[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ไปเที่ยว => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 11 ธันวาคม 2566 15:05:00



หัวข้อ: วัดพุทไธศวรรย์ ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 11 ธันวาคม 2566 15:05:00
(http://www.sookjaipic.com/images_upload/33830850364433_7_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/40608167110217_5_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/85765872109267_1_Copy_.JPG)

วัดพุทไธศวรรย์
ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วัดพุทไธศวรรย์  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับพระนครด้านใต้ ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ ๔๖ ไร่ ๒ งาน ๔๖ ตารางวา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดพุทไธศวรรย์ ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมบรมกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระตำหนักที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก" ก่อนที่จะยกข้ามแม่น้ำไปสร้างพระราชวังที่ตำบลหนองโสน หรือที่เรียกว่า “บึงพระราม” ในปัจจุบัน และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ.๑๘๙๓  ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ.๑๘๙๖ สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง  ในปัจจุบันยังเหลือซากโบราณสถาน เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา

อนึ่ง เมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ.๒๓๑๐ วัดพุทไธศวรรย์ก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกพม่าทำลายเหมือนวัดอื่นๆ ทุกวันนี้จึงยังมีโบราณสถานไว้ชมอีกมากมาย

ที่ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ ซึ่งสร้างมีแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีภาพเขียนเรื่องทศชาติชาดกกับเรื่องสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ลังกาทวีป ภาพเหล่านี้ฝีมืองามมาก แต่น่าเสียดายที่ภาพลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว  ที่มุขเด็จพระปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระเจ้าอู่ทอง  รูปพระเจ้าอู่ทองนี้เดิมทำเป็นเทวรูป  ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๗ พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาล เสด็จออกไปซ่อมเพนียดที่พระนครศรีอยุธยาทรงพบเข้า จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้เชิญเทวรูปนั้นลงมากรุงเทพฯ แล้วโปรดให้หล่อแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดร ส่วนรูปที่เรียกกันว่า “พระเจ้าอู่ทอง” ในปัจจุบันเป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนตรงมุขข้างปรางค์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม  วัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ยอดปรางค์อีกครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/64202799648046_2_Copy_.JPG)
พระพุทธรูป ๓ องค์ในพระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
พระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน ภายในมีพระพุทธรูป ๓ องค์ขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี
ที่ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงายอยู่บนฐานเขียง ได้รับการปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/49948567276199_3_Copy_.JPG)
วิหารพระพุทไธศวรรย์เจาะช่องหน้าต่างสี่เหลี่ยมทางด้านยาวรวม ๖ ช่อง เจาะประตูทางเข้า ๑ ช่อง
โดยองค์พระพุทธไสยาสน์หันพระเศียรตรงกับช่องประตูทางเข้า แสดงให้เห็นถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/45951748680737_4_Copy_.JPG)
คนส่วนใหญ่นิยมมากราบไหว้พระนอนในวิหารพระพุทไธศวรรย์ ขอพรเรื่องการงาน



(http://www.sookjaipic.com/images_upload/93667638426025_12_Copy_.JPG)
ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
อาคารหลังนี้ไม่ปรากฏชื่อที่แท้จริงในเอกสารทางประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในสมัยหลังได้สมมติเรียกอาคารหลังนี้ว่า
“ตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์”  อาคารหลังนี้ไม่น่าจะเป็นตำหนักหรือเรือนที่พักได้ หากแต่พิจารณาจากตำแหน่งที่ตั้ง
ถัดจากพระอุโบสถออกมาเหมือนกับอาคารทรงตึกที่วัดเจ้าย่า จึงชวนให้คิดว่าอาคารหลังนี้น่าจะเป็นศาลาการเปรียญของวัด


(http://www.sookjaipic.com/images_upload/21445837244391_13_Copy_.JPG)
ในอาคารชั้น ๒ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ.๒๒๓๑ - ๒๒๔๕

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/15335443657305_14_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/81315309885475_15_Copy_.JPG)

งานจิตรกรรมสมัยอยุธยาบนตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  เขียนภาพเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนา สังคม และวัฒนธรรม  
ที่ผนังสกัด (ด้านกว้าง) ทางด้านทิศเหนือเขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังสกัด (ด้านกว้าง) ทางทิศใต้เขียนภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ
ผนังด้านแป (ด้านยาว) ทางทิศตะวันออกเขียนภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษจารย์เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท
ณ ประเทศลังกา และผนังด้านแป (ด้านยาว) ทางทิศตะวันตกเขียนภาพทศชาติชาดก

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/95531098792950_8_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/46539521507090_9_Copy_.JPG)

(http://www.sookjaipic.com/images_upload/76237867317265_10_Copy_.JPG)


850-32