[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 04:01:41



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - 'ก้าวไกล' วิพากษ์รายงาน กมธ.แลนด์บริดจ์ ชี้ข้อความย้อนแย้งกันเอง สะท้อนยังศ
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 04:01:41
'ก้าวไกล' วิพากษ์รายงาน กมธ.แลนด์บริดจ์ ชี้ข้อความย้อนแย้งกันเอง สะท้อนยังศึกษาไม่ละเอียด-ไม่ชัดเจน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-16 02:14</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สส.ก้าวไกลร่วมวิพากษ์รายงาน กมธ.แลนด์บริดจ์ 'สุรเชษฐ์' ชี้ข้อความในรายงานขัดแย้ง-ย้อนแย้งกันเอง สะท้อนยังศึกษาไม่ละเอียด-ไม่ชัดเจน ด้าน 'พิธา' ยกทางเลือกพัฒนาภาคใต้ที่คุ้มกว่า ใช้ 4.8 แสนล้านยกระดับชลประทาน-การศึกษา-สุขภาพ-พลังงานสะอาด-ราคาสินค้าเกษตรทั้งภาคใต้ได้ </p>
<p>15 ก.พ. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการประชุมสำคัญเกี่ยวกับรายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน หรือโครงการ “แลนด์บริดจ์” ซึ่ง สส.พรรคก้าวไกลได้ร่วมอภิปรายรายงานดังกล่าวในหลายประเด็นด้วยกัน</p>
<p>สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ร่วมอภิปรายโดยชี้ให้เห็นถึงความย้อนแย้งและไม่ชัดเจน 7 ประการในรายงานการศึกษาจำนวน 89 หน้าของคณะกรรมาธิการฯ ได้แก่</p>
<p>1) บทสรุปผู้บริหารในย่อหน้าสุดท้าย ที่สรุปข้อความสําคัญไว้ว่า “หากรัฐบาลสามารถตอบคําถามเหล่านี้ได้ชัดเจน และพิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการอย่างรอบคอบแล้ว อาจจะทําให้โครงการแลนด์บริดจ์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น”  กล่าวคือ ในรายงานยังระบุเองว่ามีหลายคําถามที่ไม่ได้รับคำตอบชัดเจน ตนจึงไม่แปลกใจว่าทําไมในรายงานถึงเขียนส่วนต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน แต่ที่ชัดเจนคือมีกรรมาธิการ 5 รายในสัดส่วนของพรรคก้าวไกลลาออกไป เพราะการเร่งปิดจบรายงานฉบับนี้ ทั้งที่ยังตอบคำถามต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน</p>
<p>2) บทสรุปผู้บริหาร หน้า ฉ. ข้อ 2 และ 4 มีความย้อนแย้งกันเอง กล่าวคือ ข้อ 2 เขียนไว้ว่า “อาจจะสามารถลดเวลาและระยะทางการขนส่งจากเดิมที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ทําให้ประหยัดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม” แต่ข้อ 4 กลับเขียนไว้ว่า “เพราะสามารถลดเวลาในการเดินทางจากเส้นทางเดิม และประหยัดค่าใช้จ่ายได้” สรุปแล้วแค่ “อาจจะสามารถ” หรือ “ลดเวลาและค่าใช้จ่ายได้จริง” นี่คือแก่นกลางความเป็นไปได้ของโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ต้องตอบให้ชัดว่าลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายได้เท่าใด เพราะจะส่งผลต่อการประมาณการในหลากหลายมิติ</p>
<p>3) บทสรุปผู้บริหาร หน้า ฉ. ต้นหน้าระบุว่าจะให้สิทธิเอกชน 50 ปี แต่ท้ายหน้ากลับระบุว่ามีระยะเวลาคืนทุน 24 ปี ความไม่ชัดเจนคือเหตุใดจึงมีช่องว่างระหว่าง 24 และ 50 ปีที่ต่างกันมากขนาดนี้ หรือมีความชัดเจนอยู่แล้วว่าอยากขายดินแดน 50 ปี ทั้งที่ความชัดเจนของโครงการยังไม่มี</p>
<p>“จะยกที่ดินให้กี่ไร่ มีสินค้าเทกองหรือไม่ มีท่อส่งน้ำมันหรือไม่ มีโรงกลั่นหรือไม่ อะไร ๆ ก็ไม่ชัดเจน แต่ตั้งเป้าประเคนให้ 50 ปีไปก่อน แล้วค่อยมาต่อรองกันว่าประเทศไทยจะต้องเอาอะไรไปแลกบ้างอย่างนั้นหรือ” สุรเชษฐ์กล่าว</p>
<p>4) บทสรุปผู้บริหาร หน้า ช. มีการระบุไว้ว่า “จําเป็นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการดําเนินการที่เป็นไปตามกฎหมาย” คำถามก็คือร่าง พ.ร.บ. นี้อยู่ที่ไหนในรายงานฉบับนี้ สภาฯ แห่งนี้มีมติให้คณะกรรมาธิการฯ ไปศึกษา โดยผลการศึกษาระบุว่าก็ให้คนอื่นไปศึกษาต่ออย่างนั้นหรือ หากคณะกรรมาธิการฯ ต้องการเวลาเพิ่ม สภาฯ แห่งนี้ก็เพิ่มให้ได้ แต่เราก็ต้องการความชัดเจนว่าร่าง พ.ร.บ. จะมีเนื้อหาลักษณะใด ต่างจาก พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างไร</p>
<p>5) บทสรุปผู้บริหาร หน้า ช. ย่อหน้าที่ 2 ระบุไว้ว่า “ส่วนความคิดเห็นของเอกชนเกี่ยวกับการเดินเรือและการขนส่งสินค้านั้น ยังมีความกังวลกับความชัดเจนของโครงการ” บ่งบอกว่าคณะกรรมาธิการฯ เองก็รู้ว่าเอกชนมีความกังวลกับความชัดเจนของโครงการ แล้วทําไมคณะกรรมาธิการฯ ถึงไม่ทําให้ชัดเจน</p>
<p>ตนเข้าใจดีว่าการศึกษานี้ เนื้อหาสาระหลักสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ไปจ้างที่ปรึกษามาทํา ซึ่งการจ้างที่ปรึกษาก็ยังไม่จบงาน ยังมีความไม่ชัดเจนในหลายประเด็น แล้วเหตุใดคณะกรรมาธิการฯ จึงไม่รอให้เกิดความชัดเจนในโครงการก่อน ทําไมถึงเขียนรายงานแบบไม่ชัดเจนด้วยการคัดลอก-วางผลการศึกษาที่ยังหาความชัดเจนไม่ได้แบบนี้</p>
<p>6) บทสรุปผู้บริหาร หน้า ซ. ย่อหน้าสุดท้าย ระบุว่า “โครงการแลนด์บริดจ์เป็นเครื่องมือหรือตัวนําที่เป็นแม่เหล็กที่จะดึงดูดการลงทุน” แต่คำถามสำคัญว่าจะลดเวลาและค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่และอย่างไรก็ยังไม่มีความชัดเจน แม้แต่สายการเดินเรือยังบอกมาเองแล้วว่าไม่ได้ลด</p>
<p>7) ในหน้าที่ 79 ข้อเสนอแนะที่ 1 ระบุว่า “สนข. ควรกําหนดรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการดําเนินโครงการแลนด์บริดจ์ให้ชัดเจน” ซึ่งตนก็เห็นตรงกันกับคณะกรรมาธิการฯ ว่าโครงการยังไม่ชัดเจน</p>
