[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
12 พฤษภาคม 2567 02:11:33 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: cause is retribution  (อ่าน 13402 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:36:46 »


<table class="maeva" cellpadding="0" cellspacing="0" border="0" style="width: 800px" id="sae1"> <tr><td style="width: 800px; height: 576px" colspan="2" id="saeva1"><script type="text/javascript"><!-- // --><![CDATA[ var oldLoad = window.onload; window.onload = function() { if (typeof(oldLoad) == "function") oldLoad(); if (typeof(aevacopy) == "function") aevacopy(); } // ]]></script><embed type="application/x-mplayer2" src="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" width="800px" height="576px" wmode="transparent" quality="high" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="never" ShowControls="True" autostart="false" autoplay="false" /></td></tr> <tr><td class="aeva_t"><a href="http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.fungdham.com/download/song/allhits/18.wma</a></td><td class="aeva_q" id="aqc1"></td></tr></table>

เรื่องกฎแห่งกรรม จะศึกษาถึงเหตุและผลของชีวิต ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วจะเข้าใจในหลักเหตุและผลว่าชีวิตของสัตว์บุคคลทั้งหลาย ไม่ใช่ใครดลบันดาลให้ประสบสุขหรือทุกข์ แต่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม เป็นไปด้วยกรรม และการให้ผลของกรรมทั้งสิ้น ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะอุบัติขึ้น ชาวโลกก็ดิ้นรนแสวงหาทางที่จะพ้นทุกข์อยู่เหมือนกัน แต่การแสวงหาทางพ้นทุกข์ ต่างพากันปฏิบัติไปตามความเห็นของตน เจ้าลัทธิจึงเกิดขึ้นมากมาย บางลัทธิสอนว่า ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เมื่อแตกดับไปแล้วก็สูญสิ้น ไม่มีการเกิดอีก ฉะนั้นจึงไม่ต้องไปสร้างกรรมดีให้เสียเวลา เพราะผลแห่งกรรมดีไม่มี ผลแห่งความชั่วไม่มี การบาเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ไม่มีประโยชน์ มีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรก็ทาอย่างนั้น ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น เพราะเกิดมาแล้วชาติเดียวเท่านั้น ตายไปแล้วก็สูญ ไม่เกิดอีก นรก สวรรค์ไม่มี คนที่เชื่อในลัทธิเหล่านี้ก็หมดความเกรงกลัวบาป หมดความละอายต่อ
การกระทากรรมชั่วของตน บางลัทธิสอนว่า การกระทากรรมดีกรรมชั่ว ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล สักแต่ว่าทาเท่านั้น บางลัทธิสอนว่า คนเราเกิดมาดีหรือชั่วก็ตาม เป็นไปเองทั้งนั้น ไม่มีใครจัดแจงให้ จะดีก็ดีเอง จะชั่วก็ชั่วเอง ไม่ต้องมุ่งหน้าสร้างกรรมดีให้เสียเวลา บางลัทธิสอนว่า คนเราจะดีหรือชั่วนั้น อยู่ที่อิทธิพลของดวงชะตา แล้วแต่ดวงดาวที่โคจรไปมาในจักรราศี ถ้าดวงดาวโคจรเข้าสู่ราศีที่ไม่ดีแล้ว ถึงจะทากรรมดี ก็ไม่สามารถประสบผลดีได้ ถ้าดวงดาวโคจรเข้าสู่ราศีที่ดีแล้ว ถ้าจะทากรรมชั่ว ก็ไม่เป็นไร ดวงช่วยไว้ได้ เป็นต้น บางลัทธิสอนว่า ชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งมวล พระพรหมเป็นผู้สร้าง จะดีหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับพระพรหมจะลิขิต ฉะนั้น เมื่อประสบความทุกข์ความเสื่อม ก็ต้องรับไปตามที่พรหมลิขิต ยอมรับด้วยความภักดีไม่คิดแก้ไขให้เป็นอื่นได้ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นท่ามกลางลัทธิเหล่านั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนให้ชาวโลกได้ทราบถึงกฎแห่งความเป็นจริงของชีวิตว่า ไม่มีผู้สร้าง แต่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 09:17:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:39:05 »



เรื่องกรรมเป็นเรื่องสาคัญ คนทั่วๆ ไปมักจะกล่าวถึงกันอยู่เสมอ แต่ก็เป็นการกล่าวโดยไม่เข้าใจเรื่องกรรม เมื่อจะกล่าวถึงก็พบว่าจะพูดเรื่องกรรมกันไปในความหมายคนละอย่าง กล่าวโดยไม่มีหลักในเรื่องกรรม บางคนพูดถึงเรื่องกรรมด้วยสาคัญว่า กรรมเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลได้ทุกอย่าง ทานองเดียวกับพระพรหมหรือพระเจ้าที่จะบันดาลได้ทุกอย่าง หรือพูดถึงกรรมในทานองโชคชะตา เคราะห์ ดวง หรือบางบุคคลกล่าวว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้นมาเพื่อหลอกให้คนกลัวเท่านั้น กฎแห่งกรรมจึงเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ จึงเป็นธรรมดาที่คนในยุคที่เจริญก้าวหน้า ด้านวัตถุ จะคิดปฏิเสธกฎแห่งกรรมว่า “ทาดีก็ไม่เห็นว่าจะได้ดีที่ตรงไหน ทำชั่วก็ไม่เห็นว่าจะได้รับผลชั่วแต่อย่างไร แล้วจะมุ่งทากรรมดีกันไปทาไม นี้เป็นเหตุหนึ่งในหลาย ๆ ประการ ที่ทาให้เห็นผิดไปว่า ทำดีไม่ได้ดี ทาชั่วไม่ได้ชั่ว ทั้งนี้ก็เพราะไม่เข้าใจในกฎแห่งกรรม ฉะนั้นการศึกษาเรื่องกฎแห่งกรรม จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทาให้เกิดความสว่างในจิตใจ ความฉลาดในกฎแห่งกรรมนี้เองที่จะทาให้บุคคลละเว้นกรรมชั่ว หันมาประพฤติกรรมดี
ความรู้เบื้องต้นเรื่องของกรรม กรรมคืออะไร คำว่า กรรม แปลว่า การกระทา กรรมจึงเป็นคากลาง ๆ เพราะ กรรม หมายถึง การกระทาทั้งดีและชั่ว อะไรคือสิ่งที่เรียกว่ากรรม ? สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่ากรรมนั้น ตรัสหมายถึงเจตนา ฉะนั้น สิ่งที่เรียกว่ากรรม มุ่งหมายถึงเจตนาที่กระทาดี เรียกว่า กุศลเจตนา เจตนาที่กระทาชั่ว เรียกว่า อกุศลเจตนา ซึ่งเมื่อสาเร็จเป็นกรรมแล้ว ก็เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรมการกระทาต้องอาศัยเจตนาที่เกิดขึ้นภายในจิตเป็นเหตุ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เจตะนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ เจตะยิตวา กัมมัง กะโรติ กาเยนะ วาจายะ มะนะสา แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนา คือ ตัวกรรม สัตว์ที่กระทากรรมด้วยกาย วาจา ใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทา ดังนี้.....คำว่าเจตนาในทางธรรมะนั้นหมายถึง ธรรมชาติที่จงใจ ที่มุ่งมั่นจะกระทากิจต่างๆ ให้สาเร็จลง ซึ่งก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆ ด้วย สิ่งที่กระทาสาเร็จแล้วนั้นเป็นกรรม ย่อมส่งผลในภายหลัง เป็นความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แก่ผู้กระทา จึงเรียกว่า กรรม ในบางคราวลาพังเพียงเจตนาอย่างเดียวก็ไม่สามารถจะทาผลให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยธรรมอื่นบางอย่างเกิดขึ้นประกอบร่วมกับเจตนา และธรรมบางอย่างเหล่านั้นออกหน้าเป็นประธานในการสร้างผลยิ่งกว่าเจตนา วาระเช่นนี้เองที่กล่าวได้ว่าธรรมบางอย่างที่ประกอบร่วมกันกับเจตนาก็ชื่อว่า กรรม เช่นการจะทำให้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:15:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:42:42 »



