10อันดับ ภาษาอังกฤษที่คนมักอ่านผิดตลอด!!!เรื่องมันเกิดจากว่า วันก่อนผมไปพรีเซนต์งานในห้องประชุม
ซึ่งใน powerpoint ของผมเป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษทั้งหมด
แต่พรีเซนต์เป็นภาษาไทย ผมเลยต้องพูดทับศัพท์อังกฤษเยอะมาก
แล้วผมก็อ่านออกเสียงคำว่า sale volume ว่า เซลล์ โวล ยุ่ม
ทันทีที่เปล่งเสียงจบพยางค์ ผมสังเกตว่ามีคนในห้องประชุม
หัวเราะคิกคัก ซึ่งผมก็ไม่ค่อยแปลกใจนะครับ ว่าทำไมถึงหัวเราะ
เพราะคำว่า "โฟลยุ่ม" มันแสนจะขัดหูกับประชาชนชาวไทย
ที่ถูกสอนมาทั้งชีวิตว่า volume ต้องอ่านว่า "โวลุ่ม" เหลือเกิน
แต่ก็นะครับ, แรงและไม่แคร์สื่ออย่างผม ขอยืนหยัดอยู่ในฝ่ายที่ถูกต้อง
ก็คำว่า volume มันต้องอ่าน "โวลยุ่ม" อ่ะครับ มันก็ต้อง "โวลยุ่ม" สิครับ
ยอมรับนะครับ ว่าช่วงแรกๆที่ผมอ่านคำนี้ว่า "โวลยุ่ม" มันก็จักกะจี้ลิ้นเหมือนกัน
แต่พออ่านไปบ่อยๆ ใช้เป็นประจำ ผมว่ามันก็ไม่ได้ขัดลิ้นอะไร
ผมเองก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษแบบเทพเจ้าอะไรหรอกครับ
แต่ผมพบว่า มีคำภาษาอังกฤษอีกหลายคำมากที่คนไทยออกเสียงผิดเป็นประจำ
หลายคำที่ผมเองก็เคยอ่านผม และหน้าแหกเพราะฝรั่งฟังไม่ออกมาแล้ว
เลยขอรวบรวมคำศัพท์สุดฮิต 10 อันดับแรกที่คนไทยอ่านผิดบ่อยที่สุด
1.Value (n., v.)
prize, esteem, cherish; assess, estimate, appraise
ไหนๆก็ยกคำว่า volume เป็นประเด็นเกริ่นนำไปแล้ว ก็ขอเอาฝาแฝดมาด้วยอีกคำ
คำว่า Value ถ้าอ่านออกเสียงแบบถูกต้องจริงๆ ต้องอ่านว่า "แฟยิ่ว" ครับ
อันนี้ยืนยันจากประสบการณ์ตรงได้ว่า ถ้าอ่านว่า "แวลู่" ฝรั่งมันงงจริงๆ
พยางค์หลัง พยัญชนะต้นคือตัว U ไม่ใช่ตัว L นะครับ ฟังดูกระแดะมากๆ
แต่ถ้าจะอ่านให้ถูกต้อง ต้องยอมกระแดะครับ เราต้องอดทนเพื่อความถูกต้อง
2.Error (n.)
the state of being wrong in conduct or judgement
ใครอ่านคำนี้ว่า "เออ-เร่อ" บ้างครับ? ยกมือขึ้นเดี๋ยวนี้!!! นั่นไง เพียบเลย...
คำนี้ผมอ่านว่า "เออเร่อ" มาจนถึงไม่กี่ปีนี้ถึงจะได้บรรลุธรรมว่ามันผิด!
ที่ผ่านๆมา อ่านตามชาวบ้านมาตลอด เออเร่อๆ อ๋อเหรอ เออๆ เหรอๆ เออเร่อๆ...
คำนี้คำที่ถูกต้องอ่านว่า "แอ-เร่อะ" ออกเสียงหนักที่พยางค์แรก
ส่วนพยางค์สองแทบไม่ต้องออกเสียงเลยครับ ออกเสียงคล้าย" แอ๊ร์..."
3.Effect (n., v.)
result, outcome; influence; impact; gimmick, trick; natural phenomenon
คำนี้คนไทยออกเสียงผิดประมาณ 99.7% (อีก 0.2% อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก)
เพราะเราจะคุ้นเคยกับคำว่า special effect (สเปล เอฟเฟกต์) ใช่มั้ยครับ
เจอคำนี้เดี่ยวๆปั๊บ เราก็เอฟเฟกต์กันทันใดเชียว ...
คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้คือ "อิ๊เฟกต์" ครับ ออกเสียง f แค่ตัวเดียว
ดังนั้น วันหลังไปดูคอนเสิร์ต หรือหนังแล้วก็อย่าออกเสียงเสล่อๆนะครับ
"The special effect in Transformer 2 is awesome"
สเปลอิเฟกต์ในหนังเรื่องทรานสฟอร์มเมอร์ภาคใหม่:-)เจ๋งเห้ยๆเลยคุณ
4.Purpose (n., v.)
goal, aim; intention, objective
ผมว่าหลายคนสับสนคำนี้กับคำว่า propose (n.) ที่แปลว่านำเสนอ หรือขอแต่งงาน
ซึ่งอ่านออกเสียงว่า "โพรโพ้ส" ตามรูปที่เราเขียนตรงๆ ...
หลายคนก็เลยเข้าใจว่า งั้น purpose ก็ต้องอ่านว่า "เพอร์โพส" น่ะสิ...
