[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 พฤษภาคม 2567 19:45:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตระการตา วัดรุมเต็ก ( RUMTEX ) วัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม  (อ่าน 1434 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.271 Chrome 50.0.2661.271


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 29 กรกฎาคม 2559 02:31:51 »









<a href="https://www.youtube.com/v/59tDFPoL0sk" target="_blank">https://www.youtube.com/v/59tDFPoL0sk</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/cyWrtmbQIDY" target="_blank">https://www.youtube.com/v/cyWrtmbQIDY</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/coXhul1wBpA" target="_blank">https://www.youtube.com/v/coXhul1wBpA</a>

เพิ่มเติม https://www.youtube.com/watch?v=cyWrtmbQIDY&list=PL60wU9P44yvTHFd_pfBkZH_Rejb0tEjTS

• วัดรุมเต็ก ศูนย์ธรรมจักรสิกขิม

• วัดรุมเต็ก (Rumtek Monastery) หรือ ศูนย์ธรรมจักร (Dharmachakra Centre) เป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นวัดศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง 1,550 เมตร ห่างจากกังต็อก 24 กิโลเมตร

• ประวัติวัดรุมเต็ก

• วัดรุมเต็ก เดิมเคยเป็นวัดหลักของนิกายกากยู (Kagyu) สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดย การ์มาปา วังชุก ดอร์เจ ที่ 9 สำหรับใช้เป็นสถานที่พำนักอาศัยของผู้สืบเชื้อสาย Karma ในสิกขิม เมื่อตัววัดถูกทำลายลง พื้นที่จึงปล่อยทิ้งร้างไป จวบจนกระทั่งพระสังฆราชการ์มาปาที่ 16 ซึ่งเป็นชาวทิเบต ได้ลี้ภัยมายังสิกขิมในปี ค.ศ. 1959 เนื่องจากกองทัพจีนบุกไปยึดทิเบต
• พระองค์จึงตัดสินใจสร้างวัดรุมเต็กขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อใช้เป็นที่พำนักในการลี้ภัยจากกองทัพจีน โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชวงศ์ของสิกขิมและรัฐบาลอินเดีย ส่วนที่พระองค์เลือกบริเวณนี้ ก็เพราะสถานที่นี้มีลักษณะภูมิประเทศที่ดี เช่น มีลำธาร มีภูเขาอยู่ด้านหลัง มีภูเขาหิมะอยู่ด้านหน้า และมีแม่น้ำอยู่ด้านล่างนั่นเอง
• หลังจากใช้เวลานานถึง 4 ปี การก่อสร้างวัดรุมเต็กก็เสร็จสิ้น โดยถือเป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุดที่ก่อสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของทิเบตเลยทีเดียว (ปัจจุบันเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม) หลังจากนั้นไม่นาน พระสังฆราช การ์มาปาที่ 16 ก็ได้สถาปนาวัดนี้เป็น “ศูนย์ธรรมจักร” (The Dharmachakra Center) เพื่อฝึกฝนและปฏิบัติตนของชาวพุทธรวมทั้งเผยแพร่ศาสนาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
• มีการขนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระธาตุพระพุทธเจ้ามาจากวัด Tsurphu ใน ทิเบตมาประดิษฐานที่นี่ ในวันปีใหม่ของทิเบตในปี 1966 มีการสถาปนาวัดนี้ให้เป็นศูนย์กลางธรรมจักร ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดของสิกขิม

• วัดรุมเต็กมีทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ Main Temple, The Golden Stupa, Benefits of Veneeration และ The Stupa Walkway (Koral)

• วิหารวัดรุมเต็ก (Main Temple) : ด้านในจะมีห้องบูชาที่ตกแต่งอย่างประณีต อีกทั้งยังมีธงผ้าไหม ผ้าทังก้า ภาพวาดทางศาสนา ต้นฉบับเกี่ยวกับคำสั่งสอนของศาสนา (Kangyur) ที่แปลจากภาษาสันสกฤต มาเป็นภาษาทิเบต และคำอธิบายเกี่ยวกับศีล (Tengyur) ทั้งหมด 255 เล่ม รวมถึงพระพุทธรูปสูง 10 ฟุต ที่ขนาบข้างไปด้วยพระสารีบุตรและพระโมคลัลลา อันเป็นพระอัครสาวกองค์สำคัญของพระพุทธเจ้า และบังลังก์ศักดิ์สิทธิ์ของ “เกลวา การ์มาปา” สำหรับให้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินหรือพระลามะผู้มีบุญนั่งด้วย
• สถูปทอง (Golden Stupa) : สถูปแห่งนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุล้ำค่าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากร่างของพระสังฆราช “เกลวา การ์มาปา ที่ 16” ปกติจะใช้ประกอบพิธีบูชาผู้สืบเชื้อสายมาจากพระสังฆราชของพวกเขา ซึ่งเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 (ห้ามถ่ายรูป)
• แท่งหินสลักคำสอนของพระพุทธเจ้า (Benefits of Veneration) : เป็นแท่งหินสลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ตรงกลางลานวัด
• เส้นทางแสวงบุญวัดรุมเต็ก (The Stupa Walkway) : เป็นเส้นทางแสวงบุญที่อยู่ด้านหลังกำแพงวัดรุมเต็ก ซึ่งจะมีสถูปสูง 35 ฟุต ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อเป็นการขจัดอุปสรรคในการกลับมาเกิดใหม่ของพระสังฆราชการ์มาปาที่ 16 ภายในมีต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือในสมัยโบราณและรูปสลักด้านหน้าของเทวดา Raksha Todtreng อยู่ ทั้งนี้ระหว่างทางก็จะธง 5 สี แขวนเรียงราย เพื่อสวดอ้อนวอนให้เกิดสันติภาพในโลก ความโชคดี ความเจริญ และ อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เสียชีวิต

