[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
15 พฤษภาคม 2567 21:45:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  (อ่าน 5067 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5489


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2557 10:18:08 »

.


พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในพระราชอิริยาบถประทับนั่ง พระหัตถ์ขวาทรงสุวรรณภิงคาร
หลั่งน้ำทักษิโณทกลงเหนือพื้นพสุธาดล ประกาศอิสรภาพจากพม่า  
ประดิษฐานที่ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชวังจันทน์  จังหวัดพิษณุโลก


ไก่ชนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เมืองพิษณุโลก สมัยสมเด็จพระนเรศวร การตีไก่เป็นกีฬาที่ทรงโปรดมาแต่ทรงเยาว์วัย เมื่อเสด็จไปประทับที่พม่า...ก็ทรงนำไก่ชนไปด้วย พม่าสมัยนั้น การตีไก่ถือเป็นกีฬาในวัง บรรดาเชื้อพระวงศ์นิยมเลี้ยงไก่ชนกันแทบทุกตำหนัก

ประยูร พิศนาคะ พรรณนาการตีไก่ ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับไก่พระมหาอุปราชของพม่า ไว้ในหนังสือสมเด็จพระนเรศวร ฉบับออกอากาศ ว่า

“ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวัน สายตาทุกคู่ต่างก็เอาใจช่วย และแทบว่าจะไปชนแทนไก่ก็ว่าได้ คล้ายกับว่าไก่ชนกันไม่ได้ดังใจตน

เมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ของพระนเรศวรกระพือปีกอย่างทะนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงสะอึก สะกดพระทัยไว้ไม่ได้ ตรัสว่า

“ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ”

“ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้”  พระนเรศวรตรัสตอบ

พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม บันทึกไว้ว่า ราวปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้อ่านตำราชนไก่จากสมุดข่อยได้ ความว่า ไก่ที่พระนเรศวรนั้นทรงนำมาจาก “บ้านกร่าง” เดิมเรียกว่า “บ้านหัวแท” อยู่ห่างตัว เมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๙ กม.   ชุดความรู้นี้ตรงกับของ พล.ต.ต.ผดุง สิงหเสนีย์ ที่เคยเขียนไว้ว่า บ้านกร่าง แดนไก่ชนพระนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ ปัจจุบันพบซากปรักหักพังของวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก บอกถึงความเจริญรุ่งเรืองและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในอดีต    ปัจจุบันผู้คนในหมู่บ้านก็ยังสืบทอดขนบธรรมเนียมโบราณ เมื่อมีงานเทศกาล ก็จะนัดชนไก่กันที่วัดประจำหมู่บ้าน

นายชิต เพชรอ่อน อายุ ๙๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๓๕) ชาวบ้านกร่าง ร่างกายยังแข็งแรง ตาดี หูตึง พูดเสียงดัง เป็นนักเลงชนไก่ระดับตำนาน สืบสายเลือดการชนไก่มาแต่พ่อและปู่ เล่าว่า บ้านกร่างเลี้ยงไก่ชนไว้มาก เป็นไก่ชนที่ชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของนักเลงชนไก่ต่างถิ่น

ไก่บ้านกร่างเป็นไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว “ปู่เคยบอกพ่อว่า ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง”

ลักษณะไก่ชนบ้านกร่าง พิษณุโลก คล้ายไก่ชนพันธุ์ดีของภาคใต้ สารานุกรมพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๒๙ เล่ม ๓ กล่าวถึงไก่เหลืองหางขาวว่า เป็นไก่เหลืองใหญ่ ลักษณะขนสีแดงอ่อน คล้ายสีทอง ขนปีกขาว ปากขาว หางขาว ปากเป็นร่อง เกล็ดเป็นผิวหวายตะกร้า (ขาวแกมเหลือง) นับเป็นยอดไก่

