[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

สุขใจในธรรม => ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน => ข้อความที่เริ่มโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:01:32



หัวข้อ: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:01:32
[ โดย อ.มดเอ็กซ์ ]


(http://www.enlightened-spirituality.org/images/Zen_humor_Sengai_monk_teachings_smaller.jpg)
 
 
เสียงตด คือ เสียงพุทธะ
 
 
 
พระรูปหนึ่งถามอาจารย์โถจื่อว่า
" ในพระสูตรบอกว่า เสียงของสรรพสิ่งคือเสียงพุทธะ จริงอย่างนั้นหรือครับ "
อาจารย์ตอบว่า " ก็จริงสิ "
 
 
 
พระรูปนี้ถามอีกว่า " ถ้าอย่างนั้น เสียงที่ออกมาจากท้องน้อยหรือเสียงผายลม
ก็เป็นเสียงพุทธะด้วยสิครับ "
 
 
อาจารย์จึงตีพระรูปนี้ไป
 
 
เขายังถามต่ออีกว่า " ในพระสูตรบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นคำหยาบหรือคำสุภาพ
ก็เข้าหลักพุทธธรรม เป็นอย่างนั้นจริงหรือครับ "
อาจารย์ตอบว่า " จริงซี "
 
 
 
เขาถามอีกว่า " ถ้าอย่างนั้น เราพูดว่า แกมันไอ้พวกห้าร้อย ! นี่ก็เข้าหลัก
พุทธธรรมน่ะซีครับ "
 
 
 
อาจารย์ตีเขาไปอีกที
 
 
( คัดเรื่องจากปี้เอี๋ยนลู่ )


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:02:04
(http://wongkk.com/images/general/kuanyin.jpg)
 
 
 
ไร้ที่มาไร้ที่ไป
 
 
 
ฌานาจารย์ถานหยิ่นบนเขาจินซาน บวชตั้งแต่อายุ ๑๓ ปีที่อารามหลงซิงซื่อ
เมื่ออายุได้ ๑๘ พรรษา ก็ออกภิกขาจาร เดินทางเข้าเมืองหลวง และมีโอกาส
พำนักในคฤหาสน์ ท่านอำมาตย์หลี่ตวนย่วนอยู่ระยะหนึ่ง
 
 
 
มาวันหนึ่ง อำมาตย์หลี่ถามท่านว่า " คนตายแล้ว คืนสู่หนใด ? "
ฌานาจารย์ถานหยิ่นตอบว่า " ยังไม่รู้เกิด ฤาจะรู้ตาย ? "
อำมาตย์หลี่พูดว่า " เรื่องเกิด ข้าเข้าใจนานแล้ว "
 
 
 
ฌานาจารย์ถานหยิ่นย้อนถามว่า " ลองตอบดูซิว่าเกิดจากที่ใด ? "
ขณะที่อำมาตย์หลี่นิ่งอึ้งใช้ความคิดอยู่นั้น ฌานาจารย์ถานหยิ่นใช้นิวจิ้มที่หน้าอก
อำมาตย์หลี่ ถามต่อไปว่า " คิดอะไรที่ตรงนี้หรือ ? "
 
 
 
อำมาตย์หลี่ตอบว่า " รู้แล้วล่ะ เพียงโลภ เดินทางไกล หารู้ไม่ ผิดวิถี "
ฌานาจารย์ถานหยิ่นจึงพูดว่า " ร้อยปีหนึ่งฝัน " อำมาตย์หลี่ก็เข้าใจแจ่มแจ้งในทันที
 
 
 
- ( เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:02:18
(http://www1.skz2.go.th/hrt/fable/035_files/ga.jpg)
 
 
 
ได้ยิน ไม่ได้ยิน
 
 
 
สมัยที่ตู้เจี้ยนเป็นมหาเสนาบดี ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านสนทนาธรรมกับฌานาจารย์
อู๋เยิ่นในอาราม มีอีกาตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้หน้าวิหารร้องเสียงสูง
 
 
 
ฌานาจารย์ถามว่า " ขณะนี้ท่านยังได้ยินเสียงอีกการ้องหรือไม่ ? "
อัครมหาเสนาบดีตอบว่า " อีกาบินไปแล้ว ยังจะได้ยินเสียงมันร้องอีกหรือ ? "
 
 
 
ฌานาจารย์กลับตอบว่า " ขณะนี้อาตมายังได้ยินเสียงอีการ้องอยู่ "
อัครมหาเสนาบดีถามอย่างประหลาดใจว่า " อีกาบินไปแล้ว ไม่ได้ร้องอีก
เหตุใดท่านจึงพูดว่ายังได้ยินเสียงมันร้อง ? "
 
 
 
ฌานาจารย์อธิบายว่า " ได้ยินมิได้ยิน มิใช่ได้ยินเสียงพุทธะ เดิมแท้ไม่เกิด
มีหรือจะดับ ? ขณะมีเสียง มีเกิด เสียงจึงเกิด ขณะไร้เสียง มีดับ เสียงจึงสิ้น
แต่การได้ยินเสียงแห่งพุทธะ ไม่เกิดตามเสียง ไม่ดับตามเสียง ไม่สิ้นตามเสียง
ถึงอีกาบินมาบินไป แต่การได้ยินเสียงแห่งพุทธะของอาตมา ไม่มีมา ไม่มีไป "
 
 
 
หลังจากนั้น อัครมหาเสนาบดีตู้เจี้ยนจึงเข้าใจพุทธธรรมลึกซึ้งมาก
 
 
 
- ( เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:02:30
(http://www.agalico.com/board/attachment.php?attachmentid=5688&stc=1&d=1165839161)
 
 
ธรรมกายพระยูไล
 

 
ครั้งหนึ่ง ขณะที่ฌานาจารย์ม่าจู่เต้าอี้นั่งสมาธิภาวนา เกิดไอไม่หยุด จึงขากเสลด
ถ่มเสมหะส่พระพุทธรูปตามสะดวกของท่าน
 
 
 
พระอุปัฏฐากที่นั่งอยู่ด้านข้างเกิดเห็นเข้า จึงถามว่า
" อาจารย์ถ่มเสมหะใส่พระพุทธรูปได้หรือ ? "
 
 
 
ฌานาจารย์ม่าจู่หยุดไอทันที ย้อนถามพระอุปักฐากว่า " ในความว่างเปล่าทุกแห่ง
ล้วนมีธรรมกายขององค์ยูไล เจ้าลองบอกอาตมาซิว่าจะให้ถ่มเสมหะไปที่ใด ? "
 
 
 
- ( เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:02:41
(http://img204.imageshack.us/img204/2936/shaolinsitezr9.jpg)
 
 
 
มหากุศล !

 
ฌานาจารย์หยั่งซานปฏิบัติฌานที่อารามของฌานาจารย์เหว่ยซานหลิงอิ้วนาน
๑๕ ปี กระทั่งอายุ ๓๕ พรรษา จึงบรรลุธรรม แล้วออกจาริกแสวงบุญเผย
แพร่พุทธธรรมจนได้รับฉายาว่า " ศากยมุนีน้อย "
 
 
 
มีครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์เดินผ่านหน้าท่าน
ท่านถามว่า " เจ้ามาจากที่ใด ? " ลูกศิษย์ตอบอย่างนอบน้อมว่า " มาจากทิศใต้ "
 
 
 
ท่านจึงชี้ไปที่ไม้เท้าในมืออีกข้างว่า " ฌานาจารย์เหว่ยซานทางใต้ยังใช้สิ่งนี้หรือไม่ "
ลูกศิษย์ตอบว่า " ไม่บอก "
 
 
 
ท่านกวัดแกว่งไม้เท้า ถามต่อไปว่า " ยังจะพูดอย่างนั้นหรือ ? "
ลูกศิษย์ส่ายศีรษะแสดงว่าไม่
 
 
ฉับพลันนั้นท่านก็ตะโกนใส่ลูกศิษย์ข้างตัวว่า " มหากุศล ! "
ลูกศิษย์พนมมือรับคำ
 
 
 
ท่านกล่าวว่า " เจ้าไปฟังธรรมที่ห้องเรียน ! "
ลูกศิษย์เดินทางไปห้องเรียน พอจะสาวเท้าเข้าห้อง ท่านก็เรียกจากทางด้านหลังว่า
 
 
 
" มหากุศล ! มาที่ข้างอาตมา "
 
 
 
เมื่อลูกศิษย์เดินเข้ามาไกล้ ท่านใช้ไม้เท้าชี้ไปที่ศีรษะลูกศิษย์แนะนำว่า " ไป ! "
 
 
พอได้ยินคำว่า " ไป ! " เท่านั้น ลูกศิษย์ก็สว่างวูบเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
 
 
 
- ( เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:02:53
(http://i195.photobucket.com/albums/z63/achariyakood/yesterday_after_rain.jpg)
 
 
 
 
 
อาจารย์ท่านไม่ว่าง
 

 
มีอยู่วันหนึ่ง ฌานาจารย์ฝอกวงได้พบเมี่ยวชุ่น จึงถามว่า
" เจ้าปฏิบัติฌานที่นี่นาน ๑๒ ปีแล้ว เหตุใดไม่มาสนทนาธรรมกับอาตมาเลย ? "
 
 
 
เมี่ยวชุ่นตอว่า " อาจารย์ท่านไม่ว่าง ศิษย์ไม่กล้ารบกวน "
 
 
 
พริบตาก็ผ่านไปอีก ๓ ปี มีอยู่วันหนึ่ง ฌานาจารย์ฝอกวงพบเมี่ยวซุ่นอีกครั้ง
จึงถามว่า " เจ้ามาอยู่ที่นี่นานมากแล้ว มีปัญหาอะไรหรือ ทำไมไม่มาสนทนา
ธรรมกับอาตมา "
 
 
 
