[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: มดเอ๊ก ที่ 05 เมษายน 2553 08:47:42



หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ประวัติศาสตร์คือบันทึกความสัมพันธ์ของดินกับฟ้า
เริ่มหัวข้อโดย: มดเอ๊ก ที่ 05 เมษายน 2553 08:47:42
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/107/6107/images/ru66.jpg)
 
 
ระบบการศึกษาของประเทศเรา - ตราบใดที่เรายังประสงค์กับความเจริญก้าวหน้าและต้องการความศิวิไลซ์ "สมัยใหม่" - เราก็มักทำตามฝรั่งตะวันตกอยู่วันยังค่ำ เพราะเราทั้งโลกเลยที่ไม่ใช่ฝรั่งตะวันตกที่เราในประเทศเราเข้าใจ ส่วนใหญ่มากๆ ล้วนแล้วแต่คิดว่าฝรั่งตะวันตกฉลาดกว่าเรา เก่งกว่าเรา เจริญก้าวหน้ากว่าเรา ฉะนั้นจึงทำตามฝรั่งตะวันตกแทบจะทุกอยาง แต่ฝรั่งเองในความเห็นของผู้เขียนก็เอาตามนักคิดนักปรัชญาของกรีซ โดยเฉพาะอริสโตเติล ผู้ใช้รูปแบบและโลกนี้มากกว่าเนื้อหาและโลกหน้า (อื่น) จัดการเรื่องความรู้ (knowledge) ทั้งหมดของมนุษยชาติ ฉะนั้น ระบบการศึกษาของประเทศไทยเราไม่ว่าเราจะปฏิรูปอย่างไรหรือเปลี่ยนแปลงขนาดไหน มันก็หนีไม่พ้นการพายเรือในอ่าง คือตามอย่างฝรั่งตะวันตกโดยหลักการอยู่วันยังค่ำ
สมัยก่อนหน้านี้ไปสัก 70-80 ปีก่อน ในชั้นเรียนมัธยมต้นที่ต่างจังหวัดมีอยู่วิชาหนึ่งที่ผู้เขียนไม่ชอบเลยแม้แต่น้อยครึ่งหนึ่ง แต่จะชอบเอามากๆ ครึ่งหนึ่ง นั่นคือ วิชาภูมิ-ประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่เกี่ยวกันเลย แต่โรงเรียนก็ยังจัดไว้ด้วยกัน ครึ่งหนึ่งที่ผู้เขียนไม่ชอบเอามากๆ คือส่วนที่อยู่ข้างหลังหรือประวัติศาสตร์ คือไม่ชอบทั้งในเรื่องของรูปแบบและในเรื่องของเนื้อหา แต่เหตุผลที่ไม่ชอบในตอนแรกนั้นผู้เขียนไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร เนื่องจากเป็นเด็กที่ยังเล็กมาก และเหตุผล - ที่มารู้เอาในตอนหลัง - แม้ในตอนนั้นก็ยังเป็นการมองอย่างผิวเผินอยู่ดี คือมองว่า - จะมีอยู่ 2 ประการ คือ อย่างหนึ่งเป็นเรื่องของรูปแบบว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่มีทิศทางเป้าหมาย คือไม่สอนอะไรที่สำคัญว่าจะไปทิศไหน เหมือนกับว่าเขาจัดมาอย่างนั้น เราก็ต้องเรียนตามนั้น เขาที่ว่าคือเมืองนอก ฝรั่งเขาจัดการเรียนการสอนหรือความรู้ทั้งหมดอย่างไร - และขอย้ำว่าทั้งหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น (นอกจากศิลปศาสตร์กับศาสนศาสตร์เท่านั้นที่มีคุณค่าและความหมาย ซึ่งความหมายที่พูดมานั้นจะต้องตีความด้วยจิตที่เป็นเรื่องของภายในเสมอไป) - ส่วนความรู้ที่เหลือทั้งหมด ล้วนแล้วแต่จัดสร้างให้มีขึ้นเพื่องาน-เงิน-วัตถุทั้งนั้น พูดง่ายๆ คือความรู้ที่เราเรียนมาทั้งหมด