อริยผล เกิดขึ้น ต้องอาศัยองค์มรรค 8 จึงจะสาเร็จได้ และองค์ 8 ก็เป็นประธานในการทาพระอริยผลให้เกิดขึ้นยิ่งกว่าเจตนา ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงไม่ตรัสถึงเจตนา แต่ตรัสถึงพระอริยมรรคมีองค์ 8 ว่าเป็นกรรม คือ เป็นกรรมที่ไม่ดาไม่ขาว ทาวิบากที่ไม่ดาไม่ขาว คือ ทาพระอริยผลมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ให้เกิดขึ้น และถ้าจะกล่าวถึงโพชฌงค์ 7 (องค์แห่งการตรัสรู้ 7 อย่าง) มีสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น โพชฌงค์นี้เป็นเหตุแห่งพระอริยมรรคมีองค์ 8 อีกทีหนึ่ง หรือ อภิชฌา คือ ความโลภที่เพ่งเล็งอยากได้ พยาบาท คือ ความโกรธที่มุ่งที่จะให้ผู้อื่นวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด ทั้ง 3 ประการนี้ เกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมของตนโดยเฉพาะๆ เป็นประธาน ไม่ใช่มีเจตนาอย่างเดียว และสาเร็จเป็นกรรมได้ก็เพราะมีสภาพธรรมของตนนั้นทาให้สาเร็จ และการที่จะไม่ให้สภาพธรรมฝ่ายชั่ว 3 อย่างนี้เกิดขึ้น ก็ต้องมีธรรมฝ่ายดี หรือที่เรียกว่า ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกิดขึ้น จึงจะทาให้ธรรมฝ่ายชั่วนั้นหยุดลง ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันมีดังนี้ คือ อภิชฌา มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ อนภิชฌา เป็นสภาวะที่ห้ามความโลภ พยาบาท อพยาบาท เป็นสภาวะที่ห้ามความโกรธ มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นสภาวะที่มีความเห็นชอบ สรุปว่า ในคราวใดที่การกระทาทั้งหลาย มีการให้ทาน หรือ การฆ่าสัตว์ เป็นต้น สาเร็จลง ถ้าการกระทานั้น ๆ สาเร็จได้เพราะอาศัยเจตนาออกหน้า เป็นประธาน เป็นใหญ่ ก็กล่าวได้ว่ามีเจตนาเป็นผู้ทาให้สาเร็จ คือเป็นกรรม ถ้าการกระทานั้นๆ สาเร็จลงเพราะอาศัยธรรมอื่นบางอย่างที่ประกอบร่วมกับเจตนา ออกหน้า เป็นประธาน เป็นใหญ่ ก็กล่าวได้ว่ามีธรรมอื่นเหล่านั้นเป็นผู้ทาให้สาเร็จ คือ เป็นกรรม เช่น อภิชฌา มีความโลภที่เพ่งเล็งอยากได้ เป็นประธาน
กรรม มีกี่อย่าง
1.กรรมมี 2 อย่าง โดยชาติ คือ อกุศลกรรม และ กุศลกรรม หมายความว่า ถ้าเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นก็เป็นอกุศลกรรม ถ้างดเว้นจากการเบียดเบียนก็เป็นกุศลกรรม
กรรมมี 2 อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยการส่งผล คือ อกุศลส่งผลเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลกรรม กุศลส่งผลเป็นความสุข เรียกว่า กุศลกรรม
2.กรรมมี 3 อย่าง โดยเกี่ยวกับทวาร ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร กล่าวคือ กรรมทั้ง ๒ อย่าง คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมดังกล่าวแล้วนั้น
แต่ละอย่าง เมื่อจาแนกตามทวาร 3 คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร ก็ได้ 3 อย่าง คือ
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม โดยสรุปทวารคือ ช่องทางให้เกิดกรรม เรื่องกรรม 3 มีกายกรรม เป็นต้นนี้ จะกล่าวโดยละเอียดในบทเรียนชุดที่ 7.2
3.กรรมมี 3 อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยเกี่ยวกับภูมิ 3 ได้แก่ กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรม อรูปาวจรกรรม ที่ว่าเกี่ยวกับภูมิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นที่เกิดของสัตว์ มี 3 คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ฉะนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในกามภูมิ ชื่อว่า กามาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในรูปภูมิ ชื่อว่า รูปาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในอรูปภูมิ ชื่อว่า อรูปาวจรกรรม
4.กรรมมี 4 อย่าง มีหลายนัย เช่น เกี่ยวกับกิจที่กระทา คือ ชนกกรรม เป็นต้น หรือ เกี่ยวกับลาดับแห่งการให้ผล คือ ครุกกรรม เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวในกรรม 16 ที่จะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป...........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 09:19:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:49:24 »



5.กรรมมี 5 อย่าง ได้แก่ อนันตริยกรรม 5 อย่าง คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทาสังฆ-เภท ทาโลหิตุปบาท
6.กรรมมี 10 อย่าง ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 มีปาณาติปาต เป็นต้น หรือ กุศลกรรมบถ 10 มีการงดเว้นจากการฆ่า เป็นต้น หรือ บุญกิริยาวัตถุ 10 มีการให้ทาน เป็นต้น
7.กรรมมี 12 อย่าง กรรมมีทั้งหมด 4 หมวด คือ
หมวดที่ 1 กิจจจตุกกะ มี 4 อย่าง คือ ชนกกรรม เป็นต้น หมวดที่ 2 ปากทานปริยายจตุกกะ มี 4 อย่าง คือ ครุกกรรม เป็นต้น หมวดที่ 3 ปากกาลจตุกกะ มี 4 อย่าง คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น หมวดที่ ๔ ปากัฏฐานจตุกกะ มี 4 อย่าง คือ อกุศลกรรม เป็นต้น ใน 3 หมวดแรกมีหมวดละ 4 อย่าง รวมเป็น 12 อย่าง เป็นกรรมที่แสดงโดยนัยแห่งพระสูตร (เฉพาะกรรมหมวดที่ 4 มี 4 อย่าง เท่านั้น ที่แสดงโดยนัยแห่งพระอภิธรรม)
8.กรรมมี 16 อย่าง เป็นการแสดงเรื่องกรรมทั้งหมด รวมทั้งโดยนัยแห่งพระสูตรและพระอภิธรรม
จะกล่าวโดยละเอียดเฉพาะเรื่องกรรม 16 เพราะเป็นที่รวบรวมเรื่องกรรมไว้ทั้งหมดแล้ว



.......................................หมวดที่ 1 หน้าที่ของกรรม..........................................


(กิจจจตุกกะ) มี 4 คือ 1. ชนกกรรม กรรมที่ทาหน้าที่ให้วิบากเกิดขึ้น หรือทาให้ผลเกิดขึ้น 2. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่น ๆ 3. อุปปีฬกกรรม กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ 4. อุปฆาตกกรรม กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ หมวดที่ 2 ลาดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกกะ) มี 4 คือ.....................................................
1. ครุกกรรม กรรมอย่างหนัก ที่กรรมอื่นๆ ไม่สามารถจะห้ามได้
2. อาสันนกรรม กรรมที่ทาไว้เมื่อใกล้จะตาย
3. อาจิณณกรรม กรรมที่เคยทาไว้เสมอๆ
4. กฏัตตากรรม กรรมที่ทาไว้พอประมาณ พอประมาณนี้หมายถึงไม่เท่าถึง
กรรมทั้ง 3 ข้อ ที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือกรรมในอดีตภพ หมวดที่ 3 เวลาที่ให้ผล (ปากกาลจตุกกะ) มี 4 คือ
1. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ได้รับผลในปัจจุบันชาตินี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า (คือชาติที่ 2 นับจากชาตินี้ไป)
3. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ผลตั้งแต่ชาติที่ 3 เป็นต้นไป จนกว่าจะนิพพาน
4. อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล
หมวดที่ 4 ว่าโดยฐานะที่ให้ผล (ปากัฏฐานจตุกกะ) มี 4 คือ
1. อกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต 12
2. กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่มหากุศลจิต 8
3. รูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาที่อยู่ในรูปาวจรกุศลจิต 5
4. อรูปาวจรกุศลกรรม ได้แก่ เจตนาทิ่อยู่ในอรูปาวจรจิต 4 (ยังมีต่อ.......)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:17:05 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 15:53:30 »



