[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 05:38:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เผยคดี 112 ช่างตัดผมราชบุรีถึงที่สุดแล้ว หลังไม่ได้ประกันตัว-ตัดสินใจไม่อุทธรณ์  (อ่าน 99 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2566 20:57:29 »

เผยคดี 112 ช่างตัดผมราชบุรีถึงที่สุดแล้ว หลังไม่ได้ประกันตัว-ตัดสินใจไม่อุทธรณ์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-11-24 18:52</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยคดี ม.112 ช่างตัดผมราชบุรี ถึงที่สุดแล้วหลังไม่ได้ประกันตัว-ตัดสินใจไม่อุทธรณ์ต่อ รับโทษ 1 ปี 6 เดือน - ทนายยื่นคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ #ม็อบย่างกุ้ง ของกลุ่ม WeVo เหตุมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณา-พิพากษา เสียความยุติธรรม</p>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2566 ทนายความได้ตรวจสอบความคืบหน้าคดีของ “วัฒน์” (นามสมมติ) ช่างตัดผมจากจังหวัดราชบุรีวัย 29 ปี ผู้ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีจากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาชื่นชมในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่วิพากษ์วิจารณ์รัชกาลที่ 10 ก่อนถูกศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน โดยไม่ได้รับการประกันตัวหลังมีคำพิพากษา ก่อนที่เขาจะตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีต่อ และพบว่าในที่สุดคดีได้สิ้นสุดลง</p>
<p>สำหรับคดีนี้มี ปิติ สมันตรัฐ เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้ที่ บก.ปอท. จากกรณีโพสต์ข้อความมีใจความว่า ผู้โพสต์เคารพนับถือเพียงรัชกาลที่ 9 เห็นว่าทรงทำงานหนักเพื่อประชาชน แต่จำเลยไม่เห็นว่ารัชกาลที่ 10 ได้ทรงงาน จึงไม่จำเป็นต้องเคารพ</p>
<p>ก่อนการสืบพยาน วัฒน์ได้ตัดสินใจให้การรับสารภาพตามข้อกล่าวหา และเมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2566 ศาลอาญาพิพากษาว่าเขามีความผิดตามมาตรา 112 ลงโทษจำคุก 3 ปี เนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา</p>
<p>ในการขอประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ ศาลอาญาได้ส่งคำร้องให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประตัว เห็นว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ข้อหามีอัตราโทษสูง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก มีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ให้ยกคำร้อง”</p>
<p>หลังจากนั้น วัฒน์ถูกคุมขังเรื่อยมา และเมื่อไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้เขาตัดสินใจที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาต่อ เพื่อให้คดีสิ้นสุดโดยเร็ว ขณะที่ฝ่ายอัยการโจทก์ยังขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อมา รวมทั้งหมด 3 ครั้ง จนถึงเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 เมื่อครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ พบว่าอัยการไม่ได้ขอขยายระยะเวลาต่ออีก ทำให้คดีสิ้นสุดลงแล้ว</p>
<p>จนถึงปัจจุบัน วัฒน์ถูกคุมขังมาแล้ว 4 เดือนเศษ หากถูกคุมขังจนครบกำหนดโทษ จะได้รับการปล่อยตัวในช่วงเดือนมกราคม 2568 </p>
<p>“ผมไม่อยากเข้า ๆ ออก ๆ เรือนจำ ถ้าประกันออกไป เดี๋ยวเวลาเข้ามาใหม่ ผมทำใจลำบาก เดี๋ยวถ้าออกไปแล้วผมหางานทำ พอถึงเวลาถ้าต้องเข้า ผมก็ลำบากต้องลางาน ลาออก หางานใหม่ ถ้ายอมติดคุกไปเลย ปีครึ่งให้มันจบ ๆ มกราคมปี 68 ผมก็ได้ออกแล้ว” เป็นถ้อยคำที่เขาเคยกล่าวกับทนายความระหว่างตัดสินใจเกี่ยวกับคดีของตัวเองเมื่อถูกคุมขัง</p>