• สัญลักษณ์กงจักรและกวางสีทอง : ตามตำนานเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ขณะที่พระองค์กำลังนั่งสมาธิอยู่นั้น พระพรหมและพระอินทร์ก็ได้เสด็จลงมาหาพระพุทธเจ้า เพื่อให้พระพุทธเจ้าสอนธรรมะให้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าจะหมุนวงล้อแห่งธรรมนี้ 3 ครั้ง ทว่าในเวลานั้นเอง ก็ได้มีกวาง 2 ตัว ปรากฎตัวขึ้นที่ป่าใกล้ๆ และจ้องมองมาที่วงล้อมนั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการหมุนกงล้อแห่งธรรมในครั้งแรก จึงได้มีการสร้างวงล้อแห่งธรรมและกวาง 1 คู่อยู่บนหลังคาวัดทุกๆ วัด โดยกงล้อจะเป็นสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนกวางก็แทนพระพรหมและพระอินทร์ซึ่งเป็นผู้เรียนรู้ ทั้งนี้การตั้งท่าของกวางจะหมายถึง การรับฟัง ส่วนการจ้องมองจะหมายถึง การแสดงความสนใจในธรรมะ

จาก http://www.oceansmile.com/India/SikkimWatrumtek.htm





วัดรุมเต็ก (Rumtek)  สิกขิม อินเดีย


เป็นวัดศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในสิกขิม ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง 1,550 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตามตำนานเล่ากันว่าราวกลางศตวรรษที่ 17 ครั้งที่ พุนฌก นัมจ์เยล์ เดินทางจากเมืองกังต็อก ไปเมืองย็อกซั่ม เพื่อรับการสถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองแผ่นดิน ได้ผ่านหุบเขารานิปูล และหยุดแวะพัก ณ บริเวณยอดเขาแห่งนี้ ต่อมาประมาณต้นศตวรรษที่18 ในรัชสมัย จ์ยุร์เมต์ นัมจ์เยล์ (กษัตริย์รัชกาลที่ 4) ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทว่าประสบกับปัญหาชีวิตสมรสส่วนพระองค์ อีกทั้งแผ่นดินก็ถูกรุกรานอย่างหนักจากพวกเนปาลและภูฏาน ทำให้ยุวกษัตริย์ทรงเสด็จหลบไปทิเบตและได้รับการดูแลอย่างสมพระเกียรติจากพระลามะ วังซุก ดอร์เจ สังฆนายกองค์ที่ 9แห่ง การ์มา อันเป็นสายย่อยของฝ่าย-ฆาจ์ยุ ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนาตันตระ-วัชรยาน แบบทิเบต สายย่อยการ์มา วัดรุมเต็ก(เก่า)เริ่มแรกสร้างโดย การ์มาปาวังซุก ดอร์เจที่ 9 ในศตวรรษที่ 16 โดยได้รับอนุญาตจากกษัตริย์รัชกาลที่ 4เมื่อพระองค์ทรงเสด็จกลับคืนแผ่นดิน เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่องค์ปฐมกษัตริย์ แต่ถูกปล่อยปละละเลย อีกทั้งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวทำให้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก วัดรุมเต็กที่เห็นในปัจจุบันคือวัดรุมเต็กใหม่เป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1961 โดยท่าน รางจุง ธิงเปย์ ดอร์จี สังฆนายกองค์ที่ 16 แห่งสายย่อย-การ์มา ฝ่าย-ฆาจ์ยุ ซึ่งลี้ภัยมาจากทิเบตประสงค์จะสร้างวัดที่จำลองรูปลักษณ์ศิลปะแบบอย่างจากวัดเฌอพู เพื่อระลึกถึงดินแดนหลังคาโลกอันเป็นแผ่นดินมาตุภูมิ กษัตริย์ตาชิ นัมเกล จึงได้ถวายที่ดินเพื่อใช้ในการสร้างมีพื้นที่ทั้งหมด 74 เอเคอร์ ห่างจากตัวเมืองกังต๊อก 24 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนธรรมะ  ก่อนการสร้างมีการประกอบพิธีกรรมบูชาสถานที่ 1 เดือนเป็นแบบมัณฑละแผนภูมิศักดิ์สิทธิ์  ปี 1961 เริ่มก่อสร้าง  ปี 1962 การ์มาปาที่ 16 และกษัตริย์ช็อคเยล ปัลเดน ธอนดูป นัมเกล กษัตรยิ์รัชกาลที่ 12 เป็นผู้วางศิลากฤษ์ สร้างเสร็จปี 1966 และได้อัญเชิญวัชระมงกฏหมวกดำมาประดิษฐานไว้ที่นี่ แผนผังของวัดประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1. วิหารหลัก มี 4 ชั้น ตรงกลางลานหน้าวิหารหลักมีเสาศิลาตั้งอยู่คือเสาจารึกประวัติของวัดเขียนเป็นภาษาทิเบต โดยคยอลวา การ์มาปา พระประธานคือ พระศากยะมุนี บริเวณรอบๆองค์พระประธานประดิษฐานพระพุทธรูปองค์เล็กๆประมาณ 1000 องค์ ทำจากดินเหนียวฉาบด้วยทองคำ มีตู้เก็บ ฆาร์ยุร์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้าแปลจากภาษาสันกฤตเป็นภาษาทิเบต และเท็นยุร์หรือพระไตรปิฏก เครื่องบูชา ถวายแด่เทวดา ทำจากข้าวบาเลย์ แป้ง เนย และสีตกแต่งให้สวยงาม  



