[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:25:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

Bohmian Dialogue สุนทรียสนทนา เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: Bohmian Dialogue สุนทรียสนทนา เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ  (อ่าน 3081 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2553 08:14:52 »




สุนทรียสนทนา Bohmian Dialogue

Bohmian Dialogue สุนทรียสนทนา เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ: แนวคิดและวิธีการจัดการ 
 
การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ "สุนทรียสนทนา" (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไป
ใช้อย่างกว้่างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจาก 
นี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ ๆ ในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งใน
ระดับบุคคลได้อีกด้วย
 
บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น
เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
 
ความหมายและความเป็นมา
คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้สำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น "สุนทรียสนทนา" "สนทนาแลกเปลี่ยน" "วาทวิจารณ์" รวมทั้งคำว่า 
"สนทนา" และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น "การสนทนาอย่างสร้างสรรค์" หรือ "การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน" ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำ 
ในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า "สนทนาวิสาสะ" ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่ง
อาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า "สุนทรียสนทนา" แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความ
กระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ BOhmian Dialogue 
 
ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาได้ดังนี้ คือ dia = through "ทะลุทะลวง", logo = meaning of the word 
"ความหมายของคำที่พูดออกไป" แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ "สุนทรียสนทนา" ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความ 
หมายของคำว่า "dialogue" มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ "กระแสธารของ 
ความหมาย" ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมติใด ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่
ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ 
ที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง 
 
การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และ 
เอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็น 
การบ่มเพราะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนา
นั้น ไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการ
ตัดสินด้วยข้อสรุปใด ๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ 
จะต้องกำหนดใจรับรู้กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่น เดียวกับตัวเราที่กำัลังรับฟังอยู่ เรา 
สามารถรถได้ คอยได้เสมอ 
 
กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่ามีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมาย 
ส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใ้ช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง
(entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของ 
สุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง 
โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เ้น้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) 
จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี
 
ทำไมต้องสุนทรียสนทนา
มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็น 
เรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว 
 
ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้าย ๆ กับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า "นั่งโสกัน" ภาษาคำเมือง 
จะเรียกว่า "นั่งแ่อ่วกัน" หรือ "นั่งอู้กัน" ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า "นั่งแหลงกัน" แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับ 
ชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า "นั่งจังเข่าคุยกัน" "ล้อมวงคุย" หรือ "เปิดเวที" ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับ
มาใช้ใหม่
 
นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้า 
ค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า 
คนกลุ่มเล็ก ๆ อยู่รวมกันประมาณ 40 - 50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่าง 
รู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่น ชายหนุมรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกำปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกัน 
ก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน
โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็น
เวลานานแล้ว
 
คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยี
การสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน "ความเจริญ" เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วน ๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่ คือ "ความเหงาท่ามกลางฝูงชน" ทำให้ 
เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่น ๆ ในโลกนี้ได้อย่างไร
 
 
รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม 
วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเืมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ "มนุษย์สัมผัสมนุษย์" ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันสัญญลักษณ์ 
ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
 
 
อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบด้วย
ข้อสรุปและกฏระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฏระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า 
ปัญหาใด ๆ ก็ตาม จะไม่สามารถแ้้้ก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อ
 
หาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน 
 
การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยง 
คนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ 
ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาบริโภคจนเกิดความจำเป็นพื้นฐาน จอ
โทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนต
ความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็ก ๆ ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากรธรรมชาิติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบ 
สนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น 
 
คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ห่างคนห่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ "ฐานคติ" (presupposition) นั้น ขึ้น 
สู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิง 
ซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือ
โน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ
 
ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ "อิทัปปัจยตา" ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใด ๆ อีกด้วย เพราะไม่
สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฏการณ์ได้ ยิ่งแ้ก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ "ตนเอง" จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้
เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์


http://www.spr.go.th/di/bohmian%20dialogue%20is.php

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
"สุนทรียสนทนา" Bohmian Dialogue ออกสู่สาธารณะ
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 1 3268 กระทู้ล่าสุด 17 เมษายน 2553 09:19:58
โดย มดเอ๊ก
Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 5 4484 กระทู้ล่าสุด 13 มิถุนายน 2553 14:37:18
โดย มดเอ๊ก
สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2980 กระทู้ล่าสุด 04 พฤศจิกายน 2553 05:02:49
โดย มดเอ๊ก
สุนทรียสนทนา (dialogue): ศาสตร์และศิลป์ของการหันหน้าเข้าหากัน
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 3597 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2553 08:57:41
โดย มดเอ๊ก
ตัวอย่าง หลักสูตร สุนทรียสนทนา (Dialogue)
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 8834 กระทู้ล่าสุด 09 พฤศจิกายน 2555 01:10:07
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.408 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 29 ตุลาคม 2567 08:00:17