เหมือนจะถูก ... แต่ผิดครับ
คำนี้ออกเสียงว่า "เพ้อร์เพิส" พยางค์หลังออกเสียงสั้นครับ
5.genre (n.)
type, style, kind, category
ใครที่ใช้โปรแกรม iTunes ต้องเคยเห็นคำนี้กันทุกคนแน่ๆ
เพราะมันคำที่ใช้แบ่งประเภทของเพลง เช่น pop / R&B / Classic ไรงี้
ซึ่งถ้าอ่านตรงตามที่เห็น คงอ่านกันว่า "เจนรี่" หรือ "เจนเร่" ใช่มั้ยครับ?
ฮ่าๆ... ผมก็เคยอ่านมันว่า "เจอเนอเร่" เหมือนกัน เสล่อเป็นที่สุด
คำอ่านที่ถูกต้องของคำนี้อ่านว่า "ชองระห์" ครับ ...
คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส เลยอ่านแบบกระแดะแบบนี้ล่ะครับ
6.debt (n.)
obligation, something owed (as in money)
คำนี้เป็นคำที่อาจารย์สอนวิชา principle of investment
ตอนผมเรียนปีสาม สอนเป็นเรื่องแรกๆเลยครับ ... นอกจาก
จะสอนว่า debt แปลว่าหนี้สิน ซึ่งอยู่ในสมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
อาจารย์ยังสอนแบบย้ำนักย้ำหนาด้วยครับว่าคำนี้อ่านว่า "เด๊ท" นะคะนิสิต
ถ้านิสิตอ่านว่า "เด๊บ" นี่อาจารย์หักคะแนนจิตพิสัยนะคะ ...
7.fragile (adj.)
easily broken, flimsy; frail, weak, feeble
มีอยู่วันนึง ขณะกำลังต่อแถวเข้าคิวเช็คอินขึ้นเครื่องบิน
จำได้สนิทว่า คนที่อยู่หน้าผมเป็นคุณนายกระบังลมบิลลาบอง
บอกกับพนักงานอย่างชัดเจนว่า "ในกระเป๋ามีน้ำหอมนะคะ
ห้ามโยนนะคะ เดี๋ยวมันจะแตก ช่วยติดป้ายฟราจิ้วให้ด้วยค่ะ ..."
ห๊ะ ... ฟราจิ้ล??? ... อะไรวะ ฟราจิ้ล ... โค้ดลับสายการบินไหนเรอะ
พอผมเห็นพนักงานเอาสติ๊กเกอร์แถบสีส้มที่มีรูปแก้วไวน์แตกมาติดเท่านั้นแหละ
ถึงได้รู้ว่าคุณนายคนนั้นเค้าหมายถึง fragile ที่แปลว่า เปราะบางครับ
คำนี้อ่านว่า แฟรกไจล์ นะครับ ... ฟราจิ้ลนี่เสล่อเด้อๆนางเด่อมากครับ
8.comfortable (adj.)
easy; relaxing; bringing comfort; financially well to do
คำนี้ก็ไม่เชิงผิดหรอกนะครับ แต่คนไทยมักจะลงเสียงหนักผิดที่
เพราะตอนเด็กๆ ผมก็ชอบไปหนักเสียงที่พยางค์ที่สองเป็นประจำ
เราเลยมักอ่านกันว่า "คอมฟ้อร์ทเทเบิ้ล" กันสนุกปาก
แต่อันที่จริง คำนี้ออกเสียงหนังที่พยางค์แรก ส่วนพยางค์สองแทบไม่ออกเสียง
การออกเสียงที่ถูกต้องจึงควรเป็น คั้มฟท์เทเบิ้ล ครับ ... คือมันไม่ "ฟอร์ท" อะครับ
มันจะมีเสียง "ฟึ่ท" สั้นๆเบาๆอยู่หลังพยางค์แรกแค่นิดเดียวครับ
อ่ะ ลองดูครับ ลองออกเสียงดู คั้มฟท์เทเบิ้ล... อืม เก่งมากครับ
9.effort (n.)
physical or mental exertion, labor; attempt; something accomplished
through hard work; organized operation
เป็นอีกคำที่สร้างความสับสนให้กับชีวิตนักเรียนสอบเอนท์ครับ
เพราะจะไปสับสนกับคำว่า afford (n.) ที่อ่านว่า "อะฟอร์ด"
ไม่อ่านว่า แอ๊ฟฟอร์ดนะครับ ออกเสียง f ตัวเดียว อะฟอร์ดนะครับ
ซึ่งคำนี้แปลว่า จ่ายไหว, พอมีได้โดยไม่ยากลำบากนัก อะไรทำนองนี้
แต่คำว่า effort นั้นออกเสียงว่า "เอฟเฟิร์ท" ครับ
พยางค์หลังออกเสียงสั้นคล้ายกับคำว่า purpose นั่นแหละครับ
คำนี้แปลว่า ความมุ่งมานะ พยายาม อุตสาหะ
10.screen saver (n.)
a program which, after a set time, replaces an unchanging screen
display with a moving image to prevent damage to the phosphor.
ฮ่าๆ คำนี้นี่ฟังดูไร้สาระที่สุดในบรรดาสิบคำแล้วครับ แต่ขอบอกว่าอ่านผิดกันเพียบ
ถึงจะเขียนง่ายอ่านง่าย แต่คนก็อ่านผิดกันตรึม เพราะไปอ่านกันว่า
"สกรีน เซิฟเวอร์" ซึ่งมันควรจะสะกดว่า screen server แทนสิครับ
คำนี้จริงๆอ่านว่า สกรีน เซฟเฟอร์ นะครับ อย่าสับสน saver นะครับ!
ที่มา FWD Mail