[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ 14 พฤษภาคม 2553 08:32:13



หัวข้อ: ขั้วโลกใต้ทำลายสถิติร้อนสุดในประวัติศาสตร์
เริ่มหัวข้อโดย: sithiphong ที่ 14 พฤษภาคม 2553 08:32:13
ขั้วโลกใต้ทำลายสถิติร้อนสุดในประวัติศาสตร์
Science - Manager Online
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 พฤษภาคม 2553 15:04 น.
 
 
(http://pics.manager.co.th/Images/553000006963201.JPEG)
 
สถานีขั้วโลกใต้อาร์มุนเซน-สก็อตต์ (มูลนิธิวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ/ไลฟ์ไซน์)

 
 
 
  สถานีขั้วโลกใต้ เผยสถิติอุณภูมิที่ขั้วโลกใต้เมื่อปี 2009 สูงสุด -47.9 องศาเซลเซียส ร้อนสุดในประวัติศาสตร์ นับแต่เริ่มบันทึกเมื่อปี 1957 และปีที่ผ่านมายังเป็นปีที่โลกร้อนอันดับสองรองจากปี 2005

ข้อมูลจากสถานีขั้วโลกใต้อาร์มุนเซน-สก็อตต์ (Amundsen-Scott South Pole Station) เผยข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยที่ขั้วโลกใต้เมื่อปี 2009 ที่ผ่านมา แม้อุณหภูมิสูงสุดคือ -47.9 องศาเซลเซียสจะหนาวเย็นเข้ากระดูก แต่เป็นอุณหภูมิที่สูงสุดของขั้วโลกใต้นับแต่เริ่มบันทึกเมื่อปี 1957

ไลฟ์ไซน์ระบุว่า ผู้เผยข้อมูลดังกล่าวคือ ปีเตอร์ เรจเซค (Peter Rejcek) บรรณาธิการวารสารดิแอนตาร์กติกซัน (The Antarctic Sun) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาสหรัฐฯ (U.S. Antarctic Program) ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ (National Science Foundation)

อุณหภูมิสูงสุดก่อนหน้านี้ บันทึกได้เมื่อปี 2002 ซึ่ง ทิม มาร์เคิล (The Antarctic Sun) นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสที่สถานีขั้วโลกใต้ (South Pole Station) ในทวีปแอนตาร์กติกา ระบุว่าในปีดังกล่าวอุณหภูมิเฉลี่ยของขั้วโลกใต้สูง -48 องศาเซลเซียส

สอดคล้องข้อมูลจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งได้เผยข้อมูลการบันทึกอุณภูมิพื้นผิวโลกของปี 2009 ออกมาเมื่อต้นปี 2010 โดยพบว่าปีที่ผ่านมา เป็นปีที่ร้อนสูงสุดเป็นอันดับสองรองจากจากปี 2005 ทั้งนี้เป็นการวัดอุณหภูมิผิวโลกที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1800

มาร์เคิลระบุด้วยว่า เมื่อปี 2007 อุณหภูมิที่ขั้วโลกใต้ลงไปแตะที่ -100 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ -73.33 องศาเซลเซียส เพียงนาทีเดียว เมื่อวันที่ 2 ก.ย. ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ย้อนหลังกลับไป 3 ปีก่อนนั้น อุณหภูมิที่ขั้วโลกใต้ไม่เคยต่ำกว่าอุณหภูมิดังกล่าวเลย

แต่ล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย.2010 ที่ผ่านมา อุณหภูมิลดต่ำกว่า -73.33 องศาเซลเซียสโดยไม่สามารถอธิบายได้ นานถึง 22 นาที

“แต่อีกนั่นแหละ ไม่ได้ยาวนานจริงจังนัก อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นอุณหภูมิต่ำที่สุดนับแต่ 2 ก.ย. 2007” มาร์เคิลกล่าว