[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ => กระบวนการ NEW AGE => ข้อความที่เริ่มโดย: เงาฝัน ที่ 25 เมษายน 2553 16:37:07



หัวข้อ: ศิลปะแห่งสนทนา
เริ่มหัวข้อโดย: เงาฝัน ที่ 25 เมษายน 2553 16:37:07

(http://mountcope.files.wordpress.com/2008/03/relationship.jpg)

ศิลปะแห่งสนทนา

 วิศิษฐ์ วังวิญญู
สถาบันขวัญเมือง เชียงราย

การสนทนาที่ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

ที่นำการสนทนามาเทียบเคียงกับการเรียนรู้ ก็เพราะมองว่าการเรียนรู้เป็นคุณลักษณะหลักที่สำคัญยิ่ง เพื่อชีวิตคือ องค์กรที่จัดองค์กรตัวเองอย่างเป็น เครือข่ายเพื่อการเรียนรู้

ถ้าเราเป็นคนละเอียดอ่อน และเมื่อมีโอกาสอยู่ในวงสนทนา ลองถอยตัวเองออกจากฐานะของผู้เข้าร่วม มาเป็น ผู้สังเกตการณ์ เมื่อสังเกตดูการสนทนาที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป ของคนทั่วไปในสังคมปัจจุบันนี้ และลองประมวลข้อสรุปออกมาสิว่า มันจะบอกอะไรกับเราบ้าง?

หนึ่ง ในวงสนทนานั้นจริงๆ แล้วไม่ค่อยมีใครฟังใคร ยิ่งถ้ากินเหล้าคุยกันด้วยแล้ว จะเกิดอาการต่างคนต่างพูดเลยด้วยซ้ำ และในกรณีที่ยังฟังกันบ้าง การฟังก็เพื่อจะเก็บวลีหรือถ้อยคำที่เข้าทาง หรือที่สอดคล้องกับความคิดและมุมมองของตน และก็จะสอดแทรกเข้ามาพล่ามเรื่องที่ตนเองอยากจะพูดเลยทีเดียว อันนี้ก็เป็นเหตุผลนะครับว่า ทำไมงานสังคม จึงเป็นงานที่น่าเบื่อหน่าย ไม่มีใครเรียนรู้อะไรจากใคร ไม่มีความอิ่มเอมใจอันเกิดจากการสนทนาที่แท้จริง อย่างดีที่สุดก็ทำได้แค่อวดมั่งมีและอวดเก่งเท่านั้น และไม่มีอะไรมากกว่านี้

โบห์มเองก็พูดเรื่อง dialogue ระดับโลกที่องค์กรระดับโลก เช่นสหประชาชาติชอบใช้ โบห์มตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ dialogue ในความหมายของโบห์ม หากเป็นการเจรจาต่อรองผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยที่หลักการ มุมมอง โลกทัศน์ของทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนเรียนรู้เลย ปัญหาจึงมิอาจแก้ไขได้ เพราะตัว ปัญหาหลักคือมุมมอง และโลกทัศน์ที่แข็งตัว ยังดำรงอยู่อย่างถาวรโดยไม่แปรเปลี่ยน

เพราะฉะนั้น การสนทนาเพื่อขายความคิดเพื่อให้คนอื่นมาคล้อยตามความคิดของตน จึงไม่ใช่การสนทนาแบบโบห์ม การสนทนาแบบโบห์มผู้เข้าร่วมต้องเปิดใจ พร้อมเปลี่ยนมุมมองและสมมติฐานอย่างกล้าหาญและหฤหรรษ์

(http://www2.ph.mahidol.ac.th/family/webboard/upimages/1214855764.jpg)

การฟังอย่างมีคุณภาพ

การปล่อยให้เสียงและความเป็นตัวตนทั้งหมดของผู้อื่นเข้ามาในตนนั้นก็คือช่วงหลับ และตื่นขึ้นเพื่อจะรวบรวมประมวล สร้างความหมายให้กับสิ่งที่ฟังเป็นช่วงตื่น ในการฟังจะมีช่วงหลับ-ตื่น นี้สลับกันไปอย่างมีศิลปะ

