[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
11 พฤศจิกายน 2567 02:20:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คำวัดน่ารู้ - เกร็ดพุทธศาสน์  (อ่าน 3939 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 เมษายน 2564 13:23:50 »



การปฏิบัติธุดงค์ ของพระกรรมฐานในป่า อันประกอบด้วยต้นไม้นานาชนิด


การปฏิบัติธุดงค์ ของพระกรรมฐานในป่าช้า
ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
(กราบขอบคุณเว็บไซต์วัดโสมนัสราชวรวิหาร - ที่มาภาพ)

ธุดงควัตร

ธุดงควัตร หมายถึง กิจอันภิกษุผู้ถือธุดงค์ควรทํา

ในบาลี คำว่า ธุดงค์หรือธุตังคะ

ธุดงค์ มาจากคำว่า ธุตะ หมายถึง ผู้ประกอบด้วยปฏิปทำซึ่งไม่มีกิเลส ๕  หรือ ธรรมอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ๖

ความหมายของคำว่าธุดงค์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้มีกล่าวถึงทั้งในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาได้ให้ความหมายของคำว่าธุดงค์ไว้ในลักษณะใกล้เคียงกันหลายท่าน ดังยกมาแสดงให้เห็นดังนี้

ในคัมภีร์พระไตรปิฎก เหล่าพระสาวกได้สาธยายถึงธุดงควัตรไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับการถือธุดงค์ ว่า มีความสำคัญต่อผู้ถืออยู่ถูกต้องอย่างไรและชี้ให้เห็นถึงการถือที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างไร โดยได้กล่าวไว้ในพระวินัยปิฎกตอนหนึ่งเมื่อพระอุบาลีทูลถามพระพุทธเจ้าถึงเหตุการณ์ถือธุดงควัตรที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ดังความท่านพระอุบาลีทูลถามว่า "ภิกษุผู้ถืออยู่ป่า มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า"

พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า "อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่านี้มี ๕ จำพวก คือ
๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลางมงาย จึงอยู่ป่า
๒. เป็นผู้มีความปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า
๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่าเพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า
๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า
๕. เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้จึงอยู่ป่า อุบาลี ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวกนี้แล

จุดมุ่งหมายของการถือธุดงควัตรเพื่อ
๑ เพื่ออาศัยธุดงวัตร สร้างบารมีตามเยี่ยงอย่างพระบรมโพธิสัตว์ และอัครสาวกที่ได้เคยสร้างบารมีมาแล้วแต่อดีต
๒ เพื่อจะได้ฝึกฝนพระกัมมัฏฐานเป็นอย่างยิ่งเฉพาะคราว ในสายการปฏิบัติ (มัชฌิมาปฏิปทา) ของสำนักเกตุมวดีย์
๓ เพื่อจะได้สร้างกุศลอย่างยิ่ง, เพื่อปลงกรรมเก่า ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ให้อโหสิกรรม (ถ้ามีกรรมเก่าติดตามมา)
๔ ถ้าไม่มีกรรมเก่าติดตามมา ก็จะได้เสริมสร้างบารมีในทางปฏิบัติ ให้ดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน ๕ เพื่ออุทิศกุศลไปให้ บิดามารดา ท่านผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร สรรพสัตว์ทั้งหลาย เทวดาทั้งปวง และญาติทั้งหลาย ด้วยการตั้งจิตที่แน่วแน่


ธุดงควัตร บุคคลกระทำให้บริสุทธิ์แล้ว จะพาเข้าสู่นิพพาน หรือภิกษุผู้ตั้้งอยู่ในธุดงค์ ๑๓ นั้น ธุดงค์ย่อมพาไปให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆ มีอาสวักขยญาณเป็นที่สุด

