[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 02:49:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตามหา “เมตตาธรรม” โดย : จิระนันท์ พิตรปรีชา  (อ่าน 1099 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2559 04:35:49 »













ตามหา “เมตตาธรรม”

การแบ่งแยกและเกลียดชัง” โดยไม่มีสาเหตุรูปธรรมส่วนตัว เริ่มกลายเป็นประเด็นที่ชาวโลกและสังคมไทยต้องหันมาพิจารณาไตร่ตรอง

 “การแบ่งแยกและเกลียดชัง” โดยไม่มีสาเหตุรูปธรรมส่วนตัว เริ่มกลายเป็นประเด็นที่ชาวโลกและสังคมไทยต้องหันมาพิจารณาไตร่ตรอง หลังเกิดเหตุรุนแรงสะเทือนขวัญสลดใจนับครั้งไม่ถ้วน ล่าสุดคือการบุกเดี่ยวเข้าไปรัวปืนกลกราดยิงผู้คนในบาร์เกย์ที่เมืองออร์แลนโด สหรัฐอเมริกา จนมีผู้เสียชีวิตในคราเดียวถึง 50 ราย

เรื่องใหญ่ก็เป็นข่าวใหญ่ แต่ยังมีเรื่องเล็กที่ไม่เป็นข่าวอีกมากมาย การประทุษร้ายด้วยวจีกรรมโดยไม่ต้องรู้จักกัน แม้ไม่เจ็บตัวถึงตาย ก็อาจก่อความเสียหายทุกข์ร้อน และดึงดูดสังคมลงสู่หลุมดำแห่งความถ่อยเถื่อนรุนแรงในที่สุด หลายครั้งที่เราได้เห็นเรื่องที่ควรโต้เถียงอภิปรายด้วยหลักการและเหตุผลอย่างสร้างสรรค์ กลับกลายเป็นการแบ่งค่ายป้ายสี ด่าทออาฆาตมาดร้ายต่อกันอย่างไร้สติ

ศัพท์บางคำที่เราคุ้นเคยกันดีเมื่อสิบยี่สิบปีก่อน ดูจะเลือนหายไปจากสำนึกของสังคมไทย เดี๋ยวนี้ไม่มีใครเอ่ยคำว่า “เมตตา-กรุณา-ปรานี” ทั้งที่แต่ก่อนเราเคยท่องจำขึ้นใจว่า สามคำนี้มีข้อแตกต่างกันอย่างไรและควรเลือกใช้ในกรณีไหน กระทั่งคำตำหนิติเตียนว่าใคร “ใจร้าย-ใจจืด-ใจดำ”ก็เลิกใช้กันเพราะมันกลายเป็นเรื่องปกติสามัญไปแล้ว หรือถ้าใครพยายามมองโลกและผู้อื่นในแง่ดีบ้าง ก็จะโดนเย้ยหยันว่าเป็นพวก “โลกสวย”... นี่ยังไม่ต้องพูดถึงการใช้ทุรวาจาถ้อยคำรุนแรงที่เป็นกระแสนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าหากศัพท์แสงภาษาคือดัชนีชี้วัดค่านิยมและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในสังคม โลกออนไลน์ก็คือแหล่งผลิตคนปากร้าย ใจร้าย (และผู้ก่อการร้าย) ในปริมาณสูงสุด ด้วยต้นทุนต่ำสุด และไร้ความรับผิดชอบมากที่สุด

ปิดหน้าจอ หลีกหนีสังคมสมมุติโลก ไปตามหาถ้อยคำที่หายไปดีกว่า.. ---------

ทุกครั้งที่ได้ไปเยือนประเทศแถบหิมาลัย เราจะสะดุดตากับเทวรูปต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับเพศหญิงมากกว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพราหมณ์(ฮินดู) พุทธนิกายวัชรยาน หรือมหายาน และยังเป็นที่เคารพบูชาในระดับสูงสุดอีกด้วย นั่นทำให้นึกถึงเจ้าแม่กวนอิมของชาวพุทธในจีน และเทพีเอลิออสของกรีก.. จะศาสนาใด ต่างต้องมี”ผู้หญิง”เป็นสัญญลักษณ์ของเมตตาธรรม !

“พระแม่ตารา” พระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงของพุทธวัชรยาน (ทิเบต เนปาล สิกขิม อินเดียเหนือ) ซึ่งถือกันว่าเป็นองค์เดียวกับเจ้าแม่กวนอิมของจีนมหายาน มีเรื่องราวชาดกที่แสนสะเทือนใจ..