เมี่ยวซุ่นตอบอย่างนอบน้อมเช่นเดิมว่า " อาจารย์ท่านไม่ว่าง ฉันไม่กล้ารบกวน
เวลาของอาจารย์ "
 
ฌานาจารย์ฝอกวงรู้ว่าเมี่ยวซุ่นเสงี่ยมเจียมตัวมากไป ถ้ายังเป็นอย่างนี้ จะปฏิบัติ
ฌานอย่างไรก็ไม่มีทางบรรลุ จึงเป็นฝ่ายบอกเมี่ยวซุ่นว่า
 
 
 
" ปฏิบัติธรรมแบบฌาน ต้องหมั่นสนทนาค้นคว้าเสมอ ทำไมเจ้าไม่มาสนทนา
ธรรมกับอาตมาล่ะ ? "
 
 
 
เมี่ยวซุ่นพนมมือไหว้แล้วตอบว่า " ฌานาจารย์ท่านไม่ว่างเลย ศิษย์มิกล้า
รบกวนเวลาสนทนาธรรมกับท่าน "
 
 
 
ฌานาจารย์ฝอกวงได้ยินเช่นนั้น จึงตวาดเสียงดังว่า " ไม่ว่าง ไม่ว่าง
ไม่ว่างเพื่อใครล่ะ ? อาตมาก็ไม่ว่างเพื่อเจ้าได้น่ะ "
 
 
- เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:03:13
(http://www.buddhadasa.org/images/life-work/theatre/jit_to_jit/12.jpg)
 
 
 
ยังมีสิ่งนี้อยู่ ?
 

 
ฌานาจารย์เต้าซิ่น ( พระตุชุนมหาครูบา พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๔ ของจีน )
เดินทางไกลไปเยี่ยมคารวะฌานาจารย์ฝ่าหยง
 
 
 
ขณะที่พวกเขาทั้งสองเดินด้วยกันบนภูเขา เห็นนกบินอยู่บนท้องฟ้าอย่าง
อิสระเสรี ก็ไม่มีปฏิกิริยาใด ครั้นพบเสือและสุนัขจิ้งจอกเดินป้วนเปี้ยน
ไปมา เต้าซิ่นแสดงท่าทางหวาดกลัว สาวเท้าไม่ออก ฝ่าหยงเห็นเช่นนั้น
ก็กล่าวว่า " อ้อ ! ที่แท้ท่านยังมีสิ่งนี้อยู่ ? "
 
 
 
หลังจากนั้น ฝ่าหยงก็พาเต้าซิ่นเข้าอาราม เต้าซิ่นจึงใช้พู่กันเขียนอักษร
" พุทธะ " ตัวโตไว้ที่อาสน์ ขณะที่ฝ่าหยงจะนั่งลงนั้น พบอักษร " พุทธะ "
ตัวโตเข้า ก็ไม่กล้านั่ง เอาแต่ยืนอยู่หน้าอาสน์ด้วยกิริยาสงบสำรวม
 
 
 
เต้าซิ่นจึงหัวเราะกล่าว่า " อ้อ ! ที่แท้ท่านยังมีสิ่งนี้อยู่ ? "


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:03:25
(http://www.seclub.com/forum/files/dsc01282_126.jpg)
 
 
ไม้เท้า
 
 
อาจารย์บาชิโยอุ ( ไม่ทราบประวัติ ) ได้ถามสานุศิษย์ว่า
 
 
" ถ้าเธอมีไม้เท้าอยู่แล้วอันหนึ่ง ฉันจะให้เธออีกอันหนึ่ง
แต่ถ้าเธอไม่มี ฉันจะแย่งเอาไม้เท้าจากเธอมา"
 
 
- คัดเรื่องจากอู๋หมิงกวน -
 
 
* " ไม้เท้า " ที่พูดถึงนี้ คือไม้เท้าที่พระจีนถือ และเป็นของสำคัญ
อย่างยิ่งสำหรับพระเซ็น ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการปฏิบัติธรรม
ตามแบบเซ็นด้วย


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:03:39
(http://www.beautiful-chiangmai.com/images/temples/wat_suan_dok_buddha_tree2.JPG)
 
 
อะไรคือคำสั่งสอนที่พูดไม่ได้
 
 
 
พระรูปหนึ่งถามอาจารย์มาจู่ว่า
 
 
 
" ผมอยากให้อาจารย์สอนสาระแท้ ๆ ของเซ็น ไม่อยากให้พูดถึงเหตุผลและ
ทัศนะที่เลื่อนลอยพวกนั้นเลยครับ "
 
 
 
อาจารย์มาจู่ตอบว่า " ตอนนี้ฉันเหนื่อยและเพลียมาก ไม่มีอารมณ์จะคุยกับ
เธอดอกนะ เธอไปถามอาจารย์จื้อฉางเองเถอะ "
 
 
 
พระรูปนี้จึงไปนมัสการเรียนถามอาจารย์จื้อฉางด้วยปัญหาเรื่องเดียวกัน
อาจารย์จื้อฉาง ( ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า จิโซ ) ตอบว่า
" ฉันงานยุ่งเหลือเกิน เธอกลับไปถามอาจารย์มาจู่เถอะ "
 
 
 
พระรูปนี้จึงบอกว่า " อาจารย์บอกให้ผมมาถามท่านครับ "
อาจารย์จื้อฉางจึงบอกไปว่า " ถ้าอย่างงั้นเธอก็ไปถามอาจารย์ไป่จ้างเถอะ "
 
 
 
พระรูปนั้นจึงเดินไปหาอาจารย์ไปจ้าง และถามเรื่องเดียวกันอีก
อาจารย์ไป่จ้างตอบว่า " ฉันไม่เข้าใจอะไรเลยสักนิด "
 
 
 
พระรูปนี้ถามใครก็ไม่ได้เรื่อง จึงกลับไปหาอาจารย์มาจู่ และเล่าเรื่องราว
ให้อาจารย์ฟัง
 
 
 
อาจารย์มาจู่พูดว่า " จื้อฉางมีผมหงอกขาว ไป่จ้างมีผมดำ "
 
 
- คัดเรื่องจากปี้เอี๋ยนลู่ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:03:57
(http://www.bookhostelbook.com/country_info/asia/japan/Nara_reserve_online_guesthouse_hostel_japan/Great-Buddha-Todaiji-Temple-Nara-Honshu-Japan.jpg)
 
 
พระพุทธรูปโบราณ
 
 
 
พระรูปหนึ่งถามอาจารย์เคอิโย ( พ.ศ. ? - 1318 ) ว่า " ทำไมเราถึงเรียก
พระพุทธรูปว่า โคชิยานะครับ "
 
 
 
อาจารย์เคอิโยตอบว่า " เธอไปเอาขวดน้ำตรงนั้นมาให้ฉันซิ "
เขาเดินไปหยิบขวดน้ำมาให้
 
 
 
อาจารย์เคอิโยรับขวดน้ำมาดู ๆ แล้วส่งคืนให้เขา พูดว่า " เอาไปไว้ที่เดิมนะ "
เขาก็นำขวดน้ำไปวางไว้เดิม แล้วก็ถามอีกว่า " ทำไมถึงเรียกโคชิยานะล่ะครับ "
อาจารย์เคอิโยจึงตอบว่า " เป็นโบราณเก่าแก่มากแล้ว "
 
 
- หยั่งรู้ชีวิตด้วยปริศนาภาพเซ็น -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:04:07
(http://www.wisegorilla.com/images/zen/Master_with_the_finger.jpg)
 
 
 
ชี้พระจันทร์
 
 
 
ลูกศิษย์ ก. ถามฌานาจารย์ฝาเหยี่ยน ว่า " อาจารย์ พระจันทร์คืออะไร ? "
ฌานาจารย์ฝาเหยี่ยนชี้นิ้วไปที่ฟ้า
 
 
 
ลูกศิษย์ ก. ถามอีกว่า " ศิษย์ไม่ได้หมายถึงที่อาจารย์ชี้ แต่ต้องการ
ถามว่าพระจันทร์คืออะไรกันแน่ ? "
 
 
 
อาจารย์ฝาเหยี่ยนถามกลับว่า " ไอ้ที่เจ้าไม่ได้ถามน่ะ ที่อาตมาชี้น่ะมันคืออะไร ? "
 
 
 
ถึงตอนนี้ มีลูกศิษย์ ข. เข้ามาร่วมสนทนาอีกคน ลูกศิษย์ ข. ถามว่า
" ฉันไม่คิดถามถึงพระจันทร์ ที่ถามคือนิ้วชี้ ? "
 
 
ณานาจารย์ฝ่าเหยียนตอบว่า " พระจันทร์ "
ลูกศิษย์ ข. ไม่เข้าใจ ถามอีกว่า " ที่ฉันถามคือนิ้วชี้ เหตุใดอาจารย์จึงตอบว่าพระจันทร์ ? "
 
 
 
ฌานาจารย์ฝ่าเหยียนตอบว่า " ก็เพราะที่เจ้าถาม คือ ที่นิ้วชี้ ! "
 
 
- เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:04:18
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/28/Ni_Zan_Water_and_Bamboo_Dwelling.jpg/300px-Ni_Zan_Water_and_Bamboo_Dwelling.jpg)
 
 
 
หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด


 
 
มีอยู่วันหนึ่ง ศิษย์ฆราวาสคนหนึ่งถามฌานาจารย์อี้ชิว ( หนึ่งหยุด ) ว่า
" ฌานาจารย์จะตั้งฉายาให้ตัวเองอย่างไรก็ได้ เหตุใดท่านจึงเลือกตั้งฉายา
ให้กับตัวเองว่า ' หนึ่งหยุด ' เล่า ? "
 
 
ฌานาจารย์อี้ชิวตอบว่า " หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด มีอะไรไม่ดีหรือ ? "
ศิษย์ฆราวาสคนนั้นรีบตอบว่า " ที่แท้ ' หนึ่งหยุดหมื่นเรื่องหยุด ' เป็นชื่อที่ดีจริง ๆ ! "
 