พระนำคเสนได้วิสัชนาคุณของภิกษุผู้ปฏิบัติธุดงควัตรว่า พระภิกษุหรือพระโยคาวจรที่ส้องเสพสมาทานในธุงดคุณมั่นคงนั้นจะเป็นผู้ที่ประกอบด้วยคุณ ๓๐ ประการ คือ
๑) จะมีเมตตาจิตอ่อนสนิทในสรรพสัตว์ทั่วไป
๒) มีกิเลสอันพิฆาตฆ่ากำจัดให้ปราศจากไป
๓) เป็นผู้กำจัดเสียซึ่งมานะและทิฐิ
๔) มีศรัทธาอันมั่นมิได้หวั่นไหวปราศจากความสงสัย
๕) มีจิตงามเบิกบานในที่จะฝึกหัดให้บริบูรณ์
๖) มีสันตสุขสมาบัติบังเกิดเป็นอันเที่ยง
๗) อบรมไปด้วยศีลอันมิได้หวั่นไหวมีกลิ่นสะอาดหอมฟุ้งไป
๘) เป็นที่รักแห่งเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
๙) มีกำลังในที่จะให้สิ้นอาสวะ
๑๐) เป็นที่ปรารถนาแห่งพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในชินศาสน์
๑๑) เป็นที่สรรเสริญชื่นชมแห่งเทพาและมนุษย์ทั้งหลาย
๑๒) เป็นที่ไหว้และสรรเสริญแห่งหมู่อสูรและเป็นที่ชื่นชมโถมนาการแห่งมารทั้งหลาย
๑๓) มิได้ระคนปนเจือไปด้วยโลก
๑๔) มีปรกติเห็นซึ่งโทษและภัย แม้แต่เพียงเล็กน้อย
๑๕) ให้สำเร็จซึ่งประโยชน์คือมรรคและผลอันประเสริฐแก่ชนทั้งหลายผู้ปรารถนาจะพ้นทุกข์
๑๖) สมควรที่จะอาราธนาถวายจตุปัจจัยอันไพบูลย์และประณีต
๑๗) เป็นผู้ปรารถนานอนในที่หาอาลัยมิได้
๑๘) มีปรกติเพ่งฌานและมีวิหารธรรมอันประเสริฐ
๑๙) เป็นผู้กำจัดและหักรานเสียซึ่งวัตถุแห่งกิเลสเป็นดังข่ายอันรกชัฏให้ขาดสูญ
๒๐) จะห้ามเสียซึ่งคติอันดาดาษไปด้วยความคดเคี้ยวที่จะให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร
๒๑) จะตั้งอยู่ในอกุปปธรรมนั้น
๒๒) จะบริโภคซึ่งสิ่งอันปราศจากโทษ
๒๓) จะข้ามเสียซึ่งความสงสัยทั้งปวง
๒๔) จะมีจิตเพ่งเล็งซึ่งวิมุติ
๒๕) มีคุณธรรมมั่นคงแน่วแน่
๒๖) จะมีจิตมั่นมิได้โลเลกลัวภัยในทิฏฐธรรม
๒๗) จะตัดเสียซึ่งความยินดีตาม
๒๘) จะถึงซึ่งอสสวักขัย
๒๙) จะได้ซึ่งสันตสุขสมาบัติ
๓๐) ประกอบไปด้วยคุณแห่งสมณะ




ขอขอบคุณเพจสิบสองปันนา หลวงพระบาง (ที่มาภาพ)

จังหัน

จังหัน เป็นคำโบราณ หมายถึง ข้าว, อาหาร, ของขบเคี้ยว ที่ใช้กับพระสงฆ์ ปกติใช้เป็นคำเรียกรวมอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และของขบฉันทุกชนิดที่จัดไว้สำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ เช่นใช้คำพูดว่า "พระท่านกำลังฉันจังหันอยู่"

โดยรวมแล้ว ฉันจังหันคือรับประทานอาหารนั่นเอง

คำว่า จังหัน เป็นคำที่แปลความหมายมาจากคำว่า "ภัต" หรือ "ภัตตาหาร" แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้จังหัน แต่ใช้คำว่า "ภัตตาหาร" แทน เช่นคำพูดที่ว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลายขอถวายภัตตาหารกับของที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้แด่พระสงฆ์"




ภาพจิตรกรรม วัดสามแก้ว จ.ชุมพร

สรณะ
สรณะคือที่พึ่งอันประเสริฐหรืออันอุดมคือสูงสุดนี้ มีแต่พระรัตนตรัยเพียงอย่างเดียว ไม่มีที่พึ่งอื่นที่ประเสริฐสูงสุด
                   --- สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ---

สรณะ แปลว่า ที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ยึดเหนี่ยว ที่เหนี่ยวรั้งใจ

สรณะ หมายถึงบุคคลหรือสิ่งใดใดสิ่งหนึ่งที่สามารถเป็นหลักสำหรับเหนี่ยวรั้งไว้มิให้เคว้งคว้าง เป็นที่พึ่งพิงอาศัย เป็นที่ให้ความอุ่นใจ แม้เพียงแค่ระลึกถึงก็ทำให้สบายใจ เกิดความอบอุ่นได้


ขอขอบคุณทีมาภาพ : เว็บไซต์ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 กันยายน 2564 20:21:46 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2564 19:47:44 »


จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร บางกอกใหญ่ กทม.