<p>สุรเชษฐ์กล่าวสรุปว่า จาก 7 ตัวอย่างที่ตนหยิบยกมาก็น่าเพียงพอแล้ว ที่จะเป็นเหตุผลให้ตนไม่รับร่างรายงานฉบับนี้ อีกทั้งปัจจุบันรายงานฉบับหลักที่ สนข. จ้างที่ปรึกษาก็ยังไม่ทำไม่เสร็จ จึงเป็นความน่ากังวลว่าจะมีการใช้มติสภาฯ ไปฟอกขาวให้กับอภิมหาโครงการร่วมทุนที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีประเทศไทยมา ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งที่ทุกอย่างยังไม่มีความชัดเจน</p>
<p>ในมุมกลับกัน หากรีบปิดจบแล้วผ่านรายงานผลการศึกษาฉบับนี้ ถ้าสุดท้ายผลการศึกษาของ สนข. ออกมาแล้วไม่กระจ่างพอ แล้วฝ่ายค้านขอตั้งคณะกรรมาธิการชุดใหม่เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ เดี๋ยวก็จะมาหาว่าเคยศึกษาไปแล้วอีก ไม่ยอมให้ตั้งอีก</p>
<p>“เอากลับไปเถอะครับ โครงการขนาดใหญ่แบบนี้อย่าใช้จินตนาการอย่างเดียวแล้วเอาเสียงข้างมากลากไปเรื่อย มันไม่สมควร มันต้องฟังเหตุผลกันบ้าง คําถามพื้นฐานของเรื่องแลนด์บริดจ์นี้คือเวลาและค่าใช้จ่ายของสายการเดินเรือ ซึ่งเป็นลูกค้าหลักที่จะมาใช้เส้นทางแลนด์บริดจ์ หากพิสูจน์ไม่ได้ว่าแลนด์บริดจ์จะก่อให้เกิดการลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายได้จริงอย่างมีนัยสําคัญ มันก็คือฝันค้าง แล้วหากท่านยังดื้อดึงเดินต่อทั้งที่ยังไม่ชัดเจนในประเด็นสําคัญ ก็อาจค้างเป็นค่าโง่ อาจค้างเป็นภัยต่อความมั่นคงในสงครามภูมิรัฐศาสตร์ และที่แน่ ๆ จะเป็นภัยค้างต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่จะโดนเวนคืน ดังที่เคยเกิดมาแล้วในแนวแลนด์บริดจ์เดิมเส้นกระบี่-ขนอม” สุรเชษฐ์กล่าว</p>
<p>สุรเชษฐ์กล่าวปิดท้ายว่า ในส่วนของการประเมินความคุ้มค่า ทั้ง EIRR และ FIRR ที่ลอกวางมาจากรายงาน สนข. ก็ไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ซึ่งคงต้องไปพิจารณากันอีกยาวว่ากะเก็งอะไรกันไว้บ้าง น่าเชื่อถือแค่ไหน กําไรจากบริการเติมน้ํามันสูงแบบไร้ความเป็นไปได้หรือไม่ รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ 50 ปีสูงเกินจริงหรือไม่ ฯลฯ ทุกอย่างยังมีความไม่ชัดเจนทั้งสิ้น ตนและพรรคก้าวไกลจึงขอไม่รับร่างรายงานฉบับนี้ เอาไว้ให้รัฐบาลมีเนื้อหาที่ชัดเจนเพียงพอก่อน แล้วค่อยมาพิจารณากันอีกครั้งว่าโครงการนี้ “ควรทํา หรือไม่ควรทำ” ไม่ใช่แค่ “อยากได้ หรือไม่อยากได้”</p>
<p>ขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ร่วมอภิปรายว่า ตนพบความไม่ชัดเจนหลายประการในรายงานฉบับนี้ โดยเฉพาะ 3 คำถามสำคัญที่รายงานยังไม่ได้ตอบเกี่ยวกับโครงการแลนด์บริดจ์ ได้แก่</p>
<p>คำถามข้อที่ 1 ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการลงทุนโครงการ 1 ล้านล้านบาทนี้แล้วใช่หรือไม่ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนภาคใต้ และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถึงแม้บางท่านอาจจะบอกว่าโครงการนี้เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) แต่เม็ดเงิน 1 ล้านล้านบาท ถ้าเอาจิตใจและความคิดของคนภาคใต้มาคิดว่าเขาต้องการอะไร อะไรคือวิสัยทัศน์ของเขา อะไรคือปัญหาของเขา เราจะสามารถดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนแบบ PPP และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนภาคใต้ได้จริง</p>
