติโดยใช้ระยะเวลายาวหน่อย เพื่อให้เข้าถึงสภาวะจิตหนึ่งที่ชัดเจนถึงขึ้นสุดขั้ว เพื่อจะสามารถเข้าใจสภาพจิตใจของผู้ป่วยของตน พวกเขาจะเน้นไปที่การสำรวจศึกษาอาณาบริเวณแห่งจิตภายใน และรับรู้ถึงประสบการณ์ของกระบวนการแปรเปลี่ยนของพลังเหล่านี้อย่างลึกซึ้ง ผมยังรู้สึกอัศจรรย์ใจทุกครั้งที่บางคนที่ไม่เคยมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านนี้มาก่อนเลย สามารถบรรยายประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเองในช่วงปฏิบัติได้อย่างละเอียดราวกับจะเขียนตำราได้เป็นเล่ม แม้ใช้เวลาปฏิบัติเพียงยี่สิบนาทีก็ตาม เมื่อผู้ปฏิบัติเข้าสู่ภาวะจิตภายในของตนอย่างลึกซึ้งฉับพลัน พวกเขาก็จะเข้าใจและมีความพร้อมที่จะรับรู้สภาวะจิตใจที่สุดขั้วของผู้ป่วยของตนเองได้ดีขึ้น
 
อย่างไรก็ตาม พวกที่สนใจในกระบวนการสร้างสรรค์มากกว่า ก็จะไม่ค่อยสนใจที่จะสำรวจตรวจตรามิติทางจิตวิทยาที่ลึกลงไป แต่ต้องการที่จะเล่นและเรียนรู้กับพลังต่างๆ ผ่านการทำงานด้านศิลปะของตนเองมากกว่า การฝึกผัสสะด้านต่าง ผ่านการแสดงออกทางศิลป์ เช่น การใช้สี การเต้น การออกเสียง และดนตรี เป็นวิธีการเข้าถึงพลังต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในงานศิลปะนั้น พลังเหล่านี้ดำรงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำงานเชิงสร้างสรรค์ ดังที่การแสดงออกด้วยอวจนะภาษานั้นเสียงดังกว่าถ้อยคำที่พูดออกมา ผู้ปฏิบัติหลายคนได้ประสบกับจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ คือการเปลี่ยนการรับและความเข้าใจเกี่ยวกับตนเองและโลกอย่างสำคัญ
 
ในขณะที่เป้าหมายหลักคือการนำเสนอชุดภาษาที่เรียบง่ายแก่การช่วยให้เกิดการรู้เท่าทันตนเอง การสื่อสารและการร่วมมือนั้นสามารถทำให้สั้นและกระชับได้ ผมได้พัฒนาแนวทางการฝึกปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้นซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและนำเอาหลักการของปัญญาทั้ง ๕ ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น ผมจะอธิบายถึงปัญญาทั้ง ๕ อย่างคร่าวๆ และให้ผู้ฝึกน้อมจิตไปพิจารณาดูว่าพลังเหล่านี้เกิดขึ้นหรือดำรงอยู่ในชีวิตตนอย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่บ้าง แล้วให้พิจารณาต่อไปว่ามีพลังอะไรดำรงอยู่ในชีวิตตัวเองอย่างเด่นชัด แล้วแยกเป็นกลุ่มย่อยตามแบบของพลังต่างๆเพื่อซักถามแลกเปลี่ยนในหมู่เพื่อนว่า “ทำไมเธอถึงอยู่กลุ่มนี้?” พวกเขาสามารถเลือกเข้ากลุ่มอื่นเพื่อสำรวจดูว่าพลังแบบไหนช่วยส่งเสริมสงเคราะห์ชีวิตตน หรือพลังอะไรที่ทำให้รู้สึกไม่ใช่ หรือพลังอะไรในคนอื่นที่ดึงดูดหรือมีเสน่ห์กับเรา แล้วผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเริ่มทำงานอย่างสัมพันธ์กับผู้อื่นจากการสังเกตการเลือกเข้ากลุ่มพลังของเพื่อนๆ
 
พลังเบญจคุณในระบบการศึกษา
 
วิถีทางแห่งการรับรู้ทั้ง ๕

ในบริบทของปรัชญาการศึกษาอย่างมีจิตวิญญาณ ปัญญาทั้ง ๕ หมายถึงคุณลักษณะ ๕ ประการที่มีในผู้ที่ได้รับการฝึกฝนหรือผู้ที่การศึกษา ดังที่ปีเตอร์ เฮิร์ส อธิการบดีฝ่ายวิชาการของมหาวิทยาลัยนาโรปะ ได้กล่าวไว้ว่า “หลักการของปัญญาทั้ง ๕ มาจากพุทธศาสนานิกายวัชรญาณ ซึ่งสะท้อนถึงคุณลักษณะ ๕ ประการของจิตที่ตื่นแล้ว และเป็นวิถีทางทั้ง ๕ วิธีในการปลุกจิตให้ตื่น...เราพยายามสร้างให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาในปัญญาทั้ง ๕ “(เฮิร์ส 1987) ในการเน้นพัฒนาคุณลักษณะทั้ง ๕ นี้ช่วยเอื้อให้เกิดสมดุลระหว่างการมีความเชี่ยวชาญตามสาขาวิชาเฉพาะด้านและเสริมสร้างภาวะความเติบโตภายใน จากมุมมองของปรัชญาการศึกษาเชิงจิตวิญญาณ คุณลักษณะทั้ง ๕ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของบุคคลที่ถือว่ามีความรู้แล้วอย่างสมบูรณ์ เราสามารถมองว่าทั้งห้าเป็นวิถีการเรียนรู้ห้าประการ
 
นอกจากนี้ พันธกิจทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยนาโรปะได้ระบุไว้ว่า “เราเชื่อว่าคุณลักษณ์เหล่านี้จะช่วยเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้ดีที่สุด ความยากลำบากในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันนั้นเกิดจากเครื่องกีดขวางทางจิตวิทยาเสียเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะเป็นความไม่สมดุลทางอารมณ์ ความสับสน ความไม่สามารถในการสื่อสารกับผู้อื่น การขาดความชัดเจนในความคิด และความเข้าในชีวิตที่คับแคบ หากเมื่อบุคคลเริ่มเข้าใจและสามารถจัดการกับเครื่องกีดขวางเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วแล้วละก็ หนทางแห่งความสำเร็จ สัมฤทธิ์ผล และความพึงพอใจทั้งในชีวิตและในหน้าที่การงานก็จะเริ่มเปิดออก”
 
เราให้การศึกษาแก่นักศึกษาในฐานะมนุษย์ โดยเราให้ความสนใจใคร่รู้ในการเดินทางชีวิตของนักศึกษาแต่ละคนอย่างแท้จริง เราให้ความสนใจกับชีวิตของนักศึกษาในฐานะมนุษย์มากพอกับระดับการเรียนของเขา การที่เรามีศรัทธาในความดีพื้นฐานภายในของมนุษย์เอื้อให้เกิดบรรยากาศของกัลยาณมิตร อันเป็นฐานในการพัฒนาความไว้วางใจในหมู่นักศึกษาเอง ดังนั้น จุดเน้นจึงอยู่ที่การให้ความสำคัญกับตัวกระบวนการเรียนรู้พอๆกับเนื้อหา นั่นหมายถึง การให้คุณค่าต่อ ความเป็นมนุษย์ มากพอๆกับ การกระทำ หรือการน้อมนำเอาปัญญาเข้าสู่การดำรงชีวิต มากพอๆกับ การสั่งสมเก็บเกี่ยวความรู้
 
คุณลักษณ์ทั้ง ๕ นี้สามารถพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา รูปแบบการสื่อสารของครู การพัฒนาหลักสูตร การประเมินผล และการให้คำแนะนำทางการศึกษาให้กับนักศึกษา ทั้งนี้ เราถือว่าคุณลักษณ์แต่ละอย่างเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นต่อกระบวนการศึกษาเรียนรู้ และเป็นพื้นฐานสำคัญของการเติบโตเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อความเข้าใจและความริเริ่มสร้างสรรค์ตลอดชีวิต
 
จากจุดยืนของการศึกษาอย่างมีจิตวิญญาณนั้น เบญจคุณ เป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของผู้มีการศึกษา ปรับประยุกต์มาจากเอกสารอธิบายมหาวิทยาลัยนาโรปะ ในการทำความเข้าใจอย่างมีโยนิโสมนัสิการกับเบญจคุณเหล่านี้ เราจะค้นพบปัญญาทั้ง ๕ ในตัวเรา
 
1. พื้นที่เปิดกว้าง = ความเปิดกว้าง และความเคารพในประสบการณ์ตรงภายในตน

คุณลักษณะนี้ช่วยบ่มเพาะให้เกิดการรับรู้เท่าทันในปัจจุบันขณะ การดำรงอยู่กับที่นี่และเดี๋ยวนี้ การดำรงอยู่ที่ฉับพลันเป็นธรรมชาติ มันจะช่วยให้เรารับรู้ประสบการณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะอย่างตรงไปตรงมา ไม่ว่าจะเป็นความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความปั่นป่วนสับสน ทั้งภายในตัวเราเองและในสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาให้เราสามารถรับรู้กับประสบการตรงเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง ไม่บิดเบือน และสร้างสัมพันธ์ที่เปิดกว้างกับประสบการณ์เหล่านี้ นี่เป็นการฝึกใส่ใจกับวันเวลาของการดำรงชีวิตตลอด ๒๔ ชั่วโมง แม้แต่ในความฝัน ในการดำรงชีวิตด้วยสติปัญญาและความมั่นใจนั้น เราจะต้องวางรากฐานของการรู้เท่าทันและความสนใจใคร่รู้ที่ว่านี้ให้ต่อเนื่องและเข้มแข็ง
 
เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของการศึกษาแนวจิตวิญญาณคือการเน้นความสำคัญของคุณลักษณะประการแรกนี้ คือการเปิดออกและพื้นที่กว้าง เป็นคุณสมบัติที่สถาบันการศึกษาโดยมากอ้างว่าให้ความสำคัญ และเป็นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาคุณลักษณ์อื่นๆตามมา เพื่อจะสัมผัสคุณลักษณ์นี้ได้โดยการปฏิบัติสมาธิภาวนาในรูปแบบต่างๆ
 
การฝึกสมาธิเป็นหัวใจสำคัญของการบ่มเพาะเบญจคุณ
 
การฝึกนั่งสมาธิเป็นการฝึกจิต จะช่วยให้เราเห็นว่าจิตของเราทำงานอย่างไร เรามองหรือมีทัศนะเกี่ยวกับผู้คน โลก รวมทั้งตัวเราเองอย่างไร โดยเริ่มจากการฝึกสติ เพื่อรับรู้ความเป็นไปในปัจจุบันขณะ เราสามารถพัฒนาจิตให้มั่นคงและสงบได้โดยการผ่อนพักจิตและทำจิตให้เชื่อง นี่จะช่วยให้เราสามารถสัมผัสได้ถึงความเปิดกว้าง และช่วยให้เรามีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้น แล้วเราก็จะค้นพบว่าจริงๆแล้ว ความเปิดกว้างนี้มีอยู่ในตัวเราอย่างเป็นธรรมชาติ เราจะรู้สึกถึงความเหมาะเจาะลงตัว เข้มแข็งและพอใจลึกๆ เป็นการค้นพบสมบัติอันล้ำค่าที่สุดภายใน เราจะต้องบ่มเพาะให้เกิดความเข้มแข็งแห่งจิตนี้ขึ้น เพื่อว่าความคิดและอารมณ์ทั้งหลายจะได้ไม่สามารถทำให้เราหวั่นไหวสั่นคลอน
 