นวังคสัตถุศาสน์

นวังคสัตถุศาสน์ ( อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ ๙ อย่าง คือ

สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่น อภิธรรมปิฎก
คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา

ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้





สัพพี

สัพพี เป็นส่วนบทที่เริ่มต้นว่า “สัพพี” มีชื่อเรียกว่า บทสามัญญานุโมทนาคาถา หมายถึง คาถาที่พระสงฆ์ใช้สวดทุกครั้งที่อนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้ สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน

“สัพพี” : ศัพท์แสลงในสมัยรัชกาลที่ ๕
สัพพี หมายความว่า ประจบประแจง มาแต่เจ้านายผู้ใหญ่แต่ก่อนบางพระองค์ มีพระไปเฝ้าเวลาคํ่าทุกคืน ถึงฤดูเข้าวสา [เข้าพรรษา] ทรงธรรม พระที่ไปเฝ้าก็มีธูปเทียนจุดบูชาธรรม ครั้นเทศน์จบ พระที่ไปเฝ้าก็พากันเข้าไปนั่งรับสัพพี ผู้ที่มีความคิดอย่างใหม่ๆ บางคนติเตียนว่าเป็นการสัพพีประจบประแจง เพราะไม่ได้นิมนต์และไม่ได้รับทาน ทีหลังเมื่อเห็นผู้ใดทำกิริยาประจบประแจง จึงพูดว่า “ราวกับพระสัพพีที่วังนั้น” คำ “สัพพี” จึงเลยใช้เป็นคำแผลงกันทั่วไป


ที่มา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. “อธิบายศัพท์แผลง.” พระราชพิธีสิบสองเดือน.

cr.พระพุทธศาสนา/วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี



พัชนี

พัชนี สำหรับลูกศิษย์พัดวีปรนนิบัติพระภิกษุ หรือถือแทนตาลปัตร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ไม่โปรดใช้พัชนี เพราะมีลักษณะคล้ายจวักเป็นอัปมงคล จึงให้เลิกใช้พัชนีทั้งสิ้น


cr.บรรณาลัย




นิวรณ์

นิวรณ์ ในทางพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมอันกั้นไม่ให้บรรลุความดี โดยเฉพาะในการวิปัสสนา กว่าจะบรรลุถึงขั้นจิตสงบ โดยพื้นฐานต้องฝึกการชำระนิวรณ์ให้หมดสิ้น นิวรณ์ในที่นี้หมายถึงธรรมปิดกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี ๕ ประการ ซึ่งจัดเป็นกิเลสอย่างกลางสำหรับผู้ภาวนา คือ

๑. กามฉันทะ เหมือนน้ำที่ถูกสีย้อม - ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่น่าชอบใจ มีรูป รส กลิ่น เสียง กามสัมผัส เป็นต้น
๒. พยาบาท (พยาปทะ) เหมือนน้ำที่กำลังเดือด -  ความคิดปองร้ายผู้อื่น การผูกเวรหมายมั่นในผู้อื่น ทำให้จิตไม่สงบ
๓. ถีนมิทธะ คือ เหมือนน้ำที่มีจอกแหนปกคลุมอยู่ - ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะปฏิบัติธรรม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ เหมือนน้ำที่เป็นคลื่น - ความฟุ้งซ่านและรำคาญ เบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติธรรม ไม่เป็นที่สุขสงบ
๕. วิจิกิจจฉา เหมือนน้ำที่มีเปือกตม - มีความสงสัย ลังเล



http://www.sookjaipic.com/images_upload_2/96107236254546_170103665_1126327957882883_253.jpg
คำวัดน่ารู้ - เกร็ดพุทธศาสน์


นิสสัยวัตต์

นิสสัยวัตต์ หรือ กรณียกิจ คือข้อปฏิบัติหรือครองปฏิบัติสำหรับพระภิกษุผู้อุปสมบทใหม่ และเป็นข้อปฏิบัติที่ภิกษุจะต้องยึดปฏิบัติไปจนกระทั่งลาสิกขาหรือมรณภาพ ส่วนมากพระอุปัชฌาย์เป็นผู้บอกนิสสัยวัตต์แก่ผู้บวช  สาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นก็คือ ในสมัยพุทธกาลเมื่อภิกษุได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่รู้จักการเลี้ยงชีพและการดำรงชีวิตสมณเพศอย่างเหมาะสม ดังที่กล่าวในคัมภีร์วินัยดอกเดื่อว่า “ถัดนั้นไพพายหน้าภิกษุทั้งหลายบ่รู้ที่อาสรัยนับอยู่นับกินบัวรโภคบ่ดูงาม พระเจ้าจึงตั้งอนุญาตไว้ว่า ตั้งแต่นี้ไพพายหน้า ผู้ใดมาเปกข์บวชแล้ว หื้อสงฆ์ บอกคลองปฏิบัตินิสสัย ๔ ประการ” มีดังนี้

๑. การบรรพชาอาศัยการเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีวิต (ปิณฺฑิยา โลปโพชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา) ให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์
๒. การบรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต (ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา) การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธกาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็นจีวร สบง ไว้นุ่งห่ม
๓. การบรรพชาต้องอาศัยอยู่โคนต้นไม้ตลอดชีวิต (รุกขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา) เนื่องจาก ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต เมื่อทิ้งบ้านเรือนมาออกบวชก็มักจะอาศัยอยู่ในป่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ยกเว้น ต่อมาภายหลังจึงมีผู้ศรัทธาสร้างกุฏิถวาย
๔. การบรรพชาอาศัยเภสัชด้วยน้ำมูตรตลอดชีวิต (ปูติมุตฺตเภสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา)ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร(ปัสสาวะ) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า ปัสสาวะ ประกอบไปด้วย น้ำบริสุทธิ์ ๙๕% ยูเรีย ๒.๕% และอื่นๆ อีก๒.๕% แม้จะไม่มีโทษร้ายแรง แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์

นิสสัยวัตต์ทั้งหมดนี้วินัยปิฎกจัดในอนุศาสน์ คือข้อที่สงฆ์จะต้องพร่ำสอนพระบวชใหม่ รวมกับอกรณียกิจ คือสิ่งที่พระไม่ควรทำอีก ๔ ข้อ คือ การเสพเมถุน (ล่วงเกินประเวณี) การลักขโมยของผู้อื่น การฆ่าสัตว์ และการกล่าวคำเท็จหรือคำอำพราง




ขันธ์

ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือขันธ์ทั้ง ๕

๑. รูป เป็นสภาพไม่รู้ รูปมีทั้งหมดมี ๒๘ รูป มหาภูตรูป ๔ มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ ที่เหลือเป็น อุปาทยรูป ๒๔ รูป
๒. เวท เป็นเวทนาเจตสิก เป็นความรู้สึก มี ๕ ได้แก่ ทุกข์ สุข เกิดให้จิตรู้ได้ทางกาย โสมมนัส โทมนัส อุเบกขา เกิดให้จิตรู้ได้ทางใจ
๓. สัญญา เป็นสัญญาเจตสิก เป็นความจำได้หมายรู้ ได้แก่ จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา รับและรู้สึกนั้นๆได้ทางใสังขาร เป็นเจตสิก ๕๐ ประเภท ปรุงแต่งจิตให้เป็นจิตหลากหลาย
๔. วิญญาณ เป็นจิตทั้งหมด เป็นสภาพรับรู้ ได้แก่ ระบบรับรู้สิ่งนั้นๆในปัจจุบัน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ



การมัดตราสัง

การมัดตราสัง คือ ปริศาทางธรรม ไม่ได้มัดให้คนตาย แต่บอกให้คนเป็นฟัง
บ่วงที่ ๑ - สัปเหร่อทำด้ายให้เป็นบ่วงมาคล้องที่คอผู้ตายจะท่องคาถา “ปุตโต คีว” หมายถึง ห่วงลูกหลาน เป็นห่วงผูกคอ นับเป็นบ่วงที่ ๑

บ่วงที่ ๒ - หลังจากนั้นสัปเหร่อจะโยงด้ายมากลางลำตัวของผู้ตาย ทำเป็นบ่วงผูกนิ้วหัวแม่มือทั้งสองของผู้ตาย ให้มืออยู่ในลักษณะของท่าพนม โดยที่จะมีดอกไม้ ธูปเทียนใส่ไว้ในมือ แล้วจึงรวบผูกมือของผู้ตายไว้ที่กลางหน้าอก พร้อมท่องคาถา “ธน หตุเถ” หมายถึง ห่วงทรัพย์ที่หาได้ นับเป็นบ่วงผูกมือ นับเป็นบ่วงที่ ๒

บ่วงที่ ๓ - สุดท้ายสัปเหร่อโยงด้ายมาที่ปลายเท้า ทำเป็นบ่วงผูกนิ้วหัวแม่เท้า และข้อเท้าทั้งสองข้างให้ติดกัน พร้อมท่องคาถา “ภริยา ปาเท” หมายถึง ห่วงครองคู่ นับเป็นบ่วงผูกเท้า เป็นบ่วงที่ ๓




จิตรกรรมภายในศาลาการเปรียญ วัดเกาะแก้วสุทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

ปัญญา
 
ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ,
รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล  ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มีนาคม 2565 13:57:35 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 ธันวาคม 2564 16:32:47 »


ขอขอบคุณเว็บไซต์ "พลังจิต" (ที่มาภาพประกอบ)

ดวงตาเห็นธรรม

"ดวงตาเห็นธรรม" คือ ปัญญารู้เห็นตามความจริงว่า
...สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.



