[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 พฤษภาคม 2567 11:01:36 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย  (อ่าน 331 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2566 17:21:35 »




พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย
จัดทำโดย โครงการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และสัตว์ป่าแบบบูรณาการ
เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (พ.ศ.๒๕๔๘)

เกณฑ์กำหนดสถานภาพพืชถิ่นเดียวและพืชหายาก

พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทยมีเกณฑ์กำหนดสถานสภาพที่แตกต่างกัน

พืชถิ่นเดียว (endemic plant) เดิมเรียกพืชเฉพาะถิ่น คือ พืชชนิดที่พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติเฉพาะในบริเวณเขตพฤกษภูมิศาสตร์ (floristic region) เขตใดเขตหนึ่งของโลก จัดเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์จำกัดหรือค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก มักจะพบพืชถิ่นเดียวบนพื้นที่ๆ มีลักษณะจำกัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ สันเขา และหน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ  ถิ่นอาศัยดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสถาพดินฟ้าอากาศเฉพาะแหล่ง (microclimate) พืชถิ่นเดียวของไทยหลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น โมกทะเล (Alstonia curtisii) รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul) แคสันติสุข (Santisukia kerrii) เป็นต้น พืชถิ่นเดียวส่วนใหญ่จัดเป็นพืชหายาก (rare) หรือใกล้สูญพันธุ์ (endangered) หรือเสี่ยงต่อการเป็นพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ในปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจและวิเคราะห์จำนวนชนิดพืชถิ่นเดียวของประเทศไทยอย่างครบถ้วน เนื่องจากยังขาดหนังสือพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand) ฉบับสมบูรณ์ หนังสือพรรณนาพฤกษชาติของประเทศไทยเท่าที่ได้ตีพิมพ์ออกมาถึงปัจจุบันเป็นเพียงร้อยละ ๓๕ ของจำนวนพรรณพืชที่มีท่อลำเลียง (vascular plant) ทั้งหมดประมาณ ๑๑,๐๐๐ ชนิด จากการสำรวจและวิเคราะห์พืชถิ่นเดียวของประเทศไทยในเบื้องต้น พบว่ามีประมาณร้อยละ ๕-๗ ของพืชที่มีท่อลำเลียงทั้งหมด ซึ่งนับว่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพืชถิ่นเดียวของประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยมีความหลากหลายของชนิดพรรณพืช (plant diversity) อยู่ในลำดับสูง เนื่องจากประเทศตั้งอยู่ตรงบริเวณรอยต่อของเขตพฤกษภูมิศาสตร์ถึง ๓ ภูมิภาคด้วยกัน ได้แก่ ภูมิภาคอินเดีย-พม่า (Indo-Burmese) ภูมิภาคอินโดจีน (Indo-Chinese) และภูมิภาคมาเลเซีย (Malesian) แต่จำนวนชนิดพืชถิ่นเดียวของประเทศค่อนข้างต่ำ เนื่องจากพรรณพืชส่วนใหญ่กระจายพันธุ์มาจากประเทศใกล้เคียงของทั้งสามภูมิภาค