เกรียงไกร ไทยอ่อน เขียนไว้ในตำราไก่ชนว่า ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่มีสกุล มีประวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือเข้ารูหูพอดี รูปร่างยาว ๒ ท่อน สูงระหง สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดง แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว

ยังมีผู้รู้อีกหลายท่านให้ความรู้เพิ่มเติมอีกว่า ไก่เหลืองหางขาวต้องมีลักษณะดูเป็นพิเศษโดยทั่วไปอีก คือ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง สร้อยระย้า หน้านกยูง   แต่ถ้าเป็นไก่เหลืองหางขาว ไก่ชั้นเยี่ยมของภาคใต้ ต้องมีลักษณะ อกชัน หวั้นชิด หงอนบิด ปากร่อง พัดเจ็ด ปีกสิบเอ็ด เกล็ดยี่สิบสอง

อกชัน คือ อกเชิดท้ายลาด หวั้นชิด คือ ขั้วหางชิดกับบั้นท้ายก้นเชิงกราน หงอนบิด คือ หงอนไม่ตรง ปิดกระหม่อม ปากร่อง คือปากบนมีร่อง ตั้งแต่โคนตรงรูจมูกสองข้าง พัดเจ็ด คือ ขนหางพัดมีข้างละ ๗ เส้น ปีกสิบเอ็ด คือ ขนปีกท่อนนอก มีข้างละ ๑๑ อัน เกล็ดยี่สิบสอง คือ เกล็ดนิ้วกลาง มี ๒๒ เกล็ด

สำหรับไก่ชนพระนเรศวร พ.ต.พิทักษ์ บัวเปรม สรุปลักษณะไว้ดังต่อไปนี้... สีสร้อยเหลือง ทั้งสร้อยคอ สร้อยปีกและสร้อยหลัง ลักษณะสร้อยประบ่า ระย้าประก้น หาง ยาวเหมือนฟ่อนข้าว กะลวยหางสีขาวยาวโค้งไปด้านหลัง ปลายห้อยตกลงมาสวยงาม หน้าแหลมยาว สร้อยหน้านกยูง ปากขาวอมเหลือง มีร่องสองข้างจะงอยปาก ปีกใหญ่ยาว มีขนขาวแซมทั้งสองข้าง อกใหญ่ตัวยาว ยืนขาห่างกัน ตะเกียบคู่แข็ง กระดูกใหญ่ แข้งขาวอมเหลือง เล็ก นิ้วยาวเรียว เดือยงอน คันช้อน ขันเสียงใหญ่ยาว ยืนท่าผงาดดังราชสีห์ เกล็ดที่แข้งและนิ้วเท้าต้องเรียบ  สรุปลักษณะพิเศษ...เสือซ่อนเล็บ เหน็บชั้นใน ไชบาดาล เกล็ดผลาญศัตรู

ความนิยมไก่ชนพระนเรศวร แพร่หลายกระจายพันธุ์ไปทั่วประเทศ ทั้งมีการผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ และข้ามสี จนมีไก่ชนหลากสี สุดแท้แต่ไก่ตัวไหนจะเก่ง

การค้นหาไก่เหลืองหางขาวให้มีลักษณะพิเศษครบทุกอย่าง ... เป็นไปได้ยาก จนกล่าวกันว่า ไก่ชนพระนเรศวรนั้น คงมีของพระนเรศวรอยู่ตัวเดียวเท่านั้น.




ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  จังหวัดพิษณุโลก
มีรูปปั้นไก่ชนถวายเรียงรายอยู่โดยรอบศาล  
และจะเห็นปรากฏอยู่แทบทุกศาลของพระองค์ท่าน


เชิญลิงค์เข้าชมสาระความรู้เกี่ยวกับ
พระราชวังจันทน์ ราชสำนักเมืองพิษณุโลกในครั้งอดีต
http://www.sookjai.com/index.php?topic=89842.0


ข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:26:44 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.273 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤษภาคม 2567 15:42:26