กาลทาน ๕ ประการ

๑. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
๒. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
๓. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้
๔. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก
๕. ให้ข้าวอย่างดี และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล


กราบขอบคุณที่มา : วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2565 15:31:36 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 มกราคม 2565 16:06:39 »



บัว ๔ เหล่า

บัวสี่เหล่า เป็นการอุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ จำพวก ตามฐานะที่จะบรรลุนิพพานได้และไม่ได้ในชาตินั้น ปรากฏในโพธิราชกุมารสูตร ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ว่าเมื่อแรกตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาว่าพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนสุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ แต่ต่อมาได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้ว ทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๓ เหล่า (ตามนัยโพธิราชกุมารสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี หรือบัว ๔ เหล่า (ตามนัยสุมังคลวิลาสินี)

การที่สุมังคลวิลาสินีกล่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงเปรียบบุคคลเป็นดอกบัว ๔ เหล่านั้น เป็นการประยุกต์จากพุทธพจน์เรื่องบุคคล ๔ จำพวกที่ตรัสไว้ในอุคฆฏิตัญญุสูตร อังคุตตรนิกาย ปุคคลวรรคที่ ๔ มาผสานกับพระพุทธพจน์เรื่องดอกบัว ๓ เหล่าที่ตรัสไว้ในโพธิราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกาย จึงกลายเป็นดอกบัว ๔ เหล่าที่รู้จักกันในปัจจุบัน

เปรียบเหมือนคน ๔ จำพวก คือดอกบัวพ้นน้ำ ดอกบัวปริ่มน้ำ(เสมอน้ำ) ดอกบัวใต้น้ำ และดอกบัวในตม
๑. จำพวกพ้นน้ำ คือ พวกมีปัญญา พอบอก"หัวข้อธรรม" ก็สามารถเข้าใจได้
๒. จำพวกปริ่มน้ำ หรือเสมอน้ำ คือ จำพวกที่ฟังธรรมแล้ว ต้องขยายความ จึงเข้าใจ
๓. จำพวกบัวใต้น้ำ คือ เหล่าเวไนยสัตว์ เรียกว่า จำพวกที่ต้องเคี่ยวเข็ญ จึงจะเสมอน้ำ หรือบานในเวลาต่อมา
๔. จำพวกบัวในตม  ที่เป็นอาหารของเต่า ปลา หมดโอกาสที่จะเจริญธรรมได้ คือ จำพวกหลงผิด ติดอยู่ในกามคุณ วัตถุ และโลภ โกรธ หลง


บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.71 Chrome 97.0.4692.71


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 14 มกราคม 2565 15:33:46 »



ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไปหรือดำเนินไป

พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคียทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปัจจุบันนั่นเอง   เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุดทั้ง ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ความจริงของอริยะ หรือความจริงอันประเสริฐทั้ง ๔  ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ(ญาณชนิดตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)

ท่านโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)  และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระศาสนา เรียกว่าเป็น ปฐมสาวก

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.99 Chrome 97.0.4692.99


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 28 มกราคม 2565 11:50:37 »



พรหมวิหาร ๔

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็นใหญ่

พรหมวิหาร เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ ๔ ประการ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์

มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 97.0.4692.99 Chrome 97.0.4692.99


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 08 กุมภาพันธ์ 2565 13:07:52 »



กุลทูสก

กุลทูสก (อ่านว่า กุ-ละ-ทู-สก, กุ-ละ-ทู-สะ-กะ) แปลว่า "ผู้ประทุษร้ายตระกูล" เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงภิกษุผู้ประจบเอาใจคฤหัสถ์ที่ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือผู้มียศศักดิ์ ด้วยอาการที่ผิดพระวินัย เพื่อให้เขาศรัทธาในตัว เพื่อหวังลาภผลจากเขา เช่นให้ของกำนัล ทำสวนดอกไม้ไว้ให้เขาชื่นชม พูดประจ๋อประแจ๋ อุ้มลูกเขา ยอมตัวให้เขาใช้สอย รับเป็นหมอรักษาไข้ รับฝากของต้องห้าม เป็นต้น

กุลทูสกเป็นผู้ทำลายศรัทธา ทำให้เขาดูหมิ่นเสื่อมถอยในพระรัตนตรัย และทำให้เขาพลาดจากบุญกุศล เพราะมัวหลงชื่นชมต่อสิ่งที่ได้รับ ไม่หาโอกาสบำเพ็ญบุญอย่างอื่น จึงเรียกผุ้ประทุษร้ายตระกูล หรือผู้ทำร้ายตระกูล
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.102 Chrome 98.0.4758.102