<p>หลังถูกคุมขัง วัฒน์คิดว่าเขาพอปรับตัวให้อยู่ในเรือนจำได้ โดยได้รับความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายบางส่วนจากกองทุนช่วยเหลือผู้ต้องขังทางการเมือง จึงช่วยลดภาระทางบ้านไปบ้าง ทำให้เป็นส่วนหนึ่งทำให้เขาตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีต่อ</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ทนายยื่นคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ #ม็อบย่างกุ้ง ของกลุ่ม WeVo เหตุมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณา-พิพากษา เสียความยุติธรรม</span></h2>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าวันที่ 21 พ.ย. 2566 เวลา 09.00 น. ศาลแขวงดุสิตนัดสืบพยานจำเลยในคดีของ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และสมาชิกกลุ่ม WeVo หรือ We Volunteer รวม 11 คน จากการจัดกิจกรรม #ม็อบย่างกุ้ง เพื่อจำหน่ายกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริเวณสนามหลวงและอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563</p>
<p>ก่อนหน้านัดสืบพยานดังกล่าว คือ ในวันที่ 20 พ.ย. 2566 ทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้าน สิรพัชร์ สินมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ผ่านทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม โดยอ้างเหตุอันมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 12</p>
<p>คำร้องดังกล่าวระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องคัดค้านผู้พิพากษาไว้ 2 ประการ ดังนี้</p>
<p>1. การถามหรือพูดถึงสถานะ สส. ของปิยรัฐ (จำเลยที่ 1)  ในระหว่างการพิจารณาคดี</p>
<p>ในระหว่างการสืบพยานจำเลยในวันที่ 2 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนได้สอบถามเกี่ยวกับคดีอื่น ๆ ของปิยรัฐ จำเลยที่ 1 และตั้งคำถามเกี่ยวกับการหลุดจากสถานะ สส. ซึ่งเป็นการ พูดถึงสถานะ สส. ของจำเลยที่ 1 ที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพิจารณาคดีของศาล </p>
<p>ก่อนหน้าวันดังกล่าว ผู้พิพากษาฯ ก็ได้ถามถึงคดีของศาลแขวงดุสิตที่เป็นคดีในทำนองเดียวกัน คือ คดีฐานความผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เพิ่งพิพากษาไปว่า ศาลพิพากษาอย่างไร ซึ่งคดีดังกล่าว ศาลพิพากษาลงโทษตามคำฟ้องทุกฐานความผิด แต่ลงโทษปรับจำเลย ลักษณะการถามดังกล่าวทำให้ทนายความจำเลยรู้สึกได้ว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนมองว่าจำเลยในคดีนี้ซึ่งไปขายกุ้งที่สนามหลวงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรฟาร์มกุ้งที่ได้รับความเดือดร้อนจากการปิดตลาดกลางกุ้งในช่วงเดือนธันวาคม 2563 เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เช่นเดียวกัน</p>
<p>2. การเพ่งเล็งการทำหน้าที่ทางวิชาชีพของทนายความ</p>
<p>2.1 การมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเข้ามานั่งประจำห้องพิจารณาคดีในทุกนัด ไม่ห้ามปราม หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล</p>
<p>ในการพิจารณาคดีทุกนัดที่ผ่านมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเข้ามานั่งประจำห้องพิจารณา และปล่อยให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลเชิญทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกจากห้องพิจารณาขณะที่กำลังทำหน้าที่ถามค้านพยานโจทก์ และเมื่อเสร็จการพิจารณาในแต่ละวันเกือบทุกครั้งก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจศาลจะออกไปจากห้อง ผู้พิพากษาฯ จะพูดขอบคุณทำนองว่า มีเจ้าพนักงานตำรวจศาลมานั่งอยู่ในห้องทำให้คดีดำเนินไปได้ด้วยดี เป็นไปโดยเรียบร้อย ทั้งที่กระบวนพิจารณาคดีดำเนินไปได้ก็เนื่องจากคู่ความและบุคลากรทุกคนที่อยู่ในห้องพิจารณา ไม่ใช่เฉพาะแค่เจ้าพนักงานตำรวจศาล </p>
<p>คำพูดในลักษณะดังกล่าวสะท้อนมุมมองของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่มีต่อฝ่ายจำเลยว่า ต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจศาลมานั่งในห้อง กระบวนพิจารณาจึงจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี  อย่างไรก็ตาม ภายหลังทนายความจำเลยได้มีหนังสือถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงดุสิต เพื่อขอให้พิจารณากรณีดังกล่าว ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจึงได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจศาลไม่ต้องมานั่งประจำห้องพิจารณาคดีอีกต่อไป</p>
<p>2.2 การเตือนไม่ให้ทนายความซึ่งทำงานร่วมกันเป็นทีมบอกคำถาม ส่งกระดาษคำถามให้กัน หรือปรึกษาหารือกันระหว่างการถามความ </p>
<p>ในการพิจารณาคดีเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 ในระหว่างสืบพยานจำเลย ทนายความจำเลยที่ 3 – 5 กำลังซักถามพยาน ทนายจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้บอกคำถามที่ตกหล่นให้ทนายความจำเลยที่ 3 – 5 ถามเพิ่ม รวมทั้งส่งกระดาษที่เขียนคำถามพยานที่ตกหล่นให้ทนายความจำเลยที่ 3 – 5 ถาม รวมถึงในบางช่วงเวลาได้มีการพูดคุยกับทนายความจำเลยที่ 3 – 5 เกี่ยวกับคำถามที่ตกหล่นไปเพื่อให้ถามพยานได้ความครบถ้วน ซึ่งเป็นกระบวนการทำหน้าที่ทนายความตามปกติในกรณีที่มีทนายความทำงานร่วมกันหลายคน และเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของจำเลย แต่ศาลเตือนทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่า ทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะตามกฎหมายให้ทนายความถามความได้ทีละคน </p>
<p>ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงได้โต้แย้งศาลว่า เป็นการทำหน้าที่ร่วมกันเป็นทีมและกรณีนี้ไม่ใช่การถามความหลายคนตามข้อกฎหมายที่ศาลเห็นว่าทำไม่ได้ และทนายความยืนยันต่อศาลว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีกฎหมายห้ามทนายความบอกคำถาม ส่งกระดาษคำถามให้กันหรือปรึกษาหารือกันระหว่างการถามความ </p>
<p>หลังจากนั้น ศาลได้บันทึกข้อความลงในคำเบิกความพยานปากดังกล่าวทุกครั้งที่ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 ส่งกระดาษคำถาม บอกคำถามหรือปรึกษาหารือกับทนายจำเลยที่ 3 – 5  </p>
<p>อีกทั้งผู้พิพากษาฯ ได้กล่าวทำนองว่า ท่านจะให้ตั้งเรื่องมั้ย จะได้ตรวจสอบ จะได้ให้สภาทนายดู ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 ถามว่า ท่านจะตั้งเรื่องอะไร เรื่องละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ผู้พิพากษาฯ ตอบว่า ไม่ใช่ละเมิดอำนาจศาล ดูว่ากระบวนการชอบหรือไม่ และจะฟังพยานปากนี้ได้หรือไม่ ฟังได้ขนาดไหน ถึงต้องมีกล้อง จะได้ชัดเจน แล้วก็เคารพกฎหมายนะครับ ใครทำอะไรก็ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย </p>
<p>กรณีดังกล่าวทำให้ทนายความจำเลยเข้าใจได้ว่า หากยังบอกคำถามกัน ส่งกระดาษคำถามให้กัน หรือคำปรึกษาหรือกันอยู่อีก จะต้องมาพิจารณากันว่า จะรับฟังพยานปากดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  ทำให้ทนายความจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 – 5 รู้สึกได้ว่า หากยังยืนยันสิทธิที่จะปฏิบัติเช่นเดิม ศาลจะไม่รับฟังพยานปากดังกล่าว และมีการกล่าวถึงสภาทนายความทำให้ทนายความจำเลยเกิดความกลัวและวิตกกังวลในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ทนายความเพื่อประโยชน์ของลูกความ ส่งผลให้ทนายความจำเลยไม่อาจถามพยานปากดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าว </p>
<p>ทนายความจำเลยทั้ง 11 เห็นว่า การทำหน้าที่ตามที่ระบุข้างต้นเป็นการทำหน้าที่ทนายความโดยปกติทั่วไปในกระบวนพิจารณาคดี และที่ผ่านมาไม่เคยพบว่าศาลใดเห็นว่าการทำหน้าที่ของทนายความในลักษณะดังกล่าวเป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายและกระบวนพิจารณาคดี </p>
<p>การที่ศาลจะนำกรณีดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการรับฟังพยานปากดังกล่าวว่ารับฟังได้หรือไม่ เนื่องจากในระหว่างการถามความทนายความมีการส่งคำถามหรือปรึกษาหารือกัน ทั้งที่ไม่มีกฎหมายห้ามไม่ให้ทนายความจำเลยปรึกษาหารือ บอกคำถาม หรือส่งกระดาษคำถามให้กัน และการห้ามหรือการวินิจฉัยว่า การกระทำของทนายความจำเลยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจส่งผลต่อรูปคดีของจำเลยอย่างร้ายแรงได้ เนื่องจากเป็นพยานปากสำคัญคนหนึ่งในคดี </p>
<p>ในคำร้องระบุว่า ลักษณะการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ถือได้ว่าเป็นสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป โดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ ทนายความจำเลยได้เข้าพบผู้พิพากษาหัวหน้าศาล กรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนแจ้งกับทนายความจำเลยว่า จะมีคำสั่งยกเลิกการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยทั้ง 11 คน ซึ่งผู้พิพากษาท่านเดิมได้อนุญาตไว้ และจะให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดมาศาลในช่วงบ่ายของวันเดียวกันนั้น ภายหลังจากนั้นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้เชิญผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนไปหารือ และต่อมาก็ไม่ยกเลิกคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีลับหลังจำเลยที่ศาลท่านเดิมได้อนุญาตไว้  </p>