 
ฌานาจารย์อี้ชิวกล่าวว่า " อันที่จริงหนึ่งหยุดยังไม่ดี สองหยุดจึงจะดี เกิดต้องหยุด
ตายต้องหยุด หยุดทั้งเกิดและตายพร้อม ๆ กัน จึงจะหลุดพ้นการเกิดดับ " ศิษย์ฆราวาส
รีบพูดว่า " มิผิด มิผิด สองหยุดดีกว่าหนึ่งหยุด "


 
 
 
ฌานาจารย์อี้ชิวกล่าวอีกว่า " สองหยุดยังไม่ดี สามหยุดจึงจะดี โยมคิดดูซิ
ภรรยาของโยมทะเลาะกับโยมในเรื่องหยุมหยิมทุกวัน ทางที่ดีที่สุดคือหยุด
( ไม่ต้อง ) มีภรรยา เป็นข้าราชการต้องคอยเลียแข้งเลียขาเจ้านาย ทางที่ดี
ที่สุดคือหยุด ( อย่า ) เป็นข้าราชการ อยู่ในสังคมต้องแก่งแย่งชิงดีกับผู้อื่น
ทุกวัน ทางที่ดีที่สุดคือหยุดแก่งแย่งชิงดี ! สามหยุดนี้จึงจะเป็นวิถีแห่ง
ความสุขที่แท้จริง "



 
 
 
ศิษย์ฆราวาสคนนั้นรีบพูดว่า " วิเศษแท้ ! วิเศษแท้ ! สามหยุดยังดีกว่าสองหยุดอีก "
 
 
 
ฌานาจารย์อี้ชิวกล่าวต่อไปว่า " สี่หยุดจึงจะดีที่สุด หยุด ( ดื่ม ) เหล้า หยุด( เสพ ) กาม
หยุด( แสวง )ทรัพย์ หยุดกดขี่ข่มเหง( ผู้อื่น ) หยุดทั้งสี่อย่าง จึงจะดีที่สุด " ศิษย์ฆราวาส
ได้ยินเช่นนั้น " รีบพูดตามว่าสี่หยุดดีที่สุด "


 
 
 
ฌานาจารย์อี้ชิวกล่าวในที่สุดว่า " สี่หยุดยังไม่พอ ห้าหยุดจึงจะดีเรื่องที่ลำบากที่สุด
ในชีวิตคนเราคือ ความยุ่งยากทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในทั้งห้า ( หมายถึง
หัวใจ ปอด ตับ ม้าม ไต ซึ่งสังกัดธาตุหยิน ) คนเราต้องกิน ต้องดื่ม ต้องถ่ายทุกวัน
ถ้าหยุดอวัยวะทั้งห้าได้พร้อมกัน ( หนึ่งหยุด ) มิเท่ากับหมดเรื่องหมดราวดอกหรือ ? "
 
 
- เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:04:29
(http://www.ohioshaolindo.com/SHAOLINDO%20Images/2ndpat.jpg)
 
 
คิดว่าตัวเองถูก
 
 
ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีพระอาจารย์รูปหนึ่งชื่อ เหลียนฉือ ต้องการสร้าง
บรรทัดฐานบางอย่างให้ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติ จึงบัญญัติความดี ๑o ข้อไว้
ดังนี้ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่หยาบคาย
ไม่เล่นลิ้น ไม่ใส่ร้าย ไม่ละโมบ ไม่โกรธเคือง ไม่มีอคติ
 
 
ต่อมา มีหลวงจีนรูปหนึ่งธุดงค์ผ่านมา เห็นความดี ๑o ข้อข้างต้น ก็ถาม
พระอาจารย์เหลียนฉือว่า " ฌานไม่ยกย่องสิ่งใด ไม่ลดค่าสิ่งใด ท่านบัญญัติ
ข้อห้ามต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นมา มีประโยชน์อะไรหรือ ? "
 
 
พระอาจารย์เหลียนฉือตอบว่า " ขันธ์พัวพันไม่สิ้นสุด สี่มหาภูติก็คะนอง
ไร้ใดเปรียบ ท่านจะบอกว่าไม่ดีไม่ชั่วได้หรือ ? "
 
 
พระอาจารย์เหลียนฉือตอบว่า " สี่มหาภูติเดิมว่าง ขันธ์ห้าก็หามีไม่
อันศีลธรรมมิใช่ฌาน "
 
 
พระอาจารย์จึงพูดอย่างไม่เกรงใจว่า " คนอวดรู้มีมากมายเหลือเกิน
ตัวท่านเองก็มิใช่ของแท้ เป็นอย่างไร ? นอกจากดีชั่วแล้ว เราสนทนา
เรื่องอื่นด้วย ดีใหม ? "
 
 
สีหน้าพระธุดงค์ปรากฏแววโกรธเคืองอย่างเห็นได้ชัด พระอาจารย์
เหลียนฉือจึงพูดอ้อมค้อมว่า " เหตุใดท่านไม่เช็ดคราบสกปรกบนใบหน้า
ออกเสียก่อนเล่า "
 
 
- เซ็น : วิถีแห่งความสุขที่แท้ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:04:41
(http://www.bdcu.org.au/BDDR/bddr12no1/hui_neng.jpg)
 
 
ถูกคือผิด
 
 
 
ครั้งหนึ่ง มากู่ถือไม้เท้าไปหาอาจารย์จางจิ้ง ( พ.ศ. 1297 - 1358 )
เขาเอาไม้เท้าวนรอบตัวอาจารย์จางจิ้ง 3 รอบ แล้วไปยืนอยู่ตรง
หน้าอาจารย์ อาจารย์จางจิ้งร้องบอกว่า " ดี ดี "
 
 
 
มากู่จึงเดินไปหาอาจารย์หนานฉวน ( พ.ศ. 1291 - 1377 ) แล้ว
แสดงอิริยาบถอย่างเดียวกัน
 
 
 
อาจารย์หนานฉวนกลับบอกว่า " ไม่ดี "
มากู่จึงถามว่า " เมื่อสักครู่นี้ อาจารย์จางจิ้งยังบอกว่าดี แต่ทำไมตอนนี้
อาจารย์กลับว่าไม่ดีล่ะครับ "
 
 
อาจารย์หนานฉวนตอบว่า " ที่อาจารย์จางจิ้งพูดว่า ' ดี ' นั้น ก็หมาย
ความเดียวกับ ' ไม่ดี ' นั่นแหละ เหตุที่อยู่ในแต่ละเรื่องคงไม่มีเพียง
เหตุเดียวแน่ คำถามข้อหนึ่งมักจะมีได้หลายคำตอบ แต่ทว่า
 
 
สิ่งทั้งปวงก็เปรียบเสมือนสายลม หายวับไม่เหลือร่องรอยได้ในชั่วพริบตา "
 
 
- ( คัดเรื่องจากปี้เอี๋ยนลู่ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:04:54
(http://www.japan-hopper.com/wp-content/photos/IMG_0712.JPG)
 
 
เจ้าโง่
 
 
ลูกศิษย์คนหนึ่งเคยถามอาจารย์ชิยาม่า ( พ.ศ. 1469 - 1536 ) ว่า
 
 
" การตะโกนของนิกายรินไซ กับไม้ตะพดของนิกายโทคูโนยาม่า
มันหมายถึงอะไรกันครับ"
 
 
อาจารย์ตอบว่า " เธอลองไปตะโกนดูเองสิ " ว่าแล้วอาจารย์ก็ตะโกนใส่ลูกศิษย์
เสียงดังลั่นว่า " เจ้าโง่ "
 
 
 
เมื่อลูกศิษย์คนนั้นจะตะโกนตามอย่างอาจารย์ อาจารย์โทคูโนยาม่าจึงพูดดักคอ
ไว้ก่อนว่า " เสียงตะโกนส่งเดชอย่างนี้ มันไม่มีความหมายดอกนะ " ลูกศิษย์
คนนั้นจึงบอกลา ขอตัวกลับออกไป แต่อาจารย์ชิยาม่ากลับยกไม้เท้าตีไปที่ลูก
ศิษย์คนนั้นทันที
 
 
 
- ( คัดเรื่องจากฉวนเติงลู่ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:05:04
(http://www.wisegorilla.com/images/zen/zen.jpg)
 
 
 
วงกลม
 
 
โกอานเรื่องวงกลม มีความดังต่อไปนี้

ในสมัยโบราณ มีขุนนางคนหนึ่งนามว่า เฉินเชา เลื่อมใสศรัทธานิกายเซ็นมาก
วันหนึ่ง เข้าไปนมัสการอาจารย์ จื้อฝู อาจารย์จื้อฝูพรรณาท้องฟ้าโดยวาด
วงกลมขึ้นวงหนึ่ง
 
 
เฉินเชาถามว่า " เจ้าสิ่งนี้มีประโยชน์หรือครับ "
แต่อาจารย์กลับเดินเข้ากุฏิไป ซ้ำยังปิดประตูด้วย
 
 
-( คัดรื่องจาก ปี้เอี๋ยนลู่ ) -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:05:15
(http://www.terebess.hu/zen/mesterek/dogen1.jpg)
ภาพอาจารโดเก็น คิเก็น หรือ โดเง็น คิเง็น
 
 
 
ดัชนีใจ


 
ก่อนที่โดเง็นจะ " ซาโตริ " มีอยู่วันหนึ่ง ท่านอาจารย์เนียวโจได้แสดงธรรม
ให้แก่ตัวเขาว่า
 
 
 
" พระสมณโคดมพุทธเจ้า ได้ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระมหากัสปะพุทธเจ้า
และพระกัสปะพุทธเจ้าได้ถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระพุทธเจ้าองค์อื่นก่อน
หน้านี้ คือ พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกกุสันธพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า
พระสิขีพุทธเจ้า และพระวิปัสสีพุทธเจ้า สืบทอดกันมาเช่นนี้จนถึงปัจจุบัน "
 