<p>ตนขอยกตัวอย่างแค่ 4-5 ตัวอย่าง เช่น เป็นไปได้หรือไม่ที่ภาคใต้จะลงทุนเป็นแหล่งผลิตพลังงานสะอาด และเชื่อมต่อกับมาเลเซียและสิงคโปร์ได้ ในอนาคตหากมาเลเซียและสิงคโปร์ต้องการจะลงทุนในระบบคลาวด์เซ็นเตอร์ ต้องการจะลงทุนในกิจการต่าง ๆ ที่ต้องใช้พลังงานสะอาด ภาคใต้ของเราก็มีให้ หรือจะคิดวางแผนเรื่องชลประทานให้กับพี่น้องภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่การเกษตรกว่า 24 ล้านไร่ แต่มีพื้นที่ชลประทานแค่ 3 ล้านไร่เท่านั้น หรือจะเป็นเรื่องการศึกษา และเรื่องสุขภาพ</p>
<p>“เหตุใดเวลาเราคุยเรื่องโครงการขนาดใหญ่ ต้องมีแต่เรื่องการก่อสร้างถนนหนทาง ท่าเรือ รถไฟ ทำไมไม่คิดถึงการทำให้พี่น้องภาคใต้ได้รับการศึกษาที่ดี มีสุขภาพที่ดี ทำไมไม่คิดถึงการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร ยาง ปาล์ม ผลไม้บ้าง” พิธากล่าว</p>
<p>พิธากล่าวต่อไปว่า 4-5 ตัวอย่างทางเลือกการพัฒนาที่ตนยกไปข้างต้น ใช้งบประมาณรวม 4.8 แสนล้านบาท หรือแค่ครึ่งหนึ่งของโครงการแลนด์บริดจ์ ส่วนเงินที่เหลือจะนำไปแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี หรือยะลาด้วยก็ยังได้ แล้วยังสามารถทำโครงการแบบ PPP ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ทำให้ต่างชาติมองเห็นว่าสิ่งที่เขาจะได้ประโยชน์จากการลงทุนให้กับประชาชนในภาคใต้คืออะไรบ้าง ผ่านการลดความเหลื่อมล้ำและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ</p>
<p>“ผมคิดว่าตรงนี้เราแสดงให้พี่น้องประชาชนเห็นได้ว่า ออปชั่นในการพัฒนาภาคใต้มีอะไรบ้าง และกลไกเงื่อนไขอะไรที่ทำให้รัฐบาลเลือกลงทุนแลนด์บริดจ์ที่ใช้งบประมาณมากขนาดนี้ ใช้เวลามากขนาดนี้ อันนี้คือคำถามสำคัญข้อที่หนึ่งที่เราต้องตอบให้ได้ ว่านี่คือการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดของภาคใต้ และไม่มีทางอื่นให้เราเลือกแล้วจริงหรือ” พิธากล่าว</p>
<p>คำถามข้อที่ 2 การจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นั้น จะดำเนินการอย่างไร นี่คือการวิเคราะห์ต้นทุนและผลพลอยได้ (cost-benefit analysis) ที่ควรจะรวมอยู่ในรายงานฉบับนี้ เพราะเมื่อมีสิ่งได้ก็ต้องมีสิ่งที่จะเสียไปเช่นกัน เช่น พื้นที่ก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์อยู่ในพื้นที่มรดกโลก 6 แห่ง จะเกิดความเสียหายต่อพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารที่เต็มไปด้วยศักยภาพทั้งทางทะเลและทางบกหรือไม่ การเวนคืนที่ดินที่เป็นสวนทุเรียนและสวนผลไม้ที่มีมูลค่าสูงหลายหมื่นไร่ เรื่องของการกัดเซาะชายฝั่ง น้ำมันรั่วที่เคยเกิดขึ้นที่จังหวัดระยองในพื้นที่ EEC หรือการสูญเสียพื้นที่ประมง</p>
