[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:21:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดาวเคราะห์เดือนนี้ (มกราคม 2553) [ดาราศาสตร์]  (อ่าน 3317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:19:38 »

โดย วรเชษฐ์ บุญปลอด
ที่มา : เวบสมาคมดาราศาสตร์ไทย


ดาวพุธ อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูตลอดเดือนมกราคม 2553 ช่วงแรกยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ วันที่ 5 ม.ค. จะผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงใน (inferior conjunction) จากนั้นราววันที่ 13 ม.ค. ดาวพุธจะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก และเป็นวันที่ดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ห่างดาวพุธประมาณ 10 องศา สามารถสังเกตดาวพุธได้ต่อเนื่องทุกวันไปจนถึงราววันที่ 12 ก.พ. ซึ่งดวงจันทร์จะมาอยู่ใกล้ดาวพุธอีกครั้ง สภาพท้องฟ้าในฤดูหนาวจะช่วยให้สามารถสังเกตดาวพุธได้ง่าย กล่าวได้ว่าเดือนนี้เป็นช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีที่สุดในรอบปี 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 22-27 ม.ค.

วันที่ 13-31 ม.ค. ความสว่างของดาวพุธเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร +1.0 เป็น -0.2 พื้นผิวด้านสว่างเพิ่มขึ้นจาก 21% เป็น 69% ในช่วงเวลาเดียวกัน ดาวพุธสว่างครึ่งดวงในวันที่ 22 ม.ค. และมีขนาดปรากฏลดลงจาก 9 เป็น 6 พิลิปดา มันทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ 27 ม.ค. สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ดาวพุธก็ยังคงมีความสว่างเกือบคงที่ด้วยโชติมาตร -0.2 แต่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น

ดาวศุกร์ (โชติมาตร -4.0) เดือนนี้ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านพื้นที่ของกลุ่มดาวคนยิงธนูและแพะทะเล เป็นช่วงเวลาที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เดือนมีนาคมดาวศุกร์จึงจะกลับมาปรากฏเป็นดาวประจำเมืองบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ

ดาวอังคาร กำลังเคลื่อนที่ถอยหลังโดยออกจากกลุ่มดาวสิงโตเข้าสู่กลุ่มดาวปูในวันที่ 10 ม.ค. ปลายเดือนนี้ดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุด ทำให้สามารถสังเกตได้ตลอดทั้งคืน ต้นเดือนดาวอังคารขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาก่อน 3 ทุ่ม ปลายเดือนปรากฏบนฟ้าทิศตะวันออกตั้งแต่เวลาที่ท้องฟ้าเริ่มมืด ตลอดเดือนนี้ความสว่างของดาวอังคารเพิ่มขึ้นจากโชติมาตร -0.8 ไปที่ -1.3 ขนาดปรากฏก็เพิ่มขึ้นจาก 13 เป็น 14 พิลิปดา

ดาวพฤหัสบดี (โชติมาตร -2.1) ออกจากกลุ่มดาวแพะทะเลเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในวันที่ 5 ม.ค. มองเห็นได้บนท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ แต่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก มุมเงยของดาวพฤหัสบดีในเวลาที่ท้องฟ้าเริ่มมืดจะลดลงจาก 30 องศาในช่วงต้นเดือน ไปเป็น 10 องศาในปลายเดือน ทำให้มันตกลับขอบฟ้าเร็วขึ้น ต้นเดือนดาวพฤหัสบดีตกลับขอบฟ้าในเวลา 3 ทุ่มเศษ ปลายเดือนตกลับขอบฟ้าในเวลาก่อน 2 ทุ่ม กลางเดือนนี้ดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏตามแนวเส้นศูนย์สูตรประมาณ 34 พิลิปดา

ดาวเสาร์ (โชติมาตร +0.8) อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว สังเกตดาวเสาร์ได้ตั้งแต่เวลาประมาณเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวเสาร์เริ่มปรากฏสูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก จากนั้นเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ดาวเสาร์จะขึ้นไปอยู่สูงเกือบถึงจุดเหนือศีรษะ คืนวันที่ 9/10 ม.ค. เวลา 01:46 - 03:54 น. เมื่อสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเงาของดาวบริวารไททัน (Titan) เป็นจุดดำบนบรรยากาศบริเวณใกล้ขั้วใต้ของดาวเสาร์