กิจจจตุกกะ หมายถึง หน้าที่ของกรรม มี 4 อย่าง คือ 1. ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่ให้วิบากเกิดขึ้น หรือทาให้ผลเกิดขึ้น 2. อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ 3. อุปปีฬกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ 4. อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่น ๆ 1. ชนกกรรม ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาให้วิบากเกิดขึ้น เป็นกรรมที่ทาให้วิปากทั้งนามและรูปเกิดขึ้นได้ องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 และโลกียกุศลกรรม 17 คือ มหากุศลกรรม 8 รูปาวจรกุศลกรรม 5 อรูปาวจรกุศลกรรม 4 กรรมที่ชื่อว่า ชนกกรรม เพราะมีความหมายว่า ทำให้เกิด คือ เจตนาที่เป็นกุศลหรืออกุศล ซึ่งทาให้วิบากและกัมมชรูปให้เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล คือ ในเวลาที่สัตว์เกิด และทาให้วิบากและกัมมชรูปให้เกิดขึ้นในปวัตติกาล คือ ในเวลาต่อมาหลังจากปฏิสนธิแล้ว คาว่า วิบาก แปลว่า ผล เปรียบเทียบว่า ข้าวสารที่หุงแล้วย่อมเป็นข้าวสวยให้คนได้รับประทาน ได้รับความอร่อย หรือไม่อร่อย จึงเรียกข้าวสวยนั้นว่า ข้าวสุก หรือ ผลมะม่วงเมื่อเริ่มแก่ก็เหมาะแก่การนามารับประทาน ได้รับความอร่อย หรือไม่อร่อย จึงเรียกมะม่วงแก่นั้นว่า มะม่วงสุก ฉันใด กรรมที่บุคคลทา คือก่อไว้แล้ว ย่อมมีผลที่บุคคลพึงได้รับเป็นความสุข หรือทุกข์ในภายหลัง จึงเรียกผลของกรรมนั้นว่า วิบาก คือเป็นผล หรือเป็นของสุกงอม เพราะเป็นเหมือนความสุกงอมของกรรมฉันนั้น คาว่า วิบาก นี้ เป็นชื่อผลของกรรมฝ่ายนามธรรม คาว่า กัมมชรูป เพราะเป็นรูปที่เกิดจากกรรม จึงได้ชื่อว่า กัมมชรูป เรื่องรูปได้ศึกษาแล้วในบทเรียนชุดที่ 5 ว่า รูปเกิดจากสมุฏฐาน 4 คือ กรรม
จิต อุตุ อาหาร กัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม ได้แก่ ปสาทตา รวมตลอดถึง อวัยวะ 32 มี ผม ขน เล็บ เป็นต้น........................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มีนาคม 2553 09:20:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:00:35 »




............................................1.ชนกกรรมนาเกิดในสุคติภูมิ........................................



1.1 มหากุศลกรรม 8 ส่งผลนาไปเกิดในมนุษย์ภูมิและเทวภูมิ
มหา กุศลกรรม 8 จะส่งผลเป็นวิบากที่ดี เจตนาที่อยู่ในมหากุศลกรรมจะส่งผลทาหน้าที่ชนกกรรมนาไปเกิด ได้รูปร่างกายปรากฏอัตภาพของสัตว์ในสุคติภูมิ เป็นมนุษย์หรือเทวดา อันจะเป็นปัจจัย คือ เป็นที่รองรับความสุขได้มากกว่าความทุกข์ และการมีวิมาน มีรัศมี ของเทวดา ก็ด้วยอานาจของกรรมที่เกิดจากชนกกรรมนี้เอง
1.2 รูปาวจรกุศลกรรม 5 นาไปเกิดในรูปภูมิ อรูปาวจรกุศลกรรม 4 นาไปเกิดในอรูปภูมิ สาหรับรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศล คือ
ผู้ที่ประกอบกรรมในภาวนากุศล เช่น ปัจจุบันชาตินี้เจริญสมาธิภาวนาจนได้ฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป เจตนาที่เกิดขึ้นในรูปาวจรกุศล ก็ส่งผลให้ไปเกิดในรูปภูมิ เป็นรูปพรหม ถ้าเจริญอรูปาวจรกุศล ก็จะส่งผลนาไปเกิดในอรูปภูมิ เป็นอรูปพรหม 2. ชนกกรรมนาเกิดในอบายภูมิ 2.1 อกุศลกรรม 12 ส่งผลนาไปเกิดในอบายภูมิ 4 อกุศลกรรม 12 เป็นกรรมชั่ว จึงส่งผลเป็นวิบากที่ชั่ว เจตนาที่อยู่ในอกุศลกรรมนั้น จะส่งผลทาหน้าที่ชนกกรรมนาไปเกิด ได้รูปร่างกายก็ปรากฏเป็นอัตภาพของสัตว์ในทุคติภูมิ เป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นที่รองรับความทุกข์ได้มากกว่าความสุข นรก
การ ทากรรมโดยมีเจตนาประกอบในโทสมูลจิต เช่น การอาฆาต พยาบาท เบียดเบียน ปองร้าย ความโกรธที่รุนแรงก็จะเป็นตัวชนกกรรมนาให้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก จะถูกเผาด้วยไฟ ถูกทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ก็ไม่ตาย เพราะเหตุว่ากรรมยังไม่หมด เป็นทุกข์ทรมานจากการถูกทรมาน ก็ด้วยอานาจของกรรมที่ทาด้วยความโกรธ เปรต และอสุรกายภูมิ
การทำกรรม โดยมีเจตนาประกอบในโลภมูลจิต เจตนาในโลภมูลจิตจะทาหน้าที่ชนกกรรมนาไปเกิดในสองภูมินี้เดรัจฉาน
อนึ่ง การที่มนุษย์ เทวดา พรหม และ สัตว์ทั้งหลาย ได้รูปร่างกายที่แตกต่างกัน ทั้งรูปลักษณ์ ทรวดทรง สัณฐาน สูง ต่า ดา ขาว และด้านอาการ ๓๒ ตลอดจนด้านประสาท ความต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็เรียกว่า กัมมชรูป เหมือนกัน ในสังสารวัฏอันยาวนานนี้ สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วนับภพชาติไม่ถ้วน จึงทากรรมมาแล้วทุกอย่าง ในกรรมทั้งหลายนั้น ถ้ากรรมดีอย่างหนึ่งให้ผลทาหน้าที่ปฏิสนธิให้เกิดขึ้นในมนุษย์ กรรมดีอย่างนั้นและกรรมดีอย่างอื่นที่เหลือก็ยังตามให้ผลในปวัตติกาล โดยการให้ผลอันเป็นเหตุให้เกิดความสุข ตามสมควรแก่โอกาส ส่วนกรรมชั่วทั้งหลายก็มีแต่จะตามให้ผลในเวลาหลังจากปฏิสนธิแล้วอย่างเดียว โดยการให้ผลเป็นความทุกข์ ตามสมควรแก่โอกาสของตน กรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ชนกกรรมทั้งสิ้น คือ ทาวิบากให้เกิด และในเวลาที่กรรมชั่วให้ผลนาไปเกิดในอบายภูมิก็มีนัยเดียวกันนี้ สรุป ชนกกรรม เป็นกรรมที่ทาวิบากพร้อมทั้งกัมมชรูปให้เกิดขึ้น ในปฏิสนธิกาล คือในเวลาที่เกิด และในปวัตติกาล คือ ในเวลาต่อมาหลังจากที่ปฏิสนธิแล้วจบ ชนกกรรม 2. อุปัตถัมภกกรรม อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ เป็นกรรมที่อุปถัมภ์กรรมอื่นๆ คือ ช่วยอุปถัมภ์รูปนามขันธ์ 5 ที่เกิดจากกรรมอื่น ๆ ได้องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 มหากุศลกรรม 8 คำว่า อุปัตถัมภกกรรม เพราะเป็นกรรมที่มีความหมายว่า อุปถัมภ์ กล่าวคือ อุปถัมภ์วิบากอันเป็นผลของชนกกรรมนั่นเอง เฉพาะอุปัตถัมภกกรรมเอง ไม่สามารถที่จะทาให้วิบากเกิดได้โดยตรง ทำได้แต่เพียงอุปถัมภ์สุข หรือทุกข์นั้นให้เป็นไปได้นานๆ ในปวัตติกาล
(สุขหรือทุกข์นี้เป็นวิบากที่ชนกกรรมทาให้เกิดขึ้น) เช่น ช่วยอุปถัมภ์ทาให้ธาตุทั้ง 4 มีความสม่าเสมอกัน จึงทาให้เป็นคนมีโรคน้อย เป็นคนมีอนามัยดี เมื่อบุคคลนั้นมีโรคน้อย เป็นคนมีอนามัยดี ชนกกรรมที่เป็นกุศลที่ได้ทาไว้แล้วในอดีตก็มีโอกาสให้ผลได้โดยสะดวก ส่งผลให้ได้รับความสุข ให้เกิดได้บ่อย ๆ ด้วยเหตุที่ทาหน้าที่อุปถัมภ์สนับสนุนให้ชนกกรรมฝ่ายกุศลมีโอกาสให้ผลได้โดยสะดวก จึงได้ชื่อ อุปัตถัมภกกรรม ส่วนฝ่ายอกุศลก็มีนัยเป็นไปในทานองตรงกันข้ามคือทาให้ได้รับทุกข์ ต่อไปจะได้ศึกษาเรื่องอุปัตถัมภกกรรมในนัยต่าง ๆ โดยละเอียด
ปฏิสนธิกาล คือ ขณะเกิด กล่าวคือ ในขณะที่มีวิญญาณมาเกิดในครรภ์มารดา ขณะนั้นเรียกว่า ปฏิสนธิกาล ปวัตติกาล คือ ขณะที่ดารงชีวิตอยู่ กล่าวคือ เวลาภายหลังจากปฏิสนธิกาลแล้ว ในช่วงที่สัตว์ยังดำรงชีวิตอยู่...................................................

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:18:47 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:05:05 »



.......................................อุปัตถัมภกกรรมมี 3 ประการ คือ...........................................


