[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 พฤษภาคม 2567 07:34:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม เพชรเม็ดงามที่ส่องประกายร่องรอยประวัติศาสตร์ล้านนา  (อ่าน 4874 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5493


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มีนาคม 2556 13:01:56 »

.

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม



พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม  Wat Gategaram Museum
ถนนเจริญราษฎร์  ตำบลวัดเกต  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

ชุมชนท่าวัดเกตุเป็นชุมชนโบราณ ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก ในยุคสมัยของการรุ่งเรืองการค้าขายทางเรือของเชียงใหม่กับหัวเมืองทางตอนใต้ ท่าน้ำวัดเกตุถือเป็นย่านเศรษฐกิจของการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่  

ยุคนี้เริ่มมีคนต่างถิ่นต่างเชื้อชาติและต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานในย่านวัดเกตุจำนวนมาก ได้แก่ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสำนักงานทำป่าไม้ในเขตภาคเหนือ รวมถึงชาวมุสลิม ชาวซิกข์ จากแคว้นปัญจาบในประเทศอินเดีย

ด้วยเหตุนี้ทำให้ชุมชนวัดเกตุ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้จากการมีศาสนสถานถึง ๔ ศาสนาในย่านชุมชน  ด้แก่ วัดเกตุการามของชาวพุทธ คริสตจักรที่ ๑ ของชาวคริสต์ มัสยิดอัตตักวาของชาวมุสลิม และวัดซิกข์ของชาวซิกข์

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๖๔  รัฐบาลได้มีการสร้างทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่  ทำให้การค้าขายทางน้ำลดความสำคัญลงและเลิกราไปในที่สุด  อดีตท่าน้ำวัดเกตุจึงกลายเป็นเพียงย่านที่อยู่อาศัยของลูกหลานของบรรพบุรุษ ที่มาตั้งรกรากทำมาค้าขายในอดีต

จากความสำคัญของอดีตชุมชนที่เคยรุ่งเรืองของเมืองเชียงใหม่  ทำให้สำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมมือกับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และชาวบ้านชุมชนวัดเกตุ จัดงานเสวนา “ฮ่วมกิ๊ด ฮ่วมใจ พัฒนาวัดเกตุ”  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒  อันนับเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวบ้านย่านวัดเกตุ ตื่นตัวและตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม  เกิดความรู้สึกกระตือรือร้นในการอนุรักษ์และพัฒนาวัดเกตุร่วมกัน

ขณะเดียวกันกรรมมาธิการสถาปนิกล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เข้ามาช่วยในการวางแผนผังการใช้พื้นที่วัด  ท่าน้ำชุมชนย่านวัดเกตุ ให้เป็นย่านที่อยู่เย็นเป็นสุข สามารถรักษาของเก่าไว้เพื่อบอกเล่าเป็นตำนานความเป็นมาของชุมชนนี้แต่หนหลัง  จึงมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เริ่มจากชาวบ้านได้ช่วยกันซ่อมแซมกุฏิเก่า หรือโฮงตุ๊เจ้าหลวง เป็นอาคารตึกทรงจีนอายุกว่าร้อยปี ซึ่งเป็นกุฏิของพระพระครูชัยศีลวิมล อดีตเจ้าอาวาสวัดเกตการาม
  
หลังจากที่บูรณะแล้ว ชาวบ้านได้เอาหน้าแหนบ  หน้าบัน ของวิหารหลังเก่ามาเก็บรักษาไว้ จนชาวบ้านเริ่มเห็นความสำคัญ ก็เริ่มนำของใช้โบราณ เช่น ถ้วยเก่า ผ้าเก่า เงินโบราณ เครื่องดนตรี เครื่องจักสานล้านนาที่หายาก มามอบให้วัด

เมื่อเห็นว่ามีของเก่ามาก ทางวัดจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเกตุขึ้น โดยเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๓  

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม

ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเกตุ นับว่าเป็นอีกพิพิธภัณฑ์หนึ่งที่มีสิ่งของโบราณหายากจัดแสดงไว้มากมาย ได้แก่ พระพุทธรูปแบบล้านนาและพม่า ตาลปัตรสมัยรัชกาลที่ ๕ เครื่องถ้วยชามโบราณกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น  และสิ่งของที่หาดูได้ยากยิ่งในยุคนี้ คือธงช้างเผือก ซึ่งใช้ประดับตามบ้านเรือนเพื่อต้อนรับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในวโรกาสเสด็จประพาสหัวเมืองล้านนา  นอกจากนี้ยังจัดแสดงผ้าโบราณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี และนิทรรศการภาพเก่าเมืองเชียงใหม่ในอดีต

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเกตุ จึงนับเป็นตัวอย่างของพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่อยู่คู่ชุมชน เปรียบดั่งเพชรเม็ดงามที่ส่องประกายร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของอดีตเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบวิถีชีวิตสงบเรียบง่าย