 
โดเง็นได้ฟังเช่นนั้นก็กล่าวแย้งอาจารย์ของเขาทันทีว่า
 
 
 
" แต่อาจารย์ครับ พระสมณโคดมเกิดภายหลัง พระกัสสปพุทธเจ้าปรินิพพาน
ไปตั้งนานแล้วมิใช่หรือครับ และที่อาจารย์กล่าวว่าพระกัสสปพุทธเจ้าทรงถ่าย
ทอดพุทธธรรมให้แก่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ก็เป็นสิ่งที่ผิดตรรกะ ไม่สอดคล้อง
กับเหตุผลมิใช่หรือครับ "
 
 
 
พระอาจารย์เนียวโจ ตอบกลับทันทีว่า
 
 
 
" โดเง็น เหตุผลแบบเธอต่างหากที่เป็นเหตุผลของเดียรถีย์ ! สำหรับพวกเราแล้ว
การที่พระสมณโคดมถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่ พระกัสสปพุทธเจ้า และพระกัสสป
พุทธเจ้าถ่ายทอดพุทธธรรมให้แก่พระสมณโคดมด้วย จึงเป็นการถ่ายทอดพุทธธรรม
ให้แก่พระสมณโคดมด้วย จึงเป็นการถ่ายทอดพุทธธรรมของศาสดาทั้งหลาย ของ
เหล่าพุทธะทั้งหลายที่แท้จริง "
 
 
 
แต่โดเง็นพอถูก " ดัชนีใจ " จากอาจารย์ของเขา " จี้ใจ " ด้วยคำตอบดังข้างต้น
กลับทำให้ตัวเขา " ตาสว่าง " เกิดปัญญาจักษุแจ่มแจ้งใน ความหมายที่แท้จริง
ของการถ่ายทอดพุทธธรรมในพุทธศาสนา
 
 
- วัชรเซน -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:05:26
(http://www.teekampagne.de/images/lexikon/Zen.jpg)
 
 
รูป


 
มีพระรูปหนึ่งเป็นบัณฑิตคงแก่เรียน และเป็นที่เคารพของคนทั่วไป
ท่านได้เคยแสดงธรรมหน้าพระที่นั่ง ทั้งยังได้รับพระราชทานจีวร
แดง อันเป็นสมณศักดิ์สูง พระรูปนี้ได้ไปหาอาจารย์โบคุจุ โบคุจุ
เริ่มโมนโด ( คำถาม - คำตอบ ) ขึ้นโดยไม่ชักช้า ท่านชี้ไปที่พระบัณฑิต
ถามขึ้นว่า
 
 
 
" นี่คืออะไร "
 
 
 
เฉกเช่นบัณฑิตในพุทธศาสนา พระก็ตอบว่า " รูป "
โบคุจุจึงดุว่า " เธอคนโกหก คนนอกรีตนอกรอย "
 
 
พูดจบท่านก็ผลักพระบัณฑิตออกไปนอกห้องและปิดประตู
 
 
เป็นความจริงที่ว่าโบคุจุ เป็นอาจารย์เซนที่แปลกประหลาด และออกจะบ๊อง ๆ
ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในอาศรมในท้องถิ่นไกลกันดาร ใช้เวลาว่างสานถักรอง
เท้าฟาง และไม่เคยยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสของอารามใหญ่ ๆ แห่งใด
 
 
- ดอกไม้ไม่จำนรรจ์ -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:05:37
(http://img374.imageshack.us/img374/3909/85145098tp1.jpg)
 
ภาพท่านอิ๊วคิว มีตัวตนอยู่จริงตามประวัติศาสตร์
 
 
 
 
 
อิ๊กคิวถอดจีวร
 

 
ครั้งหนึ่ง เศรษฐีท่านหนึ่งได้นิมนต์ท่านอิ๊กคิวไปทำพิธีที่บ้าน เศรษฐีคนนี้ร่ำรวย
มากจึงชอบดูแคลนผู้อื่น ท่านอิ๊กคิวไอ้ปลอมตัวให้ดูเหมือนขอทาน ไปยังบ้าน
เศรษฐี บอกกับคนเฝ้าประตูว่า
 
 
 
" อาตมามาขอพบนายท่าน " ว่าแล้วก็จะเดินเข้าไป
 
 
แต่คนเฝ้าประตูกลับตะคอกไล่ท่าน เพราะคิดว่าท่านเป็นขอทาน
 
 
" ไป ไปที่อื่น "
 
 
เศรษฐีก็ออกมาไล่ " ไล่มันไปให้พ้น ๆ ไป "
 
 
ท่านอิ๊กคิวถูกเหยียดหยามอย่างรุนแรง และสุดท้ายท่านก็ถูกไล่อกจาก
บ้านเศรษฐีไปจนได้ อีกสักครู่ ท่านอิ๊กคิวก็ครองตีวรอย่างดีมาที่บ้าน
เศรษฐีอีกครั้ง คราวนี้เศรษฐีกลับต้อนรับท่านเป็นอย่างดีถึงหน้าประตู
บ้าน พร้อมทั้งนิมนต์ท่านเข้าไปในบ้าน แต่ท่านอิ๊กคิวกลับมายืนอยู่ที่
หน้าประตูบ้านไม่ไปใหน
 
 
" เมื่อสักครู่ อาตมาแต่งตัวเหมือนขอทานมาพบท่าน กลับถูกท่านเหยียด
หยามดูแคลนอย่างรุนแรง แต่ตอนนี้ อาตมาครองจีวรอย่างดีมา ท่านถึง
ได้ต้อนรับเป็นอย่างดี ในเมื่อท่านรักจีวรผืนนี้นักอาตมาก็ขอยกให้ท่าน
แล้วกัน "
 
 
 
ว่าแล้วท่านอิ๊กคิวก็ถอดจีวรทิ้งไว้ที่หน้าประตูบ้านเศรษฐี และเดินผละจากไป
 
 
- ชนะทุกข์และสร้างสุขแบบเซ็น -


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:05:56
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/546/23546/images/H366/H367/H367.jpg)





หนังสือ : มังกรเซน หนังสือเซนสามัญประจำบ้าน

ผู้เขียน : วินทร์ เลียววาริณ

พิมพ์ครั้งแรก : บริษัท 113 จำกัด ต.ค.52

ราคา : 235 บาท (347 หน้า)




“...ถามว่าทำไมต้องอ่านเซน? คำตอบคือไม่จำเป็น ทว่าการอ่านเซนจะเป็นประสบการณ์หนึ่งในการเข้าใจการดำรงอยู่ของเราในโลกนี้ เพราะเมื่อเห็นความไร้สาระของอัตตา ก็ทำให้โลกใบนี้เย็นลงทันที ซึ่งเป็นสิ่งที่หายากเหลือเกินในยุค ‘เท่าไรก็ไม่พอ’...” 
 
 


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:07:14
(http://images.diaryis.com/b/big7031/20070306.win.jpg)
 
 
กระ ZEN กระสาย


หมอหนุ่ม คาสุดะ ถามเพื่อนของเขาว่า "เซนคืออะไร?"
"ฉันไม่สามารถบอกท่านได้ แต่ฉันรู้อย่างหนึ่ง
หากท่านเข้าใจเซน ท่านจะไม่กลัวตาย"

"มีอาจารย์เซนท่านใดที่สามารถสอนฉันได้"
"ทำไมท่านไม่ลองไปหาอาจารย์นันอินเล่า?"

เขาซ่อนมีดยาวเก้านิ้วครึ่งเล่มหนึ่งไปด้วย เพื่อทดสอบว่าอาจารย์กลัวตายจริงหรือไม่ ราวกับรู้ทัน เมื่ออาจารย์นันอินเห็นหมอ ก็เอ่ยดักคอว่า

"เป็นไงเพื่อน ? เราไม่ได้เจอหน้ากันนาน"
หมอเอ่ย"เราไม่เคยพบกันมาก่อน"
"จริง อาตมาเข้าใจผิดไปเองว่าท่าน
เป็นหมออีกคนหนึ่งที่กำลังเรียนอยู่ที่นี่"

หมอหมดโอกาสทดสอบอาจารย์ (หรืออาจเปลี่ยนใจไม่ทดสอบ !)
เขาถามอาจารย์ว่า เขาจะขอเรียนวิชาเซนได้หรือไม่
อาจารย์นันอินบอกหมอคาสุดะ

"เซนไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร ในเมื่อเธอเป็นหมอ
ก็จงรักษาคนไข้ของเธออย่างกรุณา นั่นก็คือเซน"

คาสุดะไปหาอาจารย์สามครั้ง ทุกครั้งอาจารย์ก็บอกอย่างเดียวกัน

"เป็นหมอก็ไม่ควรเสียเวลาแถวนี้
ไปรักษาคนไข้ของเธอเถอะ"

ครั้งที่สี่ ที่เขาไปหาอาจารย์ เขาบอก
"เพื่อนฉันบอกว่า หากเข้าใจเซน จะไม่กลัวตาย
ทุกครั้งฉันมาที่นี่ อาจารย์บอกให้ฉันรักษาคนไข้ของฉัน
ฉันรู้จักเซนเพียงแค่นั้น ถ้านั่นคือสิ่งที่ท่านเรียกว่าเซน
ฉันก็ไม่ต้องมาหาอาจารย์อีก"

อาจารย์ยิ้ม ตบไหล่หมอ
"อาตมาอาจเคร่งกับเธอมากหน่อย
ให้อาตมาลองให้เธอศึกษาโกอานหน่อย"

โกอานที่ให้ศึกษาคือเรื่อง หมาของเจ้าโจว
และงานของอู๋เหมินฮุ่ยคาย
หมอศึกษาโกอานบทนี้นานสองปี
ทุกครั้งที่ไปหาอาจารย์ ท่านบอก
"เธอยังไปไม่ถูกทาง"