หลังจากนั้น ก็มุ่งไปที่การรับรู้เท่าทันเชิงกว้าง เป็นการขยายผลแห่งการฝึกสติออกไปรับรู้ความเป็นไปของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราอย่างคมชัดแม่นยำ ซึ่งจะช่วยให้การรับรู้โลกของเรามีความละเอียดประณีตยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนกับสายรับสัญญาณวิทยุที่สามารถรับคลื่นเสียงได้คมชัด เราจะมองเห็น ได้ยินเสียง และรู้สึกกับโลกได้ตรงตามเป็นจริงยิ่งขึ้น สามารถแยกแยะปรากฏการณ์ต่างๆได้ ประสบการณ์ที่เราประสบทั้งหลายจะค่อยๆหลอมความเป็นตัวเราอย่างช้าๆ เราสามารถมีอุเบกขาธรรมได้มากขึ้น ชีวิตและหน้าที่การงานของเราก็เป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
 
การฝึกสมาธินั้นมีอยู่หลายวิธี วิธีที่เรียบง่ายขั้นพื้นฐานที่สุดคือการนั่งสมาธิ และความเรียบง่ายนี้เองเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด เพียงแค่จัดวางร่างกายให้อยู่ในท่านั่ง และรับรู้การหายใจเข้าออก ปล่อยให้ความคิดทั้งหลายมลายหายไปกับลมหายใจ เพียงเท่านี้ ก็อาจทำให้รู้สึกว่าช่างน่าเบื่อและทำให้หงุดหงิดขึ้นมาอย่างแรงได้ และมักทนกันไม่ได้ทุกคน เป็นการเดินทางด้านในที่ค่อนข้างจะลำบาก ส่วนวิธีอื่นที่กระทำได้คือการเดินภาวนา หรือ การท่องมนต์คาถาบางบท หรือการเพ่งให้เห็นเป็นนิมิตบางอย่าง หลายๆคนฝึกศิลปะแห่งการเคลื่อนไหวตามแบบแผนโบราณ เช่น ไทชิ หรือ โยคะ เป็นต้น บางครั้ง กิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ยากเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่ามีอะไรให้ทำ ซึ่งก็ทำให้จิตสงบได้
 
อานุภาพของการฝึกสมาธิคือ การช่วยฝึกกาย วาจา ใจของเราให้เป็นหนึ่ง ในความเคลื่อนไหว เรารับรู้และหลอมรวมความเป็นไปของร่างกาย เราใส่ใจกับการพูดโดยการรับรู้ลมหายใจ เพื่อเชื่อมความคิดและอารมณ์ความรู้สึก เพื่อให้การแสดงออกนั้นมาจากสติปัญญามากกว่าความสับสนภายในของเรา การฝึกสมาธิจะช่วยขัดเกลาและตระเตรียมความคิดอ่านให้แหลมคม เพื่อนำไปใช้ในการคิดค้นและเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะต่างๆของเรา นอกจากนี้การเชื่อมหลอมกาย วาจา ใจที่ว่านี้ จะช่วยให้เราดำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม
 
การทำสมาธิทำให้เราพิจารณาตัวเองให้เป็นวิชาในการศึกษา ให้เวลาในการอยู่กับตัวเอง เพื่อทำการศึกษาและเข้าใจตัวเองด้วยอาการที่เรียบง่าย และช่วยทำให้เราแปรเปลี่ยน เพราะคำพูดคำสอนทั้งหลายในโลกมีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างเป็นรากฐานเพียงน้อยนิด ด้วยการแปรเปลี่ยนภายในที่แท้จริงนั้นเกิดจากการปฏิบัติ และการดำรงอยู่ หากเราสร้างมุ่งมั่นในการทำงานฝึกฝนตัวเองอย่างจริงจังแล้ว เราก็จะค้นพบวิถีทางเฉพาะตนในการเติบโตไปควบคู่กับการพัฒนาทางวิชาการเฉพาะด้านต่างๆ เป็นการให้การศึกษาแก่ตนเองใหม่เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างพลังชีวิตและความรู้สึกมั่นใจด้วย
 
การเรียนสมาธิภาวนาตัวต่อตัวกับผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในการปฏิบัติยิ่งขึ้น แต่ที่ว่านักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานหรืออาจารย์ผู้สอนจะกลายเป็นนักปฏิบัติภาวนาตัวยงหรือไม่นั้น ไม่สำคัญเท่าการสร้างบรรยากาศของกัลยาณมิตรที่มีความเอื้ออาทรอย่างแท้จริง ในฐานะที่เป็นผู้สอนการทำสมาธิภาวนา ผมเคยเจอนักศึกษาหลายคนที่สนใจในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแนวลึก แต่ไม่เคยสนใจที่จะปฏิบัติสมาธิ ซึ่งถือว่าไม่เป็นไร เพราะผมก็จะหาหนทางอื่นๆในการช่วยให้นักศึกษาเหล่านี้ได้ทำงานด้านในกับร่างกายและจิตใจของตนเอง
 
จะขออ้างคำกล่าวของ ริชาร์ด บราวน์ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชาการศึกษาด้านลึก แผนกปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ เขากล่าวว่า “การฝึกสมาธิมีผลต่อการเรียนรู้และความรู้ที่เราได้รับอย่างลึกซึ้ง การเรียนรู้ผ่านการภาวนานี้มีลักษณะเป็นองค์รวม และช่วยให้เรารับรู้ประสบการณ์ตรงได้อย่างรอบด้านหลายมิติ เข้าไปรับรู้อย่างข้ามเขตแดนขององค์ความรู้แขนงต่างๆอย่างเชื่อมโยง และเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตัวเราในฐานะผู้เรียนและความรู้ที่เราเรียนอย่างเป็นองค์รวม คุณลักษณะเชิงจิตวิญญาณที่ข้ามพ้นขอบเขตจำกัดดังกล่าวแฝงอยู่ภายใต้พรมแดนแห่งความรู้ทั้งในมิติที่ลึกซึ้งและมิติที่กว้างใหญ่ไพศาล เนื่องจากธรรมชาติของความเชื่อมโยงขึ้นต่อกันระหว่างตัวผู้รับรู้กับสิ่งที่ถูกรับรู้ (ผู้รู้กับความรู้) หากผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้อันศักดิ์สิทธิ์นี้โดยตรง ก็จะช่วยให้ผู้เรียนดำรงอยู่กับโลกนี้ได้อย่างมีศิลปะ มีเมตตาและดูแลโลกได้อย่างเต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น”

(บราวน์ 1996)



บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 18:59:02 »




พลวัตแห่งความว่าง : ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี
 
(Five Buddha Families, Five Wisdom Energies)

 
สองแบบฝึกหัดข้างต้น ถือเป็นบทนำที่ทำให้เราเข้าไปรู้จักกับพื้นที่ว่างแห่งประสบการณ์ชีวิตที่แท้ เป็นความจริงที่ว่าหากปราศจากความว่างภายในอันไพศาลเสียแล้ว เราก็ไม่สามารถสัมผัสรับรู้อะไรได้มากนัก อย่างเวลาที่เราเอาแต่คิดฟุ้งซ่าน ร่างกายเต็มไปด้วยความเครียด จะมองอะไรก็คงไม่สวย จะให้กินอะไรก็คงไม่อร่อย กายที่ผ่อนพักและจิตที่ว่างจะยอมให้ทุกประสบการณ์ชีวิตผุดบังเกิดขึ้น ไหลเลื่อน เคลื่อนไหว ในรูปแบบที่หลากหลาย ก่อเกิดเป็นพลังแห่งการเรียนรู้ที่มีค่าในทุกขณะ

ในพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่า ความว่างหรือสุญญตา หาใช่ความสูญเปล่าที่แห้งแล้ง ความว่างภายในอันถือเป็นพื้นฐานของการเดินทางทางจิตวิญญาณแท้จริงประกอบไปด้วยพลังแห่งการตื่นรู้ภายในอันเป็นพลวัต โดยหากจะจำแนกคุณลักษณะของพลังแห่งการตื่นรู้ที่ว่านั้น ก็จะสามารถแยกออกได้เป็นห้ารูปแบบด้วยกัน
 
๑) พลังวัชระ (พลังปัญญาสีน้ำเงิน)

วัชระนั้นเป็นอาวุธที่แข็งยิ่งกว่าเพชร เป็นที่รู้กันดีว่าไม่มีสิ่งใดที่จะสามารถทำลายวัชระได้ เอกลักษณ์ของพลังวัชระ คือ ความแกร่งที่สามารถตัดสิ่งต่างๆได้อย่างเฉียบคม พลังการตื่นรู้แบบวัชระเป็นพลังแห่งความเฉียบขาด ทิ่มแทงอย่างตรงจุด ตัดในส่วนที่เกินความจำเป็นได้อย่างหมดจด อีกทั้งยังสามารถตระหนักรู้ถึงความเป็นไปรอบด้านอย่างแจ่มชัดอีกด้วย

พลังวัชระแสดงถึงความสามารถในการคิดวินิจฉัยใคร่ครวญได้อย่างลึกซึ้ง มีความหลักแหลมเฉียบคมทางปัญญา ตัดสินใจเรื่องราวต่างๆได้อย่างรอบคอบถี่ถ้วน วิเคราะห์เหตุปัจจัย ผลลัพธ์ความเป็นไปได้อย่างตรงจุด

แต่ในทางกลับกัน หากพลังวัชระตั้งอยู่โดยปราศจากความว่าง ข้อจำกัดแห่งตัวตนก็จะพลิกผันคุณสมบัติด้านบวกไปสู่ความบ้าคลั่งในแบบวัชระ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความโกรธ และการตัดสินผู้อื่นอย่างเสียๆหายๆ ความแหลมคมในการวิเคราะห์วินิจฉัยก็จะกลับกลายเป็นความยึดมั่นในหลักการของตน กลายเป็นความหยาบกระด้างและแข็งทื่อ อย่างที่ไม่ยอมเปิดรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ส่วนความโกรธในแบบวัชระนั้น เปรียบได้กับน้ำแข็งที่เย็นจนบาดเข้าไปถึงเนื้อ เป็นความแหลมคมที่ไปทิ่มแทงผู้อื่นอย่างเย็นชา

วัชระสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุน้ำ น้ำที่ใสและนิ่งแสดงถึงธรรมชาติของความชัดเจน แน่วแน่ สะท้อนสรรพสิ่งตามที่เป็นจริงได้อย่างชัดเจน แต่น้ำที่ขุ่นและปั่นป่วน ก็แสดงถึงกลไกปกป้องตนเอง การเอาแต่ตนเองเป็นที่ตั้ง และความขุ่นมัวเย็นชา
 
๒) พลังรัตนะ (พลังปัญญาสีเหลือง)

คุณสมบัติของพลังรัตนะ คือ ความโอบอุ้ม ดูแล เผื่อแผ่ และหล่อเลี้ยง มีความสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุดิน เป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์และความงอกงาม พลังรัตนะจะมีคุณลักษณะของความอ่อนโยน และการให้อย่างไม่มีข้อแม้ จิตรัตนะจะคิดถึงแต่ผู้อื่นและหมั่นหล่อเลี้ยงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีกับคนรอบข้างอยู่เสมอ ความกว้างในแบบรัตนะจะให้ความรู้สึกของการโอบอุ้มและความอบอุ่นราวกับอ้อมแขนของแม่ ปัญญาแห่งรัตนะแสดงถึงความรุ่มรวยที่ออกมาจากความเต็มเปี่ยมภายใน ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจแห่งการให้ และการเผื่อแผ่แบ่งปันสู่ผู้อื่นอย่างเป็นธรรมชาติ