1. อุดหนุนชนกกรรม ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล
2. อุดหนุนชนกกรรม ที่กาลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกาลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. อุดหนุนรูปนาม ที่เกิดมาแล้วให้เจริญขึ้นและอยู่ได้
1. อุดหนุนชนกกรรม ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผลมี 8 คือ 1.1 กุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 1.2 กุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 1.3 อกุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 1.4 อกุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 1.5 กุศล ที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 1.6 กุศล ที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 1.7 อกุศล ที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 1.8 อกุศล ที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ๑.๑ กุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างเช่น บุคคลทาทั้งกุศลและอกุศล เมื่อใกล้จะตายถ้ามีสติกาหนดรู้เท่าทันจิต ทาให้จิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง ไม่ห่วงกังวลในทรัพย์สินเงินทอง หรือเรื่องใด ๆ กุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตายจะช่วยอุดหนุนแก่กุศลกรรมที่ทำไว้แล้วในชาติ ก่อน ๆ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้ได้มีโอกาสส่งผล นาไปเกิดในภพภูมิที่ดีต่อไป 1.2 กุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างเช่น บุคคลเมื่อใกล้จะตายถ้าเกิดความห่วงใยในบุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สิน อาลัยอาวรณ์ในชีวิตตนเอง ไม่อยากตาย กลัวตาย เพราะความตายทาให้พลัดพรากจากสิ่งที่รัก สิ่งที่หวงแหน ใจเศร้าหมอง กระวนกระวาย สีหน้าเปลี่ยนไป เกิดความวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด ถ้าปล่อยให้ตายไปในลักษณะอย่างนี้ก็ไปสู่ทุคติภูมิ
จะแก้ไขอย่างไร ? ทั้ง ๆ ที่กุศลก็เคยทำมาแล้วแต่กุศลนั้นช่วยไม่ได้ เพราะว่าปัจจุบันมีแต่อกุศลเกิดขึ้น มีความยึดถือความห่วงใย ทำให้ใจเศร้าหมอง ผู้ปรนนิบัติ ถ้ารู้เท่าทันต่ออารมณ์ ก็ควรพูดให้ผู้ใกล้ตายนึกถึงบุญกุศลที่เคยทามา เช่น สร้างโบสถ์ ศาลา พระประธาน ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ใส่บาตร ฯลฯ ผู้ใกล้ตายเคยทำบุญอะไรก็ให้ผู้..........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:20:50 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:07:41 »



ปรนนิบัติพูดถึงเสมอ ๆ ให้ดูรูปถ่ายงานบุญที่เคยทา เพื่อให้ผู้ใกล้ตายนึกถึงบุญที่เคยทาไว้ อารมณ์ใหม่ที่ได้รับนี้ อาจจะทาให้คลายความทุกข์ และมีอารมณ์เป็นกุศลเกิดขึ้น เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยทาให้ผู้ใกล้ตายมีกุศลเกิดขึ้น ทาให้กุศลชนกกรรมในปัจจุบันที่เคยทาไว้แล้ว และยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสส่งผลนาไปสู่สุคติภูมิได้ 1.3 อกุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างเช่น บางคนบริจาคทาน รักษาศีล แต่ว่าจิตไม่ถึงขั้นภาวนา แล้วก็ไม่รู้เรื่องชีวิต ไม่รู้เรื่องรูป - นาม เพราะว่าไม่ได้ศึกษาเรื่องรูปนาม พอใกล้ตายก็มีแต่ความกลัว กลัวความพลัดพราก จิตก็ผูกพันอยู่กับทรัพย์สมบัติที่ตัวเองไม่ได้ทาทาน ผูกพันอยู่กับลูกหลานบริวารต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทาให้เกิดทุกข์ จิตใจเศร้าหมอง ถ้าคนที่ปรนนิบัติไม่รู้เรื่องธรรมะ ไม่มีการศึกษาธรรมะ ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไร บางครั้งลูกหลาน มานั่งร้องไห้
ยิ่งทำให้ห่วงหนักขึ้นไปอีก จิตก็ยิ่งเศร้าหมอง เมื่อเป็นเช่นนี้ อกุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตายนี้เองจะเปิดโอกาสให้อกุศลกรรมทั้งหลายที่เคย ทำไว้
แล้วในอดีตภพ มีกาลังส่งผล เมื่อตายลงก็นาไปเกิดในอบายภูมิ 1.4 อกุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ
ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล
ตัวอย่างเช่น บางบุคคลเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก ขาดการอบรมสั่งสอนเรื่องบาปบุญ จึงทาอะไรตามประสาเด็ก เช่น ชอบรังแกสัตว์ ตีสัตว์ให้ตาย ตกปลา เห็นเป็นเรื่องสนุก เพราะว่าไม่รู้เรื่องบาปบุญ แต่ถ้าพ่อแม่เป็นคนมีศีลธรรมก็จะห้ามลูกให้กลัวบาป เด็กจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่คาว่าบาปนี้ติดหูเด็ก เด็กก็ไม่กล้าทา ถ้าทาชั่วอย่างนี้เป็นบาป เด็กบางคนพ่อแม่ไม่ได้สั่งสอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ แม้แต่คำว่า บาป ในสมัยนี้เราก็ไม่พูดถึงแล้ว บาปบุญ คุณโทษ เป็นอย่างไรไม่รู้เรื่อง จึงทาบาปด้วยความคะนองตามประสาเด็ก พอโตขึ้นตอนใกล้ตายจิตใจนึกถึงเมื่อตอนเด็กว่าเคยฆ่าสัตว์ เคยทาบาปอย่างนั้นๆ เมื่อตายในขณะที่ใจเศร้าหมองก็ส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิ เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นในเวลาใกล้ตาย เป็นกาลังอุดหนุนเปิดโอกาสแก่อกุศลกรรมในปัจจุบันภพที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ให้มีโอกาสส่งผล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:21:40 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #8 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:10:42 »



1.5 กุศลที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างเช่น บุคคลที่ทากุศลสม่าเสมอ กุศลก็อุปถัมภ์เปิดโอกาส ในกุศลชนกกรรมในอดีตให้มีโอกาสส่งวิบาก คือ ผลให้เกิดขึ้นได้ อาจทาให้บุคคลนั้นร่ารวยเป็นเศรษฐีในชาตินั้นได้รับความสุข ไม่มีโรคภัย อันตรายใด ๆ มาเบียดเบียน ถึงแม้ในขณะนั้นสถานที่ที่อยู่อาศัยอาจจะเต็มได้ด้วยภัยต่างๆ แต่เขาก็ปลอดภัย เพราะกุศลที่ทาเสมอในชาตินี้ เป็นกาลังช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตให้ส่งผล 1.6 กุศลที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ
ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างข้อนี้ เป็นไปในทานองเดียวกันกับข้อที่ 1.5 คือ กุศลที่ทาเป็นปกติในชาตินี้ อุปถัมภ์ช่วยเปิดโอกาสให้กุศลชนกกรรมในชาตินี้ส่งผล ถ้าส่งผลอุปถัมภ์นามรูปที่เกิดมาแล้ว ก็สามารถทาให้ได้รับความสุขในการดารงชีวิต จากที่ลาบาก ก็อาจจะสบายขึ้น จากที่มีโรคภัยก็อาจทาให้หายจากโรคภัย 1.7 อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างเช่น ในฝ่ายอกุศลกรรมที่ทาเป็นปกติ แต่กาลังของอกุศลกรรมนี้ไม่มีโอกาสส่งผลด้วยตัวเอง จึงอุปถัมภ์เปิดโอกาสในอกุศลชนกกรรมในอดีตภพได้มีโอกาสให้ผล ให้วิบากคือความทุกข์ ความเดือดร้อน เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ นาน ๆ เช่น คนที่ทาอาชีพฆ่าสัตว์ กรรมนี้ยังไม่ให้ผล แต่ก็เปิดโอกาสให้อกุศลชนกกรรมในอดีตส่งผล ทาให้เจ็บป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หาย ไม่มียา ไม่มีหมอจะรักษา ได้รับทุกข์ทรมาน ทรัพย์ที่ได้มาก็หมดไปกับการขจัดทุกข์ที่อกุศลชนกกรรมนั้นส่งผลมา 1.8 อกุศลที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ตัวอย่างในข้อนี้ เป็นไปในทานองเดียวกับข้อที่ 1.7 คือ อกุศลที่ทาเป็นปกติในชาตินี้ อุปถัมภ์ช่วยเปิดโอกาสให้อกุศลชนกกรรมในชาตินี้ส่งผล คือ ทาให้ได้รับความทุกข์ สรุป อุปัตถัมถกกรรมที่ทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนชนกกรรมที่ยังไม่มีโอกาสส่งผล ให้มีโอกาสส่งผล ซึ่งได้แก่กุศลและอกุศลที่เกิดขึ้นในมรณาสันนกาลก็ดี หรือกุศลและอกุศลที่ทาในภพนี้ก็ดี จะทาหน้าที่อุปถัมภ์แก่ชนกกรรมให้ทาหน้าที่ นาให้วิบากปรากฏขึ้น 2. อุดหนุนชนกกรรม ที่กาลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกาลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น มี 10 ข้อ 2.1 กุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 2.2 กุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 2.3 อกุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 2.4 อกุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 2.5 กุศล ที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพ...............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:22:20 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:14:50 »



