[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

นั่งเล่นหลังสวน => สุขใจ ร้านน้ำชา => ข้อความที่เริ่มโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 16:48:38



หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผู้เชี่ยวชาญ UN เรียกร้องยุติคดี ‘ทนายอานนท์’ และยกเลิกกฎหมายม.112
เริ่มหัวข้อโดย: สุขใจ ข่าวสด ที่ 26 มีนาคม 2567 16:48:38
ผู้เชี่ยวชาญ UN เรียกร้องยุติคดี ‘ทนายอานนท์’ และยกเลิกกฎหมายม.112
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2024-03-26 15:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิและกระบวนการยุติธรรมของยูเอ็นร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องยุติการดำเนินคดีม.112 กับ “ทนายอานนท์” รวมถึงยกเลิกกฎหมายมาตรานี้ที่ถูกเอามาบังคับใช้อย่างไม่เป็นตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยมีพันธกรณีอยู่</p>
<p>เมื่อวันที่ 25 มี.ค.2567 เว็บไซต์ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) (https://www.ohchr.org/en/press-releases/2024/03/thailand-un-experts-alarmed-sentences-handed-down-human-rights-lawyer-arnon) เผยแพร่แถลงการณ์ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิเสรีภาพและกระบวนการยุติธรรมของสหประชาชาติที่แสดงความกังวลต่อการลงโทษจำคุกอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ในคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์และยังคงถูกคุมขังในเรือนจำอยู่ในขณะนี้</p>
<p>“การพิพากษาจำคุกและการทำให้การกระทำของอานนท์ นำภากลายเป็นอาชญากรรมนี้ไม่ได้สัดส่วนอย่างชิ้นเชิงและเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เสียงของนักปกป้องสิทธิและผู้เห็นต่างเงียบลงอย่างตั้งใจ” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวและระบุด้วยว่าเคยมีการแสดงความกังวลต่อการใช้ข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ในประเทศไทยมาหลายปีแล้วและกลไกพิเศษของสหประชาชาติเคยส่งหนังสือถึงรัฐบาลไทยในเรื่องนี้มาก่อนแล้ว</p>
<p>ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2566 ศาลพิพากษาลงโทษ อานนท์ นำภา จำคุกเป็นเวลา 4 ปี ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และถูกคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค.2567 เพราะอานนท์ปราศรัยในการชุมนุมเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และสภาทนายความในพระบรมราชูถัมภ์เคยตั้งเรื่องไต่สวนเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นทนายความของเขาด้วย ที่ผ่านมาอานนท์ยังเคยตั้งคำถามต่อการบังคับใช้มาตรา 112 ในการจำกัดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ของไทยและกระทบต่อการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนในไทยด้วย  </p>
<p>“การลงโทษอย่างรุนแรงต่อผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน การใช้เสรีภาพในการแสดงออก และการชุมนุมอย่างสงบเป็นเรื่องที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยมีพันธกรณีอยู่ และสร้างบรรยากาศอันเย็นยะเยือกต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประชาสังคมและสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ” ผู้เชี่ยวชาญฯ ระบุ</p>
<p>“การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และการพูดที่มุ่งหมายให้เกิดการปฏิรูปและรณรงค์สิทธิมนุษยชนควรได้รับการปกป้องและสนับสนุนในสังคมประชาธิปไตย พวกเราเรียกร้องต่อรัฐไทยให้กลับคำพิพากษาต่ออานนท์ นำภา รวมถึงยุติการดำเนินการฟ้องคดีต่อเขา” ผู้เชี่ยวชาญระบุและเห็นว่านักกฎหมายมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและจะต้องไม่ถูกเพิกถอนสิทธิในการประกอบวิชาชีพตามแนวคิดที่ได้แสดงออกมาในการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายของพวกเขา</p>
<p>เหล่าผู้เชี่ยวชาญของยูเอ็นยังย้ำถึงจุดยืนก่อนหน้านี้ในการเรียกร้องให้รัฐไทยยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์และทำให้ประมวลกฎหมายอาญาเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน ยุติการดำเนินคดีทางอาญารวมถึงปล่อยตัวพวกเขาที่เพียงออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก</p>
<p>ในแถลงการณ์ระบุว่าผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมออกแถลงการณ์ครั้งนี้มีทั้งผู้รายงานพิเศษด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมอย่างสงบและการร่วมกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเสรีภาพในการแสดงออกและความคิดเห็น และผู้รายงานพิเศษด้านความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้คือกลไกพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยกลไกพิเศษนี้ทำหน้าที่ในการค้นหาข้อเท็จจริงและติดตามตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศทั่วโลก</p>
<div class="more-story">
<p>องค์กรสิทธิฯ บอกแนวข้อสอบก่อนรัฐบาลเศรษฐาจะไปให้นานาชาติเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิฯ ของ UN (https://prachatai.com/journal/2024/02/107898)</p>
</div>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไทยเคยประกาศเจตนารมณ์ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกในวาระปี 2568-2670 เมื่อ 24 ก.ย.2565 ที่ผ่านมา แต่ที่ผ่านมามาตรา 112 เป็นประเด็นหนึ่งที่กลไกด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นเคยแสดงข้อกังวลต่อการใช้กฎหมายมาตรานี้ถึงรัฐบาลไทยมาหลายครั้งแล้ว นับตั้งแต่หลังปี 2549 เป็นต้นมามีข้อร้องเรียนถึง 21 ครั้งจากกรณีต่างๆ ซึ่งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ เคยแสดงความเห็นว่าประเด็นนี้จะส่งผลต่อการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิกคณะมนตรีฯ ของไทย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่าว[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-category field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">การเมือง[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สิทธิมนุษยชน[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-tags field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">มาตรา 112[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%A0%E0%B8%B2" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อานนท์ นำภา[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สหประชาชาติ[/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ[/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/ohchr" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">OHCHR[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108581