[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 พฤษภาคม 2567 14:35:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มหาเทพผู้พิทักษ์ สองเทพารักษ์ของชาติไทย พระสยามเทวาธิราชช่วยชาติร่มเย็น  (อ่าน 1211 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5081


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.273 Chrome 50.0.2661.273


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 ธันวาคม 2559 12:58:13 »




มหาเทพผู้พิทักษ์ สองเทพารักษ์ของชาติไทย พระสยามเทวาธิราชช่วยชาติร่มเย็น พระคลังมหาสมบัติมีกินไม่ขาด ขจัดความยากจน

พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูป หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ



หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดการศึกษาประวัติศาสตร์ มีพระราชดำริว่าประเทศไทยมีเหตุการณ์ที่เกือบจะต้องเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่เผอิญให้มีเหตุรอดพ้นภยันตรายมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นหล่อเทวรูปสมมุติขึ้น ถวายพระนามว่าพระสยามเทวาธิราช ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระที่นั่งพุทธมณเฑียร ในพระอภิเนาว์นิเวศน์



พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะเป็นประจำวัน เครื่องสังเวยที่ถวายเป็นประจำนั้น จะถวายเฉพาะวันอังคาร และวันเสาร์ก่อนเวลาเพล โดยจะมีพนักงานฝ่ายพระราชฐานชั้นใน เป็นผู้เชิญเครื่องตั้งสังเวยบูชา เครื่องสังเวยประกอบด้วย ข้าวสุกหนึ่งถ้วยเชิง หมูนึ่งหนึ่งชิ้น พร้อมด้วยน้ำพริกเผา ปลานึ่งหนึ่งชิ้นพร้อมด้วยน้ำจิ้ม ขนมต้มแดงและขนมต้มขาว กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อนหนึ่งผล ผลไม้ตามฤดูกาลสองอย่าง และน้ำสะอาดอีกหนึ่งถ้วย โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีสังเวยเทวดา ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี



ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเลียนแบบพระสยามเทวาธิราชแต่แปลงเค้าพระพักตร์ให้เหมือนสมเด็จ พระชนกาธิราช เพื่อทรงสักการะ พระบรมรูปองค์นี้ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า พระอภิเนาว์นิเวศน์พระพุทธมณเฑียร และพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งเป็นโครงสร้างเสาไม้หุ้มปูน ที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาก ยากที่จะบูรณะให้คงสภาพเดิมไว้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลงทั้งหมด และอัญเชิญพระสยามเทวาธิราชไปประดิษฐานไว้ ณ พระวิมานทองสามมุขเหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ตราบจนถึงทุกวันนี้

พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่พระสยามเทวาธิราช ตามประเพณีกำหนดไว้ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติแบบโบราณ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จแทนพระองค์มาทรงถวายเครื่องสังเวยเป็นราชสักการะพระสยามเทวาธิราช และมีละครในจากกรมศิลปากรรำถวาย



ระหว่างวันที่ 7 - 30 เมษายน พ.ศ. 2525 เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง 2 ชั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง ในวันพุธที่ 7 เมษายน 2525 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สาธุชนเข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชหลังเสด็จฯ กลับ จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2525 นับเป็นครั้งแรกที่ประชาชนมีโอกาสได้เข้าถวายสักการะพระสยามเทวาธิราชเฉพาะพระพักตร์



พระคลังมหาสมบัติ

(โดยจันจิรา  เทวฤทธิ์ )




ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวรูปขึ้นประดิษฐานไว้ในอาคารที่ตั้งของพระคลังมหาสมบัติ หรือที่เรียกว่า “พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” โดยมีลักษณะเป็นเทวดาหล่อยืน ทรงเครื่องกษัตริยาธิราช สวมมงกุฎยอดชัย (หรือพระมหามงกุฎ) พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ อันเป็นลักษณะของผู้ปกป้องคุ้มครอง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงามและการบูชา ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีนทำด้วยไม้จันทน์ทาชาดสีแดง มีประตูเป็นบานเฟี้ยมถอดได้ แกะสลักลวดลายแบบจีน ลงรักปิดทอง

 สันนิษฐานกันว่าการสร้างพระคลัง มีนัยยะคล้ายกับการสร้างพระสยามเทวาธิราช ทั้งในด้านรูปลักษณะในท่าที่ทรงยืน ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงแบบกษัตริย์ สวมมงกุฎยอดชัย ซึ่งหากจะเปรียบกับตัวโขนในมหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์แล้ว ตัวพระซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์ คือ ‘พระราม’ หรือแม้แต่ ‘พระลักษณ์’ ก็สวม ‘มงกุฎยอดชัย’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระมหามงกุฎเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเปรียบเสมือนเทพยดาศักดิ์สิทธิ์ที่คอยอภิบาลรักษา โดยองค์พระสยามเทวาธิราชเป็นดั่งเทพที่คอยปกป้องบ้านเมือง ส่วน “พระคลัง” ดุจดังเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ



สำหรับนัยยะของดอกบัวที่อยู่ในพระหัตถ์ซ้ายของ “พระคลัง”นั้น กล่าวกันว่า ‘ดอกบัว’ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาพุทธ และเทพเจ้าของฮินดู ซึ่งมีการนำมาใช้ในพิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เพราะถือเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ ‘ดอกบัว’ ยังเป็นต้นเค้าของพุทธศิลป์ไทย เห็นได้จากการนำรูปทรงดอกบัวมาใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลป์ซึ่งนิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ รูปบัวหัวเสาในอาคารสถาปัตยกรรมไทย เทวรูป หรือรูปเคารพที่ทรงถือดอกบัว อาทิ เทวรูปพระแม่ลักษมี ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการนำรูปดอกบัวไปประทับบนเงินตรา เช่น รูปกระต่ายบนดอกบัวในเหรียญเงินทวารวดี รูปดอกบัวบนเงินพดด้วงสมัยอยุธยา และรูปบัวอุณาโลมบนเงินพดด้วงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รวมถึงรูปแบบของเครื่องอิสริยยศหมวดเครื่องอุปโภค เช่น พานพระศรี หรือพานหมาก ตลอดจนรูปองค์ประกอบบนดวงตราและดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ฯลฯ



ความเชื่อเกี่ยวกับ “พระคลัง” ว่าเปรียบดั่งเทพผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สินมีค่าในพระคลังมหาสมบัติ เป็นความเชื่อถือที่มีมาช้านาน เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชา และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของข้าทูลละอองธุลีพระบาทที่รับราชการในพระคลังมหาสมบัตินับจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จาก การที่ชาวกรมธนารักษ์ยังคงสืบทอดประเพณี “ถวายเครื่องสังเวย” (แปลว่า ให้อาหาร ให้เครื่องกิน ให้เครื่อง เซ่นไหว้) เทวรูปพระคลัง หรือที่ชาวกรมธนารักษ์เรียกกันว่า “พิธีไหว้เจ้าพ่อคลัง” ขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ มิได้ขาด เพื่อขอให้ความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการบูชา และเป็นสิ่งที่ทุกคนได้พร้อมใจกันกระทำด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งศรัทธาที่มีต่อ “เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” อย่างไม่เสื่อมคลาย

 


จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/215584/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.312 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 31 มีนาคม 2567 21:51:17