[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
23 พฤษภาคม 2567 05:20:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุอภิมหาโจร ต้นเหตุแห่งบัญญัติห้ามอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน (ปราชิก 4)  (อ่าน 2997 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 36.0.1985.143 Chrome 36.0.1985.143


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 สิงหาคม 2557 23:04:42 »



ภิกษุอภิมหาโจร สันดานกาสืบมาแต่ ''พุทธกาล''




ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าประทับจำพรรษาอยู่ ณ ป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี ขณะนั้นฝนฟ้าเกิดอาเพศ
ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำนาทำไร่ไม่ได้ผล บังเกิดทุพภิกขภัยไปทั่ว ชาวบ้านอดอยากยากจนไม่มีข้าวปลาอาหารกิน
ไม่มีใส่บาตรถวายพระ

ขณะนั้นมีภิกษุกลุ่มหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เมื่อเห็นว่าชาวบ้านไม่ใส่บาตรเกิดความอดอยากหนักเข้า
ก็คิดหาอุบายหลอกลวงชาวบ้านเพื่อจะได้ข้าวปลาอาหารมาฉันกันเหมือนเดิม จึงได้ประชุมปรึกษาหารือ
ในที่สุดตกลงกันว่าจะต้องใช้อุบายอวดอ้างคุณวิเศษว่าเป็นผู้สำเร็จวิชชา ๓ ประการ อภิญญา ๖ สามารถสำแดงอิทธิฤทธิ์
อภินิหารให้รู้ว่าเป็นผู้วิเศษ ทำทีพูดจายกย่องกันเองให้ชาวบ้านฟังว่า พระรูปนี้ได้ฌานที่ ๑ พระรูปนั้นได้ฌานที่ ๒
พระรูปโน้นบรรลุโสดาบัน พระอาจารย์องค์นั้นเป็นพระอนาคามี พระอาจารย์องค์นี้เป็นพระอรหันต์ จนชาวบ้านพากันหลงเชื่อ
ว่าเป็นผู้วิเศษจริง เกรงว่าภิกษุผู้วิเศษจะอดอยากปากแห้ง จึงดิ้นรนหาข้าวปลาอาหารมาใส่บาตรเลี้ยงดูภิกษุเหล่านั้นทุกวัน
จนอิ่มหนำสำราญอ้วนท้วนผ่องใส

ครั้นเมื่อออกพรรษา ภิกษุเหล่านั้นต่างเก็บข้าวของเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวันใกล้เมืองเวสาลี
ปรากฏว่าบรรดาภิกษุอื่นที่เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าล้วนแต่มีรูปกายผ่ายผอมซูบซีดอิดโรยเพราะอดอยากกันมาตลอดพรรษา
คงมีแต่ภิกษุกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีผิวพรรณผ่องใสอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี พระพุทธเจ้าทรงมีความสงสัย ตรัสซักไซ้ไล่เลียงจึงรู้ว่า
ภิกษุเหล่านั้นได้ใช้อุบายอวดวิเศษหลอกลวงชาวบ้าน พระองค์จึงทรงตรัสเรียกประชุมสงฆ์ เทศนาธรรม
แล้วทรงมีพุทธบรรหาร บัญญัติเรื่อง “ภิกษุมหาโจร ๕ ประเภท” คือ

อ้างถึง

โจรที่รวมพวกกันได้นับร้อยนับพัน ยกพลบุกเข้าปล้นบ้านเผาเมืองฆ่าฟันผู้คน แย่งชิงปล้นเอาทรัพย์สินของเขามาเป็นของตนเอง
เทียบได้กับภิกษุลามกรวบรวมบริวารแวดล้อมได้เป็นร้อยเป็นพัน ทำทีจาริกเข้าไปในหมู่บ้าน นิคม เมืองใหญ่
ใช้กลอุบายหลอกลวงให้ชาวบ้านหลงเชื่อเคารพบูชา เพื่อให้ตนได้มาซึ่งลาภสักการ จนร่ำรวยด้วยปัจจัย ๔
ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๑”

ภิกษุลามกบางรูปที่ได้เล่าเรียนพระธรรมวินัยอันล้ำลึก ซึ่งพระตถาคตผู้ทรงตรัสรู้อริยสัจได้ประกาศแล้ว กลับฉ้อฉลอ้างว่า
รู้มาด้วยตนเอง คิดขึ้นมาได้เอง ไม่ได้เล่าเรียนมาจากใคร ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๒”

ภิกษุลามกบางรูปที่ปั้นเรื่องเท็จใส่ความเพื่อนพรหมจรรย์ผู้บริสุทธิ์ให้ได้รับความเสียหาย กล่าวหาโดยปราศจากมูลความจริง
ก่อให้เกิดความแตกแยกในหมู่สงฆ์ ภิกษุลามกอย่างนี้จัดเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๓”

ภิกษุลามกบางรูปอยากได้ลาภยศสักการจากคฤหัสถ์ เบียดบังเอาครุภัณฑ์ ครุบริขาร เครื่องใช้ไม้สอยของวัด ที่ดินพัสดุของสงฆ์
นำไปยกให้แก่คฤหัสถ์ ประจบประแจงเอาใจ ภิกษุเหล่านี้ถือว่าเป็น “มหาโจรประเภทที่ ๔

ภิกษุลามกพวกสุดท้ายที่จัดเป็น “มหาโจรชั้นเลิศ” ทั้งในโลกมนุษย์ มารโลก และพรหมโลก คือภิกษุที่อวดตนว่ามีวิชาความรู้วิเศษ
ทั้งๆ ที่ตนเองรู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริง ไม่สามารถทำให้วิเศษขึ้นได้จริงตามที่อวดอ้าง แต่เมื่อให้ได้มาซึ่งความเคารพนับถือ
กราบไหว้บูชา ได้มาซึ่งลาภสักการ อันเป็นการกระทำด้วยอุบายหลอกลวงเหมือนดังนายพรานผู้วางเหยื่อดักสัตว์
เพื่อจับกินเป็นอาหาร แม้ผู้นั้นห่อหุ้มคลุมกายด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ก็ได้ชื่อว่าบริโภคก้อนข้าวของชาวบ้านในแบบลักขโมย
ด้วยการเนรคุณ ภิกษุลามกทุศีล “อวดอุตริมนุสสธรรม” เช่นนี้ถือว่าเป็น “ภิกษุอภิมหาโจรชั้นเลิศ” ประเภทที่ ๕



ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงตรัสตำหนิติเตียนเหล่าภิกษุที่จำพรรษาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ด้วยประการต่างๆ
พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท “อจินไตย ๔ ประการ” เพิ่มเติม ทรงมีพุทธฎีกาห้ามไม่ให้ภิกษุทั้งหลาย
อวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตน แต่ได้อวดวิเศษไปหลอกลวงคนอื่นไปแล้ว แม้ว่าจะมาสารภาพผิดในภายหลัง
ก็ถือว่าเป็นอาบัติปราชิก “จตุตถปราชิก” อันเป็นกรรมหนัก


ดังนั้นภิกษุรูปใดที่ “อวดอุตริมนุสธรรม” มีความผิดอาบัติปราชิกข้อที่ ๔ จึงเป็นครุกรรม ขาดจากความเป็นภิกษุไปในทันที
แม้จะไม่มีใครรู้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครกล่าวโทษฟ้องร้องก็ตาม เมื่อถูกสึกจากภิกษุไปแล้ว จะกลับมาบวชใหม่อีกไม่ได้


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 26 มีนาคม 2567 08:39:24