หมอครุ่นคิดอีกปี และอีกครึ่งปี
จิตของเขานิ่ง เขาเข้าใจปัญหา
เข้าใจความจริงของความไม่มี

เมื่อนั้นเขาก็พบความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
เขาดูแลคนไข้ของเขาอย่างดี และพบว่าเขาไม่แยแสกับความเกิด
ความตาย เมื่อนั้นเขาจึงเข้าใจความหมายของเซนและความตาย

ในวันสุดท้ายของชีวิต ทันซันเขียนจดหมายหกสิบฉบับส่งไปยังหลายคน
และสั่งให้เด็กส่งจดหมายเหล่านั้นไป
จดหมายเขียนว่า :


อาตมากำลังลาจากโลกนี้ไป
นี่คือคำประกาศครั้งสุดท้ายของอาตมา

ทันซัน
27 กรกฎาคม 1892


จากคอลัมน์ มังกรเซน
โดย วินทร์ เรียววาริณ
มติชนสุดสัปดาห์ หน้า 50
ฉบับที่ 1509 วันที่ 17-23 กรกฎาคม 2552
ขอขอบคุณ


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:07:24
(http://www.artsmia.org/education/teacher-resources/custom-images/tiger/dragon-screen-folded-1-e.jpg)

ผู้กลืนกินจักรวาล

วันหนึ่ง ท่านอาจารย์อันมอน กล่าวขึ้นท่ามกลางศิษย์ว่า

" ไม้เท้าของฉันอันนี้ สามารถแปลงร่างเป็นมังกรเป็นมังกรใหญ่และกลืนกินจักรวาล
ไว้ทั้งหมดได้ โอ ! โอ้แล้วแม่น้ำ ภูเขา แผ่นดินอยู่ตรงใหนล่ะ "

ปริศนาธรรมจากเรื่องนี้มุ่งจะแสดงให้เห็นความสำคัญของการรวมความสนใจทั้งหมด
ไว้ที่จุดเดียว ซึ่งเป็นอำนาจสมาธิจิตอย่างหนึ่ง

เรื่องนี้ท่านอาจารย์อันมอน แสดงให้เห็นท่ามกลางศิษย์ ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือ
ระดับสายตา ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือระดับสายตาศิษย์ทั้งหมด พลางพูดเหมือน
กับว่าท่านกำลังจับพญามังกรที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ

ความสนใจของศิษย์ทั้งหมดย่อมรวมจุดแน่วแน่อยู่ที่ไม้เท้า นั่นคือท่านอาจารย์อันมอน
กำลังควบคุมผู้ฟังไว้ด้วยไม้เท้า จนดูเหมือนว่านอกจากไม้เท้าแล้วก็ไม่มีอะไรอื่นอีก

ไม้เท้าได้ กลืนกิน จักรวาลทั้งหมดไว้แล้วโดยแท้ เพราะมันได้กลืนความสนใจของคนทั้ง
หมดไว้มันได้ระงับดับความคิดปรุงแต่งทั้งปวงไว้ ณ ที่นั้นในขณะแห่งนาทีนั้นแล้ว

ก็เมื่อความคิดปรุงแต่ง ถูกระงับลงเสียได้อะไรอะไรจะเหลืออยู่อีกเล่า จักรวาลนั้นไม่ใช่
อะไรอื่นมันก็คือ โลกแห่งความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้มากด้วยความ
หมาย มากด้วยสมมุติบัญญัติ เท่าที่แรงแห่งความไม่รู้แจ้งเห็นจริงจะปรุงไปต่าง ๆ นานา
ตามอำนาจของกิเลส

ในทางเซนจะพูดว่า " จิตเกิด สรรพสิ่งเกิด จิตดับ สรรพสิ่งสิ่งดับ " จักรวาลตั้งอยู่ในจิต
เพราะจิตสร้างจักรวาลขึ้นมา

จิตในที่นี้เขาหมายถึง " สังขารจิต " คือจิตปรุงแต่งขึ้นมา หรือสิ่งที่ปรุงเป็นจิตขึ้นมานั่นเอง

จิตในความหมายนี้จึงขึ้นต่อสรรพสิ่ง หรือถูกกำหนดโดยสรรพสิ่งอยู่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยคำว่า " ข้าว " ขึ้นมาหลายคนอาจพูดต่อทันทีว่า " ชักหิวเสียแล้ว
ซี ไปกินกันที่ใหนดีล่ะ " ขณะที่คำเดียวกันนี้ ถ้าไปเอ่ยปากกับชาวนา เขากลับพูดว่า " เออ
ปีนี้มันแย่จริง น้ำท่วม นาล่มหมด "

ถ้าไปเอ่ยกับพ่อค้าเขาก็อาจพูดว่า " ปีนี้ผลิตได้มากก็จริง แต่มันล้นตลาดโลกเสียแล้ว ราคา
แย่ลงอีกตามเคย "

เห็นใหมคำว่า " ข้าว " คำเดียวกัน มันได้เปลี่ยนความหมายไปถึงสามความหมาย คนหนึ่ง
นึกถึงเม็ดข้าวในจาน คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นรวงในนา คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นกระสอบในโกดัง

ความหมายทั้งหลายนี้ เกิดจากอะไร ตอบว่าเกิดจากความคิดที่ไม่เหมือนกัน ถามต่อไปว่า
ทำไมความคิดจึงไม่เหมือนกัน ตอบว่าเพราะจิตมันปรุงแต่งขึ้นมาไม่เหมือนกัน

ถามว่าไฉนจิตจึงปรุงแต่งไม่เหมือนกัน ก็ตอบได้ว่าเพราะสิ่งที่มาสัมผัสหรือกระทบจิต มัน
ต่างกัน อ้าวก็ได้ยินคำว่า " ข้าว " คำเดียวกันไม่ใช่หรือ ตอบว่าใช่แล้วแต่ " นัยประหวัด "
ของคำเดียวกันนี้ต่างมีไม่เหมือนกัน

นั่นคือ ประสบการณ์ของแต่ละคนทำให้ " นัยประหวัด " ของคำ ๆ เดียวกันนั้นกลับแตกต่าง
กันไป ประสบการณ์ก็คือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ๆ นั่นเอง

เห็นไหมว่าความคิดหรือจิต ที่ปรุงเป็นความคิด ( สังขาร ) นั้น มันไม่ได้เกิดขึ้น ลอย ๆ มันเกิด
ขึ้นจากเหตุแวดล้อมภายนอก คือสรรพสิ่งนั่นเองบวกกับความลับรู้ ตามธรรมชาติ " รู้ " ( วิญญาณ )
ภายในของเราเป็นปัจจัยจึงก่อให้เกิด " จิต " ขึ้นมา

ดังนั้น ในลักษณะนี้ " จักรวาลก็คือจิต จิตก็คือจักรวาล "

เซนมุ่งที่จะเพิกหรือถอน " จิต " ในลักษณะนี้ออกมาโดยมีคำเรียกใหม่ว่า " จิตเดิมแท้ " ซึ่ง
เป็นจิตในลักษณะ ที่เปี่ยมอยู่ด้วย " ปัญญา " คือ ความรู้เท่าทันต่อสรรพสิ่ง ที่มากระทบ
อบ่างถูกต้องตามเป็นจริง

มิใช่จิตที่ถูกกำหนด โดยสรรพสิ่งสถานเดียว หากเป็นจิตที่สามารถจะกำหนดสรรพสิ่งได้ด้วย

เมื่อท่านอาจารยือันมอน ยกไม้เท้าขึ้นมากำหนดจิต ท่านต้องการให้ศิษย์ทุกคนเอาจิตกำหนด
ไม้เท้านั้นได้ด้วย

จิตที่สามารถกำหนดสิ่งอื่นได้นี่แหละที่ท่านอุปมาอุปมัยว่าเป็นเหมือนพญามังกร ที่จะกลืนกิน
จักรวาลได้ ผันแม่น้ำ ผลีกภูเขา พลิกแผ่นดิน ก็ได้ด้วย

ขอเพียงแต่เข้าใจ และรู้เคล็ดลับของการกำหนดซึ่งกันและกันนี้ให้ได้เท่านั้น
 
จากหนังสือ มุมที่ไม่มีเหลี่ยม ของ ท่านเนารัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ใครๆ ก็รู้ว่าในเชิงกวี เขาคือมืออันดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีใครรู้ว่าในเชิงปรัชญาเซน เขามิได้เป็นมือสองรองใคร


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:07:33
(http://web.mac.com/johnnyv145/iWeb/zbkut.com/WELCOME_files/IMGP0201.jpg)
 
"ฟ้าดินล่มสลายแล้ว"
 
 
อาจารย์เซนจากจีนท่านหนึ่ง ได้ตั้งปริศนาธรรมถามซามูไรคนหนึ่งที่ชื่อ เรียวซานที่มาฝึกเซนกับท่านว่า

"ถ้าเธอกำลังเข้าไปอาบน้ำในห้องอาบน้ำ ขณะที่ร่างกายเธอเปลือยเปล่าอยู่ เธอถูกรายล้อมด้วยศัตรูจำนวนหนึ่งร้อยคนใส่เสื้อเกราะ มีทั้งธนู และดาบครบครัน เธอจะเผชิญหน้ากับพวกเขาอย่างไร? เธอจะคุกเข่าอ้อนวอนขอชีวิตจากพวกเขาหรือ? หรือเธอจะแสดงความกล้าหาญแบบนักรบด้วยการยอมตายในการสู้รบกับพวกเขา? หรือจะมีหนทางอื่นใดอีก เรียวซานตอบว่า "ข้าอยากชนะโดยไม่ต้องยอมจำนน และไม่ต้องสู้รบ"