2.6 กุศล ที่เกิดขึ้นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 2.7 อกุศล ที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพ 2.8 อกุศล ที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 2.9 กุศล ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ 2.10 อกุศล ที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ อุปัตถัมภกกรรม ตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึง ข้อที่ 8 นี้ จะมีสาระเหมือนกับ 8 ข้อ ในหัวข้อที่ 1 อุดหนุนชนกกรรม ที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล ให้มีโอกาสให้ผล ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่แตกต่างกันตรงหน้าที่เท่านั้น กล่าวคือ หน้าที่ของอุปภัมถ์โดยนัยนี้จะทาหน้าที่อุปถัมภ์ชนกกรรมที่กาลังมีโอกาสให้ ผล ให้มี กาลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้นไป มีรายละเอียด ดังนี้ ข้อที่ 2.1 – 2.4 ฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล ที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ตัวอย่างฝ่ายกุศล ข้อ 2.1 – 2.2 กุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ไปทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมในอดีตภพก็ได้ หรือมีโอกาสอุดหนุนทาให้กุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพนี้ก็ได้ ที่กาลังมีโอกาสให้ผลอยู่แล้ว ให้สามารถมีกาลังการส่งผลได้เต็มที่บริบูรณ์มากขึ้น เช่น ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้เป็นมนุษย์ชั้นสูงห่างไกลจากความทุกข์ทั้งปวง ได้อยู่ในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ มีพระพุทธศาสนา อยู่ในท่ามกลางของบัณฑิต เป็นต้น แต่ถ้าหากว่ากุศลในขณะใกล้ตายนี้ไม่มีโอกาสมาเป็นกาลังอุดหนุนกุศลชนกกรรม นี้แล้วไซร้ อาจจะได้เกิดเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ไปเกิดอยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยทุกข์ยากแค้น มีสงคราม ทามาหาเลี้ยงชีพลาบากยากแค้น เป็นต้น ตัวอย่างฝ่ายอกุศล ข้อ 2.3 – 2.4 ก็เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับฝ่ายกุศลนั้นเอง กล่าวคือ อกุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตาย ไปทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนอกุศลชนกกรรมในอดีตภพก็ได้ หรือมีโอกาสอุดหนุนทาให้อกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพนี้ก็ได้ ที่กาลังมีโอกาสให้ผลอยู่นั้น ให้มีกาลังส่งผลได้เต็มที่บริบูรณ์มากขึ้น เช่น อกุศลชนกกรรมได้รับกาลังอุดหนุนทาให้มีกาลังมากยิ่งขึ้น จึงนาไปเกิดในนรกขุมที่ลึกที่สุด ได้รับทุกข์โทษอย่างแสนสาหัสที่สุด ข้อที่ 2.5 – 2.8 ฝ่ายกุศล – ฝ่ายอกุศล ที่เกิดขึ้นเป็นปกติอยู่เสมอในปัจจุบันภพ ตัวอย่างฝ่ายกุศล ข้อ 2.5 – 2.6 กุศลกรรมต่างๆ ที่กระทาไว้แล้วอย่างสม่าเสมอในชาตินี้ มีโอกาสเป็นกาลังอุดหนุนส่งเสริมให้กุศลชนกกรรมในอดีตภพก็ได้ หรือกุศลกรรมในปัจจุบันภพนี้ก็ได้ ที่กาลังมีโอกาสให้ผลอยู่นั้น ให้สามารถมีกาลังการส่งผลได้เต็มที่บริบูรณ์มากขึ้น เช่น ถ้าได้เกิดเป็นเทวดา ก็อาจจะเป็นเทวดาที่มีวิมานของตนเอง มีรัศมีผุดผ่องกว่าเหล่าเทวดาทั้งหลาย เป็นเทวดาที่อยู่ในกลุ่มของเทวดาสัมมาทิฏฐิ ซึ่งจะมีโอกาสทาให้เป็นเทวดา สัมมาทิฏฐิด้วย เป็นต้น
ตัวอย่างฝ่ายอกุศล ข้อที่ 2.7 - 2.8 ก็เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับฝ่ายกุศลนั้นเอง กล่าวคือ อกุศลกรรมที่กระทาไว้แล้วอย่างสม่าเสมอในชาตินี้ ไปทาหน้าที่ช่วยอุดหนุนอกุศลอกุศลชนกกรรมในอดีตภพก็ได้ หรือมีโอกาสอุดหนุนทาให้อกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพนี้ก็ได้ ที่กาลังมีโอกาสให้ผลอยู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:23:48 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:18:05 »



นั้นให้มีกาลังส่งผลได้เต็มที่บริบูรณ์มากขึ้น เช่น บางบุคคลดารงชีวิตอยู่ด้วยการทาแต่อกุศลไม่ว่าจะเป็นการทามาหาเลี้ยงชีพ การพูด การกระทา การคิด ล้วนแล้วแต่เป็นอกุศล บุญทานไม่เคยทา คิดแต่ว่าการจะได้มาซึ่งทรัพย์สิน ชื่อเสียง เกียรติยศ ก็ต้องแลกมาด้วยวิธี การต่าง ๆ ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องด้วยกล เมื่อถึงเวลาใกล้ตายก็ไม่มีที่พึ่งคือบุญอย่างใด ๆ เลย ระลึกนึกถึงได้แต่อกุศลเพราะเคยชินอยู่กับการใช้ชีวิตแบบอกุศล อกุศลที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ ตายนี้ก็มีกาลังช่วยอุดหนุนทาให้อกุศลชนกกรรมทั้งในอดีตภพ หรือ ปัจจุบันที่กาลังมีโอกาสให้ผล ก็มีกาลังในการส่งผลได้อย่างบริบูรณ์มากขึ้น แรงยิ่งขึ้น ข้อที่ 2. 9 กุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนแก่กุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่กาลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกาลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น บุคคลที่ทากุศลกรรมในปัจจุบันไว้ดีแล้ว กุศลนั้นก็สามารถส่งผลได้ในปัจจุบันภพ ทาให้ชีวิตได้รับความสุข ครอบครัวก็ได้รับความสุขอย่างดีอย่างบริบูรณ์ ซึ่งกุศลในปัจจุบันภพนี้ที่ได้มีโอกาสส่งผลได้อย่างเต็มที่ก็เพราะว่าได้รับ กาลังอุดหนุนมาจากกุศลในอดีตภพด้วย ข้อที่ 2. 10 อกุศลที่เกิดขึ้นในอดีตภพ ช่วยอุดหนุนแก่อกุศลชนกกรรมในปัจจุบันภพ ที่กาลังมีโอกาสให้ผล ให้มีกาลังในการให้ผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นไปในทานองตรงกันข้ามกับข้อที่ 9 กล่าวคือ เป็นไปในฝ่ายอกุศลที่ทาในชาตินี้ก็มีโอกาสส่งผลได้อย่างเต็มที่เต็มกาลังมาก ยิ่งขึ้น เพราะได้กาลังอุดหนุนมาจากอกุศลในอดีตภพด้วย 3. อุดหนุนรูปนาม ที่เกิดมาแล้วให้เจริญขึ้นและอยู่ได้ มี 7 คือ 3.1 กุศลที่เคยทามาในภพก่อน ๆ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากกุศลชนกกรรม 3.2 กุศลที่เคยทามาในภพนี้ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากกุศลชนกกรรม 3.3 อกุศลที่เคยทามาในภพก่อนๆ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม 3.4 อกุศลที่เคยทามาในภพนี้ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม 3.5 กุศลที่เคยทามาในภพก่อนๆ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม 3.6 กุศลที่เคยทามาในภพนี้ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากอกุศลชนกกรรม 3.7 อกุศลที่เคยกระทาในภพนี้ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากกุศลชนกกรรม อธิบายข้อที่ 3.1 - 3.6 การที่จะเข้าใจอุปัตถัมภกกรรมที่ช่วยอุดหนุนรูปนามที่เกิดมาแล้วให้เจริญ ขึ้นและอยู่ได้ ต้องศึกษาถึงสภาพความเป็นไปของชีวิตในปัจจุบันนี้ให้เข้าใจโดยกระจ่างชัดว่า มนุษย์นั้นแตกต่างกัน คือ 1. อายุยืน 2. อายุสั้น 3. มีโรคน้อย 4. มีโรคมาก 5. มีผิวพรรณงาม 6. มีผิวพรรณทราม............................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:25:32 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #11 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:22:23 »