<p>ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือต้นทุนที่เราต้องจ่าย ถ้าเอามารวมกันตรงนี้จะคิดเป็นมูลค่าเท่าใดที่เมื่อเสียไปแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้อีก เราจะให้เอกชนเป็นคนดูแลเรื่องสัมปทาน แต่ก็ต้องตั้งคำถามสำคัญว่า จะมีกลไกอะไรรับประกันความเป็นอยู่และความเป็นธรรมของชีวิตคนและสิ่งแวดล้อมที่ต้องเสียไป</p>
<p>และคำถามข้อที่ 3 วิสัยทัศน์ในการพัฒนาภาคใต้ของรัฐบาลคืออะไร จะเน้นการพัฒนาศูนย์กลางท่าเรือ หรือจะเน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงามในฐานะไข่มุกอันดามัน พื้นที่การก่อสร้างแลนด์บริดจ์มีมูลค่าการท่องเที่ยวต่อปีสูงถึง 7 แสนล้านบาท หรือ 30% ของมูลค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งหมด หากประเมินว่ามีโครงการแลนด์บริดจ์แล้วเกิดความเสียหายต่อแหล่งท่องเที่ยวไปแค่ 10% คูณด้วย 50 ปี นั่นคือมูลค่าและโอกาสที่เราต้องเสียไปกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลต้องวางสมดุลและแสดงวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน เลือกเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนในอีก 50 ปีข้างหน้า </p>
<p>พิธากล่าวทิ้งท้ายว่า หากเอาใจเขามาใส่ใจเรา มองด้วยมุมของเอกชน พวกเขาย่อมต้องการคำตอบแบบสามัญสำนึกที่สุด ว่าหากมาใช้โครงการแลนด์บริดจ์แล้วจะ “เร็วกว่า” “สะดวกกว่า” และ “ถูกกว่า” หรือไม่ แต่จากรายงานของคณะกรรมาธิการฯ บอกแค่เพียงว่า “อาจจะลดเวลา” เมื่อไม่มีรายละเอียดเช่นนี้ ก็ไม่สามารถที่จะอนุมานได้ว่าเส้นทางจากแลนด์บริดจ์จะเร็วกว่าและสะดวกกว่าจริงหรือไม่ ถ้าจะต้องมีเรือมารอทั้งสองฝั่ง ย้ายสินค้าจากเรือเป็นราง เป็นรถ แล้วกลับไปเป็นเรืออีกทีหนึ่ง เรือก็ต้องมาจอดรอทั้งสองฝั่ง ถ้าสินค้าเสียหายใครจะรับผิดชอบ</p>
<p>เป็นเรื่องที่ชัดเจนมากว่าสมมติฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์เรื่องนี้ถูกตั้งคำถามจากทางภาคเอกชนมากมาย ในรายงานตั้งแต่หน้า 52-57 รวมทั้งหมด 25 ข้อที่ยังไม่มีคำตอบ เพราะฉะนั้น ถ้าทั้งคณะกรรมาธิการฯ และรัฐบาลไม่สามารถตอบ 3 คำถามสำคัญของตน รวมถึงคำถามต่าง ๆ ที่อยู่ในรายงานฉบับนี้ได้ ตนก็ไม่สามารถที่จะรับรายงานฉบับนี้ได้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">เศรษฐกิจ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิ่งแวดล้อม[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">แลนด์บริดจ์[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">พิธา ลิ้มเจริญรัตน์[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/02/108085