แต่ในการฟังบ่อยครั้งเราจะหลุดลอยไปในโลกของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นโลกแห่งอารมณ์หรือความคิดก็ตาม บางที เครื่องแต่งกายของคู่สนทนาสักชิ้นอาจจะทำให้เราระลึกถึงความทรงจำบางอย่าง และเราก็ลอยละล่องไป ในความทรงจำนั้น บางทีถ้อยคำบางคน ทำให้เราเพลิดไปกับความคิดของเราเองอย่างเป็นคุ้งเป็นแคว

เราจะหลุดออกมาจากโลกของเราเองได้อย่างไร เพื่อยินยอมและซึมซับโลกของผู้อื่นเข้ามา ทั้งเนื้อหาและรูปลักษณ์ ความคิด อารมณ์ความรู้สึก และความสั่นไหวภายในทั้งมวลของผู้พูด

ด้วยเหตุนี้ การฟังจึงเป็นทั้งศิลปะที่เป็นพื้นฐานและเป็นศิลปะชั้นสูง ที่เราอาจจะต้องฝึกฝนไปตลอดชีวิต เมื่อเทียบเคียงกับ การปฏิบัติในพุทธศาสนาแล้ว เราจะต้องฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลายความว้าวุ่นของอารมณ์ต่างๆ ในใจเราให้สงบลง และถ้าฝึกได้ดีจะถึงจุดที่ “ว่าง” จากอารมณ์รบกวนทั้งหลาย และอีกด้านหนึ่งต้องฝึกปัญญา คือ วิปัสสนา ที่เราจะว่างจาก ความคิดของเราเอง เพื่อรับความคิดของผู้อื่นเข้ามา

ความคิดนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ขาดเป็นห้วงๆ อย่างที่เป็นอิฐก่อสร้าง หรือเป็นตัวต่อที่ใช้สำหรับสร้างอะไรต่างๆ ของเด็ก ที่จะเอาไปต่อตรงไหนก็ได้ แต่ความคิดเป็นโครงข่ายที่มีแม่บทหรือกระบวนทัศน์กำกับอยู่ ในกระบวนทัศน์หนึ่งๆ ก็จะมีสมมติฐานเป็นตัวรองรับอยู่ ก็ในเมื่อเรายังไม่ได้รู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรมนั้น (ถ้าการรู้แจ้งนี้มีจริง) ความคิด ความรู้ ความเข้าใจของเราทั้งหมด ก็ยังตั้งอยู่บนสมมติฐานต่างๆ หรือชุดของสมมติฐาน แต่โดยอัตโนมัติ เรามักจะไป ยึดถือเอาว่า สมมติฐานของเราเป็นสัจจะความจริง ถือเอาว่า ชุดของสมมติฐานของเราเป็นสามัญสำนึก ที่ทุกคนจะต้องรู้ และมันเป็นทั้งฐานของสัจธรรมทั้งมวล นี่แหละคืออุปสรรคตัวสำคัญของการฟัง มันทำให้เรามืดบอด ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง ที่อยู่นอกเหนือชุดแห่งสมมติฐานของเรา


(http://www.novabizz.com/NovaAce/images/aura-01.jpg)

 (:88:)   http://www.novabizz.com/NovaAce/Dialogue.htm (http://www.novabizz.com/NovaAce/Dialogue.htm)


หัวข้อ: Re: ศิลปะแห่งสนทนา
เริ่มหัวข้อโดย: sometime ที่ 25 เมษายน 2553 17:28:07



(:QS:) (:QS:) (:QS:)


(http://widget.sanook.com/static_content/widget/full/graphic_1/0942/291942/072b7d64bd6ca8d9ec6033515f633cf1_1231908766.gif)