อัตตาที่บ้าคลั่งในแบบรัตนะจะแสดงออกด้วยการเปิดขยายอย่างหมกมุ่น จนเป็นความเยิ่นเย้อ ความเกินพอดี ความสุรุ่ยสุร่าย “ให้จนเสียคน” หรือ ความ “เว่อร์” เป็นต้น ความกว้างโดยปราศจากพื้นที่ว่างภายในอาจพลิกกลับกลายเป็นความตระหนี่ หรือความตะกละได้เช่นกัน นั่นคือความต้องการที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่าง จนกลายเป็น “ได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ” เหมือนผืนทะเลทรายที่แห้งแล้ง หรือธรณีสูบ นั่นเอง
 
๓) พลังปัทมะ (พลังปัญญาสีแดง)

ปัทมะ แสดงถึงการเปิดกว้าง คลี่บานอันงดงามของดอกบัว การเปิดในแบบปัทมะเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และแรงดึงดูดที่รุนแรง พลังตื่นรู้ในด้านนี้มีเสน่ห์ ร้อนแรง น่าหลงใหล และยังสามารถสัมผัสได้ถึงความสดชื่นและมีชีวิตชีวายามที่ได้เข้าใกล้ การสัมผัสพลังปัทมะเหมือนกับการได้แช่ในอ่างที่หอมหวลไปด้วยสมุนไพรและพฤกษานานาพันธุ์

แต่ในความบ้าคลั่งแบบปัทมะ เราจะเริ่มรู้สึกถึงความร้อนของราคะที่เผาไหม้ การขาดพื้นที่ว่างทำให้พลังปัทมะรุนแรงจนทำเอาเราหายใจไม่ออก ไร้ซึ่งพื้นที่แห่งการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ จนกลายเป็นความลุ่มหลงเกินพอดี แน่นอนว่าธาตุที่สัมพันธ์กับพลังปัทมะ ก็คือ ธาตุไฟนั่นเอง โดยปกตินั้นไฟให้อบอุ่นและแสงสว่าง และการพลิ้วไหวโชดช่วงของไฟนั้นดึงดูดสายตาให้จดจ้องอย่างไม่อาจละวางได้ ประกายและความร้อนของไฟยังปลุกให้เราตื่นจากอวิชชาความง่วงเหงา แต่กระนั้นหากไฟลุกโหมอย่างบ้าคลั่ง ก็จะเข้าเผาไหม้ทุกสิ่งอย่างไม่เลือก
 
๔) พลังกรรมะ (พลังปัญญาสีเขียว)

กรรม ในที่นี่หมายถึงการกระทำ อันแสดงถึง การเลื่อนไหลดั่งสายธารของพลังทางปัญญา โดยพลังในรูปแบบกรรมะ แสดงถึงความกระตือรือล้นและแรงดลใจอันจะนำไปสู่การกระทำอย่างมีประสิทธิผล พลังกรรมะจะไม่เคยหยุดอยู่นิ่ง ชอบคิดประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งละอันพันละน้อยอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถทำไปได้เรื่อยๆอย่างไม่หยุดหย่อน และไม่รู้จักเหนื่อยอีกด้วย แม้แต่ในสถานการณ์คับขัน พลังกรรมะก็ยังสามารถพัดผ่านนำเอาความชุ่มชื้นมาให้ ความตื่นรู้ในลักษณะนี้จะมองเห็นความเป็นไปได้ที่ซ่อนอยู่ในทุกๆสถานการณ์ แล้วจึงแสดงออกมาในรูปแบบของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ กรรมะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับธาตุลมนั่นเอง

ความบ้าคลั่งแบบกรรมะ ก็คือ ความจู้จี้จุกจิก ความเจ้ากี้เจ้าการ ความดันทุรัง การทำอะไรไปเรื่อยๆตามสิ่งเร้าอย่างไม่บันยะบันยัง เอาแต่ใจตัวเอง ขี้ใจน้อย ฉุนเฉียว และขี้อิจฉา ด้วยแนวโน้มของการทำอะไรตามแบบแผนคุ้นชิน และการพัดพาเอาแต่ความต้องการของตนเองเป็นที่ตั้ง
 
๕) พลังพุทธะ (พลังปัญญาสีขาว)

พลังพุทธะสัมพันธ์กับธรรมชาติแห่งการตื่นรู้อันไพศาล หรืออากาศธาตุ พุทธปัญญา คือพลังพื้นฐานของจิตที่แผ่ออกมาจากพื้นที่ภายในอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต พลังพื้นฐานที่ว่านี้มีความสำคัญต่อการโผล่ปรากฏ ไหลเลื่อน หมุนวนของพลังปัญญาสีอื่นๆ พลังพุทธะมีคุณลักษณะของการใคร่ครวญพิจารณาหาคุณค่าและความหมายของสิ่งต่างๆอยู่ตลอดเวลา เป็นความใจกว้างในเชิงจิตวิญญาณที่รองรับความเป็นไปได้ในแบบต่างๆอย่างไม่ตัดสิน
ความพลิกผันของพลังพุทธะ คือ ความเฉื่อยชาและน่าเบื่อ สามารถอยู่เฉยๆได้ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร ชอบที่จะปิดตัวเองอยู่ในพื้นที่แคบๆ ความเงียบก็จะบูดเป็นความเย็นชาจนกลายเป็นความเหงา และความง่วงในที่สุด ความหงุดหงิดในแบบพุทธะอีกอย่างหนึ่งก็คือ การไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร และไม่ต้องการให้ใครมายุ่ง อีกทั้งยังขี้อาย และไม่กล้าลองทำอะไรใหม่ๆ
 
ปัญญาทั้งห้าสี คือ พลังการเรียนรู้ที่มีชีวิต การบ่มเพาะพลังทั้งห้าในด้านของปัญญาจำเป็นจะต้องมีพื้นที่ว่างให้กับการเลื่อนไหล และเกิดดับตามธรรมดาสภาวะ เราจะต้องละเลิกความเคยชินของการควบคุมและกดทับ แล้วฝึกฝนเปิดใจให้อยู่ในภาวะของการผ่อนพักตระหนักรู้โดยสมบูรณ์ นั่นคือความหมายที่แท้ของการภาวนาในฐานะกระบวนการเรียนรู้และการสร้างความสัมพันธ์ บนรากฐานของการปล่อยวางและศิโรราบ

หากเมื่อใดที่ความว่างถูกแปรเปลี่ยนเป็นความบีบคั้น อันเป็นแรงต่อต้านต่อการเลื่อนไหลของเหตุปัจจัยภายนอก ความตื่นตระหนกก็จะนำไปสู่กลไกการควบคุม เพิ่มความเครียด และความแข็งเกร็งให้กับทุกกล้ามเนื้อและทุกรูขุมขนของร่างกาย ปฏิกิริยานี้ส่งต่อไปยังสมองให้เร่งคิดที่จะควบคุมสถานการณ์ให้ได้โดยด่วน การบีบคั้นเช่นนั้น ก่อให้เกิดการพลิกกลับของความสัมพันธ์ต่อประสบการณ์ที่เกิดขึ้น พื้นที่ว่างอันไร้ขีดจำกัดถูกมองเป็นภยันต์อันตราย ศักยภาพที่กว้างใหญ่ถูกมองกลับไปเป็นความโกลาหล และความกลัวก่อให้เกิดการสร้างขอบเขตของพื้นที่ว่างของจิตเพื่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ขอบเขตที่ว่าคือสิ่งที่เรียกว่าอัตตาตัวตนนั่นเอง ในขอบเขตที่จำกัดของอัตตา พลังตื่นรู้ทางปัญญาก็จะพลิกผันกลายเป็นพลังอัตตาที่บ้าคลั่ง ด้วยความหลงผิดไปว่าของการควบคุม จะนำมาซึ่งพื้นที่ว่าง “ของเรา”ที่ขยายกว้างและปลอดภัยมากขึ้น
 
บทส่งท้าย:

การภาวนาบนฐานการตื่นรู้ในกาย คือ หนทางแห่งการสร้างความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึกอย่างถูกต้อง เมื่อเราได้ฝึกฝนอย่างจริงจัง ณ จุดหนึ่งเราอาจจะรู้สึกราวกับว่าแต่ละส่วนของร่างกายค่อยๆเปิดกว้างราวกับดอกไม้กำลังแง้มบานขานรับแสงอาทิตย์ยามเช้า เรารู้สึกถึงพลังชีวิตได้ถูกปลุกให้ตื่น กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ละส่วนของร่างกายดูจะมีพลังแห่งการตื่นรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ที่เราสามารถจะเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ สื่อสารแลกเปลี่ยนเพื่อการเรียนรู้ข้อความที่ร่างกายส่วนนั้นต้องการจะสื่อสารกับเรา

การฝึกฝนทางจิตวิญญาณ นอกจากจะคือการบ่มเพาะพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย และการผ่อนพักใจให้ดำรงอยู่ในพื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ภายในแล้ว เรายังต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพลังงานแห่งอารมณ์ที่ผุดบังเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา อารมณ์เป็นเฉดสีของพลังงานที่ไหลเลื่อน โผล่ปรากฎหมุนวนเป็นพลวัต เราทุกคนต่างก็มีศักยภาพที่จะเปิดรับ สัมผัสพลังงานเหล่านั้นกันได้อย่างเต็มที่ เพราะแท้จริงแล้วพลังงานเหล่านี้ ก็คือ กระแสธารที่ประกอบกันขึ้นเป็นประสบการณ์ที่เรามักหลงผิดคิดไปว่าเป็น “ตัวเรา”นั่นเอง

แต่ทั้งนี้การทำความรู้จักและสร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับอารมณ์ ท้ายที่สุดแล้วก็จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ของการรู้จักตัวเองได้จริงๆ การภาวนากับอารมณ์เป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับศักยภาพภายใน สาดแสงไฟแห่งการตื่นรู้ สู่การเรียนรู้ทุกแง่มุมของชีวิต จนสามารถค้นพบศักยภาพแท้จริงที่เต็มเปี่ยมในแบบของเราเอง สู่การเหาะเหินเดินเท้าดำดิน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมดื่มกินไปกับเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั่วทุกหกภพภูมิ ด้วยพื้นฐานของจิตใจที่ง่ายงามตามเส้นทางแห่งการฝึกฝนตนเองในทุกๆย่างก้าว



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 สิงหาคม 2553 01:57:01 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 30 มกราคม 2553 20:44:34 »

ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก ตกหลุมรัก
ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 31 มกราคม 2553 11:51:03 »




กลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้ง
วิศิษฐ์ วังวิญญู

สาราณียกรปาจารยสารมอบงานให้เขียนเรื่องการปฏิวัติในชีวิตปกติธรรมดา หรือในชีวิตประจำวัน จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แล้วแต่ว่าจะมองงานเขียนแบบนี้ อย่างไร ตอนแรกคิดเรื่อง “การปฏิวัติในห้องนั่งเล่น” ที่เคยเป็นจ่าหัวหนังสือนิตยสารทางเลือกในสหรัฐอเมริกาเล่มหนึ่ง คือ อัตเน่รีดเดอร์ ตอนที่เราเป็นบรรณาธิการปาจารยสารฉบับหัวกะทิ เคยใช้ประเด็นนี้มาเล่นเป็นจ่าหัวหนังสือของเราเหมือนกัน เพียงนึกถึงคำ ๆ นี้ ก็ทำให้นึกถึงหลายสิ่งหลายอย่าง รวมทั้งบรรยากาศครั้งเมื่อทำปาจารยสารฉบับหัวกะทิด้วย
 
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการ “กลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้งหนึ่ง” ซึ่งประการแรก คนใกล้ชิดบอกว่า การที่ผมกลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้งหนึ่งนี้ ทำให้เธอ(น่าจะเป็นว่า) ผิดหวังในตัวผมลึก ๆ เธอบอกว่า ความรู้สึกเมื่อเลือกผมเป็นคนใกล้ชิด ก็คือ รู้สึกว่า ผมเป็นคนวิเศษกว่าคนอื่น ๆ หรือ คนธรรมดาทั่วไป แต่แล้วกลับมาอ่านกำลังภายใน! ประการแรก เธอไม่ชอบจีน และความเป็นจีนทั้งปวง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเธอชอบทิเบตหรือเปล่า ก็ไม่รู้ได้ และประการที่สอง เธอบอกว่า เวลาอยู่ด้วยกันจะเป็นช่วงเวลาที่เธอรู้สึกว่า ผมอยู่กับเธอน้อยที่สุด ก็เมื่อเวลาที่ผมกลับไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์และเมื่อกลับไปอ่านกำลังภายใน เธอจะรู้สึกว่า ตัวตนของผมหายไปจากโลกนี้ มันถูกกิจกรรมนั้น ๆ กลืนกินตัวตนไปจนมืดมิด หายสาบสูญไป น่าสนใจมาก ในฐานะคนเล่นเรื่องพลังและคลื่นกันก่อเกิดจากพลัง พลังอะไรมันดูดเราไปจนหายไปสนิท พลังอะไร มันช่างมีศักยภาพอันยิ่งใหญ่เพียงนั้น มันคืออะไรหนอ?
 