นี่คือ ปริศนาธรรมที่ว่าด้วย "ชัยชนะในท่ามกลางศัตรูนับร้อย ที่บันทึกอยู่ใน โคอานสำหรับนักรบ หรือ ซามูไรเซน ที่มีชื่อว่า โชนันคัตโตโรคุ ซึ่งเป็นบันทึกเก่าแก่ของวัดเค็นโจญิที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก แม้ในสมัยนี้

ปริศนาธรรมว่าด้วย "ชัยชนะในท่ามกลางศัตรูนับร้อย ข้อนี้ที่กระตุ้นให้นักรบผู้ศึกษาเซนครุ่นคิด วิธีจัดการเอาชนะวิกฤตโดยที่ไม่ต้องยอมจำนน และไม่ต้องสู้รบให้เสียเลือดเนื้อ เป็นปริศนาธรรมที่ไม่ล้าสมัยเลย ผู้บริหารไทยในปัจจุบันที่เป็นนักกลยุทธ์ย่อมสามารถนำไปปรับใช้ด้วยการตั้งปริศนาธรรมสำหรับตนเองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้อย่างไม่ยากนัก ที่สำคัญก็คือ ผู้บริหารพึงตระหนักและเห็นความสำคัญ ความจำเป็นในการเชื่อมโยง หลักของเซนเข้ากับการแก้ปัญหาการบริหารการจัดการที่นับวันก็ยิ่งทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ผู้เขียนจะขอยกปริศนาธรรมอีกข้อหนึ่งจากโชนันคัตโตโรคุ ที่บันทึกจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปี ค.ศ. 1331 ทาดะมาสะ เป็นซามูไรชั้นผู้ใหญ่ในสังกัดของโฮโจ ทากะโทคิ เขาเป็นนักรบที่หมั่นเพียรในการเข้ามาฝึกเซน และนั่งสมาธิแบบเซนอย่างต่อเนื่องที่วัดเค็นโจญิมากว่ายี่สิบปีแล้ว ในปี ค.ศ. 1331 เกิดสงครามสู้รบทุกหย่อมหญ้า ทาดะมาสะได้รับบาดเจ็บสาหัสในการสู้รบครั้งหนึ่ง แต่แทนที่เขาจะไปรักษาบาดแผล เขากลับตรงดิ่งไปที่วัดเค็นโจญิ เพื่อพบอาจารย์เซนของเขาที่ชื่อ โซซาน ซึ่งเป็นอาจารย์เซนจากจีนคนที่ 27 ที่มาประจำที่วัดนี้

ขณะนั้น อาจารย์เซนกำลังอยู่ในพิธีชงชา เมื่อท่านแลเห็นศิษย์ซามูไรในชุดเสื้อเกราะอาบเลือดมาหา ท่านก็ยื่นถ้วยชาไปวางเบื้องหน้าเขา และถามเขาว่า "ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?"

ซามูไรเหยียบถ้วยชาตรงหน้าแตกกระจาย และตอบว่า

"ฟ้าดินล่มสลายแล้ว"

อาจารย์เซน ถามต่ออีกว่า

"เมื่อฟ้าดินล่มสลายแล้ว ตัวเธอเป็นอย่างไรบ้าง?"

ซามูไรยืนนิ่งเอามือกุมอก เขาตอบไม่ถูก อาจารย์เซนจึงตีเขา และเขาเผลอครางออกมาด้วยความเจ็บปวดจากบาดแผลโดยไม่ได้ตั้งใจ

อาจารย์เซน กล่าวทันทีว่า

"ดูเหมือนว่า ฟ้าดินยังไม่ได้ล่มสลายจริง" ทันใดนั้น เสียงกลองที่ดังจากป้อมค่ายเรียกตัวให้ทาดะมาสะต้องเผ่นกลับไปที่ป้อมค่ายเพื่อทำสงครามต่อ แต่ในเย็นวันต่อมา เขาก็มาหาอาจารย์เซนของเขาอีก และโชกเลือดเหมือนเดิม ท่านอาจารย์ก็ถามเขาด้วยคำถามเดิมอีกว่า

"เมื่อฟ้าดินล่มสลายแล้ว ตัวเธอเป็นอย่างไรบ้าง?" คราวนี้ซามูไรใช้ดาบที่อาบเลือดของเขายืนค้ำตัวแล้วร้องเสียงก้องกังวานว่า "คัทสุ!" เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะยืนสิ้นใจเบื้องหน้าครูของเขา...นี่คือ ปริศนาธรรมที่ว่าด้วย "เมื่อฟ้าดินล่มสลาย" ซึ่งเตือนใจพวกเราให้คำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อเจอภัยพิบัติที่รุนแรงราวกับฟ้าดินกำลังล่มสลายอย่างแผ่นดินไหว หรือคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว พวกเราควรมีสภาวะจิตอย่างไร หรือตอนที่ความตายกำลังมาเยือนตรงหน้า หรือตอนที่ธาตุทั้งสี่ในร่างกายกำลังแยกสลายขณะสิ้นใจ เราควรทำจิตแบบเซนได้อย่างไร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เรามีความกล้าหาญอย่างไม่กลัวความยากลำบากและอุปสรรคใดๆ ในขณะที่ยังมีชีวิต มีลมหายใจอยู่...ตั้งแต่ผู้เขียนได้อ่านหนังสือแนวเซนมาเป็นจำนวนมาก ก็มีบันทึกโชนันคัตโตโรคุนี้แหละที่มีเนื้อหาที่เข้มข้น เหมาะสำหรับนักรบและนักกลยุทธ์ที่ต้องการฝึกจิตแนวเซนเป็นที่สุด


จาก เว็บ ผู้จัดการ เขียน โดย อ. สุวินัย


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:07:47
(http://www.o2blog.com/upload/winddream13/upload-CdMhV01.jpg)
 
 
ฉันอยากเป็นบุคคลที่สวยงาม
 
ผู้คนส่วนมากมักไม่ตระหนักว่าใบหน้าและและร่างกายของตนเองนั้นสามารถเปิดเผยอย่างล่อนจ้อนถึงรายรับรายจ่ายของชีวิตที่ผ่านมาทั้งหมด การเผยโฉมออกมาอย่างเปลือยเปล่าเช่นนี้ช่างเป็นเรื่องที่น่ากลัวและน่าอาย
 
ทั้งหมดที่เราคิด พูด และทำมาตั้งแต่เกิด ล้วนเป็นตัวสรรสร้างและปั้นแต่งใบหน้า ร่างกายและบุคลิกของเราขึ้นมา เพียงแค่แวบเดียว บุคคลที่มีดวงตาเห็นได้ชัดแจ้งจะสามารถรับรู้ประวัติความเป็นมาของเราได้ตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว
 
น่าจะเป็นลินคอล์นที่เคยกล่าวเอาไว้ว่า มนุษย์นั้นต้องรับผิดชอบต่อหน้าตาของตนเองเมื่ออายุสี่สิบปีไปแล้ว ใบหน้าและร่างกายที่ดูเสมือนว่าได้รับการแกะสลัก ขัดเกลา และปรับแต่งอย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่เกิดโดยสิ่วที่มองไม่เห็นนั้น เมื่ออายุเข้าสู่ช่วงวัยสี่สิบ ใบหน้าและร่างกายก็จะเผยความสวยงามและความน่าเกลียดทั้งมวลออกมาโดยที่ไม่สามารถอำพรางซ่อนเร้นได้โดยเครื่องสำอางหรือเครื่องนุ่งห่มใดๆ
 
ยาอิจิ อะอิสุ กวีญี่ปุ่นรุ่นใหม่และศิลปินนักเขียนอักษรศิลป์๒ เคยเขียนถึงคนสนิทไว้ว่า “เพื่อนของฉัน การที่เราดำรงสติในทุก ๆ สิ่งที่คิดและทำ และมีหัวใจที่สงบและสันตินั้น ฉันหวังว่าฉันจะกลายเป็นบุคคลที่สวยงาม” ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองต้องการจะแก่เฒ่าด้วยหนทางเช่นนี้ด้วยเช่นกัน
 
 
 
 
สายลมแห่งสวรรค์
 
ข้าพเจ้าวางมือจากการทำสวนเพื่อที่จะมองไปยังนกเล็กๆ ตัวหนึ่งที่อยู่เหนือหัวข้าพเจ้าขึ้นไป ทั้งนี้เพราะเสียงร้องของมันได้ทำลายความเงียบลง สายลมอันสดชื่นที่พัดโบกโบยลงมาจากเทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่นทำให้เหงื่อบนหน้าผากของข้าพเจ้าเหือดแห้งไป สิ่งที่กำลังพวยพุ่งวิ่งพล่านอยู่เต็มกายของข้าพเจ้าในตอนนี้กลับคือความสุขกับชีวิต และความสนุกกับงานที่กำลังทำอยู่
 
“วันนี้ลมเย็นจังเลยเนอะ ว่าไหม” หญิงชราคนหนึ่งเดินผ่านมาทักทาย
“บ้านของใครกันจะไม่ต้อนรับพระจันทร์สวย ๆ และสายลมที่ร่าเริงสดชื่นเหล่านี้ได้”
 
ในหนังสือชื่อเฮกิงัน โรกุ (Hekigan –roku) หรือบันทึกจากผาสีฟ้าได้ถามคำถามนี้เอาไว้
พระจันทร์ที่สดใสนั้นส่องประกายเข้าไปในบ้านทุก ๆ หลัง และบ้านทุก ๆ หลังก็ล้วนอยู่ในเส้นทางที่สายลมอันสดชื่นและร่าเริงพัดผ่าน ข้าพเจ้าอยากรู้ว่าแต่ละคนนั้นจะรู้สึกถึงสายลมว่าเป็นสายลมที่แสนสดชื่นหรือเป็นสายลมหนาวที่ไร้ปรานีกันแน่ ความแตกต่างนั้นไม่ได้อยู่ที่สายลม แต่อยู่ที่คนๆ นั้นซึ่งเป็นผู้รับรู้ต่างหาก เคยมีใครบางคนกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่าสายลมเช่นนี้เรียกว่า “สายลมแห่งสวรรค์”
 