พระพุทธรูปศิลปะพม่า ในพิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม




ปลียอดเจดีย์






ตาลปัตร สมัยรัชกาลที่ ๕


หีบพระอภิธรรม

พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตุการาม ก่อตั้งโดยคณะศรัทธาวัดเกตุ  เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒   ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง ได้แก่ คุณจริน เบน  คุณอนันต์ ฤทธิเดช  คุณสมหวัง ฤทธิเดช คุณสัญญา ตันตระกูล  คุณธงชัย บุญมา  และคุณกฤษ  คงอุไร   โดย อาจารย์สมโชติ  อ๋องสกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เป็นที่ปรึกษา ในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์วัดเกตุการาม

สถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ  ปัจจุบัน ใช้กุฏิที่พำนักพระภิกษุสงฆ์  ของ พระครูชัยศีลวิมล (พ.ศ. ๒๔๒๙–๒๕๐๐)  เป็นอาคารไม้เก่าแก่ ตั้งอยู่ติดรั้วกำแพงด้านหลังของวัดเกตุการาม ซึ่งปัจจุบันค่อนข้างชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา

คุณลุงสมหวัง  ฤทธิเดช  เล่าว่า สิ่งของ หรือ วัตถุโบราณที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์วัดเกตุ   ส่วนใหญ่มาจากการบริจาคของคนในท้องถิ่นละแวกวัดเกตุ ซึ่งเล็งเห็นคุณค่าและความจำเป็นแก่การศึกษาค้นคว้าในทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของชนชาวล้านนา จึงสละมอบเป็นสมบัติส่วนรวมของชาติไว้สืบต่อไป

เมื่อจะเข้าไปในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์  ซึ่งกั้นเป็นห้องจัดแสดงราว ๓ – ๔ ห้อง จะต้องผ่านบริเวณจัดแสดงเครื่องดนตรี ซึ่งมีผู้บริจาคไว้จำนวนมาก  เช่น กลองล้านนา เครื่องดนตรีล้านนาโบราณ และเมื่อเดินเข้าไปในตัวอาคาร
   ส่วนแรกเป็นห้องโถง  จัดแสดงพระพุทธรูปศิลปะพม่า ให้ผู้มาเยือนได้สักการบูชา  และส่วนนี้ยังเป็นที่จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวล้านนา  เช่น ตะเกียง  เตา หม้อ จักรโบราณ เครื่องจักรสาน  เครื่องใช้ในครัวเรือนอื่นๆ  และเครื่องมือเกษตรกรรมหลายร้อยชิ้น
   ส่วนที่สอง แสดงวัตถุโบราณ และผ้าโบราณของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
   ส่วนที่สาม แสดงสิ่งของเครื่องใช้หลากหลายในอดีต เช่น พระพุทธรูปโบราณ  เครื่องเงิน ถ้วยชาม
   ส่วนที่สี่ แสดงภาพถ่ายล้านนาในอดีต (เก่าจนกระดาษกรอบ)

จากการได้รับฟังคุณลุงสมหวัง  ฤทธิเดช  จึงได้ทราบว่า การดำเนินการของพิพิธภัณฑ์ยังไม่มีหน่วยงานใดของทางราชการเข้ามาส่งเสริมสนับสนุน หรือดูแลรักษา  และทางพิพิธภัณฑ์ก็เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวัฒนธรรม  อันแสดงถึงความภูมิใจของคนในชุมชนวัดเกตุการาม  ดังนั้น ขณะนี้จึงขาดแคลนทั้งงบประมาณที่จะทำนุบำรุงรักษา และบุคคลากรของรัฐที่จะให้คำแนะนำด้านวิชาการในการจัดหมวดหมู่ศิลปวัตถุโบราณ


ธงสามเหลี่ยม หาดูยาก


พิณโบราณจากพม่า






ผ้าโบราณ


เตาหัวสิงห์ สำหรับเผาเครื่องหอม ในพิธีกรรมของศาสนาฮินดู


หนังสือเทศนาที่พระศพ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี (พ.ศ. ๒๔๗๑)
และ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา




ผ้ากำปี - Pha Gum Pee
ผ้าที่ใช้สำหรับปูแท่นบูชา ในพระพุทธศาสนา  สมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี  
ลักษณะของผ้าส่วนใหญ่ใช้มือทอและปักด้วยด้ายไหมสีต่างๆ  
เหตุที่เรียกว่าผ้ากำปี  เนื่องจากในหนึ่งปีจะใช้หนึ่งครั้ง โดยจะใช้ในการสวดเทศน์มหาชาติ (มีปีละครั้ง)


ของหาดูได้ยากในสมัยนี้ คือธงช้างเผือก  ใช้ประดับบ้านเรือน
เพื่อต้อนรับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ในวโรกาสเสด็จประพาสหัวเมืองล้านนา
























ความงดงามของศิลปะล้านนาโบราณ
และความสะอาดเป็นระเบียบของวัดเกตุการาม
จึงมีคณะถ่ายทำละคร ใช้บริเวณวัดเป็นฉากละคร

ข้อมูลเกี่ยวข้อง
ไหว้พระธาตุวัดเกตุการาม กับตำนานตัว "มอม" สัตว์ในนิยายที่ปรากฏกายตามหน้าบันวิหาร
กดอ่านที่ตัวอักษรภาษาอังกฤษสีเทาด้านล่าง
http://www.sookjai.com/index.php?topic=58543.msg87277#msg87277

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 กันยายน 2558 11:41:34 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.522 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 เมษายน 2567 10:02:44