เราพยายามทำอะไรกันที่ “ปาจารยสารฉบับหัวกะทิ” คือคนทำงานกับอาจารย์สุลักษณ์จะมีสองแบบ กระมัง อาจกล่าวอย่างนี้ได้หรือเปล่า? โดยเฉพาะคนที่มาทำปาจารยสาร ไม่ว่า ฉบับไหน มีลูกเล่นหรือตัวเล่นหรือเปล่า? สำหรับผมมีตัวเล่น หรือลูกเล่น หาตัวตนที่แตกต่าง อย่างเราเมื่อเราอยู่ในอาณาจักรของอาจารย์ เราก็คงหนีตัวตนหรือร่มเงาหรือฉายาของอาจารย์ไปไม่พ้น อย่างน้อยก็ดิ้นรนสักอย่างหนึ่ง อันนี้ก็ทำให้ผมเป็นบรรณาธิการ ในขณะที่คนทำปาจารยสารปัจจุบัน ซึ่งเรียกผมเป็นลุงแล้ว ใช้ตำแหน่งเรียกตัวเองว่า เป็นสาราณียกร อาจารย์เป็นคนพิถีพิถันมาก คงคิดว่า คนฝึกงาน คนเรียนรู้ น่าจะถ่อมตัว และคำว่า สาราณียกรอาจจะเหมาะสมกว่า


คนภายนอกอาจจะไม่ทราบ หรือไม่ก็อาจจะคาดเดาได้ คนทำงานกับอาจารย์สุลักษณ์ อย่างไร ก็คงต้องเต้นรำกับอาจารย์ จะเต้นแบบไหน ท่าไหน ก็เป็นอีกเรื่อง แต่จะต้องเต้นรำ คือหาที่ทางความสัมพันธ์กับอาจารย์ และเรื่องนี้จะไม่มีคำว่า ลงตัว จะเป็นความไร้ระเบียบและยากแก่การคาดเดาอยู่ตลอดเวลา ตรงนี้ก็เป็นอะไรที่มีชีวิตชีวามาก ๆ ที่เกิดขึ้น ณ ห้องนั่งเล่น ในบ้านซอยอิสรภาพ ถนนนเรศ เป็นบ้านเรือนไทยหลังเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ท่ามกลางตึกสูง ๆ ที่รายล้อมอยู่ทั่วไป ในย่านที่ที่ดินคิดเป็นตารางวา อย่างแพงหูฉี่
 
แล้วมันเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวอะไรกับการกลับมาอ่านกำลังภายในอีกครั้ง?
 
มันอาจจะเกี่ยวกันในแง่ของคลื่นพลังกระมัง แต่จะเป็นคลื่นพลังอย่างใดแบบไหน คงจะต้องวินัจฉัยกันต่อไป
 
มาดูเรื่องปัญจะพุทธคุณหรือเบญจคุณ คือเวลานี้คนรุ่นหลานสองคน คือ ณัฐฬสกับวิจักขณ์ซึ่งเรียนมาจากนาโรปะทั้งคู่ และก็ในเวลาเดียวกัน สนใจที่จะนำพาเรื่องราวของมันดาลา หรือพลังทั้งห้า อันเป็นจริตของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์มาใช้ในกระบวนการเรียนรู้ และก็ได้แปล เก็บความและเขียนเรื่องนี้ออกมา ในเวลาใกล้เคียงกัน อย่างน่าประหลาดใจ
 
ความสนใจเรื่องนี้ของผม มันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่องของพลัง ซึ่ง ผมพยายามหรือเปล่า ที่จะสร้างแบรนด์เนมกับเรื่องนี้ขึ้นมา อย่างน้อยก็ด้วยการเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่า “มณฑลแห่งพลัง”


อาจารย์สุลักษณ์นั้นมีพลังแห่งวัชระ คือปัญญา คือพลังทางความคิด อันนี้คงไม่มีใครเถียงใคร แต่ความเป็นข้อจำกัดหนึ่ง ของวัชระก็คือ ความใกล้ชิด อาจารย์เคยบอกกล่าว คนจีนและคนอังกฤษรังเกียจ “ความใกล้ชิด” “Intimacy breeds contempt” แปลไทยง่าย ๆ ว่า “ความใกล้ชิดก่อให้เกิดความเกลียดชัง” แต่ในขณะเดียวกัน อาจารย์ก็มีพลังพุทธะ หรือการให้พื้นที่คนอื่น โดยเฉพาะกับคนรุ่นหลัง อย่างมีคนตั้งข้อสังเกตว่า อาจารย์มีส่วนเกื้อกูลให้เกิดคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพจำนวนมาก

แล้วทั้งหมดนี้มันเกี่ยวกับการกลับมาอ่านกำลังภายในอย่างไรหรือ?
 
กลับไปอ้างอิงโจเซฟ ชิลตัน เพียซ เขาไม่ได้กล่าวโดยตรงนะครับ แต่ประมาณว่า ส่วนหนึ่ง หรือส่วนสำคัญของเอนเตอเทนเมนท์ในยุคสมัยนี้ ไม่ว่า จะเป็นคอมพิวเตอร์เกมก็ดี หรือ นิยายประโลมโลกก็ดี ที่ผ่านมาทางหนังสือการ์ตูนบางแบบ ภาพยนตร์บางแบบ อาจจะรวมทั้งหนังสือกำลังภายในด้วย มันไปเล่นกับสมองส่วนหลัง หรือสมองที่อยู่ในวิวัฒนาการอันดับต้น ๆ หรือ แรก ๆ แน่นอน เมื่อเรื่องราวมันวนเวียนอยู่กับเรื่องราวของการดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด มันจะไปกระตุ้นเร้าอะไรบางอย่างในระบบชีวิตของเราขึ้นมา และมันทำให้ติดได้ คือมันเสพติด เวลานี้ลูกหลานของเราติดเกมกันเป็นเรื่องธรรมดา และกลายเป็นปัญหาที่ผมไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใด ผู้คนก็มักจะถาม หรือขอความช่วยเหลือว่า ทำอย่างไร จะทำให้ลูกเขาเลิกละจากการติดเกม
 
แต่คนใกล้ชิดของผมก็ติดหนัง และหนังสือนิตยสารสวย ๆ ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือไลฟ์สไตล์ เขากล่าวหาว่า ผมหายตัวไป เขาก็หายตัวไปเหมือนกัน เวลาไปกินอาหารในร้านรวงที่มีหนังสือพวกนี้ไว้บริการ ผมก็เห็นเขาหายตัวไป ขัดใจเหมือนกันแหละ แต่ผมยังไม่ได้บอกกล่าวเขา ว่าคุณหายตัวไปไหนแล้ว เพราะว่า ผมไม่ได้ชมชอบในสิ่งที่เขาชมชอบ ในมันดาลา ต้องบอกว่า เขาเป็นรัตนะ ชมชอบสิ่งของ และก็อยากครอบครองด้วย โดยเฉพาะเวลาที่มันไปในทางลบ แต่ในทางบวกที่ทำให้เขาและผมมาบรรจบกันก็คือ ความมั่งคั่งพรั่งพร้อมในใจของเขาที่พร้อมจะแบ่งปัน แต่แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะทำให้ผู้คนก้าวมาในวิถีทางที่เป็นบวก
 
เสกสรร ประเสริฐกุลเคยบอกกล่าวว่า ผมมันพวกไมโคร ส่วนเขามันพวกแมคโคร นั้นเป็นเมื่อสมัยก่อน เพราะเมื่อเร็ว ๆ นี้ เสกสรรก็มาสนใจเรื่องทางจิตวิญญาณมากขึ้น แต่ตั้งแต่สมัยที่เราเคยอยู่ด้วยกันที่บ้านแสงจันทร์แล้ว เขาก็เคยถกกับผมในเรื่องพุทธศาสนาอยู่ไม่น้อยเวลาเลยทีเดียว เพียงแต่ว่า เวลานั้น การอยากเป็นคนเล็ก ๆ ตกปลาอยู่ริมลำธารของเขายังเป็นเพียงความฝัน
 
ก่อนที่ท่านจะตั้งคำถามว่า นี่มันอะไรกันหว่า ประเด็นของเรื่องอยู่ที่ไหน? ผมก็จะบอกว่า คือผมจะเก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้แหละครับ มาเขียนในคอลัมน์ประจำนี้ ตามความประสงค์ของสาราณียกรรุ่นหลาน คนนี้ ผมก็นับถือเขาครับ ผมว่า ผมจะไม่เขียนบทความอะไรอยู่แล้วในช่วงนี้ แต่แล้วก็ต้องเอาสักหน่อย ตอบสนองคนรุ่นหลังบ้าง อย่างเช่นที่อาจารย์สุลักษณ์เคยเปิดทางให้คนรุ่นพวกเรามา แม้ว่าจะด้วยมันดาลาแบบไหน นพลักษณ์แบบใดก็ตาม ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่บังเอิญนะครับ เพราะเรื่องพวกนี้เป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผมจะเขียนต่อ ๆ ไปในคอลัมน์ประจำนี้ ถ้าคุณยังตามอ่านผมอยู่


(เข้าไปคุยต่อกับผมได้ใน www.wongnamcha.com)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 สิงหาคม 2553 05:43:32 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: เปลี่ยนภาพค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 31 มกราคม 2553 19:15:13 »




อารมณ์: รากฐานแห่งตันตระ
วิจักขณ์ พานิช

ด้วยเหตุที่ว่าชีวิตที่แท้เปี่ยมไปด้วยความเป็นไปได้ที่ไม่มีขีดจำกัด ในทางกลับกันชีวิตจึงเสี่ยงต่อความโกลาหลที่มากตามไปด้วย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกมองพื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ของจิตเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนาหรือน่าหวั่นไหว มุมมองแตกต่างที่ว่าจะนำพาให้เราได้ไปพบกับทางเลือกของการพัฒนาศักยภาพแห่งการตื่นรู้ สู่การใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมในทุกลมหายใจเข้าออกเพื่อเผชิญหน้ากับสัจธรรมความเป็นอนิจจังดังกล่าว หรือทางเลือกที่จะ “ควบคุม” ความเป็นไปได้ที่โกลาหลด้วยการไม่ยอมรับสรรพสิ่งตามที่เป็นจริง จากนั้นจึงพยายามปิดกั้นศักยภาพอันไพศาลนั้นออกไปจากชีวิตเสีย

การควบคุมดูจะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า อาจด้วยเพราะผลที่เห็นได้ชัดถนัดตา และดูเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุอย่างฉับไว ไม่ว่าจะเป็นระดับสังคมที่เห็นกันได้ดาษดื่นจากผู้มีอำนาจทั้งหลาย เช่น เจ้านายควบคุมลูกน้อง พ่อแม่ควบคุมลูก ครูควบคุมนักเรียน รัฐบาลควบคุมสื่อ รถถังควบคุมประชาชน เป็นต้น

แต่การควบคุมที่ว่านั้น กำลังทำให้คนส่วนใหญ่กลายเป็นคนเก็บกด เมื่อคนเราไม่รู้จักที่จะเผชิญหน้ากับแง่มุมที่หลากหลายของชีวิตอย่างที่มันควรจะเป็น ชีวิตในแต่ละวันจึงกำลังถูกควบคุมความเป็นไปได้ที่กว้างใหญ่ จนไม่หลงเหลือพื้นที่ภายในให้กับการเรียนรู้ เราต่างกำลังถูกจองจำในทุกๆด้าน ยิ่งเราเลือกที่จะควบคุมชีวิต หรือสยบยอมชีวิตให้กับการควบคุมมากเท่าไหร่ ดูเหมือนความเครียดของผู้คนในโลกสมัยใหม่ก็ดูจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นคำถามที่ว่าทางออกแห่งการควบคุมและกดทับ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วล่ะหรือ เรารู้สึกปลอดภัยและมั่นคงกับการดำรงชีวิตอยู่มากขึ้น หรือการควบคุมที่ว่านั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ส่งผลดีใดๆนอกเสียจากความจำเป็นที่ต้องเพิ่มดีกรีของการควบคุมให้เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จบ






การแบ่งขั้วระหว่าง “โลก” กับ “ธรรม”
 
ผู้คนจำนวนมากเมื่อตระหนักว่าชีวิตพบกับทางตัน ก็ตัดสินใจเลือกที่จะผละจากปัญหาแล้วหันหน้าเข้าหาวัด แต่กลับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ในปัจจุบัน แม้แต่ในบริบทของศาสนธรรม กลับไม่มีคำสอนที่สามารถช่วยบรรเทาความสับสนของผู้คนให้ลดน้อยลงได้ สิ่งที่เรามักได้ยินได้ฟังจากปากของชาววัด กลับเป็นข้อความในแง่ปฏิยัติหรือปฏิเวธที่ถอดเอามาจากพระคัมภีร์ อย่างไม่มีนัยของความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติของการสร้างสัมพันธ์กับอารมณ์ในชีวิตจริงเอาเสียเลย

“เลิกยึดมั่นกับมันเสีย อดีตมันผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ปล่อยวางมันซะ แล้วชีวิตจะพบกับความสุขสงบที่แท้”

“โลภ โกรธ หลง เป็นเรื่องบ้าๆของอารมณ์ จงควบคุมสติให้อยู่กับลมหายใจ อย่ามัวพลัดหลงไปกับอารมณ์ร้ายพวกนั้น”

“ความสุข ความทุกข์ เป็นเรื่องทางโลก ผู้ที่เข้าใจธรรมะ มีชีวิตอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์”
“อย่าเสียใจ อย่าร้องไห้ไปเลย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง”
“ความรัก คือ บ่อเกิดของความทุกข์”

...เป็นต้น
 
การยัดเยียดหลักการทางธรรมให้พอกทับหลักการทางโลกนั้น อาจทำให้รู้สึกโล่งใจไปได้สักพัก แต่หากผู้ฟังเลือกที่จะ “เชื่อ” คำสอนเหล่านั้น ชีวิตทางธรรมที่ไปรับเอามาก็ดูจะไม่มีอะไรต่างไปจากชีวิตแบบเดิมๆ เพราะมันยังคงเป็นชีวิตแห้งๆ เต็มไปด้วยหลักการล้านแปด อันปราศจากความชุ่มชื้นแห่งประสบการณ์ตรงของการเดินทางด้านใน แม้จะได้ชื่ออันสวยหรูว่าเป็น “ชีวิตทางธรรม” ก็ตามที

แม้แต่ในเรื่องของการฝึกจิตภาวนา บ่อยครั้งก็ยังหนีไม่พ้นกลเกมแห่งการควบคุมอีกเช่นเดียวกัน เทคนิคมากมายที่ถูกนำมาใช้ไปในลักษณะของเป้าหมายสูงสุด เพื่อควบคุมอารมณ์ด้านลบไม่ให้ออกมามีอิทธิพลเหนืออารมณ์ด้านบวก จนถูกมองว่าเป็นกลวิธีการแก้ปัญหาความทุกข์ที่ปลายเหตุอย่างได้ผลทันตา ความสุขสงบจากการภาวนาจึงอาจกลายเป็นสิ่งเสพติดชนิดหนึ่งไปโดยปริยาย เมื่อนั้นการภาวนาก็หาได้เป็นกระบวนการฝึกฝนที่จะทำให้เราสามารถเผชิญหน้ากับทุกแง่มุมของชีวิตได้อย่างปราศจากความกลัว

มันได้กลับกลายเป็น “การลาพักร้อนจากชีวิต”หรือ “ทางเบี่ยงจิตวิญญาณ” ซึ่งหากเราฝึกฝนจนมีความชำนาญมากพอ ก็อาจจะค้นพบหนทางที่จะภาวนาแล้วหลีกหนีจากความโกลาหลทางอารมณ์ที่รุมเร้า พักจิตไว้ในฌาณขั้นใดขั้นหนึ่ง แล้วพึงเสพความสุขสงบจนเป็นที่พอใจ หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เราพยายามฝึกนั้น กลับไม่ได้ทำให้เราเติบโตทางจิตวิญญาณ หรือรู้จักชีวิตดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย เรากำลังพยายามแยกชีวิตออกเป็นสองส่วน “ชีวิตทางโลก” กับ “ชีวิตทางธรรม” ชีวิตที่แตกแยกส่วนเช่นนั้นยังห่างไกลจากความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงมากนัก

  มหาสิทธานาโรปะ ตันตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของพุทธวัชรยาน ได้ตระหนักรู้ในข้อจำกัดที่ว่านี้ ท่านใช้เวลากว่าครึ่งชีวิตศึกษาหลักพุทธปรัชญาจนแตกฉาน ชื่อเสียงและความสามารถของท่านเป็นที่เคารพเกรงขาม จนได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของสถาบันการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียอย่างมหาวิทยาลัยนาลันทา จนมาวันหนึ่งขณะนาโรปะกำลังนั่งอ่านพระคัมภีร์อย่างคร่ำเคร่ง เงามืดได้พาดทอเข้าปกคลุม นาโรปะหันไปพบกับหญิงแก่นางหนึ่ง เดินกะเผลกๆด้วยไม้เท้า สวมใส่เสื้อผ้าเก่าขาดลุ่ยคลุมผิวหนังเหี่ยวย่นอันเหม็นสาบ หญิงแก่มองมาที่นาโรปะ

“เจ้ากำลังอ่านอะไร”
“อาตมากำลังอ่านพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยหลักพุทธปรัชญาขั้นสูง ที่อาตมาคงไม่สามารถอธิบายให้หญิงแก่อย่างท่านเข้าใจได้”
หญิงแก่จึงถามต่อว่า
“เจ้าเข้าใจคำทุกคำที่ว่าไว้ในพระคัมภีร์หรือเปล่า”
“แน่นอน อาตมาเข้าใจคำทุกคำตามพระคัมภีร์”

หญิงแก่ได้ยินดังนั้น ก็ดีใจยิ่งนัก แย้มยิ้ม หัวเราะ กระโดดโลดเต้น ควงไม้เท้า ร่ายรำไปรอบๆ
นาโรปะเห็นหญิงแก่มีความสุขเช่นนั้น จึงกล่าวต่อไปว่า
“มากไปกว่านั้น อาตมายังเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งทั้งหมดที่แฝงไว้ในพระคัมภีร์อีกด้วย”
พอได้ยินดังนั้น หญิงแก่ถึงกับทรุดฮวบลงไปกับพื้น ร้องไห้ครวญครางด้วยความเศร้าโศก
นาโรปะแทบจะไม่เชื่อสายตาตัวเอง รีบเข้าไปประคองหญิงแก่ พร้อมถามว่าทำไมถึงต้องโศกเศร้าถึงเพียงนั้น
หญิงแก่จึงตอบนาโรปะว่า

“เมื่อข้าเห็นมหาบัณฑิตผู้เลื่องลือสามารถหลอกตัวเองว่าสามารถเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งแห่งชีวิต ด้วยการเอาแต่นั่งอ่านพระคัมภีร์ไปวันๆ มันทำให้ข้ารู้สึกโศกเศร้ายิ่งนัก”

นาโรปะได้ยินคำของหญิงแก่ ก็ถึงกับหน้ามืด รู้สึกราวกับคำกล่าวนั้นได้ตอกย้ำให้เขาหวนตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตที่แท้ที่เขาไม่เคยได้สัมผัส


หลังจากเหตุการณ์ในวันนั้น นาโรปะถึงกับกินไม่ได้นอนไม่หลับ เขาไม่สามารถหลงระเริงอยู่กับเกียรติยศชื่อเสียงจอมปลอมที่คนรอบข้างต่างยกยอสรรเสริญถึงความรอบรู้ของเขาได้อีกต่อไป เขาตัดสินใจสละคราบนักบวช ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วมุ่งหน้าสู่ป่าลึกทางทิศตะวันออก เพื่อตามหาคุรุผู้สามารถสอนหนทางแห่งการสัมผัสคุณค่าของการมีชีวิตที่แท้


ชีวิตของนาโรปะเป็นตัวอย่างของบุคคลผู้ซึ่งใช้เวลากว่าค่อนชีวิต ภายใต้เกราะป้องกันทางหลักการที่ล้ำลึก ชื่อเสียง เกียรติยศ สถานภาพ คำสรรเสริญเยินยอจากภายนอก กลับไม่ได้ทำให้ชีวิตภายในของเขาชุ่มชื้นอย่างที่ควรจะเป็น การศึกษาธรรมะโดยไม่รู้จักสร้างความสัมพันธ์กับอารมณ์นอกจากจะทำให้ชีวิตของเรากลายเป็นชีวิตธัมมะธัมโมที่ขาดความชุ่มชื้นแล้ว เรายังไม่สามารถที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับใครได้อีกด้วย เพราะเมื่อเราเลือกที่จะสร้างเกราะมาป้องกันเลือดเนื้อแห่งชีวิต เพื่อที่จะหลีกหนีต่อความทุกข์และความเจ็บปวด เราก็กำลังตัดขาดชีวิตของเราเองออกจากผู้คนรอบข้างไปด้วยพร้อมๆกัน แม้อาจจะมีความสัมพันธ์ที่ผิวเผินอยู่บ้าง แต่สายใยเหล่านั้นก็ออกจะตื้นเขินเกินกว่าที่จะเรียกได้ว่าเป็นสายสัมพันธ์ที่ยั่งยืนแท้จริง นั่นคือสาเหตุสำคัญที่ว่าหากเราจะมานั่งจิบน้ำชาถกเถียงกันเรื่องของพุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงสังคมกันแล้ว การภาวนาเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึก จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตนักต่อสู้ทางสังคมรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งหลาย ไม่เช่นนั้นการทำงานเพื่อสังคมกับการฝึกฝนทางจิตวิญญาณก็ยังคงต้องเป็นของแสลงต่อกัน ราวกับน้ำกับน้ำมันที่แยกชั้น ไม่สามารถผสมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างลงตัวเสียที