<p>กรณีดังกล่าวข้างต้น ที่ทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านในประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าพบผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2 ครั้ง ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนท่านนี้ที่ผ่านมา ที่อาจสร้างความไม่พอใจ และย่อมส่งผลต่อความเป็นอิสระ เป็นกลางและปราศจากอคติในการพิพากษาคดีโดยตรง กรณีดังกล่าวได้สะท้อนผ่านการถามหรือพูดถึงสถานะ สส. ของจำเลยที่ 1 ที่อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพิจารณาพิพากษาคดี และการดำเนินกระบวนพิจารณาในลักษณะที่เพ่งเล็งการถามความของทนายความจำเลยในวันที่ 2 พ.ย. 2566 ดังกล่าวข้างต้น ย่อมเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป</p>
<p>ในวันที่ 21 พ.ย. 2566 ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 401 สิรพัชร์ สินมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนออกนั่งพิจารณาคดี และอ่านคำสั่งต่อคำร้องคัดค้านดังกล่าวโดยสรุปว่า ตามที่ทนายความจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา เห็นว่ากรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 12 ให้ยกคำร้อง โดยผู้พิพากษาสิรพัชร์เป็นผู้สั่งตามคำร้องดังกล่าวด้วยตนเอง และสั่งให้ดำเนินการสืบพยานจำเลยปาก ปิยรัฐ จำเลยที่ 1 ซึ่งอ้างตนเป็นพยานต่อไป</p>
<p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่า หลักความเป็นอิสระของตุลาการเป็นหลักการสำคัญที่ช่วยประกันสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมของผู้ต้องหาในคดีอาญา ดังนั้นตามหลักการนี้ ผู้พิพากษาจะต้องมีความเที่ยงธรรม คือ อยู่ในสถานะที่ไม่มีผลประโยชน์หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในคดี และต้องไม่มีความคิดล่วงหน้าใดๆ เกี่ยวกับประเด็นที่กำลังพิจารณา </p>
<p>หากมีเหตุเพียงพอที่จะทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเที่ยงธรรมของผู้พิพากษา ผู้พิพากษาก็มีหน้าที่ที่จะต้องถอนตัวจากคดีนั้น ซึ่งบทบัญญัติกฎหมายก็เปิดช่องให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถคัดค้านผู้พิพากษาได้ โดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11 และ 12 </p>
<p>นอกจากนี้ ในการพิจารณาคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 13 วรรคสาม วางหลักไว้ว่า “ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียว และผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน หรือถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาทั้งหมดถูกคัดค้าน ให้ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่าตามลำดับเป็นผู้ชี้ขาดคำคัดค้าน” จึงมีข้อน่าพิจารณาและตั้งคำถามว่า ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านจะมีอำนาจในการสั่งคำร้องคัดค้านผู้พิพากษาด้วยตนเองหรือไม่</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106968
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวด่วน] - ผบช.ภ.1 เผยคดี"แตงโม"คืบหน้ามาก ยังไม่แจ้งข้อหาใครเพิ่ม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 199 กระทู้ล่าสุด 07 มีนาคม 2565 06:58:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 430 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 326 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 332 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยคดี ม.116 จากยุค คสช. ศาลยกฟ้อง-อัยการสั่งไม่ฟ้องกว่า 73.5% แต่ต้องสู้คดียาวนาน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 109 กระทู้ล่าสุด 19 ธันวาคม 2566 19:11:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.626 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 เมษายน 2567 11:01:33