พืชหายาก (rare plant) คือพืชชนิดที่มีจำนวนประชากรขนาดเล็กซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่อยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (endangered) แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) ได้ในอนาคตอันใกล้ จากปัจจัยคุกคามต่างๆ ที่ทำให้จำนวนประชากรพืชลดลง  พืชหายากเป็นพืชที่ทราบจำนวนประชากรที่มีอยู่ตามแหล่งต่างๆ และส่วนใหญ่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น  พืชถิ่นเดียวที่ระบุไว้ในหนังสือพรรณพฤกษชาติส่วนใหญ่จะเป็นพืชหายาก ยกเว้นพืชถิ่นเดียวเพียงไม่กี่ชนิดที่มีจำนวนประชากรขึ้นกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่มากมาก เช่น มะกัก (Spondias bipinnata) เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย แต่ไม่อยู่ในสถานภาพพืชหายาก เนื่องจากในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติอันจำกัดนั้น มีจำนวนต้นขึ้นหนาแน่นทั่วไปในหลายพื้นที่  พืชถิ่นเดียวบางชนิดเคยอยู่ในสถานภาพพืชหายากมาก่อน แต่ต่อมามีผู้นำไปขยายพันธุ์ปลูกเป็นพรรณไม้ประดับทั่วไป เช่น ย่านดาโอ๊ะ (Bauhinia aureifolia) ของภาคใต้ตอนล่าง พืชที่สำรวจพบว่าหายากในปัจจุบัน อาจมีแนวโน้มที่จะพบกระจายพันธุ์กว้างขวางขึ้นได้ในอนาคต หรือพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างขวางในปัจจุบัน อาจจะเป็นพืชหายากต่อไปในกาลข้างหน้า จากการคุกคามของปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้จำนวนประชากรลดลง พืชชนิดหนึ่งอาจเป็นพืชหายากในท้องถิ่นหนึ่ง แต่อีกท้องที่หนึ่งกลับมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางก็เป็นได้ เช่น สร้อยสมเด็จ (Alnus nepalensis) จัดเป็นพืชหายากของประเทศไทย พบเป็นกลุ่มเล็กๆ เฉพาะในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย แต่พบกระจายพันธุ์ทั่วไปอย่างมากมายทางภูมิภาคหิมาลัยตะวันออก

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2566 17:25:44 »


ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ rspg.or.th/plants

ใบพาย

ชื่อพฤกษศาสตร์  Aegialitis rotundifolia Roxb.
วงศ์  PLUMBAGINACEAE.
ชื่ออื่น  แสม

ไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง ๑-๒ เมตร โคนต้นบวมคล้ายฐานพีระมิด บริเวณโคนต้นมีรากหายใจคล้ายนิ้วมือจำนวนมาก ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง ใบเกือบเป็นรูปกลม แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า เส้นแขนงใบขนานกัน ก้านใบยาวเรียวมีครีบแคบๆ ดอกเล็ก ออกเป็นช่อแตกแขนงสั้นๆ ตามซอกใบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดสั้น ติดทนอยู่กับผล ผลมี ๕ เหลี่ยม เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนเรียวยาวคล้ายรูปเคียว ตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด  พบเฉพาะทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดระนอง ภูเก็ต และสตูล ต่างประเทศพบที่บังคลาเทศ พม่า และหมู่เกาะอันดามัน เป็นพรรณไม้ของป่าชายเลน ชอบขึ้นบนพื้นที่โล่งตามร่องน้ำ หรือใกล้ปากน้ำที่มีภูเขาหินปูน หรือดินเลนที่สลายมาจากหินปูน ออกดอกและผลระหว่างเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม

สถานภาพ พืชหายาก
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 26 มิถุนายน 2566 19:13:27 »



ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ วิกิพีเดีย


ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ kasettambon.com

มะเนียงน้ำ

ชื่อพฤกษศาสตร์  Aesculus assamica Griff.
วงศ์  HIPPOCASTANACEAE.
ชื่อสามัญ  East Himalayan horse chestnut
สกุล Aesculus L. เคยอยู่ภายใต้วงศ์ Hippocastanaceae ปัจจุบันอยู่ภายใต้วงศ์ย่อย Hippocastanoideae ร่วมกับสกุล Acer มีประมาณ ๑๒ ชนิด ส่วนมากพบในอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออก ชนิดที่นิยมปลูกเป็นไม้ข้างถนนโดยเฉพาะในยุโรป คือ A. hippocastanum L. หรือ Horse-chestnut ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินที่ใช้เรียกพืชคล้ายพวก oak ชนิดหนึ่ง