สัมผัสพลังชีวิตบนจิตว่าง

นามธรรมที่เรียกกันว่าอารมณ์เป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกและสัญชาตญาณขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ ที่มีมาก่อนหลักวิธีคิดสูงส่งซับซ้อนที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาในภายหลัง อารมณ์คือพลังชีวิตที่ถูกเร้าด้วยเหตุปัจจัยภายในและภายนอกอันอยู่เหนือการควบคุม จึงง่ายต่อการด่วนสรุปไปว่า อารมณ์คือต้นตอของความโกลาหล สับสน วุ่นวาย อันจะแปลงกลายเป็นปีศาจร้ายที่ชื่อความทุกข์ในที่สุด

ความหลงผิดที่ว่าเกิดมาจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง เพราะแท้จริงแล้วสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ คือ เหตุปัจจัยภายในและภายนอกที่เลื่อนไหลต่างหาก อารมณ์เป็นเพียงสัญชาตญาณของความเป็นมนุษย์ธรรมดาๆที่มีเลือดเนื้อและความรู้สึก ในพุทธศาสนานั้นได้สอนไว้อย่างชัดเจนว่าเหตุปัจจัยทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่รายรอบตัวเราต่างก็ไม่จีรังยั่งยืน แปรเปลี่ยนไป คงอยู่ไม่ได้นาน และหาได้มีแก่นสารแห่งตัวตนที่แท้ ดังนั้นหากเราต้องการใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็คือ การสร้างความสัมพันธ์กับความเป็นไปตามธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัยที่ว่านั้นอย่างถูกต้อง

พื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของความไม่มีตัวตน เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ที่ละเอียดอ่อนของการดำเนินชีวิตในแต่ละขณะ ชีวิตที่แท้ประกอบไปด้วยการเลื่อนไหลของพลังงานอย่างเป็นพลวัต ผู้คนในโลกสมัยใหม่มักมีความเข้าใจไปว่า อารมณ์คือผลผลิตของความคิด และสมองคือกองบัญชาการแห่งการควบคุมอารมณ์ แต่หากเราลองเริ่มต้นสังเกตและสัมผัสการเลื่อนไหลของอารมณ์อย่างใกล้ชิด เราจะรู้ได้ทันทีว่า แท้จริงแล้วการเลื่อนไหลของอารมณ์นั้นมีความสัมพันธ์กับร่างกายในทุกๆส่วน อาจจะกล่าวได้ว่า ทุกอณูรูขุมขนของร่างกายมีความสามารถรับรู้ถึงพลังงานชีวิตที่ผุดขึ้นมา ณ วินาทีนั้นได้โดยไม่ต้องอาศัยการถอดความของสมองเลยแม้แต่น้อย





แบบฝึกหัดที่ ๑: อาณาปาณสติกับการตื่นรู้ทางอารมณ์

การใช้ลมหายใจช่วยในการฝึกฝนความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ใช่ด้วยเหตุผลที่ว่าลมหายใจเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลึกลับน่าพิศวง ลมหายใจ ก็คือร่างกายของเรานั่นเอง แต่เป็นร่างกายในลักษณะของการสัมผัสรับรู้การดำรงอยู่ในมิติที่ลึกซึ้งขึ้น

เริ่มต้นด้วยการตามความรู้สึกของลมหายใจที่เลื่อนไหลกระทบปลายจมูก รู้สึกถึงความอุ่นที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อลมค่อยๆเข้าสู่ร่างกาย และรับรู้ถึงลมที่ค่อยๆเย็นลงเมื่อออกจากร่างกาย พยายามสูดหายใจให้เต็มปอดเพื่อสร้างความรู้สึกเปิดรับและผ่อนคลาย ค่อยๆตามลมหายใจเข้าออก ด้วยความมีสติอยู่ในทุกปัจจุบันขณะ หากจิตเริ่มฟุ้งด้วยภาพความคิดในอดีตและจินตนาการในอนาคต เราสามารถนำเทคนิคการเตือนสติตนเอง โดยเมื่อรู้ตัวว่าเริ่มคิด ให้บอกกับตัวเองในใจว่า “คิด!” แล้วจึงปล่อยวางการยึดมั่นในความคิดนั้น การเตือนตัวเองเช่นนี้จะทำให้เราสามารถตัดวงล้อแห่งความคิดฟุ้งซ่านแล้วสามารถกลับมามีสติอยู่ที่ลมหายใจได้อีกครั้ง

จากการฝึกสติที่ปลายจมูก ค่อยๆสังเกตถึงพลังแห่งการตื่นรู้ภายในที่ไหลเวียนอยู่ในทุกส่วนของร่างกาย หากสังเกตให้ดี เราจะรู้ว่าพลังแห่งการตื่นรู้ที่ว่ายังรวมถึงพื้นที่ว่างภายนอกรอบตัวเราอีกด้วย การค้นพบนี้จะนำเราไปสู่คำถามที่ว่า ร่างกายที่แท้จริงคืออะไรกันแน่?

ยิ่งเราสามารถผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนได้มากเท่าไหร่ การตามลมหายใจที่ปลายจมูกก็ดูจะส่งผลต่อการสร้างสัมพันธ์กับพลังแห่งการตื่นรู้ในกายได้มากขึ้นเท่านั้น และที่น่าแปลกก็คือ ยิ่งเรามีสติอยู่ที่ลมหายใจมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งค้นพบจุดที่แข็งเกร็งตามส่วนต่างๆที่ร้องเรียกให้เราได้ปล่อยวางและผ่อนคลาย นั่นคือความหมายของบ่มเพาะการมีสติอยู่กับเนื้อกับตัว

แก่นภายในของร่างกายนั้นประกอบด้วยเส้นการไหลวิ่งของพลังงานบริเวณด้านหน้าของกระดูกสันหลัง จากกระดูกสะโพกถึงกระดูกศีรษะส่วนบน เส้นพลังงานที่ว่าจะค่อยๆปรากฏให้เราสัมผัสได้ก็ต่อเมื่อความตึงเครียดค่อยๆถูกปลดปล่อยออกไปทีละน้อย สรีระตามธรรมชาติของการไหลเวียนแห่งพลังงานจะเพิ่มความสำคัญต่อการฝึกมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการฝึกอานาปาณสติเช่นนี้จะนำผู้ฝึกไปสู่ความผ่อนคลายที่ลึกขึ้นจนคุณรู้สึกราวกับว่าขอบเขตข้อจำกัดทางกายภาพของร่างกายค่อยๆอันตรธานไป จนร่างกายกลายเป็น “วัชรกายา” อันแสดงถึง ฐานแห่งความว่างที่ยอมให้สายธารแห่งการตื่นรู้ได้เลื่อนไหล ปมแห่งกรรมภายในค่อยๆคลี่คลาย ปลดปล่อยเป็นพลังงานทางความรู้สึกและอารมณ์ที่เทถ่ายในทุกอณู ให้เราได้สัมผัส รับรู้ และปล่อยวาง อย่างเป็นครรลอง




แบบฝึกหัดที่ ๒: สัมผัสการตื่นรู้ในทุกอณูของร่างกาย

เริ่มต้นด้วยการนอนราบกับพื้น ชันเขาแล้วใช้ผ้าหรือเข็มขัดรัดบริเวณเหนือหัวเข่า พอให้หัวเข่าสองข้างพอชนกัน เท้าสองข้างแยกออกพอประมาณเพื่อเพิ่มเสถียรภาพ มือสองข้างประสานกันไว้เหนือท้องน้อย จากนั้นให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน ค่อยๆถ่ายเทความตึงแน่นไหลผ่านสิบจุดสัมผัสระหว่างร่างกายกับพื้นลงสู่ผืนดินเบื้องล่าง เริ่มจากฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ก้น แผ่นหลัง ข้อศอก หัวไหล่ และศีรษะตามลำดับ ใช้เวลาในการผ่อนคลายความเครียดในแต่ละจุดอย่างเต็มที่
จากนั้นให้สูดลมหายใจจากรูจมูกยาวไปยังบริเวณท้องน้อย ค่อยๆตามลมหายใจเข้าออกตามการยุบพอง จนสามารถสัมผัสจุดจักราบริเวณใต้สะดือหลังแนวกระดูกสันหลัง ที่ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ความว่างอันไร้ขอบเขตได้ จากนั้นจึงพักจิตไว้ในพื้นที่ว่างนั้น ปลดปล่อย และผ่อนคลาย เสมือนตกอยู่ในภาวะดิ่งอิสระ

จากนั้นให้ปลดรัดและลดหัวเข้าสู่ท่านอนราบโดยสมบูรณ์ โดยอาจใช้เบาะรองช่วงขาให้สูงขึ้นเล็กน้อย ปล่อยมือทั้งสองไว้ข้างลำตัว การฝึกขั้นนี้จะเป็นการกำหนดจิตเพื่อสูดเอาลมหายใจนำพลังชีวิตหรือปราณไปสู่จุดต่างๆของร่างกาย เริ่มต้นด้วยหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง พยายามปลดปล่อยหลักการความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ในหัวออกไปให้หมด แล้วตั้งจิตสูดลมหายใจจนไปถึงหัวแม่เท้า จากนั้นจึงขยายไปที่นิ้วอื่นๆ ฝ่าเท้า หน้าแข้ง หัวเข่า น่อง ก้น อวัยวะเพศ ท้องน้อย สะเอว แผ่นหลัง นิ้วมือ แขน ขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงกระหม่อมศีรษะ

เราอาจจะเริ่มปฏิบัติด้วยการไม่รู้สึกอะไรเลย ทุกอย่างดูจะด้านตายไปหมด แต่เมื่อเราค่อยๆฝึกฝน ตามลมหายใจไปสู่จุดต่างๆของร่างกายที่ไร้ความรู้สึก ผ่านไปสักระยะหนึ่งร่างกายจะเริ่มแสดงสัญญาณของการกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง เราเริ่มสัมผัสได้ถึงปฏิกิริยาตอบสนอง ความตื่นรู้จะค่อยๆปรากฎขึ้นด้วยประสาทสัมผัสที่แจ่มชัด เราจะเริ่มตระหนักได้ว่า แบบแผนตายตัวที่เรามีต่อความบีบคั้นในร่างกาย เกิดขึ้นจากส่วนของจิตใต้สำนึกหรือจิตสำนึกในขั้นต้นของการแข็งเกร็ง เรากำลังเก็บซ่อน ปมหรือแง่มุมบางอย่างของชีวิตไว้ในมุมมืด เป็นส่วนที่เราเพิกเฉย หรือไม่กล้าที่จะเข้าไปสร้างปฏิสัมพันธ์ เมื่อเราฝึกไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มพบว่าในบางบริเวณของความแข็งตึงค่อยๆคลายออก ปรากฎให้เรารับรู้ถึงปฏิกิริยาตอบสนอง เผยให้เราเห็นประกายแห่งความมีชีวิตชีวา ยิ่งร่างกายสามารถผ่อนคลายได้มากขึ้น เราก็ยิ่งสามารถสัมผัสถึงความว่างได้มากขึ้นตามไปด้วย ความว่างเป็นผลมาจากการผ่อนคลายและผ่อนพัก อันจะเป็นบาทฐานที่ทำให้เราสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ และความรู้สึก ได้อย่างเต็มที่



อ่านไดอาล๊อกเพิ่มเติม ได้
 
   http://webboard.wongnamcha.com/index.php?topic=38.0



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 สิงหาคม 2553 06:49:51 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
คนดีศรีอยุธยา
นักโพสท์ระดับ 4
****