7. มียศศักดิ์มาก 8. มียศศักดิ์น้อย 9. มีสมบัติมาก 10. มีสมบัติน้อย 11. เกิดในตระกูลสูง 12. เกิดในตระกูลต่า 13. มีปัญญามาก 14. มีปัญญาน้อย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่าบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตามเป็นคนมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหดมีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นอยู่ในการประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ครั้นเขาผู้นั้นตายไป ย่อมจักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาสมาทานพรั่งพร้อมไว้อย่างนี้ หากเขาตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แล้วถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ. ที่ใด ๆ
ในภายหลัง เขาจะเป็นคนมีอายุสั้น ส่วนเหตุที่ทาให้มีอายุยืนนั้นพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม
เป็นผู้ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ครั้นเขาผู้นั้นตายไปแล้วย่อม จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาสมาทานพรั่งพร้อมไว้อย่างนี้ หากเขาตายไปไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ .ที่ใด ๆ ในภายหลังเขาจะเป็นคนมีอายุยืน พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเรื่องของกรรม โดยสรุปประมวลได้เป็น 7 คู่ ดังนี้.....................ชอบฆ่าสัตว์ เป็นเหตุให้ อายุสั้นไม่ฆ่าสัตว์ มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ เป็นเหตุให้ อายุยืน
ชอบเบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคมากไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้ มีโรคน้อย ผู้ที่ชอบโกรธ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณทราม
ผู้ไม่โกรธ เป็นเหตุให้ ผิวพรรณงามชอบ ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานาจน้อย
ไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ มีอานาจมากตระหนี่ ไม่บริจาคทาน เป็นเหตุให้ ยากจน ขัดสน อนาถา ชอบ บริจาคทาน เป็นเหตุให้ มีทรัพย์สมบัติมาก
กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ เกิดในตระกูลต่าไม่กระด้าง ไม่ถือตัว บูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นเหตุให้ เกิดในตระกูลสูง
ไม่อยากรู้ธรรมะ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญาน้อยอยากรู้ธรรมะ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา เป็นเหตุให้ มีปัญญามาก............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:26:54 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #12 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:24:51 »



อธิบายข้อที่ 3.7 อกุศลที่เคยกระทาในภพนี้ ช่วยอุดหนุนนามรูปที่เกิดมาจากกุศลชนกกรรม ข้อนี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องศึกษาและทาความเข้าใจให้ดี เพื่อจะได้เข้าใจในสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ได้อย่างไม่สงสัยว่า ทำไมคนที่ทำชั่ว ถึงได้ดี ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอาชีพค้าสัตว์ ค้าสุรา ค้ายาพิษ ยาเสพติด ขายอาวุธ ค้ามนุษย์ เขาเหล่านั้นมีความร่ารวย รุ่งเรืองในโลกธรรม คือ ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับสุข ได้รับสรรเสริญ มีความสุขในการใช้ชีวิตอย่างดีอย่างเพลิดเพลิน ทั้ง ๆ ที่อาชีพเหล่านี้เป็นบาปอกุศล แต่อกุศลนี้เป็นเครื่องอุดหนุนแก่นามรูปที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้เจริญและ ตั้งอยู่ได้ แต่การเกิดขึ้นของอุปัตถัมภกกรรมในข้อที่ 7 นี้ เป็นไปไม่แน่นอน มีได้แต่ในสมัยที่เป็นยุคกาลวิปัตติ คือ กาลที่กุศลธรรมความดีเสื่อมถอยเท่านั้น ในกาลสัมปัตติ คือ กาลที่กุศลธรรมความดีเจริญนั้น จะไม่มีลักษณะดังข้อที่ 7 ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจเรื่องของอุปัตถัมภกกรรมในข้อที่ 7 นี้ จะได้ไม่ท้อถอยจากกุศลกรรมความดี เพราะเห็นตัวอย่างว่าคนทาไม่ดีนั้นรุ่งเรืองขึ้นๆ แต่เราผู้มั่นคงในกุศลกรรมความดีกลับไม่ได้ผลตอบสนอง ถ้าในยุคนี้มีตัวอย่างเช่นนี้ให้เห็นในสังคมมากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งต้องบาเพ็ญกุศลกรรมความดีให้มากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งนี้อาจเป็นลางบอกเหตุว่า ยุคนี้เป็นยุคเสื่อมเสียแล้วกระมัง สรุป ทั้งหมดนี้เป็นการทาหน้าที่ของกรรม ที่เกิดขึ้นทาหน้าที่อุปถัมภ์ชีวิตของสรรพสัตว์ ตั้งแต่เกิด ในขณะดารงชีวิตอยู่ และในขณะที่จะตายจากโลกนี้ไป กรรมทั้งหลายที่กระทาแล้วไม่ว่าจะชาตินี้หรือในอดีตชาติที่ทามาแล้วอย่างนับ ไม่ถ้วน กรรมนั้นไม่สูญหายไปไหน ยังตามอุปถัมภ์ชีวิตอยู่เสมอ เมื่อตามส่งผลให้แล้วถ้ากรรมนั้นยังไม่หมดกาลังก็จะตามส่งผลให้อีก หรือว่าเมื่อคอยตามส่งผลแล้ว แต่ไม่สามารถส่งผลได้ จนหมดกาลังแห่งกรรมนั้น กรรมนั้นก็จะกลายเป็นอโหสิกรรม บุคคลทั้งหลายไม่อาจรู้ได้ว่าสร้างกรรมดีหรือกรรรมไม่ดีมาอย่างไร เมื่อได้ศึกษาแล้วก็ควรวางใจให้ถูกต้องว่า ถ้ากาลังได้รับทุกข์อยู่ ก็ควรจะสารวมระมัดระวังใจไม่ไปโทษสิ่งใด ให้รู้ว่าทุกข์ในครั้งนี้เกิด จากอกุศลกรรมในอดีตที่ตามมาส่งผลนั่นเอง แล้วใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่ประมาท และเพียรสร้างกุศลกรรมความดีไว้อย่างเนืองนิตย์ กุศลที่ทาในปัจจุบันนี้อาจจะมาทาหน้าที่อุปถัมภ์ส่งผลให้นามรูปคือชีวิตใน ปัจจุบันชาตินี้ดาเนินไปได้อย่างไม่ทุกข์ยากมากนัก จบ อุปัตถัมภกกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:28:00 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:28:01 »



3.อุปปีฬกกรรม อุปปีฬกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ เป็นกรรมที่เบียดเบียนกรรมอื่นๆ และการสืบต่อของขันธ์ 5 ที่เกิดจากกรรมอื่น ๆ องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 และมหากุศลกรรม 8 กรรมที่ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม เพราะมีความหมายว่า เข้าไปเบียดเบียน ฉะนั้น...อุปปีฬกกรรมจึงมีความหมายตรงกันข้ามกับอุปัตถัมภกกรรมนั้นเอง การเบียดเบียนเป็นการขัดขวางวิบากที่ชนกกรรมทาให้เกิดขึ้นหลังจากสัตว์นั้น เกิดแล้ว ฉะนั้น สุขทุกข์อันเนื่องมาจากวิบากนั้นจึงลดลงหรือหมดไป การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรม แบ่งออกได้ 3 คือ 1.เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล 2. เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกาลังลดน้อยลง 3. เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ๆ 1.เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล มี 2 คือ 1.1 กุศลที่ทาในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล ตัวอย่างเช่น ในชาตินี้บางบุคคลเป็นผู้ที่ทาแต่กุศลกรรมความดี เมื่อเกิดทุกข์ภัยพิบัติต่าง ๆ ในแวดวงเดียวกันต่างก็ได้รับทุกข์ภัย แต่เขาไม่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนเช่นนั้นเลย ทั้งนี้ก็อาจเป็นเพราะว่ากุศลในภพนี้ ไปเบียดเบียนอกุศลชนกกรรมนั้น ๆ ไว้ไม่ให้มีโอกาสส่งผล 1.2 อกุศลที่ทาในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล ตัวอย่างเช่น ในชาตินี้บางบุคคลทาอกุศลกรรมไว้ ถึงแม้กุศลที่เคยทาไว้ก็มี แต่กุศลก็ไม่อาจส่งผลได้ อาจเป็นเพราะอกุศลที่ทาในภพนี้ปิดกั้นเบียดเบียนกุศลชนกกรรมนั้นๆ ไว้ไม่ให้มีโอกาสส่งผล ๒. เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกาลังลดลง มี 2 คือ 2.1 กุศลที่ทำในปัจจุบันภพ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมที่กาลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกาลังลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรูกระทาปิตุฆาตกรรมจะต้องตกอเวจีมหานรก แต่พระเจ้าอชาตศัตรูได้สร้างกุศลไว้มาก คือ เป็นผู้อุปถัมภ์บารุงพระพุทธศาสนาในการทำปฐมสังคายนา และในบรรดาปุถุชนทั้งหลายนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระ พุทธเจ้ามากที่สุด ด้วยอานาจของกุศลเหล่านี้ จึงช่วยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่ให้ไปตกในอเวจีมหานรกซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ แต่ไปตกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอเวจีมหานรก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:30:08 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:30:21 »