ส่วนที่ 2 สถูปทอง เป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุของกุรุผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขององค์ การ์มาปาที่ 16 พระองค์ประกอบพิธีกรรมเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 1982 สถูปถูกสร้างขึ้นภายในวัดบนชั้นบนของตึกเก่า สถูปสูง 13 ฟุต รอบองค์สถูปมีรูปเคารพของการ์มาปาที่ 1 – 16 และรูปเคารพของไตร สิทุ รินโปเช่ ผู้ช่วยคนสำคัญของกรรมปาที่ 16  ส่วนที่ 3 คือ แท่นหินสลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนที่ 4 คือเส้นทางแสวงบุญด้านหลังวัด   สายย่อย-การ์มา สถาปนาขึ้นราว ค.ศ. 1147 โดยท่าน ตุซุม เฆย์นปะ ค.ศ. 1110-1193 และปี ค.ศ. 1187 ได้สร้างวัดเฌอพู ห่างจากกรุงลาซา ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร ขึ้นเป็นศูนย์นำของสายย่อย-การ์มา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งที่ท่าน ตุซุม เฆย์นปะ บำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง เหล่าเทวี ฆันโดรม่า จำนวน 100,000 นาง ร่วมมือกันอุทิศเส้นผมถักทอเป็นมาลาวิเศษ วัชรมงกุฎ หรือ หมวกดำ ประดับทองคำ ที่คนสามัญธรรมดาไม่สามารถมองเห็นได้ ถวายแก่ปฐมสังฆนายกการ์มา ซึ่งกลายมาเป็น สัญลักษณ์สำคัญ และทำให้สายย่อย-การ์มา มีชื่อรู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่า นิกายหมวกดำ หมวกดำวิเศษใบนี้สืบทอดคล้ายเป็นมงกุฎประจำตำแหน่ง จ์เยล์วา การ์มาปะ สมณะศักดิ์สังฆนายกแห่งสายย่อย-การ์มา และท่าน รังจุง ริกเป ดอร์เจ (ค.ศ. 1921-1981)  จ์เยล์วา การ์มาปะ องค์ที่ 16 ได้นำติดตัวลี้ภัยออกมาจากทิเบตเมื่อปี ค.ศ. 1959 และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดรุมเต็ก กรรมปาองค์ปัจจุบันคือองค์ที่ 17 ท่านได้ลี้ภัยจากทิเบต มาประทับอยู่ที่เมืองธรรมศาลากับองค์ดาไลลามะ เมืองธรรมศาลาอยู่ห่างจากเมืองหลวงเดลลีประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง













จาก http://www.taraarryatravel.com/info_page.php?id=629&category=36

http://www.tairomdham.net/index.php?topic=11491.msg41442#msg41442

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.464 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 11 พฤษภาคม 2567 17:01:40