นอกจากที่ยกเว้นสุดแสนจะเล็กน้อยนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นไปตามปรัชญาของอริสโตเติลทั้งนั้น ความรู้ - ที่ไม่มีคุณค่าหรือความหมายต่อจิตที่อยู่ภายใน - ที่มุ่งแต่เงินกับวัตถุภายนอกจะเป็นความรู้อันบริสุทธิ์ได้อย่างไร? ส่วนประการที่ 2 หรือเนื้อหาก็ไม่เห็นว่าเด็กจะได้เรียนรู้อะไร นอกจากการบันทึกของคนในอดีตที่ยอกันไปยอกันมา สำหรับวิชาแรกภูมิศาสตร์เป็นเรื่องของโลกและประเทศต่างๆ ในปัจจุบันจึงพอที่จะสนุกบ้าง พูดง่ายๆ ผู้เขียนไม่สนใจสิ่งใดที่เป็นเรื่องของมนุษย์ในอดีต แม้แต่ว่าจะเป็นกำพืดของตัวเอง เพราะเด็กที่ยังมีอายุไม่ถึง 10 ขวบ ย่อมไม่สนใจเรื่องใดๆ ของอดีตทั้งนั้น จะสนใจแต่เรื่องของปัจจุบันหรืออนาคตมากกว่า สมัยนั้นยังโชคดีที่ไม่มีเรียนเรื่องของสังคมวัฒนธรรม "แบบที่เข้าใจกันที่ผู้เขียนเห็นว่าส่วนมากผิดธรรมชาติ" ผู้เขียนจึงไม่ชอบ และวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมก็ไม่มีสอบ เพราะไม่มีค
รู้สอน นานๆ ทีก็มีพระมาสอนศีลธรรมสักที จึงไม่คอยมีเด็กตั้งใจฟังมากนัก จริงๆ แล้วผู้เขียนหันมาสนใจเรื่องของประวัติศาสตร์บ้างก็เมื่อมาเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว และก็เป็นเพราะว่ามีอาจารย์รอง ศยามานนท์ สอน อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นได้ไปบ้าเรื่องของการเมืองร่วมกับเพื่อน 2-3 คน แต่ผู้เขียนยังคงมีความเห็นเหมือนเดิมว่า ประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องของ - ถ้าหากเป็นเรื่องของคนหรือเรื่องของชาติแล้ว แทบทั้งหมดคนเขียนมักจะเป็นเช่นที่ว่ามานั้น - คือยอกันไปยอกันมาดูกันไม่จืด และถ้าเป็นประวัติศาสตร์ชาติของผู้เขียนเอง ประวัติศาสตร์นั้นๆ - ไม่เคยผิดเลย
ประวัติศาสตร์ในความจริงที่ผู้เขียนมองในปัจจุบันเป็นเรื่องของการเคลื่อนไหววิวัฒนาการของจิตที่ควบคุมทุกๆ พฤติกรรมของมนุษย์แต่ละคนเป็นปัจเจกก่อนแล้วถึงได้รวมกันเป็นสังคมร่วม
ในภายหลัง วิวัฒนาการของสังคมเมื่อเวลาผ่านไปตามลูกศรแห่งเวลา (arrow of time) ความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวกันของสรรพสิ่ง ปรากฏการณ์ของมนุษย์กับฟ้าหรือสวรรค์ - ในที่นี้คือ - ระหว่างดินกับฟ้า ซึ่งดินได้วิวัฒนาการขยายต่อมาเป็นผืนดินจริงๆ กับมนุษย์ซึ่งเป็นเป้าหมายของจักรวาล คือหมายถึงความสัมพันธ์ต่อกันและกันของ ดิน-มนุษย์-ฟ้าหรือสวรรค์ ซึ่งมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โบราณกาลจริงๆ ในทุกๆ วัฒนธรรมความเชื่อทั่วทั้งโลกเลยเหมือนๆ กัน - รู้จักกันในชื่อปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ที่สำคัญยิ่งซึ่งเล่ามาบ่อยๆ - โดยที่เราไม่อาจรู้เลยว่ามันมีมาตั้งแต่เมื่อไร? หรือโดยใคร - ที่ไหนก่อน?