2.2  อกุศลที่ทาในปัจจุบันภพ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมที่กาลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกาลังลดน้อยลง ตัวอย่างเช่น บุคคลสร้างบุญกุศลสาเร็จแล้ว เดิมเจตนานั้นดีมาก ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง มาแวดล้อมในการทากุศล แต่เมื่อทำกุศลสาเร็จไปแล้ว มานึกเสียดายทรัพย์ที่ทาไป นึกถึงกุศลนั้นแล้วเกิดความไม่สบายใจ กลายเป็นอกุศลเกิดขึ้นหลังจากทากุศลแล้ว เจตนาที่เป็นอกุศลในคราวหลังนี้เป็นผลทาให้กุศลนั้นมีกาลังอ่อน เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นภายหลัง ไปเบียดเบียนกุศลที่ทาอยู่แล้วที่ควรจะได้ผลโดยสมบูรณ์ ก็ได้ผลไม่สมบูรณ์ เพราะเจตนานั้นไม่สมบูรณ์ การทากุศลต้องประกอบด้วยเจตนาทั้ง 3 กาล คือ ก่อนทา ขณะทำ และหลังจากทาแล้ว ต้องไม่ถูกแวดล้อมด้วยอกุศลไม่มีอกุศลเข้ามาเจือปน
3.เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมนั้น มี 2 ประการ คือ
3.1 อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
ตัวอย่างเช่น บุคคลเกิดมามีร่างกายแข็งแรง ต่อมาอ่อนแอมีโรคภัยเบียดเบียน เป็นเบาหวานต้องถูกตัดขา เป็นอัมพาต เป็นมะเร็ง ถ้าถามว่า ทาไมจึงอ่อนแอลง ? ตอบได้ว่า อาจเป็นเพราะด้วยอานาจของอกุศลอุปปีฬกกรรม มาเบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้อ่อนกาลังลง
3.2 กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากอกุศลกรรม รูปนามที่เกิดจากอกุศลกรรมนั้นเป็นรูปนามของบุคคลในอบายภูมิทั้ง 4 คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ตัวอย่างเช่น สุนัข นก ปลา ช้าง ถึงแม้นจะมีสีสวยงาม น่ารัก แข็งแรงอย่างไรก็ตาม รูปนามนั้นก็เกิดมาจากอกุศลกรรมสัตว์บางตัวเกิดมาแล้วก็ได้รับทุกข์ต่าง ๆ นา ๆ ซึ่งก็เป็นผลของอกุศลกรรมตามมาส่งผลเบียดเบียนรูปนามนี้ให้ได้รับทุกข์ ต่อมาอาจจะเจอคนที่มีเมตตาให้การเลี้ยงดู ทาให้ได้รับความสุขสบายในภายหลัง ถ้าถามว่า ทาไมจึงดีขึ้น ? ตอบได้ว่า อาจเป็นเพราะกุศลมาเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลนี้ เมื่ออกุศลอ่อนกำลังลง กุศลได้โอกาสเบียดเบียนอกุศลแล้วก็ทาให้ดีขึ้น เจริญขึ้นได้ จบ อุปปีฬกกรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:31:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:34:50 »



4.อุปฆาตกกรรม อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมที่ทาหน้าที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ เป็นกรรมที่เข้าไปตัดกรรมอื่น ๆ และการสืบต่อของขันธ์ 5 ที่เกิดจากกรรมอื่น ๆ องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 และกุศลกรรม 21 กรรมที่ชื่อว่า อุปฆาตกกรรม เพราะมีความหมายว่า เข้าไปตัดรอน กุศลหรืออกุศลก็ตาม ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็จะตัดรอนกรรมอื่น ๆ ให้มีกาลังน้อยลง หรือขัดขวางวิบากของกรรมที่มีกาลังน้อยให้สิ้นลง อย่างเด็ดขาด แตกต่างไปจากอุปปีฬกกรรม ตรงที่อุปปีฬกกรรมเพียงไปเบียดเบียนให้อ่อนกาลังลงแต่ยังไม่หมดไป แต่อุปฆาตกกรรมนี้ทาให้ตัดขาดไปเลย อุปฆาตกกรรมมี 3 คือ 1.ตัดชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป 2.ตัดรูปนาม ที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ๆ ให้เสียไป 3. ตัดรูปนาม ที่เป็นวิบากกรรมของกรรมอื่น ๆ 1.ตัดชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไปมี 3 คือ 1.1 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดอกุศลชนกกรรม 1.2 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรม 1.3 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรม 1.1 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดอกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป คืออะไร ?
ตัวอย่างเช่น.........ท่าน องคุลิมาล ได้ศึกษาในสานักทิศาปาโมกข์ แล้วอาจารย์สอนให้ไปฆ่าคน เพื่อจะให้สาเร็จวิชาที่ตนศึกษา แต่พระพุทธองค์ได้
ทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณแล้วว่า องคุลิมาลเป็นผู้ที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ จึงเสด็จไปโปรด เมื่อพบพระพุทธองค์แล้ว
องคุลิมาลก็ออกบวช ทาความเพียรจนสาเร็จมรรคผล กรรมที่ฆ่าคนเป็นจานวนมากนั้นก็กลายเป็นอโหสิกรรมไป เพราะอรหัตมรรคอรหัตผลไปตัดอกุศลกรรมต่าง ๆ ไม่ให้มีโอกาสส่งผลต่อไป 1.2 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป คืออะไร ? ตัวอย่างเช่น ผู้ที่สร้างกุศลบาเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ซึ่งเป็นกามาวจรกุศล ต่อมาบาเพ็ญกุศลสูงขึ้นถึงขั้นภาวนากุศล คือ เจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา เมื่อเจริญสมถะได้ถึงรูปปัญจมฌาน เมื่อตายลงจะต้องไปเกิดในจตุตถฌานภูมิ ส่วนฌานขั้นต้นๆ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน ก็ไม่ส่งผล เพราะรูปกุศลปัญจมฌานเป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดรูปกุศลขั้นต้น ๆ นั้นไม่ให้มีโอกาสส่งผล..............................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:32:45 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #16 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:37:57 »



หรือผู้ทาฌานจนกระทั่งถึงอรูปฌาน เมื่อตายจะต้องไปเกิดในอรูปพรหม จึงเป็นผลให้รูปาวจรกุศลทั้งหมดไม่ส่งผล เพราะกุศลในอรูปฌานเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปาวจรกุศลทั้งหมด และกุศลอรูปฌานขั้นที่ 4 ก็เป็นอุปฆาตกกรรมตัดการส่งผลของอรูปฌานขั้นต้นๆ ทั้งหมดเช่นกัน หรือเจริญวิปัสสนาจนถึงโลกุตตรกุศล ในขั้นอรหัตมรรค อรหัตผล ก็ไปตัดรูปาวจรกุศล และ อรูปาวจรกุศลไม่ให้ส่งผลนาไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ เพราะอรหัตมรรค อรหัตผลไม่ส่งผลนาไปเกิดในภูมิใด ๆ 1.3 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป คืออะไร ? ตัวอย่าง เช่น พระเทวทัตบาเพ็ญฌานจนสาเร็จรูปฌาน มีฤทธิ์มาก อยู่ต่อมาพระเทวทัตคิด ทาร้ายพระพุทธเจ้า โดยการกลิ้งก้อนหินลงมาจากภูเขาให้ทับพระพุทธเจ้า แต่มีเพียงสะเก็ดหินไปถูกที่พระบาทของพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต และทาสังฆเภท คือ ทาสงฆ์ให้แตกแยกกันใน 2 กรณีนี้เป็นอนันตริยกรรมฌานที่เคยได้ก็เสื่อมลง เพราะอกุศลมีอานาจแรงกว่าก็ไปตัดรอนกุศลให้เสื่อมลง จนพระเทวทัตต้องตกอเวจีมหานรกในที่สุด ด้วยอานาจของอกุศล เรียกว่า อกุศลอุปฆาตกกรรม ไปตัดรอนกุศลชนกกรรมอื่น ๆ ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป 2. อุปฆาตกกรรมตัดนามรูป ที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ๆ ให้เสียไป มี 4 คือ 2.1 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก 2.2 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก 2.3 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก 2.4 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก 2.1 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นอกุศลวิบาก ให้เสียไป คืออะไร ? ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ตายจากมนุษย์นี้ไปเกิดเป็นสัตว์นรก รับทุกข์ทรมานอยู่ในนรก อยู่ต่อมา เห็นเปลวไฟนรกลุกเป็นสีเหลือง ก็ระลึกได้ว่าเคยสร้างกุศลไว้ เคยบวชพระ ถวายจีวร เคยปิดทองพระพุทธรูป อานาจของกุศลที่ระลึกได้ ก็มาเป็นอุปฆาตกกรรมมาตัดรอนอกุศล คือรูปนามในนรกนี้ให้สิ้นสุดลง ตายจากนรก ไปเกิดในมนุษย์หรือเทวดาก็ด้วยอานาจของกุศล 2.2 กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบาก ให้เสียไปคืออะไร ?
ตัวอย่างเช่น รูปนามที่บุคคลได้มาในปัจจุบันจัดเป็นกุศลวิบาก อยู่ต่อมาได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า สาเร็จเป็นพระอรหันต์ ในขณะที่ยังเป็นฆราวาสอยู่ อรหัตมรรค อรหัตผล นี้จัดเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่ ก็ต้องบวชภายในวันนั้น ถ้าไม่บวชก็ต้องตาย ที่ตายก็เพราะอานาจ กุศลนั้นเป็นอุปฆาตกกรรม ไปตัดกุศลนามรูปให้สิ้นสุดลง เพราะว่าอรหัตมรรค อรหัตผลนี้ เพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับได้ เพศฆราวาสจะรองรับกุศลได้เพียง แค่ศีล 5 ศีล 8 เท่านั้น
อรรถกถาจารย์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:34:56 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:41:09 »