ศตวรรษที่แล้ว อาจารย์เซนจ้าวโจว (หรือโจชู ในภาษาญี่ปุ่น) ได้ถามอาจารย์หนาน
ฉวน (หรือนันเซ็น ในภาษาญี่ปุ่น) ผู้อาจารย์ว่าเขาควรแสวงหาทาง ๓ หรือไม่ อาจารย์หนานฉวนตอบว่า “ถ้าเธอพยายามหามัน เธอจะอยู่แยกจากมัน”
 
สิ่งที่เราเรียกว่าสวรรค์ ความสุข ธรรมะ หรือการรู้แจ้งนั้นไม่สามารถแสวงหาได้ภายนอกตัวของเรา หากแต่จะพบได้ก็ต่อเมื่อเราสังเกตเห็นอย่างแท้จริงเท่านั้นว่ามันเป็นหนึ่งเดียวกับเราอยู่แล้วตามธรรมชาติ
 
 

 
http://review.semsikkha.org/content/view/56/137/


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:07:57
วิปัสสนาแห่งเซ็น
(แปลและเรียบเรียงโดย ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ )

(http://i271.photobucket.com/albums/jj152/SweetNeem/Back%20to%20the%20Nature/Allflowers/J2272750-44.jpg)

วิปัสสนาแห่งเซ็น
เมโห

การนั่งวิปัสสนาของเซ็นเป็นหนทางแห่งความสงบสันติอันสมบูรณ์

โดยภายในแล้ว มิใช่เป็นเพียงเงาของความรู้สึกนึกคิด

โดยภายนอกแล้ว ก็มิใช่เป็นเพียงเงาของความแตกต่างระหว่างสรรพสิ่ง

อย่าได้คิดถึงการบรรลุ การตรัสรู้

อย่าได้คิดถึงการละทิ้งสิ่งอันเป็นมายา

(http://picdb.thaimisc.com/d/dokgaew/11901-28.jpg?n)

เธอเปรียบเหมือนนกที่กำลังบิน ซึ่งไม่มีจิตจะคิดถึงการส่งเสียงร้อง

เหมือนกับภูเขาที่ไม่รับรู้ต่อภูเขาลูกอื่นที่อยู่รอบข้าง

การนั่งวิปัสสนาของเซ็นไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับการรักษาศีล

การปฏิบัติสมาธิ การเข้าถึงปัญญา

เธอก็เหมือนกับปลาที่ไม่ได้มีความมุ่งหมายอันเฉพาะเจาะจงใด ๆ

ในการอยู่ในท้องทะเล


(http://i271.photobucket.com/albums/jj152/SweetNeem/Back%20to%20the%20Nature/pic15.jpg)


จงเฝ้าดูตัวของเธอเองจากความนึกคิดอันเคยชินว่า “สิ่งนี้ดี สิ่งนั้นเลว”
สิ่งที่เธอควรจะใส่ใจแต่เพียงประการเดียวก็คือการถามตัวเองอยู่เสมอว่า

“อะไรคือสิ่งที่อยู่เหนือความเป็นคู่ทั้งสอง”

ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอันสมบูรณ์ดุจพระจันทร์เต็มดวง
อยู่ในขณะแห่งการวิปัสสนาแบบเซ็นของเธอแล้ว

(http://static.desktopnexus.com/wallpapers/40472-bigthumbnail.jpg)

วิถีชีวิตแห่งความหมดจดงดงามของพระพุทธเจ้านั้นมิใช่หนึ่งหรือหลากหลาย

มิใช่สิ่งนี้หรือสิ่งนั้น มิใช่ภาวะหรืออภาวะ

อย่าได้ยึดมั่นถือมั่นในการตรัสรู้หรือความลวงหลอก
จงทำใจให้เป็นอิสระจากความชอบหรือความไม่ชอบ

อย่าได้ยึดติดในความคิดอันฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในจิตของเธอ
และมันจะผ่านออกไปโดยปราศจากร่องรอยดุจเงาในกระจกฉะนั้น


(http://img88.imageshack.us/img88/3684/bd2938fe59dd19e2d9380b9yx2.jpg)

ศีลห้า ศีลแปด ศีลสองร้อยห้าสิบ
วินัยแห่งสงฆ์สามพันข้อ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
ความเป็นโพธิสัตว์ และวงล้อแห่งธรรม
ทั้งหมดนี้มีอยู่ในการนั่งวิปัสสนาแห่งเซ็นและปรากฏออกมาจากสิ่งนี้ทั้งสิ้น
ในการประพฤติปฏิบัติทั้งหมดนั้น “ซาเซ็น” จะต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง
เพราะว่าอานิสงส์ของบุคคลที่ได้ปฏิบัติซาเซ็น
อยู่เหนือการสร้างโบสถ์วิหารอันวิจิตรพิสดารมากนัก

(http://i170.photobucket.com/albums/u277/saviska/4014.jpg)

ไม่ว่าเธอจะเป็นนักศึกษาที่เพิ่งเริ่มต้นหรือที่ได้ปฏิบัติมานานแล้ว

ไม่ว่าเธอจะเป็นผู้คงแก่เรียนหรือผู้ที่ไม่มีความรู้

หากเธอปฏิบัติซาเซ็น

สิ่งที่เธอทำ สิ่งที่เธอรู้สึก และสิ่งที่เธอคิดทั้งหมด

ก็จะเป็นส่วนหนึ่งแห่ง “ความเป็นเช่นนั้น” อันมหัศจรรย์และยิ่งใหญ่


คัดจาก "บทเพลงแห่งเซ็น" หน้า ๒๘-๓๑
แปลและเรียบเรียง
โดย
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์


(http://i271.photobucket.com/albums/jj152/SweetNeem/Back%20to%20the%20Nature/Godspainting05.jpg)

(ขอบคุณภาพประกอบจากฟอร์เวิดเมล์ค่ะ)


ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=maekai&group=2&page (http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=maekai&group=2&page)


[COLOR=mediumturquoise]Pics by [/COLOR]Google


ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:08:07
(http://images.thaiza.com/34/34_20090121160728..jpg)
 
 
 
นักศึกษาวิชาเซนคนหนึ่ง ไปคำนับท่านอาจารย์บันไก พร้อมกับยิงปุจฉาว่า
 
"ท่านอาจารย์ครับ ผมเป็นคนขี้โมโห โกรธขึ้นมาแล้ว ห้ามไม่ค่อยได้ ทำอย่างไร ผมจะระงับความโกรธได้ล่ะครับ"
 
"เธอมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตัวมากนี่ ไหนลองนำมันออกมาให้ฉันดูหน่อยสิ"
 
"ผมเอามันออกมาให้ท่านอาจารย์ดูตอนนี้ ไม่ได้หรอกครับ"
 
"อ้าว ! แล้วเมื่อไรเธอจะนำมันออกมาให้ฉันดูได้ล่ะ"
 
"ก็ไม่รู้สิครับ เพราะมันเกิดขึ้นไม่เป็นเวลาน่ะครับ"
 
"ถ้าเช่นนั้นก็แสดงว่า มันไม่ใช่ธาตุแท้ของเธอมาแต่เดิมนะสิ เพราะถ้ามันเป็นของเธออยู่แล้ว เธอต้องนำมันออกมาให้ดูได้ตลอดเวลา และนี่ก็แสดงว่า มันไม่ได้ติดตัวเธอมาแต่กำเนิด พ่อแม่ของเธอก็มิได้มอบให้เธอมา - - จริงมั้ย ?"
 
(http://www.agalico.com/board/images/icons/A4974877-1.gif)

ขอบคุณที่มา
http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=3520


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:08:18
ความว่างเปล่า และความป่วยของเซน

 
บรรยายธรรมโดยอนุตราจารย์ชิงไห่
การเข้าฌานนานาชาติทวีปยุโรปสามวัน
ฮัมบูกร์ เยอรมัน วันที่ 25-27 สิงหาคม 2538
(ต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ) วีดีโอเทป #49
 
ครั้ง หนึ่งลูกศิษย์ถามท่านอาจารย์เซน โจชัว “อาจารย์ ถ้าผมไม่มีอะไรเลยในใจตอนนี้ ผมควรจะทำอะไร” เขาหมายถึงจิตใจของเขาได้ว่างเปล่าแล้ว ผ่อนคลายและปราศจากความปรารถนา ความทะเยอทะยาน หรือความต้องการอะไรก็ตามอีกต่อไป และอาจารย์ตอบ “โยนมันออกไป!”
 