นั่นคือการเริ่มต้นของพื้นฐานอันแรกเริ่มของรากแก้วแห่งชีวิต (ground of being) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือการเริ่มต้นของ "ประวัติศาสตร์" ที่แท้จริงว่า แท้ที่จริงแล้วปรัชญาดังกล่าวแสดงถึงวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของฟ้าหรือสวรรค์หรือพระเจ้า (God รวมทั้ง gods or spirits) กับชีวิตที่คือวิถีชีวิตหรือความสัมพันธ์ระหว่างจักรวาล (จิตจักรวาลอันเป็นปรมัตถ์ และความเป็น ทั้งหมด (wholeness)) กับมนุษย์ "ที่เป็นไปเช่นนั้นของมันเอง" แต่เพราะว่าประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ตามปรัชญาของอริสโตเติล ซึ่งปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์ดังกล่าวปราศจากคุณค่ากับความหมาย (value and meaning) ฉะนั้นจึงอาจจะพูดได้ว่า โดยผิวเผินประวัติศาสตร์คือวิชาที่บอกว่าชีวิตมนุษย์ไม่มีคุณค่าหรือความหมาย! ผู้เขียนถึงได้ไม่ชอบประวัติศาสตร์ดังที่บอกและเคยเขียนในไทยโพสต์ไปแล้วหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่าวัฒนธรรมที่ใช้ๆ กันอยู่ ที่ผู้เขียนมองว่าเราใช้ๆ กันตามนักวิทยาศาสตร์ที่จัดการกับความรู้ทั้งหลาย - ที่มีลักษณะของวิทยาศาสตร์กายภาพหรือวัตถุนิยมตามฝรั่งตะวันตกมากไป - โดยไม่คิดให้รอบคอบว่าวัฒนธรรมนั้นคือจิตวิญญาณของสังคม
ผู้เขียนมีความคิดเห็นเหมือนๆ กับจอร์จ วอลด์ นักชีววิทยารางวัลโนเบลผู้ค้นพบว่าลูกตาของกบ - ในทางกายภาพ - เหมือนกับลูกตาของมนุษย์ค่อนข้างมาก แต่กบเห็นสีเพียง 2 สี ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? จอร์จ วอลด์ ไม่รู้ เขาคิดว่าจิตจักรวาลที่มีมาตั้งแต่ต้น มีมาก่อนบิ๊กแบ็งเสียอีก ซึ่งเป็นการสร้าง "จักรวาลให้มีวัฏจักรไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด" เพราะอาจจะเป็นส่วนของพระจิตของ "บราห์มัณ" หรือพรหมมัณตามที่อุปานิษัตบอกก็ได้ หากมองเช่นนั้นมันก็เป็นสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เพราะว่าเป็นเหมือนกับที่นักวิทยาศาสตร์หลายๆ คนในปัจจุบันที่คิดจากการคำนวณของคณิตศาสตร์ โดยทฤษฎีซูเปอร์สติงก์ที่ให้ผลอย่างเดียวกันว่า จักรวาลของเราเป็นเพียงหนึ่งจักรวาลที่มีจำนวนหลากหลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (pleuriverses หรือ mutiverses) ที่นักเทววิทยาของฝรั่งโกรธนักโกรธหนาว่า ดูหมิ่นพระเจ้าโดยการทำให้การสร้างโลกการสร้างจักรวาล (Genesis) ของพระองค์ที่มีหนึ่งโลกหนึ่งจักรวาลต้องมัวหมอง
ดังนั้นและปัจจุบันนี้ ผู้เขียนจึงมองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบว
นการวิวัฒนาการของจักรวาล - ที่มีหน้าที่เพียงหนึ่งเดียว - นั่นคือเป็นการไหลเลื่อนเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงของจิต (จิตหนึ่งซึ่งเป็นจิตไร้สำนึกของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมองของสัตว์โลก
ทุกๆ ตัว รวมทั้งมนุษย์แต่ละคนเป็นปัจเจก) เป็นจิตสำนึก ส่วนจิตไร้สำนึกอีกอย่างหนึ่ง (บารมี) มาจากจิตรู้อันเป็นวิญญาณขันธ์ของผู้ที่ตายจากโลกนี้ (หรือภพภูมินี้) ไปแล้ว โดยที่จิตไร้สำนึกทั้ง 2 ส่วนนี้จะถูกบริหารโดยสมอง (ของผู้ที่เกิดใหม่) เป็นจิตสำนึกใหม่ไปเรื่อยๆ ตามลำดับและระดับของสเปกตรัมจิต (spectrum of consciousness) จวบจนได้ตรัสรู้นิพพาน ผู้เขียนจึงเชื่อ - เช่น เคน วิลเบอร์ เชื่อ และเขียนตลอดมา - ว่ามนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงมีเป้าหมายของการเกิดมาในโลกนี้ล้วนมีเป้าหมายเพื่อการหลุดพ้น (transcendence) เราทั้งหลายต่างเดินทางแล้วเดินทางอีก เรียนรู้แล้วเรียนรู้อีก วิวัฒนาการเรื่อยๆ มา โดยมีเป้าหมายที่การเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไปของจิต สัตว์มีเป้าหมายสุดท้ายที่จะต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ และมนุษย์จะตายเพื่อเกิดใหม่ไปเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกอยู่นั่นแล้ว แต่ละคนแต่ละชาติภพเพื่อแสวงหาสิ่งเดียว นั่นคือ วิวัฒนาการทางจิตสู่จิตวิญญาณ (spirituality) ไปเรื่อยๆ ตามสเปกตรัมที่ว่าข้างต้นนั้น - สู่นิพพาน
ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แม้จะแยกย่อยเป็นประวัติศาสตร์ของสังคมประเทศชาติใดๆ ก็เป็นไปในแนวนั้นโดยหลักการ ซึ่งสำหรับผู้เขียนแล้ว ประวัติศาสตร์ทั้งหมดเป็นการบอกกล่าวถึงการไหลเลื่อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของจิตไร้สำนึกหรือจิตจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมองของมนุษย์ แล้วถูกบริหารโดยสมอง ให้มันมีวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ เป็นจิตสำนึกใหม่ตลอดเวลา การเรียนรู้คือวิวัฒนาการหรือการยกระดับจิตรู้ไปสู่ระดับหรือขั้นที่สูงขึ้น หรือการมีจิตสำนึกใหม่นั้นๆ ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นเป้าหมายของชมรมจิตวิวัฒน์ ซึ่งมีผู้สนใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
ในความเห็นของผู้เขียนที่พูดมาทั้งหมดนั้น แสดงว่าประวัติศาสตร์ชี้บ่งถึงการเคลื่อนไหวของจิตสู่จิตวิญญาณของมนุษย์ หรือชี้บ่งกระบวนการความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสวรรค์ ซึ่งก็คือวัฒนธรรมหรือศาสนาในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ รูปแบบที่สวรรค์มีความบริสุทธิ์ เช่นที่เรียกว่า ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ความสัมพันธ์ของดินกับฟ้าที่แปลกมากๆ เพร
าะมีในทุกๆ วัฒนธรรมมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าที่สุเมอเรีย-บาบิโลเนีย อียิปต์โบราณ จีน ลัทธิพระเวท ฯลฯ ที่เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดขึ้น ความบริสุทธิ์ที่ไมเคิล เมอร์ฟี เรียกว่า หลักการแห่งสวรรค์ (principle of divinity) นั่นคือ ศาสนาที่พูดถึงความเป็นทั้งหมด (wholeness) ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน นั่นคือ ศาสนาที่เป็นแก่นแกนของความจริงแท้ที่มีหนึ่งเดียวที่บอกว่า "มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง" นั่นคือ ตถาตา (suchness)
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นคนที่ไม่เชื่อในศาสนาที่มีพระเจ้าเป็นเหมือนกับผู้ดูแลประชาชนเสมือนพ่อดูแลลูกๆ คือให้รางวัลเมื่อลูกทำดี แต่จะทำโทษที่ลูกๆ ทำชั่ว หรือขอพรขออะไรได้ที่เป็นความงมงาย แต่ไอน์สไตน์ก็เชื่อว่าเขาเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนาอย่างที่สุด (religiousness) ฉะนั้น ศาสนาที่เราใช้ๆ กัน หากคิดแบบที่ไอน์สไตน์คิดจึงเป็นคนละเรื่องกับการเป็นผู้ที่มีความเป็นศาสนาอย่างที่สุด
"จิตอารมณ์หรือความรู้สึกที่สวยงามที่สุดคือ ความรู้เร้นลับ (mystical) เพราะมันเชื่อมประสานศิลปะที่แท้จริงเข้ากับวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งเดียว ผู้ใดที่ไม่เชื่อเช่นนั้นคือคนตายเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ให้ปัญญาอย่างลึกล้ำ (wisdom) แก่เรา และมีอยู่จริงๆ...ความรู้ (ที่เร้นลับ) อันนี้ ความรู้สึกนี้คือสิ่งที่เรียกว่าความเป็นศาสนาอย่างที่สุด (religiousness) หากคิดเช่นนี้แล้ว ข้าพเจ้าก็เป็นผู้มีความเป็นศาสนาที่สุด".
 
นั่นคือ ความสัมพันธ์กันอย่างที่แยกกันไม่ได้ระหว่างดินกับฟ้าหรือระหว่างดิน-มนุษย์-ฟ้าหรื
อสวรรค์ นั่นคือปรัชญาสากลนิรันดร นั่นคือประวัติศาสตร์ที่แท้จริง//
 
http://www.thaipost.net/sunday/040410/20318 (http://www.thaipost.net/sunday/040410/20318)