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2565 16:06:55 »



ธรรมสวนะ

คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม (ภาษาพูดเรียกว่า วันพระ) ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุศลเป็นกรณีพิเศษ

พิธีของชาวบ้าน โดยพุทธศาสนิกชนก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายอาหารหวานคาวแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด

ในวันธรรมสวนะนี้ ชาวบ้านก็จะละเว้นการประพฤติกิจที่เป็นบาปต่างๆ การสมาทานศีลในวันนี้ เช่น รับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน ซึ่งนับว่าเกิดเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 98.0.4758.102 Chrome 98.0.4758.102


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2565 15:51:16 »



โสดาปัตติผล

โสดาปัตติผล : ผลคือการถึงกระแสสู่นิพพาน,

ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ด้วยโสดาปัตติมรรค ทำให้ได้เป็นพระโสดาบัน



อนิฏฐารมณ์

อนิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ

แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ 

แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์;



สัปปายะ

สัปปายะ : สิ่ง สถาน หรือบุคคล ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออำนวยโดยเฉพาะที่ช่วยเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญและประคับประคองรักษาสมาธิ

ท่านแสดงไว้ ๗ อย่าง คือ
- อาวาส (ที่อยู่)
- โคจร (ที่บิณฑบาตหรือแหล่งอาหาร)
- ภัสสะ (เรื่องพูดคุยที่เสริมการปฏิบัติ)
- บุคคล (ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้วช่วยให้จิตผ่องใสสงบมั่นคง)
- โภชนะ (อาหาร)
- อุตุ (สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิ)
- อิริยาบถ;

ทั้ง ๗ นี้ที่เหมาะกันเป็นสัปปายะ ที่ไม่สบายเป็น อสัปปายะ



ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์
         พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
         พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

450
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.51 Chrome 99.0.4844.51


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 09 มีนาคม 2565 13:36:44 »



สังโยชน์

สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี ๑๐ อย่าง คือ

สังโยชน์เบื้องต่ำ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
๒. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
๔. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ

สังโยชน์เบื้องสูง ๕  อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ได้แก่
๖. รูปราคะ - มีความติดใจในรูปฌาน
๗. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
๘. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
๙. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้คือ
- สักกายทิฏฐิ
- วิจิกิจฉา
- สีลัพพตปรามาส

พระสกทาคามี ละ ๔-๕ คือ
- กามราคะ
- ปฏิฆะ
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.51 Chrome 99.0.4844.51


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 10 มีนาคม 2565 13:21:33 »



ปฏิสงฺขา
 
ปฏิสงฺขา (ปะ-ติ สัง-ขา) แปลว่า พิจารณาแล้ว มิใช่เพื่อสนุกสนาน  มิใช่เพื่อประดับประดา  มิใช่เพื่อตกแต่ง  แต่เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกาย

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, - เราย่อมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.51 Chrome 99.0.4844.51


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 21 มีนาคม 2565 15:56:33 »

.



ไตรสิกขา

ไตรสิกขา คือ หลักการศึกษาของพระสงฆ์และฆราวาส ๓ ขั้น ได้แก่ อธิศีลสิกขา (ศีล) อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) และอธิปัญญาสิกขา (ปัญญา).

ในทางพุทธศาสนาได้มีการวางหลักการศึกษาหรือหลักปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลแห่งการพัฒนาจิตไว้ ๓ ขั้น เรียกว่า “ไตรสิกขา” ได้แก่

๑. สีลสิกขา เป็นการปฏิบัติในขั้นศีล ให้ถูกต้องดีงามตามหลักจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลักอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ

๒. จิตตสิกขา เป็นการปฏิบัติในขั้นสมาธิ คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่การบำเพ็ญสมถกรรมฐานของผู้สมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์จนได้บรรลุฌาน ๔

๓. ปัญญาสิกขา เป็นการปฏิบัติในขั้นปัญญา คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้ฌานแล้วจนได้บรรลุวิชชา ๘ คือเป็นพระอรหันต์ หรืออีกชื่อคืออรหันต์พุทธ

คำว่า “สิกขา” จึงหมายถึงการปฏิบัติ คือฝึกหัดอบรม กาย วาจา ใจ ที่เน้นด้านการปฏิบัติ เช่น ถ้าศึกษาในเรื่องศีล ก็คือ การปฏิบัติศีล เป็นต้น  ถ้าหากเพิ่มภูมิการศึกษาปฏิบัติสูงขึ้น สามารถทำให้ดียิ่งขึ้นจนถึงขั้นมรรค มีองค์ ๘ ก็จัดเป็นการศึกษาปฏิบัติขั้นสูง  ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า อธิสีลสิกขา คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิต เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง  