ดาวยูเรนัส (โชติมาตร +5.9) กำลังจะออกจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในกลางเดือนนี้ เวลาที่สังเกตดาวยูเรนัสได้ดีที่สุดอยู่ในช่วงเวลา 19:30 - 21:00 น. ของวันที่ 3 ถึง 19 ม.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวนหรือรบกวนไม่มากนัก โดยสามารถคะเนตำแหน่งดาวยูเรนัสได้จากแผนที่ในวารสารทางช้างเผือกฉบับคู่มือดูดาวประจำปี 2552

ดาวเนปจูน (โชติมาตร +8.0) อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล สังเกตได้ยากเนื่องจากอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าในเวลาหัวค่ำ

ดวงจันทร์ วันแรกของเดือนดวงจันทร์สว่างเต็มดวงโดยเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในช่วงเช้ามืด จากนั้นวันที่ 3 ม.ค. เวลาประมาณ 3 ทุ่มครึ่ง ดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าพร้อมกับดาวอังคาร ห่างกันประมาณ 8 องศา คืนวันที่ 6/7 ม.ค. เวลาราวเที่ยงคืนครึ่งจะเห็นดวงจันทร์สว่างมากกว่าครึ่งดวงเล็กน้อยขึ้นมาเหนือขอบฟ้าพร้อมกับดาวเสาร์ ห่างกัน 8-9 องศา เช้ามืดวันที่ 13 ม.ค. น่าจะเป็นวันสุดท้ายที่เห็นดวงจันทร์ในเวลาเช้ามืดก่อนจันทร์ดับ วันนั้นดวงจันทร์อยู่ทางขวามือเยื้องขึ้นไปด้านบนของดาวพุธ 10 องศา

หลังจันทร์ดับในวันที่ 15 ม.ค. ซึ่งเกิดสุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย วันที่ 16 ม.ค. ดวงจันทร์จะกลับมาปรากฏเป็นเสี้ยวบางเฉียบเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาพลบค่ำ สังเกตได้ดีในเวลาประมาณ 20-25 นาทีหลังดวงอาทิตย์ตก และเป็นเวลาที่ดวงจันทร์มีมุมเงยราว 6 องศา วันที่ 18 ม.ค. ดวงจันทร์อยู่ทางขวามือของดาวพฤหัสบดีด้วยระยะห่าง 5 องศา และสว่างครึ่งดวงโดยอยู่สูงกลางท้องฟ้าในเวลาหัวค่ำของวันที่ 23 ม.ค. สองวันถัดมาดวงจันทร์จะอยู่ใกล้กระจุกดาวลูกไก่โดยบังดาวบางดวงในช่วงที่ท้องฟ้ายังไม่มืด แต่น่าจะสังเกตได้ยากเนื่องจากดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง ค่ำวันที่ 30 ม.ค. จันทร์เพ็ญบนท้องฟ้าทิศตะวันออกอยู่ห่างดาวอังคารประมาณ 8 องศา และเป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดด้วย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:20:46 »




ภาพจำลองดาวเคราะห์ในเดือนมกราคม 2553
แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ
(ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA)





บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 06 มกราคม 2553 19:22:43 »




ดวงจันทร์ผ่านใกล้ดาวอังคาร ดาวพุธ และดาวพฤหัสบดี
ในเดือนมกราคม 2553
(ดวงจันทร์ในภาพใหญ่กว่าขนาดจริงเมื่อเทียบตามมาตราส่วน)




บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สุริยุปราคา 15 มกราคม 2553
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 3 3274 กระทู้ล่าสุด 06 มกราคม 2553 19:35:39
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ฤกษ์ต่าง ๆ มกราคม - เมษายน 2553 ตำรับฮวงจุ้ย (ฤกษ์ดีปี 2553 ตำราจีน)
ดูดวง ทำนายทายทัก
หมีงงในพงหญ้า 1 6103 กระทู้ล่าสุด 24 กุมภาพันธ์ 2553 01:26:16
โดย wondermay
รูปงานปิดทองฝังลูกนิมิตร วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ - วันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2553
ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม
ปู่ซ่า....นะเออ 0 3051 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2553 16:59:57
โดย ปู่ซ่า....นะเออ
ดาวเคราะห์เดือนนี้ (กุมภาพันธ์ 2553) [ดาราศาสตร์]
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
หมีงงในพงหญ้า 0 2207 กระทู้ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2553 09:32:09
โดย หมีงงในพงหญ้า
ทำไม “วันยุทธหัตถี” จึงตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๑๓๕ ไม่ใช่ ๒๕ มกราคม
สยาม ในอดีต
ใบบุญ 0 1867 กระทู้ล่าสุด 18 มกราคม 2561 14:07:39
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.419 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 16 ตุลาคม 2567 03:32:34