ยกตัวอย่างน้ามันของราชสีห์ ภาชนะที่จะรองรับน้ามันของราชสีห์ได้นั้น ต้องเป็นทองคา ถ้าใช้ภาชนะอื่นไปรองรับน้ามันจะระเหยแห้งไปหมด ฉันใดก็ดี คุณธรรมคืออรหัตมรรค อรหัตผลนี้ เพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับได้ ถ้าหากว่าสาเร็จแล้วไม่บวช ก็จะต้องตายภายในวันนั้น 2.3 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดนามรูปที่เป็นกุศลวิบากให้เสียไป คืออะไร ? ตัวอย่างเช่น มนุษย์นี้เกิดมามีนามรูปที่เกิดมาจากกุศลวิบาก บางคนเกิดมามีอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์ ต่อมาอกุศลกรรมที่เคยทาไว้ในอดีตมาตัดรอนทาให้ถูกรถชน ทำให้พิการ ก็เพราะอานาจของอกุศลอุปฆาตกกรรมมาตัดรอน ทาให้รูปนามที่เป็นกุศลวิบากนี้เสียไป 2.4 อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เป็นอกุศลวิบาก ให้เสียไป คืออะไร ? ตัวอย่างเช่น สัตว์เดรัจฉาน ร่างกายของสัตว์เดรัจฉานจัดเป็นอกุศลวิบาก ถึงแม้จะมีสีสวย ขนปุกปุยสวยงาม ก็เป็นรูปนามที่เป็นอกุศลวิบาก ต่อมาถูกยิง ถูกทาร้าย ถูกฆ่า ก็เพราะอกุศล อุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เป็นอกุศลวิบากให้เสียไป ๓. ตัดรูปนาม ที่เป็นวิบากกรรมของกรรมอื่น ๆ มี 3 คือ 3.1 ตัดวิบากของกรรมอื่น ๆ แล้ว ตัวเองก็ไม่ได้ส่งผลให้เกิด และก็ไม่ให้มีโอกาสแก่ชนกกรรมอื่นๆ ได้ส่งผล ๓.๒ ตัดวิบากกรรมของกรรมอื่น ๆ แล้วและตัวเองส่งผลให้เกิด 3.3 ตัดวิบากของกรรมอื่น ๆ แล้วและให้โอกาสแก่ชนกกรรมอื่น ๆ ได้ส่งผล
ตัวอย่าง ในประการที่ 1 เช่น พระจักขุปาลเถระ เมื่ออดีตชาติเคยเป็นหมอรักษาตา และเคยมีเจตนาทาลายดวงตาของผู้ป่วย เพราะความโกรธที่ผู้ป่วยไม่จ่ายค่ารักษา จึงใส่ยาทาให้เขาตาบอด อานาจของอกุศลกรรมที่พระจักขุปาลเถระได้กระทำในครั้งนั้น จึงทาให้ตาทั้งสองของท่านเสียไปจนตลอดชีวิต ก็เป็น เพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม มาตัดวิบากของกุศลชนกกรรม คือ ทำให้ตาบอด แต่อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลให้เกิดอีกต่อไป เพราะพระจักขุปาลเถระได้สาเร็จเป็นพระอรหันต์ ไม่มีการเกิดอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น........อกุศลอุปฆาตกกรรมนี้จึงเป็นแต่เพียงตัดวิบากของกรรมอื่น ๆ เท่านั้นเอง
หรือ พระโมคคัลลานเถระที่ถูกโจร 500 ทุบตี ก็ด้วยอานาจอกุศลกรรมที่เคยตีบิดามารดาโดยมุ่งหมายที่จะให้ตายเช่นเดียวกัน อกุศลนี้ก็เป็นอุปฆาตกกรรม มาตัดวิบากของกรรมอื่น ๆ เท่านั้น ตัวเองก็ไม่มีโอกาสส่งผลอีกต่อไป เพราะว่าพระ โมคคัลลานะท่านสาเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ตัวอย่างในประการที่ 2 เช่น นันทยักษ์เอากระบองตีศีรษะพระสารีบุตรในขณะที่กาลังเข้านิโรธสมาบัติ ก็ได้รับผลของการกระทาในปัจจุบันคือถูกธรณีสูบทั้งเป็น เมื่อตายไปแล้วไปเกิดในอเวจีมหานรก เพราะอานาจของอกุศลอุปฆาตกกรรมส่งผลตัดวิบากกรรมของกรรมอื่น ๆ คือ ทำให้ธรณีสูบ และตัวเองก็ส่งผลนาให้ไปเกิดในอเวจีมหานรก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:35:41 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:43:16 »



ตัวอย่างในประการที่ 3 เช่น พระเจ้าพิมพิสาร ในอดีตชาติ เคยสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณพุทธเจดีย์ ด้วยอานาจแห่งอกุศลนั้น เมื่อเกิดมาในชาตินี้จึงถูกพระเจ้าอชาตศัตรูจับขังคุก ถูกกรีดฝ่าเท้า ทำให้ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อตายแล้วกุศลชนกกรรมอื่น ๆ ได้มีโอกาสส่งผลให้ไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา นี้คืออกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดวิบากของกรรมอื่นๆ แล้วให้โอกาสแก่กุศลชนกกรรมอื่น ๆ ได้ส่งผล ความต่างกันของชนกกรรม
และอุปฆาตกกรรม ชนกกรรม และอุปฆาตกกรรม ถึงแม้ว่าต่างก็เป็นกรรมที่สามารถทาวิบากให้เกิดขึ้นได้ เหมือนกันแต่ก็มีความต่างกัน โดยสรุป คือ ชนกกรรมนั้น เป็นกรรมสักแต่ว่าทาวิบากและกัมมชรูปให้เกิดขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีส่วนแห่งการเข้าไปตัดรอนความสามารถของกรรมอื่น อุปฆาตกกรรม มีการเข้าไปตัดรอนวิบากของกรรมอื่น แล้วทาให้วิบากของตนเองเกิดขึ้นแทนได้ หรือตัดกรรมอื่นๆ แล้ว ตัวเองไม่ส่งผลก็ได้ เช่น อรหัตมรรค ตัดรอนวิบากกรรมในนรก ในสุคติ ทั้งหมด เมื่อตัดแล้วก็ไม่ส่งผลนาเกิดในที่ใดอีก เพราะพระอรหันต์เป็นผู้ไม่เกิดแล้วสรุป......อุปฆาตกกรรม เป็นหน้าที่ของกรรม บุคคลทั้งหลายรู้ไม่ได้ว่าเคยทำกรรมอะไรไว้ที่จะมีกาลังส่งผลมาเป็นอุปฆาตกกรรม จะรู้ถึงเหตุแห่งกรรมว่าดีหรือชั่วก็ต่อเมื่อกรรมนั้นมาสนองแล้ว ฉะนั้นเมื่อกาลังได้รับผลของกรรมฝ่ายกุศลหรือฝ่ายอกุศลก็ตามขอให้รู้เท่าทัน จะได้ไม่หลงติดสุขที่กาลังได้รับ และไม่ทุกข์ใจมากนักเมื่อกาลังได้รับทุกข์ แต่ในปัจจุบันนี้ต้องเพียรละชั่วกระทาแต่ความดี ไม่ประมาทในอกุศลกรรมแม้เพียงเล็กน้อย เพราะกรรมที่คิดว่าเพียงเล็กน้อย ทาไปเพราะคึกคะนองบ้าง ทาไปเพราะทำตาม ๆ เขาบ้าง เหล่านี้อาจมีกาลังส่งผลมาทาหน้าที่อุปฆาตกกรรมได้...............................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 มีนาคม 2553 18:36:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 17 มีนาคม 2553 16:46:17 »



กราบ กราบ กราบ ด้วย กาย วาจา ใจ

อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะน้อง"บางครั้ง"
บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.331 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 02:43:54