[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 05:58:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประเพณีงานศพ  (อ่าน 2183 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 30 มีนาคม 2553 09:12:43 »



รูปแบบการจัดการงานศพ ไหล่หิน


...........................พิธีกรรมทำศพ..................................

พิธีศพของคนพื้นเมืองชาวสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ยาวนานที่สุดในโลก เพราะเมื่อเทียบเคียงกับกลุ่มชนอื่น ๆ เช่น ฝรั่ง จีน แขก ฯลฯ ยังไม่มีพิธีกรรมทำศพกลุ่มไหนยาวนานนับเดือนเหมือนชาวสุวรรณภูมิ
พิธีกรรมยาวนานอย่างนี้มีมานานมากไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว พบพยานหลักฐานทั่วไปทั้งในประเทศไทยและเพื่อนบ้าน แล้วยังมีสืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ดังเห็นได้จากประเพณีของชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น กำมุ (ขมุ) ลาว เขมร มอญ และไทย


.........................ชาวสุวรรณภูมิแยกพิธีศพเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนครอบครัวกับส่วนสาธารณะ.............................

ในส่วนครอบครัวทุกข์โศก แต่ส่วนสาธารณะสนุกสนาน ดังมีพยานในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ เช่น บทละครเรื่องอิเหนา ตอนมหรสพงานศพในกรุงหมันหยา ดังนี้...............................................

บัดนั้น ฝูงประชามาสิ้นทุกถิ่นฐาน

พวกผู้หญิงสาวสาวชาวร้าน เดินเที่ยวดูงานพล่านไป

นักเลงเหล่าเจ้าชู้ฉุยฉาย นุ่งลายฉีกผ้าดัดตัดผมใหม่

ดัดจริตปิดขมับทาไพล ห่มแพรหนังไก่สองเพลาะ

เห็นสาวสาวเหล่าข้าหลวงเรือนนอก สะกิดบอกเพื่อนกันคนนั้นเหมาะ

บ้างเดินเวียนแวดชายร่ายเราะ พูดปะเหลาะลดเลี้ยวเกี้ยวพาน

พวกดูโขนโคลนตมก็ไม่ว่า สู้ทนฝนฟ้าไม่ไปบ้าน

บ้างยืนนั่งตั้งใจจะดูงาน สับสนอลหม่านเล้าลุม

พวกผู้ชายรายยืนอยู่สองข้าง แหวกทางให้ผู้หญิงถลำหลุม

ที่ลื่นล้มกลาง ถนนคนชุม หนุ่มหนุ่มสรวลเสเฮฮา ฯ
พิธีกรรมทำศพในพื้นที่สาธารณะไม่แต่งชุดดำ ไม่มีไว้ทุกข์ เพราะไม่ทุกข์ไม่โศก จึงแต่งชุดสวยสดฉูดฉาดเหมือนไปงานมหรสพทั่วไป ยิ่งมีเครื่องประดับใหม่ ๆ ก็ยิ่งเอาออกมาใส่อวดกัน มีผ้าผืนใหม่ก็ต้องรีบแต่งมาอวด ดังกลอนบทละคร อิเหนาระบุว่า นุ่งลายฉีกผ้าดัดตัดผมใหม่
ประเพณีไว้ทุกข์ด้วยการแต่งชุดดำ ได้จากฝรั่งยุโรป และเพิ่งเริ่มแต่งดำไปงานศพในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5
กว่าจะแพร่หลายออกไปถึงชนบทต่างจังหวัดทั่วประเทศต้องใช้เวลานานมากราว 100 ปี เมื่อหลัง พ.ศ.2500 นี่เอง
ราว 30 ปี มานี้ พิธีกรรมทำศพยังแยกพฤติกรรมเป็นอย่างน้อย 2 พวก คือ พวกในเมืองแต่งชุดดำ แต่พวกนอกเมืองหรือบ้านนอกแต่งสีสันตามสบาย
ไม่มีชุดดำเลย นานเข้าแบบแผนของสังคมเมืองโดยระบบราชการก็ควบคุมบังคับให้ชาวบ้านทั่วไป
แต่งชุดดำไปงานศพ แล้วยกเลิกประเพณีสีสันครั้งดึกดำบรรพ์ไปโดยปริยาย....................................


Credit มติชนรายวัน วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คอลัมน์ สยามประเทศไทย

โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 มีนาคม 2553 10:33:58 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.244 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 20 กุมภาพันธ์ 2567 08:08:10