แต่ลูกศิษย์ยืนกรานพูดว่า “ผมไม่มีอะไร อาจารย์! แล้วผมจะโยนมันไปได้อย่างไร”และอาจารย์ตอบว่า “ตกลง งั้น เก็บมันไว้!” (ท่านอาจารย์และทุกคนหัวเราะ)ลูกศิษย์บอกว่าเขาไม่มีอะไรเลยแต่แล้วเขายืน กรานอย่างเดียวกันนั้น ดังนั้นอาจารย์กล่าว “ตกลง งั้น เก็บมันไว้!” เขามีมากเกินกว่าจะโยนมันไป

ผู้คนมากมายคิดว่าพวกเขาว่างเปล่าและนั่นพวกเขาได้บรรลุเต๋าหรือตระหนักถึง พุทธภาวะและอะไรทำนองนั้น พวกเขาคิดว่าพวกเขาไม่มีความปรารถนาอะไรเลย ไม่มี ไม่มี ไม่มีและนั่นเป็นเพราะพวกเขาใส่เสื้อผ้าที่พองโป่งและโกนหัว พวกเขาใช้ได้หมายถึงพวกเขาทั้งหมดว่างเปล่า

แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ ความว่างเปล่าไม่ใช่มาจากภายนอกมันมาจากภายใน ดังนั้นทันทีที่เธอสำนึกว่าเธอว่างเปล่า เธอไม่ได้เป็นอย่างนั้นเพราะมันยังคงมีสำนึกที่นั่น และกลิ่นของเซนรุนแรงมาก ผู้คนเรียก“ความป่วยของเซน” ดังนั้นในกรณีที่มีสิ่งนั้น เธอควรจะไปพบแพทย์และเอามันออกไป

เมื่อเราเป็นเพียงคนธรรมดา เราไม่รู้มากและเรารู้ว่า เราไม่รู้ แต่ทันทีที่เรานั่งสมาธิเพียงแค่เวลาสั้น ๆ เราคิดว่าเรารู้ แต่หลังจากนั้นเมื่อใช้เวลามากขึ้น เรารู้ว่าเราไม่รู้อีก ดังนั้นนั่นเป็นเวลาที่ดีที่สุด เมื่อเราไม่รู้ นั่นเป็นเวลาเมื่อเรารู้ดีที่สุด เพราะว่าถ้าเรายังคงเต็มไปด้วยความรู้และการรู้และเป็นเช่นนั้นต่อไป มันหมายถึงเรายังคงสำนึกครึ่งทางเท่านั้นจริง ๆ

จริง ๆ แล้ว ทั้งหมดที่ฉันกำลังบอกก็คือเธอทำให้ตัวเธอรื่นรมย์สุขสำราญ และใช้เวลาด้วยกัน ดังนั้นเมื่อเธอกลับบ้าน เธอรู้สึกว่าอารมณ์ของเธอ จิตใจและหัวใจที่เป็นมนุษย์ของเธอได้รับบางสิ่งจากอาจารย์ แต่ทั้งหมดนี้เป็นขยะ:ไม่ว่าจะเป็นขยะที่สวยงามหรือขยะที่ไม่ดี มันเป็นขยะทั้งหมด สิ่งที่เธอสำนึกอยู่ภายในไม่ใช่จากคำพูดของฉัน แน่นอนคำพูดที่ให้กำลังใจและย้ำเตือนของฉันบางทีอาจช่วยทำให้เธอสบายใจในบาง สถานการณ์และช่วยเปลี่ยนอุปนิสัยส่วนตัวที่ไม่พึงปรารถนาบางอย่าง แต่นั้นไม่ใช่การรู้แจ้ง

การรู้แจ้งไม่ต้องทำอะไรเลยกับบุคลิก ดีหรือไม่ดี มีศีลธรรมดีหรือมีข้อผิดพลาด การรู้แจ้งเป็นแค่ตัวเองที่บริสุทธิ์ ไม่เคยเปลี่ยน ไม่เคยกลายเป็นดีกว่า ไม่เคยกลายเป็นเแย่ลง ไม่เคยเป็นอวิชาและไม่ต้องกลายเป็นรู้แจ้งอีก มันอยู่อย่างนั้นเสมอ มันเป็นอย่างนั้นเสมอ มันจะเป็นอย่างนั้นเสมอและมันคือปัจจุบัน

เรื่อง ราวและการอธิบายเหล่านี้ และที่เรียกว่าความรู้ทางโลกทั้งหมดของฉันเป็นเพียงเพื่อการทำให้เพลิดเพลิน จนกระทั่งเรามีการติดต่อกันและกันในระดับส่วนตัวและจนกระทั่งเรามีความสุข ร่วมกัน แต่อย่าพกขยะกับเธอมากเกินไป สิ่งนั้นไม่ใช่คำสอนที่ถูกต้อง คำสอนที่ถูกต้องจะปราศจากภาษาเสมอ และเธอรู้มันเสมอ เธอรู้มันภายใน:อย่างชัดเจน อย่างสมบรูณ์แบบโดยไม่มีการอธิบายใด ๆ และโดยไม่มีคำพูดโต้ตอบ แต่ในระหว่างนั้นเราทั้งคู่ต้องเสแสร้ง เราต้องการสิ่งนี้ทั้งหมดจนกระทั่งฉันมีงานทำ จนกระทั่งเธอมีเหตุผลที่จะมาและเธอมีความทรงจำที่ดีบางอย่างจะนำบ้านมาสู่ เธอ นั่นคือทั้งหมด
 
ขอบคุณที่มา : http://magazine.godsdirectcontact.net/thai/178/st_57.htm (http://magazine.godsdirectcontact.net/thai/178/st_57.htm)


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 13 มิถุนายน 2553 12:08:29
(http://www.sarakadee.com/feature/2006/12/images/editor.jpg)
 
ภายในกับภายนอก
 
เรื่องราวที่เกี่ยวกับความยึดมั่นถือมั่น เป็นที่เล่าขานกันมากที่สุด คือเรื่องนี้
 
พระสองรูปกำลังโต้เถียงกันเรื่องธง
พระรูปหนึ่ง พูดว่า " ธงกำลังไหว "
พระอีกรูปหนึ่ง พูดว่า " ลมต่างหากที่กำลังไหว "
พระสังฆปรินายกองค์ที่หกคือ ท่านเว่ยหลางได้ยินเข้า ก็เลยพูดกับพระทั้งสองว่า
" ลมไม่ได้ไหว ธงก็ไม่ไหว จิตของเธอต่างหากที่กำลังไหว "
 
ข้อสังเกตของท่านเว่ยหลางตรงนี้ มีความหมายเป็นสองนัย ประเด็นแรก
ท่านเว่ยหลาง ต้องการขจัดความคิดยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งภายนอกของพระ
สองรูป ที่ยึดเอาธงกับลมเท่านั้น ว่าเป็นตัวกำหนดความเคลื่อนไหวโดย
ท่านเว่ยหลางชี้ไปที่จิต ซึ่งเป็นสิ่งอยู่ภายในอันตรงข้ามกับสิ่งภายนอกนั้น
ว่า จิตต่างหากที่กำลังถูกสั่นไหว
 
ประเด็นนี้ ท่านประสงค์เพียงชี้ให้เห็นความผิดพลาดของทรรศนะการมองโลก
ที่ยึดแต่ภายนอกเพียงด้านเดียว โดยละเลยอีกด้านหนึ่งคือ ด้านที่เป็นภายใน
 
ตรงนี้ขอขยายความหน่อยหนึ่งว่า " ภายนอก " ในที่นี้ก็คือทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร
เลย นอกจาก " จิต " และภายในก็คือ " จิต " เท่านั้น
 
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งมีนัยลุ่มลึกพิสดารนัก เคยมีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งที่พยายาม
อธิบาย คำพูดของท่านเว่ยหลางประโยคนี้ด้วยเรื่องว่า
 
มีแม่ชีรูปหนึ่ง ครั้นได้ฟังพระสองรูปเล่าถึงเรื่องนี้นางก็กล่าวกับ พระทั้งสองรูปนั้นว่า
 
" ธงไม่ไหว ลมไม่ไหว จิตก็ไม่ไหว "
 
ตรงนี้แหละสำคัญนัก เพราะตรงเป็าหมายของความไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างถึงที่สุด
คือนอกจากไม่ให้ยึดภายนอกแล้วก็ยังไม่ให้ยึดภายในด้วย
 
เป็นการ " ปล่อยวาง " อย่างแท้จริง
 
วิธีสอนแบบเซนต้องไม่อธิบาย ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายปรากฏตามสภาพความ
เป็นจริง ยิ่งให้คำอธิบายยิ่งพรรณาถึงสิ่งนั้น ๆ หรือยิ่งวิเคราะห์ ยิ่งปรุงแต่งก็ยิ่งผิด
ความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น ๆ มากยิ่งขึ้นไปทุกที
 
ธงก็ตาม ลมก็ตาม จิตก็ตาม ล้วนเป็นสภาพอันปรากฏอยู่เช่นนั้น ย่อมเป็นไปตามเหตุ
ปัจจัยให้ดำเนินให้เป็นไปนั้น ๆ จิตคือสภาพที่รับรู้สภาพอันเป็นจริงอยู่นั้นไม่มีอะไรอื่น
นอกจากนี้
 
จากเรื่องข้างต้น จิตเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดจากภายนอกกล่าวคือ เพราะลมไหวธงจึงไหว
จิตถูกลมและธงกำหนดให้ไหวตามไปด้วย
 
นี่เป็นเบื้องต้นของวิธีมองโลกแบบเซน คือขจัดความคิดปรุงแต่ง ๆ ปล่อยให้ภายนอก
กับภายใน ได้สัมผัสกันอย่างแท้จริง โดยปกติธรรมดาที่สุดตามธรรมชาติที่ควรเป็นไป
ของมัน
 
เซน ถือว่า นี่เป็นวิธีเดียว ที่เราจะประจักษ์ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอย่างถูกต้องตามเป็น
จริงที่สุด
 
เรามักมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยรูปลักษณ์นานาแตกต่างกันไปตามความยึดมั่นถือมั่นด้วยกัน
ทั้งสิ้น
 
 
 
 
 
จากหนังสือ มุมที่ไม่มีเหลี่ยม ของ ท่านเนารัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ใครๆ ก็รู้ว่าในเชิงกวี เขาคือมืออันดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีใครรู้ว่าในเชิงปรัชญาเซน เขามิได้เป็นมือสองรองใคร


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 13 มิถุนายน 2553 13:48:18




(http://img2.imageshack.us/img2/2305/7fa0e3b9879bccf807df542.gif)
พักตาก่อนค่ะน้องแม๊ค เรามีผู้ใจดีมาช่วยแล้วว..
ดีใจๆๆๆ


หัวข้อ: Re: นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง
เริ่มหัวข้อโดย: หมีงงในพงหญ้า ที่ 29 พฤศจิกายน 2553 02:06:16
รูปน่ารักมากครับ

กระทู้ดี ๆ แบบนี้ตกหน้าซะแล้ว

มาช่วยดัน 5555+