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 01 กุมภาพันธ์ 2553 01:07:49 »

ชอบภาพสวยดีเล็กไปนิดไม่สะใจ  คนโบราณสายตาฝ้าฝาง
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2553 14:54:48 »




แมนดาล่าทราย

คำว่า “แมนดาล่า”ในภาษาทิเบตคือ “kyil-khor”มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ซึ่งล้อมรอบจุดศูนย์กลาง” โดยทั่วไปแล้ว แมนดาล่าจะถูกแสดงไว้เป็นรูปแบบสองมิติ ซึ่งโดยปกติก็จะทำจากกระดาษ สิ่งทอ และผงทรายย้อมสี และโดยเฉพาะสำหรับแมนดาล่าทรายจะมีชื่อเรียกว่า dul-tson-kyil-khor ในภาษาทิเบต ซึ่งแปลว่า “แมนดาล่าที่ทำจากผงสี”

แมนดาล่า คือการแสดงออกแห่งสภาวะของการรู้แจ้งอย่างถ่องแท้ และถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิ กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ แมนดาล่าแสดงให้เห็นวิมานสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้รู้แจ้งอย่างชัดเจน และในกรณีนี้ก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งความเมตตาอันเป็นสากล ที่รู้จักกันในนามว่า “เชนรีซิก” ในภาษาทิเบต พระอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤต และกวนอิมในภาษาจีน (สำหรับประเทศไทย ก็จะเป็นพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า) อย่างไรก็ตาม ในระดับที่เป็นนัยขึ้นไปอีก แมนดาล่าจะเป็นสัญลักษณ์ของสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งจิตใจเรา ซึ่งสมมติไว้ในรูปแบบของวิมานสวรรค์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะในเนื้อแท้ของเราจะสถิตอยู่ที่ใจกลาง ของวิมานในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง

จากมุมมองทางพุทธศาสนา ความเมตตาและปัญญาคือสองปัจจัยซึ่งเป็นแก่นสำคัญในการปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากพันธนาการแห่งความทุกขเวทนาทั้งปวง และทำให้เราบรรลุถึงสภาวะแห่งความสุขที่จริงแท้และยืนนาน

ในระหว่างการสร้างแมนดาล่าทรายของพระเชนรีซิก ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา แมนดาล่าจะค่อยๆ ก่อรูปขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาหลายวันที่ทุ่มเทไปพร้อมกับสมาธิอันแรงกล้าและ งานทรายที่ต้องใช้ความอุตสาหะ ในที่สุดแมนดาล่าซึ่งอยู่ภายในจิตใจนี้ก็จะแปรเปลี่ยนไปสู่งานศิลป์สำหรับ ให้ทุกคนได้เห็นและชื่นชม

แมนดาล่ายังถูกสร้างขึ้นสำหรับพิธีกรรมรับเข้าที่อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงจะเป็นผู้อนุญาตให้ศิษย์ชั้นสูงเข้าร่วมในการฝึกสมาธิตามแนวตันตระ ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สถิตอยู่ ณ ใจกลางแมนดาล่า และตัวแมนดาล่าเองล้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นรูปแบบการแสดงออก อันบริสุทธิ์ของจิตใจที่รู้แจ้งอย่างเต็มเปี่ยมของพระพุทธเจ้า ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้ให้การยอมรับ ส่วนแมนดาล่าก็คือสถานที่ซึ่งประกอบการยอมรับ ตลอดพิธีกรรมยอมรับนี้ เมล็ดพันธุ์แห่งความรู้แจ้งจะถูกปลูกฝังไว้ภายในจิตใจแต่ละบุคคล และจากนั้นก็จะได้รับการหล่อเลี้ยงโดยกระบวนการอันทรงพลังของ การประจักษ์ถึงและ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 กุมภาพันธ์ 2553 15:42:23 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 16 กุมภาพันธ์ 2553 15:37:14 »




แมนดาล่าทำจากอะไร?
 แมนดาล่าอาจสร้างขึ้นจากเพชรล้ำค่า ดอกไม้ เมล็ดข้าวแห้ง หินสี หรือทรายสีก็ได้ สำหรับการสร้างแมนดาล่าทราย ทรายนับพันเม็ด ตั้งแต่แบบที่ละเอียดที่สุดไปจนถึงหินทรายเม็ดหยาบ จะถูกทำขึ้นจากหินอ่อนตกผลึกสีขาวที่ได้รับการคัดสรรอย่างพิถีพิถัน และจะถูกนำไปบดให้มีความหยาบต่างๆ กัน จากนั้นผงทรายเหล่านี้ก็จะนำไปผ่านกระบวนการย้อมสี โดยจะมีทั้งสิ้นห้าสี แต่ละสีแทนถึงปัญญาเฉพาะอย่างในการบรรลุถึงการเป็นผู้รู้แจ้ง ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า แต่ละขั้นตอนในการเตรียมการนี้ต้องผ่านการปฏิบัติอย่างตั้งใจและได้รับการปลุกเสกในกระบวนการก่อนที่ผงทรายย้อมสีจะถูกนำมาใช้สร้างแมนดาล่าบนแท่นพื้นเรียบ

      กรวยโลหะที่ใช้นั้นเรียกว่า chak-pu เมื่อกรวยที่มีลักษณะแคบและยาวนี้ถูกนำมาถูกับชิ้นเขาสัตว์ ทรายสีที่บรรจุอยู่ภายในกรวยก็จะไหลออกมาในจังหวะที่สม่ำเสมอ เครื่องขูดที่ทำจากไม้หรือที่เรียกว่า shing-ga ถูกนำมาใช้จัดขอบให้ตรงและจัดเม็ดทรายที่กระจัดกระจายให้สะอาดเรียบร้อย ความจำเป็นที่ต้องใช้ทั้งกรวยและเขาสัตว์โดยจะขาดสิ่งใดไปไม่ได้ในกระบวนการเหล่านี้ช่วยเตือนให้เราไม่ลืมว่า ไม่มีสิ่งได้ที่คงอยู่ได้โดยไม่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้นจากการพึ่งพากันบนความหลากหลายของเหตุปัจจัย

     ผงทรายย้อมสี ซึ่งมีทั้งสีน้ำเงิน ขาว เหลือง แดง เขียว ดำ น้ำตาล ส้ม ฟ้า เหลืองอ่อน แดง และเขียวอ่อน จะถูกนำมาใช้ ในการฝึกปฏิบัติตามแนวตันตระ สีขาว เหลือง แดง และน้ำเงินอมดำจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการกระทำอันสันติ เพิ่มพูน ทรงอำนาจ และดุร้าย ตามลำดับ การกระทำดังกล่าวไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว แต่มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตอื่นๆ

       อัตราส่วนที่แน่นอนและรายละเอียดทั้งหมดในการสร้างแมนดาล่าทรายถูกกล่าวไว้ในตำราโบราณทางพุทธศาสนา แม่ชีจะทำตามภาพประติมานวิทยาทางศาสนาอย่างพิถีพิถัน เพราะทุกๆ ส่วนของแมนดาล่าสื่อสัญลักษณ์ถึงแง่มุมที่แตกต่างกันของคำสอนและการตระหนักถึงผู้ตรัสรู้ประจำแมนดาล่านั้นๆ




แมนดาล่าพระไภชัษฯ

       แมนดาล่าทรายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ณ วัดธรรมปัญญารามบางม่วงครั้งนี้ คือแมนดาล่าทรายแห่งพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่ท่านเซียงป้อ เจ้าอาวาสวัดธรรมปัญญารามบางม่วง ได้จัดให้มีโครงการหล่อพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นจากเงินแท้ๆ เพื่อเป็นพระประธาน ดังนั้นทางคณะแม่ชีจึงได้สร้างแมนดาล่าทรายพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าขึ้นให้เป็นการสอดคล้องกัน เพื่อเป็นการเสริมอานุภาพแห่งการประสาทพรแห่งการบำบัดรักษา เพราะพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าแห่งการบำบัดรักษาโรคภัย ผู้ที่ได้บูชาพระองค์ด้วยจิตศรัทธาหรือผู้ที่ได้เห็นแมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็จะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ความทุกข์ทรมาน และเคราะห์ร้ายทั้งปวง

     การได้เห็นหรือได้เพ่งสมาธิไปที่แมนดาล่าพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พร้อมๆ กับสวดบทบูชาประจำองค์พระไปด้วย จะช่วยให้เราได้ชำระบาปกรรมที่สั่งสมมาเป็นเวลานับกัลป์ได้ ผู้ที่เจ็บป่วยใกล้ละจากโลก หากได้เห็นแมนดาล่าทรายนี้ ก็จะไม่รู้สึกทุกข์ทรมาน และจะได้ไปเกิดในภพภูมิใหม่ที่ดี และไม่ได้ไปเกิดในภพของเดรัจฉาน




Credit by : http://mahayan.com/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=6
Pics by : http://buddhayan.sitepackage.net/?p=image&o=192

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 12:47:05 »






ใบหน้า "พระโจโวศากายมุณี" ช่างสวยงามตามศิลปะธิเบต


ตามตำนานเล่าว่า เจ้าหญิงเวนเซ็ง ผู้เข้มแข็งทรงมากด้วยความสามารถ
นอกจากทรงนำขนบธรรมเนียมแบบจีนมาใช้ในราชสำนัก

ตลอดจนการเกษตร และทอผ้ามาเผยแพร่ให้แก่พสกนิกรทิเบตแล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้อัญเชิญ
พระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง 9 เมตร

ปิดทองอร่ามทั้งองค์ประดับด้วยไข่มุก หินปะการัง และอัญมณีหลากสี ซึ่งชาวธิเบตเรียกว่า
“โจโวศากายมุณี”( Jowo Sakyamuni)

และต่างให้ความนับถือว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 1 ใน 3 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เล่าขานกันว่า อัญเชิญมาจากแผ่นดินจีน
ด้วยความยากลำบากจนเหล่าเทพยาดาต้องลงมาช่วยกันอัญเชิญต่อเนื่องชั่วเวลาข้ามคืน



Green Tara Mantra (108 Repetitions)






การกราบแบบอัษฏางคประดิษฐ์ (ทางคติวชิรยาน)
อนุโมทนาค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 กรกฎาคม 2553 16:00:17 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 12:55:46 »




ยิ้ม รัก ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 13:02:08 »


วัดโจคัง (Jokhang) หรือชาวจีนเรียกว่า ต้าเจ้า ซื่อ (Dazhao Si )

เป็นวัดหลังคาทอง มีอายุมากกว่า 1,400 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่ ศตวรรษ ที่ 7 (ประมาณ ปี ค.ศ. 639-647) ชาวธิเบตนับถือว่าวัดแห่งนี้เป็น วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดในประเทศ

วัดโจคังสร้างขึ้น หลังจากการอภิเษกสมรส ระหว่างราชธิดา ราชวงศ์ ถัง ของจีน กับกษัตริย์ ธิเบต เจ้าหญิง เหวินเชง ทรงนำพระพุทธรูปพระศากยมุนีจากจีนมาด้วย เมื่อสร้างวัดเสร็จ ได้อัญเชิญ พระพุทธรูปไปประดิษฐาน ณ วัดโจคัง ปัจจุบันการทำพิธีสำคัญทางศาสนาพุทธก็จะมาทำ พิธีที่วัดนี้

วัดโจคังเป็นสถานที่สำคัญมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของเมืองลาซา นอกจากพระราชวังโปตาลาแล้ว วัดโจคังก็เป็นสถานที่อีกแห่งที่พลาดเสียมิได้ วัดนี้อยู่ทางตะวันออกของพระราชวัง บริเวณรอบวัดมีถนน ล้อมรอบ ชาวทิเบตเรียกกันว่า ถนนแปดเหลี่ยม เพราะถนนสายนี้ หักเป็นมุมล้อมรอบวัดเป็นรูปแปดเหลี่ยม บนถนนสายนี้เป็นย่างช้อปปิ้ง และย่านที่คึกคักจอแจที่สุดของเมืองลาซาอีกด้วย

