[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 20:06:02 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ตงเล็น” (tong len) แลกเปลี่ยนตนเอง กับ สัตว์โลกอื่น ๆ  (อ่าน 947 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2559 05:05:20 »



<a href="https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y" target="_blank">https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ</a>

การปฏิบัติสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน ได้แก่การปฏิบัติ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่น” หรือกับสัตว์โลกอื่นๆ ซึ่งเรียกในภาษาทิเบตว่า “ตงเล็น” (tong len) เราได้เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปบ้างแล้วในโพสก่อนหน้า หลักการก็คือว่า เรารับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกมาไว้ที่ตัวเรา แล้วแผ่ความสุขกับบุญกุศลของราทั้งหมดไปให้แก่สัตว์โลก

ในการสนทนาธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 30 ที่ผ่านมา มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า “ถ้าเราจะเอาความสุขของเราไปให้สัตว์อื่น แล้วเรามีความสุขนั้นจริงๆหรือเปล่า?” คำถามนี้เป็นคำถามดีมากๆ และช่วยให้เรากระจ่างแจ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมอันสำคัญยิ่งนี้

หัวใจของการปฏิบัติ “ความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่น” กับ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็คือว่า เรามุ่งภาวนาให้เกิดโพธิจิตขึ้นในจิตใจ โพธิจิตได้แก่จิตที่มุ่งมั่นปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งปวง เหตุที่เราตั้งจิตเช่นนี้ก็เพราะว่า มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์จากสังสารวัฏได้ ด้วยการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามแต่จริตของสัตว์นั้นๆ และการทอดทิ้งสรรพสัตว์เอาตัวรอดแต่ผู้เดียวไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมที่สูงสุด แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดโพธิจิตขึ้นมาในจิตใจอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้ง ก็คือการปฏิบัติเกี่ยวกับความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ และการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆนี้เอง

ในที่นี้ผมจะพูดเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ หัวใจของการปฏิบัตินี้อยู่ที่ว่า ในระหว่างที่เราทำสมาธิ เราตั้งจิตมั่นว่าจะรับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเรา และแผ่ความสุข แผ่บุญบารมี บุญกุศลของเราทั้งหมดให้แก่สัตว์โลก เราทำเช่นนี้ก็เพราะเราปรารถนาที่จะให้สัตว์โลกทั้งหลายมีความสุขและพ้นจากทุกข์ และที่สำคัญก็คือเป็นการชำระล้างกำจัดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรืออัตตาของเราเองด้วย

ทีนี้กลับมาที่คำถาม เราตั้งใจจะให้สัตว์โลกประสบกับความสุขสูงสุดเช่นเดียวกับเรา คือเราแผ่กระจายความสุขออกไปจากตัวเรา เหมือนกับเราเปล่งแสงแห่งความสุขแผ่ซ่านไปยังสรรพสัตว์ ที่เมื่อสัตว์ใดได้รับแสงนี้แล้ว ก็จะมีความสุขอย่างสูงสุด แต่คำถามก็คือว่า เรามีความสุขนั้นหรือเปล่า?

คำตอบก็คือว่า มีแน่นอน เพราะในประการแรกจิตใจของเราเป็นสิ่งแปลกประหลาดยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับจิตใจ “ใจเป็นหัวหน้า ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ” ดังที่กล่าวไว้ในพระธรรมบท ดังนั้นเมื่อเราตั้งจิตอย่างจริงใจให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข สรรพสัตว์ก็จะมีความสุขจริงๆ



ประการที่สอง ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้น เราไม่ได้มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเราเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญมากของการปฏิบัติแบบนี้ คือว่าเราไม่ได้มองออกไปจากมุมมองอันได้แก่ตัวตนของเรา ที่เราเคยมองแบบนี้มาตลอด ซึ่งก็เป็นเหตุให้เรายังมัวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเช่นนี้ เราไม่ได้มองออกจากตัวตนของเรา แต่เรามองออกจากมุมมองของสรรพสัตว์อื่นๆทั้งหมด นี่เป็นเคล็ดลับสำคัญของการปฏิบัติแบบนี้ เหตุที่การปฏิบัตินี้ได้ชื่อว่า “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เราไม่มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเรา แต่เรามองจากมุมมองของผู้อื่น

การทำเช่นนี้ฟังดูเหมือนง่ายๆ แต่ของง่ายๆนี้แหละที่เราไม่ยอมทำกัน จนทำให้เราต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏ รวมทั้งสัตว์โลกอื่นๆด้วย การมองออกจากมุมมองของผู้อื่นก็คือการมองว่า ตัวเรานั้นเองก็คือผู้อื่น เราจะเกิดความรู้สึกนี้ได้ง่ายกับคนที่เรารักมากๆเช่นลูก พ่อแม่จะมีความสุขเมื่อเห็นลูกมีความสุข เมื่อได้ให้อะไรแก่ลูกและลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว เราก็ขยายความรู้สึกนี้ออกไปให้แก่สัตว์โลกทั้งหมด เหมือนกับว่าสัตว์โลกทั้งหมดเป็นลูกของเราเอง

การที่เราพ่อแม่มีความสุขได้เมื่อเห็นลูกมีความสุขก็เพราะว่า พ่อแม่ไม่แยกตัวเองออกจากลูก คงไม่มีพ่อแม่คนไหนทำเช่นนี้เพราะนั่นแปลว่าไม่รักลูกเท่าใด รักตัวเองมากกว่า เป้าหมายของการปฏิบัติได้แก่การทำให้ความรู้สึกรักตัวเอง เห็นแก่ตัวเองนี้เบาบางลง จนหมดไปในที่สุด

และนี่ก็คือคำตอบว่า ทำไมเราจึงมีความสุขมากมายไม่จบสิ้นให้แก่สัตว์โลก ก็เพราะว่าสัตว์โลกมีมากมายไม่จบสิ้น และแต่ละคนก็มีความสุขสูงสุดทั้งนั้นด้วยความตั้งใจจริงของเรา ไม่ใช่ว่าเรามีความสุขอยู่แล้วปริมาณหนึ่ง แล้วไปแจกให้แก่สัตว์โลก คนทั่วไปที่ยังไม่ปฏิบัติหรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติอาจคิดเช่นนี้ แต่ความจริงก็คือว่า เรามองออกมาจากมุมมองภายในของสัตว์โลกแต่ละคน แต่ละคน ซึงเมื่อแต่ละคนมีความสุขสูงสุด เราก็ย่อมมีความสุขสูงสุดไปด้วย เพราะเรานั้นแหละคือสัตว์โลกนั่นเอง

จาก https://soraj.wordpress.com/t

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.319 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 19 เมษายน 2567 18:22:05