[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 พฤษภาคม 2567 06:28:57 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความสุขประเทศไทย : เติมสุขในบ้านด้วยการภาวนา  (อ่าน 915 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 45.0.0.11172 Chrome 45.0.0.11172


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2559 13:58:08 »



การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว

 

หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย

คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป

.

ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา

ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน

บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน

.

ถัดมาอีกหน่อย พ่อแม่เริ่มเห็นประโยชน์ของการภาวนา

หลายครอบครัวเริ่มส่งลูกไปเรียนภาวนา ส่วนพ่อแม่รออยู่ที่บ้าน

โดยไม่รู้ว่าลูกไปเจออะไร ทำอะไรมาบ้าง

.

คนในครอบครัวต่างเรียนรู้การภาวนากันแบบแยกส่วน

จะดีกว่าไหม…ถ้าเราจะมาเรียนรู้การภาวนาพร้อมกัน

ให้ ‘การภาวนา’ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว

เยียวยาความขัดแย้ง เติมความสุขรินรดเข้าไปในหัวใจ



รู้จักการ ‘ภาวนาครอบครัว’

ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นช่วงวันหยุดยาวที่ครอบครัวจะได้ใช้โอกาสทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน มูลนิธิหมู่บ้านพลัมจะมีการจัดกิจกรรม ‘ภาวนาครอบครัว’ เพื่อให้สมาชิกครอบครัวทั้ง พ่อ แม่ ลูก และคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ได้มาเรียนรู้ ‘การภาวนา’ ร่วมกัน

กิจกรรมนี้เริ่มต้นที่ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพลัมได้มองเห็นว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ในครอบครัวเริ่มแตกกระจายเล็กลงไปเรื่อยๆ เมื่อลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น ครอบครัวก็จะเริ่มผลักลูกออกไปอยู่ห้องส่วนตัว บ้างก็ไปอยู่หอพัก สมาชิกครอบครัวแต่ละคนล้วนว้าเหว่ สำคัญที่สุดคือ เกือบทุกครอบครัวขาดความสามารถในการ ‘รับฟัง’ ซึ่งกันและกัน ดังนั้นหมู่บ้านพลัมจึงริเริ่มงานภาวนาครอบครัวขึ้น ใช้ ‘การภาวนา’ เป็นเครื่องมือให้ทุกคนได้ย้อนกลับมาเรียนรู้จักตัวเองและสมาชิกทุกคนในครอบครัว

“งานภาวนาครอบครัวจะมีช่วงเวลาที่พ่อแม่ได้เรียนรู้การภาวนาในแบบผู้ใหญ่ ส่วนเด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้การภาวนาในรูปแบบที่เหมาะกับเขาคือการเล่น แล้วก็มีบางช่วงที่ทุกคนในครอบครัวจะมาทำกิจกรรมรวมกัน ด้วยวิธีนี้ทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะได้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเดียวกัน ที่สำคัญคือเขาจะได้เห็นว่า จริงๆ แล้วการภาวนาว่าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวัน ไม่ยากและน่าเบื่ออย่างที่หลายคนเคยจินตนาการเอาไว้” คุณตุ้ง – สุภาพร พัฒนาศิริ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิหมู่บ้านพลัมเล่าถึงรูปแบบกิจกรรม‘ภาวนา’ เครื่องมือเยียวยาความสัมพันธ์



ช่วงเวลา 5 วันของการภาวนาครอบครัว ผู้คนหลายร้อยชีวิตวัยตั้งแต่ 6 ปี ไปจนถึง 70 – 80 ปี ล้วนมาเรียนรู้เรื่องการภาวนา ฝึกที่จะกลับมามีสติอยู่กับปัจจุบัน ความคิดที่เคยวิ่งเร็วจี๋อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเริ่มสงบนิ่ง โลกภายในของแต่ละคนเริ่มช้าลง หลายคนเริ่มมองเห็น รับรู้ เข้าใจตัวเองและคนในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

“เวลาภาวนาหลายเรื่องในสมองมันช้าลง มันจะเห็นอะไรชัดขึ้น ในงานภาวนาจะเห็นว่าคนในครอบครัวเราเขาเป็นเหมือนเดิมเลย แต่ตัวเราต่างหากจะเห็นเขาในแง่มุมที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าโลกข้างในเรามันช้าลง เราเริ่มรู้จักฟังคนอื่นมากขึ้น” คุณตุ้งอธิบายถึงผลที่เกิดจากภาวนากับครอบครัว