จุดเด่นของวัด นี้คือ บนหลังคาวัด ซึ่งเป็นดาดฟ้า มีรูปปั้นสัญลักษณ์ พระธรรมจักรกัปวัตนสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ประธานเป็นปฐ่มเทศนา เป็นรูปธรรมจักร และ กวาง 2 ตัวนอนหมอบ หันหน้าเข้าหาธรรมจักร ทั้งธรรมจักร และกวางน้อย หุ้มด้วยทองคำแท้อยู่ด้านบน หลังคาวัดโจคังก็ประดับด้วยทองคำ ในยามเย็น เมื่อแสงอาทิตย์ สาดส่องต้องหลังคาวัด จะสะท้อนสีทองออกมา วาววับจับตา เป็นภาพที่งดงามประทับใจมาก

ภายในวัดมีพระประธานเป็นพุทธรูปองค์ใหญ่ สูงประมาณ 3 เมตรคือ โจโวศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เจ้าหญิง เหวินเชง พระธิดา ของฮ่องเต้ราชวงศ์ถัง ของจีน ที่ได้เดินทางไกลมาแต่งงานกับพระเจ้าสองต์สัน กัมโปนำมาด้วย

พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุดของชาวธิเบต วัดโจคังได้ชื่อว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของธิเบต มีเรื่องเล่าว่า เมื่อทหารเรดการ์ด ของกองทัพประชาชนในยุคปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนยกกำลังมาทำลายวัดวาอาราม และสถานที่สำคัญทางศาสนาในเมืองลาซาจน เสียหายยับเยิน แต่เรดการ์ด กลับไม่กล้าแตะต้อง วัดโจคังเพราะเกรงกลัวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ อภินิหารของวัดนี้

ชาวธิเบตมีความผูกพันกับวัด โจคังมาตั้งแต่เกิด พวกเขาถือว่าการได้มีโอกาสที่จะมาไหว้พระที่วัดนี้สักครั้ง ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่แล้ว

เมื่อศาสนาพุทธนิกายมหายานได้เผยแผ่ เข้าไปในธิเบต ผสมกับความเชื่อในลัทธิบอนของชาวธิเบต ต่อมาได้ผสมผสานกับศาสนาพุทธ อีกนิกายหนึ่งคือ นิกายตันตระ หรือนิกาย วัชรณาน เป็นพุทธศาสนาอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นพุทธศาสนาแนวทางธิเบตเรียกว่า "Lamaism" แต่ยังรักษาประเพณีความเชื่อของศาสานพุทธนิกายมหายาน เช่น การเติมน้ำมันตะเกียงตามความเชื่อที่ว่าเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้ชีวิต ซึ่งก็คือการต่ออายุ ผู้เติมนั่นเอง น้ำมันนี้ได้มาจากไขของจามรี เป็นน้ำมันมีกลิ่นฉุนประหลาด เมื่อเข้าวัดธิเบตจะได้กลิ่นน้ำมันจามรีเป็นของคู่วัดธิเบตทุกแห่ง

รอบๆวัดโจคังมีชาวธิเบตมากราบพระด้วยการทอดตัวลงไปนอนราบจนหน้าผากสัมผัสพิ้นแล้วลุกขึ้นมายืนแล้วกราบลงไปใหม่ แล้วลุกขึ้นมาแล้วกราบใหม่ในท่าเดิม ชาวธิเบตเรียก การกราบแบบนี้ว่า " กราบ 8 จุด" หรือ " อัษฏางคประดิษฐ์ " อันเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด

เมื่อไปวัดโจคังจะเห็นภาพชาวธิเบตนอนราบกราบพระแล้วลุกขึ้นมาแล้วนอนลงกราบใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้อยู่ทั่ววัด บ่อยครั้งที่จะเห็นชาวทิเบตเดินวนกราบพระไปรอบๆวัด ด้วยการเดิน 3 ก้าว แล้วกราบพระ 1 ครั้งแล้วลุกขึ้นมาเดินไปอีก 3 ก้าว แล้วนอนกราบอีกครั้ง สลับกันไป บางคนเดินวนรอบวัดกราบพระไม่รู้กี่ร้อยรอบ

รอบโบสถ์วัดโจคัง จะมี " Prayer Wheel" เป็นวงล้อขนาดใหญ่ ภายในวงล้อมีบทสวดมนต์ จารึกอยู่บนวงล้อ การหมุนวงล้อธรรมนี้จะหมุนไป ตามเข็มนาฬิกา หมุนวงล้อธรรม 1 ครั้ง เท่ากับการได้สวดมนตฺ์ ไป 40,000 จบ การหมุนวงล้อ พระธรรมคำสวดนี้ชาวธิเบตจะปฏิบัติกันจนเป็นกิจวัตร ดังนั้น เมื่อเดินไปตามถนนก็จะเห็นชาวธิเบตถือวงล้อ ธรรมดา ขนาดเล็ก เดินไปหมุนไปด้วยตลอดเวลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 สิงหาคม 2553 07:27:58 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 13:22:29 »



กวางสองตัว หมอบ หันหน้า เข้า ธรรมจักร อยู่ บน ดาดฟ้า ของวัดโจคัง


ป้ายแสดงยืนยัน ความเป็นมรดกของโลก ของยูเนสโก้


มอง ธรรมจักร จากไกลๆ หน่อย ก็สวยเด่น ตา มีคนอยู่ข้างบนนั้นได้
เพราะเป็นดาดฟ้าขึ้นไปชมได้ครับ มองจากข้างบน ก็จะเห็น พระราชวัง โปตาลา ด้วย


หน้าวัดโจคังแบบ เต็มๆ

วัดโจคัง (อารามโจคัง) Jokhang Monastery

...ศาสนสถานสำคัญแห่งนี้ สร้างขึ้นในราว พ.ศ 1182-1190 ในรัชสมัยของ “พระเจ้าซองเซ็น กัมโป” ปฐมกษัตริย์แห่งธิเบคต ผู้ทรงอำนาจ บรรดาประเทศเพื่อนบ้านต่างส่งเจ้าหญิงของตนมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีด้วยคือ เจ้าหญิงภริกูติ เทวี จากเนปาล และเจ้าหญิงเวนเซ็ง กองโจ พระราชธิดาแห่งราชวงศ์ถัง ทั้ง 2 พระองค์ต่างอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาจากบ้านเกิดของตน

...กษัตริย์ทรงเสื่อมใสในศาสนาพุทธโปรดสร้างอารามโจคังแห่งนี้ เพื่อประดิษฐานองค์พระทั้ง 2 มเหสี

...อารามโจคัง หรือแต่เดิมเรียกว่า “โจโวคัง” Jowokhong ก็คือ อารามประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้นั่นเอง และอารามนี้หาใช่สร้างแบบธรรมดาไม่ เพราที่ตั้งเดิมเคยเป็นทะเลสาบใหญ่ เจ้าหญิงเวนเซ็ง เป็นผู้เลือกฮวงจุ้ยจึงต้องสูบน้ำออกให้หมด และทำพิธีสะกดวิญญาณร้ายให้จมอยู่ใต้ทะเลสาบ ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญทางพุทธศาสนาตามความเชื่อในยุดสมัยนั้น โดยการบูชายัญด้วยแพะ ร่องรอยในอดีตที่เหลือไว้พอให้เห็นน่าเชื่อถือคือ แท่นหินภายในเป็นโพรง

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 13:32:34 »



ภายในพระอารามโจคังวิหาร มีกลิ่นอายกำยานหอมฟุ้ง มีพระพุทธรูปใหญ่เป็นพระประธานตรงกลาง

สิ่งหลักฐานที่เป็นเหตุจีนแผ่นดินกลืนแผ่นดินธิเบต..ด้วยเหตุผล

...มีแผ่นศิลาคู่จารึก ข้อความเป็นภาษาธิเบตและจีน เป็นสิ่งประจักษ์พยานของ 2 แผ่นดิน
เพื่อสนธิสัญญาสันถวไมตรีในปี พ.ศ.1364

ระหว่างจักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถัง ผู้เป็นพระปิตุลา(ลุง) และพระเจ้าตริสอง เดนเซน
จักรพรรดิแห่งธิเบต ผู้เป็นพระภาคิไนย (หลานชาย) พระโอรสของเจ้าหญิงเวนเซ็งนั่นเอง

ในแผ่นศิลาจารึกนั้นมีใจความบันทึกว่า

....” ไมตรีระหว่างอาณาจักรสองเราไร้ซึ่งหมอกควันหรือฝุ่นผง จงอย่าได้วิตกถึงคำว่า “ศัตรู”
เพราะแม้แต่การรักษาพรมแดนของเราทั้งสองจักอยู่ในที่ของตนอย่างสันติสุขนับหมื่นปี
เกียรติคุณครั้งนี้จะแผ่ขยายไปทั่วหล้า ภายใต้รัศมีแห่งสุริยันและจันทรา”....


“สันติสุข” ผ่านไปพันกว่าปี ก็อันมามีอันล่มสลายในปี พ.ศ.2492 รัฐบาลจีนภายใต้การนำของ
“เหมา เจ๋อ ตุง” ส่งกองทัพกำลังเข้าทำการสงครามเหนือแผ่นดิน

แม้ใช้สันติวิธีก็ไม่อาจกู้วิกฤตได้ วันที่ 10 มีนาคม 2502 ดาไลลามะองค์ที่ 14 ประมุขของศาสนาจักร
และอาณาจักรจำต้องละทิ้งแผ่นดิน
เสด็จลี้ภัยพร้อมพสกนิกรนับหมื่นกว่าคนเดินเท้าสู่ธรรมศาลาในประเทศอินเดียจวบถึงปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2553 14:01:30 »






พระพุทธรูปสูงใหญ่ขนาด 9 เมตร ชื่อว่า พระโจโวคังศากายมุณี
ที่เจ้าหญิงเวนเซ็ง อัญเชิญมาจากจีนบ้านเกิดของพระองค์เอง

...นับตั้งแต่อารามโจคังถูกปิดตายนานถึง 30 ปีกว่า และเปิดตัวอีกครั้ง
เมื่อไม่อาจทนต่อ การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก

ความหมายในศิลาจารึกทั้งสองล้วนเสมือนหนึ่งเครื่องเตือนใจให้เราเข้าใจถึง
สัจจะธรรมของชีวิตได้เป็นอย่างดี

“สิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน” เราจึงไม่ควรหยุดนิ่ง และเร่งค้นหา
แก่นสารของชีวิต
โดยคิดประหนึ่งว่า “เวลาเหลือน้อยลงทุกขณะ”






ภาพแสดงการก่อสร้างวัดโจคังตามคำสั่งของพระเจ้าซองเซ็น กัมโป
และเจ้าหญิงเวนเซ็ง ดูจากภาพมุมขวามือคือสองพระองค์นั่นเอง


ชื่อของวัดโจคัง
ภาษาธิเบต แปลว่า ห้องพระ



Credit by : http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=156788
ขอบพระคุณที่มามากมายค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 สิงหาคม 2553 07:49:33 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: จัดหน้าค่ะ » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553 12:53:16 »




 รัก    ยิ้ม    รัก

Tara
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2553 13:09:08 »





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤษภาคม 2555 01:38:54 โดย เงาฝัน, เหตุผลที่แก้ไข: jpg » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.492 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 08 พฤศจิกายน 2567 13:51:22