“เมื่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเสด็จประทับเหนือขุนเขา ทรงนึกถึงปวงสัตว์โลกที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร ทนทุกข์ทรมาน โหยหิว ส่งเสียงคร่ำครวญเป็นที่น่าเวทนาไม่รู้จบสิ้น พระองค์รู้สึกสงสารมวลมนุษย์ จนน้ำพระเนตรหลั่งลงเกิดเป็นทะเลสาบใหญ่ และมีดอกบัวผุดขึ้นในทะเลสาบ ในดอกบัวสองดอกมีพระนางตาราสององค์สถิตอยู่ องค์หนึ่งขาว องค์หนึ่งเขียว แม้กำเนิดเป็นผู้รู้แจ้ง หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง แต่พระนางทรงตั้งปณิธานว่าจะไม่ละจากสังสารวัฏไปสู่นิพพาน จนกว่าจะช่วยให้สัตว์โลกทั้งปวงหลุดพ้นจากทุกข์และเข้าถึงการตรัสรู้ และต่อมาทั้งสองพระนางได้อวตารเป็นธรรมทูตนำศาสนาพุทธมาประดิษฐานในทิเบต”

ตำนานพระโพธิสัตว์ปางนี้ทำให้ซาบซึ้งในพุทธธรรมคำสอนที่ว่า “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” ต่อให้เป็นเรื่องศรัทธาจินตนาการของศาสนิกชนคนโบราณ เราก็ยังจับประเด็นได้ว่า เมตตาจิตนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการเยียวยาบรรเทาทุกข์ของทั้งสังคม

ทางศาสนาฮินดูก็มี”พระแม่อุมาเทวี” ชายาพระศิวะและมารดาพระพิฆเณศ ทรงมีรูปโฉมงดงาม เปี่ยมด้วยความเมตตา เป็นมารดาแห่งสรรพชีวิต ทรงเสือเป็นพาหนะ-หมายถึงพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ และความสง่างาม พระแม่อุมาเทวียังมีอวตารอีกหลายปาง ที่สำคัญคือปางพระแม่ทุรคาและปางพระแม่กาลี อันเป็นภาค”เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว”และ ”ดุร้าย” ของเพศหญิง

ชาวไทยพุทธมักเข้าใจผิดคิดไปว่า เพราะเจ้าแม่กาลีโหดร้ายน่ากลัว ชาวฮินดูจึงต้องกราบไหว้บูชาให้พ้นภัย จริงๆ แล้วมีตำนานว่า พระแม่กาลีได้ปกป้องเหล่าทวยเทพด้วยการต่อสู้กับ“อสูรทารุณ”ซึ่งมีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดอสูรตนนี้ตกถึงพื้นดินจะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด พระนางจึงตัดหัวและดื่มเลือดอสูรทุกครั้งก่อนตกถึงพื้น จนสามารถพิชิตได้ในที่สุด แม้วรกายพระนางชุ่มโชกโลหิต พุงกางด้วยความอิ่ม และในมือถือหัวอสูรที่ร้อยเป็นพวง จนดูน่าสะพรึงกลัว แต่เแท้จริงแล้ว พระแม่กาลีคือวีรสตรีผู้เสียสละปกป้องสังคมเทพ เฉกเช่นเดียวกับแม่ที่สู้ยิบตาเพื่อปกป้องลูกน้อย

ตำนานพระแม่อุมา-กาลี ของฮินดู ก็นำเราไปสู่ข้อสรุปเดียวกันกับเรื่องของพระแม่ตาราแห่งทิเบต...

ความเมตตา คือความรักความปรารถนาดี ที่ทำให้รู้จักอดทน กล้าหาญ เสียสละ เพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นและสังคมโดยรวม

หวังว่า ความเมตตาจะไม่กลายเป็นเพียง “คุณธรรมในตำนาน” ในสังคมยุค “คุณน่ะทำ”

จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/703304

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เมตตาธรรม
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
sometime 0 1771 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2552 19:14:17
โดย sometime
เมตตาธรรม
ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน
時々๛कभी कभी๛ 0 1302 กระทู้ล่าสุด 14 พฤษภาคม 2554 12:23:19
โดย 時々๛कभी कभी๛
จีระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรท์ แปลเพลง IMAGINE ของ John Lennon ได้เพราะมาก
หน้าเวที (มุมฟังเพลง)
มดเอ๊ก 0 3905 กระทู้ล่าสุด 19 ธันวาคม 2560 14:54:24
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.906 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 18 มีนาคม 2567 21:03:27