“ในงานภาวนาพ่อแม่หลายคนร้องไห้ เพราะเพิ่งรู้ว่าตลอดเวลาตัวเองไม่เคยฟังลูกเลย ลูกก็ร้องไห้เพราะไม่เคยรู้ว่าตลอดเวลาพ่อแม่รักเราขนาดไหน หลายคนเข้าใจเลยว่าที่พ่อแม่บ่นว่า ขี้โมโห จู้จี้จุกจิก นั่นเพราะเขารักและเป็นห่วงเรา พร้อมกันนั้นพ่อแม่หลายคนก็ได้รู้อีกว่า ที่เราลำบากทำงานส่งเงินให้ลูกตลอดมา จริงๆ ลูกเขาไม่ต้องการเท่าไร เขาต้องการเวลาที่จะอยู่ด้วยกันมากกว่า การภาวนามันช่วยทำให้เกิดมิติแบบนั้นขึ้นมา”



เรียนรู้การภาวนาด้วยความสุข

อย่างไรก็ตาม งานภาวนาครอบครัวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การฝึกภาวนา เมื่อกลับมาสู่ชีวิตจริง หากครอบครัวสามารถนำการภาวนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีิวิตประจำวัน นั่นจึงเป็นการสร้างความสุขและความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

“การภาวนาก็เหมือนกับการเรียน เราเรียนทฤษฎีในวัดหรือในคอร์สต่างๆ พอออกมาโลกภายนอก เราก็ต้องเอาสิ่งที่เรียนรู้มาประยุกต์ในชีวิตประจำวัน” คุณปุ้ม – สมจินตนา เปรมปราชญ์ อาสาสมัครหมู่บ้านพลัมกล่าว “อย่างตัวเองพอกลับมาก็เอาเรื่องหลักของ Beginning A New เอ่ยชมคนอื่นด้วยความจริงใจมาใช้กับสามี กับเพื่อนที่ทำงาน มันก็ดีขึ้นนะ เราเองรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนชมคนอื่นยากมาก เดี๋ยวนี้ง่ายขึ้น ความสัมพันธ์กับสามีกับคนรอบข้างก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น”

สำหรับผู้ที่สนใจอยากนำการภาวนามาใช้กับครอบครัว หากไม่สามารถไปร่วมงานภาวนาครอบครัวกับหมู่บ้านพลัมได้ คุณตุ้งแนะนำว่าควรเริ่มลองฝึกภาวนาด้วยตนเองก่อน ค่อยๆ เริ่มฝึกทีละน้อย แล้วถามตัวเองว่ามีความสุขไหม? ถ้ามีความสุขให้พากเพียรฝึกต่อไป ไม่ช้าไม่นานจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หลังจากนั้นคนในครอบครัวจะเริ่มเห็น แล้วจากนั้นก็จะค่อยๆ หันมาฝึกภาวนาด้วยกันโดยไม่ยากเลย



“สิ่งสำคัญของการภาวนาคือต้องทำด้วยความสุข ถ้าทำแบบไม่มีความสุข จะเป็นเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่าเขานั่งสมาธิทุกวัน แต่พอออกจากนั่งสมาธิก็เป็นเหมือนเดิม โมโหร้าย หงุดหงิดตลอดเวลา อันนั้นก็ไม่ใช่แล้ว” คุณตุ้งอธิบาย

“แต่มันต้องใช้เวลานะ มันบอกไม่ได้หรอกว่าจะใช้เวลาแค่ไหน” คุณปุ้มเสริม “มันอาจจะ 1 เดือนหรือ 1 ปี การภาวนาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึก ไม่ใช่เรียนรู้ปุ๊บทำได้ปั๊บ ความสุขจากการภาวนามันจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วมันจะส่งผลเปลี่ยนแปลง เราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว”

วันนี้เราอาจต้องลองเปลี่ยนความคิดใหม่ บางทีความสุขของครอบครัวอาจไม่ได้อยู่ที่การทำงานหาเงินมากๆ เพื่อจะพาครอบครัวไปทานอาหารร้านหรูๆ ช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม หรือออกเดินทางท่องเที่ยวด้วยกันไกลจนสุดขอบโลก เพราะแท้จริงแล้ว เพียงแค่เราหันกลับมาสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้กับครอบครัว ลองย้อนกลับมาเรียนรู้โลกภายในตัวเรา รู้จักที่จะเปิดใจรับฟังกันและกันอย่างแท้จริง บางทีความสุขของครอบครัวคงง่ายและใกล้ตัวเรามากกว่านัก

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: มูลนิธิหมู่บ้านพลัม

ผู้ที่สนใจฝึกการภาวนากับหมู่บ้านพลัม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.thaiplumvillage.org

จาก http://www.happinessisthailand.com/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ความสุขประเทศไทย : ความสุขจากการภาวนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 907 กระทู้ล่าสุด 10 กรกฎาคม 2559 14:10:53
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.426 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กุมภาพันธ์ 2567 23:36:42