ฉะนั้น มรรคมีองค์ ๘ จึงย่อลงในไตรสิกขาได้ดังนี้คือ

๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ และสัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สองอย่างนี้ย่อลงในอธิปัญญาสิกขา เพราะเป็นเรื่องการอบรมปัญญา  

๒. สัมมาวาจา คือการเจรจาชอบ  สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำชอบ ประพฤติกายสุจริต ละเว้นจากความประพฤติชั่ว และสัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ  สามอย่างนี้ย่อลงในอธิศีลสิกขา เพราะเป็นเรื่องการอบรมความประพฤติทางกายและวาจา

๓. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้   สัมมาสติ คือ การมีสติชอบ กำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน ในสภาวะทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม และสัมมาสมาธิ คือ ตั้งใจชอบ ตั้งใจมั่นโดยถูกทาง ไม่ฟุ้งซ่าน  สามอย่างนี้ย่อลงในอธิจิตตสิกขา เพราะเป็นการฝึกอบรมให้เกิดสมาธิ

การพัฒนาจิตตามหลักพระพุทธศาสนาจำต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ หรือไตรสิกขาเท่านั้น จึงจะได้รับผลตามที่มุ่งหมายได้  นอกเหนือไปจากไตรสิกขานี้แล้ว ไม่จัดว่าเป็นการพัฒนาจิตตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะว่าเมื่อปราศจากไตรสิกขาก็ไม่อาจยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้นได้   ดังนั้น หลักไตรสิกขาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาจิตให้เยือกเย็น บริสุทธิ์ผ่องใส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มีนาคม 2565 16:00:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.82 Chrome 99.0.4844.82


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 25 มีนาคม 2565 14:04:03 »



อานาปานสติ

อานาปานสติ หมายถึง การพัฒนาสติ สมาธิ ปัญญา ด้วยการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดอารมณ์ทุกลมหายใจเข้าออก ซึ่งอานาปานสติที่พระพุทธองค์แนะนำ มีอารมณ์ อยู่ ๑๖ อย่าง แบ่งเป็น ๔ หมวด คือ หมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต หมวดธรรม โดยเป็นกายานุปัสสนา ๔ คู่ เป็นเวทนานุปัสสนา ๔ คู่ เป็นจิตตานุปัสสนา ๔ คู่ เป็นธัมมานุปัสสนา ๔ คู่
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 29 มีนาคม 2565 19:56:12 »



อุทกุกเขปสีมา

อุทกุกฺเขป + สีมา = อุทกุกฺเขปสีมา (อุ-ทะ-กุก-เข-ปะ-สี-มา)

อุทกุกเขปสีมา หมายถึง เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำ หรือทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือบนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้น กับหลักหรือต้นไม้ริมตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน); อุทกุกเขปนี้ จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง.


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 99.0.4844.84 Chrome 99.0.4844.84


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 01 เมษายน 2565 10:17:00 »

.


ขอขอบคุณเพจ พระพุทธศาสนาไทยลาวกัมพูชา (ที่มาภาพประกอบ)

ภัตกิจ

ภัตกิจ หมายถึงการฉันภัต หรือการฉันอาหารของพระสงฆ์ เป็นคำวัดโดยเฉพาะ

ภัตกิจ ใช้คู่กับคำว่า ทำ เป็น ทำภัตกิจ หมายถึงฉันอาหารนั่นเอง เช่น

“ พระสงฆ์กำลังทำภัตกิจอยู่ ยังไม่ว่าง ขอให้รอก่อน”

“ การทำภัตกิจของพระสงฆ์มีกำหนดเวลา คือตอนเช้าประมาณ ๗ โมง ตอนเพลเวลา ๑๑ โมงตรง”

การฉันอาหารของพระสงฆ์มีใช้หลายคำ เช่น ฉันจังหัน ฉันภัตตาหาร ทำภัตกิจ


ที่มา : "ภัตกิจ" โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 108.0.0.0 Chrome 108.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 16 ธันวาคม 2565 14:36:29 »



ขอบคุณเว็บไซต์ "หน่อแก้วพระพุทธศาสนา" (ที่มาภาพประกอบ)

