[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ห้องสมุด => ข้อความที่เริ่มโดย: Kimleng ที่ 16 พฤษภาคม 2565 20:30:48



หัวข้อ: ปลาตะเพียนใบลาน สานด้วยใจ
เริ่มหัวข้อโดย: Kimleng ที่ 16 พฤษภาคม 2565 20:30:48
(http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/25536735273069_274857940_5122918811099140_629.jpg)
ปลาตะเพียนใบลาน (ภาพจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม:Chantharakasem National Museum)

ปลาตะเพียนใบลาน

ปลาตะเพียนสาน เป็นงานหัตถรรมประเภทจักสานที่ไม่เพียงแต่แสดงถึงภูมิปัญญาของคนไทย หากยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันกับสายน้ำ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร ดังมีคำกล่าวว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

โดยทั่วงไปมนุษย์มักเรียนรู้ที่จะดัดแปลงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ เพื่อการดำรงชีวิต แม้กระทั่งของประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน ซึ่งการประดิดประดอยวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นของคนไทย เช่น การสานปลาตะเพียน ก็คงมีต้นเค้ามาจากการเรียนรู้ดังกล่าวผสมผสานกับความเชื่อของคนไทยในอดีตที่เชื่อว่า”ปลาตะเพียน” เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์

การสานปลาตะเพียนเมื่อแรกเริ่มน่าจะเป็นงานหัตถกรรมเพื่อเป็นของเล่นสำหรับผูกไว้เหนือเปลนอนของเด็ก เมื่อบลมพัดผ่านก็จะเกิดความพลิ้วไหว ทำให้กิดความเพลิดเพลิน ภายหลังมีการผลิตจนกลายเป็นสินค้าภายในชุมชนของคนอยุธยามา ดังปรากฏหลักฐานการค้าขายปลาตะเพียนสานในสังคมของชาวอยุธยา จากหลักฐานพงศาวดาร “คำให้การขุนหลวงหาวัด” ความว่า “ถนนย่านป่าโทนมีร้านขายทับ โทน เรไร ปี่แก้ว จังหน่อง เพลี้ย ขลุ่ย และหีบไม้อุโลก ไม้ตะแบก ไม้ ไม้ขนุนใส่ผ้า และช้างม้ากระดาษ อู่เปล ศาลพระภูมิ จะเว็จเขียนเทวรูป เสื่อลำแพน ปลาตะเพียนใบลาน จิงโจ้ ชื่อตลาดป่าโทน ๑”

การสานปลาตะเพียน นิยมใช้ใบลาน ใบตาล หรือใบมะพร้าว มาสสานเป็นตัวปลาตะเพียน สำหรับปลาตะเพียนหนึ่งพวง ประกอบด้วยปลาขนาดใหญ่หนึ่งตัว เรียกว่า “แม่ปลา” และปลาขนาดเล็กตั้งแต่ ๖ ตัว จนถึง ๑๒ ตัว เรียกว่า “ลูกปลา” เมื่อนำมาประกอบรวมเข้าด้วยกันเป็นเครื่องแขวนจะมีลักษณะคล้ายฝูงปลา

ในอดีต การทำปลาตะเพียนสานไม่นิยมลงสีหรือเขียนลวดลาย มักปล่อยให้เป็นสีตามธรรมชาติ ภายหลังเมื่อมีการลงสีหรือเขียนลวดลายเพื่อให้เกิดความสวยงาม ปรากฏว่าได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่าปลาตะเพียนสานที่ไม่มีการลงสี สำหรับสีที่นิยมนำมาทาลงบนตัวปลา ได้แก่ สีแดง สีดำ สีเหลือง สีขาว สีเขียว ส่วนบริเวณที่มีลักษณะเหมือนเกล็ดปลา มักใช้สีที่มีความแวววาวเพื่อให้เกิดความสมจริง เช่น สีทอง สีเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้ความนิยมในการผูกปลาตะเพียนสานเหนือเปลเพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินหรือการนำไปแขวนประดับตกแต่งบ้านเรือนเริ่มลดน้อยลงและกำลังจะเลือนหายไปจากสังคมไทย แต่ถึงกระนั้นได้มีความพยายามอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาการสานปลาตะเพียนให้คงอยู่ต่อไป ด้วยการส่งเสริมจนเป็นสินค้าสำคัญประเภทของฝากของที่ระลึก ซึ่งเป็นที่นิยมทั้งในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งได้รับการยอมรับให้เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ที่มา : ปลาตะเพียนสาน งานหัตถกรรมอยุธยา โดย ธนากรณ์ มณีกุล นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร