[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 พฤษภาคม 2567 03:03:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีลอยสังขานต์ ตามประเพณีปีใหม่ล้านนา  (อ่าน 3114 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5495


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 17 เมษายน 2558 14:22:24 »

.



พิธีวันสังขานต์ล่อง
ตามประเพณีปีใหม่ล้านนา

ปีใหม่เมืองของชาวล้านนาตรงกับเดือนเมษายน ซึ่งอยู่ในฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนมาก และช่วงเวลาว่างจากการทำไร่และเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จึงถือเอาวันปีใหม่เป็นวันทำบุญใหญ่วันหนึ่งในรอบปี   เป็นวันที่มีความสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เย็นฉ่ำ ถือขันน้ำรดน้ำให้แก่กัน มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มะกอน ม้าจ๊กคอก อีโจ้ง (โยนหลุม) จึงเป็นโอกาสที่เด็กๆหนุ่มสาว ผู้เฒ่าผู้แก่ได้พบเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันผ่านประเพณีต่างๆ เช่น สรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัด ดำหัว ทำบุญที่วัดในวันพญาวัน

ประเพณีปีใหม่เมืองของชาวล้านนา ในอดีตมีกิจกรรมที่กระทำตามวันต่างๆ กินเวลากว่า ๗ วัน โดยแต่ละวันจะมีการปฏิบัติตนแตกต่างกันไปตามจารีตประเพณี ซึ่งประกอบด้วยวันต่างๆ ดังนี้
๑. วันสังขานต์ล่อง หรือวันสังขารล่อง หรือวันสังกรานต์ล่อง
๒. วันเน่า เป็นวันที่ ๒ ของปีใหม่เมือง
๓. วันพญาวัน เป็นวันที่ ๓ ของปีใหม่เมือง
๔. วันปากปีเป็นวันที่ ๔ ของปีใหม่เมือง
๕. วันปากเดือนเป็นวันที่ ๕ ของปีใหม่เมือง
๖. วันปากวันเป็นวันที่ ๖ ของปีใหม่เมือง
๗. วันปากยาม วันที่ ๗ ของปีใหม่เมือง
 



วันสังขานต์ล่อง
  
อ่านเป็นภาษาล้านนาว่า “ปู๋จาลดเคาะ”  หรือการบูชาลดเคราะห์ หมายถึงพิธีกรรมที่ทำให้รอดพ้นจากเคราะห์ต่างๆ โดยคนล้านนาจะกระทำกันในวันสังขานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์

วันสังขานต์ล่อง หรือวันสังขารล่อง หรือวันสังกรานต์ล่อง เป็นวันแรกของกิจกรรมปีใหม่ "สังขานต์" คือคำเดียวกับ "สงกรานต์" ในภาษาสันสกฤตซึ่งแปลว่า "ก้าวล่วงแล้ว"  วันสังขานต์ล่องในภาษาล้านนา ตรงกับภาคกลาง คือวันมหาสงกรานต์ ถือเป็นวันสิ้นสุดของปีเก่า  ในหนังสือประเพณีสิบสองเดือนล้านนาให้ความหมายว่า สังกรานต์ หมายถึงวันเดือนปีที่ล่วงไป (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๓, หน้า ๕๖) ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (๒๕๔๒, หน้า ๖๗๒๔) กล่าวถึงวันสังกรานต์ล่อง คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีน จะเข้าสู่ราศีเมษ

ในวันสังขานต์ล่อง คนล้านนาจะตื่นแต่เช้าตรู่ จุดสะโปกหรือประทัด ยิงปืน เพื่อขับไล่เสนียดจัญไร ให้ไหลล่องไปกับปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์ ซึ่งจะแบบรับเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในชีวิตไปเททิ้งที่แม่น้ำ  การไล่สังขานต์ด้วยเสียงประทัดหรือสะโปกที่ดังแต่เช้าตรู่ เป็นการปลุกทุกคนให้ตื่นขึ้นมาเพื่อทำความสะอาดบ้านเรือน ซักที่นอน หมอนมุ้ง แล้วอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดผ่องใส  เด็กๆ มักจะถูกหลอกให้ไปซักผ้าที่แม่น้ำลำคลองแต่เช้าตรู่ เพราะจะได้เห็นสังขานต์ล่องที่แม่น้ำ

คนโบราณได้สมมุติตัวสังขานต์เป็นคนแก่สองคน คือ ปู่สังขานต์และย่าสังขานต์ถ่อแพไหลมาตามแม่น้ำ บ้างก็ว่า ปู่สังขานต์และย่าสังขานต์หาบกระบุงตะกร้าเดินมาตามถนนเพื่อมารับเอาเสนียดจัญไรทั้งหลายไปขว้างทิ้ง

บ้างก็ว่าปู่สังขานต์ย่าสังขานต์ ห่มผ้าสีแดงล่องแพมาตามน้ำนำพาสิ่งไม่ดีเป็นอัปมงคลมาด้วย จึงต้องขับไล่ด้วยเสียงดังของประทัดและปืนเพื่อเร่งเร้าให้ผ่านไปโดยเร็ว

วันนี้จึงต้องทำความสะอาดบ้านเรือน ซักผ้า เก็บกวาดเศษขยะใบไม้ให้สิ่งหมักหมมทั้งหลายให้หมดสิ้นไปพร้อมกับสังขานต์ที่ล่องไป

มีการสระผมตามพิธีกรรมที่เรียกว่า “ดำหัว” ในวันสังขานต์ล่อง เพื่อบูชาลดเคราะห์ บางท้องถิ่นเรียกว่าบูชาส่งเคราะห์หรือบูชาลอยเคราะห์   ซึ่งตามประเพณีโบราณ กษัตริย์แห่งล้านนาจะต้องทำพิธีสรงน้ำตามทิศที่โหรหลวงคำนวณไว้ และจะลงไปทำพิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำ เช่น ในแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง เป็นต้น

สิ่งสมมุติว่าเป็นปู่สังขานต์ ย่าสังขานต์นั้น แท้จริงคือ ตัวตนของเราที่กำลังไหลล่องไปตามวัยของสังขาร มีอายุที่มากขึ้น   ซึ่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ดีนั้น จะต้องขว้างทิ้งเสียสิ่งเศร้าหมองที่มีอยู่ในกาย วาจา และใจนั่นเอง สิ่งสำคัญในวันนี้คือการ "ดำหัววันสังขานต์ล่อง" โดยน้ำขมิ้นส้มปล่อย เพื่อชำระล้างสิ่งอัปมงคล และจะต้องหันหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้ในปักทืน หรือหนังสือปีใหม่เมือง ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน ตัวอย่างเช่น ปักขะทืนล้านนา พ.ศ.๒๕๕๒ ฉบับวัดธาตุคำ จังหวัดเชียงใหม่ คำนวณโดยพระครูอดุลสีลกิตติ์ กล่าวถึงการดำหัววันสังขานต์ไว้ว่า “ในวันสังขานต์ไปนั้นจุงหื้อพากันสระเกล้าดำหัว ยังแม่น้ำ ทางไคว่ เค้าไม้ใหญ่นอกบ้านชายคา อว่ายหน้าไปสู่ทิสะหนใต้ แล้วอาบน้ำส้มปล่อยดำหัว อาบองค์สรงเกศเกล้า ด้วยมนต์วิเศษสรูปเภท เปนคาถาว่า สัพพะทุกขา สัพพะยา สัพพะอันตรายา สัพพะทุนนิมิตตา สัพพะคะหา สัพพะอุปัทวา วินาสันตุ” แปลได้ว่า “ในวันสังขานต์ล่องให้พากันสระเกล้าดำหัวที่แม่น้ำ ทางสี่แยก




ผู้นำในการดำหัววันสังขานต์ล่องนี้ มีหัวหน้าครอบครัว เช่น พ่ออุ้ยแม่อุ้ย (ปู่ย่าตายาย)หรือพ่อบ้าน จะเป็นผู้เสกฝักส้มปล่อย ด้วยคาถา "โอม สิริมา มหาสิริมา เตชะยะสะลาภา อายุวัณณา ภะวันตุเม" (สนั่น ธรรมธิ, ๒๕๔๘) แล้วนำส้มปล่อยไปแช่น้ำ และเสกด้วยคาถามนต์น้ำส้มปล่อย เช่น "สัพเคราะห์ สัพพะภัย สัพพะอุบาทว์ สัพพะพายาธิแลกังวลอนตรายทังหลาย ขอหื้อตกไปพร้อมกับสังขานต์ เคราะห์ทางหลังอย่ามา ถ้าเคราะห์ทางหน้าอย่ามาหา พุทธังถอด ธัมมังถอด สังฆังถอด หูรู หูรู สวาหาย" (มณี พยอมยงค์, ๒๕๔๓, หน้า ๗๙) หลังจากนั้นเอาน้ำส้มปล่อยมาลูบศีรษะตนเองก่อน แล้วจึงลูบศีรษะสมาชิกในครอบครัว และมักนำน้ำขมิ้นส้มปล่อยเช็ดล้างกาลกิณีที่ร่างกาย เช่น ในหนังสือปีใหม่เมืองล้านนา พ.ศ.๒๕๕๒ กล่าวว่า กาลกิณีอยู่ที่ปาก จัญไรอยู่ที่บ่า จึงให้นำน้ำขมิ้นส้มปล่อยมาเช็ดปากและบ่า จึงจะเป็นศิริมงคล (พระครูอดุลสีลกิตติ์, ๒๕๕๑, หน้า ๔-๕)
 
ในวันนี้ มีการทำพิธีลอยสังขานต์ที่แม่น้ำใหญ่ โดยการทำแพต้นกล้วยประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ช่อ ตุง อาหารคาวหวาน แห่ด้วยฆ้องกลองอย่างครึกครื้น  

ในการทำพิธี มีการปั้นข้าวแป้งลูบไล้ตามตัวเพื่อขจัดเสนียดจัญไร จากนั้นนำแป้งมาปั้นเป็นรูปตัวเปิ้งหรือนักษัตรตามปีเกิดของตนเอง อธิษฐานและใส่ลงในแพและปล่อยให้แพไหลไปตามแม่น้ำ มีปู่อาจารย์เป็นผู้ทำพิธี

ในปัจจุบัน พิธีลอยสังขานต์ ยังคงปฏิบัติกันที่บ้านยางหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น  ในบางท้องถิ่นไม่ได้อยู่ติดแม่น้ำลำคลอง จะทำพิธีลดเคราะห์ วิธีการคือทำกระทงหยวกกล้วย ตกแต่งด้วยดอกไม้ ช่อ หลากสี ในสะตวง ใส่เครื่องพลีกรรม ได้แก่ ข้าว อาหาร ผลไม้ มะพร้าว กล้วย อ้อย ใส่กระทง โดยจะนำเสื้อผ้าของบุคคลในครอบครัวใส่ขันเงินหรือตะกร้า แล้วเอากระทงวางไว้บนขันเงิน แล้วนำไปทำพิธีที่วัดในแต่ละหมู่บ้าน

เมื่อเสร็จพิธีนำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาประพรมบนกระทงแล้วจึงนำไปวางไว้นอกวัด พร้อมกับสลัดเสื้อผ้าในขันเงินเพื่อไล่เคราะห์ออกไป

พิธีบูชาลดเคราะห์ ในบางท้องถิ่นจะกระทำในวันปากปี เรียกว่า “การบูชาลดเคราะห์รับโชค” ในคราวเดียวกัน เพื่อความสะดวกและประหยัด โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี




ทัดดอกไม้นามปีและนุ่งผ้าใหม่

หลังจากพิธีดำหัวเสร็จแล้ว จะต้องแต่งเนื้อแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ หากเป็นผู้หญิงในวันนั้นก็จะทัดดอกไม้ อันเป็นนามปีหรือเป็นพญาดอกไม้ของปีนั้นๆ ด้วย  เช่นในปีพ.ศ.๒๕๕๑ ได้แก่ดอกแก้ว หรือดอกพิกุล เป็นพญาดอกไม้นามปี ควรทัดด้วยดอกแก้ว ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ดอกเก็ดถะหวา (ดอกซ้อน) เป็นพญาดอกไม้นามปี ควรทัดดอกเก็ดถะหวา การทัดดอกไม้อาจจะนำมาประดับมวยผมหรือแซมผม (พระครูอดุลย์สีลกิตติ์. เจ้าอาวาสวัดธาตุคำ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, สัมภาษณ์, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑)

การคำนวณหาดอกไม้นามปีให้เอาตัวเลขจุลศักราชปีใหม่ตั้ง หารด้วย ๘ ได้เศษเท่าไหร่ ทำนายตามนี้
เศษ ๑  ดอกเอื้อง
เศษ ๒  ดอกแก้ว
เศษ ๓  ดอกซ้อน (มะลิ,เก็ดถะหวา)
เศษ ๔  ดอกประดู่
เศษ ๕  ดอกบัว
เศษ ๖  ดอกส้มสุก (อโศก)
เศษ ๗  ดอกบุญนาค
เศษ ๘  ดอกก๋าสะลอง (ดอกปีบ)
เศษ ๐  ดอกลิลา (ซ่อนกลิ่น)

ตัวอย่างเช่น ใน พ.ศ.๒๕๕๒ ลบด้วย ๑๑๘๒ คือจุลศักราศ ๑๓๗๐ หาร ด้วย ๘ ได้เศษ .๒๕ ปัดขึ้นเป็นเศษ ๓ ดอกไม้นามปี ได้แก่ ดอกซ้อน หรือดอกเก็ดถะหวา (เกริก อัครชิโนเรศ และคณะ, ๒๕๔๖, หน้า ๗๐ -๗๑)

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะประกอบพิธีในวันใดๆ ตามประเพณีปีใหม่ล้วนมีความหมายและความสำคัญต่อชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเริ่มต้นให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต ความงอกงาม ความสุข จึงควรรักษาประเพณีที่ดีงามเหล่านี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป




ที่มา : - หนังสือมติชนสุดสัปดาห์ หน้า ๗๘ ฉบับที่ ๑๘๐๙ ประจำวันที่ ๑๗-๒๓ เมษายน ๒๕๕๘
         - เว็บไซต์ ประเพณีล้านนา

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 เมษายน 2558 14:28:49 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.422 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 09 เมษายน 2567 00:03:09