สัญญมะ

สัญญมะ โดยพยัญชนะได้แก่ความสำรวมระวังรักษาจิต โดยกิจ ท่านว่าเป็นคุณห้ามความพล่านแห่งจิต โดยอรรถได้แก่ความสำรวมอินทรีย์  อินทรีย์ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  ความสำรวมได้แก่การป้องกันรักษาอินทรีย์นั้นในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส และนึกคิดอะไรๆ มิให้จิตเพลิดเพลินระเริงหลงในอารมณ์ที่ชอบและโทมนัสเสียใจแค้นใจกลุ้มใจในอารมณ์ที่ไม่ชอบ เพราะถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนั้น ใจก็ป่วนปั่นพลุ่งพล่านไปในอารมณ์ที่สัมผัสทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางมโนบ้าง ใม่อาจทำกิจอันชอบที่เป็นประโยชน์นั้นๆ ให้สำเร็จได้ทั้งคดีโลกและคดีธรรม  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโทษของความไม่สำรวมและสำรวมไว้ทั้งอุปมาอุปมัย ในสังยุตตนิกายสฬายตนวรรค (สํ. สฬา. หน้า ๒๖๔)

ที่มา : เขมจารีนิพนธ์ โดย สมเด็จพระวันรัตน์ (เฮง ป.๙) เขมจารีมหาเถระ  วัดมหาธาตุ พระนคร
650
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 23 มกราคม 2566 16:02:45 »





ผ้านุ่งห่มที่มีลวดลาย

"..น ปุปฺผทสานิ จีวรานิ ธาเรตพฺพานิ น ผลทสานิ จีวรานิ ธาเรตพฺพานิ.."
ในบาลีมีห้ามไม่ให้ใช้ที่มีชายผ้าเป็นลายดอกไม้ ลายผลไม้

พระพุทธศาสนา ไทย ลาว กัมพูชา (ที่มาข้อมูล/ภาพ)

700
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 20 มีนาคม 2566 18:31:00 »







อุทกุกเขปสีมา

อุทกุกเขปสีมา หมายถึง เขตสามัคคีชั่ววักน้ำสาดแห่งคนมีอายุและกำลังปานกลาง หมายถึง เขตชุมนุมทำสังฆกรรมที่กำหนดลงในแม่น้ำ หรือทะเล ชาตสระ (ที่ขังน้ำเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น บึง หนอง ทะเลสาบ) โดยพระภิกษุประชุมกันบนเรือ หรือบนแพ ซึ่งผูกกับหลักในน้ำ หรือทอดสมออยู่ห่างจากตลิ่งกว่าชั่ววิดน้ำสาด (ห้ามผูกโยงเรือหรือแพนั้น กับหลักหรือต้นไม้ริมตลิ่ง และห้ามทำในเรือหรือแพที่กำลังลอยหรือเดิน); อุทกุกเขปนี้ จัดเป็นอพัทธสีมาอย่างหนึ่ง.

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต

ที่มา พระพุทธศาสนาไทย ลาว กัมพูชา




650
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มีนาคม 2566 18:36:04 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 29 มิถุนายน 2566 18:50:17 »


ขอขอบคุณเว็บไซต์ thaihealthlife.com (ที่มาภาพประกอบ)

ไวยาวัจกรรม

ไวยาวัจกรรม คือการช่วยผู้อื่นในกิจการอันเป็นบุญกุศล เช่น เขาจะทำบุญกุศล มีอาทิ คือ บวชนาค ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ถวายสังฆทาน หรือทำการอื่นที่เป็นบุญกุศล เขาไม่เข้าใจ ไม่รู้จักวิธี ช่วยแนะนำให้เขาเข้าใจ รู้จักวิธี เพื่อทำถูกระเบียบ หรือเขาขาดผู้ช่วย ก็ช่วยเขาจัดทำ ยกขึ้นแบกหาม จัดการจนเป็นที่เรียบร้อย

ที่มา "มงคลในพระพุทธศาสนา"  พระนิพนธ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5746


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 มีนาคม 2567 12:09:15 »



พระพุทธไสยา,พระไสยา ปางปรินิพพาน ศิลปะสุโขทัย
ประดิษฐาน : พระวิหารพระศาสดา (ห้องทิศตะวันตก) วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพฯ



สีหไสยาสน์ หรือ สีหไสยาส

คำว่า “สีหไสยาสน์" หรือ "สีหไสยา" ปรากฏความในอรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ ตุวฏกสุตตินนิทเทสที่ ๑๔ ที่ปรากฏคำว่า สีหมฤคราช ในความหมายเป็นการนอนแบบราชสีห์ เป็นชื่อเรียกโดยทั่วไปพุทธลักษณะขณะปรินิพพาน ในอิริยาบถบรรทม (นอน)  หมายถึง ท่านอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย แขนซ้ายทอดพาดไปตามพระวรกาย เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา พระหัตถ์ขวารองรับศีรษะด้านข้างอยู่บนพระเขนย


ขอขอบคุณเว็ฺบไซต์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ที่มาภาพประกอบ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 มีนาคม 2567 12:11:27 โดย Kimleng » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.392 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤศจิกายน 2567 13:15:04