ชื่ออื่น  ขล่ำปอง (ภาคเหนือ); จอบือ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร); จอหว่อปื่อ (ละว้า-เชียงใหม่); ปวกน้ำ (ลำปาง); โปตานา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); มะเกียน้ำ, มะเนียงน้ำ, หมากขล่ำปอง (ภาคเหนือ)

ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ผลัดใบ ลำต้นแตกกิ่ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ สูง ๑๕-๓๐ เมตร เปลือกเรียบ มีช่องอากาศ ยอดมีเกล็ดตาหุ้ม ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้าม มี ๕-๙ ใบ ก้านใบยาว ๑๐-๒๕ ซม. ใบย่อยรูปใบหอกกลับ ใบกลางใหญ่กว่าใบข้าง ยาว ๑๒-๓๕ ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนรูปลิ่ม ขอบจักฟันเลื่อย เส้นแขนงใบจำนวนมาก ก้านใบย่อยสั้นหรือยาวได้ถึง ๒ ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ยาวถึง ๗๐ ซม. รวมก้าน ช่อกระจุกยาว ๑.๕-๘ ซม. ก้านดอกยาว ๓-๗ มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว ๔-๘ มม. ปลายแยกเป็น ๔ กลีบ ด้านนอกมีขนสั้นนุ่ม ดอกสมมาตรด้านข้าง กลีบดอก ๔ กลีบ สีขาว มีปื้นเหลือง โคนสีส้มหรือแดง กลีบขนาดไม่เท่ากัน รูปใบหอกกลับ ยาว ๒-๒.๕ ซม. ด้านนอกมีขนละเอียด เกสรเพศผู้ ๕-๗ อัน ยาว ๒-๔ ซม. รังไข่ ๓ ช่อง แต่ละช่องมีออวุล ๒ เม็ด ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยงหรือมีขน ผลแห้งแตกสีน้ำตาล รูปรีกว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๒.๕-๓ ซม. เปลือกหนา ก้านผลยาว ๒-๔ ซม. ส่วนมากมีเมล็ดเดียวที่เจริญ กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๗ มม. ขั้วเมล็ดสีขาว

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด ในไทยพบทางภาคเหนือที่เชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่กาญจนบุรี ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง หรือที่ลาดชันในป่าดิบเขา ความสูง ๑๐๐-๑,๓๐๐ เมตร  ต่างประเทศพบที่อินเดีย (สิกขิม, อัสสัม) ภูฏาน บังกลาเทศ พม่า จีนตอนใต้ ลาว และเวียดนาม  มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ใบคั้นหยอดตาแก้อักเสบ

สถานภาพ พืชหายาก


400
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5471


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2566 14:48:37 »


ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ rspg.or.th/plants

สะเภาลม

ชื่อพฤกษศาสตร์  Agapetes hosseana Diels.
วงศ์  ERICACEAE.
ชื่ออื่น  แมวน้ำ เหง้าน้ำทิพย์

ไม้พุ่มอิงอาศัย มีรากอวบพอง อุ้มน้ำ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่กลับ ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ดอกออกเดี่ยวหรือเป็นกระจุกตามซอกใบ ๑-๔ ดอก ก้านดอกเรียว กลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น ๕ กลีบสั้นๆ ดอกคว่ำห้อยลงสู่พื้น ผลสด กลม สีเขียว เมื่อสุกสีม่วงดำ

เขตกระจายพันธุ์และถิ่นกำเนิด  ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่างประเทศพบในภูมิภาคอินโดจีน ชอบขึ้นตามคาคบไม้ใหญ่และซอกหินที่มีมอสปกคลุม ในป่าดิบเขาที่ค่อนข้างโปร่งมีอากาศเย็นตลอดปี ที่ระดับความสูง ๑,๐๐๐ - ๒,๕๖๕ เมตร ออกดอกเดือน มกราคม-เมษายน

สถานภาพ พืชหายาก


ขอขอบคุณเว็บไซต์
        - โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (ที่มาข้อมูล)
        - องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (ที่มาภาพประกอบ)
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.306 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤษภาคม 2567 15:33:39